IAS 19 employee benefit

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
auspicja
Verified User
โพสต์: 404
ผู้ติดตาม: 0

IAS 19 employee benefit

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผม copy มาจากไหนจำไม่ได้ครับ///


จากข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้มักจะมีแต่ข่าวเกี่ยวกับการปิดกิจการของบริษัท ทำให้ต้องมีการชำระบัญชีและต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง และเป็นเรื่องปกติที่หลายๆบริษัทไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายให้แก่พนักงาน เนื่องจากไม่ได้มีการเก็บหรือกันสำรองเงินเอาไว้ เพราะในปัจจุบันตามมาตรฐานบัญชีของไทยจะรับรู้ค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจ่ายผลประโยชน์พนักงานก็ต่อเมื่อได้จ่ายเงินแล้ว หรือที่เรียกว่า การลงบัญชีตามเกณฑ์เงินสด (cash basis) ซึ่งจะแตกต่างกับการลงบัญชีตามเกณฑ์สิทธิ (accrual basis) ที่จะต้องรับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่ายตามสิทธิที่จะได้รับ หรือภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงิน

        ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัททราบล่วงหน้าว่าจะมีการลดกำลังการผลิตเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในปีหน้า และมีผลให้ต้องเลิกจ้างงานพนักงานจำนวนหนึ่ง บริษัทก็จะต้องทำการคำนวณว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยจำนวนเท่าไร จากนั้นก็ต้องมีการทยอยตัดค่าใช้จ่ายเป็นเงินค่าชดเชย ถึงแม้จะยังไม่ได้จ่ายในปีนี้ ไปเรื่อยๆจนครบตามจำนวนเงินชดเชยที่ต้องจ่ายในวันที่จะต้องจ่ายเงินชดเชยจริง หรือเพื่อให้ง่ายขอยกตัวอย่างเป็นตัวเลข สมมติบริษัทผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งต้องจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างในปี 2551 จำนวน 10 ล้านบาท บริษัทก็ต้องทยอยตัดค่าใช้จ่าย ถ้าเริ่มตั้งในปี 2550 ก็จะมีเวลา 2 ปีในการทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายในการเลิกจ้างพนักงานในปี 2550 เท่ากับ 5 ล้าน และ ปี 2551 อีก 5 ล้าน พอปลายปี 2551 ก็จะมีเงินจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อจ่ายเป็นค่าชดเชยการเลิกจ้าง

        จากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามาตรฐานบัญชีสากล หรือ IAS กำหนดให้บริษัทต้องบันทึกบัญชีตามเกณสิทธิ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการรับรู้หนี้สินตามที่ควรจะเป็น IAS19 Employee Benefit เป็นมาตรฐานบัญชีผลประโยชน์พนักงานที่ครอบคลุมการจ่ายผลประโยชน์พนักงาน ทั้งในระยะสั้น เช่น เงินเดือน โบนัส และระยะยาว เช่น ผลประโยชน์การเกษียณอายุ การเลิกจ้างโดยนายจ้าง เป็นต้น ในเรื่องผลประโยชน์ระยะสั้นที่บริษัทต้องจ่ายภายใน 12 เดือนนั้นการบันทึกบัญชีไม่ซับซ้อนเพราะไม่ต้องมีการคำนวณอะไร ตามมาตรฐาน IAS19 ก็ให้ตัดค่าใช้จ่ายตามที่มีการจ่ายจริง แต่สำหรับผลประโยชน์ในระยะยาวซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต หรือมากกว่า 12 เดือนนั้น ต้องอาศัยการคำนวณตามวิธีทางคณิตศาสตร์ประกันภัยที่กำหนด (Actuarial valuation method) คือ วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected unit cost - PUC)

        สำหรับในประเทศไทย หากมีการนำ IAS19 มาใช้ ผลประโยชน์พนักงานอะไรที่เป็นระยะยาวและเข้าข่าย IAS19 ต้องมีการคำนวณและทยอยตัดค่าใช้จ่าย หนึ่งในผลประโยชน์พนักงานที่มักถูกมองข้ามแม้กระทั่งพนักงานเองก็ตาม คือ ผลประโยชน์เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ที่มีการกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยในกรณีเลิกจ้าง ซึ่งการเลิกจ้างนี้รวมถึงการเกษียณอายุด้วย ดังนั้นนายจ้างต้องมีการตั้งสำรองในการจ่ายเงินชดเชยลูกจ้างในวันที่ลูกจ้างเกษียณอายุ โดยจำนวนเงินที่จ่ายก็จะต้องเป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายแรงงาน หากลูกจ้างทำงานมาเป็นเวลา 10 ปีจะได้เงินชดเชยค่าจ้างสูงถึง 300 วัน (หรือ 10 เดือน) ของเงินค่าจ้างก่อนวันเกษียณอายุ

        การตั้งหนี้สินเพื่อเอาไว้จ่ายชดเชยการเกษียณอายุอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลายๆบริษัท แต่สำหรับบริษัทข้ามชาติที่มีสาขา หรือบริษัทสัญชาติไทยที่มีการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะทวีปยุโรป หรือ อเมริกา (ในอเมริกาจะเป็นมาตรฐานบัญชี FAS87) ที่มีหลักการคล้ายกับ IAS19 ส่วนในทวีปเอเชียนั้นประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีการประกาศใช้ IAS19 และมีผลบังคับใช้กับบริษัทในประเทศญี่ปุ่นมาหลายปีก่อน และจะมีการใช้กับบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วยในปี 2552 ส่วนประเทศในแถบอาเซียนด้วยกันนั้นก็มีการประกาศใช้มาตรฐานบัญชีโดยยึด IAS19 เป็นต้นแบบในการจัดทำ ใกล้ตัวเราเข้ามาในประเทศไทยก็ได้มีการร่างมาตรฐานบัญชีไทย (Thailand Accounting Standard) ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2554 โดยอาจเริ่มใช้สำหรับบริษัทมหาชนที่มีขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก่อน แล้วค่อยทยอยให้บริษัทขนาดกลางและเล็กต้องนำมาใช้ในลำดับต่อมา ต้องคอยติดตามข่าวจากทางสภาวิชาชีพบัญชีฯ

        การให้ความสำคัญและสนใจในการรับรู้ข่าวสารและหลักการของ IAS19 จะทำให้ผู้บริหารรวมถึงคณะกรรมการบริหารบริษัทมีความพร้อมในการปรับตัวและอยู่ในสภาพที่รู้ถึงผลกระทบต่องบการเงินของบริษัท เมื่อมีการประกาศใช้ IAS19 ตามแบบฉบับมาตรฐานบัญชีไทย ผลกระทบต่องบการเงินที่กล่าวถึงได้เกิดขึ้นกับหลายๆบริษัทในหลายประเทศที่ประกาศใช้ IAS19 เป็นครั้งแรกถึงขั้นต้องควบรวมกิจการก็มีให้เห็นมาแล้วในประเทศญี่ปุ่น ในมุมมองของท่านผู้ถือหุ้นจะได้รู้ถึงพันธะที่บริษัทมีต่อพนักงาน ที่ไม่เคยมีการบันทึกบัญชีรับรู้ถึงพันธสัญญาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลิกจ้าง และการเกษียณอายุ โดยสังเกตได้จากข่าวที่มีการประท้วงของพนักงานหรือสหภาพแรงงานเมื่อมีการเลิกจ้างหรือปิดกิจการ



ขอถามว่า มาตรฐานบช นี้จะใช้ในปี 54 จะมีผลต่อการ dilute ราคาหุ้นมากมั้ยครับ
ยิ่งรู้มากขึ้น ทำให้เข้าใจว่าเรานี่ช่างอ่อนหัดยิ่งนัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
doodeemak
Verified User
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

IAS 19 employee benefit

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คิดว่ามีเกือบทุกตัวแล้วนะครับในตลาด เพราะเค้าเตรียมพร้อมกันแต่เนิ่นๆ

จึงคิดว่าผลกระทบคงไม่มากเพราะรับรู้เป็นปกติอยู่แล้ว

หากในระหว่างปีหากไม่มีอะไรที่แปลกประหลาดมาก เช่นการปิดกิจการตามที่บทความกล่าว

ลองดูในงบดุลฝั่งหนี้สินดูนะครับชื่อว่า "ประมาณการผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน"
Inactive investor
auspicja
Verified User
โพสต์: 404
ผู้ติดตาม: 0

IAS 19 employee benefit

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ
ยิ่งรู้มากขึ้น ทำให้เข้าใจว่าเรานี่ช่างอ่อนหัดยิ่งนัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 0

IAS 19 employee benefit

โพสต์ที่ 4

โพสต์

น่าจะกระทบมากกรณีที่บริษัท ให้ผลตอบแทนหลังเกษียณเยอะ นะครับ
เพราะแทนที่จะไปรับรู้วันที่พนักงานเกษียณกลับต้องมารับรู้ระหว่างที่พนักงานทำงาน คงต้องจับตาดูบริษัทที่ค่าใช้จ่ายพนักงานเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ๆ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
maradona
Verified User
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

IAS 19 employee benefit

โพสต์ที่ 5

โพสต์

IAS19 กับ IAS39 ต่างกันมากไหมครับ เพราะที่บริษัทกำลังทำ IAS39 อยู่นะครับ
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

IAS 19 employee benefit

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อย่างนี้ ปตท โดนหนัก
โพสต์โพสต์