ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
matee
Verified User
โพสต์: 535
ผู้ติดตาม: 1

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ก.พลังงานยุครมต.หลังบ้านหมดท่าค่าไฟฟ้าพุ่งไม่หยุด ล่าสุดจ่อปรับค่าเอฟทีซ้ำเดิมประชาชน หลังแหล่งก๊าชในพม่าปิดซ่อมช่วงสงกรานต์ ด้านกฟผ.ระดมโรงไฟฟ้าทุกแห่งสำรองน้ำมันเตาและดีเซล รับมือแหล่งก๊าซพม่าหยุดส่งปริมาณก๊าซกว่า 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตหายไปจากระบบ ด้านโรงไฟฟ้าราชบุรีและไตรเอ็นเนอยี ต้องหยุดเดินเครื่องตามไปด้วย แต่พร้อมใช้น้ำมันดีเซลผลิตไฟยันกระทบค่าไฟฟ้าพุ่งช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ย.แน่นอน
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000038011
ภาพประจำตัวสมาชิก
SunShine@Night
Verified User
โพสต์: 2196
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รู้สึกจะได้รับการชดเชยนะครับ แต่ไม่แน่ใจว่ากระทบกับรายได้มากน้อยเพียงใด :)
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์

หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Akajon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

นสพ ผู้จัดการ นี่เก่งจิตวิทยาจริงๆ

ถ้าใช้ในทางบวก คงดีกับประเทศชาติไม่น้อย
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อาจจะกระทบมั๊งครับ เพราะว่าคงจะกระทบกับรายได้จากค่าความพร้อมจ่ายกระแสไฟฟ้า (AP) รายได้น่าจะลดลงในช่วงที่ไม่พร้อมจ่าย เว้นแต่ว่าสามารถจ่ายไฟโดยใช้เชื้อเพลิงอื่นได้นะ

ไม่แน่ใจนะครับว่าถูกเปล่า
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

(ต่ออีกนิด) ตามความเข้าใจผม คิดไปคิดมาผมว่า RATCH คงไม่กระทบมาก เพราะว่าถ้าไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติได้ ก็คงต้อง switch มาใช้เชื้อเพลิงอื่นในการผลิตกระแสไฟฟ้า ไม่แน่ใจว่ารายได้ค่า AP จะถูกกระทบจากส่วนนี้เปล่า แต่คิดว่าไม่น่า เพราะยังไง RATCH น่าจะจ่ายไฟได้โดยใช้เชื้อเพลิงอื่นผลิตแทน

ที่สำคัญ ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของ RATCH คนที่รับผิดชอบคือ EGAT เป็นคนจัดหา และแน่นอนว่า การที่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่น ช่วงที่ก๊าซธรรมชาติไม่พอจ่ายให้โรงงานไฟฟ้า ก็หมายความว่าต้นทุนเชื้อเพลิงสูงขึ้น ค่า Ft ก็ต้องสูงขึ้นแน่นอน

สรุปว่า RATCH คงโดนไม่มาก แต่ผู้บริโภค ไม่ก็ EGAT คงรับไปเต็ม ๆ
terati20
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 6

โพสต์

งงๆ กับ  EGAT   จริงๆครับ ไม่รู้เลยเหรอว่า ปตท จะปิดทำMaintenance เมื่อไหร่ ทำไม Gas ไม่สำรองไว้ล่วงหน้า

 อีกเรื่องที่ท่อก๊าซเเหล่งอาทิตย์รั่ว เเล้วโรงไฟฟ้าไปใช้น้ำมันเเทน ทำให้ค่า FT  สูงขึ้น เเสดงว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นประชาชนต้องรับ กรรม ???

  อุตสาหกรรมไฟฟ้าต้องเปลี่ยนเเปลงเเล้วครับ หมดยุคค่าไฟเเบบ  Cost plus  เเล้ว.....


:cry:  :cry:  :cry:
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="terati20"]งงๆ กับ
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เค้าเรียกว่าผลักภาระต้นทุนเชื้อเพลิงให้ผู้บริโภคผ่านทางค่า Ft ไงครับ  :wink:
ซากทัพ
Verified User
โพสต์: 393
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ตัดมาจากประชาสัมพันธ์ของกฟผ.ครับ
ปัญหาน่าจะอยู่ที่นโยบายการใช้เชื้อเพลิง มองการณ์สั้นมากมาก อิงก๊าซมากเกินไปและมีกระแสต่อต้านการใช้ถ่านหินมาตลอดและนิวเคลียร์เพิ่งจะเริ่มตื่นตัว เมืองไทยนี่เสี่ยงจริงจริง ควรดูญี่ปุ่นบ้าง เขาตุนถ่านหินไว้เยอะมาก

ช.อจช. ประเมินผลกระทบกรณีก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์เข้าระบบล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ต้องใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้ารวมกันถึง 290 ล้านลิตร ชี้ อนาคตต้องให้ความสำคัญกับการกระจายความเสี่ยงทางด้านเชื้อเพลิงมากยิ่งขึ้น
นายเทอดศักดิ์ เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดการเชื้อเพลิง (ช.อจช.) เปิดเผยถึงกรณีก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์เข้าระบบล่าช้าว่า ตามกำหนดการเดิมคาดว่าจะมีก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์ป้อนเข้าสู่ระบบในปริมาณ330 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ลบ.ฟุตต่อวัน) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2551 เพื่อรองรับกับความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากทางบริษัทผู้ผลิตแจ้งว่ามีปัญหาในส่วนของแท่นขุดเจาะ ทำให้ต้องมีการนำน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลซึ่งมีต้นทุนสูงกว่ามาใช้ผลิตไฟฟ้าแทนก๊าซธรรมชาติ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2551 มียอดการใช้ตั้งแต่วันที่ 10-30 มีนาคม 2551 รวมกันถึง 79 ล้านลิตร ต่อมา บมจ.ปตท. ได้เริ่มส่งจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอาทิตย์เข้าระบบแล้วประมาณ 90 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ในวันที่ 28 มีนาคม 2551 ก่อนจะเพิ่มปริมาณเป็น 120 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ในวันที่ 29 มีนาคม 2551 และ 200 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ในวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยจะส่งจ่ายในปริมาณดังกล่าวตลอดเดือนเมษายน 2551 จึงจะเพิ่มขึ้นเต็มที่เป็น 330 ล้านลบ.ฟุตต่อวันในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2551อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างวันที่ 11-19 เมษายน 2551 จะมีการหยุดส่งจ่ายก๊าซจากแหล่งเยตากุนและแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า เนื่องจากแหล่งเยตากุนจะมีการซ่อมบำรุงประจำปี ซึ่งจะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตก  หายไปจากระบบประมาณ 1,000 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ดังนั้น จึงต้องมีการสำรองน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลเพื่อชดเชยปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ บมจ.ปตท. ไม่สามารถส่งจ่ายได้ (ตั้งแต่ 28 มีนาคม-30 เมษายน 2551) ประมาณ 300 ล้านลิตร

นายเทอดศักดิ์ เลิศวัฒนาเกียรติ กล่าวต่อไปว่า สำหรับต้นทุนในส่วนที่เพิ่มขึ้นมานี้คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที) คงจะพิจารณาหาทางออกร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 1 เมษายน ที่จะถึงนี้ โดยในเบื้องต้นทางกระทรวงยืนยันว่าจะไม่ผลักภาระดังกล่าวไปยังประชาชนผ่านค่าเอฟที คาดว่าส่วนหนึ่งน่าจะนำมาจากค่าปรับที่ บมจ.ปตท. สามารถปรับจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งอาทิตย์ พร้อมกันนี้ กฟผ. ได้ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยการประสานไปทางกรมชลประทานเพื่อขอผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิม และได้สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงอย่างเต็มที่ คาดว่าจะช่วยบรรเทาได้ในระดับหนึ่ง

แม้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่ถูกผลักภาระไปยังประชาชน แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าวก็เป็นสิ่งสะท้อนถึงปัญหาการพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติมากเกินไป จะเห็นได้ว่าเมื่อเราพึ่งพิงก๊าซธรรมชาติถึงเกือบ 70% ทันทีที่ก๊าซมาไม่ตรงกำหนดก็ส่งผลกระทบอย่างมหาศาล ดังนั้น ประเทศไทยคงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการกระจายความเสี่ยงทางด้านเชื้อเพลิงมากขึ้น เพราะในอนาคตก๊าซธรรมชาติจะยิ่งจัดหาได้ยากขึ้นและมีความไม่แน่นอนสูงมากขึ้นทุกปี รวมทั้งการจัดหาน้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลเพื่อมาใช้ทดแทนกรณีขาดก๊าซธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดำเนินการได้ในระยะเวลาอันสั้นอีกต่อไป เพราะน้ำมันเตาที่นำมาใช้ในโรงไฟฟ้ากว่าครึ่งเป็นน้ำมันที่คุณภาพดีกว่ามาตรฐานทั่วไป หากปริมาณสำรองในประเทศมีไม่เพียงพอต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ส่วนน้ำมันดีเซลในปัจจุบันก็มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นจนประสบปัญหาขาดแคลน ช.อจช. กล่าวในท้ายที่สุด
anakinnet
Verified User
โพสต์: 520
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 10

โพสต์

เมื่อไหร่เราจะมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซะที โรงเล็กๆ ก็ได้ตั้ง 4000 MW แล้ว
In the long run, We are all dead.
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 11

โพสต์

anakinnet เขียน:เมื่อไหร่เราจะมีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซะที โรงเล็กๆ ก็ได้ตั้ง 4000 MW แล้ว
ปัญหาใหญ่น่าจะอยู่ที่สถานที่เก็บกากนิวเคลียร์มั๊งครับ
ซากทัพ
Verified User
โพสต์: 393
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ตัดมาจากประชาสัมพันธ์กฟผ.ของวันที่ 1 เมย.51 ครับ

NGO ย้ำจุดยืน ปรับ PDP 2007
ใช้พลังงานหมุนเวียนแทนโรงไฟฟ้าหลัก
 
ชพฟ. ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองด้านพลังงานทดแทน ชี้ ตราบใดที่ความต้องการใช้ไฟฟ้ายังคงเพิ่มขึ้นและต้องคำนึงถึงราคาพลังงานที่เหมาะสม ท่ามกลางกระแสการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ก็คงปฏิเสธนิวเคลียร์ไม่ได้ ขณะที่ นักวิจัย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ วิจารณ์แผน PDP 2007 ใส่พลังงานหมุนเวียนน้อยเกินไปและบังคับใส่นิวเคลียร์ทุกทางเลือก พร้อมแนะให้พยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ ตามด้วยการเพิ่มปริมาณการผลิตจากพลังงานหมุนเวียน เชื่อหากทำได้ไม่ต้องมีนิวเคลียร์
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ดร.กมล ตรรกบุตร ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมโรงไฟฟ้า (ชพฟ.) ให้เกียรติเป็นวิทยากรร่วมอภิปราย มุมมองพลังงานทดแทนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมี รศ.ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี ผอ.สถาบันวิจัยสถาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ในงานเสวนา พลังงานทดแทนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมนานาชาติ อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.กมล ตรรกบุตร เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าพลังงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ จึงเป็นเรื่องปกติที่ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นทุกวันตามอัตราการเพิ่มของประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจ ประกอบกับปัจจุบันหมดยุคของพลังงานราคาถูกแล้ว ดังนั้น จึงต้องมีการเสาะหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาทั้งในด้านราคาและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกระแสการลดปัญหาภาวะโลกร้อน ที่ผ่านมาเราใช้ทั้งการประหยัด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้พลังงานหมุนเวียนต่างๆไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าพลังงานหมุนเวียนมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องศักยภาพและราคา ประกอบกับถึงประหยัดอย่างไรความต้องการใช้พลังงานก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี อย่างไรก็ตามคงปฏิเสธการพึ่งพาพลังงานที่มีศักยภาพในอนาคตอย่างนิวเคลียร์และถ่านหินสะอาดไม่ได้ ตราบใดที่เรายังต้องคำนึงถึงราคาพลังงานที่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ที่นอกจากจะมีราคาถูกแล้ว ยังช่วยลดภาวะโลกร้อนเพราะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
         ด้าน ดร.บุญรอด สัจจกุลนุกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ในอดีตราคาน้ำมันมีการปรับตัวขึ้น-ลงเป็นช่วงๆ ตามแต่ละสถานการณ์ แต่ในปัจจุบันราคาน้ำมันมีแต่จะเพิ่มขึ้นไม่มีแนวโน้มว่า จะปรับตัวลดลง ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้น้ำมันลง สำหรับภาคการผลิตไฟฟ้ามีการตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ 3,276 เมกะวัตต์ภายในปี 2554
จากปัจจุบันที่มีอยู่ 1,621 เมกะวัตต์ (แบ่งเป็นชีวมวล 1,507 เมกะวัตต์พลังน้ำ 50 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์ 30.4 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 29.2 เมกะวัตต์ ขยะ 4.1 เมกะวัตต์และลม 0.958 เมกะวัตต์) โดยกำหนดเป้าหมายการเพิ่มชีวมวลเป็น 2,800 เมกะวัตต์ จากศักยภาพทั้งหมด 3,300 เมกะวัตต์ พลังน้ำเป็น 156 เมกะวัตต์ จาก 700 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์เป็น 45 เมกะวัตต์ จาก 50,000 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพเป็น 60 เมกะวัตต์ จาก 190 เมกะวัตต์ ขยะเป็น 100 เมกะวัตต์ จาก 147 เมกะวัตต์ และลมเป็น 115 เมกะวัตต์ จาก 1,600  เมกะวัตต์  เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการผลิตเอทานอล โดยผู้ผลิตสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี จาก BOI ยกเว้นภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลสำหรับเอทานอลที่ผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และจัดเก็บภาษีกองทุนน้ำมันในอัตราที่ต่ำกว่า เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน พร้อมทั้งส่งเสริมการใช้เอทานอลด้วยการจูงใจทางด้านราคา ตลอดจนส่งเสริมการส่งออกเอทานอลไปต่างประเทศ โดยช่วงเดือนเมษายน-ธันวาคม 2550 มีการส่งออกเอทานอลไปยังประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และออสเตรเลีย แล้ว 14.37 ล้านลิตร ขณะเดียวกันก็มีการสนับสนุนการผลิตไบโอดีเซลด้วยเช่นกัน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สินค้าเกษตรถือเป็นตลาดของผู้ซื้อ ที่ผู้ซื้อมีอำนาจในการกำหนดราคา  เพราะการผลิตสินค้าเกษตรมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นอาหารเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหาน้ำมันมีราคาแพงจึงถือเป็นโอกาสสำคัญของพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานทดแทนที่มาจากวัตถุดิบทางการเกษตร ส่งผลให้จากนี้ไปและอนาคตเกษตรกรจะมีทางเลือกมากขึ้นเพราะสามารถผลิตสินค้าเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานได้ด้วย ช่วยให้เกษตรกรไทยมีรายได้ที่ดีกว่าเดิม ขณะที่ นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัย มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ตั้งคำถามว่าทำไมต้องมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ อยู่ในทุกทางเลือกของแผน PDP 2007 และทำไมจึงมีพลังงานทางเลือกเพียง 1,700 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งเสนอทางเลือกของแผน PDP ใหม่ซึ่งเน้นพลังงานหมุนเวียนว่า ควรมีการปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ โดยลดจากที่คาดการณ์ไว้ในแผน PDP 2007 ปัจจุบัน 25% หรือ 9,440 เมกะวัตต์ พร้อมทั้งใช้การจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (DSM) ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าลงอีก 2,400  เมกะวัตต์
จากนั้นให้เพิ่มการพัฒนาพลังงานทางเลือกโดยเพิ่มชีวมวลเป็น 2,700 เมกะวัตต์ พลังน้ำขนาดเล็ก 300 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์ 470 เมกะวัตต์ ลม 260 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 470 เมกะวัตต์ ตามด้วยเพิ่มการลงทุนในระบบผลิตพลังงานร่วม(co-generation) 1,700 เมกะวัตต์ และปรับปรุงโรงไฟฟ้าเดิม(Re-powering) 4,200 เมกะวัตต์ จะทำให้สามารถยกเลิกโรงไฟฟ้าใหม่ได้ถึง 21 โครงการ จำนวน 14,920 เมกะวัตต์ ช่วยลดการลงทุนถึง 350,000 ล้านบาท ลดค่าเชื้อเพลิง 373,800 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 130.5 ล้านตัน ลดต้นทุนผลกระทบภายนอก 38,000 ล้านบาทต่อปี ลดความขัดแย้งในสังคม ไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และสามารถเพิ่มการจ้างงานได้ถึง 17,611 ตำแหน่ง เป็นต้น  

นิวเคลียร์น่าจะเป็นทางเลือกอีกทาง เรารู้จุดอันตรายก็น่าจะหาทางลดความเสี่ยงนี้ได้
ส่วนพลังงานทางเลือก ก็มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนะครับ ต้องรุกพื้นที่ป่า ใช้ปุ๋ยมากกระทบต่อสภาพดิน ต้องใช้น้ำมาก แย่งอาหารคน-สัตว์ แต่ดีตรงที่ไม่ต้องนำเข้า
artvr4
Verified User
โพสต์: 767
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ไปทำธุระแถวประจวบ เจอป้ายต้านโรงไพฟ้าถ่านหินเพียบเลย

ผมว่าเราควรมองถ่านหินมาทำไฟไฟ้ได้แล้วนะ แต่ชาวบ้านไม่ยอมรับน่ะ

จริงๆเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันไปไกลแล้ว แล้วก็ไม่ใช้ ลิกไนต์เหมือนแม่เมาะด้วย
หุ้นนี่ เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต จริงๆ
ซากทัพ
Verified User
โพสต์: 393
ผู้ติดตาม: 0

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 14

โพสต์

กระทรวงพลังงานลุ้นค่าบาทแข็ง ลดผลกระทบค่าไฟพุ่งจากปัญหาก๊าซแหล่งอาทิตย์จ่ายไม่ทันตามกำหนด
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวภายหลังหารือร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ ปตท.ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าปัญหาการจัดส่งก๊าซจากแหล่งอาทิตย์จะมีผลกระทบต่อการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าแค่ไหน แต่เชื่อว่าเงินบาทที่แข็งค่าน่าจะช่วยบรรเทาค่าไฟไม่ให้สูงขึ้นได้1
ทั้งนี้ ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลทั้งจาก ปตท.ที่จะต้องให้คำยืนยันถึงการจ่ายก๊าซในปริมาณ 330 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ได้เมื่อไร ในขณะที่ กฟผ.จะต้องเตรียมข้อมูลให้ชัดเจนถึงการใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันเตามาทดแทนก๊าซในการผลิตไฟฟ้า จึงขอให้ทุกฝ่ายนำข้อมูลดังกล่าวมาหารืออีกครั้งในวันที่ 4 เม.ย.นี้
ขณะนี้ก๊าซแหล่งอาทิตย์ป้อนก๊าซเข้าระบบได้แล้วล่าสุดที่ระดับ 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ขาดไป 130 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ก็เท่ากับ 1 โรงไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์ ส่วนก๊าซพม่าที่มีแผนหยุดซ่อมบำรุงระหว่างวันที่ 11-20 เม.ย. ปริมาณก๊าซหายไป 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จะทำให้โรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกคือไตรเอ็นเนอร์ยี่ กับราชบุรีต้องหยุดเดินเครื่อง
เป็นแผนที่มีการเตรียมไว้ล่วงหน้ามา 2 ปีแล้ว ประกอบกับเป็นช่วงหน้าร้อนที่ใช้ไฟ ก็เลยต้องมาดูกันว่าถ้าก๊าซแหล่งอาทิตย์ 130 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ที่เข้ามาไม่ทัน จะต้องใช้น้ำมันเตามาแทนเท่าใด ซึ่งขอให้ กฟผ.ไปหาตัวเลขหรือวิธีอื่นๆ ในการบริหารเชื้อเพลิงมารายงาน แต่ยืนยันว่าเราจะไม่ผลักภาระให้ประชาชนและไฟฟ้าจะไม่ดับแน่นอน นายณอคุณ กล่าว
นายณอคุณ กล่าวต่อว่า นโยบายของ รมว.พลังงาน นอกจากจัดหาเชื้อเพลิงให้เพียงพอแล้ว ก็ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนในการลดการใช้ไฟฟ้าด้วย เพราะหากร่วมกันประหยัดได้มากเพียงใด ความต้องการใช้น้ำมันมาผลิตไฟฟ้าช่วงหน้าร้อนก็จะลดลงมากเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผลจากการที่ร่วมกันประหยัดพลังงานในหน้าร้อน จะทำให้ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดหน้าเดือน มิ.ย.-ก.ย. ไม่ปรับเพิ่มขึ้นได้
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ระบุว่า ที่ประชุมได้สรุปชัดเจนว่าความผิดพลาดในการส่งก๊าซแหล่งอาทิตย์ล่าช้า ไม่ควรผลักภาระให้ประชาชน หรือไม่ควรจะนำมาคำนวณในค่าเอฟที โดยส่วนนี้น่าจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ดำเนินการคือ บริษัท ปตท.สผ.
นอกจากนี้ ยังให้ ปตท.ชะลอหรือลดการส่งออกน้ำมันเตา จากเดิมที่มีแผนจะส่งออก 2 ล็อตในเร็วๆ นี้ เพื่อสำรองใช้ในประเทศก่อน 

                                                      ที่มา นสพ.โพสต์ทูเดย์(2 เม.ย.2551)
Blueblood
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3645
ผู้ติดตาม: 1

ข่าวRatch ต้องหยุดโรงไฟฟ้า เพราะขาดก๊าซ จะมีผลกับราคาหุ้นไหม

โพสต์ที่ 15

โพสต์

วันก่อนไปฟังคุณประเสริฐแห่ง ptt พูดเค้าว่าเมืองไทยคุมราคาก๊าซไว้ต่ำกว่าตลาดโลกเยอะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมาช่วยใช้เยอะเพราะถูก กลายเป็นทรัพยากรเราโดนดึงไปใช้เยอะกว่าของคนอื่นซะงั้น คงต้องรอให้ประเทศเราขาดก๊าซก่อนรัฐบาลถึงจะเลิกคุม ... ไม่รู้ว่ากรณีนี้จะเป็นจุดเริ่มของการลอยตัวราคาก๊าซหรือเปล่านะครับ ...
It's earnings that count
โพสต์โพสต์