"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
- trillionaire
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1090
- ผู้ติดตาม: 1
"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
โพสต์ที่ 1
ชนวน "เมอร์ริล ลินช์" ขาดทุนยับ จุดกระแสวิตก "วิกฤตสินเชื่อ" รีเทิร์น คาดแบงก์-สถาบันการเงินสูญเงินไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ และภาคอสังหาริมทรัพย์มูลค่าอาจวูบแรง 4 ล้านล้านดอลลาร์ แบงก์ชาติผู้ดีเตือนระวัง "new shocks" ตามหลอนรอบใหม่ ด้านนักเศรษฐศาสตร์อังค์ถัดทำนายโลกเผชิญ 2 ปมปัญหาซ้อน "วิกฤต ซับไพรม" และ "วิกฤตค่าเงิน" แนะเอเชียตั้งรับระบบเงินตราแตกสลายจากกระแสเก็งกำไร
ธนาคาร กลุ่มประกัน และสถาบันสินเชื่อเฉพาะ ต่างทยอยรายงานผลขาดทุนจากการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทด้อยมาตรฐาน หรือซับไพรม เมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจชั้นนำของโลก เป็นสถาบันการเงินรายแรกที่ช็อกตลาดการเงินโลก หลังบริษัทยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ต้องแทงหนี้สูญในส่วนของสินเชื่อ ธุรกรรม และตราสารที่เกี่ยวโยงกับซับไพรม 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นโกลด์แมน แซกส์ และธนาคารซีไอบีซี ได้ประเมินตัวเลขการแทงหนี้สูญของเมอร์ริล ลินช์ อีกครั้ง โดยเชื่อว่าวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อาจต้องแทงหนี้สูญเพิ่มเติมอีก 4.5 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 4
ตัวเลขดังกล่าวประเมินจากพันธะผูกพันที่เมอร์ริล ลินช์ มีต่อการลงทุนในสินเชื่อซับไพรม และตราสารหนี้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (collateralized debt obligations : CDOs) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.09 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากสถานการณ์ของตราสารเหล่านั้นยังเสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โกลด์แมน แซกส์ เชื่อว่า ที่สุดแล้วเมอร์ริล ลินช์ ยังอาจต้องแทงหนี้สูญอีกอย่างน้อย 20% ของมูลค่าพันธะผูกพันที่ถือครองอยู่ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.5 พันล้านดอลลาร์
นอกจากเมอร์ริล ลินช์ สถาบันการเงินที่ทยอยรายงานการขาดทุนจากซับไพรม ยังรวม "เอ็มบีไอเอ" สถาบันค้ำประกันการออกตราสาร และให้บริการการเงินเฉพาะด้าน รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ว่า ขาดทุนจากมูลค่าของตราสารอนุพันธ์อ้างอิงสินเชื่อที่บริษัทถือครองอยู่ลดลง 352.4 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.80 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่งผลให้บริษัทขาดทุน 36.6 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน นิวยอร์ก ไทม์ส เผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญตลาดอสังหาริม ทรัพย์ในสหรัฐ ทำนายสถาบันการเงินและ นักลงทุนจะขาดทุนสูงสุดถึง 4 แสนล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ยังประเมินความสูญเสียของมูลค่าในตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยว่า อาจอยู่ระหว่าง 2-4 ล้านล้านดอลลาร์ จากมูลค่ารวมทั้งสิ้น 21 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวน้อยกว่ามูลค่าความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ตลาดหุ้นถล่มทลาย ในช่วงต้นทษวรรษ 1990 โดยในช่วงนั้นมูลค่าตลาดอสังหาริมทรัพย์สูญหายไปถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 40% ของมูลค่าตลาด
นิวยอร์ก ไทม์ส อ้างข้อมูลการคาดการณ์ของโกลบอล อินไซต์ บริษัทวิจัยตลาดที่ประเมินว่า ราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศโดยเฉลี่ยจะลดลง 5% ในปี 2551 และลดลงอีก 10% ก่อนกลางปี 2552 รวมมูลค่าความสูญเสีย 2 ล้านล้านดอลลาร์
ธนาคาร กลุ่มประกัน และสถาบันสินเชื่อเฉพาะ ต่างทยอยรายงานผลขาดทุนจากการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทด้อยมาตรฐาน หรือซับไพรม เมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจชั้นนำของโลก เป็นสถาบันการเงินรายแรกที่ช็อกตลาดการเงินโลก หลังบริษัทยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ต้องแทงหนี้สูญในส่วนของสินเชื่อ ธุรกรรม และตราสารที่เกี่ยวโยงกับซับไพรม 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นโกลด์แมน แซกส์ และธนาคารซีไอบีซี ได้ประเมินตัวเลขการแทงหนี้สูญของเมอร์ริล ลินช์ อีกครั้ง โดยเชื่อว่าวาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่อาจต้องแทงหนี้สูญเพิ่มเติมอีก 4.5 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 4
ตัวเลขดังกล่าวประเมินจากพันธะผูกพันที่เมอร์ริล ลินช์ มีต่อการลงทุนในสินเชื่อซับไพรม และตราสารหนี้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (collateralized debt obligations : CDOs) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.09 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากสถานการณ์ของตราสารเหล่านั้นยังเสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โกลด์แมน แซกส์ เชื่อว่า ที่สุดแล้วเมอร์ริล ลินช์ ยังอาจต้องแทงหนี้สูญอีกอย่างน้อย 20% ของมูลค่าพันธะผูกพันที่ถือครองอยู่ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 4.5 พันล้านดอลลาร์
นอกจากเมอร์ริล ลินช์ สถาบันการเงินที่ทยอยรายงานการขาดทุนจากซับไพรม ยังรวม "เอ็มบีไอเอ" สถาบันค้ำประกันการออกตราสาร และให้บริการการเงินเฉพาะด้าน รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ว่า ขาดทุนจากมูลค่าของตราสารอนุพันธ์อ้างอิงสินเชื่อที่บริษัทถือครองอยู่ลดลง 352.4 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.80 ดอลลาร์ต่อหุ้น ส่งผลให้บริษัทขาดทุน 36.6 ล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน นิวยอร์ก ไทม์ส เผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญตลาดอสังหาริม ทรัพย์ในสหรัฐ ทำนายสถาบันการเงินและ นักลงทุนจะขาดทุนสูงสุดถึง 4 แสนล้านดอลลาร์
นอกจากนี้ ยังประเมินความสูญเสียของมูลค่าในตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยว่า อาจอยู่ระหว่าง 2-4 ล้านล้านดอลลาร์ จากมูลค่ารวมทั้งสิ้น 21 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวน้อยกว่ามูลค่าความเสียหายที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤตการณ์ตลาดหุ้นถล่มทลาย ในช่วงต้นทษวรรษ 1990 โดยในช่วงนั้นมูลค่าตลาดอสังหาริมทรัพย์สูญหายไปถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ 40% ของมูลค่าตลาด
นิวยอร์ก ไทม์ส อ้างข้อมูลการคาดการณ์ของโกลบอล อินไซต์ บริษัทวิจัยตลาดที่ประเมินว่า ราคาที่อยู่อาศัยทั่วประเทศโดยเฉลี่ยจะลดลง 5% ในปี 2551 และลดลงอีก 10% ก่อนกลางปี 2552 รวมมูลค่าความสูญเสีย 2 ล้านล้านดอลลาร์
- trillionaire
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1090
- ผู้ติดตาม: 1
"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
โพสต์ที่ 2
แบงก์ชาติผู้ดีจี้รับมือ "ความเสี่ยงระลอกใหม่"
ในวันเดียวกัน ธนาคารกลางอังกฤษได้ระบุในรายงาน "เสถียรภาพทางการเงิน" ของธนาคารว่า ในระยะสั้น ระบบการเงินของเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องน่าตกใจครั้งใหม่ ขณะที่ปัญหาในตลาดสินเชื่อก็ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ หรือตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯที่ยังอ่อนไหว เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะ ขาลงปริมาณยังคงเกินความต้องการของตลาด
โดยจากการสำรวจ พบว่าการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอังกฤษในเดือนกันยายนลดลงเหลือ 52,685 สัญญา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 72,155 สัญญา หรือลดลง 27% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และปัญหาในตลาดสินเชื่อ
แบงก์ชาติเรียกร้องให้บรรดาสถาบันการเงินเร่งปรับตัว เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงระลอกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยเสนอแนวทาง อาทิ สร้างความโปร่งใสใน structured products อาทิ แพ็กเกจของสินเชื่อประเภท ซับไพรม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงมากขึ้น และการบริหารจัดการสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ
อังค์ถัดแนะเอเชียวิกฤตค่าเงิน แรงกว่าซับไพรม
ดร.ไฮเนอร์ แฟรชเบค ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธ ศาสตร์การพัฒนาและโลกาภิวัตน์ของอังค์ถัด กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง Turmoil on Global Financial Markets : Will it be Contagious to Asia ? ว่า สามารถมองวิกฤตของตลาดเงินได้แตกต่างกัน 2 ส่วน คือ วิกฤตซับไพรมที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ แต่เอเชียได้รับน้อยกว่าอเมริกาและยุโรป และวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
"ตอนนี้พูดได้ว่า ถ้าภาคธนาคารของประเทศพัฒนาแล้ว ไม่มีเสถียรภาพเหมือนก่อน เพราะระบบนี้กำลังเน่าในอเมริกา และยุโรป มีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบใหม่ เพื่อสร้างผลกำไร สูงแบบเป็นไปไม่ได้ ในส่วนของวิกฤตซับไพรม เกิดจากนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบของธนาคาร นำไปสู่ความล่มสลายของระบบทั้งหมด ความ พังทลายของราคาอสังหาริมทรัพย์สั่นคลอนการบริโภคของอเมริกา ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนของการบริโภคของ อเมริกาเองและทั่วโลก"
ดร.แฟรชเบคเตือนว่า การล่มสลายนี้เป็นจุดเริ่มของความไม่สมดุลทั่วโลก หากมองในระดับที่เลวร้ายที่สุด กลุ่มตลาดเกิดใหม่ ทั้งในส่วนที่เห็นได้จริง คือ การส่งออกที่ความต้องการของตลาดลดลง และผลกระทบในส่วนของภาคการเงิน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศเหล่านี้เดินแผนให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล วิกฤตจะไม่ เลวร้ายเหมือนปี 2541 แต่จะกระทบหนักต่อกลุ่มประเทศในยุโรป และอเชียกลาง ที่กำลังใช้ดุลบัญชีเดินสะพัดขนานใหญ่
สำหรับหนึ่งในความเสี่ยงของตลาดเงินตรา คือ การเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราดของพฤติกรรมหนีความเสี่ยง ดร.แฟรชเบคกล่าวว่า การกำกับดูแลตลาดเงินจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมการเก็งกำไรต่างๆ
เพราะปัจจุบันเงินตราบางสกุลมีค่าสูงเกินจริง และเอเชียก็อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง และการเก็งกำไรจากสกุลเงินกำลังทำให้ระบบการเงินแตกสลาย แต่จะไม่อันตรายเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน ประเทศต่างๆ ต้องบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าเพื่อทำกำไรระยะสั้นให้ดี เพราะสิ่งนี้ทำให้ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
ในวันเดียวกัน ธนาคารกลางอังกฤษได้ระบุในรายงาน "เสถียรภาพทางการเงิน" ของธนาคารว่า ในระยะสั้น ระบบการเงินของเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเรื่องน่าตกใจครั้งใหม่ ขณะที่ปัญหาในตลาดสินเชื่อก็ยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ หรือตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯที่ยังอ่อนไหว เนื่องจากราคาอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะ ขาลงปริมาณยังคงเกินความต้องการของตลาด
โดยจากการสำรวจ พบว่าการขออนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในอังกฤษในเดือนกันยายนลดลงเหลือ 52,685 สัญญา เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 72,155 สัญญา หรือลดลง 27% ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และปัญหาในตลาดสินเชื่อ
แบงก์ชาติเรียกร้องให้บรรดาสถาบันการเงินเร่งปรับตัว เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงระลอกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยเสนอแนวทาง อาทิ สร้างความโปร่งใสใน structured products อาทิ แพ็กเกจของสินเชื่อประเภท ซับไพรม รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงมากขึ้น และการบริหารจัดการสภาพคล่องอย่างมีประสิทธิภาพ
อังค์ถัดแนะเอเชียวิกฤตค่าเงิน แรงกว่าซับไพรม
ดร.ไฮเนอร์ แฟรชเบค ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธ ศาสตร์การพัฒนาและโลกาภิวัตน์ของอังค์ถัด กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง Turmoil on Global Financial Markets : Will it be Contagious to Asia ? ว่า สามารถมองวิกฤตของตลาดเงินได้แตกต่างกัน 2 ส่วน คือ วิกฤตซับไพรมที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ แต่เอเชียได้รับน้อยกว่าอเมริกาและยุโรป และวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
"ตอนนี้พูดได้ว่า ถ้าภาคธนาคารของประเทศพัฒนาแล้ว ไม่มีเสถียรภาพเหมือนก่อน เพราะระบบนี้กำลังเน่าในอเมริกา และยุโรป มีการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินแบบใหม่ เพื่อสร้างผลกำไร สูงแบบเป็นไปไม่ได้ ในส่วนของวิกฤตซับไพรม เกิดจากนโยบายที่ไร้ความรับผิดชอบของธนาคาร นำไปสู่ความล่มสลายของระบบทั้งหมด ความ พังทลายของราคาอสังหาริมทรัพย์สั่นคลอนการบริโภคของอเมริกา ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนของการบริโภคของ อเมริกาเองและทั่วโลก"
ดร.แฟรชเบคเตือนว่า การล่มสลายนี้เป็นจุดเริ่มของความไม่สมดุลทั่วโลก หากมองในระดับที่เลวร้ายที่สุด กลุ่มตลาดเกิดใหม่ ทั้งในส่วนที่เห็นได้จริง คือ การส่งออกที่ความต้องการของตลาดลดลง และผลกระทบในส่วนของภาคการเงิน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศเหล่านี้เดินแผนให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล วิกฤตจะไม่ เลวร้ายเหมือนปี 2541 แต่จะกระทบหนักต่อกลุ่มประเทศในยุโรป และอเชียกลาง ที่กำลังใช้ดุลบัญชีเดินสะพัดขนานใหญ่
สำหรับหนึ่งในความเสี่ยงของตลาดเงินตรา คือ การเพิ่มขึ้นอย่างพรวดพราดของพฤติกรรมหนีความเสี่ยง ดร.แฟรชเบคกล่าวว่า การกำกับดูแลตลาดเงินจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ควบคุมการเก็งกำไรต่างๆ
เพราะปัจจุบันเงินตราบางสกุลมีค่าสูงเกินจริง และเอเชียก็อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง และการเก็งกำไรจากสกุลเงินกำลังทำให้ระบบการเงินแตกสลาย แต่จะไม่อันตรายเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน ประเทศต่างๆ ต้องบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าเพื่อทำกำไรระยะสั้นให้ดี เพราะสิ่งนี้ทำให้ประเทศมีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง
- trillionaire
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1090
- ผู้ติดตาม: 1
"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
โพสต์ที่ 3
- trillionaire
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1090
- ผู้ติดตาม: 1
"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
โพสต์ที่ 4
"เมอร์ริล ลินช์ เอฟเฟ็กต์" ทุบหุ้นแบงก์โลกร่วงระนาว
ข่าวใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา คือ เมอร์ริล ลินช์ แจกแจง ผลประกอบการไตรมาส 3 ด้วยยอดขาดทุนสุทธิ 2.2 พันล้านดอลลาร์ อันเนื่องมาจากการแทงหนี้สูญเฉียด 8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นยอดการแทงหนี้สูญที่สูงที่สุด ในเวลานี้
เกิดอะไรขึ้นกับเมอร์ริล ลินช์
วาณิชธนกิจแถวหน้าของสหรัฐ ต้องกันสำรองเพิ่มมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับหนี้เสีย และการขาดทุนที่เกิดจากการธุรกรรมทั้งหมดในไตรมาส 3 ไม่เพียงแค่นี้ เมอร์ริล ลินช์ยังให้รายละเอียดว่า บริษัทได้ลดปริมาณการถือครองตราสารหนี้ประเภทมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน หรือ CDOs (collateralized debt obligations) ประมาณ 53% ในไตรมาส 3 เหลือประมาณ 1.52 หมื่นล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังลดพันธะผูกพันในการจัดหาสินเชื่อให้กับเงินกู้ประเภท LBO (Leveraged Buyout) ธุรกรรมยอดนิยมของกลุ่มไพรเวท อิควิตี้ ที่มักจะกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปซื้อกิจการบริษัทต่างๆ ลงเหลือ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง 42% จากยอดปล่อยกู้ประเภทนี้ ณ สิ้นไตรมาส 2
สิ้นคำประกาศของเมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจแถวหน้าแห่งย่านวอลล์สตรีท ตลาดหุ้นในสหรัฐก็อยู่ในภาวะอลหม่าน ตลาดนิวยอร์กเปิดตลาด ด้วยตัวเลขแดงเถือกของหุ้นกลุ่มแบงก์ เป็นตัวนำ
หุ้นของเมอร์ริล ลินช์ ร่วงลึก 5.8% ลงมาอยู่ที่ 63.22 ดอลลาร์ ขณะที่หุ้นในกลุ่มการเงินอื่นๆ ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยหุ้นของแบร์ สเติร์น ร่วงลง 2.3% อยู่ที่ 113.54 ดอลลาร์ หุ้นของมอร์แกน สแตนเลย์ ปรับตัวลดลง 1.2% อยู่ที่ 62.89 ดอลลาร์ หุ้นของเลห์แมน บราเธอร์ส ปรับตัวลง 1.5% อยู่ที่ 57.42 ดอลลาร์
หุ้นกลุ่มการเงินมีน้ำหนักสูงถึง 20% ของดัชนีเอส แอนด์พี 500 ดังนั้น ช่วยไม่ได้ที่การเคลื่อนไหวของราคาของหุ้นกลุ่มที่ย่ำแย่มานับจากเกิดวิกฤตจะฉุดรั้งภาพรวมของดัชนีให้ทรุดตาม
สิ่งที่นักวิเคราะห์จับตามองคือ ใครจะเป็นรายต่อไป
ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของตลาด มีชื่อของซิตี้กรุ๊ป และแบงก์ ออฟ อเมริกา รวมอยู่ด้วย
แนวโน้มการฟื้นตัว โดยเฉพาะกับหุ้นกลุ่มธนาคารดูจะเป็นไปได้ยาก เพราะดูเหมือนภาคการเงินในเวลานี้กำลังถูกกระหน่ำด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งจากคุณภาพสินเชื่อของสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และหนี้บัตรเครดิต ยิ่งกว่านั้น นอกจากธุรกิจในด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคจะเริ่มมีปัญหาแล้ว รายได้จากตลาดทุนของธนาคารยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ก็เริ่มสั่นคลอน นับจากตราสารประเภท structured finance ซึ่งมีสูตรในการจัดกลุ่มสินทรัพย์ต่างประเภท มาเป็นหลักค้ำประกันในการออกตราสารให้มาร่วมกัน ก็เริ่มมีปัญหารุนแรงขึ้น
หลังจากนั้น สถาบันอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเครดิต เรตติ้งหลายแห่ง ทยอยออกมา ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเมอร์ริล ลินช์ เริ่มจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ลดอันดับเมอร์ริล ลินช์จาก AA- เป็น A+ ตามด้วยฟิทช์ เรตติ้ง ที่ลดอันดับเรตติ้งจาก AA- เป็น A+ และลดอันดับของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (subordinated debt) จากระดับ A+ เป็น A ขณะที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความ น่าเชื่อถือของหุ้นกู้ระยะยาว ของเมอร์ริล ลินช์ จาก Aa3 เหลือ A1 และขึ้นป้ายจับตามองในเชิงลบต่อแนวโน้มการจัดอันดับในอนาคตด้วย ทั้งสามสถาบันปรับลดอันดับหุ้นกู้ระยะยาว ลง 1 ขั้น แม้ว่าอันดับดังกล่าวยังห่างไกลจากระดับจังบอนด์มาก แต่การปรับลดอันดับในแต่ละ ครั้งหมายถึงต้นทุนในการระดมเงิน ของบริษัทจะสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
ปมเมอร์ริล ลินช์ ไม่เพียงกระทบต่อหุ้นในสหรัฐ แต่ยังส่งผลกระทบลูกโซ่มายังหุ้นกลุ่มการเงินในเอเชีย โดยเฉพาะหุ้นธนาคารญี่ปุ่น ร่วงแรงตามไปด้วย อาทิ มิซูโฮะ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ดิ่งฮวบ 4.3% เหลือ 586,000 เยน ถือเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนสิงหาคม 2548 ขณะที่มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล ลดลง 2.4% และสุมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ลดลง ร่วง 2.7% แม้แต่แบงก์จีน อย่าง ไชน่า เมอร์แชนต์ส แบงก์ ลดลง 2.3% และเปาสตีล ไอร์ออน แอนด์สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุด ของประเทศ ก็ร่วงแรงถึง 4.7% ไชน่า คอนสตรัคชั่น แบงก์ลดลง 4.37%
ข่าวลบเมอร์ริล ลินช์ ขาดทุนครั้งแรกในรอบ 5 ปี กลับมาพร้อมข่าวดี หลังจากเมื่อ มองจากสถานการณ์ปัญหาในกลุ่มสถาบัน การเงิน บวกกับตลาดอสังหริมทรัพย์ที่ยังซบเซา เห็นจากยอดสร้างบ้านใหม่ ยังทรุดอยู่ในเดือนกันยายน ส่งผลให้นักลงทุนมั่นใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ในการประชุมวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้
ข่าวใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา คือ เมอร์ริล ลินช์ แจกแจง ผลประกอบการไตรมาส 3 ด้วยยอดขาดทุนสุทธิ 2.2 พันล้านดอลลาร์ อันเนื่องมาจากการแทงหนี้สูญเฉียด 8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นยอดการแทงหนี้สูญที่สูงที่สุด ในเวลานี้
เกิดอะไรขึ้นกับเมอร์ริล ลินช์
วาณิชธนกิจแถวหน้าของสหรัฐ ต้องกันสำรองเพิ่มมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับหนี้เสีย และการขาดทุนที่เกิดจากการธุรกรรมทั้งหมดในไตรมาส 3 ไม่เพียงแค่นี้ เมอร์ริล ลินช์ยังให้รายละเอียดว่า บริษัทได้ลดปริมาณการถือครองตราสารหนี้ประเภทมีหลักทรัพย์ ค้ำประกัน หรือ CDOs (collateralized debt obligations) ประมาณ 53% ในไตรมาส 3 เหลือประมาณ 1.52 หมื่นล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังลดพันธะผูกพันในการจัดหาสินเชื่อให้กับเงินกู้ประเภท LBO (Leveraged Buyout) ธุรกรรมยอดนิยมของกลุ่มไพรเวท อิควิตี้ ที่มักจะกู้เงินจากธนาคารเพื่อนำไปซื้อกิจการบริษัทต่างๆ ลงเหลือ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง 42% จากยอดปล่อยกู้ประเภทนี้ ณ สิ้นไตรมาส 2
สิ้นคำประกาศของเมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจแถวหน้าแห่งย่านวอลล์สตรีท ตลาดหุ้นในสหรัฐก็อยู่ในภาวะอลหม่าน ตลาดนิวยอร์กเปิดตลาด ด้วยตัวเลขแดงเถือกของหุ้นกลุ่มแบงก์ เป็นตัวนำ
หุ้นของเมอร์ริล ลินช์ ร่วงลึก 5.8% ลงมาอยู่ที่ 63.22 ดอลลาร์ ขณะที่หุ้นในกลุ่มการเงินอื่นๆ ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยหุ้นของแบร์ สเติร์น ร่วงลง 2.3% อยู่ที่ 113.54 ดอลลาร์ หุ้นของมอร์แกน สแตนเลย์ ปรับตัวลดลง 1.2% อยู่ที่ 62.89 ดอลลาร์ หุ้นของเลห์แมน บราเธอร์ส ปรับตัวลง 1.5% อยู่ที่ 57.42 ดอลลาร์
หุ้นกลุ่มการเงินมีน้ำหนักสูงถึง 20% ของดัชนีเอส แอนด์พี 500 ดังนั้น ช่วยไม่ได้ที่การเคลื่อนไหวของราคาของหุ้นกลุ่มที่ย่ำแย่มานับจากเกิดวิกฤตจะฉุดรั้งภาพรวมของดัชนีให้ทรุดตาม
สิ่งที่นักวิเคราะห์จับตามองคือ ใครจะเป็นรายต่อไป
ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของตลาด มีชื่อของซิตี้กรุ๊ป และแบงก์ ออฟ อเมริกา รวมอยู่ด้วย
แนวโน้มการฟื้นตัว โดยเฉพาะกับหุ้นกลุ่มธนาคารดูจะเป็นไปได้ยาก เพราะดูเหมือนภาคการเงินในเวลานี้กำลังถูกกระหน่ำด้วยปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งจากคุณภาพสินเชื่อของสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และหนี้บัตรเครดิต ยิ่งกว่านั้น นอกจากธุรกิจในด้านสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคจะเริ่มมีปัญหาแล้ว รายได้จากตลาดทุนของธนาคารยักษ์ใหญ่เหล่านี้ ก็เริ่มสั่นคลอน นับจากตราสารประเภท structured finance ซึ่งมีสูตรในการจัดกลุ่มสินทรัพย์ต่างประเภท มาเป็นหลักค้ำประกันในการออกตราสารให้มาร่วมกัน ก็เริ่มมีปัญหารุนแรงขึ้น
หลังจากนั้น สถาบันอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเครดิต เรตติ้งหลายแห่ง ทยอยออกมา ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของเมอร์ริล ลินช์ เริ่มจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ลดอันดับเมอร์ริล ลินช์จาก AA- เป็น A+ ตามด้วยฟิทช์ เรตติ้ง ที่ลดอันดับเรตติ้งจาก AA- เป็น A+ และลดอันดับของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (subordinated debt) จากระดับ A+ เป็น A ขณะที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความ น่าเชื่อถือของหุ้นกู้ระยะยาว ของเมอร์ริล ลินช์ จาก Aa3 เหลือ A1 และขึ้นป้ายจับตามองในเชิงลบต่อแนวโน้มการจัดอันดับในอนาคตด้วย ทั้งสามสถาบันปรับลดอันดับหุ้นกู้ระยะยาว ลง 1 ขั้น แม้ว่าอันดับดังกล่าวยังห่างไกลจากระดับจังบอนด์มาก แต่การปรับลดอันดับในแต่ละ ครั้งหมายถึงต้นทุนในการระดมเงิน ของบริษัทจะสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
ปมเมอร์ริล ลินช์ ไม่เพียงกระทบต่อหุ้นในสหรัฐ แต่ยังส่งผลกระทบลูกโซ่มายังหุ้นกลุ่มการเงินในเอเชีย โดยเฉพาะหุ้นธนาคารญี่ปุ่น ร่วงแรงตามไปด้วย อาทิ มิซูโฮะ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ดิ่งฮวบ 4.3% เหลือ 586,000 เยน ถือเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนสิงหาคม 2548 ขณะที่มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล ลดลง 2.4% และสุมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ลดลง ร่วง 2.7% แม้แต่แบงก์จีน อย่าง ไชน่า เมอร์แชนต์ส แบงก์ ลดลง 2.3% และเปาสตีล ไอร์ออน แอนด์สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุด ของประเทศ ก็ร่วงแรงถึง 4.7% ไชน่า คอนสตรัคชั่น แบงก์ลดลง 4.37%
ข่าวลบเมอร์ริล ลินช์ ขาดทุนครั้งแรกในรอบ 5 ปี กลับมาพร้อมข่าวดี หลังจากเมื่อ มองจากสถานการณ์ปัญหาในกลุ่มสถาบัน การเงิน บวกกับตลาดอสังหริมทรัพย์ที่ยังซบเซา เห็นจากยอดสร้างบ้านใหม่ ยังทรุดอยู่ในเดือนกันยายน ส่งผลให้นักลงทุนมั่นใจว่า ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะต้องปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ในการประชุมวันที่ 30-31 ตุลาคมนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
โพสต์ที่ 5
ปู่บัพ จะมีของถูกให้ช็อปอีกแล้ว...วันจันทร์นี้จะเป็นไงหนอ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
- Golden Stock
- Verified User
- โพสต์: 615
- ผู้ติดตาม: 0
"เมอร์ริลลินช์"ชนวนซับไพรม2 อังค์ถัดแนะรับวิกฤต&qu
โพสต์ที่ 6
แต่บริษัทนี้ถูกมองว่า Turnaround ซะแล้ว
Countrywide Loses $1.2B, Sees Turnaround
Saturday October 27, 1:06 am ET
By Alex Veiga, AP Business Writer
Countrywide Financial Reports 3Q Loss of $1.2B on Mortgage Woes, Expects Profits in 4Q, 2008
LOS ANGELES (AP) -- Countrywide Financial Corp. lost $1.2 billion in the third quarter, but its shares soared Friday after the nation's largest mortgage lender said it expects to be profitable this quarter and next year.
ADVERTISEMENT
It was Countrywide's first quarterly loss in 25 years.
But the Calabasas, Calif.-based company said it will be profitable in the fourth quarter and in 2008, as it restructures its business to take advantage of the current market.
"We continue to be bullish about the longterm prospects of both Countrywide and our industry," Chairman and Chief Executive Angelo Mozilo said during a conference call with Wall Street analysts.
Shares jumped $4.23, or 32.4 percent, to close at $17.30 on Friday after rising as high as $17.51. The stock is down 64 percent from its 52-week high of $45.26.
The loss for the third-quarter came as mortgage market woes forced Countrywide to set aside millions in loan-loss provisions and writedowns, and the lender originated fewer loans.
Countrywide's loss amounted to $2.85 per share for the July-September period in contrast to a profit of $647.6 million, or $1.03 per share, a year ago.
Analysts polled by Thomson Financial, on average, forecast a loss of $1.28 per share for the quarter.
Countrywide reported a revenue figure of negative $50 million in the third quarter because of the impact of impairments and charges, versus $2.82 billion during the same period a year ago.
Mozilo attributed the quarterly loss to "unprecedented disruptions" in the mortgage market and the ongoing national housing slump.
The executive sought to reassure investors, however, noting steps the company has taken to secure financing, tighten underwriting standards and shift its mortgage lending business into its banking subsidiary, Countrywide Bank.
Chris Brendler, an analyst with Stifel Nicolaus & Co. Inc., said he is not convinced the company will turn a profit next quarter.
"They seem to have taken some big write-downs, taken a lot pain this quarter, the pain going forward should be smaller," Brendler said. "I still remain concerned about the potential for another credit write-down and just how profitable this business will be, even after they get past the credit headaches in the near term."
Mozilo also said he was cooperating with informal inquiry by the Securities and Exchange Commission into his sales of his Countrywide stock.
"At no time did I make any trading decisions based on any material non-public information, and I fully complied with all company policies," Mozilo said during the call. "I am confident that this will demonstrate that I've complied with all protocols."
In its earnings report, the company said origination volume fell to $96 billion, from $118 billion as Countrywide shifted its product mix to more traditional loans.
Countrywide ramped up its loan-loss reserves to fight rising delinquencies and defaults, especially among subprime mortgages given to customers with poor credit history. Countrywide reserved $934 million for bad loans in the third quarter, up from $38 million held during the same quarter last year.
The lender moved about $12 billion in nonconforming loans to its held-for-investment portfolio after having to take a write-down on them.
Some 4.41 percent of Countrywide's conventional first mortgage loans were delinquent as of Sept. 30, up from 2.57 percent in the year-ago quarter. For prime home-equity loans, delinquencies inched up to 13.5 percent from 13.4 percent.
The number of subprime loans that were behind in payments soared to 29.08 percent from 18.32 percent in the year-ago period.
In the subprime loan category, 12.63 percent of the loans were behind in payments by 90 days or more, more than twice the year-ago rate.
The company noted the market for new loans, particularly loans that lenders can't sell to government-backed mortgage companies, declined substantially during the quarter as underwriting standards began to tighten industrywide following the subprime mortgage meltdown.
Earnings from the company's loan production unit also suffered because gain-on-sale margins the company had expected to rake in did not materialize.
Countrywide's loan servicing arm posted a pre-tax loss of $27 million compared to earnings of $123 million in the year-ago quarter, as the company took a $690 million impairment charge for home-equity and subprime loan residuals in anticipation of future credit losses.
Earnings in Countrywide's mortgage banking operations posted a pre-tax loss of $389 million, compared to pre-tax income of $378 million in the year-ago quarter as the company boosted its loan-loss reserves to compensate for future charge-offs.
Some Countrywide Bank customers rushed to withdraw funds from the bank during the quarter on fears their deposits might be in danger if the company went bankrupt. But the company said a surge in deposits in September helped offset those withdrawals and the bank's consumer accounts grew by a net of 9 percent by quarter's end.
Countrywide's investment services arm posted a pretax loss of $344 million, compared to income of $141 million in the year-ago quarter. Its insurance business generated pretax earnings of $150 million, up from $91 million in the third quarter last year.
Looking ahead, management said it expects the company's loan origination volume will be lower through the start of next year, unless the housing slump improves or interest rates fall further.
The company expects its earnings per share in the fourth quarter to range between 25 cents and 75 cents. It also anticipates its return on equity for 2008 to range between 10 percent and 15 percent.
The lender has struggled this year as mortgage defaults and foreclosures have spiked, particularly among subprime loans to borrowers with poor credit.
To turn things around in recent weeks, Countrywide announced thousands of layoffs and borrowed billions of dollars, including $2 billion by selling a stake in the company to Bank of America Corp.
The company booked a charge of $57 million related to its plan to cut as many as 12,000 jobs. Countrywide estimated it will have to take between $70 million to $90 million in additional charges, with the bulk of the charges expected to be booked in the fourth quarter.
For the first nine months of the year, the company posted a loss of $281.6 million versus a profit of $2.05 billion a year earlier. Revenue fell 43 percent to $4.9 billion from $8.6 billion in the year-ago period.