มือใหม่
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มือใหม่
โพสต์ที่ 2
ต้องพิจารณาเป็นรายตัวไปนะครับ
ผมว่าเรื่องของค่า p/e และ b/v นั้นเป็นเรื่องของความคาดหวังกำไรของบริษัทในอนาคตด้วย(ความเชื่อมั่น) หุ้นบางตัวมีค่า p/e และ b/v สูง แต่ก็มีคนสนใจซื้อเพราะมีการคาดไว้แล้วว่าหุ้นตัวนี้กำไรในอนาคตต้องสูงแน่
ในขณะที่หุ้นบางตัวค่า p/e และ b/v ต่ำมาก แต่กลับไม่มีใครสนใจนั่นอาจเป็นเพราะหุ้นตัวนี้ผลประกอบการกำลังจะตกต่ำในอนาคตอันใกล้นี้
ตัวอย่าง
อย่าง QLT ผมซื้อตอน ราคา 4.12 p/e ประมาณ 5 เท่า b/v ประมาณ 2 เท่า
ถ้าดูค่าb/v แล้วดูเหมือนจะแพงมาก แต่ในสายตาผมไม่แพงนะครับ
PM ผมซื้อตอน 0.70 บาท ตอนนั้น p/e ประมาณ 2 เท่า
b/v ประมาณ 0.8 เท่า ใครๆก็ดูถูกว่ามันหุ้นเน่า แต่ในสายตาผม
ผมมองว่าในอนาคต PM จะสามารถล้างขาดทุนได้หมดและจะสามารถจ่ายปันได้มาก ผมจึงซื้อ PM เลย แล้วก็เป็นอย่างที่ผมคิดไว้เลย ตอนนี้PM ล้างขาดทุนสะสมได้แล้ว และผมมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายปันผลได้ในเร็วนี้อย่างแน่นอน
สรุป
การที่จะซื้อหุ้นตัวใดนั้นเราต้องมองอนาคตของหุ้นตัวนั้นให้ออกเสียก่อน
ว่าจะเติบโตได้แค่ไหน
และในบางครั้งเราต้องกล้าทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคนส่วนใหญ่
แต่ถึงอย่างไรผมก็ไม่อยากให้ไปยึดติดกับค่า p/e และ b/v จนเกินไปเพราะหุ้นที่น่าสนใจและหุ้นที่ดีนั้นมันไม่ได้อยู่ที่ค่านี้มากนัก
คนที่ชอบยึดติดสุดท้ายมักไปไม่รอด.....เพราะทำให้ตัดสินใจพลาด/ไม่กล้าตัดสินใจ
ผมว่าเรื่องของค่า p/e และ b/v นั้นเป็นเรื่องของความคาดหวังกำไรของบริษัทในอนาคตด้วย(ความเชื่อมั่น) หุ้นบางตัวมีค่า p/e และ b/v สูง แต่ก็มีคนสนใจซื้อเพราะมีการคาดไว้แล้วว่าหุ้นตัวนี้กำไรในอนาคตต้องสูงแน่
ในขณะที่หุ้นบางตัวค่า p/e และ b/v ต่ำมาก แต่กลับไม่มีใครสนใจนั่นอาจเป็นเพราะหุ้นตัวนี้ผลประกอบการกำลังจะตกต่ำในอนาคตอันใกล้นี้
ตัวอย่าง
อย่าง QLT ผมซื้อตอน ราคา 4.12 p/e ประมาณ 5 เท่า b/v ประมาณ 2 เท่า
ถ้าดูค่าb/v แล้วดูเหมือนจะแพงมาก แต่ในสายตาผมไม่แพงนะครับ
PM ผมซื้อตอน 0.70 บาท ตอนนั้น p/e ประมาณ 2 เท่า
b/v ประมาณ 0.8 เท่า ใครๆก็ดูถูกว่ามันหุ้นเน่า แต่ในสายตาผม
ผมมองว่าในอนาคต PM จะสามารถล้างขาดทุนได้หมดและจะสามารถจ่ายปันได้มาก ผมจึงซื้อ PM เลย แล้วก็เป็นอย่างที่ผมคิดไว้เลย ตอนนี้PM ล้างขาดทุนสะสมได้แล้ว และผมมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายปันผลได้ในเร็วนี้อย่างแน่นอน
สรุป
การที่จะซื้อหุ้นตัวใดนั้นเราต้องมองอนาคตของหุ้นตัวนั้นให้ออกเสียก่อน
ว่าจะเติบโตได้แค่ไหน
และในบางครั้งเราต้องกล้าทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคนส่วนใหญ่
แต่ถึงอย่างไรผมก็ไม่อยากให้ไปยึดติดกับค่า p/e และ b/v จนเกินไปเพราะหุ้นที่น่าสนใจและหุ้นที่ดีนั้นมันไม่ได้อยู่ที่ค่านี้มากนัก
คนที่ชอบยึดติดสุดท้ายมักไปไม่รอด.....เพราะทำให้ตัดสินใจพลาด/ไม่กล้าตัดสินใจ
- holidaytours
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่
โพสต์ที่ 3
พีอีเป็นเครื่องมือตัวนึงในหลายตัวครับ
แต่ตัวหลักในความคิดผมการดูงบกระแสเงินสดครับ
แต่ตัวหลักในความคิดผมการดูงบกระแสเงินสดครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1088
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่
โพสต์ที่ 4
สวัสดีครับ
ส่วนตัว ผมมอง P/BV เหมือนเป็นตะข่ายรองรับนะครับ
ถ้าซื้อ P/BV ต่ำกว่า 1 เท่ากับว่าเราซื้อกิจการมาถูกกว่าทุนที่เจ้าของเก่าซื้อมา
แต่ทรัพย์สินก็คงต้องดูด้วยว่ามีอะไรบ้าง เช่นเงินสดเยอะ หรือว่า เครื่องจักรเยอะ หรือว่า ที่ดิน
คิดซะว่าถ้าปิดกิจการวันนี้คุณจะได้อะไร ถ้ามีแต่เครื่องจักรเอาไปขายต่อก็ไม่ค่อยได้ราคาอาจจะขายไม่ออกด้วยซ้ำไป แต่ถ้าเป็นเงินสดก็รับไปเต็มๆ
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งหากบริษัทมีเครื่องจักรมูลค่าสูงแต่ P/BV ต่ำอาจจะหมายความว่าการที่คุณซื้อหุ้นตัวนี้ไปถือว่าถูกเพราะถ้าคุณไปตั้งบริษัทใหม่เป็นคู่แข่งคุณจะต้องลงทุนมากกว่านี้ (เท่า BV)
บางทีบริษัทอาจมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าซ่อนอยู่เช่นที่ดินที่ราคาขึ้นไปมากแต่ไม่ได้อัพเดทมูลค่าในในบัญชี P/BV ของบริษัทนั้นอาจจะสูงกว่าความเป็นจริง หรืออาจจะมี Brand สินค้าที่ใช้ทั้งเงินและเวลาสร้างความไว้ใจจากผู้บริโภคมาหลายสิบปีแต่ไม่สะท้อนอยู่ในงบบัญชี
ถ้าบริษัทมีผลขาดทุนเรื่อยๆ BV ก็ลดลงไป P/BV จะสูงขึ้นอาจจะทำให้หุ้นที่ P/BV ต่ำกลายเป็นหุ้น P/BV สูงไปได้
P/E นี้ผมดูว่าผมจะได้เงินลงทุนคืนเร็วขนาดไหน
ถ้าใส่เงินไปแล้วได้คืนเร็วก็ยิ่งดีเพราะเราจะได้เอาเงินไปลงทุนต่อยอดไปอีกขั้น แต่การดู earning ก็ต้องประมาณด้วยว่ามันคาดการณ์ได้มากน้อยเพียงไหน
พวกบริษัทที่คาดการกำไรง่ายๆก็น่าจะเป็นธุรกิจที่กำไรไม่ผันผวนมาก พวกหุ้น ค้าปลีก หุ้นขายของใช้ที่มีความแตกต่างหรือคนไว้ใจมากกว่าคู่แข่ง (มี Brand) เช่นหุ้น มาม่า หรือหุ้น monopoly เช่น หุ้นเติมน้ำมันเครื่องบิน หรือหุ้น สนามบิน หุ้น จ่ายน้ำ จ่ายไฟ
หุ้นที่ดูยากๆก็น่าจะเป็นหุ้นที่กำไรมีการผันผวนสูงเช่น หุ้น รับเหมา หุ้น อสังหา หุ้น commodities.
จริงๆถ้าจะให้ถูกหลัก แล้วการดูกระแสเงินสดอิสระ (Free cash flow) สำคัญกว่าการดูกำไร เพราะถ้าบริษัทกระแสเงินสดดียังอยู่ต่อไปได้แม้ขาดทุน
แต่ถ้าบริษัทกำไรแต่เก็บเงินลูกค้าไม่ได้ก็มีสิทธิ์เจ๊งครับ
ส่วนตัว ผมมอง P/BV เหมือนเป็นตะข่ายรองรับนะครับ
ถ้าซื้อ P/BV ต่ำกว่า 1 เท่ากับว่าเราซื้อกิจการมาถูกกว่าทุนที่เจ้าของเก่าซื้อมา
แต่ทรัพย์สินก็คงต้องดูด้วยว่ามีอะไรบ้าง เช่นเงินสดเยอะ หรือว่า เครื่องจักรเยอะ หรือว่า ที่ดิน
คิดซะว่าถ้าปิดกิจการวันนี้คุณจะได้อะไร ถ้ามีแต่เครื่องจักรเอาไปขายต่อก็ไม่ค่อยได้ราคาอาจจะขายไม่ออกด้วยซ้ำไป แต่ถ้าเป็นเงินสดก็รับไปเต็มๆ
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งหากบริษัทมีเครื่องจักรมูลค่าสูงแต่ P/BV ต่ำอาจจะหมายความว่าการที่คุณซื้อหุ้นตัวนี้ไปถือว่าถูกเพราะถ้าคุณไปตั้งบริษัทใหม่เป็นคู่แข่งคุณจะต้องลงทุนมากกว่านี้ (เท่า BV)
บางทีบริษัทอาจมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าซ่อนอยู่เช่นที่ดินที่ราคาขึ้นไปมากแต่ไม่ได้อัพเดทมูลค่าในในบัญชี P/BV ของบริษัทนั้นอาจจะสูงกว่าความเป็นจริง หรืออาจจะมี Brand สินค้าที่ใช้ทั้งเงินและเวลาสร้างความไว้ใจจากผู้บริโภคมาหลายสิบปีแต่ไม่สะท้อนอยู่ในงบบัญชี
ถ้าบริษัทมีผลขาดทุนเรื่อยๆ BV ก็ลดลงไป P/BV จะสูงขึ้นอาจจะทำให้หุ้นที่ P/BV ต่ำกลายเป็นหุ้น P/BV สูงไปได้
P/E นี้ผมดูว่าผมจะได้เงินลงทุนคืนเร็วขนาดไหน
ถ้าใส่เงินไปแล้วได้คืนเร็วก็ยิ่งดีเพราะเราจะได้เอาเงินไปลงทุนต่อยอดไปอีกขั้น แต่การดู earning ก็ต้องประมาณด้วยว่ามันคาดการณ์ได้มากน้อยเพียงไหน
พวกบริษัทที่คาดการกำไรง่ายๆก็น่าจะเป็นธุรกิจที่กำไรไม่ผันผวนมาก พวกหุ้น ค้าปลีก หุ้นขายของใช้ที่มีความแตกต่างหรือคนไว้ใจมากกว่าคู่แข่ง (มี Brand) เช่นหุ้น มาม่า หรือหุ้น monopoly เช่น หุ้นเติมน้ำมันเครื่องบิน หรือหุ้น สนามบิน หุ้น จ่ายน้ำ จ่ายไฟ
หุ้นที่ดูยากๆก็น่าจะเป็นหุ้นที่กำไรมีการผันผวนสูงเช่น หุ้น รับเหมา หุ้น อสังหา หุ้น commodities.
จริงๆถ้าจะให้ถูกหลัก แล้วการดูกระแสเงินสดอิสระ (Free cash flow) สำคัญกว่าการดูกำไร เพราะถ้าบริษัทกระแสเงินสดดียังอยู่ต่อไปได้แม้ขาดทุน
แต่ถ้าบริษัทกำไรแต่เก็บเงินลูกค้าไม่ได้ก็มีสิทธิ์เจ๊งครับ
เล่นหุ้นคนแก่ แต่แอบเปรี้ยวเป็นบางเวลา