ผมคำนวณ "ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า" ถูกหรือเปล่า
- firefox
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 1
ผมคำนวณ "ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า" ถูกหรือเปล่า
โพสต์ที่ 1
ผมลองคำนวณ"ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า" ของ บ.ไทย คาร์บอนแบล็ค ตามสูตรของพี่มน
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า= เจ้าหนี้การค้า/สินค้าคงเหลือ
ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า=365/อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า = 1,153/867,517 = 0.0013
ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า = 365/0.0013 = 280,769 วัน
เจ้าหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือ ผมเอามาจาก บัญชีงบดุลQ3
โดยเจ้าหนี้การค้า มาเฉพาะ "เจ้าหนี้การของกิจการที่เกี่ยวข้อง"
ไม่ทราบว่าผมคำนวณถูกหรือเปล่าเพราะค่าที่ได้ออกมามันมากจนเวอร์เลย
ขอความกรุณาพี่ๆVI ช่วยตรวจสอบให้ด้วยครับ
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า= เจ้าหนี้การค้า/สินค้าคงเหลือ
ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า=365/อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า = 1,153/867,517 = 0.0013
ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า = 365/0.0013 = 280,769 วัน
เจ้าหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือ ผมเอามาจาก บัญชีงบดุลQ3
โดยเจ้าหนี้การค้า มาเฉพาะ "เจ้าหนี้การของกิจการที่เกี่ยวข้อง"
ไม่ทราบว่าผมคำนวณถูกหรือเปล่าเพราะค่าที่ได้ออกมามันมากจนเวอร์เลย
ขอความกรุณาพี่ๆVI ช่วยตรวจสอบให้ด้วยครับ
- firefox
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 125
- ผู้ติดตาม: 1
ผมคำนวณ "ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า" ถูกหรือเปล่า
โพสต์ที่ 2
แต่พอผมลองใช้ รวมเจ้าหนี้การค้ามาคำนวณ
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า = 173,598/867,517 = 0.2
ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า = 365/0.2 = 1825 วัน หรือประมาณ 60 เดือน
มันไม่นานไปหรือครับ ?
อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า = 173,598/867,517 = 0.2
ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า = 365/0.2 = 1825 วัน หรือประมาณ 60 เดือน
มันไม่นานไปหรือครับ ?
-
- Verified User
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
ผมคำนวณ "ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า" ถูกหรือเปล่า
โพสต์ที่ 3
คุณfirefox เข้าใจผิดอยู่ครับจริงๆการหาระยะเวลาโดยประมาณพวกนี้ ไม่ต้องไปจำสูตรอะไรหรอกครับ มันเป็นการเทียบบัญญัติไตรยางค์ธรรมดา
เช่นถ้าจะหาเวลาจ่ายหนี้เฉลี่ย ของtcbไตรมาศ3(จากที่คุณfirefoxยกตัวอย่าง)ก็ได้ว่า (เจ้าหนี้การค้า/สินค้าคงเหลือ)=x/270วัน;{ที่เทียบกับ270วันเพราะว่าตัวเลขที่นำมาคิดได้จากไตรมาส3ก็คือ270วันจากงวดที่แล้วถ้าจากงบปีก็ใช้365 และถ้าจะให้ดีตัวเลขเจ้าหนี้การค้า ควรเอา(ต้นงวด+ปลายงวด)/2จะดีกว่า}
# 173/867=x/270วัน เพราะฉนั้นx(ระยะเวลาจ่ายหนี้)=173*270/867=54วัน {แต่โดยส่วนตัวเวลาจะหาเวลาจ่ายหนี้เฉลี่ยผมมักจะเทียบต้นทุนการขายนะ แต่ถ้าอยากจะเทียบจากสินค้าคงเหลือก็ได้}
เช่นถ้าจะหาเวลาจ่ายหนี้เฉลี่ย ของtcbไตรมาศ3(จากที่คุณfirefoxยกตัวอย่าง)ก็ได้ว่า (เจ้าหนี้การค้า/สินค้าคงเหลือ)=x/270วัน;{ที่เทียบกับ270วันเพราะว่าตัวเลขที่นำมาคิดได้จากไตรมาส3ก็คือ270วันจากงวดที่แล้วถ้าจากงบปีก็ใช้365 และถ้าจะให้ดีตัวเลขเจ้าหนี้การค้า ควรเอา(ต้นงวด+ปลายงวด)/2จะดีกว่า}
# 173/867=x/270วัน เพราะฉนั้นx(ระยะเวลาจ่ายหนี้)=173*270/867=54วัน {แต่โดยส่วนตัวเวลาจะหาเวลาจ่ายหนี้เฉลี่ยผมมักจะเทียบต้นทุนการขายนะ แต่ถ้าอยากจะเทียบจากสินค้าคงเหลือก็ได้}
-
- Verified User
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
ผมคำนวณ "ระยะเวลาจ่ายเจ้าหนี้การค้า" ถูกหรือเปล่า
โพสต์ที่ 4
สูตรพวกที่มักใช้เป็นประจำ
1]current ratio(อัตราส่วนทุนหมุนเวียน)=ทรัพย์สินหมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน,
2]quick ratio(อัตราส่วนหมุนเร็ว)=(เงินสด+เงิน่ลงทุนระยะสั้น+ลูกหนี้การค้า)/หนี้สินหมุนเวียน,
3]account receivable turnover(อัตราการหมุนของลูกหนี้)=
2*ยอดขาย/(ลูกหนี้การค้าต้นงวด+ลูกหนี้การปลาย),
4]days receive(ระยะเวลาเก็บหนี้)=365/อัตราการหมุนของลูกหนี้,
5]inventory turnnover(อัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ)=2*ต้นทุนการขาย/(สินค้าคงเหลือต้นงวด+สินค้าคงเหลือปลายงวด),
6]inventory days(ระยะเวลาขายสินค้า)=365/อัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ,
7]interest coverage ratio(ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย)=กำไรก่อนหักดอกเบี้ย/ดอกเบี้ย,
8]payable turnover(อัตรการหมุนเวียนเจ้าหนี้)=2*ต้นทุนการขาย/(เจ้าหนี้การค้าต้นงวด+เจ้าหนี้การค้าปลายงวด),
9]payable payment period(ระยะเวลาจ่ายหนี้)=365/อัตรการหมุนเวียนเจ้าหนี้,
10]fixed asset turnover(อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)=2*รายได้จากการขาย/(ที่ดิน,อาคาร,อุปกรณ์ต้นงวด+ปลายงวด),
11]gross profit margin(อัตรากำไรขั้นต้น)=กำไรขั้นต้น/ยอดขาย,
12]net profit margin(อัตรากำไรสุทธิ)=(กำไรขั้นต้น-ดอกเบี้ย-ผู้ถือหุ้นสว่นน้อย)/ยอดขาย,
13]debt to equity ratio=หนี้สิน/ทุน
ไอ้ตัวเลข365ใช้เมื่อเป็นงบรายปี แต่ถ้าเป็นงบรายไตรมาสก็ดูว่านับมาจากสิ้นงวดก่อนกี่วันแล้ว
1]current ratio(อัตราส่วนทุนหมุนเวียน)=ทรัพย์สินหมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน,
2]quick ratio(อัตราส่วนหมุนเร็ว)=(เงินสด+เงิน่ลงทุนระยะสั้น+ลูกหนี้การค้า)/หนี้สินหมุนเวียน,
3]account receivable turnover(อัตราการหมุนของลูกหนี้)=
2*ยอดขาย/(ลูกหนี้การค้าต้นงวด+ลูกหนี้การปลาย),
4]days receive(ระยะเวลาเก็บหนี้)=365/อัตราการหมุนของลูกหนี้,
5]inventory turnnover(อัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ)=2*ต้นทุนการขาย/(สินค้าคงเหลือต้นงวด+สินค้าคงเหลือปลายงวด),
6]inventory days(ระยะเวลาขายสินค้า)=365/อัตรการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ,
7]interest coverage ratio(ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย)=กำไรก่อนหักดอกเบี้ย/ดอกเบี้ย,
8]payable turnover(อัตรการหมุนเวียนเจ้าหนี้)=2*ต้นทุนการขาย/(เจ้าหนี้การค้าต้นงวด+เจ้าหนี้การค้าปลายงวด),
9]payable payment period(ระยะเวลาจ่ายหนี้)=365/อัตรการหมุนเวียนเจ้าหนี้,
10]fixed asset turnover(อัตราหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร)=2*รายได้จากการขาย/(ที่ดิน,อาคาร,อุปกรณ์ต้นงวด+ปลายงวด),
11]gross profit margin(อัตรากำไรขั้นต้น)=กำไรขั้นต้น/ยอดขาย,
12]net profit margin(อัตรากำไรสุทธิ)=(กำไรขั้นต้น-ดอกเบี้ย-ผู้ถือหุ้นสว่นน้อย)/ยอดขาย,
13]debt to equity ratio=หนี้สิน/ทุน
ไอ้ตัวเลข365ใช้เมื่อเป็นงบรายปี แต่ถ้าเป็นงบรายไตรมาสก็ดูว่านับมาจากสิ้นงวดก่อนกี่วันแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า
โพสต์ที่ 6
ขอ อนุญาต ครับ
ตอนนี้ที่บริษัทฯ ใช้ สูตร อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ = ซื้อ/ เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย
แล้วระยะเวลาการชำระหนี้ = 365/ อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า
มีประโยชน์ในการคำนวณ cash cycle
โดยคำนวณ จาก cash cycle (days) = อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า + อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ - อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า
ถ้า cash cycle ติดลบ จะดีมาก เพราะ ระยะเวลาการชำระหนี้ จะยาวกว่า ระยะเวลาเก็บเงิน กับ ระยะการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
ตอนนี้ที่บริษัทฯ ใช้ สูตร อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ = ซื้อ/ เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย
แล้วระยะเวลาการชำระหนี้ = 365/ อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า
มีประโยชน์ในการคำนวณ cash cycle
โดยคำนวณ จาก cash cycle (days) = อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า + อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ - อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้การค้า
ถ้า cash cycle ติดลบ จะดีมาก เพราะ ระยะเวลาการชำระหนี้ จะยาวกว่า ระยะเวลาเก็บเงิน กับ ระยะการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
Best Regards,
Anne
Anne