ญี่ปุ่นย้ายฐานเก๋งเล็กเข้าไทย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1488
- ผู้ติดตาม: 0
ญี่ปุ่นย้ายฐานเก๋งเล็กเข้าไทย
โพสต์ที่ 1
ญี่ปุ่นย้ายฐานเก๋งเล็กเข้าไทย
ไทยขึ้นชั้นฐานการผลิตเก๋งเล็กของโลกแทนญี่ปุ่น ค่ายรถยักษ์ใหญ่หนีเยนแข็งแห่ย้ายสายการผลิตเข้ามาปักหลักต่อเนื่อง ชี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตลง ฟอร์ดขอลุยตลาดบี-คาร์ เคาะราคาเฟียสต้าเริ่มต้นที่ 3.29 แสนบาท ขอแจมส่วนแบ่งตลาดจากมาร์ชที่ซิวยอดขายร้อนแรง วงการชี้ตลาดรถเก๋งเล็กเติบโตต่อเนื่อง ชี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแล้ว นิสสันมั่นใจย้ายฐานมาร์ชมาไทยช่วยลดต้นทุนให้แข่งขันได้
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ต่างชาติยังมีความมั่นใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย โดยล่าสุด โตโยต้าฉลองความสำเร็จในการส่งออกรถปิกอัพ วีโก้ และฟอร์จูนเนอร์ จากประเทศไทยไปทั่วโลก ครบ 1 ล้านคัน ขณะที่มิตซูบิชิ ฉลองการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ครบ 2 ล้านคัน ส่วนนิสสันเริ่มต้นสายการผลิตนิสสัน มาร์ช อีโคคาร์คันแรกของไทย เพื่อส่งออกกลับไปขายที่ญี่ปุ่น เช่นเดียวกับฟอร์ด ที่เริ่มสายการผลิตรถยนต์นั่งขนาด ซับ คอมแพ็กต์ "ฟอร์ด เฟียสต้า" จากโรงงานออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังประกาศตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่มูลค่า 15,000 ล้านบาท เพื่อย้ายสายการผลิตรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็กต์ ฟอร์ด โฟกัส ใหม่ จากฟิลิปปินส์ มายังประเทศไทยด้วย
-ค่ายญี่ปุ่นแห่ย้ายรง.เข้าไทย
"บริษัทรถยนต์ยังมั่นใจและเชื่อมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทย ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่น ต่างย้ายฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กมายังประเทศไทย แทนการผลิตในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งเงินเยนแข็งค่าถึง 80 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้แข่งขันได้ยาก การย้ายฐานรถเล็กมาผลิตในประเทศไทย ทำให้การผลิตมีต้นทุนที่ต่ำลง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งการย้ายฐานมาไทยไม่ได้ย้ายโรงงานประกอบเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ย้ายตามมาด้วย ซึ่งทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้"
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ ซึ่งแต่ละรายมีกำลังการผลิตปีละ 100,000 คัน ล่าสุด นิสสัน ซึ่งเป็นรายแรกที่ผลิตอีโคคาร์ในไทย ได้ส่งออก มาร์ช กลับไปขายที่ญี่ปุ่นแล้ว และเป็นตัวอย่างให้บริษัทรถยนต์รายอื่น ๆ มีความมั่นใจมากขึ้น จึงเร่งเครื่องการพัฒนาอีโคคาร์ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฮอนด้า ที่จะเปิดตัวอีโคคาร์ภายในปี 2554 ส่วนซูซูกิ คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวในปี 2554-2555 มิตซูบิชิต้องสร้างโรงงานใหม่มูลค่า 15,000 ล้านบาท เพื่อผลิตอีโคคาร์ในปี 2555 ส่วนโตโยต้าน่าจะเป็นรายท้ายสุด"
-ฟอร์ดเข็น"เฟียสต้า"บี้"มาร์ช"
นายปีเตอร์ ฟลีต ประธานฟอร์ด อาเซียน กล่าวว่า ฟอร์ดได้ทำการเปิดสายการผลิตรถยนต์ฟอร์ด เฟียสต้า อย่างเป็นทางการแล้ว ณ โรงงานประกอบรถยนต์ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) และจะทำการผลิตเฟียสต้า ทั้งรุ่นซีดาน 4 ประตู และรุ่นแฮตช์แบ็ก 5 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1.4 ลิตร และ 1.6 ลิตร สนนราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 529,000 บาท และสูงสุดในรุ่นท็อป 654,000 บาท
สำหรับเฟียสต้า สไตล์ แบบ 4 ประตู ติดตั้งเครื่องยนต์ 1.4 ลิตร และระบบส่งกำลังเกียร์ธรรมดา ราคา 529,000 บาท หรือรถรุ่นนี้ยังมีตัวเลือกระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ที่ราคา 564,000 บาท ส่วนเฟียสต้า สไตล์ รุ่น 5 ประตู เครื่องยนต์ 1.4 ลิตร มาพร้อมระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ ราคา 574,000 บาท
ด้านราคาของเฟียสต้ารุ่นเทรนด์ พร้อมเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร คือ 644,000 บาท สำหรับรุ่น 4 ประตู และ 654,000 บาท สำหรับรุ่น 5 ประตู และเฟียสต้ายังมีรุ่นสูงสุดให้เลือก คือรุ่นสปอร์ตในราคา 699,000 บาท สำหรับทั้งรุ่น 4 และ 5 ประตู โดยรุ่น 4 ประตู ได้เพิ่มเบาะหนังแบบพรีเมียม และระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์ติดตั้งมาตรฐาน
นายฟลีต กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยในส่วนของตลาดประเทศไทยจะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนสิงหาคม และจะเริ่มส่งมอบรถยนต์เฟียสต้าให้กับตัวแทนผู้จำหน่ายฟอร์ดที่มีเกือบ 100 แห่งทั่วประเทศได้ในเดือนกันยายนนี้ เช่นเดียวกับตลาดส่งออกก็จะเริ่มทยอยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในเบื้องต้นฟอร์ดไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายยอดขายของรถรุ่นนี้ไว้แต่อย่างใด แต่คาดหวังว่าจะขายได้มากเท่าที่สามารถผลิตออกมาได้ และสัดส่วนการผลิตในปัจจุบันของฟอร์ด เฟียสต้า เมื่อรวมกับมาสด้า 2 ที่ประกอบในโรงงานเดียวกันนี้อยู่ที่ 100,000 คัน
-ชี้คนไทยเปลี่ยนมาชอบรถเล็ก
ปัจจุบันฟอร์ดมีส่วนแบ่งทางการตลาดจำนวนน้อยกว่า 2% เช่นเดียวกับในอาเซียนก็ยังคงน้อยอยู่ ปัจจัยที่ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยนั้น มาจากการมีผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ครอบคลุมในเซ็กเมนต์ต่าง ๆ ซึ่งหลังจากที่มีการผลิตฟอร์ด เฟียสต้าออกมา ก็ทำให้ฟอร์ดมั่นใจว่าจะเป็นการแก้ไขจุดอ่อนตรงนี้ นอกจากนั้นแล้วการลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่ ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฟอร์ด โฟกัส ก็จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งและสามารถทำให้ฟอร์ดกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
นายฟลีต กล่าวว่า ตลาดรถบี-คาร์ (รถซับคอมแพ็กต์) ที่คิดเป็น 20 % ของยอดขายรถรวมทั้งหมดนั้น มีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยหันมาเลือกรถยนต์ขนาดเล็ก ที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งการตัดสินใจเปิดตัวเฟียสต้ากับตลาดในช่วงจังหวะนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามาแข่งขัน แม้ว่าภาพของการแข่งขันจะดูรุนแรง เพราะมีรถหลายรุ่น และรถอีโคคาร์ของนิสสัน มาร์ช
ด้านนายราช แนร์ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนีฯ กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการผลิตเฟียสต้าในเครื่องยนต์ดีเซลว่า ต้องดูความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยว่ามีมากน้อยเพียงใด เพราะในตลาดต่างประเทศฟอร์ดมีการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลในรุ่นเฟียสต้าอยู่แล้ว
ขณะที่ความสนใจเรื่องนโยบายพลังงานทางเลือกอย่าง อี 85 นั้น ฟอร์ดต้องดูนโยบายของภาครัฐว่าเป็นอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังต้องรอให้รัฐบาลมีความแน่นอนก่อน เช่นเดียวกับดูตลาดอาเซียนด้วยว่ามีการตอบรับกับพลังงานทางเลือกนี้อย่างไรด้วย
ก่อนหน้านี้ ในเดือนมิถุนายน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท (หรือ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ที่พร้อมไปด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ในจังหวัดระยอง ประเทศไทย โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555 โดยโรงงานแห่งนี้จะเริ่มผลิตรถยนต์ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ ในปี 2555 เพื่อป้อนตลาดในประเทศไทยรวมถึงการส่งไปจำหน่ายยังตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ด้วยการเป็นโรงงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ฟอร์ดมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นในอนาคต
เดิมฟอร์ดมีแผนจะเปิดโรงงานแห่งนี้ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ปัญหาที่ศาลปกครองสั่งชะลอการลงทุนชั่วคราว ทำให้ฟอร์ดตัดสินใจย้ายไปตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรม เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่จะมีกำลังการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 คันต่อปี โดยผลิตเพื่อการส่งออก 85 % จำหน่ายในประเทศ 15 % โดยมีการจ้างงานใหม่ได้สูงสุดถึง 11,000 ตำแหน่ง โดยจะเป็นตำแหน่งงานที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จ้างโดยตรงสูงสุดถึง 2,200 ตำแหน่ง และเป็นการจ้างงานผ่านทางเครือข่ายซัพพลายเออร์ และดีลเลอร์อีกถึง 8,800 ตำแหน่ง
-ไทยแถวหน้าโรงงานเก๋งเล็กของโลก
นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ฉลองการผลิตรถยนต์มิตซูบิชิในประเทศไทย ครบ 2 ล้านคัน จากสายพานการผลิต จากโรงงานประกอบรถยนต์มิตซูบิชิ ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โรงงานประกอบรถยนต์ 2 แห่ง มีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 200,000 คันต่อปี โดยปัจจุบันทำการผลิตรถยนต์ มิตซูบิชิเพื่อการจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายยังกว่า 140 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย โดยยอดการผลิต 2 ล้านคันดังกล่าวเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,246,480 คัน หรือ ประมาณ 62% และเพื่อการจำหน่ายในประเทศ 753,520 คัน หรือ 38 %
นายคาร์ลอส กอส์น ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า นิสสัน ก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง จากการทำธุรกิจมายาวนานกว่า 37 ปี ด้วยการส่งออกรถยนต์นิสสัน มาร์ช ซึ่งเป็นรถยนต์อีโค คาร์ คันแรกของประเทศไทย ไปยังตลาดประเทศญี่ปุ่น และตลาดหลักอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยที่มีต่อภูมิภาคเอเชีย ในฐานะฐานการผลิตรถยนต์คอมแพ็กต์รุ่นใหม่ที่จะจำหน่ายทั่วโลก
ทั้งนี้ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการผลิต หรือ LCC (Leading Competitive Countries) เช่นเดียวกับประเทศจีน อินเดียและเม็กซิโก โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม LCC นี้คือ ประเทศที่มีโรงงานผลิตที่ผลักดันให้ใช้ศักยภาพการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดสากล ด้วยการผลิตรถยนต์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพสูงสุดภายใต้ต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้
ในปีงบประมาณ 2553 นี้ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด วางแผนที่จะส่งออกนิสสัน มาร์ช จำนวนกว่า 70,000 คันไปยังตลาดเอเชียและโอเชียเนีย (ไม่รวมประเทศจีน) ขณะเดียวกันก็ผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นนี้จะเป็นรุ่นแรกที่ประกอบในเมืองไทยและส่งกลับไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น โดยนิสสัน ประเทศไทยจะส่งออกรถยนต์และรถปิกอัพทั้งสิ้น 150,000 คันในปีงบประมาณนี้
นายโทรุ ฮาเซกาวา ประธาน บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานภูมิภาค รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย (ยกเว้นประเทศจีน) กล่าวว่า เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยเติบโตขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกนิสสัน มาร์ช นับเป็นการเปิดบทบาทใหม่ที่สำคัญยิ่งให้กับนิสสัน ประเทศไทย เพราะเป็นการแสดงถึงศักยภาพ ความแข็งแกร่งในด้านการผลิต การค้นคว้าและพัฒนา วิศวกรรมและการเอาใจใส่ต่อลูกค้า จุดมุ่งหมายของเราคือการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า รวมถึงลูกค้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความถึงการควบคุมคุณภาพการผลิตรถนิสสันจะต้องดีเยี่ยม 200 % โดยไม่มีการประนีประนอมใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จจากการเปิดตัวรถอีโค คาร์ หรือจะเป็นเรื่องของการส่งออกรถยนต์รุ่นนี้ในขณะนี้ ก็ถือเป็นก้าวเริ่มต้นที่ดีของนิสสัน ประเทศไทยทั้งสิ้น
อนึ่ง โครงการอีโคคาร์ของไทยถูกผลักดันเป็นนโยบายสำคัญ เพื่อดึงดูดการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ระดับโลก โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรมยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จากกลุ่มรถปิกอัพ ซึ่งไทยเป็นเจ้าตลาดอยู่ก่อนแล้ว ขยายไปสู่ฐานการผลิตรถนั่งขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ เป็นการรองรับแนวโน้มการใช้รถประหยัดพลังงานของโลกด้วย ส่งผลดึงดูดให้ค่ายรถทั่วโลกหันย้ายฐานการผลิตเก๋งเล็กสู่ประเทศไทยในเวลานี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,546 8-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=417
ไทยขึ้นชั้นฐานการผลิตเก๋งเล็กของโลกแทนญี่ปุ่น ค่ายรถยักษ์ใหญ่หนีเยนแข็งแห่ย้ายสายการผลิตเข้ามาปักหลักต่อเนื่อง ชี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตลง ฟอร์ดขอลุยตลาดบี-คาร์ เคาะราคาเฟียสต้าเริ่มต้นที่ 3.29 แสนบาท ขอแจมส่วนแบ่งตลาดจากมาร์ชที่ซิวยอดขายร้อนแรง วงการชี้ตลาดรถเก๋งเล็กเติบโตต่อเนื่อง ชี้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแล้ว นิสสันมั่นใจย้ายฐานมาร์ชมาไทยช่วยลดต้นทุนให้แข่งขันได้
นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการ สถาบันยานยนต์ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ต่างชาติยังมีความมั่นใจในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย โดยล่าสุด โตโยต้าฉลองความสำเร็จในการส่งออกรถปิกอัพ วีโก้ และฟอร์จูนเนอร์ จากประเทศไทยไปทั่วโลก ครบ 1 ล้านคัน ขณะที่มิตซูบิชิ ฉลองการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ครบ 2 ล้านคัน ส่วนนิสสันเริ่มต้นสายการผลิตนิสสัน มาร์ช อีโคคาร์คันแรกของไทย เพื่อส่งออกกลับไปขายที่ญี่ปุ่น เช่นเดียวกับฟอร์ด ที่เริ่มสายการผลิตรถยนต์นั่งขนาด ซับ คอมแพ็กต์ "ฟอร์ด เฟียสต้า" จากโรงงานออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ยังประกาศตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่มูลค่า 15,000 ล้านบาท เพื่อย้ายสายการผลิตรถยนต์นั่งขนาดคอมแพ็กต์ ฟอร์ด โฟกัส ใหม่ จากฟิลิปปินส์ มายังประเทศไทยด้วย
-ค่ายญี่ปุ่นแห่ย้ายรง.เข้าไทย
"บริษัทรถยนต์ยังมั่นใจและเชื่อมั่นที่จะลงทุนในประเทศไทย ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่น ต่างย้ายฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กมายังประเทศไทย แทนการผลิตในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง อีกทั้งเงินเยนแข็งค่าถึง 80 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้แข่งขันได้ยาก การย้ายฐานรถเล็กมาผลิตในประเทศไทย ทำให้การผลิตมีต้นทุนที่ต่ำลง สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ซึ่งการย้ายฐานมาไทยไม่ได้ย้ายโรงงานประกอบเพียงอย่างเดียว แต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนก็ย้ายตามมาด้วย ซึ่งทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้"
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานหรืออีโคคาร์ ซึ่งแต่ละรายมีกำลังการผลิตปีละ 100,000 คัน ล่าสุด นิสสัน ซึ่งเป็นรายแรกที่ผลิตอีโคคาร์ในไทย ได้ส่งออก มาร์ช กลับไปขายที่ญี่ปุ่นแล้ว และเป็นตัวอย่างให้บริษัทรถยนต์รายอื่น ๆ มีความมั่นใจมากขึ้น จึงเร่งเครื่องการพัฒนาอีโคคาร์ให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นฮอนด้า ที่จะเปิดตัวอีโคคาร์ภายในปี 2554 ส่วนซูซูกิ คาดว่าจะเริ่มเปิดตัวในปี 2554-2555 มิตซูบิชิต้องสร้างโรงงานใหม่มูลค่า 15,000 ล้านบาท เพื่อผลิตอีโคคาร์ในปี 2555 ส่วนโตโยต้าน่าจะเป็นรายท้ายสุด"
-ฟอร์ดเข็น"เฟียสต้า"บี้"มาร์ช"
นายปีเตอร์ ฟลีต ประธานฟอร์ด อาเซียน กล่าวว่า ฟอร์ดได้ทำการเปิดสายการผลิตรถยนต์ฟอร์ด เฟียสต้า อย่างเป็นทางการแล้ว ณ โรงงานประกอบรถยนต์ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) และจะทำการผลิตเฟียสต้า ทั้งรุ่นซีดาน 4 ประตู และรุ่นแฮตช์แบ็ก 5 ประตู ขนาดเครื่องยนต์ 1.4 ลิตร และ 1.6 ลิตร สนนราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 529,000 บาท และสูงสุดในรุ่นท็อป 654,000 บาท
สำหรับเฟียสต้า สไตล์ แบบ 4 ประตู ติดตั้งเครื่องยนต์ 1.4 ลิตร และระบบส่งกำลังเกียร์ธรรมดา ราคา 529,000 บาท หรือรถรุ่นนี้ยังมีตัวเลือกระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ที่ราคา 564,000 บาท ส่วนเฟียสต้า สไตล์ รุ่น 5 ประตู เครื่องยนต์ 1.4 ลิตร มาพร้อมระบบส่งกำลังเกียร์อัตโนมัติ ราคา 574,000 บาท
ด้านราคาของเฟียสต้ารุ่นเทรนด์ พร้อมเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร คือ 644,000 บาท สำหรับรุ่น 4 ประตู และ 654,000 บาท สำหรับรุ่น 5 ประตู และเฟียสต้ายังมีรุ่นสูงสุดให้เลือก คือรุ่นสปอร์ตในราคา 699,000 บาท สำหรับทั้งรุ่น 4 และ 5 ประตู โดยรุ่น 4 ประตู ได้เพิ่มเบาะหนังแบบพรีเมียม และระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์ติดตั้งมาตรฐาน
นายฟลีต กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยในส่วนของตลาดประเทศไทยจะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนสิงหาคม และจะเริ่มส่งมอบรถยนต์เฟียสต้าให้กับตัวแทนผู้จำหน่ายฟอร์ดที่มีเกือบ 100 แห่งทั่วประเทศได้ในเดือนกันยายนนี้ เช่นเดียวกับตลาดส่งออกก็จะเริ่มทยอยส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในเบื้องต้นฟอร์ดไม่ได้มีการตั้งเป้าหมายยอดขายของรถรุ่นนี้ไว้แต่อย่างใด แต่คาดหวังว่าจะขายได้มากเท่าที่สามารถผลิตออกมาได้ และสัดส่วนการผลิตในปัจจุบันของฟอร์ด เฟียสต้า เมื่อรวมกับมาสด้า 2 ที่ประกอบในโรงงานเดียวกันนี้อยู่ที่ 100,000 คัน
-ชี้คนไทยเปลี่ยนมาชอบรถเล็ก
ปัจจุบันฟอร์ดมีส่วนแบ่งทางการตลาดจำนวนน้อยกว่า 2% เช่นเดียวกับในอาเซียนก็ยังคงน้อยอยู่ ปัจจัยที่ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยนั้น มาจากการมีผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ครอบคลุมในเซ็กเมนต์ต่าง ๆ ซึ่งหลังจากที่มีการผลิตฟอร์ด เฟียสต้าออกมา ก็ทำให้ฟอร์ดมั่นใจว่าจะเป็นการแก้ไขจุดอ่อนตรงนี้ นอกจากนั้นแล้วการลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่ ซึ่งจะเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฟอร์ด โฟกัส ก็จะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งและสามารถทำให้ฟอร์ดกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง
นายฟลีต กล่าวว่า ตลาดรถบี-คาร์ (รถซับคอมแพ็กต์) ที่คิดเป็น 20 % ของยอดขายรถรวมทั้งหมดนั้น มีแนวโน้มเติบโต เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยหันมาเลือกรถยนต์ขนาดเล็ก ที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งการตัดสินใจเปิดตัวเฟียสต้ากับตลาดในช่วงจังหวะนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีและเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามาแข่งขัน แม้ว่าภาพของการแข่งขันจะดูรุนแรง เพราะมีรถหลายรุ่น และรถอีโคคาร์ของนิสสัน มาร์ช
ด้านนายราช แนร์ รองประธานฝ่ายปฏิบัติการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนีฯ กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการผลิตเฟียสต้าในเครื่องยนต์ดีเซลว่า ต้องดูความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยว่ามีมากน้อยเพียงใด เพราะในตลาดต่างประเทศฟอร์ดมีการพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลในรุ่นเฟียสต้าอยู่แล้ว
ขณะที่ความสนใจเรื่องนโยบายพลังงานทางเลือกอย่าง อี 85 นั้น ฟอร์ดต้องดูนโยบายของภาครัฐว่าเป็นอย่างไร ซึ่งขณะนี้ยังต้องรอให้รัฐบาลมีความแน่นอนก่อน เช่นเดียวกับดูตลาดอาเซียนด้วยว่ามีการตอบรับกับพลังงานทางเลือกนี้อย่างไรด้วย
ก่อนหน้านี้ ในเดือนมิถุนายน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท (หรือ 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ที่พร้อมไปด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ในจังหวัดระยอง ประเทศไทย โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555 โดยโรงงานแห่งนี้จะเริ่มผลิตรถยนต์ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ ในปี 2555 เพื่อป้อนตลาดในประเทศไทยรวมถึงการส่งไปจำหน่ายยังตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ ด้วยการเป็นโรงงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ฟอร์ดมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ได้หลากหลายรุ่นในอนาคต
เดิมฟอร์ดมีแผนจะเปิดโรงงานแห่งนี้ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ปัญหาที่ศาลปกครองสั่งชะลอการลงทุนชั่วคราว ทำให้ฟอร์ดตัดสินใจย้ายไปตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรม เหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่จะมีกำลังการผลิตเบื้องต้นอยู่ที่ 150,000 คันต่อปี โดยผลิตเพื่อการส่งออก 85 % จำหน่ายในประเทศ 15 % โดยมีการจ้างงานใหม่ได้สูงสุดถึง 11,000 ตำแหน่ง โดยจะเป็นตำแหน่งงานที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จ้างโดยตรงสูงสุดถึง 2,200 ตำแหน่ง และเป็นการจ้างงานผ่านทางเครือข่ายซัพพลายเออร์ และดีลเลอร์อีกถึง 8,800 ตำแหน่ง
-ไทยแถวหน้าโรงงานเก๋งเล็กของโลก
นายโนบุยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้ฉลองการผลิตรถยนต์มิตซูบิชิในประเทศไทย ครบ 2 ล้านคัน จากสายพานการผลิต จากโรงงานประกอบรถยนต์มิตซูบิชิ ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โรงงานประกอบรถยนต์ 2 แห่ง มีกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 200,000 คันต่อปี โดยปัจจุบันทำการผลิตรถยนต์ มิตซูบิชิเพื่อการจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายยังกว่า 140 ประเทศทั่วโลกอีกด้วย โดยยอดการผลิต 2 ล้านคันดังกล่าวเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,246,480 คัน หรือ ประมาณ 62% และเพื่อการจำหน่ายในประเทศ 753,520 คัน หรือ 38 %
นายคาร์ลอส กอส์น ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า นิสสัน ก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่ง จากการทำธุรกิจมายาวนานกว่า 37 ปี ด้วยการส่งออกรถยนต์นิสสัน มาร์ช ซึ่งเป็นรถยนต์อีโค คาร์ คันแรกของประเทศไทย ไปยังตลาดประเทศญี่ปุ่น และตลาดหลักอื่น ๆ ในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยที่มีต่อภูมิภาคเอเชีย ในฐานะฐานการผลิตรถยนต์คอมแพ็กต์รุ่นใหม่ที่จะจำหน่ายทั่วโลก
ทั้งนี้ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำ ที่มีศักยภาพในการแข่งขันด้านการผลิต หรือ LCC (Leading Competitive Countries) เช่นเดียวกับประเทศจีน อินเดียและเม็กซิโก โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม LCC นี้คือ ประเทศที่มีโรงงานผลิตที่ผลักดันให้ใช้ศักยภาพการผลิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดสากล ด้วยการผลิตรถยนต์ที่ได้มาตรฐานและคุณภาพสูงสุดภายใต้ต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้
ในปีงบประมาณ 2553 นี้ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด วางแผนที่จะส่งออกนิสสัน มาร์ช จำนวนกว่า 70,000 คันไปยังตลาดเอเชียและโอเชียเนีย (ไม่รวมประเทศจีน) ขณะเดียวกันก็ผลิตเพื่อป้อนสู่ตลาดประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยนิสสัน มาร์ช รุ่นนี้จะเป็นรุ่นแรกที่ประกอบในเมืองไทยและส่งกลับไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น โดยนิสสัน ประเทศไทยจะส่งออกรถยนต์และรถปิกอัพทั้งสิ้น 150,000 คันในปีงบประมาณนี้
นายโทรุ ฮาเซกาวา ประธาน บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานภูมิภาค รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย (ยกเว้นประเทศจีน) กล่าวว่า เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยเติบโตขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกนิสสัน มาร์ช นับเป็นการเปิดบทบาทใหม่ที่สำคัญยิ่งให้กับนิสสัน ประเทศไทย เพราะเป็นการแสดงถึงศักยภาพ ความแข็งแกร่งในด้านการผลิต การค้นคว้าและพัฒนา วิศวกรรมและการเอาใจใส่ต่อลูกค้า จุดมุ่งหมายของเราคือการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า รวมถึงลูกค้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความถึงการควบคุมคุณภาพการผลิตรถนิสสันจะต้องดีเยี่ยม 200 % โดยไม่มีการประนีประนอมใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จจากการเปิดตัวรถอีโค คาร์ หรือจะเป็นเรื่องของการส่งออกรถยนต์รุ่นนี้ในขณะนี้ ก็ถือเป็นก้าวเริ่มต้นที่ดีของนิสสัน ประเทศไทยทั้งสิ้น
อนึ่ง โครงการอีโคคาร์ของไทยถูกผลักดันเป็นนโยบายสำคัญ เพื่อดึงดูดการลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ระดับโลก โดยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ อดีตรัฐมนตรีอุตสาหกรรมยุครัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จากกลุ่มรถปิกอัพ ซึ่งไทยเป็นเจ้าตลาดอยู่ก่อนแล้ว ขยายไปสู่ฐานการผลิตรถนั่งขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ เป็นการรองรับแนวโน้มการใช้รถประหยัดพลังงานของโลกด้วย ส่งผลดึงดูดให้ค่ายรถทั่วโลกหันย้ายฐานการผลิตเก๋งเล็กสู่ประเทศไทยในเวลานี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,546 8-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=417
ในการลงทุนระยะยาว ใครนิ่งได้มากกว่า คนนั้นชนะ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
ญี่ปุ่นย้ายฐานเก๋งเล็กเข้าไทย
โพสต์ที่ 3
Detroit of asia :8) :8)
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
ญี่ปุ่นย้ายฐานเก๋งเล็กเข้าไทย
โพสต์ที่ 5
ยานยนต์ ยังแรงได้อีกสิเนี่ย :shock:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/