http://www.manager.co.th/Home/ViewNews. ... a%b4%d4%ecนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เห็นด้วยกับคำกล่าวของประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ในที่ประชุมโอเปกว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีโอกาสแตะระดับ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หากสหรัฐฯ โจมตีประเทศอิหร่าน แต่ก็จะต้องดูว่ามีผลกับอุปทานน้ำมันมากน้อยขนาดไหน และราคาในระดับนี้ผู้ซื้อสามารถรับได้หรือไม่ เพราะหากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง จะไม่สามารถส่งน้ำมันผ่านช่องแคบที่เชื่อมระหว่างอิหร่านกับประเทศอื่นได้ ซึ่งมีสัดส่วนการขนส่งน้ำมันถึงร้อยละ 20 ของตลาดโลก และจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซินสูงถึง 70 บาทต่อลิตร ซึ่งไทยเองก็ต้องเตรียมตัวรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกับที่ผ่านมา ซึ่งไม่เคยมีใครคาดการณ์ว่าน้ำมันในตลาดโลกจะสูงถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยจะต้องหาวิธีการลดการใช้น้ำมันอย่างจริงจัง ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน พัฒนาระบบขนส่งและกระจายสินค้า หรือ ลอจิสติกส์ พัฒนาโครงการรถไฟรางคู่ เพิ่มการใช้พลังงานทดแทน รวมถึงพลังงานนิวเคลียร์ด้วย เพราะกลไกการใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อบรรเทาผลกระทบ เป็นเพียงมาตรการปลายทางที่ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก
จากปิยสวัสดิ์ ห่วงสถานการณ์สหรัฐฯ ทำสงครามกับอิหร่าน ดันน้ำมันโลกแตะ 200 ดอลลาร์/บาเรล ชี้คนไทยมีโอกาสใช้น้ำมันลิตรละ 70 บาท ส่วนการลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
วันนี้ (19 พ.ย.) นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวระหว่างสัมมนาการส่งเสริมเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ โดยเชื่อว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นจาก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เพิ่มเป็น 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลได้ หากสหรัฐฯเปิดฉากทำสงครามกับประเทศอิหร่าน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันในแถบตะวันออกกลาง และไม่สามารถขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบโฮมุก ที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 15 ล้าน ลบ.เมตร/วัน หรือคิดเป็น 20% ของการผลิตน้ำมันในตลาดโลก
ทั้งนี้ ความเห็นของ นายปิยสวัสดิ์ เป็นความเห็นที่สอดคล้องกับประธานาธิบดีเวเนซุเอลา ที่กล่าวในระหว่างการประชุมกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก)
รมว.พลังงาน กล่าวอีกว่า หากเกิดภาวะสงครามจะมีผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินในประเทศสูงถึง 70 บาท/ลิตร แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ยังเป็นสถานการณ์ที่คาดเดาได้ยาก เพราะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีใครคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะสูงถึง 100 ดอลลาร์/บาร์เรล
ดังนั้น ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจะต้องช่วยกันประหยัดพลังงานโดยใช้นโยบายอย่างเข้มข้น เร่งพัฒนาระบบขนส่งทั้งระบบรางและการบรรทุกสินค้า ให้ความสำคัญหันมาใช้พลังงานทดแทน ที่สำคัญคงหนีไม่พ้นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนการลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเป็นเพียงมาตรการระยะสั้น และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... a%b4%d4%ec