รบกวนผู้รู้ทางบัญชีครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 49
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ทางบัญชีครับ
โพสต์ที่ 1
BAD DEBT AND DOUBTFUL ACCOUNTS 3,288.43
คือเจ้าข้อความนี้มันอยู่ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทเกี่ยวกับเงินทุนครับ
อยากทาราบว่ามันเป็นหนี้เสียที่เกิดแล้ว หรือยังไม่เกิดแต่สงสัยว่าจะเกิด
หรือว่าแล้วแต่บริษัทจะบันทึกลงเท่าไหร่ก็ได้
ขอความรู้หน่อยครับ
ปล.โดยเฉลี่ยแล้วหนี้เสียของบัตรเครดิตธนาคารจะอยู่ที่กี่ % ครับ
ขอบคุณครับ
คือเจ้าข้อความนี้มันอยู่ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทเกี่ยวกับเงินทุนครับ
อยากทาราบว่ามันเป็นหนี้เสียที่เกิดแล้ว หรือยังไม่เกิดแต่สงสัยว่าจะเกิด
หรือว่าแล้วแต่บริษัทจะบันทึกลงเท่าไหร่ก็ได้
ขอความรู้หน่อยครับ
ปล.โดยเฉลี่ยแล้วหนี้เสียของบัตรเครดิตธนาคารจะอยู่ที่กี่ % ครับ
ขอบคุณครับ
- atsu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1220
- ผู้ติดตาม: 1
รบกวนผู้รู้ทางบัญชีครับ
โพสต์ที่ 2
เป็นรายการหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งสำรองของงวดบัญชีนั้นๆครับ
ปกติพวกสถาบันการเงินเค้าจะมีเกณฑ์บังคับเรื่องการตั้งสำรองหนี้เสียไว้ แต่จะตั้งสำรองเกินเกณฑ์ก็ได้
ส่วนเกณฑ์นั้นคืออย่างไร รบกวนผู้รู้จริงเฉลยต่อจากผู้รู้งูๆปลาๆ :lol:
ปกติพวกสถาบันการเงินเค้าจะมีเกณฑ์บังคับเรื่องการตั้งสำรองหนี้เสียไว้ แต่จะตั้งสำรองเกินเกณฑ์ก็ได้
ส่วนเกณฑ์นั้นคืออย่างไร รบกวนผู้รู้จริงเฉลยต่อจากผู้รู้งูๆปลาๆ :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 43
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ทางบัญชีครับ
โพสต์ที่ 3
โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่า เกณฑ์ในการตั้งค่าเผื่อนหี้สงสัยจะสูญ นั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัทครับ เพราะแต่ละกิจการก็จะมีนโยบายแตกต่างกัน เช่น หากลูกหนี้ของกิจการมีอายุเกิน 1 ปี จะตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัญจะสูญ 5%
ส่วนการตัดเป็นหนี้สูญนั้น จะต้องติดตามทวงถามให้ถึงที่สุด หรือมีการฟ้องร้องคดีจนเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ถึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้ครับ
ส่วนการตัดเป็นหนี้สูญนั้น จะต้องติดตามทวงถามให้ถึงที่สุด หรือมีการฟ้องร้องคดีจนเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ถึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
รบกวนผู้รู้ทางบัญชีครับ
โพสต์ที่ 4
ถ้าเป็นกรณีหนี้สูญอันนี้
กรณีแบบนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะผู้บริหาร และ ผู้ตรวจสอบบัญชี
ว่า ให้ปรากฏขึ้นอยู่ในรายการนี้หรือไม่
รายการนี้ปรากฏเมื่อไร นักลงทุนมักถามคำถามว่า มันเกิดเพราะสาเหตุอะไร มีแนวทางแก้ไขหรือไม่ แล้วใช้หลักอะไรในการตั้งสำรองดังกล่าว
กรณีแบบนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะผู้บริหาร และ ผู้ตรวจสอบบัญชี
ว่า ให้ปรากฏขึ้นอยู่ในรายการนี้หรือไม่
รายการนี้ปรากฏเมื่อไร นักลงทุนมักถามคำถามว่า มันเกิดเพราะสาเหตุอะไร มีแนวทางแก้ไขหรือไม่ แล้วใช้หลักอะไรในการตั้งสำรองดังกล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ทางบัญชีครับ
โพสต์ที่ 6
ถ้าตั้งน้อยเกินไปผู้สอบบัญชีเห็นว่าไม่เพียงพอก็อาจจะแจ้งให้ปรับเพิ่มได้ครับ ตามหลักความระมัดระวัง (conservative) อย่างเช่น ค้างชำระนานเกิน 1 ปีควรจะตั้งค่าเผื่อ 100% แล้วแต่ธุรกิจครับ บางธุรกิจหากเกิน 6เดือนก็ถือว่าผิดปกติแล้ว ควรตั้ง 100% ทันที อันนี้ต้องดูเหตุผลของฝ่ายบริหารด้วยว่าทำไมถึงไม่ตั้งหรืออย่างไร แต่ส่วนใหญ่หากผู้บริหารที่ต้องการให้งบรายไตรมาสออกมาสวยหรูโดยที่ไม่ตั้งค่าเผื่อหนี้ฯก็อาจเป็นได้ครับ เนื่องจากผู้สอบบัญชีเห็นว่าไม่ได้กระทบงบอย่างเป็นสาระสำคัญ แต่อาจเจออีกทีตอนงบประจำปีซึ่งต้องปรับหมด อย่างนี้ผู้ถือหุ้นก็ควรระวังด้วยนะครับว่าในงบไตรมาสที่มีลูกหนี้ค้างนานๆแต่ไม่ได้ตั้งค่าเผื่อฯไว้ก่อน :Danswers เขียน:ถ้างั้นเจ้าหนี้สงสัยจะสูญตัวนี้ก็จะเป็นเท่าไหร่ก็ได้ใช่มั้ยครับ
ขึ้นอยู่กับผู้บริหารกำหนด
ขอบคุณทุกความเห็นคร้าบ