Active Portfolio Management
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 1
สืบเนื่องจากกระทู้ สูตรมหัศจรรย์ สไตล์ VI ในห้องกระทู้คุณค่า
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=32021
เห็นมีคนสนใจเยอะ ผมเลยอยากแชร์เรื่อง factor model แบบ acitive portfolio เพราะว่ามีหลักการเดียวกัน แต่เน้นทางด้าน quantitative มากกว่าตามสไตล์เด็ก quan (เด็กควอน นะครับ ไม่ใช่เด็กแคว๊น หรือเด็กแว็น)
ที่เอามาแยกลงเพราะว่าไม่อยากให้กระทู้เดิมเลอะเทอะ เพราะรู้สึกว่าถ้า post ต่อเรื่องหลังๆจะพาออกป่า ออกทะเลไปซะงั้น
สำหรับคนที่มีความรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว กรุณามาช่วยๆกันหน่อยเพราะผมก็ไม่ได้เก่งเรื่อง stat มากมายอะไร
ถ้าอ่านไม่รู้เรื่อง ขออภัยครับ เพราะผมเขียน และอธิบายให้ใครฟังไม่ค่อยเก่ง
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=32021
เห็นมีคนสนใจเยอะ ผมเลยอยากแชร์เรื่อง factor model แบบ acitive portfolio เพราะว่ามีหลักการเดียวกัน แต่เน้นทางด้าน quantitative มากกว่าตามสไตล์เด็ก quan (เด็กควอน นะครับ ไม่ใช่เด็กแคว๊น หรือเด็กแว็น)
ที่เอามาแยกลงเพราะว่าไม่อยากให้กระทู้เดิมเลอะเทอะ เพราะรู้สึกว่าถ้า post ต่อเรื่องหลังๆจะพาออกป่า ออกทะเลไปซะงั้น
สำหรับคนที่มีความรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว กรุณามาช่วยๆกันหน่อยเพราะผมก็ไม่ได้เก่งเรื่อง stat มากมายอะไร
ถ้าอ่านไม่รู้เรื่อง ขออภัยครับ เพราะผมเขียน และอธิบายให้ใครฟังไม่ค่อยเก่ง
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 2
เริ่มจากหนังสือสูตรมหัศจรรย์ก่อนครับ (ผมไม่เคยอ่านนะครับ แต่ quote จากคุณลูกอีสาน)
ลูกอิสาน เขียน:ที่มาของสูตรนี้ มีเหตุมีผลตรงตามนิยามของการลงทุนเน้นคุณค่าเลยครับ
อาจเป็นเพราะผู้เขียนก็เป็นคนที่ศรัทธาในการลงทุนแนวนี้
โดยการเสนอเป็นสูตรให้เข้าใจง่ายอย่างนี้ครับ
1.เลือกหุ้นที่ดี สามารถใช้สินทรัพย์สร้างกำไรได้สูงสุด ซึ่งเราสามารถหาได้จากอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ซึ่งก็คือ ROA นั่นเอง หาได้ไม่ยาก โดยนำกำไร/สินทรัพย์ทั้งหมด คิดออกมาเป็น%
2.เลือกหุ้นที่ถูก ซึ่งก็คือหุ้นที่สร้างผลตอบแทนต่อเงินที่เราลงทุนได้สูงสุด อัตราส่วนนี้ก็คือ PE ที่เราใช้นั่นเอง หาได้จาก กำไร/มูลค่าทั้งบริษัท หรือกำไรต่อหุ้น/ราคาหุ้น คิดออกมาเป็น %
จะเห็นได้ว่าตรงกับความหมายของ vi คือเลือกหุ้นที่ดีราคาถูก
วิธีการก็ง่ายๆอย่างนี้ครับ...
1.เรียงลำดับหุ้นที่มี ROA สูงสุด ลดหลั่นกันไปตามลำดับของหุ้นทั้งตลาด 400 ตัว
2.เรียงลำดับหุ้นที่มี PE ต่ำสุดเป็นอันดับแรก และลดหลั่นกันไป
3.นำลำดับทั้งสองตัวมีบวกกัน แล้วเรียงลำดับใหม่ให้ตัวเลขน้อยที่สุดเป็นอันดับแรก และลดหลั่นกันไป
4.คัดบริษัทที่มีกำไรผิดปกติออกไป
5.เลือกลงทุนหุ้นที่อยู่ใน 30 อันดับแรก ซื้อและขายใน 1 ปีต่อมา
ง่ายๆแค่นี้ครับ.....
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 3
เริ่มด้วย Risk กับ Sharp Ratio (Information Ratio) ก่อน
Risk = std Return
Sharp Ratio = Return/Risk
คอนเซ็ปท์ของ apm คือเราสร้าง portfolio ที่มีลักษณะคล้ายกับ Benchmark แล้ว "bet" โดยการเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนในหุ้นแต่ละตัว
Active weigh (Wactive = Wbenchmark Wportfolio)
Ractive = ∑(Wa*Ri)
Active risk = standard deviation of active return
Sharp Ratio ในที่นี้เราใช้คำว่า Information ratio (IR) = Active Return / Active Risk
Risk = std Return
Sharp Ratio = Return/Risk
คอนเซ็ปท์ของ apm คือเราสร้าง portfolio ที่มีลักษณะคล้ายกับ Benchmark แล้ว "bet" โดยการเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนในหุ้นแต่ละตัว
Active weigh (Wactive = Wbenchmark Wportfolio)
Ractive = ∑(Wa*Ri)
Active risk = standard deviation of active return
Sharp Ratio ในที่นี้เราใช้คำว่า Information ratio (IR) = Active Return / Active Risk
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 5
เราจะนิยามความเสี่ยงในที่นี้เป็นความแปรปรวนของผลตอบแทนนะครับ บางคนอาจจะบอกว่าความเสี่ยงคือความไม่รู้ แต่ ณ ที่นี้ขอนิยามตามนี้ละกัน
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 7
สำหรับสมมุติฐานหลักๆคือมีอยู่สองอย่างคือ นักลงทุนเป็นประเภท risk-averse ซึ่งหมายถึงนักลงทุนรู้สึกเจ็บปวดจากการเสียเงินหนึ่งบาท มากกว่าดีใจที่ได้เงินหนึ่งบาท
อีกอย่างคือ market เป็นแบบ semi-strong efficient คือ ตลาดมีประสิทธิภาพดีระดับหนึ่ง ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเราสามารถหาหุ้นที่ bet against market ไม่ได้ แต่ประสิทธิภาพยังดีจนสามารถ correct กลับมาที่ราคาตามพื้นฐานได้
อีกอย่างคือ market เป็นแบบ semi-strong efficient คือ ตลาดมีประสิทธิภาพดีระดับหนึ่ง ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากเราสามารถหาหุ้นที่ bet against market ไม่ได้ แต่ประสิทธิภาพยังดีจนสามารถ correct กลับมาที่ราคาตามพื้นฐานได้
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 8
เนื่องจากเราสมมุติว่านักลงทุนเป็นคนที่ชอบเสี่ยง ดังนั้นการประเมินผลงานของพอร์ตเราจะเน้นไปยัง information ratio เป็นหลัก มากกว่า return เฉยๆ การเพิ่ม IR ก็ทำได้สองแบบครับ คือเพิ่มผลตอบแทน กับ ลดความเสี่ยงนั่นเอง
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 9
การสร้างโมเดล หรือ alpha model
alpha model มีสองแบบครับคือ exact model กับ factor model วิธีการที่สูตรมหัศจรรย์เสนอเป็นแบบ factor model ครับ
exact model คือการหา alpha โดยการคำนวณมูลค่าโดยตรงเช่นวิธี gordon's growth model หรือ discounted cash flow วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมครับเนื่องจากอย่างที่รู้ๆกันครับ การที่จะประเมิน intrinsic value ของทุกบริษัทในตลาดนี่มันจะวุ่นวายกันไปขนาดไหน
วิธีที่เป็นที่นิยมมากกว่าคือ factor model แบบสูตรมหัศจรรย์นั่นเอง โดยมีสุมมุติฐานว่า ผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นขึ้นอยู่กับ factor ต่างๆตามที่เรากำหนดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น roa กับ p/e ในสูตรมหัศจรรย์นั่นเอง จริงๆแล้วมี factor ที่เราสามารถเลือกได้แตกต่างกันทั้งนี้แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน เช่น
ถ้าเป็นนักลงทุนที่เน้น Value อาจจะใช้ factor e/p, b/p, roe, roa, cf/p
ถ้าเป็นนักลงทุนที่เน้น Technic อาจจะใช้ ratio ราคาสูงสุดต่ำสุดในรอบกี่เดือนก็ว่าไป
หรือถ้าเป็นพวกลูกครึ่งก็สามารถเลือก factor ทาง technic มาปนๆกับ factor ทาง value ก็ด้าย :8)
เมื่อกำหนด factor ที่เราต้องการแล้วก็ทำตามจัดลำดับหุ้นตาม alpha rank ตาม ขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
1. หา factor ที่เราคิดว่ามีผลต่อราคาในอนาคตก่อน ถ้าตามสูตรที่คุยในกระทู้นี้คือ p/e กับ roa จริงๆแล้วจะใส่หรือเพิ่ม factor อื่นที่เราคิดว่ามีผลแทนก็ได้นะครับ
2. กำหนดน้ำหนักของแต่ละ factor เช่นเรา weight p/e ที่70% กับ roa 30% หรือถ้าธรรมดาก็เอาเท่าๆกันคือคนละครึ่ง (50%)
Note: สำหรับ factor p/e เราจะเปลี่ยนเป็น e/p เพื่อให้เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ (หมายถึงยิ่งมากยิ่งดี)
3. เอา e/p กับ roa มาหาค่าเฉลี่ย (mean) กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (std)
4. หา z-score ของหุ้นแต่ละตัวจาก (average - e/p หรือ roa ของหุ้นนั้นๆ)/std
5. หา alpha จาก weight ของ factor ที่เรากำหนด ถ้าตามสูตรนี้คือ = (0.5 * z-roa) + (0.5 * z-e/p)
6. เสร็จแล้วเอาค่า alpha มาเรียงจากมาไปน้อยได้ alpha rank
alpha model มีสองแบบครับคือ exact model กับ factor model วิธีการที่สูตรมหัศจรรย์เสนอเป็นแบบ factor model ครับ
exact model คือการหา alpha โดยการคำนวณมูลค่าโดยตรงเช่นวิธี gordon's growth model หรือ discounted cash flow วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมครับเนื่องจากอย่างที่รู้ๆกันครับ การที่จะประเมิน intrinsic value ของทุกบริษัทในตลาดนี่มันจะวุ่นวายกันไปขนาดไหน
วิธีที่เป็นที่นิยมมากกว่าคือ factor model แบบสูตรมหัศจรรย์นั่นเอง โดยมีสุมมุติฐานว่า ผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นขึ้นอยู่กับ factor ต่างๆตามที่เรากำหนดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น roa กับ p/e ในสูตรมหัศจรรย์นั่นเอง จริงๆแล้วมี factor ที่เราสามารถเลือกได้แตกต่างกันทั้งนี้แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน เช่น
ถ้าเป็นนักลงทุนที่เน้น Value อาจจะใช้ factor e/p, b/p, roe, roa, cf/p
ถ้าเป็นนักลงทุนที่เน้น Technic อาจจะใช้ ratio ราคาสูงสุดต่ำสุดในรอบกี่เดือนก็ว่าไป
หรือถ้าเป็นพวกลูกครึ่งก็สามารถเลือก factor ทาง technic มาปนๆกับ factor ทาง value ก็ด้าย :8)
เมื่อกำหนด factor ที่เราต้องการแล้วก็ทำตามจัดลำดับหุ้นตาม alpha rank ตาม ขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
1. หา factor ที่เราคิดว่ามีผลต่อราคาในอนาคตก่อน ถ้าตามสูตรที่คุยในกระทู้นี้คือ p/e กับ roa จริงๆแล้วจะใส่หรือเพิ่ม factor อื่นที่เราคิดว่ามีผลแทนก็ได้นะครับ
2. กำหนดน้ำหนักของแต่ละ factor เช่นเรา weight p/e ที่70% กับ roa 30% หรือถ้าธรรมดาก็เอาเท่าๆกันคือคนละครึ่ง (50%)
Note: สำหรับ factor p/e เราจะเปลี่ยนเป็น e/p เพื่อให้เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ (หมายถึงยิ่งมากยิ่งดี)
3. เอา e/p กับ roa มาหาค่าเฉลี่ย (mean) กับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (std)
4. หา z-score ของหุ้นแต่ละตัวจาก (average - e/p หรือ roa ของหุ้นนั้นๆ)/std
5. หา alpha จาก weight ของ factor ที่เรากำหนด ถ้าตามสูตรนี้คือ = (0.5 * z-roa) + (0.5 * z-e/p)
6. เสร็จแล้วเอาค่า alpha มาเรียงจากมาไปน้อยได้ alpha rank
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 10
ในขั้นตอนข้างบนผมยกตัวอย่างโดยใช้ factor เดียวกับสูตรมหัศจรรย์ แต่อย่าลืมว่าสามารถใช้ factor อื่นๆ ได้อีกมากมาย และได้เกินสอง factor พร้อมกัน เช่น จำนวน analyst ที่ recommend buy จำนวน revise earning ขึ้น แล้วแต่ชอบครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Active Portfolio Management
โพสต์ที่ 11
ขอแก้ครับ :oops:adi เขียน:เนื่องจากเราสมมุติว่านักลงทุนเป็นคนที่ชอบเสี่ยง ดังนั้นการประเมินผลงานของพอร์ตเราจะเน้นไปยัง information ratio เป็นหลัก มากกว่า return เฉยๆ การเพิ่ม IR ก็ทำได้สองแบบครับ คือเพิ่มผลตอบแทน กับ ลดความเสี่ยงนั่นเอง
เนื่องจากเราสมมุติว่านักลงทุนเป็นคนที่"ไม่"ชอบเสี่ยง ดังนั้นการประเมินผลงานของพอร์ตเราจะเน้นไปยัง information ratio เป็นหลัก มากกว่า return เฉยๆ การเพิ่ม IR ก็ทำได้สองแบบครับ คือเพิ่มผลตอบแทน กับ ลดความเสี่ยงนั่นเอง[
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan