ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 1
ผมสังเกตุใน "ร้อยคนร้อยหุ้น" ว่า ไม่มีคนสนใจคุยกันในหุ้นแบงก์เลย ทั้งที่ปีนี้ มีหลายโบรกฯเล็งว่า หลายแบงก์จะพลิกฟื้นผลประกอบการตอนปลายปี
ตัวผมเองเมื่อเปลี่ยนแนวทางมา ก้อไม่เคยเหลียวดูหุ้นแบงก์อีกเลย เพราะดูงบฯแล้วไม่รู้เรื่องอ่ะ
เคยอ่านฟอร์ม 56-1 ของ KBANK ทีนึง ไม่ค่อยเข้าใจ เลยยอมแพ้
ตัวผมเองเมื่อเปลี่ยนแนวทางมา ก้อไม่เคยเหลียวดูหุ้นแบงก์อีกเลย เพราะดูงบฯแล้วไม่รู้เรื่องอ่ะ
เคยอ่านฟอร์ม 56-1 ของ KBANK ทีนึง ไม่ค่อยเข้าใจ เลยยอมแพ้
-
- Verified User
- โพสต์: 1922
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 2
ลองถ้าตลาด panic พื้นฐานไม่เปลี่ยนแล้ว
bbl ต่ำ 70 scb ต่ำ 30 kbank ต่ำ 30
vi ช๊อบชอบ... :lol:
bbl ต่ำ 70 scb ต่ำ 30 kbank ต่ำ 30
vi ช๊อบชอบ... :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 4
วันนี้ไปฟัง ดร.นิเวศน์ มาครับ ที่งาน money expo
ท่านบอกว่าหุ้นแบงค์เป็นหุ้นที่ดี โตตามเศรษฐกิจไปเรื่อยๆ
แต่ต้องระวังเรื่องลูกหนี้ เพราะอาจจะเป็นหนี้สูญได้ในอนาคตครับ
หุ้นแบงค์เลยไม่น่าเสี่ยงมากกว่าละมั้งครับ :lol:
ท่านบอกว่าหุ้นแบงค์เป็นหุ้นที่ดี โตตามเศรษฐกิจไปเรื่อยๆ
แต่ต้องระวังเรื่องลูกหนี้ เพราะอาจจะเป็นหนี้สูญได้ในอนาคตครับ
หุ้นแบงค์เลยไม่น่าเสี่ยงมากกว่าละมั้งครับ :lol:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 6
ธนาคารทุกธนาคารมีผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันหมด
ทำให้โอกาสที่ทุกธนาคารสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันมาได้นั้นมีสูงมาก
มันไม่ใช่ผู้ที่ออกผลิตภัณฑ์มาก่อนได้ส่วนแบ่งการตลาดมาก และรักษาไว้ได้
ธนาคารดูยากน่าครับ เพราะว่า บริษัทลูกมากๆ
แต่ตอนนี้ลดลงไปมากแล้ว เมื่อก่อนมีอะไรไม่เกี่ยวข้องเพียบไปหมด
มีกระทั่งโรงงานเหล็ก เครื่องถ่ายเอกสาร โรงงานทำรถยนต์ ทำสีรถยนต์ ประกอบเครื่องจักร
ตอนนี้เลยโดนกฏ ห้ามถือเกิน 10%สำหรับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเงินการธนาคาร (มีพวกลิสซิ่ง-เช่าซื้อทุกอย่าง ประกันภัย บัตรเครดิต พวกนี้ล่ะครับที่ถือเกินได้)
การเข้าถึงคนฝากเงิน แต่ละธนาคารก็เข้าถึงไม่เหมือนกันอีก
ต้องต่อสู้กันให้ได้ลูกค้า โดยเฉพาะรายใหญ่เดี๋ยวนี้ไม่ง้อธนาคารแล้ว
ถ้ากู้ถ้าบริษัทที่อยู่ในตลาดก็ออกหุ้นกู้เลย ถ้าไม่อยู่ วันดีคืนดีก็ IPO ซักเลย
ทำให้โอกาสที่ทุกธนาคารสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันมาได้นั้นมีสูงมาก
มันไม่ใช่ผู้ที่ออกผลิตภัณฑ์มาก่อนได้ส่วนแบ่งการตลาดมาก และรักษาไว้ได้
ธนาคารดูยากน่าครับ เพราะว่า บริษัทลูกมากๆ
แต่ตอนนี้ลดลงไปมากแล้ว เมื่อก่อนมีอะไรไม่เกี่ยวข้องเพียบไปหมด
มีกระทั่งโรงงานเหล็ก เครื่องถ่ายเอกสาร โรงงานทำรถยนต์ ทำสีรถยนต์ ประกอบเครื่องจักร
ตอนนี้เลยโดนกฏ ห้ามถือเกิน 10%สำหรับกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางด้านการเงินการธนาคาร (มีพวกลิสซิ่ง-เช่าซื้อทุกอย่าง ประกันภัย บัตรเครดิต พวกนี้ล่ะครับที่ถือเกินได้)
การเข้าถึงคนฝากเงิน แต่ละธนาคารก็เข้าถึงไม่เหมือนกันอีก
ต้องต่อสู้กันให้ได้ลูกค้า โดยเฉพาะรายใหญ่เดี๋ยวนี้ไม่ง้อธนาคารแล้ว
ถ้ากู้ถ้าบริษัทที่อยู่ในตลาดก็ออกหุ้นกู้เลย ถ้าไม่อยู่ วันดีคืนดีก็ IPO ซักเลย
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 11
ธุรกิจสถาบันการเงิน มีทุน 1 บาท ก็ระดมเงินฝากหรือออกตราสารเงินกู้อีกประมาณ 9 รวมเป็นเงิน 10 บาท
เงิน 10 บาทที่ว่านี้ก็ไปปล่อยกู้ หรือลงทุนตราสารทางการเงินต่างๆ ที่ดอกเบี้ยสูงพอๆ กับการปล่อยกู้ เช่น CDO
ถ้าคิดตามหลัก finance ก็คือธุรกิจนี้มี d/e 9 เท่า
แต่ที่แปลกคือ บทวิเคราะห์หุ้นไม่เคยบอกไว้เลยว่าหุ้นสถาบันการเงินตัวนั้นตัวนี้มีความเสี่ยงสูงเพราะมี d/e 9-10 เท่า เห็นแต่ไปวิเคราะห์ sector อื่นๆ บางทีเห็น d/e เกิน 2 เท่าก็ว่าเสี่ยงแล้ว
ทุน 1 บาทก็คือ Book value ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะซื้อขายกันที่ p/bv 2-4 เท่า ดังนั้นจาก book 1 บาท แต่ราคาหุ้นจะเป็น 2-4 บาท
พอเงินให้กู้หรือสินทรัพย์บางประเภทมีปัญหา ไม่ต้องมาก คือแค่ 20% ของทั้งหมด เงิน 10 บาทที่ว่านั้นก็จะมีมูลค่าเหลือ 8 บาท ก็เท่ากับว่าสินทรัพย์เหลือ 8 แต่หนี้สินยังเท่าเดิมคือ 9
เท่ากับว่า equity ติดลบ 1 บาท แต่ราคาหุ้นเดิมคือ 2-4 บาท
หนี้สิน 9 บาทที่มีนั้น ถ้าเป็นเงินฝากจากประชาชน ก็อันตรายมาก เพราะเมื่อมีข่าวว่าสถาบันการเงินนั้นๆ มีปัญหาแพร่ออกไป ผู้ฝากเงินซึ่งก็คือเจ้าหนี้ก็จะพร้อมกันเข้ามาถอนเงินออกไป แม้จะเป็นการฝากประจำที่ไม่ครบกำหนดก็ตาม นับว่าเป็นหนี้ที่อันตรายมากเพราะเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระแน่นอนและเจ้าหนี้พร้อมเรียกเงินคืนได้ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากธุรกิจ real sector ที่สามารถบริหารเงินกู้ด้วยการกู้ธนาคารระยะยาวหรือออกหุ้นกู้ซึ่งมีกำหนดชำระแน่นอน
ดังนั้นสถาบันการเงินจึงตกภายใต้ความเสี่ยงหลายๆ อย่าง คือ
- ใช้ d/e สูงมาก
- สินทรัพย์ที่ไปลงทุนหรือปล่อยกู้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมมีมูลค่าลดลงอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
- เจ้าหนี้ ( ผู้ฝากเงิน ) เป็นเจ้าหนี้ที่พร้อมจะดึงเงินกู้กลับตลอดเวลา
ในขณะที่ถ้าเราไปดู ROE ของสถาบันการเงินต่างๆ ก็พบว่าไม่ได้สูงกว่าหุ้น real sector มากนัก คือประมาณ 15-25% เหมือนกัน
แม้ว่าตามหลักแล้ว d/e สูง ROE จะต้องสูงตาม แต่สถาบันการเงินที่ d/e สูงมากกลับได้ roe เท่ากับหุ้นที่มี d/e 0-2 เท่าในธุรกิจอื่นๆ
ดังนั้น คำว่าซื้อลงทุน ถือถึงลูกถึงหลาน คงจะใช้ไม่ได้กับการลงทุนในหุ้นสถาบันการเงินไม่ว่าประเทศใด
เงิน 10 บาทที่ว่านี้ก็ไปปล่อยกู้ หรือลงทุนตราสารทางการเงินต่างๆ ที่ดอกเบี้ยสูงพอๆ กับการปล่อยกู้ เช่น CDO
ถ้าคิดตามหลัก finance ก็คือธุรกิจนี้มี d/e 9 เท่า
แต่ที่แปลกคือ บทวิเคราะห์หุ้นไม่เคยบอกไว้เลยว่าหุ้นสถาบันการเงินตัวนั้นตัวนี้มีความเสี่ยงสูงเพราะมี d/e 9-10 เท่า เห็นแต่ไปวิเคราะห์ sector อื่นๆ บางทีเห็น d/e เกิน 2 เท่าก็ว่าเสี่ยงแล้ว
ทุน 1 บาทก็คือ Book value ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่ราคาหุ้นจะซื้อขายกันที่ p/bv 2-4 เท่า ดังนั้นจาก book 1 บาท แต่ราคาหุ้นจะเป็น 2-4 บาท
พอเงินให้กู้หรือสินทรัพย์บางประเภทมีปัญหา ไม่ต้องมาก คือแค่ 20% ของทั้งหมด เงิน 10 บาทที่ว่านั้นก็จะมีมูลค่าเหลือ 8 บาท ก็เท่ากับว่าสินทรัพย์เหลือ 8 แต่หนี้สินยังเท่าเดิมคือ 9
เท่ากับว่า equity ติดลบ 1 บาท แต่ราคาหุ้นเดิมคือ 2-4 บาท
หนี้สิน 9 บาทที่มีนั้น ถ้าเป็นเงินฝากจากประชาชน ก็อันตรายมาก เพราะเมื่อมีข่าวว่าสถาบันการเงินนั้นๆ มีปัญหาแพร่ออกไป ผู้ฝากเงินซึ่งก็คือเจ้าหนี้ก็จะพร้อมกันเข้ามาถอนเงินออกไป แม้จะเป็นการฝากประจำที่ไม่ครบกำหนดก็ตาม นับว่าเป็นหนี้ที่อันตรายมากเพราะเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระแน่นอนและเจ้าหนี้พร้อมเรียกเงินคืนได้ตลอดเวลา ซึ่งต่างจากธุรกิจ real sector ที่สามารถบริหารเงินกู้ด้วยการกู้ธนาคารระยะยาวหรือออกหุ้นกู้ซึ่งมีกำหนดชำระแน่นอน
ดังนั้นสถาบันการเงินจึงตกภายใต้ความเสี่ยงหลายๆ อย่าง คือ
- ใช้ d/e สูงมาก
- สินทรัพย์ที่ไปลงทุนหรือปล่อยกู้เป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมมีมูลค่าลดลงอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ต่างๆ
- เจ้าหนี้ ( ผู้ฝากเงิน ) เป็นเจ้าหนี้ที่พร้อมจะดึงเงินกู้กลับตลอดเวลา
ในขณะที่ถ้าเราไปดู ROE ของสถาบันการเงินต่างๆ ก็พบว่าไม่ได้สูงกว่าหุ้น real sector มากนัก คือประมาณ 15-25% เหมือนกัน
แม้ว่าตามหลักแล้ว d/e สูง ROE จะต้องสูงตาม แต่สถาบันการเงินที่ d/e สูงมากกลับได้ roe เท่ากับหุ้นที่มี d/e 0-2 เท่าในธุรกิจอื่นๆ
ดังนั้น คำว่าซื้อลงทุน ถือถึงลูกถึงหลาน คงจะใช้ไม่ได้กับการลงทุนในหุ้นสถาบันการเงินไม่ว่าประเทศใด
Small Details Make a Big Difference
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 12
ความคิดเห็นขัดแย้งครับ เพราะยังไงหุ้นแบงค์ผมก็ว่าเป็น Value Stock ได้
คือยังไงถ้า Price ต่ำกว่า Value หุ้นมันก็ Value Stock ดีๆ นี่เอง
และโดยตัวธุรกิจที่เอาหนี้ไปหากำไร ผมจึงมองว่าลำพังจะเอา d/e มาวัดความเสี่ยงทางธุรกิจของแบงค์นี่
ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยนักครับ ต้องใช้ตัววัดอื่นครับ เพราะธุรกิจมันคนละอย่างกัน...
คือยังไงถ้า Price ต่ำกว่า Value หุ้นมันก็ Value Stock ดีๆ นี่เอง
และโดยตัวธุรกิจที่เอาหนี้ไปหากำไร ผมจึงมองว่าลำพังจะเอา d/e มาวัดความเสี่ยงทางธุรกิจของแบงค์นี่
ผมจึงไม่ค่อยเห็นด้วยนักครับ ต้องใช้ตัววัดอื่นครับ เพราะธุรกิจมันคนละอย่างกัน...
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 13
สำหรับผมแล้ว
งบการเงินของสถาบันการเงินไม่ได้แสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงครับ
ทำให้ผมไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ อีกทั้งสามารถล้มละลายได้เพียงข้ามคืน โดยที่งบการเงินยังคงมั่นคงอยู่
งบการเงินของสถาบันการเงินไม่ได้แสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงครับ
ทำให้ผมไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ อีกทั้งสามารถล้มละลายได้เพียงข้ามคืน โดยที่งบการเงินยังคงมั่นคงอยู่
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 42
- ผู้ติดตาม: 0
ทำไม VI ไม่ชอบหุ้นแบงก์ครับ
โพสต์ที่ 16
ธนาคารนั้น งบการเงินซับซ้อนมากเลยอ่ะผมว่า กฎระเบียบเยอะมาก เเต่ถ้ารู้ละเอียดผมว่าดีนะ เพราะหุ้นธนาคารนี่ผูกกับศก.เลย