'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท เบื้องต้น เล็งใช้ 3 มาตรการดูแล
ระบุ จะคำนึงถึงความเหมาะสม
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่ง
ประเทศได้นำเสนอมาตรการ ดูแลปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
5 มาตรการเบื้องต้น จะใช้มาตรการ 3 ใน 5 มาตรการเข้ามาดูแลค่าเงินบาท โดยจะพิจารณาถึง
ในแง่ของความเหมาะสมในการช่วยลดแรงกดดันในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน
'ทั้ง 5 มาตรการ ธปท.ได้เสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ซึ่งโดยหลัก
การไม่ได้มีปัญหาอะไร โดยเบื้องต้นจะนำ 3 มาตรการภายใน 5 มาตรการออกมาใช้เพื่อมาดูแล
ค่าเงินบาท โดยจะคำนึงในเรื่องของความเหมาะสมเพื่อลดความกดดันในเรื่องของอัตราแลก
เปลี่ยน โดยที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ดำเนินการอยู่แล้ว' รมว.คลัง กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ เนื่องจาก
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังมีความอ่อนแอกว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงส่งผลให้อัตรา
แลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท ที่ ธปท. นำเสนอกระทรวงการคลัง
1 การพิจารณาให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยลงทุนในบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศได้มากขึ้น
2 การให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยสามารถให้นิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ
กู้ยืมเงินเป็นสกุลต่างประเทศในจำนวนมากขึ้น เพื่อทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลออกเพื่อลดแรงกดดันอัตราแลกเปลี่ยน
3 การพิจารณาที่จะเพิ่มวงเงินที่นิติบุคคลหรือบุคคลโอนออกไปซื้ออสังหาริมทรัพย์
ในต่างประเทศ จากเดิมที่จำกัดไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีข้อเสนอจาก ธปท.เพื่อเพิ่มเพดานเป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ
4 การให้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินสกุลเงินตรา
ต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ ให้มียอดเงินคงค้างในบัญชีได้สูงถึง 5 แสนเหรียญสหรัฐ
5 มาตรการขยายวงเงินค่าสินค้าส่งออกที่ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาในประเทศเพิ่มขึ้น
จาก ณ ปัจจุบัน 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ เป็น 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ
เรียบเรียง โดย อิทธิพล พันธ์ธรรม
อนุมัติ โดย ดวงสุรีย์ วายุบุตร์
อีเมล์แสดงความคิดเห็น [email protected]
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 1
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 2
อยากให้ยกเลิกการจัดเก็บภาษี จากกำไรในต่างประเทศด้วย
แล้วก็พวกภาษีซ้ำซ้อนทั้งหลาย
จะได้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของคนไทย ที่จะโกอินเตอร์..
ทำให้นึกถึงยุทธศาสตร์ห่านบิน ของญี่ปุ่นเลย :8)
แล้วก็พวกภาษีซ้ำซ้อนทั้งหลาย
จะได้เป็นประโยชน์กับธุรกิจของคนไทย ที่จะโกอินเตอร์..
ทำให้นึกถึงยุทธศาสตร์ห่านบิน ของญี่ปุ่นเลย :8)
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 3
ยุทธการ ห่านบิน
ยุทธการ ห่านบิน
Matrix January 7th, 2007
ญี่ปุ่นเค้าเกินดุลมากกว่าเราหลายพันเท่า เค้าดูแลค่าเงินยังไงไปดูครับ
http://matrix.thaivi.net/2007/01/07/fly ... za-accord/
ยุทธการ ห่านบิน
ผมเริ่มเข้าสู่วงการหุ้นเมื่อปีค.ศ. 1978 หรือ พ.ศ. 2521
โดยการเป็น Broker ในตลาด Commodity
โดยซื้อขายสินค้าโคภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก
โดยมีตลาด CBOT (Chicago Board Of Trade)
NYSE (New York Security Exchange)
เป็นตลาดรองและอ้างอิงในการซื้อขาย
ซึ่งเป็นตลาดที่เป็นแหล่งรวมเซียนที่มากและใหญ่ที่สุดในโลก
ตลาด TFEX และ AFEX ปัจจุบันของไทยที่เพิ่งเปิดเมื่อเร็วๆนี้
ถ้าเทียบกันแล้วยังห่างชั้นกันอีกมาก
ทั้งปริมาณซื้อขาย จำนวนสมาชิก และเทคนิคอื่นๆอีกมากมาย
สมัยนั้นการซื้อขายจะดูแนวโน้มและอ้างอิงจากค่า Currency เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ผมจะต้องตรวจสอบความเคลื่อนไหวก่อนเริ่มงานทุกเช้าคือ อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าของเงินสกุลหลักใหญ่ๆ มีผลต่อทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจของโลก
รวมทั้งแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าจำพวก Commodities เป็นอย่างมาก
แม้ปัจจุบันได้เลิกร้างห่างหายการติดตามไปบ้าง แต่ก็ยังติดตามอยู่ห่างๆ
เมื่อราวปีค.ศ 1970 เศรษฐกิจอเมริกาเกิด Mini Crash
เนื่องจากขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลการคลัง
ที่นักวิชาการเรียกว่า ขาดดุลแฝด (Twin deficits)
ประเทศที่อเมริกาขาดดุลมากที่สุดคือญี่ปุ่น
เมื่อญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าจากอเมริกามากกว่า 10 ปี เป็นจำนวนมหาศาล
ดังนั้นอเมริกาจึงใช้มาตรการตอบโต้กดดันทุกวิถีทาง
โดยการบังคับให้ญี่ปุ่นปรับเปลี่ยนค่าเงิน
ซึ่งขณะนั้นถ้าจำไม่ผิดอยู่ราวๆ 250 Yen / Dollar
และบังคับให้รับซื้อพันธบัตรที่อเมริกาออกมาเป็นจำนวนมาก
เพื่อช่วยอุดหนุน Support อุตสาหกรรมภายในประเทศอเมริกาเอง
ตามที่นักวิชาการเรียกมาตรการนั้นว่า Plaza accord ในปี 1985
พร้อมกับตั้งธงให้กองทุนภายในประเทศ
รวมทั้งจัดตั้งกองทัพกองทุน Hedge Fund ทั้งหลาย
ออกไปแสวงหาผลกำไรจากตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก
โดยไม่จำกัดปริมาณทั้งเครื่องมือทั้งทางตรงแลทางอ้อม
รวมทั้งไม่จำกัดทั้งวิถีทางและวิธีการแต่อย่างใด
เมื่อญี่ปุ่นถูกบังคับให้รับซื้อพันธบัตรจำนวนมาก
ทำให้ญี่ปุ่นมีเงินคงคลังเป็น US Dollar มากที่สุดในโลก
ในขณะที่อเมริกาปล่อยให้ค่าเงินของตนเองอ่อนค่าลงอย่างมาก
และใช้มาตรการ Farm Act sanction
(สนับสนุนด้านการเงินโดยอุดหนุนเกษตรกรในประเทศทุกวิถีทาง
เพื่อช่วยเหลือให้ส่งออกได้ในรัฐบาลสมัย จิมมี่ คาร์เตอร์)
ส่งผลให้เงิน Yen แข็งค่ามากขึ้นเรื่อยๆ จาก 250 Yen
จนถึง 100 Yen / Dollar ในเวลาอันรวดเร็ว
เมื่อญี่ปุ่นถูกกดดันมากๆเข้า ส่งออกได้น้อยลงเพราะค่าเงินแข็ง
เจ้าของอุตสาหกรรมส่งออกของญี่ปุ่นก็โวยวายว่า
ถ้าไม่รีบแก้ไข เห็นทีภาคการส่งออกต้องล้มละลายระเนระนาดแน่
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงระดมสมองมาช่วยแก้ไขด้วยวิธีที่เรียกว่า
ยุทธการ ห่านบิน (Flying Geese)
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 4
ยุทธการ ห่านบิน
คือ การอพยพย้ายที่อยู่เพื่อเปลี่ยนแหล่งอาหารไปยังแหล่งที่อุดมสมบูรณ์กว่า
โดยการนำเงินสำรองคงคลังที่เป็นสกุล Dollar ซึ่งมีค่าด้อยลงไปเรื่อยๆ
ออกไปลงทุนทั่วโลกโดยเฉพาะแถบเอเซีย ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย
หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
แปลงสินทรัพย์เงินที่อ่อนค่าให้เกิดผลผลิตในเชิงได้เปรียบ
โดยการย้ายฐานการผลิตออกนอกญี่ปุ่น
เมื่อญี่ปุ่นผลักภาระโดยการนำเงิน Dollar ที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ
ไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งมีทั้ง ฮ่องกง สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี
และไทยก็ได้รับอานิสงส์ผลดีจากการนั้นด้วย
อุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในตอนนั้น
กว่า 80 % เป็นการรับจ้างผลิตโดยญี่ปุ่น
โดยอาศัยแรงงานราคาถูกของไทย
แต่สั่งวัตถุดิบต้นน้ำจากต่างประเทศ
หลังจากผลิตเพื่อส่งออกแล้ว
จึงนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายภายในประเทศไทยอีกที
เศรษฐกิจของไทยในยุคนั้น เรียกได้ว่า
เป็น ยุคโชติช่วงชัชวาล
เงินคงคลังจากไม่กี่พันล้านเหรียญ
ก็เพิ่มขึ้นกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญ
โดยมีภาคการส่งออกเป็นเรือธงนำหน้า
โดยไทยถูกจัดให้เป็นเสือตัวที่ 6
ตามหลัง 5 เสือแห่งเอเชียก่อนหน้านั้น
การที่ญี่ปุ่นกระจายฐานการผลิตไปทั่วโลกโดยเฉพาะเอเซีย ซึ่งอยู่ใกล้
ยิ่งทำให้เกินดุลการค้าต่ออเมริกาและต่อโลกเป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม
จนญี่ปุ่นตระหนักดีว่า :
หากขนเงินกลับประเทศตัวเอง ค่าเงินก็จะยิ่งแข็งไปกันใหญ่
จึงจัดสรรเงินให้ความช่วยเหลือ(ให้กู้)ระยะยาว
แก่ประเทศที่ญี่ปุ่นเข้าครอบงำทางเศรษฐกิจทั้งหลาย
โดยการให้กู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ 10-50 ปีขึ้นไปด้วยเงิน Dollar
โดยมี Option ไม่ระบุค่าเงินที่จะชดใช้คืนในภายภาคหน้า
อาจเป็น Yen US Pond อะไรก็ได้สุดแท้แต่ญี่ปุ่นจะเรียกคืนในภายหลัง
ซึ่งวิธีนี้ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถกำหนดค่าเงินในอนาคตของตนเองได้อย่างสิ้นเชิง
ถึงแม้จะได้เปรียบดุลการค้าทั่วโลกมากมายมหาศาลจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ตาม
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 6
กระทู้นี้อยากให้ถกถึงผลกระทบของมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้นกับบริษัทจดทะเบียนว่า
ใครได้ประโยชน์อย่างไร หรือจะปรับตัวอย่างไร
ส่วนประเด็นเรื่อง ยุทธการ ห่านบิน
ขออนุญาตตั้งกระทู้แยกออกไปนะครับ
Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 363#694363
ใครได้ประโยชน์อย่างไร หรือจะปรับตัวอย่างไร
ส่วนประเด็นเรื่อง ยุทธการ ห่านบิน
ขออนุญาตตั้งกระทู้แยกออกไปนะครับ
Case Study : ยุทธการห่านบิน (การแก้ปัญหาค่าเงิน)
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 363#694363
-
- Verified User
- โพสต์: 42
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 8
เป็นสิ่งที่ควรทำตั้งนานแล้วไม่ใช่เพิ่งมาทำ
แต่จริงๆผมว่ามันไม่ควรเรียกว่า มาตรการดูแลค่าเงินบาทเลยนะครับ
Outflow เพียงเท่านี้หรือจะสูิิง Inflow ฝรั่งได้ คงช่วยไม่ได้มากอย่างแน่นอน
สิ่งที่ควรทำคือให้ความรู้ เรื่องการ Hedge กับผู้ประกอบการมากกว่า แล้วก็ลด Transaction cost ลงซะ ระยะยาวเราจะได้อยู่ได้
แต่จริงๆผมว่ามันไม่ควรเรียกว่า มาตรการดูแลค่าเงินบาทเลยนะครับ
Outflow เพียงเท่านี้หรือจะสูิิง Inflow ฝรั่งได้ คงช่วยไม่ได้มากอย่างแน่นอน
สิ่งที่ควรทำคือให้ความรู้ เรื่องการ Hedge กับผู้ประกอบการมากกว่า แล้วก็ลด Transaction cost ลงซะ ระยะยาวเราจะได้อยู่ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 9
ธปท.มองเอเชียต้านผลกระทบเงินทุนไหลเข้ายาก
Tuesday, 28 September 2010 12:44
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า เงินทุนที่ไหลเข้ามาในเอเชียมีสาเหตุหลักมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมากกว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ทำให้ค่าเงินแข็งค่านั้นยากจะต้านทานได้เพราะตลาดเงินโลกมีขนาดใหญ่มาก และไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในเอเชียใช้มาตรการค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออก
ขณะนี้ทุกประเทศในเอเชียอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ดังนั้นก็ต้องมีเงินไหลเข้ามาอยู่แล้ว เงินก็จะแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เป็นปัญหาทั้งภูมิภาค ไม่น่ามีประเทศไหนในภูมิภาคเอเชียที่จะแข่งขันด้วยการทำให้ค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบดอลลาร์ เพราะไม่สามารถต้านทานตลาดเงินโลกที่มันใหญ่มากได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ทำไม่ได้
ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์ที่ระดับ 35-36 บาท/ดอลลาร์เป็นไปไม่ได้ในขณะนี้ และประเทศอื่นก็เช่นกัน ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของภูมิภาคนี้ที่ขยายตัวได้ดีกว่าประเทศ จี-3 ที่มีปัญหาจะต้องแก้ไขอีกระยะหนึ่ง บวกกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเริ่มกลับเข้าสู่การดำเนินนโยบายการเงินระดับปกติ
ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาสร้างแรงจูงใจให้เงินไหลเข้าบ้าง แต่ไม่ได้มาก และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยต่ำเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค โดยการเคลื่อนไหวดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการดำเนิมาตรการการเงินแบบตึงตัว เพียงแต่เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยให้กลับมาสู่ภาวะปกติ
ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทยใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่การขยายตัวปกติ ดอกเบี้ยก็ควรจะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ เพราะอาร์พีของไทยต่ำสุดในภูมิภาคเป็นอันดับ 2 ยิ่งชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นภาวะนโยบายการเงินแบบตึงตัว
โดยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมา จากเดิมที่ดอกเบี้ยต่ำอยู่ที่ระดับ 1.25% เพิ่มเป็น 1.75% ในปัจจุบัน ไม่ถือว่าเป็นนโยบายการเงินตรึงตัว เพราะในช่วงวิกฤตมีความจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงเป็นพิเศษ แต่ในเมื่อปัจจุบันเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็ควรจะปรับดอกเบี้ยให้กลับเข้าสู่ปกติ
ทั้งนี้ นโยบายการเงินของธปท. ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้น จากเดิมที่คงไว้ที่ระดับ 1.25% มาตั้งแต่ 8 เม.ย.2552 เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองได้มากขึ้น แต่ธปท.เริ่มปรับขึ้นให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอีกครั้ง เมื่อ 14 ก.ค.ปีนี้ ขึ้น 0.25% และ เมื่อ 25 ส.ค.ขึ้น 0.25% เป็น 1.75% ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังเหลือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง คือ 20 ต.ค.และ 1 ธ.ค. ซึ่งแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายยังมีโอกาสสูงขึ้นอีกตามทิศทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น
Tuesday, 28 September 2010 12:44
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า เงินทุนที่ไหลเข้ามาในเอเชียมีสาเหตุหลักมาจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งมากกว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ทำให้ค่าเงินแข็งค่านั้นยากจะต้านทานได้เพราะตลาดเงินโลกมีขนาดใหญ่มาก และไม่เชื่อว่าจะมีประเทศใดในเอเชียใช้มาตรการค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านการส่งออก
ขณะนี้ทุกประเทศในเอเชียอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ดังนั้นก็ต้องมีเงินไหลเข้ามาอยู่แล้ว เงินก็จะแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เป็นปัญหาทั้งภูมิภาค ไม่น่ามีประเทศไหนในภูมิภาคเอเชียที่จะแข่งขันด้วยการทำให้ค่าเงินอ่อนเมื่อเทียบดอลลาร์ เพราะไม่สามารถต้านทานตลาดเงินโลกที่มันใหญ่มากได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดก็ทำไม่ได้
ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์ที่ระดับ 35-36 บาท/ดอลลาร์เป็นไปไม่ได้ในขณะนี้ และประเทศอื่นก็เช่นกัน ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของภูมิภาคนี้ที่ขยายตัวได้ดีกว่าประเทศ จี-3 ที่มีปัญหาจะต้องแก้ไขอีกระยะหนึ่ง บวกกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเริ่มกลับเข้าสู่การดำเนินนโยบายการเงินระดับปกติ
ขณะที่การปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาสร้างแรงจูงใจให้เงินไหลเข้าบ้าง แต่ไม่ได้มาก และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยของไทยไม่ได้อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น โดยต่ำเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค โดยการเคลื่อนไหวดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมาไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการดำเนิมาตรการการเงินแบบตึงตัว เพียงแต่เป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยให้กลับมาสู่ภาวะปกติ
ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทยใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่การขยายตัวปกติ ดอกเบี้ยก็ควรจะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ เพราะอาร์พีของไทยต่ำสุดในภูมิภาคเป็นอันดับ 2 ยิ่งชี้ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นภาวะนโยบายการเงินแบบตึงตัว
โดยการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งที่ผ่านมา จากเดิมที่ดอกเบี้ยต่ำอยู่ที่ระดับ 1.25% เพิ่มเป็น 1.75% ในปัจจุบัน ไม่ถือว่าเป็นนโยบายการเงินตรึงตัว เพราะในช่วงวิกฤตมีความจำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงเป็นพิเศษ แต่ในเมื่อปัจจุบันเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ก็ควรจะปรับดอกเบี้ยให้กลับเข้าสู่ปกติ
ทั้งนี้ นโยบายการเงินของธปท. ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขึ้น จากเดิมที่คงไว้ที่ระดับ 1.25% มาตั้งแต่ 8 เม.ย.2552 เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองได้มากขึ้น แต่ธปท.เริ่มปรับขึ้นให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอีกครั้ง เมื่อ 14 ก.ค.ปีนี้ ขึ้น 0.25% และ เมื่อ 25 ส.ค.ขึ้น 0.25% เป็น 1.75% ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ยังเหลือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินอีก 2 ครั้ง คือ 20 ต.ค.และ 1 ธ.ค. ซึ่งแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายยังมีโอกาสสูงขึ้นอีกตามทิศทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 10
วันที่ 28 กันยายน 2553 14:0
ครม.เคาะมาตรการอุ้มส่งออกจากบาทแข็งค่า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ครม.ไฟเขียว 8 มาตรการช่วยส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่า เตรียมหารือ คลัง หามาตรการป้องกันบาทแข็งค่า
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้รายงาน 8 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่าให้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ได้แก่
1.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวนและมีความสอดค้อ งกับค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนขยายระยะเวลาการถือครองดอลลาร์
2.การควบคุมการไหลเวียนของเงินทุนต่างประเทศระยะสั้น
3.อนุญาตให้ชำระค่าระวางเรือเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้
4.ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
5.การลดค่าธรรมเนียมศุลกากรในการส่งออก
6.การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการทำ ประกันความเสี่ยง
7.การจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกรายย่อย และ
8.ให้หน่วยงานภาครัฐชี้แจงข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
"หลังจากนี้จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงพาณิชย์ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง"
นางพรทิวา กล่าววว่า เงินบาทแข็งค่า 1% กระทบรายได้ส่งออก 0.4% โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดเกษตร เกษตรแปรรูป ข้าว เสื้อผ้า สิ่งทอ เซรามิก เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี กลุ่มสที่มีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ หรือนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก
ครม.เคาะมาตรการอุ้มส่งออกจากบาทแข็งค่า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ครม.ไฟเขียว 8 มาตรการช่วยส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากบาทแข็งค่า เตรียมหารือ คลัง หามาตรการป้องกันบาทแข็งค่า
นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้รายงาน 8 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเงินบาทแข็งค่าให้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ได้แก่
1.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวนและมีความสอดค้อ งกับค่าเงินในภูมิภาค ตลอดจนขยายระยะเวลาการถือครองดอลลาร์
2.การควบคุมการไหลเวียนของเงินทุนต่างประเทศระยะสั้น
3.อนุญาตให้ชำระค่าระวางเรือเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้
4.ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
5.การลดค่าธรรมเนียมศุลกากรในการส่งออก
6.การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการทำ ประกันความเสี่ยง
7.การจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกรายย่อย และ
8.ให้หน่วยงานภาครัฐชี้แจงข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
"หลังจากนี้จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงพาณิชย์ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง"
นางพรทิวา กล่าววว่า เงินบาทแข็งค่า 1% กระทบรายได้ส่งออก 0.4% โดยกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสุดเกษตร เกษตรแปรรูป ข้าว เสื้อผ้า สิ่งทอ เซรามิก เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ ยานยนต์ อัญมณี กลุ่มสที่มีการใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศ หรือนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- whitecastle
- Verified User
- โพสต์: 406
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 11
วันก่อนผมดูคลิป money talk มีตอนนึง พูดว่า มี LTF เพื่อให้เป็นกองทุนลดความผันผวนของตลาดหุ้น เวลาที่ฝรั่งเข้าออก
แล้วถ้ารัฐบาลจะจัดตั้งกองทุน อะไรซักกอง ที่เอาไปลงทุนต่างประเทศอย่างเดียว โดยสามารถ นำไปลดภาษีได้เหมือน LTF นี่มันจะช่วยได้มั้ยอ่ะ :8)
แล้วถ้ารัฐบาลจะจัดตั้งกองทุน อะไรซักกอง ที่เอาไปลงทุนต่างประเทศอย่างเดียว โดยสามารถ นำไปลดภาษีได้เหมือน LTF นี่มันจะช่วยได้มั้ยอ่ะ :8)
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท
โพสต์ที่ 12
ไปเพิ่ม out flow อย่างเดียวคงไม่ได้ผลหรอก
ต้นเหตุของเงินเเข็งค่ามันมาจาก in flow น่าจะแก้ที่ต้นเหตุมากกว่า
gap ของดอกเบี้ยบ้านเรา มันสูงกว่าus มากไปป่าว เงินมันเลยไหลไปที่ที่มีผลตอบแทนสูงกว่า
ถ้าเรารู้ว่าเอาเงินออกไปยังไงก็สู้ in flow ที่ไหลเข้ามาไม่ได้อยู่แล้ว
ใครจะเซ่อเอาออกไป เอาออกไปปุป ก็ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนปัป
มาตรการพวกนี้คงไม่น่าได้ผลเท่าไหร่ เพราะเกาไม่ถูกที่คัน
ต้นเหตุของเงินเเข็งค่ามันมาจาก in flow น่าจะแก้ที่ต้นเหตุมากกว่า
gap ของดอกเบี้ยบ้านเรา มันสูงกว่าus มากไปป่าว เงินมันเลยไหลไปที่ที่มีผลตอบแทนสูงกว่า
ถ้าเรารู้ว่าเอาเงินออกไปยังไงก็สู้ in flow ที่ไหลเข้ามาไม่ได้อยู่แล้ว
ใครจะเซ่อเอาออกไป เอาออกไปปุป ก็ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนปัป
มาตรการพวกนี้คงไม่น่าได้ผลเท่าไหร่ เพราะเกาไม่ถูกที่คัน