กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 1
http://doodeemak.blogspot.com/2010/05/doodeemak.html
เห็นช่วงนี้เครียดๆกันเยอะ เลยลองเขียนบทความเล็กๆจากนักลงทุนมือใหม่ไว้ให้พิจารณากันครับ
การกรองหุ้น ก็คือขั้นตอนขั้นตอนหนึ่งในการเริ่มต้นของการลงทุนนะครับ
แน่นอนครับว่าการเริ่มต้นที่ดีนั้นย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง หากเปรียบกับการหาเนื้อคู่ ก็คงจะเปรียบได้กับการกรองบุคลิก ลักษณะของเนื้อคู่ที่เราต้องการจะพบ
บางท่าน อาจจะมีประสบการณ์ได้เนื้อคู่จากการดูเว็บบอร์ด (ซึ่งบางครั้งอาจจะคิดไปเองว่าเป็นรักแรกพบ... ดูเว็บปุ๊บก็สามารถแต่งกับหุ้นตัวนั้นได้ปั๊บ)
ขณะที่บางท่านกว่าจะได้เนื้อคู่มา ก็ต้องผ่านการกรองแล้วกรองอีก... กรองแล้วกรองอีก (จนบางครั้งกรองนานจนหาไม่ได้ก็มี...)
แต่เทคนิคในการกรองหุ้นนั้น ผมเชื่อว่านักลงทุนแต่ละท่านก็คงมีวิธีคิดที่แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางความคิด, ประสบการณ์, บุคลิกภาพส่วนตัว ซึ่งมีผลต่อระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้รวมไปถึงมุมมองในการกรองหุ้นแบบต่างๆ (เริ่มมีสาระบ้างละ)
ต่อไปนี้คือแนวความคิดของผมกับการกรองหุ้น ณ ประสบการณ์ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 3 ปีครึ่งครับ
กรองหุ้นสไตล์ doodeemak
กฎข้อที่ 1: ลงทุนในธุรกิจที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินเป็นบวกสม่ำเสมอ (ดูนางให้ดูเงินสด ไม่ใช่บัตรเครดิต)ข้อนี้แทบจะเป็นกฎเหล็กของผมเลยก็ว่าได้ครับ การกรองคู่แท้นั้นต้องเริ่มที่สถานะทางการเงินครับ โดยเน้นว่าเป็นเงินสดๆครับ ไม่ใช่เงินเชื่อ (เพื่อให้เราเกาะได้อย่างสบายใจ..อิอิ) ในแง่การลงทุนนั้น ป็น common sense สุดๆเลยครับ ในกรณีที่เราจะหาหุ้นส่วนธุรกิจ เราย่อมต้องการที่จะเป็นหุ้นส่วนกับธุรกิจที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกสม่ำเสมอ
อ้างอิงจากวิชาการประเมินมูลค่าโครงการ การหา NPV หรือ IRR ล้วนแล้วแต่ประเมินจากกระแสเงินสดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นกฎข้อนี้เป็นกฎที่ห้ามฝ่าฝืนสำหรับผมครับ
กฎข้อที่ 2: ไม่ลงทุนในหุ้นที่มีคนติดตามมาก (จีบนางให้ดูคู่แข่ง)ละครเกาหลีได้นำเสนอความหวังของปุถุชนชาวไทยว่าพระเอกหรือนางเอกถึงแม้จะมีฐานะ มีความแตกต่างจากเขาหรือเธอที่หมายปองเพียงใด ก็ยังมีความหวังที่จะสามารถเด็ดดอกฟ้ามาเชยชม จริงอยู่ที่ว่าหุ้นที่คนตามมากนั้น ส่วนใหญ่หลายต่อหลายธุรกิจเป็นกิจการที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มของการเติบโตและการทำกำไรที่ดี แต่ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่าคนส่วนใหญ่มักจะ "เชื่อ" กันจนเกินสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นจริงเสมอ ดังนั้นโอกาสที่หุ้นที่คนตามมากนั้นจะ undervalue คงมีน้อย (หรือนัยหนึ่งก็คือ โอกาสจะจีบติดนั้น..ยากครับ)
กฎข้อที่ 3: ถ้าไม่เชื่อกฎข้อแรก ให้ศึกษาไว้ก่อนแล้วรอหาจังหวะที่เหมาะสม (รอเธออกหักแล้วหาจังหวะดามใจ)หากเรายังไม่หมดหวังกับการเด็ดดอกฟ้า ตามคัมภีร์เกาหลีวิทยา เราจะต้องรอครับ รอจนเขาหรือเธอนั้นอกหักหรือผิดหวัง แล้วอาศัยจังหวะที่ฝนตก หาร่มไปกางให้เธอ (ถ้าเธอพกร่มมาให้รอจังหวะน้ำกระเด็นใส่แล้วยื่นผ้าเช็ดหน้าแทน) ในมุมมองของหุ้นนั้น กรณีที่เราสนใจกิจการนั้นมากและมองว่าเป็นกิจการที่น่าสนใจ โอกาสอาจจะมาถึง หากมีเหตุการณ์พิเศษ ที่ทำให้หุ้นตัวนั้นๆถูกประเมินราคาตกลงไปมาก ซึ่งจะเป็นโอกาสของเราที่จะได้ศึกษาผลกระทบและอาจเป็นโอกาสในการลงทุนของเราอีกครั้งหนึ่ง
กฎข้อที่ 4: หาหุ้นที่มีกระแสเงินสดอิสระในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับราคาตลาด (หากมีนางให้เลือกมากมาย...ให้เลือกนางที่คุ้มกับความพยายามที่สุด)
บางท่านอาจจะมีทางเลือกมาก มีหนุ่มๆหรือสาวๆที่กรองมาแล้วให้เลือกมากมาย ในกรณีนี้ เป็นสิทธิของท่านแล้วล่ะครับ ที่จะมีสิทธิเลือกว่าที่คู่ชีวิตที่ท่านคิดว่าเหมาะสมกับความพยายามมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หลังจากกรองแล้วเจอ อั้ม พัชราภา, แอฟ ทักษอร และน้องมีนนางเอกปลาบู่ทอง ถึงแม้ทั้งสามคนนี้ เราจะมีโอกาสจีบติด แต่ความพยายามนั้นจะเห็นได้ว่าสองคนแรกนั้น ต้องใช้ความพยายามมากเหลือเกิน (เพราะแฟนปัจจุบันของเค้าแต่ละคนก็คือถังเงินถังทองเคลื่อนที่ดีๆนี่เอง) แต่กับน้องมีนปลาบู่ จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะมีข่าวกับดาราหนุ่มบางคน แต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นตัวเป็นตน อีกทั้งต้นทุนการเทคแคร์ ก็ไม่น่าจะสูงเท่ากับสองคนแรก ดังนั้น เมื่อประเมิน value/cost แล้วพบว่ามีค่าสูงที่สุด... ฟันธง!
กลับมาที่เรื่องหุ้นกันบ้าง (หลังจากนอกเรื่องมานาน...) การกรองหุ้นลักษณะนี้มักจะทำให้เราได้หุ้นที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง เหมาะกับคนที่ไม่อยากเสี่ยง แต่การประมาณการกระแสเงินสดอิสระนั้น เราอาจจะต้องพิจารณาย้อนหลังหลายๆปี เพื่อดูแนวโน้มและความสม่ำเสมอ (ดูว่าคุณภาพนั้น ของแท้หรือเทียม หากเทียบกับการเลือกคู่ บางทีเราอาจจะเจอ"ตอ"ก็เป็นได้) ดังนั้นเราอาจจะต้องมีการปรับกระเงินสดดำเนินงานและกระแสเงินสดจากการลงทุนให้เหมาะสมโดยตัดเอาเงินลงทุน ที่ใช้ในการขยายกิจการ หรือเงินได้หรือจ่ายพิเศษๆออกไป อย่างไรก็ตาม กฎข้อนี้ไม่ควรกรองแบบเข้มข้นมากจนเกินไป จนทำให้เราละเลยหุ้นที่อาจจะแพงกว่าหน่อย แต่มีศักยภาพสูงกว่ามาก
กฎข้อที่ 5: เลือกหุ้นที่มีหนี้สินต่ำ (เลือกนางที่มีภาระน้อยที่สุด)หากท่านจะหาคู่ แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่ท่านจะได้เป็น pakage ซื้อ 1 แถม 3 ก็คือพ่อตาแม่ยายและลูกติด (ในบางกรณี) หากเป็นไปได้ เพื่อความราบรื่นในชีวิต การเลือกคู่ที่ภาระน้อยย่อมได้เปรียบ ในมุมมองของหุ้น ด้วยความที่เป็นคนที่มีพื้นฐานไม่ชอบเสี่ยง หุ้นที่เหมาะกับกระผมจึงเป็นหุ้นที่ไม่ควรมีหนี้สินมากๆ โดยอาจจะวัดได้จากการเอาหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหารด้วยกระแสเงินสดอิสระไม่ควรมากกว่า 3 ซึ่งหมายความว่า เราสามารถนำเงินสดไปชำระหนี้หมดได้ในเวลาไม่เกิน 3 ปี
กฎข้อที่ 6: เลือกหุ้นที่คุณเข้าใจ และสามารถติดตามได้ (เลือกคนที่เราเข้าใจเค้าและเค้าก็เข้าใจเรา)ทุกข้อที่กล่าวมา หากข้อนี้ไม่ผ่าน สุดท้ายคู่ต่างๆก็มักลงเอยด้วยประโยคที่ว่า "เราเข้ากันไม่ได้" หรือ "เรามีทัศนคติแตกต่างกันเกินไป" กฎข้อนี้เป็นกฎเหล็กอีกข้อหนึ่งซึ่งผมวางไว้ข้อสุดท้ายเพื่อเตือนใจเอาไว้ว่า "อย่าลงทุนในธุรกิจที่เราไม่เข้าใจและไม่สามารถประมาณการอนาคตได้เป็นอันขาด"
เห็นช่วงนี้เครียดๆกันเยอะ เลยลองเขียนบทความเล็กๆจากนักลงทุนมือใหม่ไว้ให้พิจารณากันครับ
การกรองหุ้น ก็คือขั้นตอนขั้นตอนหนึ่งในการเริ่มต้นของการลงทุนนะครับ
แน่นอนครับว่าการเริ่มต้นที่ดีนั้นย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง หากเปรียบกับการหาเนื้อคู่ ก็คงจะเปรียบได้กับการกรองบุคลิก ลักษณะของเนื้อคู่ที่เราต้องการจะพบ
บางท่าน อาจจะมีประสบการณ์ได้เนื้อคู่จากการดูเว็บบอร์ด (ซึ่งบางครั้งอาจจะคิดไปเองว่าเป็นรักแรกพบ... ดูเว็บปุ๊บก็สามารถแต่งกับหุ้นตัวนั้นได้ปั๊บ)
ขณะที่บางท่านกว่าจะได้เนื้อคู่มา ก็ต้องผ่านการกรองแล้วกรองอีก... กรองแล้วกรองอีก (จนบางครั้งกรองนานจนหาไม่ได้ก็มี...)
แต่เทคนิคในการกรองหุ้นนั้น ผมเชื่อว่านักลงทุนแต่ละท่านก็คงมีวิธีคิดที่แตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางความคิด, ประสบการณ์, บุคลิกภาพส่วนตัว ซึ่งมีผลต่อระดับความเสี่ยงที่ตัวเองยอมรับได้รวมไปถึงมุมมองในการกรองหุ้นแบบต่างๆ (เริ่มมีสาระบ้างละ)
ต่อไปนี้คือแนวความคิดของผมกับการกรองหุ้น ณ ประสบการณ์ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 3 ปีครึ่งครับ
กรองหุ้นสไตล์ doodeemak
กฎข้อที่ 1: ลงทุนในธุรกิจที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินเป็นบวกสม่ำเสมอ (ดูนางให้ดูเงินสด ไม่ใช่บัตรเครดิต)ข้อนี้แทบจะเป็นกฎเหล็กของผมเลยก็ว่าได้ครับ การกรองคู่แท้นั้นต้องเริ่มที่สถานะทางการเงินครับ โดยเน้นว่าเป็นเงินสดๆครับ ไม่ใช่เงินเชื่อ (เพื่อให้เราเกาะได้อย่างสบายใจ..อิอิ) ในแง่การลงทุนนั้น ป็น common sense สุดๆเลยครับ ในกรณีที่เราจะหาหุ้นส่วนธุรกิจ เราย่อมต้องการที่จะเป็นหุ้นส่วนกับธุรกิจที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกสม่ำเสมอ
อ้างอิงจากวิชาการประเมินมูลค่าโครงการ การหา NPV หรือ IRR ล้วนแล้วแต่ประเมินจากกระแสเงินสดด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นกฎข้อนี้เป็นกฎที่ห้ามฝ่าฝืนสำหรับผมครับ
กฎข้อที่ 2: ไม่ลงทุนในหุ้นที่มีคนติดตามมาก (จีบนางให้ดูคู่แข่ง)ละครเกาหลีได้นำเสนอความหวังของปุถุชนชาวไทยว่าพระเอกหรือนางเอกถึงแม้จะมีฐานะ มีความแตกต่างจากเขาหรือเธอที่หมายปองเพียงใด ก็ยังมีความหวังที่จะสามารถเด็ดดอกฟ้ามาเชยชม จริงอยู่ที่ว่าหุ้นที่คนตามมากนั้น ส่วนใหญ่หลายต่อหลายธุรกิจเป็นกิจการที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มของการเติบโตและการทำกำไรที่ดี แต่ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่าคนส่วนใหญ่มักจะ "เชื่อ" กันจนเกินสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นจริงเสมอ ดังนั้นโอกาสที่หุ้นที่คนตามมากนั้นจะ undervalue คงมีน้อย (หรือนัยหนึ่งก็คือ โอกาสจะจีบติดนั้น..ยากครับ)
กฎข้อที่ 3: ถ้าไม่เชื่อกฎข้อแรก ให้ศึกษาไว้ก่อนแล้วรอหาจังหวะที่เหมาะสม (รอเธออกหักแล้วหาจังหวะดามใจ)หากเรายังไม่หมดหวังกับการเด็ดดอกฟ้า ตามคัมภีร์เกาหลีวิทยา เราจะต้องรอครับ รอจนเขาหรือเธอนั้นอกหักหรือผิดหวัง แล้วอาศัยจังหวะที่ฝนตก หาร่มไปกางให้เธอ (ถ้าเธอพกร่มมาให้รอจังหวะน้ำกระเด็นใส่แล้วยื่นผ้าเช็ดหน้าแทน) ในมุมมองของหุ้นนั้น กรณีที่เราสนใจกิจการนั้นมากและมองว่าเป็นกิจการที่น่าสนใจ โอกาสอาจจะมาถึง หากมีเหตุการณ์พิเศษ ที่ทำให้หุ้นตัวนั้นๆถูกประเมินราคาตกลงไปมาก ซึ่งจะเป็นโอกาสของเราที่จะได้ศึกษาผลกระทบและอาจเป็นโอกาสในการลงทุนของเราอีกครั้งหนึ่ง
กฎข้อที่ 4: หาหุ้นที่มีกระแสเงินสดอิสระในสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับราคาตลาด (หากมีนางให้เลือกมากมาย...ให้เลือกนางที่คุ้มกับความพยายามที่สุด)
บางท่านอาจจะมีทางเลือกมาก มีหนุ่มๆหรือสาวๆที่กรองมาแล้วให้เลือกมากมาย ในกรณีนี้ เป็นสิทธิของท่านแล้วล่ะครับ ที่จะมีสิทธิเลือกว่าที่คู่ชีวิตที่ท่านคิดว่าเหมาะสมกับความพยายามมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หลังจากกรองแล้วเจอ อั้ม พัชราภา, แอฟ ทักษอร และน้องมีนนางเอกปลาบู่ทอง ถึงแม้ทั้งสามคนนี้ เราจะมีโอกาสจีบติด แต่ความพยายามนั้นจะเห็นได้ว่าสองคนแรกนั้น ต้องใช้ความพยายามมากเหลือเกิน (เพราะแฟนปัจจุบันของเค้าแต่ละคนก็คือถังเงินถังทองเคลื่อนที่ดีๆนี่เอง) แต่กับน้องมีนปลาบู่ จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะมีข่าวกับดาราหนุ่มบางคน แต่ก็ยังไม่ถึงกับเป็นตัวเป็นตน อีกทั้งต้นทุนการเทคแคร์ ก็ไม่น่าจะสูงเท่ากับสองคนแรก ดังนั้น เมื่อประเมิน value/cost แล้วพบว่ามีค่าสูงที่สุด... ฟันธง!
กลับมาที่เรื่องหุ้นกันบ้าง (หลังจากนอกเรื่องมานาน...) การกรองหุ้นลักษณะนี้มักจะทำให้เราได้หุ้นที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง เหมาะกับคนที่ไม่อยากเสี่ยง แต่การประมาณการกระแสเงินสดอิสระนั้น เราอาจจะต้องพิจารณาย้อนหลังหลายๆปี เพื่อดูแนวโน้มและความสม่ำเสมอ (ดูว่าคุณภาพนั้น ของแท้หรือเทียม หากเทียบกับการเลือกคู่ บางทีเราอาจจะเจอ"ตอ"ก็เป็นได้) ดังนั้นเราอาจจะต้องมีการปรับกระเงินสดดำเนินงานและกระแสเงินสดจากการลงทุนให้เหมาะสมโดยตัดเอาเงินลงทุน ที่ใช้ในการขยายกิจการ หรือเงินได้หรือจ่ายพิเศษๆออกไป อย่างไรก็ตาม กฎข้อนี้ไม่ควรกรองแบบเข้มข้นมากจนเกินไป จนทำให้เราละเลยหุ้นที่อาจจะแพงกว่าหน่อย แต่มีศักยภาพสูงกว่ามาก
กฎข้อที่ 5: เลือกหุ้นที่มีหนี้สินต่ำ (เลือกนางที่มีภาระน้อยที่สุด)หากท่านจะหาคู่ แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่ท่านจะได้เป็น pakage ซื้อ 1 แถม 3 ก็คือพ่อตาแม่ยายและลูกติด (ในบางกรณี) หากเป็นไปได้ เพื่อความราบรื่นในชีวิต การเลือกคู่ที่ภาระน้อยย่อมได้เปรียบ ในมุมมองของหุ้น ด้วยความที่เป็นคนที่มีพื้นฐานไม่ชอบเสี่ยง หุ้นที่เหมาะกับกระผมจึงเป็นหุ้นที่ไม่ควรมีหนี้สินมากๆ โดยอาจจะวัดได้จากการเอาหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหารด้วยกระแสเงินสดอิสระไม่ควรมากกว่า 3 ซึ่งหมายความว่า เราสามารถนำเงินสดไปชำระหนี้หมดได้ในเวลาไม่เกิน 3 ปี
กฎข้อที่ 6: เลือกหุ้นที่คุณเข้าใจ และสามารถติดตามได้ (เลือกคนที่เราเข้าใจเค้าและเค้าก็เข้าใจเรา)ทุกข้อที่กล่าวมา หากข้อนี้ไม่ผ่าน สุดท้ายคู่ต่างๆก็มักลงเอยด้วยประโยคที่ว่า "เราเข้ากันไม่ได้" หรือ "เรามีทัศนคติแตกต่างกันเกินไป" กฎข้อนี้เป็นกฎเหล็กอีกข้อหนึ่งซึ่งผมวางไว้ข้อสุดท้ายเพื่อเตือนใจเอาไว้ว่า "อย่าลงทุนในธุรกิจที่เราไม่เข้าใจและไม่สามารถประมาณการอนาคตได้เป็นอันขาด"
Inactive investor
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 4
ถ้าซื้อแล้วก็ขายไม่ได้อ่ะดิครับ เพราะว่าแต่งงานกันไปแล้ว :lol:
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 5
[quote="piggyman007"]ถ้าซื้อแล้วก็ขายไม่ได้อ่ะดิครับ เพราะว่าแต่งงานกันไปแล้ว
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 6
นั่นมันเพิ่มทุนปะครับ รายจ่ายทั้งนั้นเลยpiggyman007 wrote:
ถ้าซื้อแล้วก็ขายไม่ได้อ่ะดิครับ เพราะว่าแต่งงานกันไปแล้ว
รอรับปันผลในอีกสามไตรมาส(เก้าเดือน)ข้างหน้า
สิครับ
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 7
ผมว่าลงทุนระยะยาว (มาก) ครับ
แต่เหนือสิ่งอื่นใด คงเป็นปันผลจากธรรมชาติที่มาเติมเต็มให้ชีวิตได้เรียนรู้
อีกหนึ่งบทเรียนที่มีค่า :D
ปล. แวะไป comment กันได้นะครับ กับบทความใหม่ (ที่ไม่กล้านำมาแป่ะ) เรื่อง "ทำไมตอนนั้นผมซื้อหุ้นทอผ้า"
http://doodeemak.blogspot.com/2010/05/blog-post.html
แต่เหนือสิ่งอื่นใด คงเป็นปันผลจากธรรมชาติที่มาเติมเต็มให้ชีวิตได้เรียนรู้
อีกหนึ่งบทเรียนที่มีค่า :D
ปล. แวะไป comment กันได้นะครับ กับบทความใหม่ (ที่ไม่กล้านำมาแป่ะ) เรื่อง "ทำไมตอนนั้นผมซื้อหุ้นทอผ้า"
http://doodeemak.blogspot.com/2010/05/blog-post.html
Inactive investor
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 9
ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าเราสามารถดูผู้ยริหารได้จากการใช้เงินสดนะครับ
ว่าผู้บริหารมีการใช้กระแสเงินสดในการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทรึเปล่า
แล้วก็ดูรายการระหว่างบริษัทในเครือครับ ว่ามีรายการที่น่าสงสัยหรือไม่
งบกำไรขาดทุนก็ดูตรงค่าตอบแทนผู้บริหาร ว่าเหมาะสมกับ performance
ของกิจการรึเปล่า
แต่ไม่ได้ดูละเอียดถึงนามสกุลแบบกระทู้โพยลับของพี่นริศน่ะครับ :lol:
ว่าผู้บริหารมีการใช้กระแสเงินสดในการเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทรึเปล่า
แล้วก็ดูรายการระหว่างบริษัทในเครือครับ ว่ามีรายการที่น่าสงสัยหรือไม่
งบกำไรขาดทุนก็ดูตรงค่าตอบแทนผู้บริหาร ว่าเหมาะสมกับ performance
ของกิจการรึเปล่า
แต่ไม่ได้ดูละเอียดถึงนามสกุลแบบกระทู้โพยลับของพี่นริศน่ะครับ :lol:
Inactive investor
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 12
ขอเสนอความคิดเพิ่มเติมนิดหน่อยครับ ปัจจัยที่นำมากรอง ผมคิดว่าเป็นปัจจัยทางปริมาณทั้งหมดนะครับ ผมคิดว่าอีกปัจจัยหนึ่ง ที่สำคัญกว่า ก็คือปัจจัย ทางคุณภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ เกี่ยวกับเรื่อง "ความสามารถทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน"
ผมได้ยินคำพูดของ ดร นิเวศน์ บอกว่า หุ้นที่ดีมากๆ จะเหมือนสาวงาม ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน เห็นปั๊บก็จะรู้เลยว่านี่แหละสุดยอด แต่ถ้าเราต้องไปขุดหา มองแล้วมองอีกถึงจะเจอ นั่นแสดงว่า มันใช่ของดีจริงๆ
ผมได้ยินคำพูดของ ดร นิเวศน์ บอกว่า หุ้นที่ดีมากๆ จะเหมือนสาวงาม ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน เห็นปั๊บก็จะรู้เลยว่านี่แหละสุดยอด แต่ถ้าเราต้องไปขุดหา มองแล้วมองอีกถึงจะเจอ นั่นแสดงว่า มันใช่ของดีจริงๆ
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณพี่ newbie_12 สำหรับการแนะนำดีๆครับ
ผมคิดว่าส่วนตัวอาจจะเป็นสไตล์เกรแฮมมากกว่าบัฟเฟต์ก็ได้มังครั้บ :lol:
ที่ดูข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งก็คือความสม่ำเสมอของกระแสเงินสดเทียบกับ
ราคาที่ขายว่าถูกหรือแพงก่อน
ถ้าถูกใจแล้วจึงค่อยมองปัจจัยเชิงคุณภาพทีหลัง
หลังจากบทความกรองหุ้น ต่อไปผมคงจะพยายามเขียนบทความวิเคราะห์หุ้น
แบบมือใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่ผ่านการกรองมาระดับหนึ่ง
นะครับ ซึ่งคงต้องรวมเรื่องของความสามารถทางการแข่งขันอย่างที่พี่
newbie_12 แนะนำและธรรมาภิบาลที่พี่ j21 แนะนำด้วย
แต่ผมคิดว่าถ้าเป็นเซียนๆในเว็บ ที่ไม่ใช่มือใหม่ กฎต่างๆเหล่านี้ แทบไม่ต้อง
ใช้เลยมังครับ เพราะท่านเหล่านั้นมี watch list และเข้าใจตัวธุรกิจมากอยู่
แล้ว แค่ทำการติดตามข่าวสารข้อมูล, ราคาหุ้นว่าถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับ
ราคาในใจและปัจจัยเชิงมหภาคที่อาจจะมีผลต่อระยะยาวของธุรกิจก็น่าจะพอ
ผมคิดว่าส่วนตัวอาจจะเป็นสไตล์เกรแฮมมากกว่าบัฟเฟต์ก็ได้มังครั้บ :lol:
ที่ดูข้อมูลเชิงปริมาณซึ่งก็คือความสม่ำเสมอของกระแสเงินสดเทียบกับ
ราคาที่ขายว่าถูกหรือแพงก่อน
ถ้าถูกใจแล้วจึงค่อยมองปัจจัยเชิงคุณภาพทีหลัง
หลังจากบทความกรองหุ้น ต่อไปผมคงจะพยายามเขียนบทความวิเคราะห์หุ้น
แบบมือใหม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 2 หลังจากที่ผ่านการกรองมาระดับหนึ่ง
นะครับ ซึ่งคงต้องรวมเรื่องของความสามารถทางการแข่งขันอย่างที่พี่
newbie_12 แนะนำและธรรมาภิบาลที่พี่ j21 แนะนำด้วย
แต่ผมคิดว่าถ้าเป็นเซียนๆในเว็บ ที่ไม่ใช่มือใหม่ กฎต่างๆเหล่านี้ แทบไม่ต้อง
ใช้เลยมังครับ เพราะท่านเหล่านั้นมี watch list และเข้าใจตัวธุรกิจมากอยู่
แล้ว แค่ทำการติดตามข่าวสารข้อมูล, ราคาหุ้นว่าถูกหรือแพงเมื่อเทียบกับ
ราคาในใจและปัจจัยเชิงมหภาคที่อาจจะมีผลต่อระยะยาวของธุรกิจก็น่าจะพอ
Inactive investor
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 14
เยี่ยมครับ รออ่านตอนต่อไปครับผม
กระทู้ดีๆแบบนี้ ชาว thaivi ต้องการครับ
:D :D
กระทู้ดีๆแบบนี้ ชาว thaivi ต้องการครับ
:D :D
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
- m_mummie
- Verified User
- โพสต์: 218
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณคะ สำหรับความรู้ดีๆที่นำมาบอกเล่าให้มือใหม่ได้อ่าน
อยากถามพี่ doodeemak เรื่องกฎข้อที่ 4 คะ ว่า จะปรับประมาณกระแสเงินสดด้วยวิธีใดได้บ้างคะ งง ทุกทีเวลาอ่าน ไม่รู้จะเริ่มยังไง ขอวิธีคร่าวๆสำหรับมือใหม่หน่อยนะคะ
ตอนนี้อาศัยดูแต่ค่า ratios ต่างๆ ดูตัวเลขที่งบ พอเข้าใจบ้างนิดหน่อย
อยากถามพี่ doodeemak เรื่องกฎข้อที่ 4 คะ ว่า จะปรับประมาณกระแสเงินสดด้วยวิธีใดได้บ้างคะ งง ทุกทีเวลาอ่าน ไม่รู้จะเริ่มยังไง ขอวิธีคร่าวๆสำหรับมือใหม่หน่อยนะคะ
ตอนนี้อาศัยดูแต่ค่า ratios ต่างๆ ดูตัวเลขที่งบ พอเข้าใจบ้างนิดหน่อย
--->I Will Survive Yeah....Yeah....<---
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 16
ขอตอบแบบมือใหม่ตอบให้มือใหม่มากละกันนะครับ
งบกระแสเงินสดจะแสดงการได้มากและใช้ไปของเงินสดของกิจการ
บางท่านอาจจะคิดว่าเงินสดเป็นอะไรที่วัดได้ยากเพราะมีการไหลเข้าไหลออก
ทำให้บางครั้งดูแล้เวียนหัว ไม่สามารถสะท้อนภาพของกิจการออกมาได้จริง
แต่ในความจริงแล้ว ในงบรายไตรมาสหรืองบประจำปี ผมคิดว่าเพียงพอ
และน่าเชื่อถือ เพราะไม่ใช่เป็น daily transaction แต่เป็น quaterly และ yearly
ในส่วนของการดู แนะนำว่าให้มองหาบรรทัดสุดท้ายที่มีคำว่า
"เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน" แล้วขีดเส้นใต้ไว้ครับ
จากนั้นก็มองหาบรรทัด "เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน"
แล้วขีดเส้นใต้ไว้ครับ
จากนั้นก็มองหาบรรทัด "เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน"
แล้วขีดเส้นใต้ไว้ครับ
ทีนี้เราก็มาดูความหมายของแต่ละตัวนะครับ
"เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน"
ตัวนี้จัดได้ว่าเป็นผลลัพธ์ของการดำเนินธุรกิจเลยทีเดียว สำหรับมือใหม่ให้ดูว่า
เป็นบวกต่อเนื่องหลายๆปีหรือไม่ ส่วนการปรับปรุงผมมักจะตัดรายได้หรือรายจ่าย
พิเศษออก ...
เดี๋ยวมาต่อครับ ไปกินข้าวก่อน
งบกระแสเงินสดจะแสดงการได้มากและใช้ไปของเงินสดของกิจการ
บางท่านอาจจะคิดว่าเงินสดเป็นอะไรที่วัดได้ยากเพราะมีการไหลเข้าไหลออก
ทำให้บางครั้งดูแล้เวียนหัว ไม่สามารถสะท้อนภาพของกิจการออกมาได้จริง
แต่ในความจริงแล้ว ในงบรายไตรมาสหรืองบประจำปี ผมคิดว่าเพียงพอ
และน่าเชื่อถือ เพราะไม่ใช่เป็น daily transaction แต่เป็น quaterly และ yearly
ในส่วนของการดู แนะนำว่าให้มองหาบรรทัดสุดท้ายที่มีคำว่า
"เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน" แล้วขีดเส้นใต้ไว้ครับ
จากนั้นก็มองหาบรรทัด "เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน"
แล้วขีดเส้นใต้ไว้ครับ
จากนั้นก็มองหาบรรทัด "เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน"
แล้วขีดเส้นใต้ไว้ครับ
ทีนี้เราก็มาดูความหมายของแต่ละตัวนะครับ
"เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน"
ตัวนี้จัดได้ว่าเป็นผลลัพธ์ของการดำเนินธุรกิจเลยทีเดียว สำหรับมือใหม่ให้ดูว่า
เป็นบวกต่อเนื่องหลายๆปีหรือไม่ ส่วนการปรับปรุงผมมักจะตัดรายได้หรือรายจ่าย
พิเศษออก ...
เดี๋ยวมาต่อครับ ไปกินข้าวก่อน
Inactive investor
- nasesus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1278
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 18
น่าจับไปเขียนหนังสือคู่กับเด็กเลี้ยงแกะครับ อ่านแล้วมันส์ได้ใจ :lol: :lol: :lol: มือใหม่อ่านแล้วได้อะไรเยอะนะครับหลักเกณฑ์ใช้ได้ครับ แม้จะมีบ้างในหุ้นบางกลุ่มที่ต้องยกเว้นกฏบางข้อ
ทางที่ไม่มีไฟ ใช่ว่าไม่มีทาง เพียงแค่การก้าวไปข้างหน้าต้องใช้มากกว่าการหวังพึ่งแค่ดวงตา
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 19
ต่อครับ...
เงินสดจากการดำเนินจะแบ่งเป็น 2 ช่วงย่อยคือช่วงก่อนเปลี่ยนแปลง
ในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานและช่วงหลัง
ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลง จะมีรายการสำคัญๆคือการปรับปรุงกำไรทางบัญชี
ให้เป็นกำไรที่เป็นเงินสด โดยมีรายการหลักคือ
- ค่าเสื่อมราคา
- ค่าตั้งเผื่อด้อยค่า (เป็นการประมาณการทางบัญชี)
- ดอกเบี้ยจ่ายหรือรับ
ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลง จะเป็นการแสดงถึงการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
หมุนเวียนจากการดำเนินงาน ว่าบริษัทใช้เงินสดเพื่อซื้อของมาตุนเพิ่มขึ้นหรือไม่
หรือมีการให้ credit term ลูกหนี้ยาวขึ้นหรือไม่ ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์เพิ่ม
เติมได้จากรายละเอียดประกอบงบที่แสดงคุณภาพของลูกหนี้และการแบ่ง
ประเภทของสินค้าคงเหลือ
หากกระแสเงินสดก่อนการเปลี่ยนแปลง มากกว่า หลังการเปลี่ยนแปลงมากๆ
แสดงว่าบริษัทมีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่แย่ลง (แต่หากยอดขายสูงขึ้น
ต้องมีการวัดด้วย ratio เพื่อเทียบออกมาเป็นหน่วย "วัน" เพื่อสามารถเทียบได้)
ในส่วนของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยส่วนมากผมไม่ค่อยปรับปรุง
เท่าไหร่ แค่ใช้การดูหลายๆปีย้อนหลัง ว่ามีการแกว่งขึ้นลงมากหรือไม่และ
ที่สำคัญ เรารู้หรือไม่ว่าการแกว่งนั้นเกิดจากสาเหตุใด
จะมีปรับปรุงบ้างก็ต่อเมื่อเราพบว่าอนาคตของกิจการมีโอกาสเติบโตหรือถดถอย
โดยการประมาณการเพิ่มหรือลดลงเป็นสัดส่วนเทียบกันระหว่างกระแสเงินสด
จากการดำเนินงานกับยอดขาย
"เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน"
ตัวนี้เป็นเงินสดที่กิจการใช้ในการลงทุนในส่วนของทรัพย์สินระยะยาว
เพื่อให้เกิดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาให้กับกิจการ
ดังนั้น การใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนมากจะเป็นการลงทุนซื้อที่ดินหรือเครื่องจักร
ค่าใช้จ่ายตัวนี้ เราสามารถนำไปเทียบกับค่าเสื่อมราคาได้ครับ โดยปกติแล้ว
ค่าใช้จ่ายการลงทุนผมมักจะเทียบกับค่าเสื่อมราคาและดูย้อนหลังไปหลายๆปี
หากว่าบริษัทมีการลงทุนสูงอย่างสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับค่าเสื่อมราคา
ทั้งๆที่รายได้ก็ไม่ได้อะไรมากมาย หรือไม่ได้สร้างธุรกิจใหม่ๆอันนี้ก็ขอบายครับ
แต่หากการลงทุนนั้น ทำไปเพื่อการสร้าง line ธุรกิจใหม่ๆ ไม่ใช่เป็นการซ่อม
แซมเพื่อยืดอายุการใช้งาน ก็ต้องมีการปรับปรุงครับ เช่นหากกิจการทำการ
ซ่อมแซมครั้งใหญ่มาก ซึ่งเราวิเคราะห์แล้วว่าไม่น่าจะเป็นการซ่อมที่เกิดเป็น
ประจำ เช่น TR ที่เมื่อปีสองปีก่อนมีค่าใช้จ่ายตัวนี้มาก เพราะมีการเปลี่ยน line
ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี อันนี้ผมก็จะปรับปรุงมันครับ โดยดูใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการ
ลงทุนในอดีตปรับเพิ่มด้วยค่าใช้จ่ายการลงทุนพิเศษหาร 20 เพื่อทำเป็นค่าเฉลี่ย
ในทางกลับกันสำหรับบางกิจการ เงินสดจากกิจกรรมลงทุนอาจจะติดลบ
มากๆ เพราะเกิดจากการที่เค้ามีเงินสดอิสระเหลืออยู่มากครับไม่รู้จะเอาไปทำ
อะไรจะปันผลก็กลัวผู้ถือหุ้นจะโดนหักภาษีเยอะ :lol: บางทีเค้าก็เอาไปลงทุน
ในธนาคารกินดอกเล่นๆก็มี
อันนี้ก็แสดงว่าเป็นการลงทุนที่ไม่เพิ่มมูลค่าครับ แต่หากกันไว้เพื่อลงทุนใน
ปีถัดๆไป ก็ต้องดูว่ากันไว้ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่โดยดูประวัติการใช้เงิน
ย้อนหลังก็จะช่วยให้เห็นภาพของเจตนาของผู้บริหารครับ
ยกตัวอย่างเช่น TR ก็กันไว้ค่อนข้างมากในปีสองปีที่ผ่านมา เพราะต้องการ
ปรับปรุง line การผลิตครั้งใหญ่ แต่หากปีนี้ยังกันไว้เยอะอยู่ล่ะก็...น่าคิดครับ
เพราะบางครั้ง เค้าอาจจะเอาเงินตัวนี้ไปซื้อกิจการร่วมหรือไปลงทุนที่ไม่
คุ้มค่าหรืออาจจะไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของธุรกิจโดยตรง
เงินสดจากการดำเนินงานหักออกด้วยเงินสดจากการลงุทนหลังจากปรับปรุง
ก็จะได้เป็นกระแสเงินสดอิสระ ที่ผมจะนำมาเทียบกับมูลค่าตลาด
"เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน"
ตัวนี้เป็นแหล่งที่มาหรือใช้ไปของเงินสดที่มาจากผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
ซึ่งรวมทั้งเงินกู้ธนาคารและส่วนเพิ่มทุนและเงินปันผลจ่ายของเจ้าของ
โดยปกติแล้ว หากกิจการสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่มีปัญหา ตัวนี้มักจะ
มีเพียงรายการของเงินปันผลจ่ายครับ แต่หากเมื่อใดกิจการเกิดการขาด
สภาพคล่องมากๆ ทำให้ต้องมีการกู้หนี้ยืมสิน ก็ต้องมาพิจารณาว่าเกิดจากอะไรซึ่งอาจจะเกิดจาก
- กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบมากๆ
- กระแสเงินสดจากการลงทุนติดลบมากๆ
ถ้าเป็นกรณีแรก ก็ไม่ค่อยดีนะครับ ต้องมาดูว่าเกิดจากช่วงก่อนหรือหลัง
การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
ถ้าเกิดขึ้นก่อน แสดงว่าอาการไม่ดีแล้วล่ะครับ เพราะแสดงว่าเส้นเลือดใหญ่กำลังรั่ว
แต่หากเกิดหลังเงินทุนหมุนเวียน แสดงว่ากิจการกำลังสูญเสียเงินไปจมในลูกหนี้
หรือสินค้าคงเหลือมากเกินไป ให้ลองหาต่ออีกทีว่าเกิดจากปัจจัยใด
ถ้าเป็นกรณีทีสอง ที่เกิดจากเงินลงทุนติดลบมากๆ ก็ต้องมาดูครับว่ากิจการ
ลงทุนไปกับโครงการใด เกี่ยวข้องและส่งเสริมให้ตัวธุรกิจมีอนาคตมากขึ้น
หรือไม่ โดยลองดูประวัติย้อนหลังว่าค่าใช้จ่ายการลงทุนครั้งใหญ่ในอดีตนั้น
ได้ส่งผลต่อกำไรหรือยอดขายในปัจจุบันอย่างไร
กล่าวโดยสรุปมันจะเป็นวงเวียนตามนี้ครับ
จัดหาเงิน --> ใช้เงินเพื่อลงทุน --> ได้เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
--> จัดหาเงิน (จ่ายปันผลและกันเงินสำรองไว้ลงทุนต่อ) --> ใช้เงินเพื่อลงทุน --> ได้เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
วนไปเรื่อยๆครับ
บริษัททีดีก็จะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เป็นบวกสม่ำเสมอและโตขึ้นๆ
แล้วก็นำเงินที่เหลือไปจ่ายเงินปันผลหรือเอาไว้ลงทุนในโครงการที่ได้ผล
ตอบแทนงามๆ มากขึ้นๆ
ปล. เป็นการอธิบายโดยอ้างอิงจากงบของหุ้นที่เป็นการผลิตสินค้าเป็นหลักนะครับ
ส่วนหุ้นประกันหรือธนาคารผมยังไม่สามารถครับ ต้องให้ผู้ช่วยชาญอธิบาย
เงินสดจากการดำเนินจะแบ่งเป็น 2 ช่วงย่อยคือช่วงก่อนเปลี่ยนแปลง
ในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงานและช่วงหลัง
ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลง จะมีรายการสำคัญๆคือการปรับปรุงกำไรทางบัญชี
ให้เป็นกำไรที่เป็นเงินสด โดยมีรายการหลักคือ
- ค่าเสื่อมราคา
- ค่าตั้งเผื่อด้อยค่า (เป็นการประมาณการทางบัญชี)
- ดอกเบี้ยจ่ายหรือรับ
ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลง จะเป็นการแสดงถึงการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน
หมุนเวียนจากการดำเนินงาน ว่าบริษัทใช้เงินสดเพื่อซื้อของมาตุนเพิ่มขึ้นหรือไม่
หรือมีการให้ credit term ลูกหนี้ยาวขึ้นหรือไม่ ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์เพิ่ม
เติมได้จากรายละเอียดประกอบงบที่แสดงคุณภาพของลูกหนี้และการแบ่ง
ประเภทของสินค้าคงเหลือ
หากกระแสเงินสดก่อนการเปลี่ยนแปลง มากกว่า หลังการเปลี่ยนแปลงมากๆ
แสดงว่าบริษัทมีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่แย่ลง (แต่หากยอดขายสูงขึ้น
ต้องมีการวัดด้วย ratio เพื่อเทียบออกมาเป็นหน่วย "วัน" เพื่อสามารถเทียบได้)
ในส่วนของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน โดยส่วนมากผมไม่ค่อยปรับปรุง
เท่าไหร่ แค่ใช้การดูหลายๆปีย้อนหลัง ว่ามีการแกว่งขึ้นลงมากหรือไม่และ
ที่สำคัญ เรารู้หรือไม่ว่าการแกว่งนั้นเกิดจากสาเหตุใด
จะมีปรับปรุงบ้างก็ต่อเมื่อเราพบว่าอนาคตของกิจการมีโอกาสเติบโตหรือถดถอย
โดยการประมาณการเพิ่มหรือลดลงเป็นสัดส่วนเทียบกันระหว่างกระแสเงินสด
จากการดำเนินงานกับยอดขาย
"เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุน"
ตัวนี้เป็นเงินสดที่กิจการใช้ในการลงทุนในส่วนของทรัพย์สินระยะยาว
เพื่อให้เกิดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเข้ามาให้กับกิจการ
ดังนั้น การใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนมากจะเป็นการลงทุนซื้อที่ดินหรือเครื่องจักร
ค่าใช้จ่ายตัวนี้ เราสามารถนำไปเทียบกับค่าเสื่อมราคาได้ครับ โดยปกติแล้ว
ค่าใช้จ่ายการลงทุนผมมักจะเทียบกับค่าเสื่อมราคาและดูย้อนหลังไปหลายๆปี
หากว่าบริษัทมีการลงทุนสูงอย่างสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับค่าเสื่อมราคา
ทั้งๆที่รายได้ก็ไม่ได้อะไรมากมาย หรือไม่ได้สร้างธุรกิจใหม่ๆอันนี้ก็ขอบายครับ
แต่หากการลงทุนนั้น ทำไปเพื่อการสร้าง line ธุรกิจใหม่ๆ ไม่ใช่เป็นการซ่อม
แซมเพื่อยืดอายุการใช้งาน ก็ต้องมีการปรับปรุงครับ เช่นหากกิจการทำการ
ซ่อมแซมครั้งใหญ่มาก ซึ่งเราวิเคราะห์แล้วว่าไม่น่าจะเป็นการซ่อมที่เกิดเป็น
ประจำ เช่น TR ที่เมื่อปีสองปีก่อนมีค่าใช้จ่ายตัวนี้มาก เพราะมีการเปลี่ยน line
ที่มีอายุมากกว่า 20 ปี อันนี้ผมก็จะปรับปรุงมันครับ โดยดูใช้ค่าใช้จ่ายเพื่อการ
ลงทุนในอดีตปรับเพิ่มด้วยค่าใช้จ่ายการลงทุนพิเศษหาร 20 เพื่อทำเป็นค่าเฉลี่ย
ในทางกลับกันสำหรับบางกิจการ เงินสดจากกิจกรรมลงทุนอาจจะติดลบ
มากๆ เพราะเกิดจากการที่เค้ามีเงินสดอิสระเหลืออยู่มากครับไม่รู้จะเอาไปทำ
อะไรจะปันผลก็กลัวผู้ถือหุ้นจะโดนหักภาษีเยอะ :lol: บางทีเค้าก็เอาไปลงทุน
ในธนาคารกินดอกเล่นๆก็มี
อันนี้ก็แสดงว่าเป็นการลงทุนที่ไม่เพิ่มมูลค่าครับ แต่หากกันไว้เพื่อลงทุนใน
ปีถัดๆไป ก็ต้องดูว่ากันไว้ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่โดยดูประวัติการใช้เงิน
ย้อนหลังก็จะช่วยให้เห็นภาพของเจตนาของผู้บริหารครับ
ยกตัวอย่างเช่น TR ก็กันไว้ค่อนข้างมากในปีสองปีที่ผ่านมา เพราะต้องการ
ปรับปรุง line การผลิตครั้งใหญ่ แต่หากปีนี้ยังกันไว้เยอะอยู่ล่ะก็...น่าคิดครับ
เพราะบางครั้ง เค้าอาจจะเอาเงินตัวนี้ไปซื้อกิจการร่วมหรือไปลงทุนที่ไม่
คุ้มค่าหรืออาจจะไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของธุรกิจโดยตรง
เงินสดจากการดำเนินงานหักออกด้วยเงินสดจากการลงุทนหลังจากปรับปรุง
ก็จะได้เป็นกระแสเงินสดอิสระ ที่ผมจะนำมาเทียบกับมูลค่าตลาด
"เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน"
ตัวนี้เป็นแหล่งที่มาหรือใช้ไปของเงินสดที่มาจากผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ
ซึ่งรวมทั้งเงินกู้ธนาคารและส่วนเพิ่มทุนและเงินปันผลจ่ายของเจ้าของ
โดยปกติแล้ว หากกิจการสามารถดำเนินงานได้อย่างไม่มีปัญหา ตัวนี้มักจะ
มีเพียงรายการของเงินปันผลจ่ายครับ แต่หากเมื่อใดกิจการเกิดการขาด
สภาพคล่องมากๆ ทำให้ต้องมีการกู้หนี้ยืมสิน ก็ต้องมาพิจารณาว่าเกิดจากอะไรซึ่งอาจจะเกิดจาก
- กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบมากๆ
- กระแสเงินสดจากการลงทุนติดลบมากๆ
ถ้าเป็นกรณีแรก ก็ไม่ค่อยดีนะครับ ต้องมาดูว่าเกิดจากช่วงก่อนหรือหลัง
การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียน
ถ้าเกิดขึ้นก่อน แสดงว่าอาการไม่ดีแล้วล่ะครับ เพราะแสดงว่าเส้นเลือดใหญ่กำลังรั่ว
แต่หากเกิดหลังเงินทุนหมุนเวียน แสดงว่ากิจการกำลังสูญเสียเงินไปจมในลูกหนี้
หรือสินค้าคงเหลือมากเกินไป ให้ลองหาต่ออีกทีว่าเกิดจากปัจจัยใด
ถ้าเป็นกรณีทีสอง ที่เกิดจากเงินลงทุนติดลบมากๆ ก็ต้องมาดูครับว่ากิจการ
ลงทุนไปกับโครงการใด เกี่ยวข้องและส่งเสริมให้ตัวธุรกิจมีอนาคตมากขึ้น
หรือไม่ โดยลองดูประวัติย้อนหลังว่าค่าใช้จ่ายการลงทุนครั้งใหญ่ในอดีตนั้น
ได้ส่งผลต่อกำไรหรือยอดขายในปัจจุบันอย่างไร
กล่าวโดยสรุปมันจะเป็นวงเวียนตามนี้ครับ
จัดหาเงิน --> ใช้เงินเพื่อลงทุน --> ได้เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
--> จัดหาเงิน (จ่ายปันผลและกันเงินสำรองไว้ลงทุนต่อ) --> ใช้เงินเพื่อลงทุน --> ได้เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
วนไปเรื่อยๆครับ
บริษัททีดีก็จะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เป็นบวกสม่ำเสมอและโตขึ้นๆ
แล้วก็นำเงินที่เหลือไปจ่ายเงินปันผลหรือเอาไว้ลงทุนในโครงการที่ได้ผล
ตอบแทนงามๆ มากขึ้นๆ
ปล. เป็นการอธิบายโดยอ้างอิงจากงบของหุ้นที่เป็นการผลิตสินค้าเป็นหลักนะครับ
ส่วนหุ้นประกันหรือธนาคารผมยังไม่สามารถครับ ต้องให้ผู้ช่วยชาญอธิบาย
Inactive investor
- m_mummie
- Verified User
- โพสต์: 218
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 22
เงินสดจากการดำเนินงานหักออกด้วยเงินสดจากการลงุทนหลังจากปรับปรุง
ก็จะได้เป็นกระแสเงินสดอิสระ ที่ผมจะนำมาเทียบกับมูลค่าตลาด
ขอถามคะ เงินสดจากการดำเนินงาน คือเงินสดสุทธิ ใช่ไหมคะ
หักออกด้วย เงินสดสุทธิจากการลงทุน ได้เป็น กระแสเงินสดอิสระ
แล้วนำกระแสเงินสดอิสระเทียบ มูลค่าตลาด
มูลค่าตลาดตัวนี้ คือ ทั้งตลาด หรือเทียบเฉพาะอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้ไหมคะ
ช่วยยกตัวอย่างตัวเลขให้หน่อยนะคะ แล้วค่าที่ได้มาหมายความว่ายังไงคะ
ถ้ามีข้อสงสัยจะเข้ามารบกวนอีกเรื่อยๆ :roll: คะ
ขอบคุณคะ
ก็จะได้เป็นกระแสเงินสดอิสระ ที่ผมจะนำมาเทียบกับมูลค่าตลาด
ขอถามคะ เงินสดจากการดำเนินงาน คือเงินสดสุทธิ ใช่ไหมคะ
หักออกด้วย เงินสดสุทธิจากการลงทุน ได้เป็น กระแสเงินสดอิสระ
แล้วนำกระแสเงินสดอิสระเทียบ มูลค่าตลาด
มูลค่าตลาดตัวนี้ คือ ทั้งตลาด หรือเทียบเฉพาะอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้ไหมคะ
ช่วยยกตัวอย่างตัวเลขให้หน่อยนะคะ แล้วค่าที่ได้มาหมายความว่ายังไงคะ
ถ้ามีข้อสงสัยจะเข้ามารบกวนอีกเรื่อยๆ :roll: คะ
ขอบคุณคะ
--->I Will Survive Yeah....Yeah....<---
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 24
Maket capitalization คือมูลค่าคลาดของหุ้นตัวนั้นตัวเดียวครับ
เช่น หุ้นเทรดที่ราคาขณะนั้น 10 บาทต่อหุ้น
และบริษัททั้งบริษัทมี 1,000,000 หุ้น
จะได้ market cap = 10 ล้านบาทครับ
ถ้าหากบริษัทนั้นมีกระแสเงินสดอิสระเท่ากับ 5 ล้านบาทต่อปี และมีหนี้สิน
จากธนาคารอยู่ 5 ล้านบาท
ก็สามารถคิดง่ายๆได้ว่า เราซื้อธุรกิจที่ราคา 10 ล้าน แต่จะได้เงินสดกลับมา
ปีละ 5 ล้าน และมีหนี้ติดมา 5 ล้าน
ปีแรกเราเอาไปจ่ายธนาคารก่อน 5 ล้าน
ปีที่สองได้เงินกลับมา 5 ล้าน
ปีที่สามได้เงินมาอีก 5 ล้าน
รวมแล้ว 3 ปี ก็คืนทุนครับ
เวลาเทียบเป็น ratio ง่ายก็เอา market cap + หนี้สินธนาคาร
หารด้วยกระแสเงินสดอิสระ
ได้เป็น (10 + 5)/5 = 3 เท่า หรือก็คือ 3 ปีคืนทุนครับ
คิดเป็นผลตอบแทนก็กลับส่วนกัน
สูตรก็คือผลตอบแทนหารเงินลงทุน (รวมหนี้สินด้วย เพราะเป็นเจ้าของเหมือนกัน)
= 5/ (10+5) = 33% ครับ
เวลากรอง ผมก็กรองตัวที่มี return สูงๆ เอามาดูก่อนครับ แล้วค่อยปรับ
กระแสเงินสดเอา หลังจากอ่านข้อมูลเชิงคุณภาพอื่นๆประกอบ
มีกระทู้ของพี่ฉัตรที่เข้าใจง่ายเหมือนกันครับ ในห้องคลังกระทู้คุณค่า
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=526
เช่น หุ้นเทรดที่ราคาขณะนั้น 10 บาทต่อหุ้น
และบริษัททั้งบริษัทมี 1,000,000 หุ้น
จะได้ market cap = 10 ล้านบาทครับ
ถ้าหากบริษัทนั้นมีกระแสเงินสดอิสระเท่ากับ 5 ล้านบาทต่อปี และมีหนี้สิน
จากธนาคารอยู่ 5 ล้านบาท
ก็สามารถคิดง่ายๆได้ว่า เราซื้อธุรกิจที่ราคา 10 ล้าน แต่จะได้เงินสดกลับมา
ปีละ 5 ล้าน และมีหนี้ติดมา 5 ล้าน
ปีแรกเราเอาไปจ่ายธนาคารก่อน 5 ล้าน
ปีที่สองได้เงินกลับมา 5 ล้าน
ปีที่สามได้เงินมาอีก 5 ล้าน
รวมแล้ว 3 ปี ก็คืนทุนครับ
เวลาเทียบเป็น ratio ง่ายก็เอา market cap + หนี้สินธนาคาร
หารด้วยกระแสเงินสดอิสระ
ได้เป็น (10 + 5)/5 = 3 เท่า หรือก็คือ 3 ปีคืนทุนครับ
คิดเป็นผลตอบแทนก็กลับส่วนกัน
สูตรก็คือผลตอบแทนหารเงินลงทุน (รวมหนี้สินด้วย เพราะเป็นเจ้าของเหมือนกัน)
= 5/ (10+5) = 33% ครับ
เวลากรอง ผมก็กรองตัวที่มี return สูงๆ เอามาดูก่อนครับ แล้วค่อยปรับ
กระแสเงินสดเอา หลังจากอ่านข้อมูลเชิงคุณภาพอื่นๆประกอบ
มีกระทู้ของพี่ฉัตรที่เข้าใจง่ายเหมือนกันครับ ในห้องคลังกระทู้คุณค่า
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=526
Inactive investor
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 1
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 25
ขออนุญาติเสริมนิดหนึ่งนะครับ เรื่องหนึ่งที่ควรพิจารณาเพิ่มก็ืคือ การใช้ไปของกระแสเงินสดว่าเหมาะสมหรือเปล่า
เงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร = เงินทุนจากการจัดหาระยะยาว + กำไรบางส่วนจากการดำเินินงาน
ถ้าทำได้ลงตัวแสดงว่าการใช้เงินทุนระยะยาวทำได้ถูกประเภท ถ้าดูแล้ว 2 ส่วนด้านขวามือนี้ไม่พอ แสดงว่ามีการดึงเงินหมุนเวียนมาช่วยด้วย แสดงว่ามีการใช้เงินผิดประเภท ต้องระวังอย่างแรงว่าอาจจะมีปัญหาสภาพคล่องเกิดขึ้นได้
กิจการที่มีลักษณการใช้เงินแบบนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียนจะเร็วกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน (แต่ถ้าเป็นพวก modern trade อาจจะถือว่าไม่ผิดปรกติ เพราะเป็นธรรมชาติของธุรกิจ)
จขท. เขียนอธิบายได้ดีนะครับ
เงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร = เงินทุนจากการจัดหาระยะยาว + กำไรบางส่วนจากการดำเินินงาน
ถ้าทำได้ลงตัวแสดงว่าการใช้เงินทุนระยะยาวทำได้ถูกประเภท ถ้าดูแล้ว 2 ส่วนด้านขวามือนี้ไม่พอ แสดงว่ามีการดึงเงินหมุนเวียนมาช่วยด้วย แสดงว่ามีการใช้เงินผิดประเภท ต้องระวังอย่างแรงว่าอาจจะมีปัญหาสภาพคล่องเกิดขึ้นได้
กิจการที่มีลักษณการใช้เงินแบบนี้ การเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียนจะเร็วกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน (แต่ถ้าเป็นพวก modern trade อาจจะถือว่าไม่ผิดปรกติ เพราะเป็นธรรมชาติของธุรกิจ)
จขท. เขียนอธิบายได้ดีนะครับ
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
- m_mummie
- Verified User
- โพสต์: 218
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 28
มีคำถามอีกแล้วคะ :oops: คือว่า หนี้สินธนาคาร ตัวนี้doodeemak เขียน: เวลาเทียบเป็น ratio ง่ายก็เอา market cap + หนี้สินธนาคาร
หารด้วยกระแสเงินสดอิสระ
ได้เป็น (10 + 5)/5 = 3 เท่า หรือก็คือ 3 ปีคืนทุนครับ
คิดเป็นผลตอบแทนก็กลับส่วนกัน
สูตรก็คือผลตอบแทนหารเงินลงทุน (รวมหนี้สินด้วย เพราะเป็นเจ้าของเหมือนกัน)
= 5/ (10+5) = 33% ครับ
ถ้าบริษัทมีการกู้ยืมจากบริษัทร่วมหรือบริษัทย่อย หรือไปกู้มาจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร อย่างนี้ต้องนำมาคำนวณร่วมกับหนี้สินธนาคารด้วยไหมคะ
เพราะไปดูงบของ se-ed มีทั้ง เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และ เงินกู้ยืมระยะยาว
อย่างนี้ต้องนำมาคำนวณด้วยไหมคะ
--->I Will Survive Yeah....Yeah....<---
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
กฎการกรองหุ้นแบบ doodeemak (เหมาะกับนักลงทุนหน้าใหม่นะครับ)
โพสต์ที่ 29
ต้องรวมด้วยครับ เพราะเป็นเงินกู้ที่มีภาระต้องเสียดอกเบี้ย
แต่ถ้าเป็นหนี้สินที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของกิจการ เช่น เจ้าหนี้การค้า
หรือ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หรือภาษีค้างจ่าย พวกนี้จะไม่ต้องนำมารวมครับ :D
แต่ถ้าเป็นหนี้สินที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติของกิจการ เช่น เจ้าหนี้การค้า
หรือ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หรือภาษีค้างจ่าย พวกนี้จะไม่ต้องนำมารวมครับ :D
Inactive investor