ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
petercorp
Verified User
โพสต์: 110
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR
แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า
กลายเป็น PTTAT

ใครมีอย่าเพิ่งขาย รอควบรวม market cap ใหญ่มหาศาล เป็นบริษัทโรงกลั่นและปิโตรเคมีที่ใหญ่ครบวงจรที่สุดในเอเชีย ตอนนั้นราคาอาจเทียบเท่า พพี่ใหญ่ PTT
wee89
Verified User
โพสต์: 79
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 2

โพสต์

หาข้อมูลมาจากที่ไหนเหรอครับ ติดตาม ATC อยู่เหมือนกัน อยากทราบแหล่งที่มาของข่าวอะครับ
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นำ link ข้อมูลมาฝากครับ มีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อสอบถามด้วยนะครับ
(จาก web pantip.com/sinthorn ครับ)

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 09706.html

ลองอ่านรายละเอียดดูนะครับผม
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ กำลังต้องการข้อมูลเหมือนกัน


:ep:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ความคืบหนาการควบรวมกิจการ :

คาดกระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในป 2550 โดยการ Suspend หุน RRC และ ATC จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 15 ธ.ค. 2550 เพื่อดําเนินการเกี่ยวกับการปด
สมุดทะเบียนกอนการรวมกิจการและกลับเขามาซื้อขายในชื่อบริษัทใหม
ซึ่งคาดวาจะใช PTTAR ในวันที่ 2 ม.ค 2551

ราคาเปดของบริษัทใหมจะคํานวณจากราคาปดของ ATC และ RRC ใน
วันสุดทายที่ทําการซื้อขาย โดยอิงกับ Swap Ratio ในการแลกหุน ATC เปนบริษัทใหมที่
1 หุน ATC : 1.52 หุน PTTAR และ
RRC เปนบริษัทใหมที่ 1 หุน RRC : 0.52 หุน PTTAR

ทั้งนี้ SCIBS ประเมินมูลคาเหมาะสมหุนบริษัทใหมที่ 57.64 บาทในกรณี Base Case (เกิด Synergy Value ที่ 169 ลานเหรียญ/ป) และ 69.91 บาท ในกรณี Best Case (เกิด Synergy Value ที่ 348 ลานเหรียญ/ป)
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
BLACK-NINJA
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 599
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 6

โพสต์

หรือดูข้อมูลการควบรวมได้จากหนังสือพิมพ์ bangkok bizweek คอลัมส์ bschool ฉบับ 9-15/11/50 ครับ เขียนได้ดีจนเห็นภาพเลยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

ATC+RRC 15ธันวาคมกลายเป็น PTTAR แล้วจะไปรวมกับTOPปีหน้า

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เอามาแปะซะ จะได้อ่านง่ายๆ หน่อย
จาก Bizweek 9 พย 2550

อะโรเมติกส์ "ขาซ้าย" ไทยออยล์ ลดเสี่ยงค่าการกลั่นผันผวน  รับแผนควบรวม "ท็อป-อาร์อาร์ซี-เอทีซี"

การเพิ่มกำลังการผลิตปิโตรเคมี จะช่วยลดความเสี่ยงระหว่างธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมี เมื่อไหร่ที่ราคาน้ำมันลด อะโรเมติกส์ควรเป็น 60-70% ของรายได้รวม แต่เมื่อไหร่ที่ราคาน้ำมันดี อะโรเมติกส์ก็ควรจะเหลือสัก 30% ของรายได้รวม การขยายกำลังการผลิตยังรับกับแผนของ PTT Group เรื่องการควบรวม RRC-ATC โดยมีเป้าหมายต่อไปที่ไทยออยล์

นอกจาก บมจ.ไทยออยล์ จะปิดซ่อมบำรุงหอกลั่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 6 ตุลาคม-10 ธันวาคม 2550 เพื่อเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันอีก 5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ตามแผนการลงทุนที่ได้แจ้งไว้กับผู้ถือหุ้นแล้ว ความน่าสนใจยังอยู่ที่การปิดหน่วยผลิตอะโรเมติกส์เกี่ยวเนื่อง ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม 2550-15 มกราคม 2551 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตพาราไซลีน (PX) จาก 3.5 แสนตันต่อปี เป็น 4.89 แสนตันต่อปี และมิกซ์ไซลีน (MX) จาก 7.2 หมื่นตันต่อปี เป็น 9 หมื่นตันต่อปี

สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า...ไทยออยล์กำลังกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ ไม่ได้ผูกติดรายได้ไว้กับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ที่เป็นเหมือน "ขาขวา" เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

แม้ว่าด้วยขนาดกำลังการกลั่นโรงกลั่นไทยออยล์ที่ 2.2 แสนบาร์เรลต่อวัน จะจัดว่าเป็นโรงกลั่นน้ำมันเชิงเดี่ยว (Single-Site) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และยังเป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ขณะที่กำลังการกลั่นของไทยออยล์ คิดเป็น 21% ของกำลังการกลั่นน้ำมันในภาพรวมทั้งประเทศ

...ไทยออยล์ยังจำได้ว่า ในช่วงวัฏจักรน้ำมันขาลง และวิกฤติเศรษฐกิจ เคยเจ็บตัวจนเกือบจะอยู่ในสถานะ "ล้มละลาย" หากไม่มีพี่ใหญ่อย่าง ปตท.เข้ามาโอบอุ้ม

ประวัติศาสตร์ จึงไม่อาจซ้ำรอย !!!

ในจังหวะที่ไทยออยล์พาตัวเองเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยังได้รับไฟเขียวจาก ปตท.ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่ยอมขายหุ้นทางตรงที่ถืออยู่ในบริษัทไทยพาราไซลีน (ทีพีเอ็กซ์) และบริษัทไทยลู้บเบส (ผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานและผลิตภัณฑ์พลอยได้) มาถือหุ้นทางอ้อม เพื่อเปิดทางให้ไทยออยล์เข้าถือหุ้นทั้ง 100% ในสองบริษัทนี้ ส่อนัยเพื่อสร้างความคล่องตัวในการดูแลทรัพย์สิน และบริหารงานในธุรกิจปิโตรเคมีอย่างเห็นได้ชัด

....ว่านับจากนี้รายได้จากธุรกิจปิโตรเคมี (สายอะโรเมติกส์) กำลังจะกลายเป็น "ขาซ้าย" ที่ก้าวเดินไปพร้อมกับขาขวา ในจังหวะจะโคนเดียวกัน

การปิดหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ จึงถือเป็นการ "ถอย" เพื่อจะก้าวเดินไปข้างหน้า เพราะรายได้จากธุรกิจปิโตรเคมีของไทยออยล์ จะกลายเป็น "พลังบวก" ให้กับองค์กรแห่งนี้

"เราอยากเห็นการลดความเสี่ยงระหว่างธุรกิจน้ำมันกับปิโตรเคมี เพราะโดยมากไซเคิล (วัฏจักร) ของปิโตรเคมีและน้ำมัน จะเป็นคนละเวลากัน บอกไม่ได้ว่าห่างกันกี่ปี บอกได้ก็รวย เอาแน่เอานอนไม่ได้ อย่างปี 2549 อะโรเมติกส์ทำกำไรให้เรา 50-60% แต่ปีนี้เหลือ 30% เพราะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น

เราทาร์เก็ตไม่ได้ว่าสัดส่วนรายได้อะโรเมติกส์จะเป็นเท่าไหร่ในอนาคต เมื่อเทียบกับรายได้ในส่วนของน้ำมัน บอกได้แต่ว่า สัดส่วนรายได้ควรจะกลับทางกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่น้ำมันราคาตก อะโรเมติกส์ควรเป็น 60-70% เมื่อไหร่ที่น้ำมันราคาดี อะโรเมติกส์ก็ควรจะเหลือสัก 30%" วิโรจน์ มาวิจักขณ์ กรรมการอำนวยการไทยออยล์ เผย

การเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นและอะโรเมติกส์ ยังจะทำให้รายได้ของไทยออยล์ในปี 2551 เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 35% ประเมินเบื้องต้นปี 2551 จะเป็นปีที่ไทยออยล์มีกำไรสูงสุด มากกว่าที่เคยสูงสุดในปี 2548 ที่มีกำไร 16,000 ล้านบาท

ขณะที่ในปี 2550 ไทยออยล์น่าจะมีผลกำไรมากกว่า 13,000 ล้านบาท กรรมการอำนวยการไทยออยล์ประเมิน แม้ว่าไทยออยล์จะปิดซ่อมบำรุงหอกลั่นและปิดหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ก็ตาม เนื่องจากค่าการกลั่นน้ำมันในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในระดับสูง บางช่วงสูงถึง 10 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้เฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2550 ไทยออยล์มีกำไรแล้ว 12,000 ล้านบาท

การเพิ่มกำลังการผลิตปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ของไทยออยล์ นอกจากจะมองในแง่ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังวิเคราะห์ต่อไปอีกได้ว่า นี่คือการ "เตรียมความพร้อม" รับกับการควบรวมกิจการของไทยออยล์ กับ "บริษัทใหม่" ที่ตั้งขึ้นภายหลังการควบรวมกิจการระหว่างโรงกลั่นน้ำมันระยอง (อาร์อาร์ซี) กับบริษัทอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือเอทีซี ซึ่งจะแล้วเสร็จในปลายปี 2550 โดยหุ้นของบริษัทใหม่ที่จะตั้งขึ้น จะทำการซื้อขายได้ภายในต้นปี 2551

....หากจำได้ แผนการควบรวมกิจการระหว่าง ไทยออยล์-อาร์อาร์ซี-เอทีซี เป็นสิ่งที่ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. เคยเกริ่นเอาไว้ !!!

ขณะที่สถานะของไทยออยล์ กับ อาร์อาร์ซี ก็ไม่แตกต่างกัน เพราะต่างมีขาของธุรกิจปิโตรเคมี สายอะโรเมติกส์พ่วงอยู่เบื้องหลัง ถ้าจับมาควบรวมกิจการกันอีกต่อหนึ่งได้ ก็จะเกิดเป็นภาพการผนึกกำลังร่วม (synergy) ที่ชัดเจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ ปตท. ปรารถนา

แม้แผนดังกล่าวจะมีข้อจำกัดในเรื่องของ "โลเคชัน" ระหว่างโรงกลั่นอาร์อาร์ซี (ตั้งอยู่ใน จ.ระยอง) กับโรงกลั่นไทยออยล์ (ตั้งอยู่ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี) จะเป็นอุปสรรคหนึ่งในการควบรวม ก็ตาม

ทว่ากรรมการอำนวยการไทยออยล์ ยอมรับว่า แผนดังกล่าวอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ โดยคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จไม่เกินปี 2551 โดย "ไม่เกี่ยง" ว่าอนาคตของไทยออยล์ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

รู้อย่างเดียวว่า...ไม่ขอแตกแถว

....เพราะวิโรจน์ คือลูกหม้อของ ปตท.ตัวจริงเสียงจริง ก่อนจะเข้ามานั่งเป็นกรรมการอำนวยการไทยออยล์ เขาคือกรรมการผู้จัดการ บริษัทปิโตรเคมีแห่งชาติ (เอ็นพีซี) ก่อนที่บริษัทนี้จะเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัท ปตท.เคมิคอล ภายหลังการควบรวมกิจการกับบริษัทไทยโอเลฟินส์ (ทีโอซี)

วิโรจน์ จึงเป็นคนที่นายใหญ่ (ปตท.) ส่งมาคุม "ซ้ายหัน-ขวาหัน" โดยเฉพาะ

"ผมยอมรับว่าการขยายกำลังการผลิตอะโรเมติกส์ของไทยออยล์ จะรับกับแผนควบรวมกิจการของอาร์อาร์ซีกับเอทีซี เพราะเวลา PTT Group จะทำอะไร เราจะทำด้วยกัน นั่งคุยกัน หรือใครมีอะไร (วัตถุดิบ) เหลือก็มาทำรวมกัน ดีกว่าแยกกันทำ เป็นซินเนอร์ยี่ (พลังร่วม) ถ้ารวมแล้วดีก็จะรวม กำลังเริ่มจะศึกษาเรื่องนี้ร่วมกันน่าจะสรุปได้ในปีหน้า .. ....ต้องบอกว่า ไทยออยล์ คือ PTT Group ต้องมองอย่างนั้น ไทยออยล์เมื่อก่อนอยู่คนเดียวก็แทบเอาตัวไม่รอด เมื่อเป็นกลุ่มของ ปตท.แล้วก็ทำให้เราแข็งแรงขึ้น" วิโรจน์ระบุ

นอกจากธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีแล้ว ไทยออยล์ยังมีธุรกิจสนับสนุน เช่น ธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ธุรกิจขนส่งน้ำมัน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับรายได้ ธุรกิจต้องมองทางออกหลายๆ ด้าน

เขายังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น CDU 3 เพื่อเพิ่มกำลังการกลั่นอีก 5 หมื่นบาร์เรลนั้น จะทำให้หน่วยกลั่นอื่นๆ จะเหลือกำลังการกลั่นเพียง 120,000 บาร์เรลต่อวัน คาดว่าในช่วงไตรมาส 4 ปี 2550 ไทยออยล์จะเหลือกำลังการกลั่นเพียง 65% หรือราว 150,000 บาร์เรลต่อวัน ของกำลังการกลั่นรวม

แม้กำลังการผลิตของไทยออยล์จะหายไปเกือบ 50% แต่บริษัทมีแผนรองรับในการเก็บสำรองน้ำมันสำเร็จรูปและการนำเข้าวัตถุดิบอื่นๆ เข้ามาทดแทนในหน่วยกลั่นต่อเนื่องอื่นๆ

เขาบอกว่า การที่บริษัทเลือกหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 เนื่องจากเห็นว่า ในช่วงนี้ของทุกปีจะเป็นช่วงที่ค่าการกลั่นอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ โดยในช่วงไตรมาส 4 ปี 2549 ค่าการกลั่นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 7 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นช่วงที่ค่าการกลั่นอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด และในปี 2550 คาดว่าค่าการกลั่นจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา คือ 6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
โพสต์โพสต์