อยากทราบวิธีการและขั้นตอนในการวิเคราะห์ก่อนลงทุนของแต่ละท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบวิธีการและขั้นตอนในการวิเคราะห์ก่อนลงทุนของแต่ละท่าน
โพสต์ที่ 1
คือจะว่าไปผมเองก็ถือว่ายังเป็นมือใหม่อยู่น่ะครับ ถึงจะติดตาม vi มา4-5 ปี แต่ยังไม่เคยลงมือลงทุนจริงๆจังๆ เนื่องจากกำลังสะสมกระสุนอยู่น่ะครับ
บัดนี้กระสุนเพียงพอแล้ว เลยถึงเวลาต้องลงมือจริงๆสักที เวลากำลังเหมาะเจาะ
เลยอยากทราบว่าหลายๆท่านในนี้ ก่อนที่ท่านจะซื้อหุ้นลงทุนแบบ vi แต่ละตัวนี่ มีขึ้นตอนการดูและวิเคราะห์อย่างไร และจากอะไรบ้างเหรอครับ
อย่างเช่นผมเอง เริ่มต้นก็ดู profile บริษัท คร่าวๆ จากเว็บ set , settrade , เว็บนี้ แล้วก็ลองโหลดไฟล์ 56-1 มาอ่าน , งบการเงินย้อนหลังแต่ละปีๆ มาแกะ แต่กำลังงงๆ ครับว่า จะต้องแกะอะไรบ้าง อัตราส่วนอะไรที่ใช้กันบ่อยๆ ทำนองเนี่ยอ่ะครับ
บัดนี้กระสุนเพียงพอแล้ว เลยถึงเวลาต้องลงมือจริงๆสักที เวลากำลังเหมาะเจาะ
เลยอยากทราบว่าหลายๆท่านในนี้ ก่อนที่ท่านจะซื้อหุ้นลงทุนแบบ vi แต่ละตัวนี่ มีขึ้นตอนการดูและวิเคราะห์อย่างไร และจากอะไรบ้างเหรอครับ
อย่างเช่นผมเอง เริ่มต้นก็ดู profile บริษัท คร่าวๆ จากเว็บ set , settrade , เว็บนี้ แล้วก็ลองโหลดไฟล์ 56-1 มาอ่าน , งบการเงินย้อนหลังแต่ละปีๆ มาแกะ แต่กำลังงงๆ ครับว่า จะต้องแกะอะไรบ้าง อัตราส่วนอะไรที่ใช้กันบ่อยๆ ทำนองเนี่ยอ่ะครับ
" บทเรียนที่สำคัญที่สุดในการลงทุนก็คือการมองหุ้นที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ไม่ใช่สิ่งที่มีราคาขึ้นๆ ลงๆ
- Renne
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบวิธีการและขั้นตอนในการวิเคราะห์ก่อนลงทุนของแต่ละท่าน
โพสต์ที่ 2
ใช้excelของพี่ครรชิตช่วยดูครับ ง่ายดี
ปรกติพอร์ตผมจะแยกเป็น 2 กลุ่มครับ กลุ่มนึงรอturn aroundเป็นพวกหุ้นวัฏจักรที่ราคาดิ่งมากๆ อีกกลุ่มเป็นหุ้นพื้นฐานน่ะครับ (แบ่งไว้ 35:65)
เวลาวิเคราะห์พวกพื้นฐานจะดูค่า PE ratio : AR ด้วยเรียงหาค่าที่น้อยที่สุด (ตัดเอาตัวติดลบทิ้งไป) กับดู P/bv เช็ึึคเทียบบ้าง พอเสร็จแล้วค่อยมาไล่ดูงบการเงินกับกราฟครับ(กราฟปรกติถ้าดูได้ ผมจะพยายามดูย้อนหลัง10ปีเลย) แ้ล้วก็ดูสัดส่วนของกำไรว่าโต,ROE ตามที่VIใช้ดูกันน่ะครับ Market capดูผ่านๆบ้างเพราะพยายามจะไม่ซื้อตัวที่ Marcapเล็กกว่า1000ล้าน ปรกติผมเองก็ไม่ค่อยมีเวลาหาข้อมูลมากเท่าไหร่นัก เลยใช้วิธีไปส่องๆในร้อยคนร้อยหุ้นเอา ประหยัดเวลาไปได้เยอะ มีข้อมูลหุ้นแต่ละตัวให้พิจารณาเยอะครับ แทบไม่ต้องไปหาจากที่อื่นเลย
ส่วนพวกวัฏจักร เช็คกราฟกับดูรอบเป็นหลักครับ แต่วัฏจักรที่ผมซื้อในพอร์ตแต่ละตัวก็ไม่เชิงเป็นวัฏจักรแท้ๆละมั้ง ฮา เพราะพยายามดูตัวที่จ่ายปันผลตลอดกับพื้นฐานค่อนข้างแข็งน่ะครับ
ปรกติพอร์ตผมจะแยกเป็น 2 กลุ่มครับ กลุ่มนึงรอturn aroundเป็นพวกหุ้นวัฏจักรที่ราคาดิ่งมากๆ อีกกลุ่มเป็นหุ้นพื้นฐานน่ะครับ (แบ่งไว้ 35:65)
เวลาวิเคราะห์พวกพื้นฐานจะดูค่า PE ratio : AR ด้วยเรียงหาค่าที่น้อยที่สุด (ตัดเอาตัวติดลบทิ้งไป) กับดู P/bv เช็ึึคเทียบบ้าง พอเสร็จแล้วค่อยมาไล่ดูงบการเงินกับกราฟครับ(กราฟปรกติถ้าดูได้ ผมจะพยายามดูย้อนหลัง10ปีเลย) แ้ล้วก็ดูสัดส่วนของกำไรว่าโต,ROE ตามที่VIใช้ดูกันน่ะครับ Market capดูผ่านๆบ้างเพราะพยายามจะไม่ซื้อตัวที่ Marcapเล็กกว่า1000ล้าน ปรกติผมเองก็ไม่ค่อยมีเวลาหาข้อมูลมากเท่าไหร่นัก เลยใช้วิธีไปส่องๆในร้อยคนร้อยหุ้นเอา ประหยัดเวลาไปได้เยอะ มีข้อมูลหุ้นแต่ละตัวให้พิจารณาเยอะครับ แทบไม่ต้องไปหาจากที่อื่นเลย
ส่วนพวกวัฏจักร เช็คกราฟกับดูรอบเป็นหลักครับ แต่วัฏจักรที่ผมซื้อในพอร์ตแต่ละตัวก็ไม่เชิงเป็นวัฏจักรแท้ๆละมั้ง ฮา เพราะพยายามดูตัวที่จ่ายปันผลตลอดกับพื้นฐานค่อนข้างแข็งน่ะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบวิธีการและขั้นตอนในการวิเคราะห์ก่อนลงทุนของแต่ละท่าน
โพสต์ที่ 3
จำได้ว่าตอนเริ่ม ผมเริ่มจากหุ้นที่เรารู้จักก่อนครับ เช่น ไปกิน s&p แล้วเห็นคนซื้อเยอะ หรือ ไป 7-11 แล้วว่าของขายแพงไม่มีจุดขาย คนเข้าตลอด หรือไปเดินห้างเห็นร้านนู้น ร้านนี้ ไปซื้อของแต่งบ้านเห็นรถจอดเต็มที่จอดเลย อะไรแบบนี้อ่ะครับ แล้วก็เอามา โฟกัสตัวนั้น ๆ ว่ามันดีตามที่เราคิดหรือเปล่า ถ้าดีราคาเหมาะสมก็ซื้อ บางตัวก็ดีแต่ราคาไม่เหมาะก็รอ อะไรเทือก ๆ นั้นอ่ะครับ แฮะ ๆ (อาจไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องนะครับ แฮะ ๆ)
-
- Verified User
- โพสต์: 191
- ผู้ติดตาม: 0
อยากทราบวิธีการและขั้นตอนในการวิเคราะห์ก่อนลงทุนของแต่ละท่าน
โพสต์ที่ 4
1. ดูความสามารถในการทำกำไรในอดีต เช่นเพิ่มขึ้นทุกปีไหม ถ้ารายได้ลดลง 20% ยังมีกำไรไหมในต้นทุนปัจจุบัน แล้วก็มองความสามารถในอนาคตครับ เช่นใช้อัตราการเจริญเติบโตของยอดขายในช่วง 3 - 10 ปี ที่ผ่านมามาหา ยอดขาย forward ในอนาคต แล้วลองคำนวณหากำไรที่คาดการณ์ในอีก 3- 5 ปีข้างหน้าครับ
2. ดูหนี้สินต่อทุน ถ้าหนี้มากก็เสี่ยงมากครับ แต่ถ้ามี FCF เป็นบวกมากๆ อันนี้ก็พอทดแทนกันได้ครับ (FCF = CFO - เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร - ชำระคืนเงินกู้ หรือ CFO - CFI - ชำระคืนเงินกู้)
3. ดูเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีครับ บางบริษัทยอดขายโตมากแต่เงินทุนหมุนเวียนก็โตตามเช่นกัน ประเภทนี้ยิ่งทำยิ่งเหนื่อย เนื่องจากสภาพคล่องจะน้อยลงตามอัตราการเจริญโตของยอดขาย
4. ดูอนาคตทางการตลาดของบริษัท เช่น ปัจจุบันขายดีมาก แต่มีสาขาน้อย อันนี้ในอนาคตก็คงเพิ่มสาขาได้อีก ยอดขายก็จะโตอีกมาก
5. ลองคำนวณหาอัตราผลตอบแทนในการลงทุน โดยนำ Pe เฉลี่ยๆ , อัตราการ growth มาคูณกับกำไรในอนาคตที่เราประเมิน
6. อื่นๆ ตามแต่จะละเอียดเล็กน้อยแตกต่างกัน
2. ดูหนี้สินต่อทุน ถ้าหนี้มากก็เสี่ยงมากครับ แต่ถ้ามี FCF เป็นบวกมากๆ อันนี้ก็พอทดแทนกันได้ครับ (FCF = CFO - เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร - ชำระคืนเงินกู้ หรือ CFO - CFI - ชำระคืนเงินกู้)
3. ดูเงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีครับ บางบริษัทยอดขายโตมากแต่เงินทุนหมุนเวียนก็โตตามเช่นกัน ประเภทนี้ยิ่งทำยิ่งเหนื่อย เนื่องจากสภาพคล่องจะน้อยลงตามอัตราการเจริญโตของยอดขาย
4. ดูอนาคตทางการตลาดของบริษัท เช่น ปัจจุบันขายดีมาก แต่มีสาขาน้อย อันนี้ในอนาคตก็คงเพิ่มสาขาได้อีก ยอดขายก็จะโตอีกมาก
5. ลองคำนวณหาอัตราผลตอบแทนในการลงทุน โดยนำ Pe เฉลี่ยๆ , อัตราการ growth มาคูณกับกำไรในอนาคตที่เราประเมิน
6. อื่นๆ ตามแต่จะละเอียดเล็กน้อยแตกต่างกัน