นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
-
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 1
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพีปี 52 โต 3%
กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--รอยเตอร์
นักวิชาการ แนะรัฐบาลใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน โดยการเพิ่มขาดดุล
งบประมาณปี 52 เป็นราว 5-6 แสนล้านบาท จากเดิมขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท พร้อม
อัดฉีดเงินผ่านโครงการเมกะโปรเจคท์ รวมถึงเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน เพื่อ
ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 52 ขยายตัว 3%
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School กล่าวในงาน
เสวนาเรื่อง "การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่:มุมมองของ CFOs"
ว่า จากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจปี 52 คาดว่าจีดีพีมีโอกาสติดลบได้ถึง 0.4% ซึ่งเป็น
กรณีเลวร้ายที่สุด คือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ จนส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ขาดดุล
งบประมาณเพิ่มเป็น 5-6 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่กำหนดการขาดดุลงบประมาณไว้ที่
3.5 แสนล้านบาท ก็จะช่วยให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 2%
แต่ในกรณีที่จะผลักดันให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 3% รัฐบาลจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้า
สู่โครงการเมกะโปรเจกท์ โดยเริ่มจากโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย รวมถึงสนับสนุนด้านการ
บริโภคและลงทุนของเอกชนให้มากขึ้น ซึ่งหากเพิ่มได้ถึง 7% จะช่วยให้อัตราเศรษฐกิจ
โดยรวมเติบโตดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาล ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ลงให้เหลือ 3%
จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7% ซึ่งแม้การดำเนินการดังกล่าว จะไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าลดลง
ได้มาก เพราะขณะนี้ต้นทุนราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูง
และกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่สูงนัก
แต่มาตรการนี้ก็เป็นปัจจัยบวกต่อจิตวิทยาผู้บริโภคภายในประเทศ
"ถ้าหากว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเศรษฐกิจ ซึ่งวิธีหนึ่งคือ การกระตุ้นการบริโภค
และลงทุน ให้เติบโต 7% รวมถึงอัดฉีดงบเข้าไปในโครงการเมกะโปรเจคท์ ก็จะช่วยให้
เศรษฐกิจโตถึง 3% ได้"นายเอกชัย กล่าว
ตามร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 52 มีวงเงิน 1.835 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 2.495 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2.4% ของจีดีพี ขณะที่เมื่อ
ต้นเดือนพ.ย. คณะรัฐมนตรี(ครม.) ชุดก่อน ได้อนุมัติให้เพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 52
อีก 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจ
ขณะที่เมื่อคืนนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ
โทรทัศน์ว่า ต้นปีหน้ารัฐบาลจะเร่งผลักดันการพิจารณางบประมาณกลางปี เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ พร้อมแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยคาดว่าจะใช้งบทั้งสองส่วนเกือบ
2 แสนล้านบาท
ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวเมื่อเช้านี้ว่า ในปีงบประมาณ 52
รัฐบาลยืนยันจะจัดทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จากเดิมตั้ง
งบขาดดุลไว้แล้ว 2.49 แสนล้านบาท และจะไม่ใช้การขาดดุลเพิ่มเติม จนกระทั่งเต็ม
เพดานที่ 1.8 แสนล้านบาท
นายเอกชัย ยังกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยว่า ยังมีโอกาสที่จะลดลง
อีก จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.75% โดยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงิน (กนง.) ครั้งต่อไป มีโอกาสที่กนง.จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5-1.0%
กนง.จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 14 ม.ค.52
เขา กล่าวอีกว่า ในปีหน้า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังมี
แนวโน้มที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่มีทิศทางที่จะลดเป้า
การปล่อยสินเชื่อเหลือ 5% เท่านั้น
ทั้งนี้ ผลจากการลดเป้าสินเชื่อ จะส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 7 แสนรายใน
ไทย ซึ่งมีความต้องการเม็ดเงินสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือปรับปรุงกำลังการผลิต
ในปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 6 ล้านล้านบาท มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพียง 1 ใน 3
หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาทเท่านั้น
ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีที่เหลือ อาจต้องปิดกิจการไปในที่สุด ซึ่งรัฐบาลควรเร่งรับ
มือต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยแนวทางหนึ่ง คือ รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยแบ่งภาระการค้ำ
ประกันเงินกู้ให้แก่เอสเอ็มอี เพื่อให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
กรุงเทพฯ--23 ธ.ค.--รอยเตอร์
นักวิชาการ แนะรัฐบาลใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเร่งด่วน โดยการเพิ่มขาดดุล
งบประมาณปี 52 เป็นราว 5-6 แสนล้านบาท จากเดิมขาดดุล 3.5 แสนล้านบาท พร้อม
อัดฉีดเงินผ่านโครงการเมกะโปรเจคท์ รวมถึงเร่งกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน เพื่อ
ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 52 ขยายตัว 3%
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดี NIDA Business School กล่าวในงาน
เสวนาเรื่อง "การจัดการวิกฤตของ SMEs ภายใต้นโยบายรัฐบาลใหม่:มุมมองของ CFOs"
ว่า จากการประเมินทิศทางเศรษฐกิจปี 52 คาดว่าจีดีพีมีโอกาสติดลบได้ถึง 0.4% ซึ่งเป็น
กรณีเลวร้ายที่สุด คือ รัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้ จนส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ขาดดุล
งบประมาณเพิ่มเป็น 5-6 แสนล้านบาท จากปัจจุบันที่กำหนดการขาดดุลงบประมาณไว้ที่
3.5 แสนล้านบาท ก็จะช่วยให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 2%
แต่ในกรณีที่จะผลักดันให้จีดีพีเติบโตได้ถึง 3% รัฐบาลจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินเข้า
สู่โครงการเมกะโปรเจกท์ โดยเริ่มจากโครงการรถไฟฟ้า 2 สาย รวมถึงสนับสนุนด้านการ
บริโภคและลงทุนของเอกชนให้มากขึ้น ซึ่งหากเพิ่มได้ถึง 7% จะช่วยให้อัตราเศรษฐกิจ
โดยรวมเติบโตดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาล ปรับลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ลงให้เหลือ 3%
จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7% ซึ่งแม้การดำเนินการดังกล่าว จะไม่ได้ทำให้ราคาสินค้าลดลง
ได้มาก เพราะขณะนี้ต้นทุนราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูง
และกำลังซื้อของผู้บริโภคไม่สูงนัก
แต่มาตรการนี้ก็เป็นปัจจัยบวกต่อจิตวิทยาผู้บริโภคภายในประเทศ
"ถ้าหากว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเศรษฐกิจ ซึ่งวิธีหนึ่งคือ การกระตุ้นการบริโภค
และลงทุน ให้เติบโต 7% รวมถึงอัดฉีดงบเข้าไปในโครงการเมกะโปรเจคท์ ก็จะช่วยให้
เศรษฐกิจโตถึง 3% ได้"นายเอกชัย กล่าว
ตามร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 52 มีวงเงิน 1.835 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุล 2.495 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 2.4% ของจีดีพี ขณะที่เมื่อ
ต้นเดือนพ.ย. คณะรัฐมนตรี(ครม.) ชุดก่อน ได้อนุมัติให้เพิ่มการขาดดุลงบประมาณปี 52
อีก 1 แสนล้านบาท เพื่อช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจ
ขณะที่เมื่อคืนนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ
โทรทัศน์ว่า ต้นปีหน้ารัฐบาลจะเร่งผลักดันการพิจารณางบประมาณกลางปี เพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจ พร้อมแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ โดยคาดว่าจะใช้งบทั้งสองส่วนเกือบ
2 แสนล้านบาท
ส่วนนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวเมื่อเช้านี้ว่า ในปีงบประมาณ 52
รัฐบาลยืนยันจะจัดทำขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท จากเดิมตั้ง
งบขาดดุลไว้แล้ว 2.49 แสนล้านบาท และจะไม่ใช้การขาดดุลเพิ่มเติม จนกระทั่งเต็ม
เพดานที่ 1.8 แสนล้านบาท
นายเอกชัย ยังกล่าวถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยว่า ยังมีโอกาสที่จะลดลง
อีก จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.75% โดยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย
การเงิน (กนง.) ครั้งต่อไป มีโอกาสที่กนง.จะลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5-1.0%
กนง.จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 14 ม.ค.52
เขา กล่าวอีกว่า ในปีหน้า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังมี
แนวโน้มที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก เนื่องจากธนาคารขนาดใหญ่มีทิศทางที่จะลดเป้า
การปล่อยสินเชื่อเหลือ 5% เท่านั้น
ทั้งนี้ ผลจากการลดเป้าสินเชื่อ จะส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 7 แสนรายใน
ไทย ซึ่งมีความต้องการเม็ดเงินสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หรือปรับปรุงกำลังการผลิต
ในปีหน้า มูลค่ารวมกว่า 6 ล้านล้านบาท มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เพียง 1 ใน 3
หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาทเท่านั้น
ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีที่เหลือ อาจต้องปิดกิจการไปในที่สุด ซึ่งรัฐบาลควรเร่งรับ
มือต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยแนวทางหนึ่ง คือ รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยแบ่งภาระการค้ำ
ประกันเงินกู้ให้แก่เอสเอ็มอี เพื่อให้ธนาคารมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 2
ขอแสดงความคิดเห็น แก้กลุ้มหน่อยนะครับ
ผมเป็นคนขายสินค้ากลับมองว่าVATที่ลดลงไป3-4%ไม่ใด้ช่วยอะไรให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น อาจเป็นเพราะ ผมขายสินค้าที่ราคาต่อชิ้นไม่แพง หรืออาจเป็นเพราะราคาสินค้าตอนนี้เริ่มลดลงมาแล้ว และพอการแข่งขันเริ่มสูงขึ้น การลดราคาจะตามมาเอง การลดราคาเพิ่มอีกนิดจากVATไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่เมื่อเทียบกับการเก็บภาษีได้ลดลง แถมเวลาขึ้นอีกรอบจะมีปัญหาได้ ผมว่าถ้าจะได้ก็จากจิตวิทยาชั่วคราวว่าของจะลงเท่านั้นเอง
ผมว่าปัญหาตอนนี้ทุกคนขาดความมั่นใจ คนมีเงินก็ยังไม่ค่อยกล้าใช้เงิน นักธุรกิจก็ไม่กล้าขยายการลงทุนใหม่ๆ ผมว่าภาครัฐทำขาดดุลหนักๆมากระตุ้นรากหญ้าโดยตรง ทำให้เงินมันคล่องมากขึ้น และต้องทำให้ทุกคนมั่นใจว่าปัญหาตกงานจะน้อย จะมีงานรองรับ สภาพงูกินหางที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัวน่าจะดีขึ้นครับ
ผมเป็นคนขายสินค้ากลับมองว่าVATที่ลดลงไป3-4%ไม่ใด้ช่วยอะไรให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น อาจเป็นเพราะ ผมขายสินค้าที่ราคาต่อชิ้นไม่แพง หรืออาจเป็นเพราะราคาสินค้าตอนนี้เริ่มลดลงมาแล้ว และพอการแข่งขันเริ่มสูงขึ้น การลดราคาจะตามมาเอง การลดราคาเพิ่มอีกนิดจากVATไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่เมื่อเทียบกับการเก็บภาษีได้ลดลง แถมเวลาขึ้นอีกรอบจะมีปัญหาได้ ผมว่าถ้าจะได้ก็จากจิตวิทยาชั่วคราวว่าของจะลงเท่านั้นเอง
ผมว่าปัญหาตอนนี้ทุกคนขาดความมั่นใจ คนมีเงินก็ยังไม่ค่อยกล้าใช้เงิน นักธุรกิจก็ไม่กล้าขยายการลงทุนใหม่ๆ ผมว่าภาครัฐทำขาดดุลหนักๆมากระตุ้นรากหญ้าโดยตรง ทำให้เงินมันคล่องมากขึ้น และต้องทำให้ทุกคนมั่นใจว่าปัญหาตกงานจะน้อย จะมีงานรองรับ สภาพงูกินหางที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัวน่าจะดีขึ้นครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 3
ผมเห็นด้วยกับพี่ นริศครับ เรื่องลด VAT นี่ไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะจริงๆส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคไม่เยอะเลย แล้วการลด VAT ยังไปกระทบต่อรายได้ของรัฐบาลเยอะกว่า การลดภาษีนิติบุคคลอีก ถ้าลดควรลดภาษีนิติบุคคล ให้คนไม่ตกงานจะดีกว่า อีกอย่างก็เป็นการช่วยให้การแข่งขันดีขึ้นด้วยกับบริษัทในประเทศอื่น เพราะ อย่าง สิงค์โปร์ หรือ ฮ่องกง ก็ประมาณ 17-20% เท่านั้น อย่างที่เห็นครับ ภาษีในบ้านเราค่อนข้างสูง ทำให้ ผู้ประกอบการตกแต่งบัญชีกันทั้งนั้น เพื่อให้เสียภาษีน้อยที่สุด ถ้าลดลงมาจริง weight ระหว่าง เสี่ยงแต่งบัญชีเพื่อลดภาษี กับ เสียอย่างถูกต้อง จะแคบลงครับnaris เขียน:ขอแสดงความคิดเห็น แก้กลุ้มหน่อยนะครับ
ผมเป็นคนขายสินค้ากลับมองว่าVATที่ลดลงไป3-4%ไม่ใด้ช่วยอะไรให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากขึ้น อาจเป็นเพราะ ผมขายสินค้าที่ราคาต่อชิ้นไม่แพง หรืออาจเป็นเพราะราคาสินค้าตอนนี้เริ่มลดลงมาแล้ว และพอการแข่งขันเริ่มสูงขึ้น การลดราคาจะตามมาเอง การลดราคาเพิ่มอีกนิดจากVATไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่เมื่อเทียบกับการเก็บภาษีได้ลดลง แถมเวลาขึ้นอีกรอบจะมีปัญหาได้ ผมว่าถ้าจะได้ก็จากจิตวิทยาชั่วคราวว่าของจะลงเท่านั้นเอง
ผมว่าปัญหาตอนนี้ทุกคนขาดความมั่นใจ คนมีเงินก็ยังไม่ค่อยกล้าใช้เงิน นักธุรกิจก็ไม่กล้าขยายการลงทุนใหม่ๆ ผมว่าภาครัฐทำขาดดุลหนักๆมากระตุ้นรากหญ้าโดยตรง ทำให้เงินมันคล่องมากขึ้น และต้องทำให้ทุกคนมั่นใจว่าปัญหาตกงานจะน้อย จะมีงานรองรับ สภาพงูกินหางที่ทำให้เศรษฐกิจหดตัวน่าจะดีขึ้นครับ
ตามความเห็นผมนะครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 4
ง่า เห็นด้วยกะพี่นริศนะคะ
เท่าที่รู้สึกได้เนี่ย คิดว่าปัญหาตอนนี้ และน่าห่วงว่ากะลังจะเกิดต่อเนื่องคือ สภาพคล่องอ่ะค่ะ ไม่น่าจะเป็นเรื่องคนไม่ใช้เงินเพราะสินค้าแพงหรือไรนะ
เห็นด้วยอย่างยิ่งว่ากลไกตลาดมันจัดการราคาได้อยู่แล้ว คนไม่ควักเงินอ่ะ สินค้าอยากจะแพง ก็เอาซี๊ อยากจะขึ้นราคาในยามคนไม่อยากใช้เงิน ก็ลองดูซี๊ :lol: เหอๆ
คิดว่าน่าห่วงคือ พวก บริษัทหรือร้านค้า ธุรกิจขนาดเล็กน่านะคะ ยังไงแบงค์ก็ไม่ปล่อยอ่ะ ไม่ปล่อยอย่างเดียวไม่ว่านะ เผลอๆชักกลับด้วยอ๊ะป่าวอ่ะ เคยปล่อยให้อยู่ๆเกิดเข้มขึ้นมานี่เสร็จเลย
คือ เป็นวงเวียนเลยอ่ะ จะว่าแบงค์ก็ว่าไม่เต็มปาก ก็กลัวเจ๊งอ่า เจ๊งมาโดนด่าอีกเต็มๆ :lol:
ประเด็นคือ นโยบายรัฐน่ะ ที่ว่าจะจี้ให้แบงค์และหน่วยงานในความควบคุมของรัฐ ให้ปล่อยเงินออกไปช่วยพวกขนาดเล็ก เรื่องนโยบายน่ะพูดได้ แต่เวลาปฏิบัติจริงๆ จะปล่อยง่ายๆป่าวล่ะ
นี่มีคนรู้จักคนนึง เขาทำเรื่องกะแบงค์รัฐ ยื่นไปตั้งนานนม โหกว่าจะได้ ลุ้นกันเล็บจิก ตัวบิดเอวงอเลย ได้ตังค์มาทันเส้นยาแดงพอดี ประมาณว่าหมุนติ้วรอกเกือบขาดน่ะ นี่แบบมีทรัพย์สินค้ำเต็มที่เลยนะ
เห็นบอกความรู้สึกคล้ายกะ มีดบินเฉี่ยวหูไปยังงั้นเลย... วิ้วๆๆๆ
:lol:
เท่าที่รู้สึกได้เนี่ย คิดว่าปัญหาตอนนี้ และน่าห่วงว่ากะลังจะเกิดต่อเนื่องคือ สภาพคล่องอ่ะค่ะ ไม่น่าจะเป็นเรื่องคนไม่ใช้เงินเพราะสินค้าแพงหรือไรนะ
เห็นด้วยอย่างยิ่งว่ากลไกตลาดมันจัดการราคาได้อยู่แล้ว คนไม่ควักเงินอ่ะ สินค้าอยากจะแพง ก็เอาซี๊ อยากจะขึ้นราคาในยามคนไม่อยากใช้เงิน ก็ลองดูซี๊ :lol: เหอๆ
คิดว่าน่าห่วงคือ พวก บริษัทหรือร้านค้า ธุรกิจขนาดเล็กน่านะคะ ยังไงแบงค์ก็ไม่ปล่อยอ่ะ ไม่ปล่อยอย่างเดียวไม่ว่านะ เผลอๆชักกลับด้วยอ๊ะป่าวอ่ะ เคยปล่อยให้อยู่ๆเกิดเข้มขึ้นมานี่เสร็จเลย
คือ เป็นวงเวียนเลยอ่ะ จะว่าแบงค์ก็ว่าไม่เต็มปาก ก็กลัวเจ๊งอ่า เจ๊งมาโดนด่าอีกเต็มๆ :lol:
ประเด็นคือ นโยบายรัฐน่ะ ที่ว่าจะจี้ให้แบงค์และหน่วยงานในความควบคุมของรัฐ ให้ปล่อยเงินออกไปช่วยพวกขนาดเล็ก เรื่องนโยบายน่ะพูดได้ แต่เวลาปฏิบัติจริงๆ จะปล่อยง่ายๆป่าวล่ะ
นี่มีคนรู้จักคนนึง เขาทำเรื่องกะแบงค์รัฐ ยื่นไปตั้งนานนม โหกว่าจะได้ ลุ้นกันเล็บจิก ตัวบิดเอวงอเลย ได้ตังค์มาทันเส้นยาแดงพอดี ประมาณว่าหมุนติ้วรอกเกือบขาดน่ะ นี่แบบมีทรัพย์สินค้ำเต็มที่เลยนะ
เห็นบอกความรู้สึกคล้ายกะ มีดบินเฉี่ยวหูไปยังงั้นเลย... วิ้วๆๆๆ
:lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 6
GDP=C+I+G+(X-M)
ตอนนี้ I ก็มีแต่ข่าวลดการลงทุน
C ก็โดนเรื่องปลดคนงาน
Xและ M ก็เพิ่งของเดือน พย 2551
ก็เหลือแต่ G ตัวเดียว ที่ทำให้ GDP เพิ่มได้
แต่ G ทั้ง G และ G ที่เป็น I ด้วย
ต้องดูว่า เป็น G ตัวไหน
ตอนนี้ I ก็มีแต่ข่าวลดการลงทุน
C ก็โดนเรื่องปลดคนงาน
Xและ M ก็เพิ่งของเดือน พย 2551
ก็เหลือแต่ G ตัวเดียว ที่ทำให้ GDP เพิ่มได้
แต่ G ทั้ง G และ G ที่เป็น I ด้วย
ต้องดูว่า เป็น G ตัวไหน
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 7
ลด VAT & เพิ่มรายจ่ายพร้อมๆกันนี่จะเอาเงินมาจากไหนหว่า ไม่รู้นักข่าวเอามาลงไม่หมดหรือเปล่าแต่ระดับ nida น่าจะดูทั้งขาเข้าและขาออกนะครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 8
รัฐมีเครื่องมือในการชดเชยAlastor เขียน:ลด VAT & เพิ่มรายจ่ายพร้อมๆกันนี่จะเอาเงินมาจากไหนหว่า ไม่รู้นักข่าวเอามาลงไม่หมดหรือเปล่าแต่ระดับ nida น่าจะดูทั้งขาเข้าและขาออกนะครับ
1. บีบรัฐวิสาหกิจ ให้จ่ายกำไรมามากๆๆ
2. ออกพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น
3. ขึ้นดอกเบี้ยในสินค้าฟุ่มเฟื่อย ซัก เช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
นักวิชาการแนะรัฐเพิ่มขาดดุลงบประมาณเป็น 5-6 แสนลบ. ดันจีดีพี
โพสต์ที่ 9
ทั้ง 3 ข้อทำได้ยากมากเหมือนกันนะครับmiracle เขียน: รัฐมีเครื่องมือในการชดเชย
1. บีบรัฐวิสาหกิจ ให้จ่ายกำไรมามากๆๆ
2. ออกพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น
3. ขึ้นดอกเบี้ยในสินค้าฟุ่มเฟื่อย ซัก เช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น
อย่างข้อแรก ปีีหน้า ศก. แย่แน่ รัฐวิสาหกิจปรกติก็ไม่ค่อยจะมีกำไรกันอยู่แล้ว บางอันก็ขาดทุนเยอะด้วยซ้ำ
2 ออก พันธบัตรเป็นไปได้แต่ เรื่องความเชื่อมั่นอาจจะกระทบทำให้ดอกที่ต้องจ่ายจะสูงไปด้วย
3 ขึ้นดอกเบี้ยพวกสินค้าฟุ่มเฟื่อยก็ยากในเรื่องที่ว่า บริษัทพวกนี้ก็จ้างคนงานเยอะเหมือนกัน อาจทำให้คนตกงานได้ เพราะ demand ของของพวกนี้โดยมากควรจะหดตัวมากกว่า สินค้าอุปโภคบริโภค
ตามความเห็นผมนะครับ :lol:
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment