กระแสเงินสดอิสระ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คนที่จะเล่นหุ้นแล้วได้กำไร ในอัตราสูง คือคนที่รู้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นมากๆตัว ก่อนที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น เราต้องรู้เรื่องกระแสเงินสดอิสระก่อน
อยากได้ คำนิยามพร้อมยกตัวอย่าง ของคำว่ากระแสเงินสดอิสระ
ต้องรบกวนผู้รู้แล้ว เพราะ ผมว่า หลายๆคนก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองเข้าใจ
นั้นจะถูก หรือ ฉลาดพอ
ผมอ่าน ดันโด แล้ว ขอขอบคุณ ท่านที่แนะนำ ดีมาก ถ้าอ่านเรื่องนี้ เมื่อ 8ปีที่แล้ว
คงไม่ต้องขาดทุนหุ้น 2-3 ล้านบาท
กำลังจะอ่านวอเรน  อ่าน 3-4 หน้าแล้ว น่าจะดีมาก ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับผู้แนะนำ
อ่าน ปีเตอริน ตีแตก และหนังสื่อเทคนิคอีกหลายเล่น เทคนิเคิ้ล เป็นเหมือน
ไสยศาสตร์ ถ้าเก่งและแม่นจริงๆ ก็ช่วยให้ได้กำไรแน่นอน
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

[quote="blueplanet"]คนที่จะเล่นหุ้นแล้วได้กำไร ในอัตราสูง คือคนที่รู้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นมากๆตัว ก่อนที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น เราต้องรู้เรื่องกระแสเงินสดอิสระก่อน
อยากได้ คำนิยามพร้อมยกตัวอย่าง ของคำว่ากระแสเงินสดอิสระ
ต้องรบกวนผู้รู้แล้ว เพราะ ผมว่า หลายๆคนก็ไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งที่ตัวเองเข้าใจ
นั้นจะถูก หรือ ฉลาดพอ
ผมอ่าน ดันโด แล้ว ขอขอบคุณ ท่านที่แนะนำ ดีมาก ถ้าอ่านเรื่องนี้ เมื่อ 8ปีที่แล้ว
คงไม่ต้องขาดทุนหุ้น 2-3 ล้านบาท
กำลังจะอ่านวอเรน
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

Re: กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

โอ้ :shock: ...
ขอโทษครับ ขอแก้ไขเครื่องหมายหน่อย

FCF = กำไรสุทธิ - เงินลงทุน + ค่าเสื่อม
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ถ้า บริษัทนั้น ไม่ลงทุนละ กำไร+ค่าเสื่อม FCF ก็เพิ่มเรื่อยๆสิ เราจะคิดอย่างไร
แล้วกำไรจากการประเมินทรัพย์สินละ
กำไรจากการปรับสินค้าคงเหลือเพิ่มละ
หนี้สูญที่ลูกหนี้ใจดีเอามาคืนละ
ฟ้องร้องแล้วชนะได้เงินมา
ฟ้องร้องแพ้แล้วเสียตัง
เงินกู้ยืม จะมีผลทำให้ เงินสดใน บริษัทมากขึ้น ถือว่า FCF ดีมั้ย
ต้องมีคำนิยามที่ดี ที่จะทำให้เข้าใจ FCF ได้อย่างสมเหตุสมผลและตรงตามวัตถุประสงค์
ที่ จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

blueplanet เขียน:ถ้า บริษัทนั้น ไม่ลงทุนละ กำไร+ค่าเสื่อม FCF ก็เพิ่มเรื่อยๆสิ เราจะคิดอย่างไร
แล้วกำไรจากการประเมินทรัพย์สินละ
กำไรจากการปรับสินค้าคงเหลือเพิ่มละ
หนี้สูญที่ลูกหนี้ใจดีเอามาคืนละ
ฟ้องร้องแล้วชนะได้เงินมา
ฟ้องร้องแพ้แล้วเสียตัง
เงินกู้ยืม จะมีผลทำให้ เงินสดใน บริษัทมากขึ้น ถือว่า FCF ดีมั้ย
ต้องมีคำนิยามที่ดี ที่จะทำให้เข้าใจ FCF ได้อย่างสมเหตุสมผลและตรงตามวัตถุประสงค์
ที่ จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
มองภาพใหญ่ครับ อย่าไปมองภาพเล็ก
Deal นี้เป็นการซื้อ-ขายบริษัทครับ
ไม่ใช่การทำบัญชี หรือแกะเงื่อนงบการเงินปีต่อปี :?

ไอเดีย คือ ผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของบริษัท
เพราะฉะนั้นเงินที่ใช้ในบริษัท
ก็คือเงินของผู้ถือหุ้นด้วย
นี่คือที่มาในการหา Intrinsic Value ตามตำรา

ในตัวอย่างเขา Forecase ไปข้างหน้า
ว่าจะมีเงินสดอยู่ในบริษัทตลอด 10 ปี เป็นเงินเท่าไหร่
(นักลงทุนแต่ละคน ก็มีประมาณการไม่เท่ากัน จริงไหม..?)
จากนั้นก็คิดลดกลับมาหามูลค่าปัจจุบันครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อรุณสวัสดิ์ครับ :) ...

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเราจะคำนวณหา FCF
และคำนวณหามูลค่าหุ้นได้อย่างแม่นยำ

ความน่าลงทุนก็ต้องดูเหตุผลอื่นๆ ประกอบด้วยครับ
บางคนถึงมองว่าการลงทุนเป็นศิลปะมากกว่าคณิตศาสตร์
ซึ่งในหนังสือดันโดของพี่ web ก็อธิบายได้ง่าย
ชัดเจนดีครับ

ปล.
แต่ผมยังอ่านไม่จบนะพี่ :)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

blueplanet เขียน:...เงินกู้ยืม จะมีผลทำให้ เงินสดใน บริษัทมากขึ้น ถือว่า FCF ดีมั้ย...
ความจริงอยากอ่านความเห็นคนอื่นมากกว่า
ไงพี่ blueplanet ก็อ่านความเห็นผมไปผลางก่อนแล้วกัน
ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ :?

สมมุติว่าปีนึงๆ ผมหาเงินได้ปีละ 1 ล้านบาท
หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ
แล้วก็ผ่อนภรรยา ตกเป็นเงินรวมกัน ปีละ 6 แสนบาท :lol:

ในกรณีนี้ผมยังไม่ไปสนใจค่าเสื่อมนะครับ
แต่ปีนี้ผมไปกู้เงินจากแม่ยาย เพราะแม่ยายรักผมมาก
มา 1 ล้านบาท

คำถาม..

FCF ของผมเพิ่มขึ้นหรือเปล่า..?

และใครเป็นเจ้าของเงินที่กู้ยืมมาจริงๆ

ผม หรือว่า แม่ยาย :roll:

เพราะในที่สุด
ผมก็ต้องหาเงินไปคืนแม่ยาย 1 ล้านบาทอยู่ดี

เอ่.. สงสัยแม่ยายของผมคนนี้
จะไม่ค่อยรักผมเท่าไหร่ :roll:

ในขณะเดียวกัน
ผมยังทำงานมีรายได้ปีละ 1 ล้านบาท
และหักค่าใช้จ่าย แล้วก็ผ่อนภรรยาเท่าเดิมทุกปี

แบบนี้ FCF ของผมเป็นเท่าไหร่..?

ปล.
แต่ความจริงผมยังกำพร้าภรรยาอยู่นะครับ :)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมเคยโพสไปเมื่อนานมาแล้วประมาณสองปีที่แล้ว
ภาพของบริษัทที่กระทำอยู่สำคัญกว่างบการเงิน
เพราะว่า งบการเงินกว่าบริษัทออกกันแต่ละครั้ง
มันนานกว่า 30 วันหลังจากปิดงบการเงินในครั้งนั้นๆ
ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมันล่าช้ามาก หรือ ไม่มีค่าพอที่ประเมินได้

แต่อย่างไงก็ตาม งบการเิงินเป็นตัวที่ยืนยันสิ่งที่บริษัทออกมาพูด
ออกมาให้ข่าวต่างๆ ทำตามนั้นหรือไม่ ไม่ใช่ว่าไม่ดูงบการเงินประกอบ
แต่ให้เราไปดูภาพของตัวบริษัทมากกว่า

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ส.สลึง
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3750
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คุณภาพของบริษัทเป็นที่มาของ fcf
คุณภาพของบริษัทจึงสำคัญกว่า
อย่างน้องก็ตามความคิดของผม
แล้วปกติผมก็ไม่ได้คำนวณอะไรแบบนี้อะครับ :roll:
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณ คุณ ส.สลึง และ คุณ miracle
ในการโพส ตอบของท่านทั้ง 2
Blueplanet
choosak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1488
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

สำหรับผม ถ้าธุรกิจดี งบการเงินจะค่อยๆ ดีไปเองครับ แต่ถ้าธุรกิจไม่ดี ถึงงบการเงินจะดี ก็จะค่อยๆ แย่ลงครับ... :D

ส่วน FCF ที่ผมเข้าใจคือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน - ค่าใช้จ่ายลงทุนครับ
Likhit
Verified User
โพสต์: 270
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

miracle เขียน:ผมเคยโพสไปเมื่อนานมาแล้วประมาณสองปีที่แล้ว
ภาพของบริษัทที่กระทำอยู่สำคัญกว่างบการเงิน
เพราะว่า งบการเงินกว่าบริษัทออกกันแต่ละครั้ง
มันนานกว่า 30 วันหลังจากปิดงบการเงินในครั้งนั้นๆ
ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมันล่าช้ามาก หรือ ไม่มีค่าพอที่ประเมินได้

แต่อย่างไงก็ตาม งบการเิงินเป็นตัวที่ยืนยันสิ่งที่บริษัทออกมาพูด
ออกมาให้ข่าวต่างๆ ทำตามนั้นหรือไม่ ไม่ใช่ว่าไม่ดูงบการเงินประกอบ
แต่ให้เราไปดูภาพของตัวบริษัทมากกว่า

:)

แล้วดูภาพของบริษัท  มันดูอย่างไงอ่ะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Suysak
Verified User
โพสต์: 691
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ซื้อหุ้นดู ธรรมาภิบาล ก่อนโลด หมายความว่าซื้อลงทุนนะ

ตั้งใจค้าขาย >> กำไรดี >> fcf ดี >> หุ้นขึ้น >> เราก็   :B
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

Likhit เขียน:

แล้วดูภาพของบริษัท
:)
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

miracle เขียน:ผมเคยโพสไปเมื่อนานมาแล้วประมาณสองปีที่แล้ว
ภาพของบริษัทที่กระทำอยู่สำคัญกว่างบการเงิน
เพราะว่า งบการเงินกว่าบริษัทออกกันแต่ละครั้ง
มันนานกว่า 30 วันหลังจากปิดงบการเงินในครั้งนั้นๆ
ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมันล่าช้ามาก หรือ ไม่มีค่าพอที่ประเมินได้
พี่มิราเคิล
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

chatchai เขียน:
พี่มิราเคิล
:)
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับ คุณ ส.สลึง และ คุณ miracle จริงๆแล้ว FCF อาจจะไม่สำคัญนัก
แต่ผม อยากกลับไปเหมือนตอนผมเรียนมัธยม ถ้าไม่เข้าใจคือไม่เข้าใจ
ผมอยากจะรู้ว่า ในความหมาย ของ บัฟเฟท หรือ ดันโด FCF คือ อะไร
FCF=X+Y+Z-A-B-C  ผมอยากรู้คำแปลของ XYZABC
แม้รูมาแล้ว อาจจะอุทานว่า อ๋อ (ก็งั้นๆแหละ)  แต่ก็อยากรู้
ขอบคุณทุกท่าน ที่โพสตอบในกระทู้ผม ทำให้ผมรู้ในบางอย่าง
เพิ่มขึ้น กระตุ้นให้ผมมีจินตนาการในบางเรื่องที่ไม่ได้คิดถึง
Blueplanet
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2547
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ช่วยคุณ Miracle หน่อยก็แล้วกันครับ  :lol:

มุมมองผมคือ

ผลทุกอย่าง มาจาก สาเหตุ

สาเหตุ นั้น จึงเป็นตัวสำคัญอย่างยิ่ง ภาษาวิชาการหน่อยนะครับ ตัวนี้คือ ตัว Leading Indicator

เพราะผลที่เกิดขึ้นในวันนี้หรือผลงานในอดีตที่ผ่านมา ก็มาจากสาเหตุของการกระทำในอดีต หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือ ผลทางการเงินในวันนี้เป็น Laggng Indicator ตัวชี้วัดตาม ไม่ใช่ตัวชี้วัดนำ  ซึ่งเรามักวิเคราะห์เพื่อไว้ confirm ตัวสาเหตุที่เราเคยวิเคราะห์ไว้ก่อนไว้ถูกต้องหรือไม่

เราอยากได้ผลที่ดีได้ในวันนี้และในอนาคต จึงต้องวิเคราะห์ตัวเหตุหรือสาเหตุให้ดีเสียก่อน

สาเหตุตัวแรก ก็คือ การวิเคราะห์ Model ธุรกิจก่อน เพื่อดูว่า ที่มา หรือ ที่ไปของรายได้และรายจ่ายจะมาจากไหนกัน

สาเหตุตัวสอง คือ การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน ณ ปัจจุบัน และความยั่งยืนในอนาคตเป็นอย่างไร ดูได้จาก ความสามารถในการแข่งขันที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันเป็นอย่างไร

หลังจากนั้น ก็คือ Confirm ด้วยผลทางการเงินว่า เป็นไปตามนั้นหรือไม่ ติดตามผลต่อเนื่องต่อไปตามงวดบัญชี ที่จะตอบโจทย์เราเป็นอย่างไร

เพราะเราไม่สามารถไปแก้ผลทางการเงินได้โดยตรง เพราะเป็นการกระทำของกิจการของเราในอดีต ตามกฏแห่งการกระทำของเรานั้นเอง ซึ่งผลของการกระทำมาจากทั้งในอดีตระยะใกล้ และอดีตระยะไกลที่สะสมกันมาซึ่งไม่รู้ว่าส่งผลเมื่อใด

ผลที่เกิดขึ้น ก็ดูผ่านงบการเงิน รวมถึง FCF ก็ได้ครับ หรืออาจดูจากผลของการกระทำที่ปรากฏขึ้นที่ไม่ใช่งบการเงินก็ได้ เช่น ส่วนครองตลาด นวตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นต้น

แต่หากเราไปแก้ผลทางการเงินหรือบัญชี เช่นไปทำ Creative Accounting อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่งครับ ก็ต้องไปตรวจสอบข้อมูลการเงินกันเองครับ  :lol:
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณพี่ Chatchai ที่เพิ่มเติมให้ครับ
น้อมรับครับพี่


ส่วนพี่ blueplanet คนแถวนี้เข้าใจดีครับ
มีอะไรก็ซักกิดกันครับ ว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญครับ

เพิ่มเติมของพี่ Chatchai ว่า
Biz Model มันแบ่งเป็นส่วนตัวคือ
วิสัยทัศน์ กับ กลยุทธ์

ตัววิสัยทัศน์ เป็นกรอบกว้างๆ ภาพใหญ่ว่า บริษัทนั้นในอีกสามถึงห้าปี อยู่จุดไหนของธุรกิจ มันอาจจะเป็นวิมานในอากาศ แต่ดีกว่าไม่สร้างอะไรไว้ และมันเป็นตัววัดว่า ทำได้หรือเปล่าวิมานในอากาศนั้น

กลยุทธ์ ของบริษัท อันนี้เราสัำมพันธ์ได้จาก
1. การตลาด ของบริษัทนั้นๆ
2. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของบริษัท
3. การอ่านจากพวกรายงานประจำปี ,56-1 (อันนี้อ่านเจอหนังสือเล่มหนึ่งมันคือ Biz Plan นั้นเอง และำกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่)
4. จากการบอกเล่าของเพื่อนพ้อง ทุกหมู่เหล่า พี่ๆน้องๆ

กลยุทธ์นี้คือ แผนการรบในสงคราม หากไม่มีกลยุทธ์ดีๆ สงครามในแต่ละศึกก็ยากที่ชนะข้าศึกได้

การชนะสงครามนั้น
1. กุนซือ
2. แม่ทัพ
3. ขวัญกำลังทหาร
4. การรู้เข้ารู้เรา
5. การประเมินตัวเองและการยอมรับตัวเอง
6. แผนการ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ที่ผมไม่บอกเรื่องของกำลังคนและอาวุธนั้น
หลายๆสงครามไม่ได้ตัดสินด้วยจำนวนทหารในมือ
หรือ จำนวนอาวุธ หรือ เทคโนโลยี่ของอาวุธ
เช่น สงครามการเมืองของจีน ในตอนปี 1945-1949
สงครามเวียดนาม
สงครามเซ็กเพ็กในสามก๊ก
เป็นต้น


ส่งท้ายตอนนี้กระทู้จากเรื่อง FCF เป็น BIZ Model ไปเลย
อืมๆๆ
:)
:)
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

miracle เขียน:ขอบคุณพี่ Chatchai ที่เพิ่มเติมให้ครับ
น้อมรับครับพี่
ยังไม่ได้เพิ่มเติมอะไรเลยครับ   :)
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

chatchai เขียน:
ยังไม่ได้เพิ่มเติมอะไรเลยครับ
:)
SV2
Verified User
โพสต์: 181
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ผมคิดว่าวอเร็น ใช้ FCF เป็นตัวคำนวณมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นแต่ละตัว
แล้วจึงใช้หลักการซื้อเหรียญ 1 dollar ด้วยราคา 50 เซ็นต์

แต่การจะดู FCF จะเป็นการดูหลังจากเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนแล้ว และหลังจากงบดุลและงบกำไรขาดทุนย้อนหลังหลายๆปีที่อยู่ในเงื่อนใขแล้วเท่านั้น
ดังนั้นความผันผวนในแต่ละไตรมาสก็คงเป็นเรื่องที่มีนัยสำคัญไม่มาก ถ้าตัวธุรกิจไม่ได้ผันแปรไปมาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Outliers
Verified User
โพสต์: 527
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เคยสนใจที่จะทำ DCF หามูลค่าหุ้น แต่รู้สึกว่ามันยากเกินความสามารถของผม และมีตัวแปรมากมายให้ assumption แทน

เลยหันมาใช้วิธีการง่ายๆ เช่น PE, Replacement Cost, net-net, และ Dividend yield มาหามูลค่าหุ้นแทน
The Miracle of 10,000 hrs
harn
Verified User
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

Outliers เขียน:เคยสนใจที่จะทำ DCF หามูลค่าหุ้น แต่รู้สึกว่ามันยากเกินความสามารถของผม และมีตัวแปรมากมายให้ assumption แทน

เลยหันมาใช้วิธีการง่ายๆ เช่น PE, Replacement Cost, net-net, และ Dividend yield มาหามูลค่าหุ้นแทน
ผมมี Growth Rate อีกตัวครับ เสียเวลากับ หุ้นกำไรดี ปันผลสูง แต่ไม่เติบโตไปหลายครั้งแล้วครับ

แต่ยังไงๆ ตัวเลขจากงบการเงิน ก็ยังเป็นการมองจากระจกส่องหลังอยู่ดี

ผมเลือกมองอนาคต ด้วย การเขียนสรุป "ความได้เปรียบในการแข่งขัน"(ในความเห็นของเรา) ออกมาเป็นข้อๆสัก 5-6 ข้อ จาก กลยุทธ์,วิสัยทัศน์, ธรรมาภิบาล ฯลฯ อะไรก็ได้ที่จะเป็นข้อได้เปรียบในธุรกิจ แม้แต่เหตุผลจากภาวะเศรษฐกิจ(ที่คิดประเมินเอาเอง) บางทีฟังผู้บริหารโม้แล้ว เราคิดแย้งไม่ได้ ต้องเชื่อตาม ก้อเอามาเขียนด้วยครับ

ถ้าเขียนออกมาไม่ได้ถึง 5 ข้อว่า ได้เปรียบหุ้นตัวอื่นยังไง ก้อไม่สมควรไปลงทุนครับ

ที่ต้องเขียนออกมา เพราะต้องประเมินใหม่ทุกไตรมาส เมื่อเห็นงบการเงินไตรมาสใหม่ออกมา มีเหมือนกันที่ไม่เป็นอย่างที่คิด ก็เขียนต่อเติมลงไปในช่องถัดไป เอาไว้ไปถามในที่ประชุม ผถห.

พอเงื่อนไขในข้อนั้นไม่เป็นจริง เพราะ ประเมินผิด หรือ เศรษฐกิจ(ตลาด)เปลี่ยน ก้อมีเหตุผลให้ปรับลดพอร์ตหรือเปลี่ยนตัว
neo_potato_Th
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1588
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ผมมี Growth Rate อีกตัวครับ เสียเวลากับ หุ้นกำไรดี ปันผลสูง แต่ไม่เติบโตไปหลายครั้งแล้วครับ
คุณharnหมายถึง TRT รึเปล่าครับ :?
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
harn
Verified User
โพสต์: 238
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ปล่าวครับ   ถิรไทย เติบโตดี ได้ทั้ง Cap.Gain และปันผลมาพอควรครับใ

หุ้นที่ไม่เติบโตในอดีต ก็มี 3TM , SuC  ฯลฯ   ล่าสุดนี่ก้อ  PL ครับ

ไม่ได้ผิดหวังมากนักหรอกครับ ได้ปันผลปีละ 10+% อยู่ 2-3 ปี ขายคืนไป ได้ Cap.gain 5-10 % ดีกว่าฝากแบงค์หรือหุ้นกู้ตั้งเยอะ  เพียงแต่เทียบกับตัวอื่นแล้ว ถือต่อไม่ได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
tea_for_two
Verified User
โพสต์: 216
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

chatchai เขียน:
พี่มิราเคิล
勝利は苦しさを越えて
IMAGINATION
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 81
ผู้ติดตาม: 0

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

Warren buffet use owner earnings instead of fcf.Owner Earnings equal to (a) operating earnings plus (b) depreciation and non cash charges minus (c) required reinvesment in a business to maintain present competitive position.
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ลองคิดแบบนี้ไหมครับ

FCF = Free cash Flow = กระแสเงินสดอิสระ
หมายถึงเงินที่มีอยู่สามารถเอาไปใช้ทำอะไรก็ได้

ถ้าสังเกตุดี ๆ เงินตรงนี้จะมีการระบุเวลาว่า ณ เมื่อไหร่

เช่นผมเป็นมนุษย์เงินเดือน
พอเงินเดือนออกมา
ผมก็จะรู้ว่ารายจ่ายของเดือนนี้เป็นเท่าไหร่
หักลบกัน
ที่เหลือก็คือ FCF ของผมไงครับ

ทีนี้เปลี่ยนมาเป็นตัวบริษัท แทนบุคคล
ก็ต้องดูว่ารายรับเท่าไหร่ (เอาแต่ที่เป็นเงินสดนะครับ) เอามาลบกับ
รายจ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นในรอบนั้น ๆ เท่าไหร่
แล้วสุดท้ายเหลือเท่าไหร่ ก็คือ FCF ไงครับ

ทีนี้แต่ละคน(บริษัท) ก็มีนิสัยใช้เงินไม่เหมือนกัน
เลยต้องมาดูว่าอะไรเป็นรายรับที่เป็นเงินสดของเค้า
อะไรเป็นรายจ่ายที่ต้องเกิดขึ้นช่วงนี้ของเค้า
เราถึงจะรู้ว่า FCF เป็นเท่าไหร่ครับ

พอเรารู้นิสัยการใช้เงินแล้วทีนี้ เราก็ำพอจะเดา FCF ในอนาคตได้ครับ
large
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 269
ผู้ติดตาม: 1

กระแสเงินสดอิสระ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

กล้วยไม้ขาว เขียน:ลองคิดแบบนี้ไหมครับ

FCF = Free cash Flow = กระแสเงินสดอิสระ
หมายถึงเงินที่มีอยู่สามารถเอาไปใช้ทำอะไรก็ได้

ถ้าสังเกตุดี ๆ เงินตรงนี้จะมีการระบุเวลาว่า ณ เมื่อไหร่

เช่นผมเป็นมนุษย์เงินเดือน
พอเงินเดือนออกมา
ผมก็จะรู้ว่ารายจ่ายของเดือนนี้เป็นเท่าไหร่
หักลบกัน
ที่เหลือก็คือ FCF ของผมไงครับ

ทีนี้เปลี่ยนมาเป็นตัวบริษัท แทนบุคคล
ก็ต้องดูว่ารายรับเท่าไหร่ (เอาแต่ที่เป็นเงินสดนะครับ) เอามาลบกับ
รายจ่ายที่จะต้องเกิดขึ้นในรอบนั้น ๆ เท่าไหร่
แล้วสุดท้ายเหลือเท่าไหร่ ก็คือ FCF ไงครับ

ทีนี้แต่ละคน(บริษัท) ก็มีนิสัยใช้เงินไม่เหมือนกัน
เลยต้องมาดูว่าอะไรเป็นรายรับที่เป็นเงินสดของเค้า
อะไรเป็นรายจ่ายที่ต้องเกิดขึ้นช่วงนี้ของเค้า
เราถึงจะรู้ว่า FCF เป็นเท่าไหร่ครับ

พอเรารู้นิสัยการใช้เงินแล้วทีนี้ เราก็ำพอจะเดา FCF ในอนาคตได้ครับ
ชอบครับ อธิบายเข้าใจง่ายและเห็นภาพดี ขอบคุณท่านกล้วยไม้ขาวครับ :)
โพสต์โพสต์