ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
- คนอุดร
- Verified User
- โพสต์: 3386
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
โพสต์ที่ 1
"การควบคุมเงินไว้ ได้ ควบคุมทิศทางของเงินได้ คือ อำนาจที่เหนือกว่า จะคิดเสมอว่าเราคือผู้ควบคุมเงิน เงินไม่ใช่ผู้ควบคุมเรา"
"เงินมีอำนาจของตัวเอง การใช้เงินอาจนำมาซึ่งอำนาจ แต่ส่วนตัวคิดว่าการควบคุมเงินไว้ได้ ควบคุมทิศทางของเงินได้ คือ อำนาจที่เหนือกว่า จะคิดเสมอว่าเราคือผู้ควบคุมเงิน เงินไม่ใช่ผู้ควบคุมเรา" นั่นเป็นมุมมองคมๆ ของ "ดร. ธิดารัตน์ โชคสุชาติ" อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เธอบอกว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้เก็บเงินได้ไม่ใช่การลุกขึ้นมาต่อต้านการใช้เงิน เพราะใครๆ ก็บอกว่า เงินบันดาลสุข ซึ่งก็จริง แต่เธอพบว่าความสุขไม่ได้อยู่ที่การใช้เงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องฉลาดพอที่จะควบคุมเงินได้ ไม่ใช้เรื่อยเปื่อยทุกครั้งที่อยากใช้ อาจเป็นเพราะว่ารูปแบบการใช้ชีวิตของเธออยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง แต่ไม่ใช่เก็บอย่างเดียว เพราะการเก็บเงินไม่ได้แปลว่าเราต้องบีบคั้นตัวเองจนขยับไปทิศทางไหนไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายของตัวเราก่อน สามารถต่อรองและผ่อนปรนกับตัวเราเองได้เสมอ
"ต้องสัญญากับตัวเอง ว่าจะไม่ใช้เงินพร่ำเพรื่อเพื่อสนองความต้องการชั่ววูบอย่างเด็ดขาด เพราะเป้าหมายของการใช้เงินมีไม่กี่อย่างที่สำคัญสำหรับชีวิต ของตัวเองที่สำคัญเลยจะใช้เพื่อให้เราและครอบครัวมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ ดี ใช้เพื่อให้ครอบครัวมีสุขภาพกายและใจที่ดี ใช้ในการศึกษาและพัฒนาความรู้ความสามารถ ใช้เพื่อความมั่นคงในอนาคต ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือบ้างถ้ามีโอกาส ดังนั้นหากต้องใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์นี้ ตัวเองจะต้องคิดไตร่ตรองดีๆ หลายๆ รอบก่อนตัดสินใจจ่าย เชื่อว่าแค่นี้ก็สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ได้ไม่ยาก"
เธอบอกว่า ต้องเข้าใจก่อนว่า การมีเงินมากไม่ได้แปลว่าคุณรวยแบบยั่งยืน การโชคดีได้เงินก้อนใหญ่จากสิ่งใดก็แล้วแต่ก็ไม่ได้แปลว่าคุณรวยแล้ว ตราบใดที่ไม่เข้าใจเรื่องการเงิน คือแม้แต่คนที่รวยมากๆ ก็ยังต้องหัดใช้เงินให้เป็น ดังนั้นไม่ว่าจะมีเงินเท่าไรก็ต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่คุณมีเท่าๆ กัน ง่ายๆ คือ ถ้าไม่รู้จักเงินที่คุณต้องดูแล ก็ไม่มีวันเอาเงินอยู่ ดังนั้นการเอาเงินให้อยู่ ก็ต้องมีการวางแผนการเงิน
"แตกต่างกันแน่ระหว่างคนที่วางแผนการเงินกับคนที่ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ประเภทเรื่อยเปื่อย คือ ใช้เงินพร่ำเพรื่อเพื่อสนองความต้องการชั่ววูบ แต่ประเภทที่วางแผนการเงิน คนกลุ่มนี้จะรู้ว่าการใช้จ่ายของเขามีเป้าหมาย มีคุณค่า รู้วิธีที่จะวางแผนการใช้จ่าย รู้ว่าควรจัดการกับเงินอย่างไร รู้ว่าเงินหายไปไหน รู้วิธีที่จะเก็บเงินให้ได้ "
ทุกวันนี้คนไทยมีการวางแผนทางการเงินมากขึ้น อาจเป็นเพราะประเทศไทยมีประสบการณ์ในวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ทำให้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมสูญเสียความมั่งคั่งไปหลายกลุ่ม ซึ่งประเด็นนี้ทำให้คนในสังคมไทยหันมาให้ความสำคัญและเรียนรู้เกี่ยวกับการ วางแผนการเงิน การจัดการทางการเงินของตัวเองมากขึ้น
" ทางหลักสูตร M.B.A ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติก็ให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวเช่นกัน เรียกได้ว่ามาเรียนที่นี่จะได้ทั้งความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจและการ จัดการทางการเงินไปพร้อมๆ กัน และในอนาคตทางหลักสูตร M.B.A กำลังจะทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีนตามปณิธาน ของท่านคณบดี อาจารย์พิษณุ เหรียญมหาสาร"
ดร.ธิดารัตน์บอกว่าทุกคนมีเป้าหมายทางการเงินเป็นของตัวเอง วิธีที่จะไปถึงเป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีกฎหรือขั้นตอนที่ตายตัว แต่เป็นฟรีสไตล์ สร้างสรรค์ได้ตามใจเรา อย่างของเธอจะแบ่งเงินไว้เหมือนเราแบ่งเค้ก แบ่งเป็นส่วนๆ จะคิดเลยว่า 30% ของรายได้จะไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่เหลือ 70 % จะเก็บออมและลงทุน โดยแบ่งเป็น เงินฝากธนาคาร 30 % ลงทุนในตราสารหนี้ 10 % และ 30 % ที่เหลือจะนำไปลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
ทั้งนี้จะพิจารณาเลือกลงทุนในกลุ่มหุ้นที่ให้ Dividend Yield ที่สูงประมาณ 3% ขึ้นไป ประกอบกับต้องพิจารณาแนวโน้มของธุรกิจที่เราสนใจควบคู่ไปด้วย โดยคอยติดตามข้อมูลข่าวสารภาวะของตลาดและกลุ่มธุรกิจที่เราสนใจลงทุน แค่นี้ก็สามารถสร้าง Wealth ให้กับเงินของเราได้อย่างน่าพอใจ
เธอบอกว่า ทุกวันนี้มีวิธีเช็คสุขภาพการเงินด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ จดบันทึกรายรับ รายจ่ายในแต่ละวัน พอสิ้นเดือนก็สรุปสุขภาพทางการเงินของเราว่ามีรายจ่ายใดบ้างที่ไม่จำเป็น เพื่อทำให้เกิดการใช้จ่ายประจำวันที่เหมาะสม แล้วมีเงินเหลือเพียงพอสำหรับเก็บออมและลงทุนในอนาคต
ทุกวันนี้ การดำเนินชีวิตของเธอยังอยู่บนพื้นฐานของการมีเหตุผลสำหรับการใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ไม่ว่าจะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการลงทุน อย่าให้เงินของเราเกิดค่าเสียโอกาส แต่ไม่ใช่เป็นการเก็บอย่างเดียวเพราะความพอเพียงไม่ได้แปลว่าเราต้องบีบคั้น ตัวเองจนขยับไปทิศทางไหนไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายการใช้เงินของตัวเราก่อนซึ่งสามารถต่อรองและผ่อน ปรนกับตัวเราเองได้เสมอ
"ทุกวันนี้ ถ้าถามว่ามีเรื่องผิดพลาดทางการเงินเกี่ยวกับการใช้เงินฟุ่มเฟือย หรือรูดบัตรเครดิตจนมีหนี้ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับตัวเองนะ ก็เพราะเราไม่ใช้พร่ำเพรื่อหรือเรื่อยเปื่อยทุกครั้งที่อยากใช้ และถึงแม้จะมีการลงทุนในหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ถึง 30% ของรายได้ก็ตาม ก็ไม่เคยขาดทุนจากการลงทุน เพราะทุกครั้งที่ลงทุนในหุ้นของกลุ่มธุรกิจใดก็ตาม ตัวเองจะพิจารณาแนวโน้มของธุรกิจที่เรากำลังสนใจควบคู่ไปด้วย
โดยคอยติดตามข้อมูลข่าวสารภาวะของตลาดและกลุ่มธุรกิจที่เราสนใจลงทุน แค่นี้ก็สามารถสร้าง Wealth ให้กับเงินของเราได้อย่างน่าพอใจ เพราะการลงทุนในหุ้น high risk high return ซึ่งนักลงทุนทุกคนต่างก็รู้กันดี" ดร.ธิดารัตน์พูดทิ้งท้าย
http://bit.ly/cL5PLk
"เงินมีอำนาจของตัวเอง การใช้เงินอาจนำมาซึ่งอำนาจ แต่ส่วนตัวคิดว่าการควบคุมเงินไว้ได้ ควบคุมทิศทางของเงินได้ คือ อำนาจที่เหนือกว่า จะคิดเสมอว่าเราคือผู้ควบคุมเงิน เงินไม่ใช่ผู้ควบคุมเรา" นั่นเป็นมุมมองคมๆ ของ "ดร. ธิดารัตน์ โชคสุชาติ" อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เธอบอกว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้เก็บเงินได้ไม่ใช่การลุกขึ้นมาต่อต้านการใช้เงิน เพราะใครๆ ก็บอกว่า เงินบันดาลสุข ซึ่งก็จริง แต่เธอพบว่าความสุขไม่ได้อยู่ที่การใช้เงินอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องฉลาดพอที่จะควบคุมเงินได้ ไม่ใช้เรื่อยเปื่อยทุกครั้งที่อยากใช้ อาจเป็นเพราะว่ารูปแบบการใช้ชีวิตของเธออยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง แต่ไม่ใช่เก็บอย่างเดียว เพราะการเก็บเงินไม่ได้แปลว่าเราต้องบีบคั้นตัวเองจนขยับไปทิศทางไหนไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายของตัวเราก่อน สามารถต่อรองและผ่อนปรนกับตัวเราเองได้เสมอ
"ต้องสัญญากับตัวเอง ว่าจะไม่ใช้เงินพร่ำเพรื่อเพื่อสนองความต้องการชั่ววูบอย่างเด็ดขาด เพราะเป้าหมายของการใช้เงินมีไม่กี่อย่างที่สำคัญสำหรับชีวิต ของตัวเองที่สำคัญเลยจะใช้เพื่อให้เราและครอบครัวมีชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ ดี ใช้เพื่อให้ครอบครัวมีสุขภาพกายและใจที่ดี ใช้ในการศึกษาและพัฒนาความรู้ความสามารถ ใช้เพื่อความมั่นคงในอนาคต ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือบ้างถ้ามีโอกาส ดังนั้นหากต้องใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์นี้ ตัวเองจะต้องคิดไตร่ตรองดีๆ หลายๆ รอบก่อนตัดสินใจจ่าย เชื่อว่าแค่นี้ก็สามารถรับมือกับภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ได้ไม่ยาก"
เธอบอกว่า ต้องเข้าใจก่อนว่า การมีเงินมากไม่ได้แปลว่าคุณรวยแบบยั่งยืน การโชคดีได้เงินก้อนใหญ่จากสิ่งใดก็แล้วแต่ก็ไม่ได้แปลว่าคุณรวยแล้ว ตราบใดที่ไม่เข้าใจเรื่องการเงิน คือแม้แต่คนที่รวยมากๆ ก็ยังต้องหัดใช้เงินให้เป็น ดังนั้นไม่ว่าจะมีเงินเท่าไรก็ต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่คุณมีเท่าๆ กัน ง่ายๆ คือ ถ้าไม่รู้จักเงินที่คุณต้องดูแล ก็ไม่มีวันเอาเงินอยู่ ดังนั้นการเอาเงินให้อยู่ ก็ต้องมีการวางแผนการเงิน
"แตกต่างกันแน่ระหว่างคนที่วางแผนการเงินกับคนที่ใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ประเภทเรื่อยเปื่อย คือ ใช้เงินพร่ำเพรื่อเพื่อสนองความต้องการชั่ววูบ แต่ประเภทที่วางแผนการเงิน คนกลุ่มนี้จะรู้ว่าการใช้จ่ายของเขามีเป้าหมาย มีคุณค่า รู้วิธีที่จะวางแผนการใช้จ่าย รู้ว่าควรจัดการกับเงินอย่างไร รู้ว่าเงินหายไปไหน รู้วิธีที่จะเก็บเงินให้ได้ "
ทุกวันนี้คนไทยมีการวางแผนทางการเงินมากขึ้น อาจเป็นเพราะประเทศไทยมีประสบการณ์ในวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ทำให้คนกลุ่มต่างๆ ในสังคมสูญเสียความมั่งคั่งไปหลายกลุ่ม ซึ่งประเด็นนี้ทำให้คนในสังคมไทยหันมาให้ความสำคัญและเรียนรู้เกี่ยวกับการ วางแผนการเงิน การจัดการทางการเงินของตัวเองมากขึ้น
" ทางหลักสูตร M.B.A ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติก็ให้ความสำคัญเรื่องดังกล่าวเช่นกัน เรียกได้ว่ามาเรียนที่นี่จะได้ทั้งความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจและการ จัดการทางการเงินไปพร้อมๆ กัน และในอนาคตทางหลักสูตร M.B.A กำลังจะทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีนตามปณิธาน ของท่านคณบดี อาจารย์พิษณุ เหรียญมหาสาร"
ดร.ธิดารัตน์บอกว่าทุกคนมีเป้าหมายทางการเงินเป็นของตัวเอง วิธีที่จะไปถึงเป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่มีกฎหรือขั้นตอนที่ตายตัว แต่เป็นฟรีสไตล์ สร้างสรรค์ได้ตามใจเรา อย่างของเธอจะแบ่งเงินไว้เหมือนเราแบ่งเค้ก แบ่งเป็นส่วนๆ จะคิดเลยว่า 30% ของรายได้จะไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่เหลือ 70 % จะเก็บออมและลงทุน โดยแบ่งเป็น เงินฝากธนาคาร 30 % ลงทุนในตราสารหนี้ 10 % และ 30 % ที่เหลือจะนำไปลงทุนในตราสารทุน เช่น หุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน
ทั้งนี้จะพิจารณาเลือกลงทุนในกลุ่มหุ้นที่ให้ Dividend Yield ที่สูงประมาณ 3% ขึ้นไป ประกอบกับต้องพิจารณาแนวโน้มของธุรกิจที่เราสนใจควบคู่ไปด้วย โดยคอยติดตามข้อมูลข่าวสารภาวะของตลาดและกลุ่มธุรกิจที่เราสนใจลงทุน แค่นี้ก็สามารถสร้าง Wealth ให้กับเงินของเราได้อย่างน่าพอใจ
เธอบอกว่า ทุกวันนี้มีวิธีเช็คสุขภาพการเงินด้วยวิธีง่ายๆ ก็คือ จดบันทึกรายรับ รายจ่ายในแต่ละวัน พอสิ้นเดือนก็สรุปสุขภาพทางการเงินของเราว่ามีรายจ่ายใดบ้างที่ไม่จำเป็น เพื่อทำให้เกิดการใช้จ่ายประจำวันที่เหมาะสม แล้วมีเงินเหลือเพียงพอสำหรับเก็บออมและลงทุนในอนาคต
ทุกวันนี้ การดำเนินชีวิตของเธอยังอยู่บนพื้นฐานของการมีเหตุผลสำหรับการใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ไม่ว่าจะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการลงทุน อย่าให้เงินของเราเกิดค่าเสียโอกาส แต่ไม่ใช่เป็นการเก็บอย่างเดียวเพราะความพอเพียงไม่ได้แปลว่าเราต้องบีบคั้น ตัวเองจนขยับไปทิศทางไหนไม่ได้ ต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายการใช้เงินของตัวเราก่อนซึ่งสามารถต่อรองและผ่อน ปรนกับตัวเราเองได้เสมอ
"ทุกวันนี้ ถ้าถามว่ามีเรื่องผิดพลาดทางการเงินเกี่ยวกับการใช้เงินฟุ่มเฟือย หรือรูดบัตรเครดิตจนมีหนี้ สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับตัวเองนะ ก็เพราะเราไม่ใช้พร่ำเพรื่อหรือเรื่อยเปื่อยทุกครั้งที่อยากใช้ และถึงแม้จะมีการลงทุนในหุ้นที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ถึง 30% ของรายได้ก็ตาม ก็ไม่เคยขาดทุนจากการลงทุน เพราะทุกครั้งที่ลงทุนในหุ้นของกลุ่มธุรกิจใดก็ตาม ตัวเองจะพิจารณาแนวโน้มของธุรกิจที่เรากำลังสนใจควบคู่ไปด้วย
โดยคอยติดตามข้อมูลข่าวสารภาวะของตลาดและกลุ่มธุรกิจที่เราสนใจลงทุน แค่นี้ก็สามารถสร้าง Wealth ให้กับเงินของเราได้อย่างน่าพอใจ เพราะการลงทุนในหุ้น high risk high return ซึ่งนักลงทุนทุกคนต่างก็รู้กันดี" ดร.ธิดารัตน์พูดทิ้งท้าย
http://bit.ly/cL5PLk
"มันไม่ใช่หุ้นหรอกที่จะทำให้เรารวย แต่สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับหุ้นต่างหากที่จะทำให้เราร่ำรวยได้"
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
โพสต์ที่ 3
"อำนาจที่เหนือกว่า จะคิดเสมอว่าเราคือผู้ควบคุมเงิน"
อ่านยังไงก็รู้ว่าผู้พูดเป็นผู้หญิง เพราะพูดเหมือนกันหมดทุกครอบครัว
อ่านยังไงก็รู้ว่าผู้พูดเป็นผู้หญิง เพราะพูดเหมือนกันหมดทุกครอบครัว
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
โพสต์ที่ 6
เพื่อนๆผมหลายคน บอกว่าเขา(สามี)เป็นคนควบคุมเรื่องเงิน และจัดการเรื่องทุกอย่างภายในบ้านทั้งเล็กและใหญ่นพพร เขียน:ของผมภรรยาเป็นผู้ควบคุมเงินครับ ควบคุมได้ดีซะด้วย
แต่ว่าภรรยาเป็นคนควบคุมเขา(สามี)อีกต่อนึง
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1242
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
โพสต์ที่ 7
เท่าที่พบเห็นนะครับ
คนที่มักพูดว่าเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด ในชีวิตพบว่าเขามักมีปัญหาทางการเงิน หนี้สิน ปวดหัว เดือนชนเดือนอยู่ร่ำไป
ส่วนคนที่มักบอกว่า เงินทองเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ หรือ เรียกง่าย ๆ ว่า เงินเป็นสิ่งสำคัญ เขาจะบริหารเงินได้ดี ใช้จ่ายอย่างสมดุลและมีเหลือเก็บ
มันแปลกดีนะครับ
คนที่มักพูดว่าเงินไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด ในชีวิตพบว่าเขามักมีปัญหาทางการเงิน หนี้สิน ปวดหัว เดือนชนเดือนอยู่ร่ำไป
ส่วนคนที่มักบอกว่า เงินทองเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ หรือ เรียกง่าย ๆ ว่า เงินเป็นสิ่งสำคัญ เขาจะบริหารเงินได้ดี ใช้จ่ายอย่างสมดุลและมีเหลือเก็บ
มันแปลกดีนะครับ
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
โพสต์ที่ 8
รายได้ 100%
เก็บ 70%
ใช้จ่าย 30%
เงินเดือนเยอะนะครับเนี้ย แซวๆ
ผมว่าเรื่องการเงินมันเรื่องเฉพาะบุคคลจริงๆ
บางคนคิดว่าเงินทองเป็นของนอกกาย ตายไปก็เอาไปไม่ได้
บางคนบอกมีเงินก็ต้องใช้ดิ ไม่ใช่ไว้เก็บ เด๋วรถชนตายไปก็ไม่ได้ใช้
บางคนใช้จ่ายอย่างประหยัด โดนด่าว่างก
บางคนซื้อของใช้ low price โนแบรนด์มาใช้โดนหาว่าโง่
มันนานาจิตตัง จริงๆ ครับ บางทีพูดมากก็ไม่ได้ มันต้องคิดได้เอาเอง
เก็บ 70%
ใช้จ่าย 30%
เงินเดือนเยอะนะครับเนี้ย แซวๆ
ผมว่าเรื่องการเงินมันเรื่องเฉพาะบุคคลจริงๆ
บางคนคิดว่าเงินทองเป็นของนอกกาย ตายไปก็เอาไปไม่ได้
บางคนบอกมีเงินก็ต้องใช้ดิ ไม่ใช่ไว้เก็บ เด๋วรถชนตายไปก็ไม่ได้ใช้
บางคนใช้จ่ายอย่างประหยัด โดนด่าว่างก
บางคนซื้อของใช้ low price โนแบรนด์มาใช้โดนหาว่าโง่
มันนานาจิตตัง จริงๆ ครับ บางทีพูดมากก็ไม่ได้ มันต้องคิดได้เอาเอง
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1400
- ผู้ติดตาม: 0
ดร.ธิดารัตน์ โชคสุชาติ..'เรา คือ ผู้ควบคุมเงิน'
โพสต์ที่ 9
[quote="luckyman"]รายได้ 100%
เก็บ 70%
ใช้จ่าย 30%
เงินเดือนเยอะนะครับเนี้ย
เก็บ 70%
ใช้จ่าย 30%
เงินเดือนเยอะนะครับเนี้ย
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง