VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
-
- Verified User
- โพสต์: 251
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 3
เกือบๆ เต็ม ปอด มาตั้งแต่ แถว 700 จุด แล้วครับ
ไม่รู้จะดีใจ ที่มันอีกไม่กี่จุด ก็ 0 แล้ว ดี หรือเปล่า :roll:
อาจจะซื้อหุ้นเพิ่มแล้วครับ กำลังเลือกๆ อยู่ครับ
ไม่รู้จะดีใจ ที่มันอีกไม่กี่จุด ก็ 0 แล้ว ดี หรือเปล่า :roll:
อาจจะซื้อหุ้นเพิ่มแล้วครับ กำลังเลือกๆ อยู่ครับ
Life is a lot like Jazz, it's best when you improvise
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 9
ถ้าผมขาย คงเป็น Cut Profit มากกว่า
เพราะว่า Cut Loss หมายถึง การขายหุ้นเพื่อหยุดขาดทุน ไม่ให้ขาดทุนมากขึ้น
ดังนั้น Cut Profit ก็น่าจะหมายถึง การขายหุ้นเพื่อหยุดกำไร ไม่ให้กำไรมากขึ้น :lol:
เพราะว่า Cut Loss หมายถึง การขายหุ้นเพื่อหยุดขาดทุน ไม่ให้ขาดทุนมากขึ้น
ดังนั้น Cut Profit ก็น่าจะหมายถึง การขายหุ้นเพื่อหยุดกำไร ไม่ให้กำไรมากขึ้น :lol:
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 10
ผมได้คัตลอสบางตัว ไม่ใช่เป็นเพราะว่าบริษัทที่ถืออยู่มันกำลังลอสนะครับ
และบางตัวก็มีเงินล้นบริษัท แต่สิ่งที่ผมทำเพราะผมเห็นโอกาส ไม่ใช้เห็นว่าหุ้นจะต่ำลงไปอีกมากแล้วค่อยช้อน
แต่บางสิ่งไม่แน่นอน บางสิ่งที่ดีกว่า
และหุ้นทั้งตลาดมันคงไม่ได้วิ่งไปใหนในเร็วๆวันนี้ อย่างน้อยก็ต้องผลประกอบการไตรมาสหน้าออก
อันที่จริงผมใช้วิธีปรับพอร์ตเมื่อหุ้นตกแรงๆ ในทุกๆครั้งที่ตลาดลง 10-20% (แต่บางตัวผมยังถือมา จะสองปีแล้วยังไม่ได้ขายเพราะกำไรยังเยอะอยู่)
ผมหวังว่าในปีหน้าผมจะเจอหุ้นดีที่คนอื่นไม่สนใจ ในราคามีส่วนลดมากๆ ถ้าไม่เป็นไปตามคาดผมก็ยังถือหุ้นอยู่ 50%
และบางตัวก็มีเงินล้นบริษัท แต่สิ่งที่ผมทำเพราะผมเห็นโอกาส ไม่ใช้เห็นว่าหุ้นจะต่ำลงไปอีกมากแล้วค่อยช้อน
แต่บางสิ่งไม่แน่นอน บางสิ่งที่ดีกว่า
และหุ้นทั้งตลาดมันคงไม่ได้วิ่งไปใหนในเร็วๆวันนี้ อย่างน้อยก็ต้องผลประกอบการไตรมาสหน้าออก
อันที่จริงผมใช้วิธีปรับพอร์ตเมื่อหุ้นตกแรงๆ ในทุกๆครั้งที่ตลาดลง 10-20% (แต่บางตัวผมยังถือมา จะสองปีแล้วยังไม่ได้ขายเพราะกำไรยังเยอะอยู่)
ผมหวังว่าในปีหน้าผมจะเจอหุ้นดีที่คนอื่นไม่สนใจ ในราคามีส่วนลดมากๆ ถ้าไม่เป็นไปตามคาดผมก็ยังถือหุ้นอยู่ 50%
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 11
ที่ราคาวันนี้ ต่ำกว่า 400 จุด ผมว่าต่ำเกินไปมากแล้ว ผู้บริหารหลายบริษัททนเห็นหุ้นตนเองราคาต่ำเกินไปไม่ได้ จึงออกนโยบายซื้อหุ้นคืน จึงไม่อยากให้พวกเรามีอารมณ์กับตลาด ถ้าพื้นฐานไม่เปลี่ยน ขอให้เพื่อน ๆ อย่า cut loss นะครับ และควรทยอยเก็บหุ้นดี ๆ ด้วยซ้ำ ด้วยความหวังดีนะครับ....แล้วอนาคตจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เราได้เข้าใจการลงทุนอย่างถูกต้องไหม
(อยากบอกว่า ปกติผมจะไม่ให้ความเห็นเชียร์ แต่จั่วหัวว่ามีใคร cut loss บ้าง ก็เลยกลัวว่าเดี๋ยวบางคนอ่านแล้วอยากไป cut loss เลยอยากให้ความเห็นที่ตรงกับใจ ด้วยความหวังดี แต่ผมก็อาจผิดได้ ดังนั้นท้ายสุดขอใช้วิจารณญานของตนเองนะครับ)
(อยากบอกว่า ปกติผมจะไม่ให้ความเห็นเชียร์ แต่จั่วหัวว่ามีใคร cut loss บ้าง ก็เลยกลัวว่าเดี๋ยวบางคนอ่านแล้วอยากไป cut loss เลยอยากให้ความเห็นที่ตรงกับใจ ด้วยความหวังดี แต่ผมก็อาจผิดได้ ดังนั้นท้ายสุดขอใช้วิจารณญานของตนเองนะครับ)
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2494
- ผู้ติดตาม: 2
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 12
อยู่เฉยๆครับ จ้องหุ้นชั้นดีที่ราคาลงมา(อย่างแรง...)ตาเป็นมัน :lol:
ผมว่าตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะสลับหุ้นธรรมดาราคาถูก(มั่กๆ)ของเรา
มาเป็นหุ้นชั้นดี ราคายุติธรรม(ค่อนไปทางถูก) ที่มีเกลือนตลาดครับ
ยังไงก็แล้วแต่ ผลต่างระหว่างราคาหุ้น กับมูลค่าที่แท้จริงที่เหมาะสมสำหรับจริตของเรา เป็นเกณฑ์ที่ต้องพิจารณามากกว่า นิ้วชี้ตลาดครับ :8)
ผมว่าตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะสลับหุ้นธรรมดาราคาถูก(มั่กๆ)ของเรา
มาเป็นหุ้นชั้นดี ราคายุติธรรม(ค่อนไปทางถูก) ที่มีเกลือนตลาดครับ
ยังไงก็แล้วแต่ ผลต่างระหว่างราคาหุ้น กับมูลค่าที่แท้จริงที่เหมาะสมสำหรับจริตของเรา เป็นเกณฑ์ที่ต้องพิจารณามากกว่า นิ้วชี้ตลาดครับ :8)
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
- satantuey
- Verified User
- โพสต์: 743
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 13
ก็ตั้งแต่วิกฤตมา ได้คัทไปตัวเพราะตัวที่ซื้อเป็นแนวเก็งกำไรแล้วคิดผิดทางมันไม่มีแนวกำไรอย่างที่เก็ง เหอๆ :lol: :lol:
ส่วนตัวที่เหลือๆ ล้วนคัทไม่ลง มีแต่ซื้อเพิ่มคับ เพาะเป็นที่เน้นๆทั้งนั้น ถ้าลงอีกก็จะทยอยเก็บ แค่คงเก็บได้ทีละน้อยครับ เพราะอัดไปเยอะช่วง Set มาอยุ่ 500 ใหม่ๆ (ไม่คิดว่าจะลงลึกมาขนาดนี้)
ปล.เร่งปั๊มกระสุนสะสมเสบียงอยู่
ส่วนตัวที่เหลือๆ ล้วนคัทไม่ลง มีแต่ซื้อเพิ่มคับ เพาะเป็นที่เน้นๆทั้งนั้น ถ้าลงอีกก็จะทยอยเก็บ แค่คงเก็บได้ทีละน้อยครับ เพราะอัดไปเยอะช่วง Set มาอยุ่ 500 ใหม่ๆ (ไม่คิดว่าจะลงลึกมาขนาดนี้)
ปล.เร่งปั๊มกระสุนสะสมเสบียงอยู่
- dino
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1286
- ผู้ติดตาม: 1
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 14
แหะ แหะ ผมยังท่องอยู่เสมอครับว่า
ข้อหนึ่ง เลือกบริษัทที่มีอนาคตดี
ข้อสอง มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
ข้อสาม ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรเป็น
ข้อสี่ ผู้บริหารซื่อสัตย์และเก่ง
ข้อห้า ถือไว้ถ้าสี่ข้อแรกยังเหมือนเดิมหรือยังไม่มีตัวอื่นที่ดีกว่า
ผมต้องเตือนตัวเองเสมอๆ ไม่ให้ภาวะแวดล้อมจูงจมูกไปครับ
ข้อหนึ่ง เลือกบริษัทที่มีอนาคตดี
ข้อสอง มีกำไรต่อเนื่องไปในอนาคต
ข้อสาม ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่ควรเป็น
ข้อสี่ ผู้บริหารซื่อสัตย์และเก่ง
ข้อห้า ถือไว้ถ้าสี่ข้อแรกยังเหมือนเดิมหรือยังไม่มีตัวอื่นที่ดีกว่า
ผมต้องเตือนตัวเองเสมอๆ ไม่ให้ภาวะแวดล้อมจูงจมูกไปครับ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 15
คัดบางตัวไปเข้าบางตัว เสร็จแล้วก็คัดไปอีกรอบแล้วก็เข้าไปอีกรอบ
เล่นหุ้นปีนี้งงๆ เหมือนกันว่านี่ตกลงตูเป็น VI หรือเปล่าเนี่ย...
ส่วนตัวที่ถืออยู่นี่ ถ้ามีสัญญาณออกมาว่าวิเคราะห์ผิด หรือมีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่ามากๆ (เช่น หุ้นค้าปลีก P/E 2 เท่า) อาจจะต้องคัดตัวที่ถืออีกรอบ เพื่อไปเข้าตัวอื่นครับ
เล่นหุ้นปีนี้งงๆ เหมือนกันว่านี่ตกลงตูเป็น VI หรือเปล่าเนี่ย...
ส่วนตัวที่ถืออยู่นี่ ถ้ามีสัญญาณออกมาว่าวิเคราะห์ผิด หรือมีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่ามากๆ (เช่น หุ้นค้าปลีก P/E 2 เท่า) อาจจะต้องคัดตัวที่ถืออีกรอบ เพื่อไปเข้าตัวอื่นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1266
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 17
เท่าที่อ่านกระทู้ดู ไม่น่าจะมีใคร Cut Loss ในช่วงนี้ ตอนนี้ทุกคนมองโลกร้ายหมด โบรคเชียร์ขาย เศรษฐกิจจะฟุบไปอีกหลายปี ส่งออกจะแย่ในปีหน้า อุตสาหกรรมยานยนต์ เลย์ออฟ พนักงาน การเมืองก็ไม่มีวี่แววสงบ ท่องเที่ยวก็หงอย ชวนท้อแท้เสียจริง
แต่ถ้ามองกันลึกๆ ในผลลบของอุตสาหกรรมหนึ่ง มันเป็นผลบวกของอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง เช่น น้ำมันลด คนใช้รถน่าจะดีใจ รถใช้ไปทุกวันเก่าไปทุกวัน เดี๋ยวยอดขายรถก็กลับมาเอง ค่าระวางเรือลด ต้นทุนส่งสินค้าถูกลง ราคาสินค้าถูกลง การบริโภค ก็เพิ่มขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติหาย โรงแรมลดราคา เราได้เที่ยวในราคาถูกลง ฯลฯ
แต่ถ้ามองกันลึกๆ ในผลลบของอุตสาหกรรมหนึ่ง มันเป็นผลบวกของอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง เช่น น้ำมันลด คนใช้รถน่าจะดีใจ รถใช้ไปทุกวันเก่าไปทุกวัน เดี๋ยวยอดขายรถก็กลับมาเอง ค่าระวางเรือลด ต้นทุนส่งสินค้าถูกลง ราคาสินค้าถูกลง การบริโภค ก็เพิ่มขึ้น นักท่องเที่ยวต่างชาติหาย โรงแรมลดราคา เราได้เที่ยวในราคาถูกลง ฯลฯ
ความรู้คู่เปรียบด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 262
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 18
ในพอร์ตตอนนี้ขาดทุนประมาณ20% รวมปันผล(เพราะปันผลออกมาก็ซื้อหุ้นกลับ) แต่ตอนนี้ยังมองหุ้นที่ตกลงมาเยอะๆ ตาเป็นมันเหมือนกันครับ แต่ก่อนไม่เคยมองตัว SCC เลย เพราะว่า P/Bv มันสูงเหลือเกิน มาวันนี้เหลือแค่ 1.28 ชักสนใจ ขณะกำลังพิมพ์อยู่นี้ก็ 95.50 แล้ว ถ้ามันลงมาเกือบ ๆ ถึง BV แล้วคงจะซื้อสักนิด เพราะเงินมีจำกัดเหลือเกิน สรุปแล้ว ยังไงก็ยังอยากซื้อหุ้นเรื่อยๆ ถ้ามีตังค์นะครับ
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 1
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 19
cut lose :shock:
what win :?:
what win :?:
- gnomeller
- Verified User
- โพสต์: 425
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 21
port ติดลบ 47% สะใจวัยรุ่นกันไป :twisted:
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 22
จะลงทุนหรือถือต่อ กลับไปดูพื้นฐานการลงทุนก่อนว่า เราเล่นหุ้นหรือลงทุนในหุ้นครับ
เอาบทความมาให้อ่านก่อนตัดสินใจครับ จะคัดหรือถือต่อดีครับ
:lol:
http://72.14.235.132/search?q=cache:2OM ... =firefox-a
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร “การลงทุน ไม่ใช่การเล่นหุ้น”
Posted on Saturday, August 30, 2008
“ทำไมไม่ทำธุรกิจบ้าง” เพาพิลาส เหมวชิรวรากร เอ่ยถามสามี ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
“ผมทำอยู่แล้ว” ดร.นิเวศน์ ตอบภรรยาสั้นๆ แต่ได้ใจความ
ตลอดเกือบ 12 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าธุรกิจของ ดร.นิเวศน์เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างงดงาม เป็นที่อิจฉาของใครต่อใครหลายๆ คน และดร.นิเวศน์ไม่ได้เป็นเจ้าของแค่ธุรกิจเพียงแห่งเดียว และอาจจะพูดได้ว่าเป็นบุคคลที่มีธุรกิจหลาย 10 ธุรกิจ และแต่ละธุรกิจเป็นผู้นำทางธุรกิจชนิดคู่แข่งแทบจะวิ่งไม่ทัน
ขอยก ตัวอย่างบริษัทของ ดร.นิเวศน์ มาให้อิจฉากัน เริ่มจาก บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (TF), บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF), บมจ.ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY), บมจ.ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่ (BAT-3K) บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC), บมจ.เสริมสุข (SSC) และ บมจ.ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
นิยามแห่งความเป็นเจ้าของ ธุรกิจของ ดร.นิเวศน์ ไม่ใช่เป็นผู้ก่อตั้ง บุกเบิกแล้วค่อยก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา แต่ใช้ความเป็นเจ้าของผ่านการซื้อหุ้นในตลาดหุ้นแล้วก็ถือไปยาวๆ เพื่อรอรับเงินปันผลในแต่ละปี
“บริษัทของเราดีๆ ทั้งนั้น” ดร.นิเวศน์ ตอบภรรยา
ปี 2540 ขณะที่ทุกคนกำลังตื่นกลัวและกระโดดหนีออกจากตลาดหุ้น ดร.นิเวศน์กลับมองว่าเป็นจังหวะโอกาสที่เข้าไปลงทุน ด้วยการมองหาหุ้นดีๆ ที่มีอนาคต ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง จ่ายปันผลงาม ทนต่อสภาวะวิกฤติ เพียงแต่ในขณะนั้นเจอกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ราคาหุ้นตกลงมาตามตลาดโดย รวม
ดร.นิเวศน์ ทุ่มสุดตัวด้วยการใช้เงินที่สะสมมาตลอดทั้งชีวิตราวๆ 10 ล้านบาท เข้าไปซื้อหุ้นที่ตัวเองได้ทำการวิเคราะห์แล้วว่ามีความปลอดภัยและจะอยู่กับ ตัวเองไปตลอดชีวิต โดยมองว่าถึงแม้หุ้นตัวนี้จะไม่มีสภาพคล่อง ไม่มีคนซื้อต่อ แต่ก็ได้รับเงินปันผลที่คุ้มค่าและจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง
“ผมคิดว่าจะอยู่กับหุ้นที่ลงทุนไปตลอดชีวิต เพราะมองว่าตัวเองเป็นเจ้าของคนหนึ่งในบริษัทนั้น”
จาก ปี 2540 จนถึงวันนี้ ดร.นิเวศน์กลายเป็นเศรษฐีหุ้นอย่างแท้จริง ด้วยการคัดกรองมองหาหุ้นที่มีความอยู่รอดปลอดภัยและแข็งแกร่ง ภายใต้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Value Investor
การลงทุนแบบ Value Investor
การ ลงทุนแบบ Value Investor ต้องคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องมองหาธุรกิจที่เราอยากเป็นเจ้าของ แต่ธุรกิจที่เราอยากเป็นนั้นจะต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริง ไม่ใช่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เพราะเป็นความคิดแบบฝันเฟื่อง
ดังนั้นต้องรู้จัก รู้จริงในธุรกิจนั้นๆ พยายามหาธุรกิจที่เข้าใจง่ายและเห็นแล้วว่ามีความสามารถทำกำไรได้ หลักการใหญ่ของการลงทุนแบบ Value Investor คือ ต้องรู้ธุรกิจที่อยากจะเป็นเจ้าของ ถ้าไม่รู้จักธุรกิจนั้นๆ ไม่รู้ว่าขายสินค้าอะไร กำไรมาจากไหนอย่าไปลงทุนเด็ดขาด
ความจริง แล้วการลงทุนแบบ Value Investor เป็นการลงทุนเพื่อชีวิต คือ ทำให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ใช่การลงทุน “เล่นๆ” กำไรเล็กน้อยก็ดีใจ ขาดทุนเล็กน้อยก็เสียใจ ตลาดหุ้นดีก็เข้ามา ตลาดไม่ดีก็ถอยออกไป แต่การลงทุนแบบ Value Investor เหมือนกับกำลังปลูกต้นไม้ใหญ่ กำลังสร้างธุรกิจ และเมื่อถึงวันหนึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลับมาเลี้ยงชีวิตตัวเราให้อยู่แบบสบายๆ
หุ้นในแบบ Value Investor
ประเภท ของกิจการที่น่าลงทุนตามหลัก Value Investor คือ บริษัทนั้นๆต้องขายสินค้าที่เป็นผู้นำในตลาด คนจำเป็นต้องซื้อสินค้านั้นๆ อาจเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เป็นยี่ห้อที่คนชื่นชอบ ติดตลาดหรือขายอยู่เจ้าเดียว คู่แข่งเข้ามาตีตลาดยาก
เลือกลงทุนใน ธุรกิจดีๆ ในราคาหุ้นที่ต่ำ ราคายุติธรรม ซื้อไม่กี่ตัวแล้วถือยาวๆ ใจเย็นๆ ช้าๆ แต่มั่นคง อาจจะเปลี่ยนหุ้นปีละ 1-2 ตัว และหากเห็นว่าราคาหุ้นตัวนั้นปรับขึ้นไปสูงแล้วก็ขายเพื่อนำเงินไปลงทุนใน หุ้นตัวใหม่ และติดตามหุ้นไปเรื่อยๆ และอย่าลืมแนวคิดที่ว่าคุณกำลังลงทุนทำธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการ
นอกจาก นี้เมื่อได้กำไรหรือได้ผลตอบแทน ได้รับเงินปันผลก็นำเงินเหล่านี้ไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งเรียกว่าการลงทุนแบบทบต้น ลงทุนทบต้นทุกปีๆ เพราะดร.นิวเศน์มองว่าการลงทุนแบบทบต้นเป็นสิ่งมหศจรรย์อันดับ 8 ของโลก
ปี 2540 เรียนรู้อะไร
วิกฤติ การเงินปี 2540 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ดร.นิเวศน์มองว่าในท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส ดังนั้นอย่าเพิ่งท้อถอย “ผมมองว่าเมื่อเกิดวิกฤติ การลงทุนจะต้องเปลี่ยนโฉม และผมรู้ว่าการเปลี่ยนโฉมครั้งนี้จะเป็นการลงทุนแบบ Value Investor ซึ่งเป็นการลงทุนที่ต้องใช้การวิเคราะห์ต่างๆ และการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความปลอดภัยทนต่อสภาวะวิกฤติ”
เมื่อเขา คิดแบบนี้จึงยอมทุ่มสุดตัว “บอกได้เลยว่าตอนนั้นผมเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการลงทุน ทั้งๆ ที่คนอื่นๆ มองว่าตลาดหุ้นไทยไม่มีความปลอดภัย แต่ผมมั่นใจว่ายังมีหุ้นที่ต้องอยู่รอดปลอดภัยและต้องดีขึ้นในอนาคต มีกำไร จ่ายเงินปันผลที่ดีขึ้น และจะมีศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น แต่ในปี 2540 ราคาหุ้นตกต่ำ เพราะคนกลัวและขายหุ้นทิ้ง”
แนวคิดการเข้ามา ลงทุนแบบนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น Value Investor เกิดจากแนวคิดว่าต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจผ่านการลงทุนในหุ้น ไม่ใช่เข้ามาเพื่อการเล่นหุ้น ซึ่งการเป็นเจ้าของธุรกิจเราต้องจ่ายแพงมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ในช่วงปี 2540 เขาไม่ได้จ่ายแพง แต่จ่ายถูกกว่าคนอื่นๆ ดังนั้นความเสี่ยงแทบจะไม่มีเลย
ถือเป็นการตัดสินใจถูกจังหวะ
ผม บอกได้เลยว่าตอนนั้นผมอ่านตลาดหุ้นไทย “ขาด” กว่าคนส่วนใหญ่ ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเงินลงทุนได้ อีกทั้งผมเป็นผู้นำความคิด Value Investor ซึ่งก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจยังไม่มีคำว่าการลงทุนแบบนี้ แต่หลังจากผ่านวิกฤติเศรษฐกิจคำเหล่านี้ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งผมเป็นต้นคิดในการลงทุนหุ้นด้วยการใช้การวิเคราะห์แบบละเอียด
ผลตอบแทนจากการลงทุน
ผล ตอบแทนที่ได้จากการลงทุนได้มาแบบไม่เคยคาดคิดมาก่อน โดยตลอด 11 ปีที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนโตมากกว่า 30 เท่า เพราะช่วงลงทุนไม่ได้คิดว่าจะได้มากมาย แต่จังหวะนั้นเป็นโอกาสทองในการลงทุน ผมมองว่าโอกาสทองในชีวิตคนเราเกิดขึ้นได้แค่หน สองหน ซึ่งเมื่อโอกาสมาคุณจะคว้าทันหรือไม่ หรือปล่อยให้โอกาสทองลอยหายไป
ใน ช่วงนั้นไม่ได้ตั้งเป้าเอาไว้เลยว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไร ได้เท่าไรก็มีความพอใจ แต่บังเอิญได้มาโดยที่เราแทบไม่รู้ตัว ซึ่งผมลงทุนไปเรื่อยๆ จนผลตอบแทนทบไปทบมาต่อปีสูงถึง 35%
โอกาสทอง ไม่จำเป็นต้องเกิดท่ามกลางวิกฤติ แต่โอกาสทองของแต่ละคนมีอยู่ตลอดเวลา ประเด็น ก็คือว่า ต้องพร้อมที่จะคว้าโอกาสนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษามาก่อน ต่อให้โอกาสทองลอยมาก็ไม่สามารถคว้าได้
คิดอย่างไรกับคำว่า “คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น”
คำ ว่า “เล่น” ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งคำๆ นี้หมายความว่าการทำให้เกิดความสนุกนาน ไม่เอาจริงเอาจัง ไม่มีพื้นฐานมารองรับ และขึ้นอยู่กับโชคชะตา แต่คำว่า “ลงทุน” คือ การมีปัจจัยพื้นฐานมารองรับ มีการวิเคราะห์ละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ และเป็นการลงทุนเพื่อมีเป้าหมายในการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต
มองอย่างไรกับการซื้อขายแบบรายวัน
ผม ไม่เห็นด้วยการกับการเทรดหุ้นเป็นรายวัน หรือในระยะสั้นๆ เพราะกำลังคิดว่าจะมีนักลงทุนคนอื่นๆ มาซื้อหุ้นต่อจากเรา ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ได้กำไร แต่ถ้าไม่มีใครมาซื้อต่อ ราคาหุ้นจะปรับลดลง เพราะในระยะสั้นๆ ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง ขึ้นอยู่กับแรงซื้อและแรงขาย และแรงซื้อแรงขายเกิดความความกลัว ความโลภของนักลงทุน ดังนั้นถ้าลงทุนในตอนที่มีความกลัวจะเกิดความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้
นั่น หมายความว่าโอกาสที่การลงทุนจะประสบความสำเร็จและล้มเหลวมีเท่ากัน คือ 50:50 และถ้าทำบ่อยๆ ตามสถิติแล้วผลตอบแทนจะเป็นศูนย์ ไม่ได้อะไรเลยจากการลงทุน เพราะโอกาสชนะ 50% โอกาสแพ้ 50% อีกทั้งจะสูญเสียค่าคอมมิชชั่น แม้จะเสียเพียงเล็กน้อยแต่ถ้าเสียบ่อยๆ ก็กลายเป็นเม็ดเงินที่สูงและไม่มีความคุ้มค่า
อย่างไรก็ตาม มีคนประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะสั้นๆ แต่เป็นแค่ 1 ใน 100 คนเท่านั้น แล้วคุณจะเป็น 1 ใน 100 หรือคุณจะเป็น 99 ใน 100
มองความร่ำรวยย่างไร
เมื่อ ถึงจุดๆ หนึ่ง เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ในชีวิต เมื่อมีถึงจุดหนึ่งก็เพียงพอ ความสุขของคนใช้เงินไม่มาก ถึงแม้จะมีเงินมากแต่ไม่ได้ช่วยอะไรมากมาย ความสุขมาจากด้านอื่นๆ เงินเป็นแค่องค์ประกอบเท่านั้น
การลงทุนให้ครอบครัว
ครอบครัว ผมตอนนี้อยู่บ้านฝ่ายภรรยา ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผมกล้าลงทุน ส่วนภรรยาไม่ลงทุนในตลาดหุ้น ด้านลูกสาวคนเดียว (น้องพิซซ่า) กำลังเรียนอยู่ระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์ ดังนั้นการลงทุนครอบครัวจึงมุ่งไปที่ลูกสาว ในด้านการศึกษาอย่างเต็มที่
ถึง แม้ว่าผมจะประสบความสำเร็จในการลงทุนในตลาดหุ้น ผมเคยเล่าให้ภรรยาและลูกฟัง แต่ไม่ได้เป็นจริงเป็นจังอะไร เพราะคิดว่าแต่ละคนก็มีบุคลิกและสไตล์เป็นของตัวเอง จะให้ภรรยาและลูกสาวเป็นเหมือนผมคงไม่ได้ และไม่สามารถบังคับกันได้
การลงทุนครั้งสำคัญในชีวิต
การ ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา ไปโดยไม่มีเงินเลย แต่เรามีแรง มีเวลา นี่คือการลงทุน ซึ่งคนที่ไม่ร่ำรวย การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะมีสมอง มีแรง มีความขยัน มีเวลา ถึงแม้ว่าในช่วงนั้นเราไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่ผมคิดว่าถ้ามีความสามารถเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์จะออกมาดี
ผมคิดว่าการศึกษาให้ผลตอบแทนที่ดี และมีความคุ้มค่า และทุกวันนี้ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งที่ดีที่สุด
เอาบทความมาให้อ่านก่อนตัดสินใจครับ จะคัดหรือถือต่อดีครับ
:lol:
http://72.14.235.132/search?q=cache:2OM ... =firefox-a
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร “การลงทุน ไม่ใช่การเล่นหุ้น”
Posted on Saturday, August 30, 2008
“ทำไมไม่ทำธุรกิจบ้าง” เพาพิลาส เหมวชิรวรากร เอ่ยถามสามี ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
“ผมทำอยู่แล้ว” ดร.นิเวศน์ ตอบภรรยาสั้นๆ แต่ได้ใจความ
ตลอดเกือบ 12 ปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าธุรกิจของ ดร.นิเวศน์เจริญเติบโตขึ้นมาอย่างงดงาม เป็นที่อิจฉาของใครต่อใครหลายๆ คน และดร.นิเวศน์ไม่ได้เป็นเจ้าของแค่ธุรกิจเพียงแห่งเดียว และอาจจะพูดได้ว่าเป็นบุคคลที่มีธุรกิจหลาย 10 ธุรกิจ และแต่ละธุรกิจเป็นผู้นำทางธุรกิจชนิดคู่แข่งแทบจะวิ่งไม่ทัน
ขอยก ตัวอย่างบริษัทของ ดร.นิเวศน์ มาให้อิจฉากัน เริ่มจาก บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (TF), บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF), บมจ.ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY), บมจ.ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่ (BAT-3K) บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC), บมจ.เสริมสุข (SSC) และ บมจ.ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
นิยามแห่งความเป็นเจ้าของ ธุรกิจของ ดร.นิเวศน์ ไม่ใช่เป็นผู้ก่อตั้ง บุกเบิกแล้วค่อยก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา แต่ใช้ความเป็นเจ้าของผ่านการซื้อหุ้นในตลาดหุ้นแล้วก็ถือไปยาวๆ เพื่อรอรับเงินปันผลในแต่ละปี
“บริษัทของเราดีๆ ทั้งนั้น” ดร.นิเวศน์ ตอบภรรยา
ปี 2540 ขณะที่ทุกคนกำลังตื่นกลัวและกระโดดหนีออกจากตลาดหุ้น ดร.นิเวศน์กลับมองว่าเป็นจังหวะโอกาสที่เข้าไปลงทุน ด้วยการมองหาหุ้นดีๆ ที่มีอนาคต ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง จ่ายปันผลงาม ทนต่อสภาวะวิกฤติ เพียงแต่ในขณะนั้นเจอกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ราคาหุ้นตกลงมาตามตลาดโดย รวม
ดร.นิเวศน์ ทุ่มสุดตัวด้วยการใช้เงินที่สะสมมาตลอดทั้งชีวิตราวๆ 10 ล้านบาท เข้าไปซื้อหุ้นที่ตัวเองได้ทำการวิเคราะห์แล้วว่ามีความปลอดภัยและจะอยู่กับ ตัวเองไปตลอดชีวิต โดยมองว่าถึงแม้หุ้นตัวนี้จะไม่มีสภาพคล่อง ไม่มีคนซื้อต่อ แต่ก็ได้รับเงินปันผลที่คุ้มค่าและจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง
“ผมคิดว่าจะอยู่กับหุ้นที่ลงทุนไปตลอดชีวิต เพราะมองว่าตัวเองเป็นเจ้าของคนหนึ่งในบริษัทนั้น”
จาก ปี 2540 จนถึงวันนี้ ดร.นิเวศน์กลายเป็นเศรษฐีหุ้นอย่างแท้จริง ด้วยการคัดกรองมองหาหุ้นที่มีความอยู่รอดปลอดภัยและแข็งแกร่ง ภายใต้กลยุทธ์การลงทุนแบบ Value Investor
การลงทุนแบบ Value Investor
การ ลงทุนแบบ Value Investor ต้องคิดว่าตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องมองหาธุรกิจที่เราอยากเป็นเจ้าของ แต่ธุรกิจที่เราอยากเป็นนั้นจะต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริง ไม่ใช่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน เพราะเป็นความคิดแบบฝันเฟื่อง
ดังนั้นต้องรู้จัก รู้จริงในธุรกิจนั้นๆ พยายามหาธุรกิจที่เข้าใจง่ายและเห็นแล้วว่ามีความสามารถทำกำไรได้ หลักการใหญ่ของการลงทุนแบบ Value Investor คือ ต้องรู้ธุรกิจที่อยากจะเป็นเจ้าของ ถ้าไม่รู้จักธุรกิจนั้นๆ ไม่รู้ว่าขายสินค้าอะไร กำไรมาจากไหนอย่าไปลงทุนเด็ดขาด
ความจริง แล้วการลงทุนแบบ Value Investor เป็นการลงทุนเพื่อชีวิต คือ ทำให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ใช่การลงทุน “เล่นๆ” กำไรเล็กน้อยก็ดีใจ ขาดทุนเล็กน้อยก็เสียใจ ตลาดหุ้นดีก็เข้ามา ตลาดไม่ดีก็ถอยออกไป แต่การลงทุนแบบ Value Investor เหมือนกับกำลังปลูกต้นไม้ใหญ่ กำลังสร้างธุรกิจ และเมื่อถึงวันหนึ่งสิ่งเหล่านี้จะกลับมาเลี้ยงชีวิตตัวเราให้อยู่แบบสบายๆ
หุ้นในแบบ Value Investor
ประเภท ของกิจการที่น่าลงทุนตามหลัก Value Investor คือ บริษัทนั้นๆต้องขายสินค้าที่เป็นผู้นำในตลาด คนจำเป็นต้องซื้อสินค้านั้นๆ อาจเป็นสินค้าที่ดีมีคุณภาพ เป็นยี่ห้อที่คนชื่นชอบ ติดตลาดหรือขายอยู่เจ้าเดียว คู่แข่งเข้ามาตีตลาดยาก
เลือกลงทุนใน ธุรกิจดีๆ ในราคาหุ้นที่ต่ำ ราคายุติธรรม ซื้อไม่กี่ตัวแล้วถือยาวๆ ใจเย็นๆ ช้าๆ แต่มั่นคง อาจจะเปลี่ยนหุ้นปีละ 1-2 ตัว และหากเห็นว่าราคาหุ้นตัวนั้นปรับขึ้นไปสูงแล้วก็ขายเพื่อนำเงินไปลงทุนใน หุ้นตัวใหม่ และติดตามหุ้นไปเรื่อยๆ และอย่าลืมแนวคิดที่ว่าคุณกำลังลงทุนทำธุรกิจและเป็นเจ้าของกิจการ
นอกจาก นี้เมื่อได้กำไรหรือได้ผลตอบแทน ได้รับเงินปันผลก็นำเงินเหล่านี้ไปลงทุนเพิ่ม ซึ่งเรียกว่าการลงทุนแบบทบต้น ลงทุนทบต้นทุกปีๆ เพราะดร.นิวเศน์มองว่าการลงทุนแบบทบต้นเป็นสิ่งมหศจรรย์อันดับ 8 ของโลก
ปี 2540 เรียนรู้อะไร
วิกฤติ การเงินปี 2540 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ดร.นิเวศน์มองว่าในท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส ดังนั้นอย่าเพิ่งท้อถอย “ผมมองว่าเมื่อเกิดวิกฤติ การลงทุนจะต้องเปลี่ยนโฉม และผมรู้ว่าการเปลี่ยนโฉมครั้งนี้จะเป็นการลงทุนแบบ Value Investor ซึ่งเป็นการลงทุนที่ต้องใช้การวิเคราะห์ต่างๆ และการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความปลอดภัยทนต่อสภาวะวิกฤติ”
เมื่อเขา คิดแบบนี้จึงยอมทุ่มสุดตัว “บอกได้เลยว่าตอนนั้นผมเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการลงทุน ทั้งๆ ที่คนอื่นๆ มองว่าตลาดหุ้นไทยไม่มีความปลอดภัย แต่ผมมั่นใจว่ายังมีหุ้นที่ต้องอยู่รอดปลอดภัยและต้องดีขึ้นในอนาคต มีกำไร จ่ายเงินปันผลที่ดีขึ้น และจะมีศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่ดีขึ้น แต่ในปี 2540 ราคาหุ้นตกต่ำ เพราะคนกลัวและขายหุ้นทิ้ง”
แนวคิดการเข้ามา ลงทุนแบบนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็น Value Investor เกิดจากแนวคิดว่าต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจผ่านการลงทุนในหุ้น ไม่ใช่เข้ามาเพื่อการเล่นหุ้น ซึ่งการเป็นเจ้าของธุรกิจเราต้องจ่ายแพงมากกว่าคนอื่น เพียงแต่ในช่วงปี 2540 เขาไม่ได้จ่ายแพง แต่จ่ายถูกกว่าคนอื่นๆ ดังนั้นความเสี่ยงแทบจะไม่มีเลย
ถือเป็นการตัดสินใจถูกจังหวะ
ผม บอกได้เลยว่าตอนนั้นผมอ่านตลาดหุ้นไทย “ขาด” กว่าคนส่วนใหญ่ ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเงินลงทุนได้ อีกทั้งผมเป็นผู้นำความคิด Value Investor ซึ่งก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจยังไม่มีคำว่าการลงทุนแบบนี้ แต่หลังจากผ่านวิกฤติเศรษฐกิจคำเหล่านี้ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งผมเป็นต้นคิดในการลงทุนหุ้นด้วยการใช้การวิเคราะห์แบบละเอียด
ผลตอบแทนจากการลงทุน
ผล ตอบแทนที่ได้จากการลงทุนได้มาแบบไม่เคยคาดคิดมาก่อน โดยตลอด 11 ปีที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย ผลตอบแทนโตมากกว่า 30 เท่า เพราะช่วงลงทุนไม่ได้คิดว่าจะได้มากมาย แต่จังหวะนั้นเป็นโอกาสทองในการลงทุน ผมมองว่าโอกาสทองในชีวิตคนเราเกิดขึ้นได้แค่หน สองหน ซึ่งเมื่อโอกาสมาคุณจะคว้าทันหรือไม่ หรือปล่อยให้โอกาสทองลอยหายไป
ใน ช่วงนั้นไม่ได้ตั้งเป้าเอาไว้เลยว่าจะได้ผลตอบแทนเท่าไร ได้เท่าไรก็มีความพอใจ แต่บังเอิญได้มาโดยที่เราแทบไม่รู้ตัว ซึ่งผมลงทุนไปเรื่อยๆ จนผลตอบแทนทบไปทบมาต่อปีสูงถึง 35%
โอกาสทอง ไม่จำเป็นต้องเกิดท่ามกลางวิกฤติ แต่โอกาสทองของแต่ละคนมีอยู่ตลอดเวลา ประเด็น ก็คือว่า ต้องพร้อมที่จะคว้าโอกาสนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมไม่มีความรู้ ไม่ได้ศึกษามาก่อน ต่อให้โอกาสทองลอยมาก็ไม่สามารถคว้าได้
คิดอย่างไรกับคำว่า “คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น”
คำ ว่า “เล่น” ทำให้เกิดความสับสน ซึ่งคำๆ นี้หมายความว่าการทำให้เกิดความสนุกนาน ไม่เอาจริงเอาจัง ไม่มีพื้นฐานมารองรับ และขึ้นอยู่กับโชคชะตา แต่คำว่า “ลงทุน” คือ การมีปัจจัยพื้นฐานมารองรับ มีการวิเคราะห์ละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ และเป็นการลงทุนเพื่อมีเป้าหมายในการสร้างความมั่งคั่งในอนาคต
มองอย่างไรกับการซื้อขายแบบรายวัน
ผม ไม่เห็นด้วยการกับการเทรดหุ้นเป็นรายวัน หรือในระยะสั้นๆ เพราะกำลังคิดว่าจะมีนักลงทุนคนอื่นๆ มาซื้อหุ้นต่อจากเรา ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ได้กำไร แต่ถ้าไม่มีใครมาซื้อต่อ ราคาหุ้นจะปรับลดลง เพราะในระยะสั้นๆ ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง ขึ้นอยู่กับแรงซื้อและแรงขาย และแรงซื้อแรงขายเกิดความความกลัว ความโลภของนักลงทุน ดังนั้นถ้าลงทุนในตอนที่มีความกลัวจะเกิดความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้
นั่น หมายความว่าโอกาสที่การลงทุนจะประสบความสำเร็จและล้มเหลวมีเท่ากัน คือ 50:50 และถ้าทำบ่อยๆ ตามสถิติแล้วผลตอบแทนจะเป็นศูนย์ ไม่ได้อะไรเลยจากการลงทุน เพราะโอกาสชนะ 50% โอกาสแพ้ 50% อีกทั้งจะสูญเสียค่าคอมมิชชั่น แม้จะเสียเพียงเล็กน้อยแต่ถ้าเสียบ่อยๆ ก็กลายเป็นเม็ดเงินที่สูงและไม่มีความคุ้มค่า
อย่างไรก็ตาม มีคนประสบความสำเร็จในการลงทุนระยะสั้นๆ แต่เป็นแค่ 1 ใน 100 คนเท่านั้น แล้วคุณจะเป็น 1 ใน 100 หรือคุณจะเป็น 99 ใน 100
มองความร่ำรวยย่างไร
เมื่อ ถึงจุดๆ หนึ่ง เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องใหญ่ในชีวิต เมื่อมีถึงจุดหนึ่งก็เพียงพอ ความสุขของคนใช้เงินไม่มาก ถึงแม้จะมีเงินมากแต่ไม่ได้ช่วยอะไรมากมาย ความสุขมาจากด้านอื่นๆ เงินเป็นแค่องค์ประกอบเท่านั้น
การลงทุนให้ครอบครัว
ครอบครัว ผมตอนนี้อยู่บ้านฝ่ายภรรยา ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผมกล้าลงทุน ส่วนภรรยาไม่ลงทุนในตลาดหุ้น ด้านลูกสาวคนเดียว (น้องพิซซ่า) กำลังเรียนอยู่ระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์ ดังนั้นการลงทุนครอบครัวจึงมุ่งไปที่ลูกสาว ในด้านการศึกษาอย่างเต็มที่
ถึง แม้ว่าผมจะประสบความสำเร็จในการลงทุนในตลาดหุ้น ผมเคยเล่าให้ภรรยาและลูกฟัง แต่ไม่ได้เป็นจริงเป็นจังอะไร เพราะคิดว่าแต่ละคนก็มีบุคลิกและสไตล์เป็นของตัวเอง จะให้ภรรยาและลูกสาวเป็นเหมือนผมคงไม่ได้ และไม่สามารถบังคับกันได้
การลงทุนครั้งสำคัญในชีวิต
การ ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่สหรัฐอเมริกา ไปโดยไม่มีเงินเลย แต่เรามีแรง มีเวลา นี่คือการลงทุน ซึ่งคนที่ไม่ร่ำรวย การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญเพราะมีสมอง มีแรง มีความขยัน มีเวลา ถึงแม้ว่าในช่วงนั้นเราไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่ผมคิดว่าถ้ามีความสามารถเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์จะออกมาดี
ผมคิดว่าการศึกษาให้ผลตอบแทนที่ดี และมีความคุ้มค่า และทุกวันนี้ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างความมั่งคั่งที่ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 23
อีกบทความหนึ่งครับ น่าสนใจในวิธีคิดที่เปลี่ยนไปจากอดีตถึงปัจจุบัน
วิกฤต โอกาส มันอยู่บนเส้นด้ายระหว่าง การซื้อหุ้นที่ถูกต้อง และจังหวะการซื้อที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ
แพ้วันนี้หลาย ๆ ครั้ง แต่ขอเพียงสำเร็จเพียงครั้งเดียวกับหลักการและส_วิธีการลงทุนพื้นฐานที่ถูกต้องและเลือกจังหวะที่เหมาะสมขอเพียงชนะ 1 ครั้ง ก็อาจคุ้มค่ากับการรอคอยหรือไม่ แม้บางช่วงจังหวะแทบจะขาดใจ หรือท้อใจไปกับคนส่วนใหญ่แล้วก็ตาม
ขอเพียงไม่ท้อ แต่ให้เอาความล้มเหลวเป็นตัวเรียนรู้เพื่อพัฒนาการลงทุนให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป มิฉะนั้นสิ่งที่แพ้ในวันนี้ทั้งหมด ก็อาจทำให้เราจะต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งหรือไม่
หรือเราจะต่อยอดการลงทุนให้มีพื้นฐานที่แน่นยิ่งขั้น และมีจิตใจที่ห้าวหานไม่หวั่นไหว แต่ให้มีสติและใช้ปัญญาพิจารณา เพื่อให้เราได้เรียนรู้ในชีวิตที่ครั้งหนึ่งเราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายของวัฏจักรหุ้นที่มีจังหวะที่เพิ่มขึ้นมาก และลดลงอย่างหนัก ทำอย่างไรให้เราสามารถลงทุนในหลักการที่ถูกต้อง และทำให้เราสามารถผ่านรอบการลงทุนที่มีทั้งวิกฤตและโอกาสที่เกิดขึ้นในวัฏจักรของตลาดหุ้นเช่นนี้ได้ไปโดยตลอด เหมือนนักลงทุนประวัตศาสตร์เช่นบัฟเฟท ปีเตอร์ลินซ์ และคนอื่น ๆ ซึ่งในวงจรการลงทุนก็ผ่านหลายรอบของตลาดทั้งขึ้นและลงมาโดยตลอด
แล้วทุกอย่างก็จะผ่านไป ทั้งดีและร้าย
การเรียนรู้ของเรา และความได้เปรียบของนักลงทุนซึ่งแตกต่างกันก็อยู่ที่ เราต้องใช้ความได้เปรียบที่ไม่เกี่ยงในเรื่องระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานได้ ตราบเท่าที่คุณค่าของหุ้นนั้นมันมากกว่าราคาตลาด และมีส่วนต่างความปลอดภัยที่เหมาะสม ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญของนักลงทุนทุกคน ที่เราต้องไม่หวั่นไหวกับนายตลาดมากเกินไปครับ
เสี่ยปู่ "ผมไม่ใช่ขาใหญ่ ผมไม่มีก๊วน"
ขาใหญ่ "สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" เจ้าของฉายา "เสี่ยปู่" พอร์ตหุ้นไม่ต่ำกว่า หลักพันล้านบาท เวลาขยับตัวเล่นหุ้นตัวไหน มักดึงดูดความสนใจรายย่อย ขอร่วมวงแจมตามลงทุนหวังกำไรติดไม้ติดมือกันไม่น้อย เสี่ยปู่ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเส้นทางชีวิตที่วนเวียนอยู่ในตลาดหุ้นมาราว 20 ปี วันนี้กลายเป็นอาชีพหลัก ว่า
"ผม เข้าตลาดหุ้นปี 2530 ตอนนั้นทำงานอยู่สภาพัฒน์ เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย อยู่ฝ่ายบัญชีประชาชาติ หลังจากเรียนจบเศรษฐ ศาสตร์ เราได้มาดูตลาดหุ้นก็รู้สึกชอบแน่ๆ ทำให้ตัดสินใจลาออกจากราชการ ใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน แต่พอเข้ามาเล่นก็เจ๊งเลย ตอนนั้นพอร์ตประมาณ 1 ล้านบาท เจ๊งเหลือ 2 แสนบาท"
เสี่ยปู่เล่า ว่า ตอนนั้นไปสมัครเป็นลูกค้า บล. เอ็มซีซี (ปิดกิจการแล้ว) แต่ไม่รับ ถ้าเป็นต้องใช้เงินขั้นต่ำ 5 แสนบาทเปิดบัญชีเล่นหุ้น (พอร์ต) จึงไปสมัครที่ บล.ธนสยาม ซึ่งตอนหลังๆ พอร์ตผมโตขึ้นเรื่อยๆ ทาง บล.เอ็มซีซี ก็มาเชิญ ไปเป็นลูกค้า แต่ผมปฏิเสธ ผมมาโตจริงๆ หลังช่วงเกิดเหตุซัดดัม ช่วงนั้น ดัชนีผันผวนมากๆ เราได้เวลาตลาดลง
เริ่มเล่นหุ้นก็เก็งกำไรแล้ว
"การ ลงทุนในช่วงแรกๆ ก็เป็นนักเก็งกำไรแล้ว เพราะสมัยนั้นเล่นหุ้นตัวที่แข็งกว่าตลาด ตอนนั้นเล่นหุ้นไม่มีหลอกเลย ถ้าบอกวันรุ่งขึ้นก็ขึ้น ส่วนใหญ่เป็นหุ้นหลักทรัพย์ที่ขึ้นเยอะมาก แล้วก็มีวอร์แรนต์ ตอนนี้เราก็ดูตลาดเอาว่าเล่นตัวไหน ตัวไหนที่แข็งก็จะซื้อตัวนั้น ตอนนั้น นักเก็งกำไรจะเล่นทางเดียวกัน เก็งกำไรกันจริงๆ ไม่มีพื้นฐาน เศรษฐกิจไม่เกี่ยวเลย ตัวไหนแข็งก็ซื้อ เล่น 1-2 ตัวก็เต็มพอร์ต"
สมัยนั้นหุ้นดังๆ จะมีวอร์แรนต์ของ บล. เอกธำรง แล้วก็มีวอร์แรนต์ของ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ (IFCT) โดยเฉพาะในช่วงประกาศลอยค่าเงินบาท (ปี 2540) ตอนนั้นหุ้นแบงก์ขึ้นหมด ผมทำกำไรได้ถึง 53 ล้านบาท พอร์ตลงทุน ตอนนั้น โตประมาณ 100 ล้านบาท
"ตอน นั้นเป็น pure speculate เลย เราซื้อทั้งๆ ที่รู้ว่า IFCT-W มีมูลค่า เหลือศูนย์แน่ๆ แต่บรรยากาศอารมณ์ตอนนั้นพาไป ให้ต้องซื้อติดพอร์ตไว้ ผมก็เติบโตมาจากการเก็งกำไร
แต่จุดที่ทำให้ผมเปลี่ยน คือ มาซื้อหุ้น KK (เกียรตินาคิน) ที่เริ่มซื้อที่ 90 สตางค์ เก็บเรื่อยมาจน 1 บาทกว่า ต้นทุนเฉลี่ยไม่เกิน 2 บาท ซื้อมา 60 ล้านหุ้น แต่หุ้นโดนบล็อกมากราคาไม่ค่อยขึ้น จนราคามาที่ 3-4 บาท ก็เริ่มขายออกไป ตรงกับขณะนั้นที่มีการออกหุ้นวอร์แรนต์ ในราคา 2.30 บาท ให้สัดส่วน 1 หุ้นต่อ 1 วอร์แรนต์ หุ้น KK วิ่งรวดเดียวถึง 80 บาท วอร์แรนต์อยู่ที่ 60 บาท จากราคาสิทธิที่ถือว่าต่ำ ก็เลยได้คิดว่าถ้าถือหุ้นดีๆ น่าจะทำกำไรได้มากกว่านี้"
จุดเปลี่ยนความคิด "เล่นหุ้นพื้นฐาน"
เสี่ยปู่บอก ว่า บทเรียนจากการเล่นเก็งกำไร ทำให้ขาดทุนมากกว่าได้กำไร เพราะเป็นคนที่เล่นขาลงไม่เก่ง ประกอบกับ "มนตรี ศรไพศาล" (กรรมการผู้จัดการ บล.กิมเอ็ง) เอาหนังสือของวอร์แรนต์บัฟเฟดมาให้ จึงอ่านแล้วอ่านอีก ทั้งๆ ที่เป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือมาก แต่หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้ววางไม่ลงเลย ก็เลยคิดตลอดเวลาว่า จะเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่า หรือ value stock ให้ได้ เพราะเชื่อในปรัชญาที่ว่า ราคาหุ้นที่สุดแล้ว จะไปอยู่ในพื้นฐานของตัวหุ้นนั้นๆ ในระยะยาว ยิ่งในตลาดหุ้นสมัยนี้ การเล่นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะยากมาก ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่เก็งกำไรกันได้ง่าย
"แต่หุ้นที่ไม่มีพื้นฐาน เวลาราคาขึ้นไปเกินกว่าพื้นฐานค่อนข้างมาก มักจะเป็นราคาที่ไม่จริง พอร์ตที่ผ่านมาแม้จะมีการเก็งกำไร แต่ก็เป็นการได้ๆ เสียๆ ถึงพอร์ตจะโตแต่ก็โตแบบเก็งกำไรไม่ยั่งยืน ในช่วงหลังๆ จึงแบ่งพอร์ตลงทุน เป็นหุ้นพื้นฐาน 70% สำหรับลงทุนระยะยาว (long term) และหุ้นเก็งกำไร 30% แต่ก็ยอมรับว่า บางครั้งหุ้นเก็งกำไร ทำกำไรได้เยอะกว่าหุ้นพื้นฐาน แต่บางครั้งการเก็งกำไรของผม ก็จะดูปัจจัยพื้นฐานด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นหุ้นเดินเรือ ชอบ TTA เราไม่ได้ฟังนักวิเคราะห์ แต่จะดูค่าระวางเรือ"
สำหรับเทคนิคการเลือกหุ้น เสี่ยปู่เล่า ว่า เวลาซื้อหุ้นจะเป็นช่วงตลาดขาลง ซึ่งเป็นการรอรับซื้อจนได้กำไร โดยหุ้นที่ซื้อจะดูผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นหลัก อย่างหุ้นอิออน ธนสินทรัพย์ (AEONTS) จะสังเกตมาตลอด ตั้งแต่เข้าตลาด โตมากกว่า 30% ทุกปี สูงมาก ถือว่าเป็นหุ้นดีแม้ราคาจะนิ่ง จึงเป็นหุ้นตัวหนึ่ง ที่ถือมาตลอดไม่ขาย ชอบมากตัวนี้
เปิดพอร์ตหุ้นลงทุนยาว-เก็งกำไร
นอกจาก นี้ในพอร์ตยังมีหุ้นมูลค่าอื่นๆ อีก ได้แก่ หุ้นกรุงศรีอยุธยา (BAY) และวอร์แรนต์ (BAY-W1), หุ้น ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น (C.P.7-11), หุ้นเอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC), หุ้นไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) และวอร์แรนต์ (MINT-W3), หุ้นปริญสิริ (PRIN), หุ้นเอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) และหุ้น สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนต์ (SF) ส่วนพอร์ตหุ้นเก็งกำไร ช่วงนี้จะเน้นหุ้นพลังงาน ตามกระแสเงินต่างชาติ ที่ไหลเข้ามาช็อปหุ้นกลุ่มนี้ อย่างตัวเต็งๆ จะมีหุ้น ปตท.สผ. (PTTPT) และหุ้น ปตท.เคมิคอล (PTTCH) และยังมีหุ้นโทรีเซนไทย เอเยนซีส์ (TTA) หุ้นอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือ ATC ซึ่งพวกนี้จะปรับตัว ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเก็งกำไรได้ง่าย
"หุ้นเก็งกำไร ถ้าซื้อแล้วขาดทุน ก็ถือว่าดูผิดก็จะขาย ถ้าเป็นหุ้นแวลู ที่ยังดีอยู่ ก็จะถือต่อไป ผมจะดูถ้าช่วงไหนหุ้นขึ้นแรงๆ ในช่วงสั้นๆ ซัก 50% ผมก็จะพิจารณาขาย ถ้าเป็นวอร์แรนต์ ถ้ากำไรซัก 200% ผมอาจไม่ขาย ต้องดูหุ้นแม่เป็นตัวประกอบก่อน ซึ่งวอร์แรนต์หลายตัวที่ซื้อก็เพื่อ ใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นหุ้นสามัญ"
เสี่ยปู่เล่า ว่า ช่วงที่ผ่านมาหุ้นขึ้นบูมมาก ไม่ได้ซื้อเพิ่ม เรียกว่าลดพอร์ตเลย เพราะราคาหุ้นแพงเกินไป จากการที่ปรับขึ้นเร็วและแรง แต่ตัวที่จะซื้อเก็บ จะเลือกหุ้นที่คิดว่าดีและยังสะสมได้ โดยเฉพาะหุ้นเล็กๆ หรือถ้าเวลาที่ฝรั่งขาย ก็จะมานั่งดูหุ้นว่า ยังแพงอยู่หรือว่าถูกลงแล้ว โดยไม่สนใจว่า ในช่วงนั้น ใครซื้อหรือขายอยู่
สำหรับกำไรจากพอร์ต ลงทุน ถ้าเป็นหุ้นแวลู จะโตขึ้นเรื่อยๆ บางตัวก็โตเร็ว ส่วนหุ้นเก็งกำไรก็ขึ้นในทำนองเดียวกัน และเวลาที่ได้กำไรจากหุ้นเก็งกำไร จะเอามาซื้อหุ้นพื้นฐานเก็บไว้ โดยสถิติพอร์ตหุ้นมูลค่าเคยกำไรสูงสูดถึง 1,500 ล้านบาท !!! แต่ถ้านับรวมกับพอร์ตหุ้นเก็งกำไรแล้ว ตัวเลขกำไรที่ประมาณการ แบบเปิดเผย ก็เกิน 2,000 ล้านบาท !!!
ชื่อเสียงดังเลยถูกนำมาหากินในห้องค้า
ด้วยไซซ์พอร์ตใหญ่ขนาดนี้ เสี่ยปู่จึงยอมรับว่า บ่อยครั้งที่ชื่อเสี่ยปู่ ถูกนำไปใช้อ้างในตลาดหุ้นว่า "เข้าเล่นหุ้นตัวนั่นตัวนี่" หวังเรียกแมลงเม่า เข้ามาร่วมวงปั่นหุ้น หรือถูกข้อหาว่า "เป็นนอมินีให้กลุ่มนักการเมือง" ซึ่งตนขอยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองเลย ซึ่งที่ผ่านมา ก็เคยถูกตลาดหลักทรัพย์ฯเข้ามาตรวจสอบ แต่ก็ไม่พบอะไร และไม่เว้น แม้กระทั่งข่าวว่า "เสี่ยปู่รับจ้าง ทำราคาให้กับหุ้นใหม่ที่จะเข้าตลาด" ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่า มีการติดต่อจริง แต่ก็บอกไปตรงๆ ว่าทำไม่ได้ เพราะหุ้นจอง พอเข้าตลาดวันแรกก็ขายกันแล้ว
"ที่ ผ่านมาก็มีถูกเพ่งเล็งจากทางการบ้างเหมือนกัน ตามที่หนังสือพิมพ์ เอาไปลงกัน ว่าไปปั่นหุ้นตัวนั้นตัวนี้หลายๆ ตัวก็เป็นแค่ข่าวลือ เพื่อให้หุ้นวิ่งขึ้น ทั้งที่ไม่จริงเลยที่เข้าไปซื้อแล้วหุ้นมันจะขึ้น ขายแล้วลงก็ไม่ใช่ เคยซื้อหุ้นเยอะไม่ขึ้นก็มี และ ผมก็ไม่ใช่ขาใหญ่อะไรด้วย เพราะขาใหญ่ๆ จริงมีไม่เยอะ เป็นข่าวลืออุปโลกน์กันไปมากกว่า ขาใหญ่ตัวจริงต้องมีเครือข่าย มีก๊วน เล่นตัวเดียวกัน พากันดันราคาขึ้นไป พอหัวหน้าเป่านกหวีด ปรี๊ดก็ขายกันหมดอย่างนี้ สำหรับผมจะเล่นลงทุนคนเดียว ไม่ค่อยมีก๊วน แต่ก็จะคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันบ้าง ถ้าเห็นดีด้วยก็ซื้อบ้างถ้าไม่ก็ไม่ซื้อ"
เป้าหมายชีวิต "เล่นหุ้นไปเรื่อยๆ"
เสี่ยปู่บอก ว่า แม้อายุ 55 ปี ก็ยังชอบการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ ซึ่งคิดว่า จะเล่นหุ้นไปเรื่อยๆ ชีวิตมีความสุขดี ทุกวันนี้ กลางคืนก็จะมีเข้าไปดูข่าว ในเว็บไซต์ต่างๆ เกี่ยวกับหุ้น ดูว่าเขาแชตหุ้นอะไรกันบ้าง มีหลายเว็บ ทั้งกระทิงเขียวในพันธุ์ทิพย์ฯ ทุกวันนี้ก็เล่นหุ้นเป็นอาชีพส่งลูกเรียนต่อเมืองนอก ขณะที่ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้านอยู่ ตอนนี้ก็มาเล่นหุ้นเหมือนกัน แต่คนละพอร์ตกัน เพราะลงทุนคนละสไตล์ พอกลับถึงบ้านจะคุยหุ้นกันนิดๆ หน่อย ซึ่งปรากฏว่า ภรรยาได้กำไรมากกว่าในรอบหุ้นขึ้นที่ผ่านมา ส่วนลูกๆ 3 คน หากเรียนจบกลับมาในอนาคต ก็อยากให้เข้ามาเล่นหุ้นเหมือนกัน
พอถามถึงงานอดิเรก เสี่ยปู่จะ บอกว่า จะมีทั้งการสะสมรูป ศิลปะ งานตัดแต่งต้นไม้ ปลูกต้นไม้ที่บ้าน ที่สำคัญ เงินส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใช้ฟุ่มเฟือย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่จะทุ่มสุดๆ เน้นแบรนด์ดังๆ เท่อย่างเวอร์ซาเช่ ที่ใส่มาให้สัมภาษณ์ด้วยมาดเนี้ยบ บุคลิกนิ่มๆ แบบนักวิชาการใส่แว่น แต่นี่เป็นขาใหญ่เล่นหุ้น "เสี่ยปู่"
Source: http://www.ThaiDayTrade.com
วิกฤต โอกาส มันอยู่บนเส้นด้ายระหว่าง การซื้อหุ้นที่ถูกต้อง และจังหวะการซื้อที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ครับ
แพ้วันนี้หลาย ๆ ครั้ง แต่ขอเพียงสำเร็จเพียงครั้งเดียวกับหลักการและส_วิธีการลงทุนพื้นฐานที่ถูกต้องและเลือกจังหวะที่เหมาะสมขอเพียงชนะ 1 ครั้ง ก็อาจคุ้มค่ากับการรอคอยหรือไม่ แม้บางช่วงจังหวะแทบจะขาดใจ หรือท้อใจไปกับคนส่วนใหญ่แล้วก็ตาม
ขอเพียงไม่ท้อ แต่ให้เอาความล้มเหลวเป็นตัวเรียนรู้เพื่อพัฒนาการลงทุนให้ดียิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป มิฉะนั้นสิ่งที่แพ้ในวันนี้ทั้งหมด ก็อาจทำให้เราจะต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้งหรือไม่
หรือเราจะต่อยอดการลงทุนให้มีพื้นฐานที่แน่นยิ่งขั้น และมีจิตใจที่ห้าวหานไม่หวั่นไหว แต่ให้มีสติและใช้ปัญญาพิจารณา เพื่อให้เราได้เรียนรู้ในชีวิตที่ครั้งหนึ่งเราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายของวัฏจักรหุ้นที่มีจังหวะที่เพิ่มขึ้นมาก และลดลงอย่างหนัก ทำอย่างไรให้เราสามารถลงทุนในหลักการที่ถูกต้อง และทำให้เราสามารถผ่านรอบการลงทุนที่มีทั้งวิกฤตและโอกาสที่เกิดขึ้นในวัฏจักรของตลาดหุ้นเช่นนี้ได้ไปโดยตลอด เหมือนนักลงทุนประวัตศาสตร์เช่นบัฟเฟท ปีเตอร์ลินซ์ และคนอื่น ๆ ซึ่งในวงจรการลงทุนก็ผ่านหลายรอบของตลาดทั้งขึ้นและลงมาโดยตลอด
แล้วทุกอย่างก็จะผ่านไป ทั้งดีและร้าย
การเรียนรู้ของเรา และความได้เปรียบของนักลงทุนซึ่งแตกต่างกันก็อยู่ที่ เราต้องใช้ความได้เปรียบที่ไม่เกี่ยงในเรื่องระยะเวลาการลงทุนที่ยาวนานได้ ตราบเท่าที่คุณค่าของหุ้นนั้นมันมากกว่าราคาตลาด และมีส่วนต่างความปลอดภัยที่เหมาะสม ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญของนักลงทุนทุกคน ที่เราต้องไม่หวั่นไหวกับนายตลาดมากเกินไปครับ
เสี่ยปู่ "ผมไม่ใช่ขาใหญ่ ผมไม่มีก๊วน"
ขาใหญ่ "สมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล" เจ้าของฉายา "เสี่ยปู่" พอร์ตหุ้นไม่ต่ำกว่า หลักพันล้านบาท เวลาขยับตัวเล่นหุ้นตัวไหน มักดึงดูดความสนใจรายย่อย ขอร่วมวงแจมตามลงทุนหวังกำไรติดไม้ติดมือกันไม่น้อย เสี่ยปู่ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงเส้นทางชีวิตที่วนเวียนอยู่ในตลาดหุ้นมาราว 20 ปี วันนี้กลายเป็นอาชีพหลัก ว่า
"ผม เข้าตลาดหุ้นปี 2530 ตอนนั้นทำงานอยู่สภาพัฒน์ เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย อยู่ฝ่ายบัญชีประชาชาติ หลังจากเรียนจบเศรษฐ ศาสตร์ เราได้มาดูตลาดหุ้นก็รู้สึกชอบแน่ๆ ทำให้ตัดสินใจลาออกจากราชการ ใช้เวลาตัดสินใจไม่นาน แต่พอเข้ามาเล่นก็เจ๊งเลย ตอนนั้นพอร์ตประมาณ 1 ล้านบาท เจ๊งเหลือ 2 แสนบาท"
เสี่ยปู่เล่า ว่า ตอนนั้นไปสมัครเป็นลูกค้า บล. เอ็มซีซี (ปิดกิจการแล้ว) แต่ไม่รับ ถ้าเป็นต้องใช้เงินขั้นต่ำ 5 แสนบาทเปิดบัญชีเล่นหุ้น (พอร์ต) จึงไปสมัครที่ บล.ธนสยาม ซึ่งตอนหลังๆ พอร์ตผมโตขึ้นเรื่อยๆ ทาง บล.เอ็มซีซี ก็มาเชิญ ไปเป็นลูกค้า แต่ผมปฏิเสธ ผมมาโตจริงๆ หลังช่วงเกิดเหตุซัดดัม ช่วงนั้น ดัชนีผันผวนมากๆ เราได้เวลาตลาดลง
เริ่มเล่นหุ้นก็เก็งกำไรแล้ว
"การ ลงทุนในช่วงแรกๆ ก็เป็นนักเก็งกำไรแล้ว เพราะสมัยนั้นเล่นหุ้นตัวที่แข็งกว่าตลาด ตอนนั้นเล่นหุ้นไม่มีหลอกเลย ถ้าบอกวันรุ่งขึ้นก็ขึ้น ส่วนใหญ่เป็นหุ้นหลักทรัพย์ที่ขึ้นเยอะมาก แล้วก็มีวอร์แรนต์ ตอนนี้เราก็ดูตลาดเอาว่าเล่นตัวไหน ตัวไหนที่แข็งก็จะซื้อตัวนั้น ตอนนั้น นักเก็งกำไรจะเล่นทางเดียวกัน เก็งกำไรกันจริงๆ ไม่มีพื้นฐาน เศรษฐกิจไม่เกี่ยวเลย ตัวไหนแข็งก็ซื้อ เล่น 1-2 ตัวก็เต็มพอร์ต"
สมัยนั้นหุ้นดังๆ จะมีวอร์แรนต์ของ บล. เอกธำรง แล้วก็มีวอร์แรนต์ของ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ (IFCT) โดยเฉพาะในช่วงประกาศลอยค่าเงินบาท (ปี 2540) ตอนนั้นหุ้นแบงก์ขึ้นหมด ผมทำกำไรได้ถึง 53 ล้านบาท พอร์ตลงทุน ตอนนั้น โตประมาณ 100 ล้านบาท
"ตอน นั้นเป็น pure speculate เลย เราซื้อทั้งๆ ที่รู้ว่า IFCT-W มีมูลค่า เหลือศูนย์แน่ๆ แต่บรรยากาศอารมณ์ตอนนั้นพาไป ให้ต้องซื้อติดพอร์ตไว้ ผมก็เติบโตมาจากการเก็งกำไร
แต่จุดที่ทำให้ผมเปลี่ยน คือ มาซื้อหุ้น KK (เกียรตินาคิน) ที่เริ่มซื้อที่ 90 สตางค์ เก็บเรื่อยมาจน 1 บาทกว่า ต้นทุนเฉลี่ยไม่เกิน 2 บาท ซื้อมา 60 ล้านหุ้น แต่หุ้นโดนบล็อกมากราคาไม่ค่อยขึ้น จนราคามาที่ 3-4 บาท ก็เริ่มขายออกไป ตรงกับขณะนั้นที่มีการออกหุ้นวอร์แรนต์ ในราคา 2.30 บาท ให้สัดส่วน 1 หุ้นต่อ 1 วอร์แรนต์ หุ้น KK วิ่งรวดเดียวถึง 80 บาท วอร์แรนต์อยู่ที่ 60 บาท จากราคาสิทธิที่ถือว่าต่ำ ก็เลยได้คิดว่าถ้าถือหุ้นดีๆ น่าจะทำกำไรได้มากกว่านี้"
จุดเปลี่ยนความคิด "เล่นหุ้นพื้นฐาน"
เสี่ยปู่บอก ว่า บทเรียนจากการเล่นเก็งกำไร ทำให้ขาดทุนมากกว่าได้กำไร เพราะเป็นคนที่เล่นขาลงไม่เก่ง ประกอบกับ "มนตรี ศรไพศาล" (กรรมการผู้จัดการ บล.กิมเอ็ง) เอาหนังสือของวอร์แรนต์บัฟเฟดมาให้ จึงอ่านแล้วอ่านอีก ทั้งๆ ที่เป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือมาก แต่หนังสือเล่มนี้ อ่านแล้ววางไม่ลงเลย ก็เลยคิดตลอดเวลาว่า จะเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่า หรือ value stock ให้ได้ เพราะเชื่อในปรัชญาที่ว่า ราคาหุ้นที่สุดแล้ว จะไปอยู่ในพื้นฐานของตัวหุ้นนั้นๆ ในระยะยาว ยิ่งในตลาดหุ้นสมัยนี้ การเล่นหุ้นเก็งกำไรที่ไม่มีพื้นฐานจะยากมาก ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่เก็งกำไรกันได้ง่าย
"แต่หุ้นที่ไม่มีพื้นฐาน เวลาราคาขึ้นไปเกินกว่าพื้นฐานค่อนข้างมาก มักจะเป็นราคาที่ไม่จริง พอร์ตที่ผ่านมาแม้จะมีการเก็งกำไร แต่ก็เป็นการได้ๆ เสียๆ ถึงพอร์ตจะโตแต่ก็โตแบบเก็งกำไรไม่ยั่งยืน ในช่วงหลังๆ จึงแบ่งพอร์ตลงทุน เป็นหุ้นพื้นฐาน 70% สำหรับลงทุนระยะยาว (long term) และหุ้นเก็งกำไร 30% แต่ก็ยอมรับว่า บางครั้งหุ้นเก็งกำไร ทำกำไรได้เยอะกว่าหุ้นพื้นฐาน แต่บางครั้งการเก็งกำไรของผม ก็จะดูปัจจัยพื้นฐานด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นหุ้นเดินเรือ ชอบ TTA เราไม่ได้ฟังนักวิเคราะห์ แต่จะดูค่าระวางเรือ"
สำหรับเทคนิคการเลือกหุ้น เสี่ยปู่เล่า ว่า เวลาซื้อหุ้นจะเป็นช่วงตลาดขาลง ซึ่งเป็นการรอรับซื้อจนได้กำไร โดยหุ้นที่ซื้อจะดูผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นหลัก อย่างหุ้นอิออน ธนสินทรัพย์ (AEONTS) จะสังเกตมาตลอด ตั้งแต่เข้าตลาด โตมากกว่า 30% ทุกปี สูงมาก ถือว่าเป็นหุ้นดีแม้ราคาจะนิ่ง จึงเป็นหุ้นตัวหนึ่ง ที่ถือมาตลอดไม่ขาย ชอบมากตัวนี้
เปิดพอร์ตหุ้นลงทุนยาว-เก็งกำไร
นอกจาก นี้ในพอร์ตยังมีหุ้นมูลค่าอื่นๆ อีก ได้แก่ หุ้นกรุงศรีอยุธยา (BAY) และวอร์แรนต์ (BAY-W1), หุ้น ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น (C.P.7-11), หุ้นเอ็ม เอฟ อี ซี (MFEC), หุ้นไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) และวอร์แรนต์ (MINT-W3), หุ้นปริญสิริ (PRIN), หุ้นเอส แอนด์ พี ซินดิเคท (S&P) และหุ้น สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนต์ (SF) ส่วนพอร์ตหุ้นเก็งกำไร ช่วงนี้จะเน้นหุ้นพลังงาน ตามกระแสเงินต่างชาติ ที่ไหลเข้ามาช็อปหุ้นกลุ่มนี้ อย่างตัวเต็งๆ จะมีหุ้น ปตท.สผ. (PTTPT) และหุ้น ปตท.เคมิคอล (PTTCH) และยังมีหุ้นโทรีเซนไทย เอเยนซีส์ (TTA) หุ้นอะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) หรือ ATC ซึ่งพวกนี้จะปรับตัว ตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเก็งกำไรได้ง่าย
"หุ้นเก็งกำไร ถ้าซื้อแล้วขาดทุน ก็ถือว่าดูผิดก็จะขาย ถ้าเป็นหุ้นแวลู ที่ยังดีอยู่ ก็จะถือต่อไป ผมจะดูถ้าช่วงไหนหุ้นขึ้นแรงๆ ในช่วงสั้นๆ ซัก 50% ผมก็จะพิจารณาขาย ถ้าเป็นวอร์แรนต์ ถ้ากำไรซัก 200% ผมอาจไม่ขาย ต้องดูหุ้นแม่เป็นตัวประกอบก่อน ซึ่งวอร์แรนต์หลายตัวที่ซื้อก็เพื่อ ใช้สิทธิแปลงสภาพ เป็นหุ้นสามัญ"
เสี่ยปู่เล่า ว่า ช่วงที่ผ่านมาหุ้นขึ้นบูมมาก ไม่ได้ซื้อเพิ่ม เรียกว่าลดพอร์ตเลย เพราะราคาหุ้นแพงเกินไป จากการที่ปรับขึ้นเร็วและแรง แต่ตัวที่จะซื้อเก็บ จะเลือกหุ้นที่คิดว่าดีและยังสะสมได้ โดยเฉพาะหุ้นเล็กๆ หรือถ้าเวลาที่ฝรั่งขาย ก็จะมานั่งดูหุ้นว่า ยังแพงอยู่หรือว่าถูกลงแล้ว โดยไม่สนใจว่า ในช่วงนั้น ใครซื้อหรือขายอยู่
สำหรับกำไรจากพอร์ต ลงทุน ถ้าเป็นหุ้นแวลู จะโตขึ้นเรื่อยๆ บางตัวก็โตเร็ว ส่วนหุ้นเก็งกำไรก็ขึ้นในทำนองเดียวกัน และเวลาที่ได้กำไรจากหุ้นเก็งกำไร จะเอามาซื้อหุ้นพื้นฐานเก็บไว้ โดยสถิติพอร์ตหุ้นมูลค่าเคยกำไรสูงสูดถึง 1,500 ล้านบาท !!! แต่ถ้านับรวมกับพอร์ตหุ้นเก็งกำไรแล้ว ตัวเลขกำไรที่ประมาณการ แบบเปิดเผย ก็เกิน 2,000 ล้านบาท !!!
ชื่อเสียงดังเลยถูกนำมาหากินในห้องค้า
ด้วยไซซ์พอร์ตใหญ่ขนาดนี้ เสี่ยปู่จึงยอมรับว่า บ่อยครั้งที่ชื่อเสี่ยปู่ ถูกนำไปใช้อ้างในตลาดหุ้นว่า "เข้าเล่นหุ้นตัวนั่นตัวนี่" หวังเรียกแมลงเม่า เข้ามาร่วมวงปั่นหุ้น หรือถูกข้อหาว่า "เป็นนอมินีให้กลุ่มนักการเมือง" ซึ่งตนขอยืนยันว่า ไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองเลย ซึ่งที่ผ่านมา ก็เคยถูกตลาดหลักทรัพย์ฯเข้ามาตรวจสอบ แต่ก็ไม่พบอะไร และไม่เว้น แม้กระทั่งข่าวว่า "เสี่ยปู่รับจ้าง ทำราคาให้กับหุ้นใหม่ที่จะเข้าตลาด" ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่า มีการติดต่อจริง แต่ก็บอกไปตรงๆ ว่าทำไม่ได้ เพราะหุ้นจอง พอเข้าตลาดวันแรกก็ขายกันแล้ว
"ที่ ผ่านมาก็มีถูกเพ่งเล็งจากทางการบ้างเหมือนกัน ตามที่หนังสือพิมพ์ เอาไปลงกัน ว่าไปปั่นหุ้นตัวนั้นตัวนี้หลายๆ ตัวก็เป็นแค่ข่าวลือ เพื่อให้หุ้นวิ่งขึ้น ทั้งที่ไม่จริงเลยที่เข้าไปซื้อแล้วหุ้นมันจะขึ้น ขายแล้วลงก็ไม่ใช่ เคยซื้อหุ้นเยอะไม่ขึ้นก็มี และ ผมก็ไม่ใช่ขาใหญ่อะไรด้วย เพราะขาใหญ่ๆ จริงมีไม่เยอะ เป็นข่าวลืออุปโลกน์กันไปมากกว่า ขาใหญ่ตัวจริงต้องมีเครือข่าย มีก๊วน เล่นตัวเดียวกัน พากันดันราคาขึ้นไป พอหัวหน้าเป่านกหวีด ปรี๊ดก็ขายกันหมดอย่างนี้ สำหรับผมจะเล่นลงทุนคนเดียว ไม่ค่อยมีก๊วน แต่ก็จะคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันบ้าง ถ้าเห็นดีด้วยก็ซื้อบ้างถ้าไม่ก็ไม่ซื้อ"
เป้าหมายชีวิต "เล่นหุ้นไปเรื่อยๆ"
เสี่ยปู่บอก ว่า แม้อายุ 55 ปี ก็ยังชอบการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ ซึ่งคิดว่า จะเล่นหุ้นไปเรื่อยๆ ชีวิตมีความสุขดี ทุกวันนี้ กลางคืนก็จะมีเข้าไปดูข่าว ในเว็บไซต์ต่างๆ เกี่ยวกับหุ้น ดูว่าเขาแชตหุ้นอะไรกันบ้าง มีหลายเว็บ ทั้งกระทิงเขียวในพันธุ์ทิพย์ฯ ทุกวันนี้ก็เล่นหุ้นเป็นอาชีพส่งลูกเรียนต่อเมืองนอก ขณะที่ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้านอยู่ ตอนนี้ก็มาเล่นหุ้นเหมือนกัน แต่คนละพอร์ตกัน เพราะลงทุนคนละสไตล์ พอกลับถึงบ้านจะคุยหุ้นกันนิดๆ หน่อย ซึ่งปรากฏว่า ภรรยาได้กำไรมากกว่าในรอบหุ้นขึ้นที่ผ่านมา ส่วนลูกๆ 3 คน หากเรียนจบกลับมาในอนาคต ก็อยากให้เข้ามาเล่นหุ้นเหมือนกัน
พอถามถึงงานอดิเรก เสี่ยปู่จะ บอกว่า จะมีทั้งการสะสมรูป ศิลปะ งานตัดแต่งต้นไม้ ปลูกต้นไม้ที่บ้าน ที่สำคัญ เงินส่วนใหญ่จะไม่ค่อยใช้ฟุ่มเฟือย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่จะทุ่มสุดๆ เน้นแบรนด์ดังๆ เท่อย่างเวอร์ซาเช่ ที่ใส่มาให้สัมภาษณ์ด้วยมาดเนี้ยบ บุคลิกนิ่มๆ แบบนักวิชาการใส่แว่น แต่นี่เป็นขาใหญ่เล่นหุ้น "เสี่ยปู่"
Source: http://www.ThaiDayTrade.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 25
อ่านอีกความเห็นหนึ่งของปีเตอร์ลินซ์ครับ น่าสนใจในมุมมองที่นำไปใช้ในการตัดสินใจว่า สมควรซื้อ อยู่เฉย ๆ หรือสมควรขาย
ข้อสังเกตแนวทางที่ปีเตอร์ลินซ์มองเป็นอย่างไร ใกล้เคียงกับสถานการณ์ตลาดตอนนี้ของเราอย่างไรครับ :lol:
http://www.bloggingstocks.com/2008/10/2 ... mple-view/
Serious Money: Peter Lynch, a simple view
Posted Oct 24th 2008 3:47PM by Sheldon Liber
Filed under: Rants and raves, Berkshire Hathaway (BRK.A), Market matters, Anadarko Petroleum (APC), Serious Money, Anglo Amer ADR (AAUK), Aluminum Corp of China ADS (ACH), Recession, Comic Relief
During these times of crushing financial news, collapsing stock markets combined with tremendous volatility, government ineptitude (what else is new), doubt, pessimism, and yes -- fear --- we all need to hear the reassuring words of one of our most successful investment sages.
'My pal Warren' has been filling the media with market supporting bits of wisdom and backing it up by making strategic investments through Berkshire Hathaway (NYSE: BRK.A) and more investments utilizing his personal fortune.
Yesterday I received the following in an email quoting Peter Lynch, who managed to gain an average of 29.7% per year for 13 straight years while he was running Fidelity Magellan fund. Once someone asked him how he knows what stage the market is at, he replied:
*
"If I go to a party, and introduce myself as a mutual fund manager to strangers, and they walk away from me and talk to other people instead, I know the market is near the bottom. If they sit down and ask me what stocks they should buy, the market is at normal levels. If they sit down and TELL ME what stocks to buy, the market is near the top."
Clearly this is a case of the former, not the latter being the case. However this reminded me of the old Wall Street stock market titan that returns to his investment company after lunch and tells his staff to clear the books and sell everything. When his senior manager asks him why, he replies that he was getting his hair cut and his barber started giving him stocks tips.
I have been buying lately. (see: Chasing Value: Intuitive Surgical Earnings -- what now?) If I said I knew anything for sure I would be lying, but my general sense of things is that there are stocks that have been "thrown out with the bath water". Three others that are old favorites I have yet to write up recently but hope to soon are Aluminum Corp of China ADS (NYSE: ACH) Anadarko Petroleum (NYSE: APC) Anglo American ADR (NASDAQ: AAUK) -- all with downtrodden commodities falling prey to the bearest of markets -- stay tuned.
Sheldon Liber is the CEO of a small private investment company and the principal for design and research at an architecture & planning firm. He writes the columns Chasing Value and Serious Money. Disclosure: I own shares of BRK.B., ACH, APC, & AAUK.
Tags: AAUK, ACH, APC, Berkshire Hathaway, BerkshireHathaway, BRK.A, BRK.B, Fidelity, inthenews, ISRG, Magellan fund, MagellanFund, Peter Lynch, PeterLynch, sheldon liber, SheldonLiber, stock market wisdom, StockMarketWisdom
ข้อสังเกตแนวทางที่ปีเตอร์ลินซ์มองเป็นอย่างไร ใกล้เคียงกับสถานการณ์ตลาดตอนนี้ของเราอย่างไรครับ :lol:
http://www.bloggingstocks.com/2008/10/2 ... mple-view/
Serious Money: Peter Lynch, a simple view
Posted Oct 24th 2008 3:47PM by Sheldon Liber
Filed under: Rants and raves, Berkshire Hathaway (BRK.A), Market matters, Anadarko Petroleum (APC), Serious Money, Anglo Amer ADR (AAUK), Aluminum Corp of China ADS (ACH), Recession, Comic Relief
During these times of crushing financial news, collapsing stock markets combined with tremendous volatility, government ineptitude (what else is new), doubt, pessimism, and yes -- fear --- we all need to hear the reassuring words of one of our most successful investment sages.
'My pal Warren' has been filling the media with market supporting bits of wisdom and backing it up by making strategic investments through Berkshire Hathaway (NYSE: BRK.A) and more investments utilizing his personal fortune.
Yesterday I received the following in an email quoting Peter Lynch, who managed to gain an average of 29.7% per year for 13 straight years while he was running Fidelity Magellan fund. Once someone asked him how he knows what stage the market is at, he replied:
*
"If I go to a party, and introduce myself as a mutual fund manager to strangers, and they walk away from me and talk to other people instead, I know the market is near the bottom. If they sit down and ask me what stocks they should buy, the market is at normal levels. If they sit down and TELL ME what stocks to buy, the market is near the top."
Clearly this is a case of the former, not the latter being the case. However this reminded me of the old Wall Street stock market titan that returns to his investment company after lunch and tells his staff to clear the books and sell everything. When his senior manager asks him why, he replies that he was getting his hair cut and his barber started giving him stocks tips.
I have been buying lately. (see: Chasing Value: Intuitive Surgical Earnings -- what now?) If I said I knew anything for sure I would be lying, but my general sense of things is that there are stocks that have been "thrown out with the bath water". Three others that are old favorites I have yet to write up recently but hope to soon are Aluminum Corp of China ADS (NYSE: ACH) Anadarko Petroleum (NYSE: APC) Anglo American ADR (NASDAQ: AAUK) -- all with downtrodden commodities falling prey to the bearest of markets -- stay tuned.
Sheldon Liber is the CEO of a small private investment company and the principal for design and research at an architecture & planning firm. He writes the columns Chasing Value and Serious Money. Disclosure: I own shares of BRK.B., ACH, APC, & AAUK.
Tags: AAUK, ACH, APC, Berkshire Hathaway, BerkshireHathaway, BRK.A, BRK.B, Fidelity, inthenews, ISRG, Magellan fund, MagellanFund, Peter Lynch, PeterLynch, sheldon liber, SheldonLiber, stock market wisdom, StockMarketWisdom
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 26
ด้วยการติดตามของผม ผมคิดว่าอาจารย์แทบไม่ได้ถือหุ้นข้างบนอย่างมีนัยยะแล้วขอยก ตัวอย่างบริษัทของ ดร.นิเวศน์ มาให้อิจฉากัน เริ่มจาก บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ (TF), บมจ.ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF), บมจ.ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY), บมจ.ไทยสโตเรจ แบตเตอรี่ (BAT-3K) บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC), บมจ.เสริมสุข (SSC) และ บมจ.ไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
“ผมคิดว่าจะอยู่กับหุ้นที่ลงทุนไปตลอดชีวิต เพราะมองว่าตัวเองเป็นเจ้าของคนหนึ่งในบริษัทนั้น”
คนเขียนบทความนี้เป็นใครครับ จับแพะชนแกะได้มั่วมากๆ
ส่วนเรื่องคุณปู่ บทความตั้งแต่ปีไหนครับ
ผมอ่านแล้ว เฮ้อ...
ส่วนปีเต้อร์ ลินช์ใครๆก็ทราบหุ้นเก่งสุดทำกำไรมากสุดของเขา
ก็แฟนนี่เมย์ไงครับ
ลองถือมาถึงตอนนี้สิ
ลินช์ก็ได้สิ้นชื่อเหมือนกัน
คือใครจะคัทไม่คัทก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับผมหรอก
กระเป๋าใครกระเป๋ามัน
ถ้าจะคัทก็ต้องคัทตั้งนานแล้ว
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 27
Cut ตอนนี้คงป็นการ cut profit to take loss มากกว่าครับ การ cut loss to take profit ควรcut เมื่อหุ้นราคาสูง ดัชนีสูง โอกาสที่จะตกลงมามากก็สูง แต่ตอนนี้หุ้นตำติดดินขนาดนี้ โอกาสขึ้นไปสู่ภาวะปกติย่อมมีมากกว่าลงต่อpor_jai เขียน:
- kornjackrit
- Verified User
- โพสต์: 1524
- ผู้ติดตาม: 0
VI ตอนนี้มีใคร cut loss ไปเรียบร้อยแล้วบ้างคับ หรือถือต่อ
โพสต์ที่ 28
เห็นด้วยกับพี่พอใจครับ
ที่ว่่าจะคัตต้องคัตไปนานแล้ว
แต่ที่ไม่คัตแสดงว่าเรามั่นใจในหุ้นที่เราถือ
มาถึงตอนนี้ก็ไม่ต้องคัตแล้วละครับ
เว้นแต
หุ้นตัวนนี้พื้นฐานเปลี่ยน หรือ มีหุ้นตัวอื่นน่าลงทุนกว่า
ที่ว่่าจะคัตต้องคัตไปนานแล้ว
แต่ที่ไม่คัตแสดงว่าเรามั่นใจในหุ้นที่เราถือ
มาถึงตอนนี้ก็ไม่ต้องคัตแล้วละครับ
เว้นแต
หุ้นตัวนนี้พื้นฐานเปลี่ยน หรือ มีหุ้นตัวอื่นน่าลงทุนกว่า
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.