50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 1
ในยุคนี้การเขยิบตัวขึ้นๆลงๆของ "เงินเดือน" รวมถึงนโยบายการให้ผลตอบแทนของทุกๆบริษัท ถือเป็นเรื่องสำคัญทั้งกับบุคคลภายในและบุคคลภายนอก
เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ดึงดูดให้พนักงานทำงาน และยังแสดงถึงความมั่นคงในบริษัทนั้นๆอีกด้วย
แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ยังคงเป็นเหมือนความลับที่ไม่มีวันเปิดเผยง่ายๆ เพราะเรื่องของเงินเดือนเป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ที่อาจจะกระทบต่อการทำงานการปกครองในองค์กร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเดือนของผู้บริหาร !!!
แต่หลายคนคงอยากรู้ว่าภายในงบของบริษัท รายได้ที่ถูกจัดแบ่งเอาไว้ให้บรรดา "นายๆ" ของพวกเราจะสักประมาณเท่าไรกัน
"ทายาท ศรีปลั่ง" กรรมการผู้จัดการ "บริษัทวัตสัน วายแอต (ประเทศไทย)" ที่ปรึกษาทางด้าน HR หรือที่ปรึกษาระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบุว่า การจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหารที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลทั่วโลกจะแบ่งออกเป็น 4 แบบ นั่นก็คือ
เงินเดือน (Basic Salary) ซึ่งก็คือ เงินเดือนประจำ ที่เราๆ ท่านๆ ได้รับการจ่ายเข้าบัญชีกันเป็นประจำทุกสิ้นเดือน
โบนัสประจำปี (Annual Bonus) คือ รายได้เพิ่มเสริมที่จะจ่ายให้ โดยใช้ผลประกอบการตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ว่า "ผู้บริหารไปถึงดวงดาว" หรือ "เป้าหมายของบริษัทที่ตั้งเอาไว้" หรือไม่ในปีนี้
แผนการกระตุ้นระยะยาว (Longterm Incentive) เช่น การเสนอหุ้นให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งแผนการกระตุ้นระยะยาวนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับผู้บริหารในไทยอีกด้วย
สิทธิพิเศษเฉพาะตัว (Perquisition หรือ PERKS) คือ สิทธิเฉพาะส่วนบุคคล ที่ผู้บริหาร จะได้รับ เช่น รถประจำตำแหน่ง เครื่องบินส่วนตัว อุปกรณ์สื่อสารชั้นเยี่ยม ฯลฯ
เหตุที่ผลตอบแทนแก่ผู้บริหารต้องมีความหลากหลาย อยู่ในอัตราสูงๆ ก็เพราะเชื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจหลัก ทำให้มืออาชีพได้ทุ่มเทพลัง แรงกายแรงใจ เพื่อสร้างให้บริษัทเติบใหญ่ หรือยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจได้
ตลอดจนเพื่อ "รักษา" มือดีเอาไว้ และเป็นการป้องกันการ "ทุ่มซื้อตัว" ของเจ้าบุญทุ่มทั้งหลาย
กรณีการ "ซื้อตัว" นักฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนย้ายสังกัด เพราะถ้าหากผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ดึงดูดพอ คู่แข่งอาจจะใช้จุดนี้มาแย่งตัวไปจากทีม
ทั้งนี้จากการสำรวจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นของ "กรุงเทพธุรกิจ" พบว่าแต่ละองค์กรจะจ่ายผลตอบแทน (เงินเดือน โบนัส เงินพิเศษ วอร์แรนท์ และสวัสดิการ) แก่ผู้บริหารในอัตราที่น่าสนใจ
"เทเลคอมเอเซีย" (TA) เป็นบริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหาร "สูงที่สุด" ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันทุกปี
ผู้บริหารระดับสูงสุด 5 คนแรกของทีเอ ได้แก่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" "วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์" "ชัชวาล เจียรวนนท์" "อธึก อัศวานันท์" และ "วิลเลี่ยม อี แฮริส" ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 1,700,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 20.37 ล้านบาทต่อปี
ไม่รวมวอร์แรนท์ฟรีที่ออกให้กับผู้บริหาร และไม่รวมรถยุโรปประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ
ในขณะที่บริษัทสื่อสารอันดับหนึ่งของประเทศ "แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส" (ADVANC) ซึ่งปีที่แล้วทำกำไรปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารสูงเป็นอันดับที่ 9 ของตลาด
ผู้บริหารระดับสูงสุด 4 คนแรก ได้แก่ "ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์" "ศิริเพ็ญ สีตสุวรรณ" "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และ "เชา วิง เคียง ลูคัส" ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 670,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 8 ล้านบาทต่อปี บวกกับวอร์แรนท์ฟรีให้กับผู้บริหาร
ทางด้านบริษัทดัง "ชิน คอร์ปอเรชั่น" (SHIN) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเครือ ผู้บริหารระดับสูงสุด 6 คนแรก นำทีมโดย "บุญคลี ปลั่งศิริ" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 760,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 9.16 ล้านบาทต่อปี และได้รับวอร์แรนท์ฟรีอีกจำนวนหนึ่ง
โดยบุญคลี ได้รับวอร์แรนท์จำนวนมากที่สุด 12.42 ล้านหน่วย หรือ 42.85% ขณะที่ผู้บริหารอีก 5 คนได้รับลดหลั่นกันลงไป
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้บริหารของค่ายชินคอร์ปนั้น ทางกลุ่มระบุว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของแต่ละบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน
ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนที่นำโดยดร.ไพบูลย์ ลิมปพยอม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอีก 2 คนได้แก่ บุญคลี ปลั่งศิริ และอรุณ เชิดบุญชาติ เป็นผู้กำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริหารเหล่านั้น
ในบรรดาบริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงสุด 5 อันดับแรกของตลาดหลักทรัพย์ ยังมีบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ติดเข้ามาถึง 3 อันดับด้วยกัน
บริษัทแรกที่จ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารสูงที่สุด คือ "ปูนซีเมนต์นครหลวง" (SCCC) หรือ "ปูนกลาง" ผู้บริหารระดับสูงสุดของบริษัท 7 คน นำโดย "วินเซนต์ บิเชต์" ประธานคณะผู้บริหาร ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 1,010,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 12.16 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่าง "ปูนซิเมนต์ไทย" (SCC) หรือ "ปูนใหญ่" ยังจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารในอันดับรองลงมา โดยบริษัทจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้บริหารสูงสุด 10 คนแรก ซึ่งนำทีมโดย "ชุมพล ณ ลำเลียง" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในรูปของเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นที่เป็นตัวเงินรวมกัน 117.26 ล้านบาท เฉลี่ยรายได้คนละ 11.73 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 980,000 บาทต่อเดือน
ส่วนคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับค่าเหนื่อยสูงที่สุด คือ "เชาวน์ ณ ศีลวันต์" ประธานกรรมการเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งได้รับโบนัสประจำปีจำนวน 1.44 ล้านบาท และได้รับค่าตอบแทนประจำปีอีกจำนวน 1.29 ล้านบาท
บริษัทที่กำลังเป็นข่าวครึกโครมในขณะนี้ "ทีพีไอ" หรือ "บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย" (TPI) ก็จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารระดับสูงหนักไม่แพ้ปูนกลาง และปูนใหญ่
ผู้บริหารระดับสูง 4 คนแรกที่เพิ่งถูกปลดไปเมื่อเร็วๆนี้ ได้แก่ "ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ผู้จัดการใหญ่ "สมิทธิ์ เทียมประเสริฐ" "พิชา ดำรงพิวัฒน์ และ "วชิรพันธุ์ พรหมประเสริฐ" ได้ค่าตอบแทนรวมกัน 44.80 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 11.20 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 930,000 บาทต่อเดือน
บริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงติดเข้ามาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ซึ่งโดดออกมาจากบริษัทในกลุ่มสิ่งพิมพ์อื่น ก็คือ "เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป" (NMG) ในปี 2545 ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจำนวน 7 คน นำโดย "ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ และ "สุทธิชัย หยุ่น" ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนในฐานะพนักงานบริษัทและโบนัสรวม 72.40 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 10.34 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 860,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ทั้ง 7 คนยังได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกันอีกจำนวน 3.36 ล้านบาท
บริษัทกู๊ดเยียร์ (GYT) เป็นบริษัทที่ 10 ที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหารระดับสูง 6 คน ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือน และโบนัสรวม 46.21 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 7.70 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 640,000 บาทต่อเดือน
"กสิกรไทย"จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารแพงสุด
เฉลี่ยคนละ 880,000 บาทต่อเดือน
สำหรับบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงิน มักทราบกันดีว่ามีสถิติจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารเฉลี่ยสูงกว่าบริษัทในกลุ่มอื่น โดยธนาคารพาณิชย์ที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงที่สุด คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
ทั้งนี้ธนาคารมีหลักเกณฑ์ว่า จะจ่ายผลตอบแทนผู้บริหารโดยพิจารณาจากภาระความรับผิดชอบของงาน และสถานะการเงินของธนาคารควบคู่กันไป
แต่ต้องอยู่ในระดับเดียวกับค่าตอบแทนของธนาคารพาณิชย์อื่นในระบบ
ในปีที่ผ่านมาธนาคารจ่ายค่าตอบแทนให้กับกรรมการ 16 คน เป็นจำนวนเงินรวม 31.54 ล้านบาท ภาษีเบี้ยประชุมและภาษีค่าตอบแทนที่ปรึกษากฎหมาย เป็นเงิน 10.79 ล้านบาท
"ไฮไลท์" ของเงินเดือนที่นี่อยู่ที่การจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารในระดับสูงสุดของธนาคาร 10 คนแรก ซึ่งนำทีมโดย "บัณฑูร ล่ำซำ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อรวมเงินเดือน ค่าครองชีพ บำเหน็จพิเศษและโบนัสจากธนาคาร ผู้บริหารทั้ง 10 คนจะได้ค่าเหนื่อยเป็นเงินรวม 105.54 บาท
เฉลี่ยคนละ 10.55 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับคนละ 880,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทยยังตอบแทนพนักงาน และผู้บริหารของธนาคารด้วยการออกวอร์แรนท์ให้ฟรีจำนวน 50 ล้านหน่วย โดยพิจารณาตามความสามารถ และศักยภาพของพนักงานแต่ละรายไม่เท่ากัน
โดยวอร์แรนท์ 1 หน่วยสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญในอัตรา 1 ต่อ 1 ในราคาหุ้นละ 27.82 บาท ใช้สิทธิได้ปีละ 4 ครั้ง
"ธนาคารกรุงเทพ" (BBL) ติดอันดับจ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารมากเป็นอันดับที่ 2 โดยธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และตามผลการดำเนินการ
ในปี 2545 ธนาคารจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ 16 ราย เป็นเงิน 30.47 ล้านบาท และจ่ายค่าตอบแทนกรรมการบริหาร 9 ราย นำโดย "ชาติศิริ โสภณพนิช" กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นเงิน 89.27 ล้านบาท (ปี 2544 เป็นเงิน 79.6 ล้านบาท)
เฉลี่ยคนละ 9.92 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 830,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ธนาคารกรุงเทพได้กำหนดค่าตอบแทนไว้ดังนี้ พนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาขนาดใหญ่เงินเดือนสูงสุด 70,000 บาท ต่ำสุด 25,000 บาท ผู้จัดการสาขาขนาดกลางสูงสุด 60,000 บาท ต่ำสุด 23,000 บาท และผู้จัดการสาขาขนาดเล็กสูงสุด 50,000 บาท ต่ำสุด 22,000 บาท ตำแหน่งสมุห์บัญชีเงินเดือนสูงสุด 47,000 บาท ต่ำสุด 18,000 บาท และตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาขาเงินเดือนสูงสุด 50,000 บาท ต่ำสุด 20,000 บาท ธนาคารที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารมากเป็นอันดับที่ 3 ได้แก่ "ธนาคารไทยพาณิชย์" (SCB) โดยจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้บริหารตั้งแต่ระดับรองผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป นำโดย "คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในรูปเงินเดือน และโบนัส รวม 8 คน เป็นจำนวน 58.01 ล้านบาท
เฉลี่ยแล้วตกคนละ 7.25 ล้านบาทต่อปี หรือเดือนละ 600,000 บาท
นอกจากนี้ยังจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับผู้บริหารทั้ง 8 คนอีก 3.16 ล้านบาท
ส่วนผลประโยชน์ที่ธนาคารจ่ายให้กับคณะกรรมการธนาคารทั้ง 14 คนนั้น เป็นเงินทั้งสิ้น 16.07 ล้านบาท ทั้งนี้พบว่า "ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา" นายกกรรมการธนาคารได้รับผลตอบแทนสูงสุด 1.8 ล้านบาท ขณะที่กรรมการคนอื่นๆได้รับค่าเหนื่อยคนละ 1.2 ล้านบาท
บุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงที่สุดของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แก่ "ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับเงินเดือน และโบนัสจำนวน 13.20 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับ 1,100,000 บาทต่อเดือน จากนั้นก็ยังได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการธนาคารอีก 1.2 ล้านบาทต่อปี รวมรายได้ 14.40 ล้านบาทต่อปี
สำหรับหลักเกณฑ์ในการให้ผลตอบแทนของธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ทางธนาคารระบุไว้ว่า ตำแหน่งนายกกรรมการจะได้รับค่าเหนื่อย 1.8 ล้านบาทต่อปี ส่วนตำแหน่งประธานกรรมการบริหารจะได้รับค่าเหนื่อยเดือนละ 300,000 บาท และยังได้รับค่าตอบแทนจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการอีกเดือนละ 800,000 บาท
ในขณะที่ตำแหน่งกรรมการบริหาร จะได้รับค่าเหนื่อยเดือนละ 150,000 บาท ตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ ได้ค่าเหนื่อยเดือนละ 75,000 บาท และเบี้ยประชุมครั้งละ 15,000 บาท ส่วนกรรมการตรวจสอบ ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท และเบี้ยประชุมครั้งละ 10,000 บาท
บริษัทเงินทุนที่จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารสูงติดอันดับ 4 และ 5 ของกลุ่มสถาบันการเงิน คือ บง.ทิสโก้ (TISCO) และบง.ธนชาติ (NFS)
ผู้บริหารระดับสูงสุด 11 คนแรกของบง.ทิสโก้ ที่นำโดย "ปลิว มังกรกนก" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 6.91 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 580,000 บาทต่อเดือน
ส่วน "บง.ธนชาติ" จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 4 คนแรกของบริษัทเฉลี่ยคนละ 550,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่พนักงานของธนชาติก็ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยคนละ 27,019 บาทต่อเดือน
ค่าเหนื่อยของผู้บริหารบง.ธนชาติ เท่ากับค่าเหนื่อยของผู้บริหารธนาคารทหารไทย ที่ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยคนละ 550,000 บาท
ในขณะที่สถาบันการเงินที่รัฐถือหุ้นใหญ่มีอัตราค่าตอบแทนผู้บริหารที่ค่อนข้างต่ำ อาทิ "ธนาคารกรุงไทย" (KTB) จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 17 รายแรก นำทีมโดย "วิโรจน์ นวลแข" กรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70.26 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 4.13 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 340,000 บาทต่อเดือน
แต่ธนาคารได้ให้ผลตอบแทนอื่นในรูปของเงินสมทบให้อีก 10% ของเงินเดือน เพื่อสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในส่วนของธนาคารไทยธนาคาร (BT) ผู้บริหารระดับสูงสุด 7 คนแรกได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 370,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย(SCIB) ซึ่งเป็นของรัฐอีกแห่งหนึ่งจ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารระดับสูงสุด 25 คนแรกของธนาคารเฉลี่ยคนละ 250,000 บาทต่อเดือน
ยังมีข้อน่าสังเกตอีกว่า บริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างชาติอย่างยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา และบริหารงานโดยฝรั่ง จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้บริหารในอัตราที่ค่อนข้างสูง
ขณะที่กิจการที่ก่อตั้งโดยเจ้าสัว หรือกลุ่มทุนรุ่นเก่าจะจ่ายผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำกว่า
เช่น ผู้บริหารของบิ๊กซีจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าผู้บริหารในกลุ่มเซ็นทรัลหรือกลุ่มสหกรุ๊ป
ขณะที่กิจการที่บริหารงานโดยมืออาชีพที่เป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย จะจ่ายผลตอบแทนให้กับตัวเองค่อนข้างสูง
อย่างเช่น ผู้บริหารแกรมมี่ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 610,000 บาท ผู้บริหารบล.แอสเซท พลัส มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 600,000 บาท หรือผู้บริหารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 400,000 บาท
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์Biz&Money
เป็นยังไงบ้างครับสำหรับข่าวนี้ ไหนลองไปดูซิหุ้นที่เราถืออยู่ติlistหรือเปล่า เห็นแล้วชักอยากเป็นผู้บริหารแล้วสิ 8) แล้วพี่ๆ เพื่อนๆ ชาวVIคิดว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารส่งผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นที่พวกเรายังไงบ้างครับ
เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ดึงดูดให้พนักงานทำงาน และยังแสดงถึงความมั่นคงในบริษัทนั้นๆอีกด้วย
แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ยังคงเป็นเหมือนความลับที่ไม่มีวันเปิดเผยง่ายๆ เพราะเรื่องของเงินเดือนเป็นเรื่อง "ละเอียดอ่อน" ที่อาจจะกระทบต่อการทำงานการปกครองในองค์กร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเดือนของผู้บริหาร !!!
แต่หลายคนคงอยากรู้ว่าภายในงบของบริษัท รายได้ที่ถูกจัดแบ่งเอาไว้ให้บรรดา "นายๆ" ของพวกเราจะสักประมาณเท่าไรกัน
"ทายาท ศรีปลั่ง" กรรมการผู้จัดการ "บริษัทวัตสัน วายแอต (ประเทศไทย)" ที่ปรึกษาทางด้าน HR หรือที่ปรึกษาระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ระบุว่า การจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้บริหารที่ใช้เป็นมาตรฐานสากลทั่วโลกจะแบ่งออกเป็น 4 แบบ นั่นก็คือ
เงินเดือน (Basic Salary) ซึ่งก็คือ เงินเดือนประจำ ที่เราๆ ท่านๆ ได้รับการจ่ายเข้าบัญชีกันเป็นประจำทุกสิ้นเดือน
โบนัสประจำปี (Annual Bonus) คือ รายได้เพิ่มเสริมที่จะจ่ายให้ โดยใช้ผลประกอบการตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ว่า "ผู้บริหารไปถึงดวงดาว" หรือ "เป้าหมายของบริษัทที่ตั้งเอาไว้" หรือไม่ในปีนี้
แผนการกระตุ้นระยะยาว (Longterm Incentive) เช่น การเสนอหุ้นให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งแผนการกระตุ้นระยะยาวนี้ถือเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับผู้บริหารในไทยอีกด้วย
สิทธิพิเศษเฉพาะตัว (Perquisition หรือ PERKS) คือ สิทธิเฉพาะส่วนบุคคล ที่ผู้บริหาร จะได้รับ เช่น รถประจำตำแหน่ง เครื่องบินส่วนตัว อุปกรณ์สื่อสารชั้นเยี่ยม ฯลฯ
เหตุที่ผลตอบแทนแก่ผู้บริหารต้องมีความหลากหลาย อยู่ในอัตราสูงๆ ก็เพราะเชื่อว่าจะเป็นแรงจูงใจหลัก ทำให้มืออาชีพได้ทุ่มเทพลัง แรงกายแรงใจ เพื่อสร้างให้บริษัทเติบใหญ่ หรือยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจได้
ตลอดจนเพื่อ "รักษา" มือดีเอาไว้ และเป็นการป้องกันการ "ทุ่มซื้อตัว" ของเจ้าบุญทุ่มทั้งหลาย
กรณีการ "ซื้อตัว" นักฟุตบอลในประเทศอังกฤษ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปลี่ยนย้ายสังกัด เพราะถ้าหากผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ดึงดูดพอ คู่แข่งอาจจะใช้จุดนี้มาแย่งตัวไปจากทีม
ทั้งนี้จากการสำรวจบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นของ "กรุงเทพธุรกิจ" พบว่าแต่ละองค์กรจะจ่ายผลตอบแทน (เงินเดือน โบนัส เงินพิเศษ วอร์แรนท์ และสวัสดิการ) แก่ผู้บริหารในอัตราที่น่าสนใจ
"เทเลคอมเอเซีย" (TA) เป็นบริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหาร "สูงที่สุด" ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันทุกปี
ผู้บริหารระดับสูงสุด 5 คนแรกของทีเอ ได้แก่ "ศุภชัย เจียรวนนท์" "วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์" "ชัชวาล เจียรวนนท์" "อธึก อัศวานันท์" และ "วิลเลี่ยม อี แฮริส" ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 1,700,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 20.37 ล้านบาทต่อปี
ไม่รวมวอร์แรนท์ฟรีที่ออกให้กับผู้บริหาร และไม่รวมรถยุโรปประจำตำแหน่งพร้อมคนขับ
ในขณะที่บริษัทสื่อสารอันดับหนึ่งของประเทศ "แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส" (ADVANC) ซึ่งปีที่แล้วทำกำไรปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารสูงเป็นอันดับที่ 9 ของตลาด
ผู้บริหารระดับสูงสุด 4 คนแรก ได้แก่ "ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์" "ศิริเพ็ญ สีตสุวรรณ" "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และ "เชา วิง เคียง ลูคัส" ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 670,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 8 ล้านบาทต่อปี บวกกับวอร์แรนท์ฟรีให้กับผู้บริหาร
ทางด้านบริษัทดัง "ชิน คอร์ปอเรชั่น" (SHIN) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเครือ ผู้บริหารระดับสูงสุด 6 คนแรก นำทีมโดย "บุญคลี ปลั่งศิริ" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 760,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 9.16 ล้านบาทต่อปี และได้รับวอร์แรนท์ฟรีอีกจำนวนหนึ่ง
โดยบุญคลี ได้รับวอร์แรนท์จำนวนมากที่สุด 12.42 ล้านหน่วย หรือ 42.85% ขณะที่ผู้บริหารอีก 5 คนได้รับลดหลั่นกันลงไป
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้บริหารของค่ายชินคอร์ปนั้น ทางกลุ่มระบุว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของแต่ละบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน
ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนที่นำโดยดร.ไพบูลย์ ลิมปพยอม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอีก 2 คนได้แก่ บุญคลี ปลั่งศิริ และอรุณ เชิดบุญชาติ เป็นผู้กำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้บริหารเหล่านั้น
ในบรรดาบริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงสุด 5 อันดับแรกของตลาดหลักทรัพย์ ยังมีบริษัทในกลุ่มปูนซีเมนต์ติดเข้ามาถึง 3 อันดับด้วยกัน
บริษัทแรกที่จ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารสูงที่สุด คือ "ปูนซีเมนต์นครหลวง" (SCCC) หรือ "ปูนกลาง" ผู้บริหารระดับสูงสุดของบริษัท 7 คน นำโดย "วินเซนต์ บิเชต์" ประธานคณะผู้บริหาร ได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 1,010,000 บาทต่อเดือน หรือคนละ 12.16 ล้านบาทต่อปี
ขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่าง "ปูนซิเมนต์ไทย" (SCC) หรือ "ปูนใหญ่" ยังจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารในอันดับรองลงมา โดยบริษัทจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้บริหารสูงสุด 10 คนแรก ซึ่งนำทีมโดย "ชุมพล ณ ลำเลียง" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในรูปของเงินเดือนและผลตอบแทนอื่นที่เป็นตัวเงินรวมกัน 117.26 ล้านบาท เฉลี่ยรายได้คนละ 11.73 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 980,000 บาทต่อเดือน
ส่วนคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับค่าเหนื่อยสูงที่สุด คือ "เชาวน์ ณ ศีลวันต์" ประธานกรรมการเครือซีเมนต์ไทย ซึ่งได้รับโบนัสประจำปีจำนวน 1.44 ล้านบาท และได้รับค่าตอบแทนประจำปีอีกจำนวน 1.29 ล้านบาท
บริษัทที่กำลังเป็นข่าวครึกโครมในขณะนี้ "ทีพีไอ" หรือ "บริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย" (TPI) ก็จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารระดับสูงหนักไม่แพ้ปูนกลาง และปูนใหญ่
ผู้บริหารระดับสูง 4 คนแรกที่เพิ่งถูกปลดไปเมื่อเร็วๆนี้ ได้แก่ "ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ผู้จัดการใหญ่ "สมิทธิ์ เทียมประเสริฐ" "พิชา ดำรงพิวัฒน์ และ "วชิรพันธุ์ พรหมประเสริฐ" ได้ค่าตอบแทนรวมกัน 44.80 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 11.20 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 930,000 บาทต่อเดือน
บริษัทที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงติดเข้ามาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ซึ่งโดดออกมาจากบริษัทในกลุ่มสิ่งพิมพ์อื่น ก็คือ "เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป" (NMG) ในปี 2545 ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจำนวน 7 คน นำโดย "ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ และ "สุทธิชัย หยุ่น" ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือนในฐานะพนักงานบริษัทและโบนัสรวม 72.40 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 10.34 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 860,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ทั้ง 7 คนยังได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพรวมกันอีกจำนวน 3.36 ล้านบาท
บริษัทกู๊ดเยียร์ (GYT) เป็นบริษัทที่ 10 ที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริหารระดับสูง 6 คน ได้รับผลตอบแทนเป็นเงินเดือน และโบนัสรวม 46.21 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 7.70 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 640,000 บาทต่อเดือน
"กสิกรไทย"จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารแพงสุด
เฉลี่ยคนละ 880,000 บาทต่อเดือน
สำหรับบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงิน มักทราบกันดีว่ามีสถิติจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารเฉลี่ยสูงกว่าบริษัทในกลุ่มอื่น โดยธนาคารพาณิชย์ที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารสูงที่สุด คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
ทั้งนี้ธนาคารมีหลักเกณฑ์ว่า จะจ่ายผลตอบแทนผู้บริหารโดยพิจารณาจากภาระความรับผิดชอบของงาน และสถานะการเงินของธนาคารควบคู่กันไป
แต่ต้องอยู่ในระดับเดียวกับค่าตอบแทนของธนาคารพาณิชย์อื่นในระบบ
ในปีที่ผ่านมาธนาคารจ่ายค่าตอบแทนให้กับกรรมการ 16 คน เป็นจำนวนเงินรวม 31.54 ล้านบาท ภาษีเบี้ยประชุมและภาษีค่าตอบแทนที่ปรึกษากฎหมาย เป็นเงิน 10.79 ล้านบาท
"ไฮไลท์" ของเงินเดือนที่นี่อยู่ที่การจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารในระดับสูงสุดของธนาคาร 10 คนแรก ซึ่งนำทีมโดย "บัณฑูร ล่ำซำ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ เมื่อรวมเงินเดือน ค่าครองชีพ บำเหน็จพิเศษและโบนัสจากธนาคาร ผู้บริหารทั้ง 10 คนจะได้ค่าเหนื่อยเป็นเงินรวม 105.54 บาท
เฉลี่ยคนละ 10.55 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับคนละ 880,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทยยังตอบแทนพนักงาน และผู้บริหารของธนาคารด้วยการออกวอร์แรนท์ให้ฟรีจำนวน 50 ล้านหน่วย โดยพิจารณาตามความสามารถ และศักยภาพของพนักงานแต่ละรายไม่เท่ากัน
โดยวอร์แรนท์ 1 หน่วยสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญในอัตรา 1 ต่อ 1 ในราคาหุ้นละ 27.82 บาท ใช้สิทธิได้ปีละ 4 ครั้ง
"ธนาคารกรุงเทพ" (BBL) ติดอันดับจ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารมากเป็นอันดับที่ 2 โดยธนาคารมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหารตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และตามผลการดำเนินการ
ในปี 2545 ธนาคารจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ 16 ราย เป็นเงิน 30.47 ล้านบาท และจ่ายค่าตอบแทนกรรมการบริหาร 9 ราย นำโดย "ชาติศิริ โสภณพนิช" กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นเงิน 89.27 ล้านบาท (ปี 2544 เป็นเงิน 79.6 ล้านบาท)
เฉลี่ยคนละ 9.92 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 830,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ธนาคารกรุงเทพได้กำหนดค่าตอบแทนไว้ดังนี้ พนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาขนาดใหญ่เงินเดือนสูงสุด 70,000 บาท ต่ำสุด 25,000 บาท ผู้จัดการสาขาขนาดกลางสูงสุด 60,000 บาท ต่ำสุด 23,000 บาท และผู้จัดการสาขาขนาดเล็กสูงสุด 50,000 บาท ต่ำสุด 22,000 บาท ตำแหน่งสมุห์บัญชีเงินเดือนสูงสุด 47,000 บาท ต่ำสุด 18,000 บาท และตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาขาเงินเดือนสูงสุด 50,000 บาท ต่ำสุด 20,000 บาท ธนาคารที่จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารมากเป็นอันดับที่ 3 ได้แก่ "ธนาคารไทยพาณิชย์" (SCB) โดยจ่ายค่าเหนื่อยให้กับผู้บริหารตั้งแต่ระดับรองผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป นำโดย "คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม" กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในรูปเงินเดือน และโบนัส รวม 8 คน เป็นจำนวน 58.01 ล้านบาท
เฉลี่ยแล้วตกคนละ 7.25 ล้านบาทต่อปี หรือเดือนละ 600,000 บาท
นอกจากนี้ยังจ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับผู้บริหารทั้ง 8 คนอีก 3.16 ล้านบาท
ส่วนผลประโยชน์ที่ธนาคารจ่ายให้กับคณะกรรมการธนาคารทั้ง 14 คนนั้น เป็นเงินทั้งสิ้น 16.07 ล้านบาท ทั้งนี้พบว่า "ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา" นายกกรรมการธนาคารได้รับผลตอบแทนสูงสุด 1.8 ล้านบาท ขณะที่กรรมการคนอื่นๆได้รับค่าเหนื่อยคนละ 1.2 ล้านบาท
บุคคลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงที่สุดของธนาคารไทยพาณิชย์ ได้แก่ "ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับเงินเดือน และโบนัสจำนวน 13.20 ล้านบาทต่อปี หรือเท่ากับ 1,100,000 บาทต่อเดือน จากนั้นก็ยังได้รับค่าตอบแทนในฐานะกรรมการธนาคารอีก 1.2 ล้านบาทต่อปี รวมรายได้ 14.40 ล้านบาทต่อปี
สำหรับหลักเกณฑ์ในการให้ผลตอบแทนของธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ทางธนาคารระบุไว้ว่า ตำแหน่งนายกกรรมการจะได้รับค่าเหนื่อย 1.8 ล้านบาทต่อปี ส่วนตำแหน่งประธานกรรมการบริหารจะได้รับค่าเหนื่อยเดือนละ 300,000 บาท และยังได้รับค่าตอบแทนจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการอีกเดือนละ 800,000 บาท
ในขณะที่ตำแหน่งกรรมการบริหาร จะได้รับค่าเหนื่อยเดือนละ 150,000 บาท ตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบ ได้ค่าเหนื่อยเดือนละ 75,000 บาท และเบี้ยประชุมครั้งละ 15,000 บาท ส่วนกรรมการตรวจสอบ ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 50,000 บาท และเบี้ยประชุมครั้งละ 10,000 บาท
บริษัทเงินทุนที่จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารสูงติดอันดับ 4 และ 5 ของกลุ่มสถาบันการเงิน คือ บง.ทิสโก้ (TISCO) และบง.ธนชาติ (NFS)
ผู้บริหารระดับสูงสุด 11 คนแรกของบง.ทิสโก้ ที่นำโดย "ปลิว มังกรกนก" ประธานกรรมการบริหาร ได้รับค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 6.91 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 580,000 บาทต่อเดือน
ส่วน "บง.ธนชาติ" จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 4 คนแรกของบริษัทเฉลี่ยคนละ 550,000 บาทต่อเดือน ในขณะที่พนักงานของธนชาติก็ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยคนละ 27,019 บาทต่อเดือน
ค่าเหนื่อยของผู้บริหารบง.ธนชาติ เท่ากับค่าเหนื่อยของผู้บริหารธนาคารทหารไทย ที่ได้รับค่าตอบแทนเฉลี่ยคนละ 550,000 บาท
ในขณะที่สถาบันการเงินที่รัฐถือหุ้นใหญ่มีอัตราค่าตอบแทนผู้บริหารที่ค่อนข้างต่ำ อาทิ "ธนาคารกรุงไทย" (KTB) จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 17 รายแรก นำทีมโดย "วิโรจน์ นวลแข" กรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 70.26 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 4.13 ล้านบาทต่อปี หรือคนละ 340,000 บาทต่อเดือน
แต่ธนาคารได้ให้ผลตอบแทนอื่นในรูปของเงินสมทบให้อีก 10% ของเงินเดือน เพื่อสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในส่วนของธนาคารไทยธนาคาร (BT) ผู้บริหารระดับสูงสุด 7 คนแรกได้ค่าเหนื่อยเฉลี่ยคนละ 370,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย(SCIB) ซึ่งเป็นของรัฐอีกแห่งหนึ่งจ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหารระดับสูงสุด 25 คนแรกของธนาคารเฉลี่ยคนละ 250,000 บาทต่อเดือน
ยังมีข้อน่าสังเกตอีกว่า บริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยต่างชาติอย่างยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา และบริหารงานโดยฝรั่ง จะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้บริหารในอัตราที่ค่อนข้างสูง
ขณะที่กิจการที่ก่อตั้งโดยเจ้าสัว หรือกลุ่มทุนรุ่นเก่าจะจ่ายผลตอบแทนที่ค่อนข้างต่ำกว่า
เช่น ผู้บริหารของบิ๊กซีจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่าผู้บริหารในกลุ่มเซ็นทรัลหรือกลุ่มสหกรุ๊ป
ขณะที่กิจการที่บริหารงานโดยมืออาชีพที่เป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย จะจ่ายผลตอบแทนให้กับตัวเองค่อนข้างสูง
อย่างเช่น ผู้บริหารแกรมมี่ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 610,000 บาท ผู้บริหารบล.แอสเซท พลัส มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 600,000 บาท หรือผู้บริหารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 400,000 บาท
ที่มา หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์Biz&Money
เป็นยังไงบ้างครับสำหรับข่าวนี้ ไหนลองไปดูซิหุ้นที่เราถืออยู่ติlistหรือเปล่า เห็นแล้วชักอยากเป็นผู้บริหารแล้วสิ 8) แล้วพี่ๆ เพื่อนๆ ชาวVIคิดว่าค่าตอบแทนของผู้บริหารส่งผลกระทบต่อมูลค่าของหุ้นที่พวกเรายังไงบ้างครับ
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 2
ผมไม่ชอบซื้อหุ้น ของบริษัทที่ จ่ายเงินให้ผู้บริหารสูงมากๆเกินไป แต่ผลประกอบการไม่ดี
จนไม่เหลือเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น หรือเหลือมาปันผลก็น้อยนิด เทียบกับราคาหุ้น
หุ้นพวกติดอันดับพวกนี้ ที่กล่าวถึงทั้งหมดข้างบน ผมไม่มีอยู่ในพอร์ตเลย และตั้งใจว่าจะไม่ถือเลย
จนไม่เหลือเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น หรือเหลือมาปันผลก็น้อยนิด เทียบกับราคาหุ้น
หุ้นพวกติดอันดับพวกนี้ ที่กล่าวถึงทั้งหมดข้างบน ผมไม่มีอยู่ในพอร์ตเลย และตั้งใจว่าจะไม่ถือเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 3
เห็นด้วยกับพี่ครรชิตเป็นอย่างมาก
พวกนี้ล้มบนฟูกครับ บริษัทเจ๊งได้ แต่ผู้บริหารจะจนไม่ได้ แม้ขาดทุนยับ แต่ก็ต้องรักษาผลตอบแทนให้สูงไว้ ก็หลายๆท่านที่เอ่ยนามมาไม่ใช่หรือ ที่ทำให้ประเทศเราพบกับวิกฤติเศรษฐกิจเช่นที่ผ่านมา
พวกเรารายย่อยต้องดูแลให้ดีนะครับ อย่าลืมว่าเงินทุนของเราส่วนหนึ่งก็ได้จ้างผู้บริหารมาทำงานให้เรา
พวกนี้ล้มบนฟูกครับ บริษัทเจ๊งได้ แต่ผู้บริหารจะจนไม่ได้ แม้ขาดทุนยับ แต่ก็ต้องรักษาผลตอบแทนให้สูงไว้ ก็หลายๆท่านที่เอ่ยนามมาไม่ใช่หรือ ที่ทำให้ประเทศเราพบกับวิกฤติเศรษฐกิจเช่นที่ผ่านมา
พวกเรารายย่อยต้องดูแลให้ดีนะครับ อย่าลืมว่าเงินทุนของเราส่วนหนึ่งก็ได้จ้างผู้บริหารมาทำงานให้เรา
-
- ผู้ติดตาม: 0
50 บริษัท จ่ายค่าเหนื่อยผู้บริหาร 'สูงที่สุด' ในตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 4
เห็นด้วยครับ ผมก็เป็นคนโชคดีอีกคนที่กิจการของผมไม่ได้จ่ายผลตอบแทนผู้บริหารอยู่ในระัดับสูงขนาดนั้น
ต้องขอบคุณกรุงเทพธุรกิจที่นำข้อมูลมาให้พวกเราทราบ เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนที่ดีทีเดียว
ต้องขอบคุณกรุงเทพธุรกิจที่นำข้อมูลมาให้พวกเราทราบ เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนที่ดีทีเดียว