A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATIO

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
guyver
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATIO

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ณ เวลานี้ผ่านมาเกือบแปดสิบปีที่ อาจารย์ Benjamin Graham ได้นำการใช้ P/E ratio เข้ามาเป็นส่วนของการตัดสินใจในการลงทุน แต่พอมาถึงตอนนี้ มีนักลุงทุนระดับมืออาชีพหลายคนเริ่มที่จะมองว่า PE นั้นได้มีความสำคัญน้อยลงและเริ่มที่จะมีน้ำหนักกับการตัดสินใจในการลงทุนน้อยลง เพราะอะไร

ศาสตราจารย์ด้านการเงิน Jeremy Siegel จาก Wharton กล่าวว่า ณ เวลาที่ความไม่แน่นอน (uncertainty) มีอยู่มาก ทำให้การคาดเดาอนาคตทางการเงินของบริษัทนั้นเป็นไปได้ยากทำให้นักลงทุนส่วนมากไม่กล้าที่จะลงทุนในหุ้น นักลงทุนต้องการความกระจ่าง ดังนั้น ในยุคนี้ ราคาของหลักทรัพย์ จึงผันเปลี่ยนไปตาม macroeconomic events หรือสถานการณ์ของปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ทั้งนั้นยังรวมไปถึงการเปิดตัวของ ETF หรือ กองทุนรวมเปิดที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้มีโอกาสทำให้นักลงทุนลงทุนกับทั้งดัชนี เช่นพวก SET 50 กล่าวคือ คนมีโอกาสลงทุนในภาพกว้างมิใช่ได้แค่ในบริษัทๆเดียว

WSJ แนะนำว่าปัจจุบันนี้เริ่มมีการนำ Multiple อื่นมาใช้ที่อาจจะเหมาะสมกว่าคือ enterprise value to free cash flow ratio (EV/FCF)
Enterprise Value – ก็คือมูลค่าของบริษัทที่เราพร้อมจะจ่ายเมื่อจะมีการ takeover บริษัท ซึ่งก็คือ market cap บวกหนี้ บวกดอกเบี้ยและpreferred shares ลบด้วย เงินสดและสิ่งที่เทียบเท่ากับเงินสด
Free Cash Flow ก็คือ earnings + ค่าเสือม ลบด้วย CAPEX (capital expenditure) ซึ่งการแสเงินสดอิสระนี้จะช่วยบอกความสามารถในการให้ ปันผล, ซื้อหุ้นคืน หรือดึงดูดผู้ที่อยากจะเข้ามาซื้อบริษัทนั้น

โดยสรุปผู้จัดการกองทุนหลายคนลงความเห็นกันว่าในยุคสมัยนี้ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์เป็นตัวชี้นำการขึ้นของราคาของหลักทรัพย์ต่างและปัจจัยพวกนี้ก็คือสิ่งต่างๆที่ทำมาเป็นทางเลือกของ PE ratio ซึ่ง E-Kon มองว่าก็เป็นสิ่งที่น่านำมาศึกษาไว้ ถึงความสำคัญจะน้อยลงแต่ PE ก็ไม่ควรที่จะถูกตัดทิ้งไป อย่างที่เคยบอกมาควรจะใช้ควบคู่กันไป

E-Kon มองว่า การที่ลงทุนตาม economic indicators เพราะ ถ้าภาพรวมดีนั้นสุดท้ายก็จะสะท้อนไปให้เห็นในผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัทด้วย ซึ่งสุดท้ายก็มากระทบกับ PE ในที่สุด เรียกง่ายว่ามองภาพกว้างนั้นง่ายกว่าและความไม่แน่นอนน้อยกว่า

http://www.economikon.com/2010/12/06/a-new-normal/

ถูกผิดยังไงก็ติได้น่ะครับ ขอบคุณครับ

อันนี้คือผมมองสถานการณ์ของการออกมาพูดของ Bernanke เรื่องที่พร้อมจะเพิ่มเงิน QE2 อีกถ้าเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น
: http://www.economikon.com/2010/12/06/ben-rejects-slump/
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ก็ว่ากันไปตามคนหมู่มากละกันครับ^^ คนหมู่มากมองPEก็PEตาม คนหมู่มากมองอะไรซักอย่างใหม่ๆก็มองตามเขาไปเท่านั้นก็ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ แต่!!!อย่าลืมว่าถ้าเป็นจริงจะมีช่วงSwitchอยู่ถ้าช่วงนี้มันยาวนานเกินไป บางครั้งรีบใจร้อนไปมองอะไรใหม่ๆอาจจะเสียโอกาสได้นะครับ แต่รู้ไว้ก่อนก็ดีกว่าไม่รู้นะครับ^^

:bow:บังไงก็ขอบคุณ จขกท ที่เอามาแชร์นะครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 3

โพสต์

มาช่วยกันวิเคราะห์ดีกว่าครับว่า

EV/FCF บอกอะไรเราได้บ้างแล้วมันช่วยให้หาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าได้ยังไง

EV คือมูลค่าบริษัท หากมีการ Takeover
FCF คือกระแสเงินสดจากสูตรเข้าใจว่าเป็นปีเดียวคือปัจจุบันย้อนไปหนึ่งปี

ที่นี้เอามาหารกันหมายความว่าค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดี
เพราะบริษัทจะสร้าง FCF ได้เยอะเทียบกับมูลค่า
หมายความว่าเราจะคืนทุนไวขึ้น โดยหาก EV/FCF = 1 เราจะคืนทุนในปีเดียว
ในแง่ของการ Takeover นะครับ
ทีนี้ EV รวม Market Cap อยู่ในตัวแล้วเลยน่าจะใช้แทน P/E ได้

แต่ผมสงสัยจังว่าทำไม EV จึงเอาหนี้และดอกเบี้ยมาบวก Market Cap ในขณะที่เอาเงินสดมาลบ
มันน่าจะกลับกันมากกว่านะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1014
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 4

โพสต์

กล้วยไม้ขาว เขียน:มาช่วยกันวิเคราะห์ดีกว่าครับว่า

EV/FCF บอกอะไรเราได้บ้างแล้วมันช่วยให้หาหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าได้ยังไง

EV คือมูลค่าบริษัท หากมีการ Takeover
FCF คือกระแสเงินสดจากสูตรเข้าใจว่าเป็นปีเดียวคือปัจจุบันย้อนไปหนึ่งปี

ที่นี้เอามาหารกันหมายความว่าค่านี้ยิ่งน้อยยิ่งดี
เพราะบริษัทจะสร้าง FCF ได้เยอะเทียบกับมูลค่า
หมายความว่าเราจะคืนทุนไวขึ้น โดยหาก EV/FCF = 1 เราจะคืนทุนในปีเดียว
ในแง่ของการ Takeover นะครับ
ทีนี้ EV รวม Market Cap อยู่ในตัวแล้วเลยน่าจะใช้แทน P/E ได้

แต่ผมสงสัยจังว่าทำไม EV จึงเอาหนี้และดอกเบี้ยมาบวก Market Cap ในขณะที่เอาเงินสดมาลบ
มันน่าจะกลับกันมากกว่านะครับ

ถ้า take over บ ใดก็ต้องจ่ายหนี้ (หรือติดต่อไป)ที่เค้ายังมีด้วยครับ ส่วนเงินสดเสมือนได้มาเปล่าจะเอาไปลดหนี้ก็ได้ครับ
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 5

โพสต์

VI Wannabe เขียน:
กล้วยไม้ขาว เขียน:แต่ผมสงสัยจังว่าทำไม EV จึงเอาหนี้และดอกเบี้ยมาบวก Market Cap ในขณะที่เอาเงินสดมาลบ
มันน่าจะกลับกันมากกว่านะครับ
ถ้า take over บ ใดก็ต้องจ่ายหนี้ (หรือติดต่อไป)ที่เค้ายังมีด้วยครับ ส่วนเงินสดเสมือนได้มาเปล่าจะเอาไปลดหนี้ก็ได้ครับ
ผมก็เข้าใจอย่างนี้ครับ
คือควรเอาหนี้มาลบออกจาก MCap เพราะเราควรซื้อได้ถูกลงถ้าบริษัทหนี้เยอะ ต้องกันเงินไว้เผื่อจ่ายหนี้
และควรเอาเงินสดมาบวกคือให้มูลค่ากับมัน

แต่พอคิดไปคิดมาการที่บริษัทมีหนี้มากจะทำให้ EV สูง
และ EV/FCF ก็จะสูงขึ้นด้วยเป็นการลดความน่าสนใจลงก็ดูสมเหตุสมผล

ผมคงมองอะไรผิดมุมไป ใครเข้าใจช่วยอธิบายทีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1014
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 6

โพสต์

กล้วยไม้ขาว เขียน:
VI Wannabe เขียน:
กล้วยไม้ขาว เขียน:แต่ผมสงสัยจังว่าทำไม EV จึงเอาหนี้และดอกเบี้ยมาบวก Market Cap ในขณะที่เอาเงินสดมาลบ
มันน่าจะกลับกันมากกว่านะครับ
ถ้า take over บ ใดก็ต้องจ่ายหนี้ (หรือติดต่อไป)ที่เค้ายังมีด้วยครับ ส่วนเงินสดเสมือนได้มาเปล่าจะเอาไปลดหนี้ก็ได้ครับ
ผมก็เข้าใจอย่างนี้ครับ
คือควรเอาหนี้มาลบออกจาก MCap เพราะเราควรซื้อได้ถูกลงถ้าบริษัทหนี้เยอะ ต้องกันเงินไว้เผื่อจ่ายหนี้
และควรเอาเงินสดมาบวกคือให้มูลค่ากับมัน

แต่พอคิดไปคิดมาการที่บริษัทมีหนี้มากจะทำให้ EV สูง
และ EV/FCF ก็จะสูงขึ้นด้วยเป็นการลดความน่าสนใจลงก็ดูสมเหตุสมผล

ผมคงมองอะไรผิดมุมไป ใครเข้าใจช่วยอธิบายทีครับ

Market Cap ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นไงครับ (Equity) ทีนี้เราจะซื้อทั้งบริษัท (A=L+E)
ก็เลยต้องคิดเรื่องจ่ายหนี้ จ่ายดอก ด้วยครับ
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 7

โพสต์

VI Wannabe เขียน: Market Cap ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นไงครับ (Equity) ทีนี้เราจะซื้อทั้งบริษัท (A=L+E)
ก็เลยต้องคิดเรื่องจ่ายหนี้ จ่ายดอก ด้วยครับ
OK Get มุมมองแล้วครับ
คือเค้ามองว่าเงินสดมันรวมอยู่ใน MCap แล้วเลยลบออก
ส่วนหนี้และดอกเบี้ยมันเป็น Cash ที่อยู่ในรูป Asset ซึ่งเจ้าของเดิมต้องเอาไปจ่ายคืนเจ้าหนี้
ถ้าเรา Takeover แล้วไปกู้ใหม่เราก็จะได้เงินสดส่วนนี้กลับคืนมาอยู่ดี (อันนี้คือในมุมกระแสเงินสดของผู้ลงทุน)
ประมาณว่าถ้าบริษัททำธุรกิจด้วย Net Cash จะต้องมีเงินเท่าใหร่เพื่อซื้อ Asset ทั้งหมด

ขอบคุณคุณ VI Wannabe มากครับที่ช่วยไขข้อข้องใจ
stockms
Verified User
โพสต์: 920
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 8

โพสต์

EV คือเงินที่ต้องจ่ายถ้าจะซื้อทั้งบริษัทในราคาตลาด ซึ่งเราต้องเตรียมเงินเท่ากับ Market cap บวกกับหนี้ และดอกเบี้ย ที่ต้องจ่าย แต่ถ้าบริษัทมีเงินสดก็จะได้เงินสดนั้นคืนเมื่อได้บริษัทมาเป็นของเรา
5555
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมว่า EV/FCF กับ P/E มันก็คล้ายกันนะครับ
ถ้าเทียบกันดูตัว ต่อ ตัว จากตัวบน EV กับ P โดย EV คือมูลค่าบริษัทเมื่อต้องการ Takeover กับ P ก็คือ MarketCap
ซึ่งทั้ง 2 ค่าเป็นตัวแทนของต้นทุนที่เราต้องจ่ายเหมือนๆ กัน

ส่วน FCF กับ E ก็คือสิ่งที่เราคิดว่าจะได้เหมือนๆ กัน เพียงแค่ FCF ต้องเอา E ไปคำนวนต่อ

ซึ่ง ถ้าจะให้ง่าย และเร็ว ผมว่า ดู PE เป็นเบื้องต้นก่อน แล้วถ้าสนใจหุ้น ตัวไหน ก็ไปเจาะลึกที่ EV/FCF หรือ DCF ก็ได้

แต่อย่าลืม E หรือ FCF ที่ใช้ต้องเป็น E หรือ FCF ที่ปรกตินะครับ ไม่ใช่มีกำไรพิเศษ หรือ อยู่ในช่วงวิกฤติ นะ เพราะจะทำให้ ค่า EV/FCF กับ P/E มันเพี้ยนไปครับ

สุดท้าย ก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละบุคคลในการมองครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
OutOfMyMind
Verified User
โพสต์: 1242
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 10

โพสต์

guyver เขียน: WSJ แนะนำว่าปัจจุบันนี้เริ่มมีการนำ Multiple อื่นมาใช้ที่อาจจะเหมาะสมกว่าคือ enterprise value to free cash flow ratio (EV/FCF)
Enterprise Value – ก็คือมูลค่าของบริษัทที่เราพร้อมจะจ่ายเมื่อจะมีการ takeover บริษัท ซึ่งก็คือ market cap บวกหนี้ บวกดอกเบี้ยและpreferred shares ลบด้วย เงินสดและสิ่งที่เทียบเท่ากับเงินสด
Free Cash Flow ก็คือ earnings + ค่าเสือม ลบด้วย CAPEX (capital expenditure) ซึ่งการแสเงินสดอิสระนี้จะช่วยบอกความสามารถในการให้ ปันผล, ซื้อหุ้นคืน หรือดึงดูดผู้ที่อยากจะเข้ามาซื้อบริษัทนั้น
ถ้าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหุ้นถูกหาโดยใช้ EV/FCF หรือ P/E กันหมด
ผมว่ามันเป็นโอกาสทองของ VI อย่างพวกเราเลยครับ
เพราะ EV ตามนิยามนี่แนะนำมานั้น ไม่ได้รวมถึง แบรนด์ คน ลูกค้า และ ศักยภาพอื่น ๆ ที่มัน intangible ของบริษัทเลย
ว่ากันตามจริงแล้ว สิ่งที่ทำให้บริษัทน่าสนใจคือพวกที่มัน intangible ทั้งหลายนี้มากกว่า
EV ในความคิดของผมจึงน่าจะต้องประเมินพวกนี้ออกมาจะดีกว่า

แต่ ปัญหาคือ มันประเมินยากแฮะ :P
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1014
ผู้ติดตาม: 0

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 11

โพสต์

OutOfMyMind เขียน:
guyver เขียน: WSJ แนะนำว่าปัจจุบันนี้เริ่มมีการนำ Multiple อื่นมาใช้ที่อาจจะเหมาะสมกว่าคือ enterprise value to free cash flow ratio (EV/FCF)
Enterprise Value – ก็คือมูลค่าของบริษัทที่เราพร้อมจะจ่ายเมื่อจะมีการ takeover บริษัท ซึ่งก็คือ market cap บวกหนี้ บวกดอกเบี้ยและpreferred shares ลบด้วย เงินสดและสิ่งที่เทียบเท่ากับเงินสด
Free Cash Flow ก็คือ earnings + ค่าเสือม ลบด้วย CAPEX (capital expenditure) ซึ่งการแสเงินสดอิสระนี้จะช่วยบอกความสามารถในการให้ ปันผล, ซื้อหุ้นคืน หรือดึงดูดผู้ที่อยากจะเข้ามาซื้อบริษัทนั้น
ถ้าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหุ้นถูกหาโดยใช้ EV/FCF หรือ P/E กันหมด
ผมว่ามันเป็นโอกาสทองของ VI อย่างพวกเราเลยครับ
เพราะ EV ตามนิยามนี่แนะนำมานั้น ไม่ได้รวมถึง แบรนด์ คน ลูกค้า และ ศักยภาพอื่น ๆ ที่มัน intangible ของบริษัทเลย
ว่ากันตามจริงแล้ว สิ่งที่ทำให้บริษัทน่าสนใจคือพวกที่มัน intangible ทั้งหลายนี้มากกว่า
EV ในความคิดของผมจึงน่าจะต้องประเมินพวกนี้ออกมาจะดีกว่า

แต่ ปัญหาคือ มันประเมินยากแฮะ :P
แบรนด์ คน ลูกค้า และ ศักยภาพอื่น ๆ ที่มัน intangible ของบริษัทเลย
ถ้าเชื่อว่าตลาด efficient มันควรอยู่ใน market cap แล้วครับ :D
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

Re: A NEW NORMAL OF P/E RATIO ความสำคัญที่น้อยลงของ P/E RATI

โพสต์ที่ 12

โพสต์

OutOfMyMind เขียน:
guyver เขียน: WSJ แนะนำว่าปัจจุบันนี้เริ่มมีการนำ Multiple อื่นมาใช้ที่อาจจะเหมาะสมกว่าคือ enterprise value to free cash flow ratio (EV/FCF)
Enterprise Value – ก็คือมูลค่าของบริษัทที่เราพร้อมจะจ่ายเมื่อจะมีการ takeover บริษัท ซึ่งก็คือ market cap บวกหนี้ บวกดอกเบี้ยและpreferred shares ลบด้วย เงินสดและสิ่งที่เทียบเท่ากับเงินสด
Free Cash Flow ก็คือ earnings + ค่าเสือม ลบด้วย CAPEX (capital expenditure) ซึ่งการแสเงินสดอิสระนี้จะช่วยบอกความสามารถในการให้ ปันผล, ซื้อหุ้นคืน หรือดึงดูดผู้ที่อยากจะเข้ามาซื้อบริษัทนั้น
ถ้าคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าหุ้นถูกหาโดยใช้ EV/FCF หรือ P/E กันหมด
ผมว่ามันเป็นโอกาสทองของ VI อย่างพวกเราเลยครับ
เพราะ EV ตามนิยามนี่แนะนำมานั้น ไม่ได้รวมถึง แบรนด์ คน ลูกค้า และ ศักยภาพอื่น ๆ ที่มัน intangible ของบริษัทเลย
ว่ากันตามจริงแล้ว สิ่งที่ทำให้บริษัทน่าสนใจคือพวกที่มัน intangible ทั้งหลายนี้มากกว่า
EV ในความคิดของผมจึงน่าจะต้องประเมินพวกนี้ออกมาจะดีกว่า

แต่ ปัญหาคือ มันประเมินยากแฮะ :P
ถ้าเป็นบริษัทที่ดีอย่างที่คุณว่าไว้ บริษัทก็ต้องมีผลการดำเนินงานที่ดี มี FCF ที่สูง

ดังนั้นมูลค่าบริษัทก็คงจะสูงตามครับ

จุดอ่อนจุดหนึ่งของการใช้วิธีคำนวณลักษณะนี้ก็คือ การคาดหมายว่าบริษัทจะมีผลการดำเนินงานที่คงที่ตลอดไป

แต่ก็ยังดีกว่า P/E เนื่องจาก Free Cash Flow มีความผันผวนและสอดคล้องกับผลการดำเนินงานจริงของกิจการมากกว่า Earning
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
โพสต์โพสต์