ตลาดหุ้นลาว ใกล้จะเริ่มแล้วครับ
- pradyat
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดหุ้นลาว ใกล้จะเริ่มแล้วครับ
โพสต์ที่ 1
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2553
รหัส 10-10-10 ตลาดการเงินลาวเปิดเต็มรูปแบบ
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
สปป.ลาว กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม 2010 เป็นวันเปิดดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ลาว ในการนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และที่ปรึกษาทางการเงินจากไทยกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปมีส่วนทำให้กำหนดการนี้ปรากฏเป็นจริง บทบาทของทีมการเงินจากไทยครั้งนี้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ "Indochina Leader" ที่วิเชฐ ตันติวานิช พยายามผลักดัน
บรรยากาศในห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานใหญ่ธนาคารการค้าต่างประเทศ ลาว ช่วงเช้าวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา คึกคักเป็นพิเศษ
บริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ ที่ทำธุรกิจอยู่ใน สปป.ลาวต่างส่งตัวแทนเข้าร่วม การสัมมนาในหัวข้อ "การตระเตรียมความพร้อมของวิสาหกิจ เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว"
บริษัทบางแห่ง เจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุดเข้ามานั่งฟังการสัมมนาด้วยตัวเอง
จำนวนผู้เข้ามารับฟังการสัมมนาครั้งนี้สูงถึง 80 คน
การสัมมนาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่ง สปป.ลาวและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เนื้อหาของการสัมมนาเริ่มต้นเป็นการปูพื้น โดยบอกถึงกฎระเบียบและคุณสมบัติเบื้องต้นของบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค.ล.ต.)
(ดู "คุณสมบัติบริษัทที่จะกระจายหุ้น ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว" ประกอบ)
หลังจากนั้นเป็นช่วงที่มีตัวแทนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์จากประเทศไทย ขึ้นไปพูดถึงขั้นตอนการนำหุ้นออกมากระจายขายให้กับประชาชนทั่วไป ก่อนที่บริษัทจะเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียน
เป็นการพูดโดยนำประสบการณ์จริงที่เคยพบในการกระจายหุ้นในประเทศไทย มาบอกเล่าให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับฟัง
การสัมมนาครั้งนี้ใช้ระยะเวลา 3 วัน โดยตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์และที่ปรึกษาทางการเงินจากประเทศไทย ที่ไปร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ประกอบด้วยสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอสเซท โปร เมเนจเม้นท์ สมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส และประเสริฐ ตันตยาวิทย์ Head of Investment Banking Group บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้
ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับกิจการใน สปป.ลาวที่แสดงความสนใจจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว ซึ่งใกล้เวลาที่จะเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเข้ามาทุกที
ทางการ สปป.ลาวได้กำหนดตัวเลขการเปิดตลาดหลักทรัพย์ลาวเอาไว้ที่ 10-10-10
นั่นคือวันที่ 10 เดือนตุลาคม 2010 คือวันที่ตลาดหลักทรัพย์ลาวจะเริ่มเปิดดำเนิน การเป็นวันแรก
ซึ่งมีความหมายว่า ตลาดการเงินของ สปป.ลาวจะมีครบองค์ประกอบทั้งตลาดเงิน และตลาดทุน
ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจที่อยู่ในตลาดทุนจากประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้ชิด สปป.ลาวมากที่สุด
และตรงกับยุทธศาสตร์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้วางเอาไว้ว่าจะต้องเป็น "Indochina Leader" โดยมีวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดัน
"เราต้อง positioning ตัวเอง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ กับตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เพราะถ้าเราไม่ทำแบบนี้ ต่อไปธุรกิจ ดีๆ ในไทยก็อาจโดนแย่งไปจดทะเบียนในประเทศอื่น" วิเชฐอธิบายถึงที่มาที่ไปของยุทธศาสตร์นี้กับผู้จัดการ 360 ํ
แนวคิดเรื่องการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้ว และหลายประเทศพยายามวางกลยุทธ์และจัดวางตำแหน่งของตลาดหลักทรัพย์ของตนไว้อย่างชัดเจน
ประเทศในเอเชีย ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงวางตำแหน่งตนเองเอาไว้ว่าจะต้องเป็น China Gateway ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ก็วางตำแหน่งตนเองไว้ที่ Global Exchange หรือตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียที่กล้าบอกกับทุกคนว่าตนเองเป็นเจ้าแห่ง Islamic Product
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเอง หลายปีที่ผ่านมาก็เริ่มตระหนักถึงการแข่งขันกันเองระหว่างตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มความเข้มข้นขึ้นมาดังกล่าวและมีความพยายามที่จะวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างขีดความสามารถให้ทัดเทียมกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ
จนในที่สุดก็ได้ข้อสรุปออกมาในการจัดวางตำแหน่งของตนเองให้เป็น Indochina Leader
"แต่ความเป็น Leader ในที่นี้ไม่ได้ หมายความว่าเราจะไปแข่งกับเขา แต่เราจะไปช่วยเขาพัฒนา โดยใช้ประสบการณ์ของเราเป็นตัวอย่าง เราไม่ต้องการเป็นหัวหน้าเขา เราต้องการที่จะถ่ายเทสิ่งที่เรา มีอยู่ให้เขายืนขึ้นมาได้เท่าๆ กับเรา แล้วจะได้เป็นพลังในกลุ่มอินโดจีนร่วมกัน"
วิสัยทัศน์ Indochina Leader ถูกขับเคลื่อนอย่างเข้มข้น หลังจากวิเชฐได้รับมอบหมายให้เข้ามาวางยุทธศาสตร์ทางการตลาดให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 2 ปีก่อน
แต่ก่อนหน้านั้นมุมมองเกี่ยวกับเรื่องของประเทศเพื่อนบ้านได้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันแล้วบนโต๊ะประชุมของผู้บริหารเพียงแต่เป็นคนละบริบท
5 ปีที่แล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะ สปป.ลาวและกัมพูชา เริ่มมีแนวคิดที่จะจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ของตนเองขึ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศซึ่งอยู่ติดกัน และมีการพัฒนาระบบการซื้อขายมานาน จนได้รับการยอมรับในมาตรฐาน
จึงมีแนวคิดที่จะนำระบบการซื้อขายดังกล่าวไปขายให้กับตลาดหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ประเทศ
แต่ก็มีคู่แข่ง เพราะตลาดหลักทรัพย์ของเกาหลีใต้ก็ได้เข้ามาเสนอขายระบบให้กับทั้งรัฐบาล สปป.ลาว และกัมพูชาด้วยเช่นกัน
"แสดงว่าเกาหลีใต้ก็มองเห็นถึงความสำคัญของประเทศในอินโดจีน"
ในตอนท้ายทั้ง สปป.ลาว และกัมพูชาก็ตัดสินใจที่จะซื้อระบบการซื้อขาย พร้อม ร่วมทุนกับตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นในทั้ง 2 ประเทศ
เฉพาะใน สปป.ลาวได้มีพิธีลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ระหว่าง รัฐบาล สปป.ลาวกับตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมปีที่แล้ว (2552) ที่เมืองหลวงพระบาง และมีพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารตลาดหลักทรัพย์ลาว ในวันที่ 29 กันยายน
ที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ลาวอยู่บนถนนกำแพงเมือง หมู่บ้านโพนตานเหนือ ตำบล ไชยเชษฐา ตรงข้ามกับศูนย์แสดงสินค้าไอเทค ในนครหลวงเวียงจันทน์
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ลาวและกัมพูชาครั้งนี้ เหมือน ซ้ำรอยเดิมที่เคยเกิดขึ้นกับการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เวียดนามเมื่อหลายปีก่อน
ในครั้งนั้น ตลาดหลักทรัพย์เวียดนามได้เข้ามาขอความรู้และช่วยเหลือจากตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้ให้ความร่วมมือเต็มที่ ถึงขนาดที่ให้ยืมระบบการซื้อขายไปทดลองใช้ก่อน
ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์เวียดนามก็ได้ใช้ระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยซื้อขายจนเปิดตลาดไปได้ระยะหนึ่งก็เปลี่ยนมาใช้ระบบที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา
เรียกว่าความช่วยเหลือในครั้งนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่ได้รับอะไร ที่เป็นการรีเทิร์นกลับมา
แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับได้ เพราะตอนนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกลุ่มประเทศในอินโดจีน และไม่ได้วางตำแหน่งของตนเองให้เป็น Indochina Leader เหมือนในทุกวันนี้
"ตรงนี้ ถือว่าเราช้าไปแล้ว 1 ก้าว เพราะฉะนั้นถ้าเราจะผลักดันตัวเองให้ขึ้นไปเป็น Indochina Leader ให้ได้ เราจะต้องบุกให้หนักขึ้น" วิเชฐบอก
คำถามคือแล้วการบุกหนักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งนี้จะใช้อะไรเป็นธงนำ...?
"ถ้าเกาหลีเขาบุกทางด้านฮาร์ดไซด์ มาสร้างอาคาร เอาระบบการซื้อขายเข้ามา ให้ธงของเราก็ต้องเป็นด้านซอฟต์ไซด์ นั่นก็คือเรื่องการให้ความรู้ประชาชน เรื่องการสร้างฐานผู้ลงทุน การเทรนนิ่ง การให้ใบอนุญาตของโบรกเกอร์หรือที่ปรึกษาทางการเงิน คนที่พร้อมจะเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น เขาจะให้ใบอนุญาตกันอย่างไร ค.ล.ต.จะดูแลอย่างไร"
2 ปีที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เข้าไปทำหน้าที่เสมือนเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ลาว มีการส่งวิทยากรไปให้ความรู้ และนำเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่ง สปป.ลาวที่ถูกวาง ตัวให้เป็นทีมงานจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เข้ามาดูงานในประเทศไทยหลายครั้ง รวมถึงการส่งวิทยากรไปให้ความรู้พื้นฐานแก่เจ้าของกิจการ ตลอดจนประชาชนที่มีเงินออมเกี่ยวกับการนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียน และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่การเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งตลาด หลักทรัพย์ลาวครั้งนี้มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยน
เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนที่มีเป็นระดับ แตกต่างกันไปตามความสำคัญของบทบาท
ในระดับเบาสุดคือการส่งวิทยากร ไปจัดอบรมให้ความรู้กับบริษัทจดทะเบียน หรือการไปเป็นที่ปรึกษาในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการหลักทรัพย์ประเภท ต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจขอคิดค่าธรรมเนียม เพราะเป็นการทำงานที่มีต้นทุน
ระดับในสูงขึ้นมา คือเมื่อเริ่มมีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมาแล้ว ก็ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจากไทย เข้าไปทำหน้าที่สปอนเซอร์ ให้กับบริษัทที่สนใจจะเข้ามาระดมทุน
ปัจจุบันธนาคารแห่ง สปป.ลาววาง แนวทางเบื้องต้นเอาว่าจะให้ใบอนุญาตทำธุรกิจหลักทรัพย์กับประเทศที่ สปป.ลาว เห็นว่าเหมาะสมก่อน 3 ประเทศ ประเทศละ 1 แห่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ และประเทศไทย คาดว่าจะได้แก่บริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมิโก้
แต่ใบอนุญาตในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้นยังไม่มีการกำหนดโควตา
ระดับที่สูงสุดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสนอไป คือหากบริษัทใน สปป.ลาว ซึ่งต้องการระดมทุนในวงเงินขนาดใหญ่ แล้วตลาดหลักทรัพย์ลาว หรือตลาดการเงินลาวยังไม่พร้อมก็ขอให้บริษัท เหล่านั้นเข้ามาระดมทุนผ่านตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อน จนเมื่อตลาดการเงินของลาวและตลาดหลักทรัพย์ลาวมีความพร้อม บริษัทเหล่านี้ก็สามารถกลับเข้าไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ลาว ในลักษณะ Duo Listing
บริษัทเป้าหมายตามเงื่อนไขนี้ก็คือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ของ สปป.ลาวที่กำลังต้องการเงินทุน รวมถึงบริษัท โดยเฉพาะจากประเทศไทยที่ได้เข้ารับสัมปทานโครงการขนาดใหญ่ อยู่ใน สปป.ลาวขณะนี้
"คือคนที่เขาต้องการเงิน เขาก็ต้องการเงินตรงนี้ ถ้าเขายังไม่พร้อมก็ขอให้เข้ามาทำ IPO ในประเทศไทยก่อนได้ไหม เพราะไม่เช่นนั้น บริษัทเหล่านี้อาจจะเข้าไปทำ IPO ที่สิงคโปร์"
เงื่อนไขแลกเปลี่ยนที่เสนอไปเหล่านี้ดูเหมือนจะได้รับการตอบรับจากตลาดหลัก ทรัพย์ลาว
"เป็นการสร้างฐานภูมิปัญญาของการลงทุน วัฒนธรรมของการลงทุน บนประเทศเขา เพื่อให้มีความพร้อมที่จะตอบรับกับธุรกิจของเราที่จะเข้าไปทำ แล้วเขาก็จะได้ประโยชน์ เพราะประเทศเขากำลังจะโตขึ้นมา เราก็จะได้ประโยชน์ ก็จะได้กันหมดทุกฝ่าย"
ปัจจุบันใน สปป.ลาวมีบริษัทและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความพร้อมจะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือใช้กลไกของตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน หลายแห่งด้วยกัน
บริษัทเหล่านี้ อาทิ กลุ่มบริษัทดาวเรือง เจ้าของธุรกิจกาแฟ และร้านค้าปลอด ภาษี บริษัทลาว บริวเวอรี่ ผู้ผลิตเบียร์ลาว ธนาคารพงสะหวัน รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว ฯลฯ
หากดูจากปริมาณเงินออมในระบบ ณ ไตรมาส 2 ของปี 2552 ที่ประกาศโดยธนาคารแห่ง สปป.ลาว ซึ่งมีอยู่ 10,629.1 พันล้านกีบ เงินจำนวนนี้หากแปลงเป็นเงินบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 258 กีบ) จะเท่ากับ 41,198 ล้านบาท
คงไม่เพียงพออย่างแน่นอน หากบริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นเกิดความต้องการใช้เงินทุนขึ้นมาพร้อมๆ กัน
หากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเดินหน้าผลักดันวิสัยทัศน์ Indochina Leader อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ถึงแม้จะผ่านวันที่ 10 เดือน 10 ปี 2010 ซึ่งตลาด หลักทรัพย์ลาวเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการไปแล้ว
นักลงทุนบ้านเราอาจมีโอกาสได้ลงทุนในหุ้นของเบียร์ลาว หุ้นธนาคารพงสะหวัน หรือหุ้นเขื่อนน้ำงึม 2 ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปก่อนระยะหนึ่ง
ก่อนที่บริษัทเหล่านี้จะกลับเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาวในภายหลัง
รหัส 10-10-10 ตลาดการเงินลาวเปิดเต็มรูปแบบ
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
สปป.ลาว กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม 2010 เป็นวันเปิดดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์ลาว ในการนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ และที่ปรึกษาทางการเงินจากไทยกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปมีส่วนทำให้กำหนดการนี้ปรากฏเป็นจริง บทบาทของทีมการเงินจากไทยครั้งนี้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ "Indochina Leader" ที่วิเชฐ ตันติวานิช พยายามผลักดัน
บรรยากาศในห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานใหญ่ธนาคารการค้าต่างประเทศ ลาว ช่วงเช้าวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา คึกคักเป็นพิเศษ
บริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ ที่ทำธุรกิจอยู่ใน สปป.ลาวต่างส่งตัวแทนเข้าร่วม การสัมมนาในหัวข้อ "การตระเตรียมความพร้อมของวิสาหกิจ เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว"
บริษัทบางแห่ง เจ้าของหรือผู้บริหารสูงสุดเข้ามานั่งฟังการสัมมนาด้วยตัวเอง
จำนวนผู้เข้ามารับฟังการสัมมนาครั้งนี้สูงถึง 80 คน
การสัมมนาครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่ง สปป.ลาวและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เนื้อหาของการสัมมนาเริ่มต้นเป็นการปูพื้น โดยบอกถึงกฎระเบียบและคุณสมบัติเบื้องต้นของบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ค.ล.ต.)
(ดู "คุณสมบัติบริษัทที่จะกระจายหุ้น ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว" ประกอบ)
หลังจากนั้นเป็นช่วงที่มีตัวแทนของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน และบริษัทหลักทรัพย์จากประเทศไทย ขึ้นไปพูดถึงขั้นตอนการนำหุ้นออกมากระจายขายให้กับประชาชนทั่วไป ก่อนที่บริษัทจะเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียน
เป็นการพูดโดยนำประสบการณ์จริงที่เคยพบในการกระจายหุ้นในประเทศไทย มาบอกเล่าให้ผู้เข้าสัมมนาได้รับฟัง
การสัมมนาครั้งนี้ใช้ระยะเวลา 3 วัน โดยตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์และที่ปรึกษาทางการเงินจากประเทศไทย ที่ไปร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในครั้งนี้ประกอบด้วยสมภพ ศักดิ์พันธ์พนม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแอสเซท โปร เมเนจเม้นท์ สมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส และประเสริฐ ตันตยาวิทย์ Head of Investment Banking Group บริษัทหลักทรัพย์ทิสโก้
ถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับกิจการใน สปป.ลาวที่แสดงความสนใจจะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาว ซึ่งใกล้เวลาที่จะเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเข้ามาทุกที
ทางการ สปป.ลาวได้กำหนดตัวเลขการเปิดตลาดหลักทรัพย์ลาวเอาไว้ที่ 10-10-10
นั่นคือวันที่ 10 เดือนตุลาคม 2010 คือวันที่ตลาดหลักทรัพย์ลาวจะเริ่มเปิดดำเนิน การเป็นวันแรก
ซึ่งมีความหมายว่า ตลาดการเงินของ สปป.ลาวจะมีครบองค์ประกอบทั้งตลาดเงิน และตลาดทุน
ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจที่อยู่ในตลาดทุนจากประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้ชิด สปป.ลาวมากที่สุด
และตรงกับยุทธศาสตร์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้วางเอาไว้ว่าจะต้องเป็น "Indochina Leader" โดยมีวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ และบริษัทจดทะเบียน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดัน
"เราต้อง positioning ตัวเอง เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ กับตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน เพราะถ้าเราไม่ทำแบบนี้ ต่อไปธุรกิจ ดีๆ ในไทยก็อาจโดนแย่งไปจดทะเบียนในประเทศอื่น" วิเชฐอธิบายถึงที่มาที่ไปของยุทธศาสตร์นี้กับผู้จัดการ 360 ํ
แนวคิดเรื่องการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้ว และหลายประเทศพยายามวางกลยุทธ์และจัดวางตำแหน่งของตลาดหลักทรัพย์ของตนไว้อย่างชัดเจน
ประเทศในเอเชีย ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงวางตำแหน่งตนเองเอาไว้ว่าจะต้องเป็น China Gateway ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ก็วางตำแหน่งตนเองไว้ที่ Global Exchange หรือตลาดหลักทรัพย์มาเลเซียที่กล้าบอกกับทุกคนว่าตนเองเป็นเจ้าแห่ง Islamic Product
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเอง หลายปีที่ผ่านมาก็เริ่มตระหนักถึงการแข่งขันกันเองระหว่างตลาดหลักทรัพย์ที่เพิ่มความเข้มข้นขึ้นมาดังกล่าวและมีความพยายามที่จะวางยุทธศาสตร์เพื่อสร้างขีดความสามารถให้ทัดเทียมกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ
จนในที่สุดก็ได้ข้อสรุปออกมาในการจัดวางตำแหน่งของตนเองให้เป็น Indochina Leader
"แต่ความเป็น Leader ในที่นี้ไม่ได้ หมายความว่าเราจะไปแข่งกับเขา แต่เราจะไปช่วยเขาพัฒนา โดยใช้ประสบการณ์ของเราเป็นตัวอย่าง เราไม่ต้องการเป็นหัวหน้าเขา เราต้องการที่จะถ่ายเทสิ่งที่เรา มีอยู่ให้เขายืนขึ้นมาได้เท่าๆ กับเรา แล้วจะได้เป็นพลังในกลุ่มอินโดจีนร่วมกัน"
วิสัยทัศน์ Indochina Leader ถูกขับเคลื่อนอย่างเข้มข้น หลังจากวิเชฐได้รับมอบหมายให้เข้ามาวางยุทธศาสตร์ทางการตลาดให้กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 2 ปีก่อน
แต่ก่อนหน้านั้นมุมมองเกี่ยวกับเรื่องของประเทศเพื่อนบ้านได้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันแล้วบนโต๊ะประชุมของผู้บริหารเพียงแต่เป็นคนละบริบท
5 ปีที่แล้ว ประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะ สปป.ลาวและกัมพูชา เริ่มมีแนวคิดที่จะจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ของตนเองขึ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศซึ่งอยู่ติดกัน และมีการพัฒนาระบบการซื้อขายมานาน จนได้รับการยอมรับในมาตรฐาน
จึงมีแนวคิดที่จะนำระบบการซื้อขายดังกล่าวไปขายให้กับตลาดหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ประเทศ
แต่ก็มีคู่แข่ง เพราะตลาดหลักทรัพย์ของเกาหลีใต้ก็ได้เข้ามาเสนอขายระบบให้กับทั้งรัฐบาล สปป.ลาว และกัมพูชาด้วยเช่นกัน
"แสดงว่าเกาหลีใต้ก็มองเห็นถึงความสำคัญของประเทศในอินโดจีน"
ในตอนท้ายทั้ง สปป.ลาว และกัมพูชาก็ตัดสินใจที่จะซื้อระบบการซื้อขาย พร้อม ร่วมทุนกับตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นในทั้ง 2 ประเทศ
เฉพาะใน สปป.ลาวได้มีพิธีลงนามในสัญญาร่วมทุนจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ระหว่าง รัฐบาล สปป.ลาวกับตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมปีที่แล้ว (2552) ที่เมืองหลวงพระบาง และมีพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารตลาดหลักทรัพย์ลาว ในวันที่ 29 กันยายน
ที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์ลาวอยู่บนถนนกำแพงเมือง หมู่บ้านโพนตานเหนือ ตำบล ไชยเชษฐา ตรงข้ามกับศูนย์แสดงสินค้าไอเทค ในนครหลวงเวียงจันทน์
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ลาวและกัมพูชาครั้งนี้ เหมือน ซ้ำรอยเดิมที่เคยเกิดขึ้นกับการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เวียดนามเมื่อหลายปีก่อน
ในครั้งนั้น ตลาดหลักทรัพย์เวียดนามได้เข้ามาขอความรู้และช่วยเหลือจากตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้ให้ความร่วมมือเต็มที่ ถึงขนาดที่ให้ยืมระบบการซื้อขายไปทดลองใช้ก่อน
ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์เวียดนามก็ได้ใช้ระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทยซื้อขายจนเปิดตลาดไปได้ระยะหนึ่งก็เปลี่ยนมาใช้ระบบที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา
เรียกว่าความช่วยเหลือในครั้งนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่ได้รับอะไร ที่เป็นการรีเทิร์นกลับมา
แต่ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับได้ เพราะตอนนั้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ยังไม่ได้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกลุ่มประเทศในอินโดจีน และไม่ได้วางตำแหน่งของตนเองให้เป็น Indochina Leader เหมือนในทุกวันนี้
"ตรงนี้ ถือว่าเราช้าไปแล้ว 1 ก้าว เพราะฉะนั้นถ้าเราจะผลักดันตัวเองให้ขึ้นไปเป็น Indochina Leader ให้ได้ เราจะต้องบุกให้หนักขึ้น" วิเชฐบอก
คำถามคือแล้วการบุกหนักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครั้งนี้จะใช้อะไรเป็นธงนำ...?
"ถ้าเกาหลีเขาบุกทางด้านฮาร์ดไซด์ มาสร้างอาคาร เอาระบบการซื้อขายเข้ามา ให้ธงของเราก็ต้องเป็นด้านซอฟต์ไซด์ นั่นก็คือเรื่องการให้ความรู้ประชาชน เรื่องการสร้างฐานผู้ลงทุน การเทรนนิ่ง การให้ใบอนุญาตของโบรกเกอร์หรือที่ปรึกษาทางการเงิน คนที่พร้อมจะเข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น เขาจะให้ใบอนุญาตกันอย่างไร ค.ล.ต.จะดูแลอย่างไร"
2 ปีที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เข้าไปทำหน้าที่เสมือนเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ลาว มีการส่งวิทยากรไปให้ความรู้ และนำเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่ง สปป.ลาวที่ถูกวาง ตัวให้เป็นทีมงานจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เข้ามาดูงานในประเทศไทยหลายครั้ง รวมถึงการส่งวิทยากรไปให้ความรู้พื้นฐานแก่เจ้าของกิจการ ตลอดจนประชาชนที่มีเงินออมเกี่ยวกับการนำบริษัทเข้ามาจดทะเบียน และการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่การเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงในการจัดตั้งตลาด หลักทรัพย์ลาวครั้งนี้มีเงื่อนไขแลกเปลี่ยน
เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนที่มีเป็นระดับ แตกต่างกันไปตามความสำคัญของบทบาท
ในระดับเบาสุดคือการส่งวิทยากร ไปจัดอบรมให้ความรู้กับบริษัทจดทะเบียน หรือการไปเป็นที่ปรึกษาในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการหลักทรัพย์ประเภท ต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจขอคิดค่าธรรมเนียม เพราะเป็นการทำงานที่มีต้นทุน
ระดับในสูงขึ้นมา คือเมื่อเริ่มมีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมาแล้ว ก็ขอให้บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจากไทย เข้าไปทำหน้าที่สปอนเซอร์ ให้กับบริษัทที่สนใจจะเข้ามาระดมทุน
ปัจจุบันธนาคารแห่ง สปป.ลาววาง แนวทางเบื้องต้นเอาว่าจะให้ใบอนุญาตทำธุรกิจหลักทรัพย์กับประเทศที่ สปป.ลาว เห็นว่าเหมาะสมก่อน 3 ประเทศ ประเทศละ 1 แห่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์โนมูระ และประเทศไทย คาดว่าจะได้แก่บริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมิโก้
แต่ใบอนุญาตในการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินนั้นยังไม่มีการกำหนดโควตา
ระดับที่สูงสุดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเสนอไป คือหากบริษัทใน สปป.ลาว ซึ่งต้องการระดมทุนในวงเงินขนาดใหญ่ แล้วตลาดหลักทรัพย์ลาว หรือตลาดการเงินลาวยังไม่พร้อมก็ขอให้บริษัท เหล่านั้นเข้ามาระดมทุนผ่านตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อน จนเมื่อตลาดการเงินของลาวและตลาดหลักทรัพย์ลาวมีความพร้อม บริษัทเหล่านี้ก็สามารถกลับเข้าไปจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ลาว ในลักษณะ Duo Listing
บริษัทเป้าหมายตามเงื่อนไขนี้ก็คือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ของ สปป.ลาวที่กำลังต้องการเงินทุน รวมถึงบริษัท โดยเฉพาะจากประเทศไทยที่ได้เข้ารับสัมปทานโครงการขนาดใหญ่ อยู่ใน สปป.ลาวขณะนี้
"คือคนที่เขาต้องการเงิน เขาก็ต้องการเงินตรงนี้ ถ้าเขายังไม่พร้อมก็ขอให้เข้ามาทำ IPO ในประเทศไทยก่อนได้ไหม เพราะไม่เช่นนั้น บริษัทเหล่านี้อาจจะเข้าไปทำ IPO ที่สิงคโปร์"
เงื่อนไขแลกเปลี่ยนที่เสนอไปเหล่านี้ดูเหมือนจะได้รับการตอบรับจากตลาดหลัก ทรัพย์ลาว
"เป็นการสร้างฐานภูมิปัญญาของการลงทุน วัฒนธรรมของการลงทุน บนประเทศเขา เพื่อให้มีความพร้อมที่จะตอบรับกับธุรกิจของเราที่จะเข้าไปทำ แล้วเขาก็จะได้ประโยชน์ เพราะประเทศเขากำลังจะโตขึ้นมา เราก็จะได้ประโยชน์ ก็จะได้กันหมดทุกฝ่าย"
ปัจจุบันใน สปป.ลาวมีบริษัทและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความพร้อมจะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือใช้กลไกของตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน หลายแห่งด้วยกัน
บริษัทเหล่านี้ อาทิ กลุ่มบริษัทดาวเรือง เจ้าของธุรกิจกาแฟ และร้านค้าปลอด ภาษี บริษัทลาว บริวเวอรี่ ผู้ผลิตเบียร์ลาว ธนาคารพงสะหวัน รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว ฯลฯ
หากดูจากปริมาณเงินออมในระบบ ณ ไตรมาส 2 ของปี 2552 ที่ประกาศโดยธนาคารแห่ง สปป.ลาว ซึ่งมีอยู่ 10,629.1 พันล้านกีบ เงินจำนวนนี้หากแปลงเป็นเงินบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 258 กีบ) จะเท่ากับ 41,198 ล้านบาท
คงไม่เพียงพออย่างแน่นอน หากบริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นเกิดความต้องการใช้เงินทุนขึ้นมาพร้อมๆ กัน
หากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเดินหน้าผลักดันวิสัยทัศน์ Indochina Leader อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ถึงแม้จะผ่านวันที่ 10 เดือน 10 ปี 2010 ซึ่งตลาด หลักทรัพย์ลาวเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการไปแล้ว
นักลงทุนบ้านเราอาจมีโอกาสได้ลงทุนในหุ้นของเบียร์ลาว หุ้นธนาคารพงสะหวัน หรือหุ้นเขื่อนน้ำงึม 2 ผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปก่อนระยะหนึ่ง
ก่อนที่บริษัทเหล่านี้จะกลับเข้าไปเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลาวในภายหลัง
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดหุ้นลาว ใกล้จะเริ่มแล้วครับ
โพสต์ที่ 3
ผมซื้อด้วย ทุ่มหมดตัวเลย
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 210
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดหุ้นลาว ใกล้จะเริ่มแล้วครับ
โพสต์ที่ 5
ผมก็เล็ง เบยลาว ไว้ครับ
หุหุ
ว่าแต่ว่าเราจะเปิดพอร์ตกับเค้ายังไงครับ
ต้องเสียภาษีจาก Capital Gain ไหม
ใครมีความรู้เรื่องนี้ช่วยตอบทีนะครับ
หุหุ
ว่าแต่ว่าเราจะเปิดพอร์ตกับเค้ายังไงครับ
ต้องเสียภาษีจาก Capital Gain ไหม
ใครมีความรู้เรื่องนี้ช่วยตอบทีนะครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
ตลาดหุ้นลาว ใกล้จะเริ่มแล้วครับ
โพสต์ที่ 10
[quote="ส.สลึง"][quote="ปรัชญา"]ที่ลาว
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- green-orange
- Verified User
- โพสต์: 896
- ผู้ติดตาม: 0
ตลาดหุ้นลาว ใกล้จะเริ่มแล้วครับ
โพสต์ที่ 13
พี่ปรัญญาครับ แล้วเราจะเข้าไปศึกษาหุ้นลาวได้จากที่ไหนครับ อิอิโว้กว้าก เขียน:น่าสนใจแฮะ