JAPAN:เจาะลึกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลาง
โตเกียว--25 ธ.ค.--รอยเตอร์
นายมาซาอากิ ชิราคาวะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวใน
สัปดาห์ที่แล้วว่า การที่ BOJ ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยและเข้าซื้อสินทรัพย์มาก
ยิ่งขึ้นนั้น ไม่ถือเป็นการกลับไปใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (quantitative
easing) หลังจากที่ญี่ปุ่นเคยใช้นโยบายดังกล่าวในช่วงปี 2001-2006
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ:-
ความหมายของการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
--การผ่อนคลายเชิงปริมาณหมายถึงแนวทางอื่นๆในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
หลังจากมีการใช้เครื่องมือนโยบายการเงินแบบดั้งเดิมไปหมดแล้ว โดยนโยบายแบบ
ดั้งเดิมรวมถึงการกำหนดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย
--การผ่อนคลายเชิงปริมาณรวมถึงการที่ธนาคารกลางอัดฉีดเม็ดเงิน
จำนวนมากเข้าสู่ระบบธนาคาร โดยอัดฉีดในจำนวนที่มากกว่าที่จำเป็นต้องใช้
ในการตรึงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำหรืออยู่ที่ 0 % โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
พยุงระบบการเงินและกระตุ้นการปล่อยกู้ โดยธนาคารกลางมักดำเนินการ
โดยใช้วิธีเข้าซื้อสินทรัพย์ปริมาณมากจากธนาคารพาณิชย์
ผู้ที่ได้ใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ
1.ญี่ปุ่น
--BOJ เริ่มใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณนอกเหนือจากการตรึง
อัตราดอกเบี้ยที่ 0 % ในเดือนมี.ค.2001 หลังจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้รับความ
เสียหายจากภาวะฟองสบู่แตกในธุรกิจอินเทอร์เน็ต และยังคงประสบภาวะเงินฝืด
--ผู้เชี่ยวชาญหลายรายซึ่งรวมถึงผู้กำหนดนโยบายบางคนของ BOJ
ไม่แน่ใจว่านโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการฟื้นฟู
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหรือไม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เชื่อว่านโยบายนี้ช่วยจำกัดภาวะ
เงินฝืด และช่วยลดระดับความรุนแรงของวิกฤติภาคธนาคาร
--การอัดฉีดเงินทุนให้สูงขึ้นส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถหลีกเลี่ยง
ภาวะขาดสภาพคล่อง และสามารถดำเนินขั้นตอนที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นในการสะสาง
หนี้ในพอร์ท โดยในช่วงนั้นธนาคารพาณิชย์มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน
มาก
--แทนที่จะใช้นโยบายแบบดั้งเดิมในการปรับขึ้นหรือปรับลดอัตราดอกเบี้ย
ระยะสั้น BOJ กลับใช้วิธีกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินที่จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบธนาคาร
โดยการอัดฉีดส่วนใหญ่กระทำผ่านทางการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและหลักทรัพย์
เชิงพาณิชย์จากภาคธนาคาร และนโยบายนี้ได้สิ้นสุดลงในปี 2006
2.ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
--นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า เฟดได้ใช้รูปแบบหนึ่งของการผ่อนคลายเชิง
ปริมาณในความพยายามสร้างเสถียรภาพให้กับระบบการเงินและพยุงเศรษฐกิจ
ถึงแม้ว่าวิธีการของเฟดแตกต่างไปจาก BOJ
--เฟดปรับลดเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงสู่ 0-0.25 % และระบุว่า
เฟดพร้อมที่จะช่วยเหลือตลาดและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยทำให้งบดุลของเฟดอยู่ในระดับสูง
--เฟดมีภาระผูกพันในการซื้อตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองจำนวนมาก
เพื่อช่วยเหลือตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐ และเฟดกำลังพิจารณาเรื่องการเข้าซื้อพันธบัตร
รัฐบาลโดยตรง
--นับตั้งแต่บริษัทเลห์แมน บราเธอร์สล้มละลายในเดือนก.ย. มาตรการต่างๆ
ที่เฟดนำมาใช้ในการพยุงภาคการเงินก็ส่งผลให้งบดุลของเฟดมีขนาดเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า
สู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์มากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์
--เฟดระบุว่า การปรับนโยบายครั้งใหญ่ของเฟดในสัปดาห์ที่แล้วไม่ได้เป็น
สัญญาณบ่งชี้ว่า เฟดมีความกังวลมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับภาวะเงินฝืด แต่แสดงให้เห็นว่า
เฟดตั้งใจที่จะปรับปรุงภาวะการปล่อยกู้ โดยใช้วิธีกดดันอัตราดอกเบี้ยจำนองและ
อัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอื่นๆในภาคการเงินให้ปรับตัวลง
ผู้ที่อาจจะใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ
1.ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)
--นายเดวิด แบลนช์ฟลาวเวอร์ กรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลาง
อังกฤษ (BOE) กล่าวในช่วงต้นเดือนนี้ว่า ผู้กำหนดนโยบายจะทำในสิ่งที่ถูกต้องถ้าหาก
พวกเขาพิจารณาเรื่องการใช้มาตรการพิเศษ ซึ่งรวมถึงการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
ในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสกัดกั้นภาวะเงินฝืด
2.BOJ
--ถ้าหากเศรษฐกิจโลกถดถอยลงอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น BOJ ก็อาจจะกลับไปใช้
นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณในช่วงต้นปีหน้า โดยนายนาโอกิ อิซูกะ นักเศรษฐศาสตร์
ของบล.มิซูโฮ กล่าวว่า BOJ อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ 0 % ในเดือนม.ค.ปีหน้า
เพื่อสกัดกั้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และนักวิเคราะห์บางรายคาดว่า BOJ อาจทำมาก
กว่านั้น โดยอาจกลับไปใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ
--การใช้นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณอาจสร้างความลำบากใจให้กับ
นายมาซาอากิ ชิราคาวะ ผู้ว่าการ BOJ โดยเขาเคยกล่าวเตือนว่า การทำให้
อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเกินไปจะเป็นการบิดเบือนการทำงานของตลาดเงิน
--เจ้าหน้าที่ระดับสูงใน BOJ เคยกล่าวว่า BOJ ไม่ได้ตัดโอกาสของ
ทางเลือกใดๆในการกำหนดนโยบาย ในขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งกำลังประสบภาวะ
ถดถอยในขณะนี้มีโอกาสที่จะหดตัวทางเศรษฐกิจยาวนานที่สุดเป็นประวัติการณ์
--นายชิราคาวะกล่าวต่อรัฐสภาในสัปดาห์ที่แล้วว่า การผ่อนคลาย
เชิงปริมาณส่งผลบางประการในการสร้างเสถียรภาพแก่ตลาดการเงิน และ
กล่าวว่าเขากำลังศึกษาผลกระทบและผลข้างเคียงของนโยบายดังกล่าว
--BOJ และเฟดต่างก็พยายามที่จะตั้งเป้าแก้ไขปัญหาในตลาดที่ส่งผล
กระทบต่อเศรษฐกิจ เช่น ตลาดตราสารเชิงพาณิชย์ที่บริษัทเอกชนใช้ในการระดม
ทุนระยะสั้น โดย BOJ แถลงในสัปดาห์ที่แล้วว่า BOJ จะเข้าซื้อตราสารเชิงพาณิชย์
โดยตรง และจะเพิ่มปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในแต่ละเดือน--จบ--