ประกวดหุ้นดี จากที่เงินบาทแข็งมากที่สุด
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
ประกวดหุ้นดี จากที่เงินบาทแข็งมากที่สุด
โพสต์ที่ 3
TVO ครับ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
ประกวดหุ้นดี จากที่เงินบาทแข็งมากที่สุด
โพสต์ที่ 6
PICNIC N-PARK ITV DOI FIN1
ลงทุนเพื่อชีวิต
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
ประกวดหุ้นดี จากที่เงินบาทแข็งมากที่สุด
โพสต์ที่ 7
เปิดโผหุ้นรับผลดี-ผลเสียบาทแข็งค่า
เงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า กรณ์'ลั่นไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด กูรูชี้อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า ส่วนชิ้นส่วนอิเลคฯ -อาหาร กระทบหนักสุด เตือนระวังแรงขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
****'กรณ์'เผยไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยเพื่อหวังส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด
'เก็งกำไรผ่านตลาดหลักทรัพย์ไม่มี เพราะถ้าจะมาเอากำไรจากแค่ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน มันยังมีความเสี่ยงเรื่องราคาหุ้น ไม่คุ้มที่จะลงทุน...ส่วนตราสารหนี้ที่เข้ามาซื้อขายเปลี่ยนมือมากขึ้น ก็ได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด' นายกรณ์ กล่าว
ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้ ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีมาตรการในการดูแลเงินบาทอยู่แล้ว และมีอำนาจที่สามารถจะดำเนินการได้
'ตอนนี้แบงก์ชาติมีมาตรการที่จะเข้ามาดูแล ไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไปอยู่แล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของแบงก์ชาติ ที่สามารถดำเนินการได้' รมว.คลังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 8% เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาครองจากเยน ญี่ปุ่น และ ริงกิต มาเลเซีย โดยล่าสุดเงินบาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 30.73/76
ซึ่งอยู่ในระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยในปีนี้ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 26% โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน ขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี ที่ 944.64 และล่าสุดอยู่ที่ 936.54 จุด
****กูรูฟันธงเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) มีมติล่าสุดให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% และยังมีมติเห็นชอบมาตรการการนำรายได้จากตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS) และตราสารที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันของเฟนนี เม และเฟรดดี แมคซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 1.3-2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลานับจากนี้ไปซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาล การดำเนินงานในครั้งนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินครั้งสำคัญจากเดิมที่คณะกรรมการ Fed วางแผนที่จะใช้ยุทธศาสตร์ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(Exit Strategy) แบบค่อยเป็นค่อยไป สู่การตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในประวัติการณ์ไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง การล่าช้าของการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบปกติ (Interest rate normalization) ไปกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียหรือแม้กระทั่งในยุโรป จะนำไปสู่การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินหลักในระยะเวลายาวนานและเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ รายงานฉบับนี้เราจึงได้ปรับคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเพื่อสะท้อนมุมมองต่อการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับค่าเงินบาท และทำให้เราเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการไหลเข้าของเงินทุนโลกจะเข้าสู่ประเทศในเอเชีย
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เจ้าหน้านี้ถกเถียงกันในเรื่องของการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้เมื่อคราวที่สหรัฐเผชิญวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดได้บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2010 อาทิ ตัวเลขการว่างงานในระดับสูงมากและการที่ตำแหน่งงานว่าจ้างใหม่ในระดับต่ำรวมไปถึงตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ที่หดตัวลงล้วนเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและอาจนำไปสู่การหดตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐมากยิ่งขึ้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2010 ด้วยเสียง 9 ต่อ 1 เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯยังคงมีความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและนโยบายการเงินที่จะทำดำเนินการต่อไปนี้จะช่วยไม่ให้สหรัฐฯประสบกับภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สองหรือแม้แต่ภาวะเงินฝืด ทั้งนี้คณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบที่จะให้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขั้นต้นด้วยการใช้เงินที่จะได้จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันและตราสารหนี้ของรัฐบาลไปลงทุนต่อในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ซึ่งหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไปอีก Fed ยังมีความพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มในพันธบัตรระยะยาวเพิ่มเติม
ในวันก่อนหน้าที่ Fed จะประกาศนโยบายการเงิน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐผันผวนอ่อนค่าลงมากน้อยตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่ประกาศออกมาในแต่ละสัปดาห์ แต่เนื่องจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าทรงตัวไม่สะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทั้งจากยอดขาดดุลแฝด (Twin deficits), ภาวะหนี้ต่างประเทศที่มากขึ้น และภาวะตกต่ำของตลาดแรงงานที่มีอัตราการว่างงาน 10% เป็นต้น เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Fed ในครั้งนี้จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากนี้เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเริ่มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐเฉลี่ยราว 7.4% จากต้นปี โดยค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น 9.4%YTD เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากที่สุดในบรรดา 10 ประเทศที่เราทำการศึกษา ทั้งนี้ ค่าเงินริงกิตประเทศมาเลเซีย (+9.2%), ค่าเงินบาท (+7.4%), ค่าเงินรูเปี๊ยของอินโดนีเซีย (+5.3%), ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ (+4.4%), ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (+4.3%) แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 2, 3, 4, 5 และ 6 ตามลำดับ ในส่วนของค่าเงินหยวนประเทศจีน ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง ค่าเงินวอนเกาหลี และค่าเงินรูปีอินเดียไม่มากก็น้อยผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นค่าเงินของประเทศเหล่านี้จึงแข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินประเทศอื่น
ฝ่ายกลยุทธ์ของเราได้ปรับคาดการณ์ค่าเงินบาทต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็น 30.25 บาทในปี 2010 และเป็น 29.13 บาทในปี 2011 จากเดิมที่คาดการณ์ที่ 32.74 บาท และ 32 บาทตามลำดับ แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแล้ว 7.4% YTD แต่มีแนวโน้มว่าเงินบาทยังจะแข็งค่าได้อีกต่อเนื่อง
****อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุได้รับผลบวก
1)กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุก่อสร้าง รายได้เป็นเงินบาททั้งหมด แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบ เหล็ก และเครื่องจักรซึ่งจะนำเข้าได้ถูกลง หากพิจารณาจากราคาหุ้นปัจจุบัน LPN, SPALI, STEC, CK น่าสนใจเพราะราคาหุ้นได้ปรับฐานลงมาแล้ว
2) กลุ่มเหล็ก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศทั้งหมด โดย SSI ได้รับผลบวกมากสุด แต่เนื่องจาก SSI ยังมีประเด็นเรื่องเพิ่มทุนรออยู่ข้างหน้า เราจึงไม่แนะนำ SSI ในขณะนี้ แต่เห็นว่า TSTH เป็นทางเลือกที่ดีกว่า
3)กลุ่มสื่อสาร รายได้ทั้งหมดเป็นเงินบาทแต่มีการนำเข้าอุปกรณ์โครงข่าย และโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศ จึงได้รับผลบวกเมื่อบาทแข็งค่า โดยเฉพาะ TRUE ซึ่งมีหนี้ต่างประเทศด้วย จึงได้รับผลบวกมากที่สุด
4)อื่นๆ TVO, TASCO
****เปิดโผหุ้นรับผลลบๆสุด หลังบาทแข็ง
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก มีกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบได้แก่
1)กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ ได้รับผลกระทบจำกัด เพราะแม้จะส่งออก 100% แต่ก็นำเข้าวัตถุดิบ 100% เช่นกัน และหลายบริษัทมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้บ้างแล้ว ผลกระทบจึงค่อนข้างจำกัด เราประเมินว่าทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบกับกำไรของกลุ่มนี้ 2% - 8% หุ้น KCE, DELTA ยังเป็น Top picks ในกลุ่มนี้
2)กลุ่มอาหาร STA ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดเพราะต้นทุนเป็นเงินบาททั้งหมด แต่ส่งออกประมาณ 80% ขณะที่ GFPT และ TUF ได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด ส่วน CPF ไม่ได้รับผลกระทบเพราะ Natural hedge กันพอดี
3)กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ได้รับผลกระทบจำกัด ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรของกลุ่มนี้จะลดลงเพียง 2% - 4% หุ้นที่ราคามี upside เมื่อเทียบกับเป้าหมายของเราคือ PTTCH, PTTAR และ PTTEP
4)THCOM ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดในกลุ่มสื่อสาร เพราะมีรายได้ในรูปดอลลาร์ถึงประมาณ 70%
5)อื่นๆ AOT, VNG
****โบรกฯเตือนระวังต่างชาติเทขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
นายพิชัย เลิศสุพงษ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บล. ธนชาต กล่าวว่า สาเหตุการแข็งค่าของค่าเงินบาทขณะนี้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเกินดุลอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้ว่ามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้น เป็นไปตามทิศทางเดียวกับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย หลังจากที่เศรษฐกิจไทยและประเทศเอเชียขยายตัวดีกว่าประเทศกลุ่มหลัก ได้แก่ ประเทศยุโรป และประเทศสหรัฐฯ จึงทำให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ต้องมีมาตรการมาควบคุมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพราะเกรงว่าภาวะเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลตอบแทนจึงเพิ่มมากขึ้นทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศไทยสูง ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเป็นที่น่าพอใจ ทำให้เม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่จากการประเมินเม็ดเงินดังกล่าวส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้
สำหรับปัจจัยบวกจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มหลัก อาทิ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพานิชย์ ส่วนบริษัทฯที่ทำธุรกิจส่งออกและนำเข้าในตลาดฯมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น ภาพรวมการได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งจึงยังมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินบาทยังมีสัญญาณที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่าหลุด 30 บาท จนอยู่ระดับแถวๆ 29 บาทกว่า ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มทยอยขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร แม้ว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่หากยังไม่แข็งค่าอย่างรวดเร็วจนเกินไป การลงทุนในตลาดหุ้นก็ยังน่าสนใจอยู่เนื่องจากประเมินว่าดัชนีฯยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไป ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน เพราะอาจจะเผชิญแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไปโดยแตะที่ระดับ 30 บาท ก็เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการออกมาดูแลค่าเงินบาท โดยเฉพาะกรณีการสกัดกั้นเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ
ด้านนายจักรกริช เจริญเมธาชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า จากแนวโน้มของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในส่วนของปัจจัยบวกประเมินว่าน่าจะส่งผลดีต่อกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ให้ไหลเข้ามาเก็งกำไรทั้งในตลาดหุ้นและค่าเงิน รวมทั้งยังส่งผลดีต่อบริษัทที่นำเข้าให้มีความได้เปรียบแต่ยังถือภาคธุรกิจนำเข้ามีสัดส่วนน้อยเมื่อดูภาคธุรกิจอื่น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงพบว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯในขณะนี้ถือว่าเกินปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าน่าจุดสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 950 จุดจาก Fund Flow ที่ไหลเข้ามาโดยขาดปัจจัยพื้นฐานรองรับมีโอกาสที่ดัชนีฯที่ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1,000 จุดได้ โดยในระยะสั้นหากค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องหลุดที่ลงไปต่ำกว่า 31 บาท มีโอกาสที่รัฐบาลอาจออกมาตรการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของประเทศซึ่งภาคที่สัดส่วนสูงและส่งผลรวมต่อการขยายทางเศรษฐกิจ(GDP)ของประเทศ และยังกระทบต่อธุรกิจพลังงาน หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 31.50 บาท เริ่มมีผู้ประกอบการส่งออกเริ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการดูแลเงินบาท ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีนโยบายออกมาก็อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
ประกอบกับหากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไปอาจมีความกังวลที่จะส่งผลกระทบต่อดัชนีฯให้ปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่มีสัดส่วรนการส่งออกสูง
กลยุทธ์การลงทุนจากทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องถือเป็นจังหวะดีแนะนำทยอยขายลดพอร์ต ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นแนะนำให้เทรดดิ้งจบในวัน
เงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า กรณ์'ลั่นไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด กูรูชี้อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า ส่วนชิ้นส่วนอิเลคฯ -อาหาร กระทบหนักสุด เตือนระวังแรงขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
****'กรณ์'เผยไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยเพื่อหวังส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด
'เก็งกำไรผ่านตลาดหลักทรัพย์ไม่มี เพราะถ้าจะมาเอากำไรจากแค่ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน มันยังมีความเสี่ยงเรื่องราคาหุ้น ไม่คุ้มที่จะลงทุน...ส่วนตราสารหนี้ที่เข้ามาซื้อขายเปลี่ยนมือมากขึ้น ก็ได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด' นายกรณ์ กล่าว
ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้ ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีมาตรการในการดูแลเงินบาทอยู่แล้ว และมีอำนาจที่สามารถจะดำเนินการได้
'ตอนนี้แบงก์ชาติมีมาตรการที่จะเข้ามาดูแล ไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไปอยู่แล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของแบงก์ชาติ ที่สามารถดำเนินการได้' รมว.คลังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 8% เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาครองจากเยน ญี่ปุ่น และ ริงกิต มาเลเซีย โดยล่าสุดเงินบาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 30.73/76
ซึ่งอยู่ในระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยในปีนี้ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 26% โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน ขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี ที่ 944.64 และล่าสุดอยู่ที่ 936.54 จุด
****กูรูฟันธงเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) มีมติล่าสุดให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% และยังมีมติเห็นชอบมาตรการการนำรายได้จากตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS) และตราสารที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันของเฟนนี เม และเฟรดดี แมคซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 1.3-2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลานับจากนี้ไปซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาล การดำเนินงานในครั้งนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินครั้งสำคัญจากเดิมที่คณะกรรมการ Fed วางแผนที่จะใช้ยุทธศาสตร์ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(Exit Strategy) แบบค่อยเป็นค่อยไป สู่การตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในประวัติการณ์ไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง การล่าช้าของการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบปกติ (Interest rate normalization) ไปกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียหรือแม้กระทั่งในยุโรป จะนำไปสู่การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินหลักในระยะเวลายาวนานและเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ รายงานฉบับนี้เราจึงได้ปรับคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเพื่อสะท้อนมุมมองต่อการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับค่าเงินบาท และทำให้เราเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการไหลเข้าของเงินทุนโลกจะเข้าสู่ประเทศในเอเชีย
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เจ้าหน้านี้ถกเถียงกันในเรื่องของการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้เมื่อคราวที่สหรัฐเผชิญวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดได้บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2010 อาทิ ตัวเลขการว่างงานในระดับสูงมากและการที่ตำแหน่งงานว่าจ้างใหม่ในระดับต่ำรวมไปถึงตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ที่หดตัวลงล้วนเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและอาจนำไปสู่การหดตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐมากยิ่งขึ้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2010 ด้วยเสียง 9 ต่อ 1 เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯยังคงมีความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและนโยบายการเงินที่จะทำดำเนินการต่อไปนี้จะช่วยไม่ให้สหรัฐฯประสบกับภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สองหรือแม้แต่ภาวะเงินฝืด ทั้งนี้คณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบที่จะให้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขั้นต้นด้วยการใช้เงินที่จะได้จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันและตราสารหนี้ของรัฐบาลไปลงทุนต่อในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ซึ่งหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไปอีก Fed ยังมีความพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มในพันธบัตรระยะยาวเพิ่มเติม
ในวันก่อนหน้าที่ Fed จะประกาศนโยบายการเงิน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐผันผวนอ่อนค่าลงมากน้อยตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่ประกาศออกมาในแต่ละสัปดาห์ แต่เนื่องจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าทรงตัวไม่สะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทั้งจากยอดขาดดุลแฝด (Twin deficits), ภาวะหนี้ต่างประเทศที่มากขึ้น และภาวะตกต่ำของตลาดแรงงานที่มีอัตราการว่างงาน 10% เป็นต้น เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Fed ในครั้งนี้จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากนี้เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเริ่มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐเฉลี่ยราว 7.4% จากต้นปี โดยค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น 9.4%YTD เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากที่สุดในบรรดา 10 ประเทศที่เราทำการศึกษา ทั้งนี้ ค่าเงินริงกิตประเทศมาเลเซีย (+9.2%), ค่าเงินบาท (+7.4%), ค่าเงินรูเปี๊ยของอินโดนีเซีย (+5.3%), ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ (+4.4%), ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (+4.3%) แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 2, 3, 4, 5 และ 6 ตามลำดับ ในส่วนของค่าเงินหยวนประเทศจีน ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง ค่าเงินวอนเกาหลี และค่าเงินรูปีอินเดียไม่มากก็น้อยผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นค่าเงินของประเทศเหล่านี้จึงแข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินประเทศอื่น
ฝ่ายกลยุทธ์ของเราได้ปรับคาดการณ์ค่าเงินบาทต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็น 30.25 บาทในปี 2010 และเป็น 29.13 บาทในปี 2011 จากเดิมที่คาดการณ์ที่ 32.74 บาท และ 32 บาทตามลำดับ แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแล้ว 7.4% YTD แต่มีแนวโน้มว่าเงินบาทยังจะแข็งค่าได้อีกต่อเนื่อง
****อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุได้รับผลบวก
1)กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุก่อสร้าง รายได้เป็นเงินบาททั้งหมด แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบ เหล็ก และเครื่องจักรซึ่งจะนำเข้าได้ถูกลง หากพิจารณาจากราคาหุ้นปัจจุบัน LPN, SPALI, STEC, CK น่าสนใจเพราะราคาหุ้นได้ปรับฐานลงมาแล้ว
2) กลุ่มเหล็ก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศทั้งหมด โดย SSI ได้รับผลบวกมากสุด แต่เนื่องจาก SSI ยังมีประเด็นเรื่องเพิ่มทุนรออยู่ข้างหน้า เราจึงไม่แนะนำ SSI ในขณะนี้ แต่เห็นว่า TSTH เป็นทางเลือกที่ดีกว่า
3)กลุ่มสื่อสาร รายได้ทั้งหมดเป็นเงินบาทแต่มีการนำเข้าอุปกรณ์โครงข่าย และโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศ จึงได้รับผลบวกเมื่อบาทแข็งค่า โดยเฉพาะ TRUE ซึ่งมีหนี้ต่างประเทศด้วย จึงได้รับผลบวกมากที่สุด
4)อื่นๆ TVO, TASCO
****เปิดโผหุ้นรับผลลบๆสุด หลังบาทแข็ง
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก มีกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบได้แก่
1)กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ ได้รับผลกระทบจำกัด เพราะแม้จะส่งออก 100% แต่ก็นำเข้าวัตถุดิบ 100% เช่นกัน และหลายบริษัทมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้บ้างแล้ว ผลกระทบจึงค่อนข้างจำกัด เราประเมินว่าทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบกับกำไรของกลุ่มนี้ 2% - 8% หุ้น KCE, DELTA ยังเป็น Top picks ในกลุ่มนี้
2)กลุ่มอาหาร STA ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดเพราะต้นทุนเป็นเงินบาททั้งหมด แต่ส่งออกประมาณ 80% ขณะที่ GFPT และ TUF ได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด ส่วน CPF ไม่ได้รับผลกระทบเพราะ Natural hedge กันพอดี
3)กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ได้รับผลกระทบจำกัด ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรของกลุ่มนี้จะลดลงเพียง 2% - 4% หุ้นที่ราคามี upside เมื่อเทียบกับเป้าหมายของเราคือ PTTCH, PTTAR และ PTTEP
4)THCOM ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดในกลุ่มสื่อสาร เพราะมีรายได้ในรูปดอลลาร์ถึงประมาณ 70%
5)อื่นๆ AOT, VNG
****โบรกฯเตือนระวังต่างชาติเทขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
นายพิชัย เลิศสุพงษ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บล. ธนชาต กล่าวว่า สาเหตุการแข็งค่าของค่าเงินบาทขณะนี้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเกินดุลอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้ว่ามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้น เป็นไปตามทิศทางเดียวกับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย หลังจากที่เศรษฐกิจไทยและประเทศเอเชียขยายตัวดีกว่าประเทศกลุ่มหลัก ได้แก่ ประเทศยุโรป และประเทศสหรัฐฯ จึงทำให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ต้องมีมาตรการมาควบคุมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพราะเกรงว่าภาวะเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลตอบแทนจึงเพิ่มมากขึ้นทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศไทยสูง ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเป็นที่น่าพอใจ ทำให้เม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่จากการประเมินเม็ดเงินดังกล่าวส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้
สำหรับปัจจัยบวกจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มหลัก อาทิ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพานิชย์ ส่วนบริษัทฯที่ทำธุรกิจส่งออกและนำเข้าในตลาดฯมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น ภาพรวมการได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งจึงยังมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินบาทยังมีสัญญาณที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่าหลุด 30 บาท จนอยู่ระดับแถวๆ 29 บาทกว่า ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มทยอยขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร แม้ว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่หากยังไม่แข็งค่าอย่างรวดเร็วจนเกินไป การลงทุนในตลาดหุ้นก็ยังน่าสนใจอยู่เนื่องจากประเมินว่าดัชนีฯยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไป ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน เพราะอาจจะเผชิญแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไปโดยแตะที่ระดับ 30 บาท ก็เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการออกมาดูแลค่าเงินบาท โดยเฉพาะกรณีการสกัดกั้นเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ
ด้านนายจักรกริช เจริญเมธาชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า จากแนวโน้มของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในส่วนของปัจจัยบวกประเมินว่าน่าจะส่งผลดีต่อกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ให้ไหลเข้ามาเก็งกำไรทั้งในตลาดหุ้นและค่าเงิน รวมทั้งยังส่งผลดีต่อบริษัทที่นำเข้าให้มีความได้เปรียบแต่ยังถือภาคธุรกิจนำเข้ามีสัดส่วนน้อยเมื่อดูภาคธุรกิจอื่น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงพบว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯในขณะนี้ถือว่าเกินปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าน่าจุดสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 950 จุดจาก Fund Flow ที่ไหลเข้ามาโดยขาดปัจจัยพื้นฐานรองรับมีโอกาสที่ดัชนีฯที่ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1,000 จุดได้ โดยในระยะสั้นหากค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องหลุดที่ลงไปต่ำกว่า 31 บาท มีโอกาสที่รัฐบาลอาจออกมาตรการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของประเทศซึ่งภาคที่สัดส่วนสูงและส่งผลรวมต่อการขยายทางเศรษฐกิจ(GDP)ของประเทศ และยังกระทบต่อธุรกิจพลังงาน หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 31.50 บาท เริ่มมีผู้ประกอบการส่งออกเริ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการดูแลเงินบาท ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีนโยบายออกมาก็อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
ประกอบกับหากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไปอาจมีความกังวลที่จะส่งผลกระทบต่อดัชนีฯให้ปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่มีสัดส่วรนการส่งออกสูง
กลยุทธ์การลงทุนจากทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องถือเป็นจังหวะดีแนะนำทยอยขายลดพอร์ต ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นแนะนำให้เทรดดิ้งจบในวัน