อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 1
พึ่งอ่านดันโดจบครับ เลยลองมานั่งคิดเล่นเล่นเกี่ยวกับ scib ว่าจะคิดแบบดันโดได้ไหม ประมาณว่าออกหัวได้เงิน ออกก้อยเสียเงินนิดหน่อย โดยโอกาสออกหัวมีมากกว่า
ของลองเล่าเรื่อง scib สั้นสั้นนะครับ คงทราบกันอยู่แล้วว่าจะมีดีลที่ กองทุนฟื้นฟู(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) มีความประสงค์ที่จะเสนอขายโดยวิธีการประมูล หุ้นของ scib ให้กับคนที่สนใจ โดยมีผู้สนใจอยู่ราวราว 6 รายใหญ่ เช่น TCAP, HSBC, MAYBANK, แบงก์ออฟ บาโรดา, ธนาคาร Standard Chartered, Australia & New Zealand Banking Group , BANK OF CHINA , BANK OF COMMUNICATIONS โดยหากติดตามจากข่าวคือกองทุนฟื้นฟูมีความประสงค์ที่จะขายที่ราคาราวราว 31-33 บาท และ ด้านวงในเผยมีแบงก์ยื่นเข้ามา 6 แห่ง ราคามากกว่า 1.5 เท่าบุ๊ค และสูงสุดใกล้ที่ระดับ 2 เท่าบุ๊ค หรือเกือบ 40 บาท ผมมานั่งคิดดูว่าจริงจริงที่ระดับราคา 40 บาทมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน ย้อนกลับไปดูดีลล่าสุดก็มี acl ที่ตั้งราคาไว้ราวราว 1.4 เท่า bv ( acl จะไม่เหมือนกับของ bt และ scib เนื่องจาก bt และ scib เป็นการขายหุ้นของกิจการที่ผ่านการฟื้นฟูของภาครัฐ คือจะสามารถแก้กฎหมายจากภาครัฐให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49 % ได้เนื่องจากเป็นประโยชน์กับภาครัฐ แต่กรณีของ acl เป็นกิจการที่ไม่ได้ผ่านการช่วยเหลือโดยตรงจากภาครัฐจึงอาจได้ราคาต่ำหน่อย ) และ เคสที่กองทุนฟื้นฟูขาย BT ให้ Cimb ก็ที่ราคา 2.9 BV และมองหาว่าอะไรคือแรงจูงใจของ ธ.ระดับใหญ่ใหญ่อย่าง แบงก์ออฟ บาโรดา และอื่นอื่น จึงอยากได้มากนัก รวมถึงธ.ธนชาติของเราด้วย สรุปได้ดังนี้
1.ได้ทั้งฐานลูกค้า และ สินทรัพย์ไปบริหารได้ทันที ไม่ต้องนับหนึ่ง
2. ประเทศไทยมีกฎระเบียบข้อบังคับเยอะมากสำหรับการอนุญาติให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาขยายสาขา การซื้อกิจการจึงง่ายที่สุดกับการมาประกอบกิจการธนาคารในประเทศไทย แต่ที่ scib เอง มีสาขาอยู่แล้วถึง 411 สาขา โดยอาจมีทั้งสาขาที่ดีและไม่ดีแต่ หากมีการจัดการทรัพย์สินดีดี ก็อาจมีการขยับปรับเปลี่ยนได้มาก เหมือนตอนกรณีที่ cimb ซื้อ BT ไปและ ขายตึกที่สาธรไปและคงไว้แค่ตึกที่หลังสวนได้กำไรไปค่อนข้างมาก ส่วนสาขาที่ดีดี ก็สามารถประกอบกิจการต่อไปได้เลย
3. สินทรัพย์ของนครหลวงมีคุณภาพค่อนข้างดี และ มีผลประกอบการณ์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีฐานลูกค้าจำนวนหนึ่ง โดยมี npl net อยู่ เพียง 4.22 % (อย่าง acl ผลประกอบการและตัวเลข npl สูงกว่านี้มาก แต่ยังตั้งราคาไว้ที่ 1.4 เท่า ) แต่ที่ scib น่าสนใจกว่า BT และ acl คือ มี hidden asset อยู่อีก เป็น license ธนาคารพาณิชย์ license บริษัทประกันภัย license บริษัทประกันชีวิต และ license บลจ.หลักทรัพย์ ซึ่งประเมิณราคายาก ทั้งด้านราคา และ ด้านเวลาที่จะขออนุญาติ license เหล่านี้
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คิดไว้อยู่ก็มี
1. กองทุนฟื้นฟู จะเลื่อนการขาย scib ออกไป เท่าที่ผมตามข่าวดูก็มีการเตรียมงานมาพอสมควรนะครับที่จะประมูลราคาครั้งสุดท้ายวันที่ 25 ม.ค. นี้ และเคยอ่านเจอว่ากองทุนต้องการให้จบดีลในเดือน มี.ค. เนื่องจากหากเลย ไปแล้วอาจทำให้ ธ.นครหลวงไทยจะต้องจ่ายปันผลสำหรับงวดปีที่ผ่านมาทำให้มีปัญหายุ่งยากในการขายเพิ่มเติมอีกครับ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ครับ แต่คงไม่มากเท่าไร
2. กองทุนฟื้นฟูจะ ยกเลิกการขาย SCIB เท่าทีดู คือธนาคารแห่งประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะขายแน่นอนเพื่อนำไปชำระหนี้ และกองทุนฟื้นฟู ต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาก่อนที่จะปิดตัวลงในปี 2012 (พ.ศ.2555) เรื่องการขาย SCIB ถือเป็นเรื่องที่ กองทุนฟื้นฟู วางแผนมานานแล้วและมีความคืบหน้าไปมากแล้วด้วย ทั้งนี้วันที่ 25 ม.ค. 2010 มีกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะซื้อ SCIB เข้าเสนอราคาเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นกองทุนฟื้นฟู จะประชุมกับก.การคลังเพื่อเลือกผู้ที่ดีที่สุด ข้อนี้จึงมีความเป็นไปได้แต่น้อยมาก
ลองเอามาคิดจากราคา scib แบบดันโดนะครับ ที่ราคาปิดวันนี้ที่ 27.25 ผมมองว่า
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 2 เท่า bv มี 30 % (uside 46.79%)
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.65 เท่าของ bv มี 30% (upside 21 % )
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.5 เท่าของ bv มี 30 % ( upside 9% )
โอกาสที่จะเลื่อนล่าช้าออกไปมี 8 % ( downside ระยะสั้นน่าจะ 10-12 % แต่ถ้ามีการประมูลใหม่ก็คงไม่เสียหายมาก )
โอกาสที่จะยกเลิกไม่ขายมี 2 % (ผมคิดว่าราคา scib จะกลับไปอยู่แถวแถว 14 บาท downside 44 % )
คือแบบนี้การซื้อ scib เพื่อรอผลการประมูลวันที่ 25 ม.ค. อีก ราวราว 17 วัน ถือว่าเป็นแบบดันโดได้ไหมครับ หรือจะมีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ซ่อนอยู่ที่ผมมองไม่ออก ท่านใดช่วยแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ปล. ผมมีหุ้นอยู่นะครับ ถึงจะจำนวนไม่มากครับ แต่ลองมองหลายหลายมุมดูครับ เผื่อมีความเสี่ยงด้านอื่นอีกครับ เนื่องจาก การลงทุนมีความเสี่ยงครับ
ของลองเล่าเรื่อง scib สั้นสั้นนะครับ คงทราบกันอยู่แล้วว่าจะมีดีลที่ กองทุนฟื้นฟู(หน่วยงานของธนาคารแห่งประเทศไทย) มีความประสงค์ที่จะเสนอขายโดยวิธีการประมูล หุ้นของ scib ให้กับคนที่สนใจ โดยมีผู้สนใจอยู่ราวราว 6 รายใหญ่ เช่น TCAP, HSBC, MAYBANK, แบงก์ออฟ บาโรดา, ธนาคาร Standard Chartered, Australia & New Zealand Banking Group , BANK OF CHINA , BANK OF COMMUNICATIONS โดยหากติดตามจากข่าวคือกองทุนฟื้นฟูมีความประสงค์ที่จะขายที่ราคาราวราว 31-33 บาท และ ด้านวงในเผยมีแบงก์ยื่นเข้ามา 6 แห่ง ราคามากกว่า 1.5 เท่าบุ๊ค และสูงสุดใกล้ที่ระดับ 2 เท่าบุ๊ค หรือเกือบ 40 บาท ผมมานั่งคิดดูว่าจริงจริงที่ระดับราคา 40 บาทมีความเป็นไปได้มากแค่ไหน ย้อนกลับไปดูดีลล่าสุดก็มี acl ที่ตั้งราคาไว้ราวราว 1.4 เท่า bv ( acl จะไม่เหมือนกับของ bt และ scib เนื่องจาก bt และ scib เป็นการขายหุ้นของกิจการที่ผ่านการฟื้นฟูของภาครัฐ คือจะสามารถแก้กฎหมายจากภาครัฐให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 49 % ได้เนื่องจากเป็นประโยชน์กับภาครัฐ แต่กรณีของ acl เป็นกิจการที่ไม่ได้ผ่านการช่วยเหลือโดยตรงจากภาครัฐจึงอาจได้ราคาต่ำหน่อย ) และ เคสที่กองทุนฟื้นฟูขาย BT ให้ Cimb ก็ที่ราคา 2.9 BV และมองหาว่าอะไรคือแรงจูงใจของ ธ.ระดับใหญ่ใหญ่อย่าง แบงก์ออฟ บาโรดา และอื่นอื่น จึงอยากได้มากนัก รวมถึงธ.ธนชาติของเราด้วย สรุปได้ดังนี้
1.ได้ทั้งฐานลูกค้า และ สินทรัพย์ไปบริหารได้ทันที ไม่ต้องนับหนึ่ง
2. ประเทศไทยมีกฎระเบียบข้อบังคับเยอะมากสำหรับการอนุญาติให้ธนาคารต่างชาติเข้ามาขยายสาขา การซื้อกิจการจึงง่ายที่สุดกับการมาประกอบกิจการธนาคารในประเทศไทย แต่ที่ scib เอง มีสาขาอยู่แล้วถึง 411 สาขา โดยอาจมีทั้งสาขาที่ดีและไม่ดีแต่ หากมีการจัดการทรัพย์สินดีดี ก็อาจมีการขยับปรับเปลี่ยนได้มาก เหมือนตอนกรณีที่ cimb ซื้อ BT ไปและ ขายตึกที่สาธรไปและคงไว้แค่ตึกที่หลังสวนได้กำไรไปค่อนข้างมาก ส่วนสาขาที่ดีดี ก็สามารถประกอบกิจการต่อไปได้เลย
3. สินทรัพย์ของนครหลวงมีคุณภาพค่อนข้างดี และ มีผลประกอบการณ์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ มีฐานลูกค้าจำนวนหนึ่ง โดยมี npl net อยู่ เพียง 4.22 % (อย่าง acl ผลประกอบการและตัวเลข npl สูงกว่านี้มาก แต่ยังตั้งราคาไว้ที่ 1.4 เท่า ) แต่ที่ scib น่าสนใจกว่า BT และ acl คือ มี hidden asset อยู่อีก เป็น license ธนาคารพาณิชย์ license บริษัทประกันภัย license บริษัทประกันชีวิต และ license บลจ.หลักทรัพย์ ซึ่งประเมิณราคายาก ทั้งด้านราคา และ ด้านเวลาที่จะขออนุญาติ license เหล่านี้
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่คิดไว้อยู่ก็มี
1. กองทุนฟื้นฟู จะเลื่อนการขาย scib ออกไป เท่าที่ผมตามข่าวดูก็มีการเตรียมงานมาพอสมควรนะครับที่จะประมูลราคาครั้งสุดท้ายวันที่ 25 ม.ค. นี้ และเคยอ่านเจอว่ากองทุนต้องการให้จบดีลในเดือน มี.ค. เนื่องจากหากเลย ไปแล้วอาจทำให้ ธ.นครหลวงไทยจะต้องจ่ายปันผลสำหรับงวดปีที่ผ่านมาทำให้มีปัญหายุ่งยากในการขายเพิ่มเติมอีกครับ แต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ครับ แต่คงไม่มากเท่าไร
2. กองทุนฟื้นฟูจะ ยกเลิกการขาย SCIB เท่าทีดู คือธนาคารแห่งประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะขายแน่นอนเพื่อนำไปชำระหนี้ และกองทุนฟื้นฟู ต้องขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาก่อนที่จะปิดตัวลงในปี 2012 (พ.ศ.2555) เรื่องการขาย SCIB ถือเป็นเรื่องที่ กองทุนฟื้นฟู วางแผนมานานแล้วและมีความคืบหน้าไปมากแล้วด้วย ทั้งนี้วันที่ 25 ม.ค. 2010 มีกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติที่จะซื้อ SCIB เข้าเสนอราคาเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นกองทุนฟื้นฟู จะประชุมกับก.การคลังเพื่อเลือกผู้ที่ดีที่สุด ข้อนี้จึงมีความเป็นไปได้แต่น้อยมาก
ลองเอามาคิดจากราคา scib แบบดันโดนะครับ ที่ราคาปิดวันนี้ที่ 27.25 ผมมองว่า
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 2 เท่า bv มี 30 % (uside 46.79%)
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.65 เท่าของ bv มี 30% (upside 21 % )
โอกาสที่จะขาย scib ได้ที่ 1.5 เท่าของ bv มี 30 % ( upside 9% )
โอกาสที่จะเลื่อนล่าช้าออกไปมี 8 % ( downside ระยะสั้นน่าจะ 10-12 % แต่ถ้ามีการประมูลใหม่ก็คงไม่เสียหายมาก )
โอกาสที่จะยกเลิกไม่ขายมี 2 % (ผมคิดว่าราคา scib จะกลับไปอยู่แถวแถว 14 บาท downside 44 % )
คือแบบนี้การซื้อ scib เพื่อรอผลการประมูลวันที่ 25 ม.ค. อีก ราวราว 17 วัน ถือว่าเป็นแบบดันโดได้ไหมครับ หรือจะมีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่ซ่อนอยู่ที่ผมมองไม่ออก ท่านใดช่วยแชร์ด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ
ปล. ผมมีหุ้นอยู่นะครับ ถึงจะจำนวนไม่มากครับ แต่ลองมองหลายหลายมุมดูครับ เผื่อมีความเสี่ยงด้านอื่นอีกครับ เนื่องจาก การลงทุนมีความเสี่ยงครับ
Small Details Make a Big Difference
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 2
จำนวนหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูจะขายให้แก่ผู้ประมูลคือ 47.58% โดยผู้ประมูลได้จะตั้งโต๊ะรับซื้อจากร่ายย่อยในราคาเดียวกันกับที่ประมูลได้ครับ ข้างต้นอธิบายไม่ละเอียด แก้ไขข้อความไม่ได้ด้วย ครับ :lol:
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 3
ไม่จำเป็นต้องทำการ tender
เพราะว่า อาจจะผ่อนผันได้ครับ
คนซื้อไม่ต้องการทำ tender น่าครับ
ต้องการเป็นแค่ผู้ถือหุ้นใหญ่เท่านั้น
ถ้าเอาเงินซื้อแล้วต้องทำ tender อีก ก็หนักหนาอยู่เหมื่อนกันล่ะครับ
ก็ดู Case CIMB หรือ สินเอเชีย ครับ
ผมมองข้าม Shot ต่อไป
ตัวอย่างคือ CIMB และ TMB ที่เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่นั้นมีค่า COST
ในส่วนของการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่คือ
ปรับเปลี่ยนตั้งแต่ ระดับบนสูง คือ ท่านประธานกรรมการ,CEO ,คณะกรรมการ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร ทุกระดับเปลี่ยนแปลง ลดคน เพิ่มคน เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้
ถ้าหากเป็นการซื้อแล้วควบรวมก็มีค่า ควบรวมอีกต่างหาก
เพราะว่า อาจจะผ่อนผันได้ครับ
คนซื้อไม่ต้องการทำ tender น่าครับ
ต้องการเป็นแค่ผู้ถือหุ้นใหญ่เท่านั้น
ถ้าเอาเงินซื้อแล้วต้องทำ tender อีก ก็หนักหนาอยู่เหมื่อนกันล่ะครับ
ก็ดู Case CIMB หรือ สินเอเชีย ครับ
ผมมองข้าม Shot ต่อไป
ตัวอย่างคือ CIMB และ TMB ที่เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่นั้นมีค่า COST
ในส่วนของการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่คือ
ปรับเปลี่ยนตั้งแต่ ระดับบนสูง คือ ท่านประธานกรรมการ,CEO ,คณะกรรมการ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร ทุกระดับเปลี่ยนแปลง ลดคน เพิ่มคน เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้
ถ้าหากเป็นการซื้อแล้วควบรวมก็มีค่า ควบรวมอีกต่างหาก
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 4
ขอแก้ไขครับmiracle เขียน:ไม่จำเป็นต้องทำการ tender
เพราะว่า อาจจะผ่อนผันได้ครับ
คนซื้อไม่ต้องการทำ tender น่าครับ
ต้องการเป็นแค่ผู้ถือหุ้นใหญ่เท่านั้น
ถ้าเอาเงินซื้อแล้วต้องทำ tender อีก ก็หนักหนาอยู่เหมื่อนกันล่ะครับ
ก็ดู Case CIMB หรือ สินเอเชีย ครับ
ผมมองข้าม Shot ต่อไป
ตัวอย่างคือ CIMB และ TMB ที่เปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่นั้นมีค่า COST
ในส่วนของการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่คือ
ปรับเปลี่ยนตั้งแต่ ระดับบนสูง คือ ท่านประธานกรรมการ,CEO ,คณะกรรมการ
ปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร ทุกระดับเปลี่ยนแปลง ลดคน เพิ่มคน เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้
ถ้าหากเป็นการซื้อแล้วควบรวมก็มีค่า ควบรวมอีกต่างหาก
CIMBT ตั้งโต๊ะรับซื้อด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 31
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 6
เช็ดดูข่าวที่มันลงมาเมื่อวานนี้หากมาจากข่าวนี้หรือเปล่าครับ อย่างนี้จะถือเป็นโอกาสได้ไหมครับพี่ sai
หุ้น SCIB ราคาไหลลง 4.35% มาอยู่ที่ 27.50 บาท ลดลง 1.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 333.22 ล้านบาท เมื่อเวลา 15.32 น. โดยเปิดตลาดที่ 28.50 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 28.75 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 27.25 บาท
แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ราคาหุ้น ธนาคารนครหลวงไทย(SCIB)ปรับตัวลงในวันนี้ สวนทางหุ้นในกลุ่มแบงก์ตัวอื่น ๆ ที่ต่างปรับตัวขึ้นกัน คาดว่าจะเป็นเพราะได้รับแรงขายจากกองทุน LTF
เนื่องจากเวลานี้ทาง LTF สามารถขายหุ้นออกมาได้แล้ว และในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้น SCIB ก็ได้ปรับตัวขึ้นมามากแล้วด้วย ดังนั้น หากจะมีแรงขายทำกำไรออกมาก็น่าจะเป็นเรื่องปกติ
หุ้น SCIB ราคาไหลลง 4.35% มาอยู่ที่ 27.50 บาท ลดลง 1.25 บาท มูลค่าซื้อขาย 333.22 ล้านบาท เมื่อเวลา 15.32 น. โดยเปิดตลาดที่ 28.50 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 28.75 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 27.25 บาท
แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ราคาหุ้น ธนาคารนครหลวงไทย(SCIB)ปรับตัวลงในวันนี้ สวนทางหุ้นในกลุ่มแบงก์ตัวอื่น ๆ ที่ต่างปรับตัวขึ้นกัน คาดว่าจะเป็นเพราะได้รับแรงขายจากกองทุน LTF
เนื่องจากเวลานี้ทาง LTF สามารถขายหุ้นออกมาได้แล้ว และในช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้น SCIB ก็ได้ปรับตัวขึ้นมามากแล้วด้วย ดังนั้น หากจะมีแรงขายทำกำไรออกมาก็น่าจะเป็นเรื่องปกติ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 7
อ่านผ่านๆ ดูมันก็เหมือนจะใช้ได้นะพี่ sai
แต่ถ้าพิจารณาละเอียดๆ ผมว่าจุดอ่อนของดันโดมันมีอยู่ 2 จุด คือ
1. พี่ต้องมั่ว case ที่จะเกิดขึ้น (หมายถึง upside, downside ในแต่ละกรณี)
2. พี่ต้องมั่วความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น
(ขอใช้คำว่า "มั่ว" นะครับ ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลหรือสถิติบางอย่างรองรับ)
ในกรณีของดันโด ถึงแม้เค้าจะมั่ว 2 จุดนี้ขึ้นมา แต่เค้ามั่วที่ตัวกิจการที่เค้าเชื่อว่าอยู่ใน circle of competence ทำให้ค่าที่มั่วขึ้นมามีข้อมูลรองรับและมีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง
แต่ในกรณี SCIB นี่ ค่าที่มั่วออกมาอยู่ในการอ่านใจคนซื้อของ กับคนขายของ ซึ่งผมว่าการอ่านค่าความน่าจะเป็นมันค่อนข้างยากอยู่ ไม่เหมือนกรณีมองที่ตัวธุรกิจ ผมว่าจริงๆ ในกรณีนี้ การใช้ทฤษฎีเกมส์ในการหาคำตอบน่าจะชัดเจนกว่า ซึ่งมันได้คำตอบเดียวอยู่แล้วว่า คลัง คงจะขาย SCIB แน่ๆ เพราะ มันเป็นเคสที่ win-win ทั้งคู่
แต่ปัญหาก็ไปอยู่ตรงที่ความเสี่ยงเรื่องการเมืองที่อาจทำให้ระยะเวลามันยืดออกไป และทำให้อัตราผลตอบแทนลดลงได้ (มั้งครับพี่)
แต่ถ้าพิจารณาละเอียดๆ ผมว่าจุดอ่อนของดันโดมันมีอยู่ 2 จุด คือ
1. พี่ต้องมั่ว case ที่จะเกิดขึ้น (หมายถึง upside, downside ในแต่ละกรณี)
2. พี่ต้องมั่วความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น
(ขอใช้คำว่า "มั่ว" นะครับ ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลหรือสถิติบางอย่างรองรับ)
ในกรณีของดันโด ถึงแม้เค้าจะมั่ว 2 จุดนี้ขึ้นมา แต่เค้ามั่วที่ตัวกิจการที่เค้าเชื่อว่าอยู่ใน circle of competence ทำให้ค่าที่มั่วขึ้นมามีข้อมูลรองรับและมีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง
แต่ในกรณี SCIB นี่ ค่าที่มั่วออกมาอยู่ในการอ่านใจคนซื้อของ กับคนขายของ ซึ่งผมว่าการอ่านค่าความน่าจะเป็นมันค่อนข้างยากอยู่ ไม่เหมือนกรณีมองที่ตัวธุรกิจ ผมว่าจริงๆ ในกรณีนี้ การใช้ทฤษฎีเกมส์ในการหาคำตอบน่าจะชัดเจนกว่า ซึ่งมันได้คำตอบเดียวอยู่แล้วว่า คลัง คงจะขาย SCIB แน่ๆ เพราะ มันเป็นเคสที่ win-win ทั้งคู่
แต่ปัญหาก็ไปอยู่ตรงที่ความเสี่ยงเรื่องการเมืองที่อาจทำให้ระยะเวลามันยืดออกไป และทำให้อัตราผลตอบแทนลดลงได้ (มั้งครับพี่)
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 8
บทที่11 หน้า104
การทำอาร์บิทราจการควบรวมกิจการ น่าจะคล้ายเคสนี้
เค้าว่า
คุณต้องประเมินตัวเลข%การควบรวบที่ไม่สำเร็จ มีการบันทึกเป็นสถิติ
มีสถิติรึเปล่าครับ
หากคุณเข้าใจธุรกิจและกลไกเหล่านี้ คุณจะสามารถประเมินโอกาสความสำเร็จ และตัดสินใจได้ว่าควรเข้าไปลงทุนหรือไม่
ว่าแต่ตัวเลข30 -30 -30 % เอามาจากไหนครับ
การทำอาร์บิทราจการควบรวมกิจการ น่าจะคล้ายเคสนี้
เค้าว่า
คุณต้องประเมินตัวเลข%การควบรวบที่ไม่สำเร็จ มีการบันทึกเป็นสถิติ
มีสถิติรึเปล่าครับ
หากคุณเข้าใจธุรกิจและกลไกเหล่านี้ คุณจะสามารถประเมินโอกาสความสำเร็จ และตัดสินใจได้ว่าควรเข้าไปลงทุนหรือไม่
ว่าแต่ตัวเลข30 -30 -30 % เอามาจากไหนครับ
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณพี่นัน กับ picatos มากเลยครับ
จริงจริงหลักหลักผมแค่คิดว่าโอกาสจะล้มดีลมีน้อยอย่าง picatos ว่ามาเท่านั้นเอง แต่เรื่องราคาผมก็อ่านจากบทวิเคราะห์ที่มีการเสนอราคามาครับ ส่วนตัวเลข 30-30-30 ก็ยอมรับว่ามาจากการมั่วขึ้นมา เนื่องจากผมเห็นว่าโอกาสที่จะออกทั้งสามหน้ามีเท่าเท่ากันครับ (คงเหมือนที่ picatos ว่าว่าดีลนี้ไม่เหมือนการคาดเดาอนาคตผลประกอบการณ์ของกิจการ เนื่องจากจะมีข้อมูลไม่เท่ากัน แต่ดีลนี้เป็นเพียงแค่การคาดเดาใจคนซื้อกับคนขายเท่านั้น ผมจึงกะเอาเท่าเท่ากันครับ )
:lol:
จริงจริงหลักหลักผมแค่คิดว่าโอกาสจะล้มดีลมีน้อยอย่าง picatos ว่ามาเท่านั้นเอง แต่เรื่องราคาผมก็อ่านจากบทวิเคราะห์ที่มีการเสนอราคามาครับ ส่วนตัวเลข 30-30-30 ก็ยอมรับว่ามาจากการมั่วขึ้นมา เนื่องจากผมเห็นว่าโอกาสที่จะออกทั้งสามหน้ามีเท่าเท่ากันครับ (คงเหมือนที่ picatos ว่าว่าดีลนี้ไม่เหมือนการคาดเดาอนาคตผลประกอบการณ์ของกิจการ เนื่องจากจะมีข้อมูลไม่เท่ากัน แต่ดีลนี้เป็นเพียงแค่การคาดเดาใจคนซื้อกับคนขายเท่านั้น ผมจึงกะเอาเท่าเท่ากันครับ )
:lol:
Small Details Make a Big Difference
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 13
เป็นหนังสือแปลเล่นใหม่ของพี่เวปครับ โดยมีคอนเซ็ปว่าให้หาหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อย มีโอกาสได้กำไรสูงกว่า และ โอกาสกำไรได้เงินเยอะกว่า ตอนที่ ขาดทุนครับ :lol:@nakin เขียน:ดันโด คือไรอ่ะ
Small Details Make a Big Difference
- siebelize
- Verified User
- โพสต์: 451
- ผู้ติดตาม: 1
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 14
โดยอาศัยเทคนิคหลายๆอย่าง
เช่น
เดิมพันน้อยๆครั้ง แต่ลงทุนหนักๆ
ทำในสิ่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้ว ไม่ต้องเป็นไพโอเนียร์
ฯลฯ
จะโดนหาว่า สปอย รึเปล่าเนี่ย ฮิฮิ
อ่านหนังสือเล่มนี้เกิดความรู้สึกหลายๆอย่างครับ
เช่น
เดิมพันน้อยๆครั้ง แต่ลงทุนหนักๆ
ทำในสิ่งที่คนอื่นทำสำเร็จแล้ว ไม่ต้องเป็นไพโอเนียร์
ฯลฯ
จะโดนหาว่า สปอย รึเปล่าเนี่ย ฮิฮิ
อ่านหนังสือเล่มนี้เกิดความรู้สึกหลายๆอย่างครับ
- samahara
- Verified User
- โพสต์: 136
- ผู้ติดตาม: 0
อย่างนี้ถือเป็นการลงทุนแบบ ดันโดได้ไหมครับ
โพสต์ที่ 15
ผมว่า เขาเขียนดีนะ
ชอบที่เน้นการมองภาพทางการลงทุนในทุกครั้ง ต้องมองให้ขาด ครบทุกด้านก่อนนำมาตัดสินใจ...
ลงทุน ต้องรอได้..อย่าโดดลงแบบสุ่มสี่สุ่มห้า..ประมาณนั้น...ได้ไม่คุ้มเสีย ก็รอต่อไป อย่าเสี่ยง
ผมว่าดีเลยล่ะ...
ชอบที่เน้นการมองภาพทางการลงทุนในทุกครั้ง ต้องมองให้ขาด ครบทุกด้านก่อนนำมาตัดสินใจ...
ลงทุน ต้องรอได้..อย่าโดดลงแบบสุ่มสี่สุ่มห้า..ประมาณนั้น...ได้ไม่คุ้มเสีย ก็รอต่อไป อย่าเสี่ยง
ผมว่าดีเลยล่ะ...
บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อย ให้เป็นกองใหญ่