Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
- peerasak_off
- Verified User
- โพสต์: 223
- ผู้ติดตาม: 0
Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 1
พอดีช่วงนี้จิตใจมันหว้าหวุ่นเลยหยิบหนังสือมาอ่าน สดุดคำว่า Economies of scale เป็นการทำให้เกิดความได้เปรียบอย่างยั่งยืน (Durable competitive advantage) ได้ แต่ผมอ่านไม่มีอธิบายถึงความหมายของคำว่า Economies of scale ไว้ รวมถึงการพิจารณาด้วย อยากได้ความรู้จากพี่ๆ มันคืออะไรเอ่ย เราจะดูอย่างไร บริษัทไหนเข้าข่ายบ้างครับ
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1644
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 2
การประหยัดจากขนาด เช่น บ.มีกำลังการผลิตมากเป็นอันดับ1 ในอุตสาหกรรมก็ช่วยทำให้ต้นทุนต่ำลงครับ ช่วยให้มีสายป่านยาวขึ้นถ้าต้องสู้เรื่องราคาครับ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 54
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 3
ดูจากตัวอย่างแล้วกันนะครับ
1. ต้นทุนสินค้าขาย - Oishi เปิดสาขาเพิ่มมากทำให้ต้นทุนวัตถุดิบถูกลงเพราะซื้อ lot ใหญ่ครับ เนื่องจากอำนาจการต่อรองสูงขึ้น และทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีสาขาน้อยสู้ไม่ได้
2. ต้นทุนการขาย - 7-Eleven มีสาขามากมาย จนต้นทุนโฆษณาในทีวีถูกลงมาก เพราะตัวหารเยอะ (จำนวนสาขา) ทำให้ mini mart ที่มีสาขาน้อยกว่าสู้ไม่ได้
3. ต้นทุนการบริหาร - Lotus มีสาขามากมายทำให้ต้นทุนวางระบบขนส่ง จัดเก็บสินค้า และอื่นๆ ถูกเพราะตัวหารที่เป็นจำนวนสาขาเยอะมาก
1. ต้นทุนสินค้าขาย - Oishi เปิดสาขาเพิ่มมากทำให้ต้นทุนวัตถุดิบถูกลงเพราะซื้อ lot ใหญ่ครับ เนื่องจากอำนาจการต่อรองสูงขึ้น และทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีสาขาน้อยสู้ไม่ได้
2. ต้นทุนการขาย - 7-Eleven มีสาขามากมาย จนต้นทุนโฆษณาในทีวีถูกลงมาก เพราะตัวหารเยอะ (จำนวนสาขา) ทำให้ mini mart ที่มีสาขาน้อยกว่าสู้ไม่ได้
3. ต้นทุนการบริหาร - Lotus มีสาขามากมายทำให้ต้นทุนวางระบบขนส่ง จัดเก็บสินค้า และอื่นๆ ถูกเพราะตัวหารที่เป็นจำนวนสาขาเยอะมาก
- peerasak_off
- Verified User
- โพสต์: 223
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 4
ตอนที่ โรงงานขยายแรกๆนี่ Economies of scale จะลดลงใช่ไหมครับ
อย่างพบดูจากงบการเงินจะทำให้ Net Profit Margin ลดลง แต่ Gross Profit Margin ไม่ลด เมื่อหากรายได้จากการขายเพิ่ม Net Profit Margin จะเพิ่มในสัดส่วนที่มากกว่าเดิมถูกต้องไหมครับ
อย่างพบดูจากงบการเงินจะทำให้ Net Profit Margin ลดลง แต่ Gross Profit Margin ไม่ลด เมื่อหากรายได้จากการขายเพิ่ม Net Profit Margin จะเพิ่มในสัดส่วนที่มากกว่าเดิมถูกต้องไหมครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 5
ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ภาษาชาวบ้าน....การผลิตสินค้า 5000 ชิ้น ย่อมมีต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่าผลิต 50 ชิ้น
(โดยปกตินะครับ...ไม่นับถ้ามี corruption ถ้าเป็นในประเทศย่านเอเชีย...แฮ่ๆ)
ไม่เว้นแม้กระทั่งการบริการ ตอนที่ได้ลูกค้าน้อยราย กับตอนได้ลูกค้าเป็นมวลชน ต้นทุนจะถูกลงอย่างมหาศาล
โดย common sense พอจะเดาได้อยู่แล้วด้วย....เพราะ
1. โดยธรรมชาติ ผลิตสินค้าน้อย ต้นทุนวัตถุดิบต่อชิ้นแพงกว่า จะต่อรองจาก supplier ยากกว่ารายใหญ่ ซื้อเยอะๆ
2. ส่วนเกินเหลือทิ้งของเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ พลังงาน ทรัพยากร ถูกเฉลี่ยออกไปมากขึ้น ถ้าเป็นงานจำนวนน้อย ส่วนเกินเหลือทิ้งจะมากกว่า
ความจริง ขึ้นอยู่กับการจัดการด้วย แต่ข้างต้นสมมติฐานที่การจัดการที่มีประสิทธิภาพเท่าๆกัน
ศัพท์ที่จะได้ยินคือ mass production ที่ผลิตสินค้า จำนวนมากๆ
ปั๊มสินค้าเยอะๆ ซ้ำๆ กัน ยิ่งทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน มากกว่าผลิตชิ้นเดียวแบบ handmade ทีละชิ้น
ตัวอย่างในตลาดมีมากมาย ยุคอุตสาหกรรมแรกๆ ที่เป็น case ร่ำลือ คือ การผลิตรถยนต์ Model T ของลุงฟอร์ด ที่ทำให้รถยนต์กลายเป็นสินค้ามวลชนไป จากที่เคยเป็น niche market สินค้าเฉพาะคนรวย โดยฟอร์ด เอาระบบสายพานการผลิตมาใช้ จนทุกวันนี้ ขนาดเปลี่ยนจากคน มาใช้หุ่นยนต์แทนในหลายงาน ก็ยังเป็นระบบสายพานลำเลียงแบบนี้
ศัพท์อีกคำ คือ คล้ายๆ กันคือ Economies of scope แต่ไม่ได้หมายถึงจำนวนชิ้นงาน แต่หมายถึง scope งาน
และศัพท์ที่ีพบในเรื่องนี้ คือ synergy และ convergent คือการเอาหลายๆ อย่าง มา Bundle กัน แล้วจะลดต้นทุนลง เพื่อเฉลี่ยต้นทุนร่วม ของสินค้าใน scope ออกไป แล้วจะได้ต้นทุนต่อรายต่ำกว่าให้บริการอย่างเดียว หรือผลิตสินค้าอย่างเดียว
ตัวอย่างคือ TRUE
(โดยปกตินะครับ...ไม่นับถ้ามี corruption ถ้าเป็นในประเทศย่านเอเชีย...แฮ่ๆ)
ไม่เว้นแม้กระทั่งการบริการ ตอนที่ได้ลูกค้าน้อยราย กับตอนได้ลูกค้าเป็นมวลชน ต้นทุนจะถูกลงอย่างมหาศาล
โดย common sense พอจะเดาได้อยู่แล้วด้วย....เพราะ
1. โดยธรรมชาติ ผลิตสินค้าน้อย ต้นทุนวัตถุดิบต่อชิ้นแพงกว่า จะต่อรองจาก supplier ยากกว่ารายใหญ่ ซื้อเยอะๆ
2. ส่วนเกินเหลือทิ้งของเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ พลังงาน ทรัพยากร ถูกเฉลี่ยออกไปมากขึ้น ถ้าเป็นงานจำนวนน้อย ส่วนเกินเหลือทิ้งจะมากกว่า
ความจริง ขึ้นอยู่กับการจัดการด้วย แต่ข้างต้นสมมติฐานที่การจัดการที่มีประสิทธิภาพเท่าๆกัน
ศัพท์ที่จะได้ยินคือ mass production ที่ผลิตสินค้า จำนวนมากๆ
ปั๊มสินค้าเยอะๆ ซ้ำๆ กัน ยิ่งทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน มากกว่าผลิตชิ้นเดียวแบบ handmade ทีละชิ้น
ตัวอย่างในตลาดมีมากมาย ยุคอุตสาหกรรมแรกๆ ที่เป็น case ร่ำลือ คือ การผลิตรถยนต์ Model T ของลุงฟอร์ด ที่ทำให้รถยนต์กลายเป็นสินค้ามวลชนไป จากที่เคยเป็น niche market สินค้าเฉพาะคนรวย โดยฟอร์ด เอาระบบสายพานการผลิตมาใช้ จนทุกวันนี้ ขนาดเปลี่ยนจากคน มาใช้หุ่นยนต์แทนในหลายงาน ก็ยังเป็นระบบสายพานลำเลียงแบบนี้
ศัพท์อีกคำ คือ คล้ายๆ กันคือ Economies of scope แต่ไม่ได้หมายถึงจำนวนชิ้นงาน แต่หมายถึง scope งาน
และศัพท์ที่ีพบในเรื่องนี้ คือ synergy และ convergent คือการเอาหลายๆ อย่าง มา Bundle กัน แล้วจะลดต้นทุนลง เพื่อเฉลี่ยต้นทุนร่วม ของสินค้าใน scope ออกไป แล้วจะได้ต้นทุนต่อรายต่ำกว่าให้บริการอย่างเดียว หรือผลิตสินค้าอย่างเดียว
ตัวอย่างคือ TRUE
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 6
นาน ๆ โพสต์ที ...
ทำความเข้าใจดี ๆ นะครับ EoS ไม่ได้ขึ้นกับกำลังการผลิต หรือ mass production เสมอไป
ธุรกิจที่จะมี EoS ได้ต้องเป็นธุรกิจที่มี fixed cost เป็นสัดส่วนสูงกว่า variable cost มาก ๆ ครับ กิจการซื้อมาขายไปแบบค้าปลีก หรือพวกผลิตสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้มี EoS เสมอ ค้าปลีก และโรงงานผลิตทั้งหลายแหล่ ส่วนใหญ่ไม่มี EoS หรอกครับ
ทำความเข้าใจดี ๆ นะครับ EoS ไม่ได้ขึ้นกับกำลังการผลิต หรือ mass production เสมอไป
ธุรกิจที่จะมี EoS ได้ต้องเป็นธุรกิจที่มี fixed cost เป็นสัดส่วนสูงกว่า variable cost มาก ๆ ครับ กิจการซื้อมาขายไปแบบค้าปลีก หรือพวกผลิตสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้มี EoS เสมอ ค้าปลีก และโรงงานผลิตทั้งหลายแหล่ ส่วนใหญ่ไม่มี EoS หรอกครับ
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 7
่mprandy เขียน:นาน ๆ โพสต์ที ...
ทำความเข้าใจดี ๆ นะครับ EoS ไม่ได้ขึ้นกับกำลังการผลิต หรือ mass production เสมอไป
ธุรกิจที่จะมี EoS ได้ต้องเป็นธุรกิจที่มี fixed cost เป็นสัดส่วนสูงกว่า variable cost มาก ๆ ครับ กิจการซื้อมาขายไปแบบค้าปลีก หรือพวกผลิตสินค้าต่าง ๆ ไม่ได้มี EoS เสมอ ค้าปลีก และโรงงานผลิตทั้งหลายแหล่ ส่วนใหญ่ไม่มี EoS หรอกครับ
ลองคุยกันต่ออีกทีนะคับ
เท่าที่ consultant เคยแนะนำมา
fixed cost ต้่องพยายามทำให้เป็น variable cost เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
หนี้สั้น ต้องเปลี่ยนเป็น หนี้ยาวให้หมด เท่าที่ทำได้
อันนี้จริงไหมคับ
ส่ว่นเรื่อง eos ผมไม่แน่ใจว่า มันเป็นกลยุทธ์ ในเชิงการแข่งขันได้มากแค่ไหน
เพราะถึงมีแต่มีผลต่อสัดส่วน ต้นทุนไม่ถึง 5% ก็ไม่รู้จะ
เอามาเป็นกลยุทธ์ในการเชิงการแข่งขันทำไม
มันเหมือน เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาองค์กร
ถ้าผมคิดในแง่อย่างนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไรอะคับ
show me money.
- tradtrae
- Verified User
- โพสต์: 247
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 8
ในแง่บัญชีต้นทุน จะประกอบด้วยต้นทุนผันแปร (variable cost) และ ต้นทุนคงที่ (fixed cost)
ต้นทุนผันแปร ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณที่ผลิต
ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายในการผฟลิตสินค้าที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะผลิตได้ปริมาณเท่าใดก็ตาม
เช่น
ถ้าเราจะพับนกกระดาษสัก 1 ตัว ใช้เวลาพับมาตรฐาน 2 นาที ภายใต้ดวงไฟ 20 วัตต์ที่เปิด 2 นาที
เราจะมีต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ 1 แผ่น และ ค่าแรงงานในการพับนกกระดาษ 2 นาที
และจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าไฟ 20 วัตต์ 2 นาที
หากเราจ้างคนมาพับนกกระดาษ 10 ตัว 10 คน โดยใช้เวลามาตรฐาน 2 นาทีต่อนกกระดาษ 1 ตัว ภายใต้ดวงไฟ 20 วัตต์ที่เปิด 2 นาที
เราจะมีต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ 10 แผ่น และ ค่าแรงงานในการพับนกกระดาษ 20 นาที
และจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าไฟ 20 วัตต์ 2 นาที
หากเราคำนวณต้นทุนของนกกระดาษ 1 ตัวที่ผลิตเพียง 1 ตัว และ ต้นทุนของนกกระดาษ 1 ตัวที่ผลิต 10 ตัว จะพบว่า
ต้นทุนของนกกระดาษที่พับพร้อมกัน 10 ตัว จะถูกกว่าต้นทุนของนกกระดาษที่ผลิตเพียงตัวเดียว
นี่ครับ หลักของ Economy of Scale
ต้นทุนผันแปร ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณที่ผลิต
ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายในการผฟลิตสินค้าที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะผลิตได้ปริมาณเท่าใดก็ตาม
เช่น
ถ้าเราจะพับนกกระดาษสัก 1 ตัว ใช้เวลาพับมาตรฐาน 2 นาที ภายใต้ดวงไฟ 20 วัตต์ที่เปิด 2 นาที
เราจะมีต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ 1 แผ่น และ ค่าแรงงานในการพับนกกระดาษ 2 นาที
และจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าไฟ 20 วัตต์ 2 นาที
หากเราจ้างคนมาพับนกกระดาษ 10 ตัว 10 คน โดยใช้เวลามาตรฐาน 2 นาทีต่อนกกระดาษ 1 ตัว ภายใต้ดวงไฟ 20 วัตต์ที่เปิด 2 นาที
เราจะมีต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ 10 แผ่น และ ค่าแรงงานในการพับนกกระดาษ 20 นาที
และจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าไฟ 20 วัตต์ 2 นาที
หากเราคำนวณต้นทุนของนกกระดาษ 1 ตัวที่ผลิตเพียง 1 ตัว และ ต้นทุนของนกกระดาษ 1 ตัวที่ผลิต 10 ตัว จะพบว่า
ต้นทุนของนกกระดาษที่พับพร้อมกัน 10 ตัว จะถูกกว่าต้นทุนของนกกระดาษที่ผลิตเพียงตัวเดียว
นี่ครับ หลักของ Economy of Scale
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 9
เรื่องการเปลี่ยน fixed เป็น variable cost เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแบบนั้นคงเป็นแง่บัญชีหรือเปล่าครับ ธุรกิจบางอย่างมันต้องมี fixed cost สูงเป็น nature ของมันเองเปลี่ยนได้ยากnut776 เขียน: ลองคุยกันต่ออีกทีนะคับ
เท่าที่ consultant เคยแนะนำมา
fixed cost ต้่องพยายามทำให้เป็น variable cost เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
หนี้สั้น ต้องเปลี่ยนเป็น หนี้ยาวให้หมด เท่าที่ทำได้
อันนี้จริงไหมคับ
ข้อดีของธุรกิจที่มี fixed cost ต่ำคือผู้ประกอบการรายเล็กทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ทุนสูง แต่ก็ต้องแลกด้วยการมีคู่แข่งมากเพราะใครก็ทำได้
ถ้ามีผลต่อสัดส่วนต้นทุนน้อยขนาดนั้น เราก็ไม่เรียกว่ามี EoS ไงครับnut776 เขียน: ส่ว่นเรื่อง eos ผมไม่แน่ใจว่า มันเป็นกลยุทธ์ ในเชิงการแข่งขันได้มากแค่ไหน
เพราะถึงมีแต่มีผลต่อสัดส่วน ต้นทุนไม่ถึง 5% ก็ไม่รู้จะ
เอามาเป็นกลยุทธ์ในการเชิงการแข่งขันทำไม
มันเหมือน เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาองค์กร
ถ้าผมคิดในแง่อย่างนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไรอะคับ
ธุรกิจใดที่ไม่มี EoS ก็ต้องสร้าง competitive advantage ผ่านทางอื่น เช่นเพิ่ม operational efficiency (เช่น ลด loss ratio หรือเพิ่ม inventory turnover) หรือใช้ supply หรือ demand advantage แทน
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 10
VARIABLE COST พอเจอการต่อรองแข่งขันระหว่าง supplier ด้วยกัน mass production จะทำให้ purchaser มี bargaining power มากกว่า
แม้แต่ mass production ด้วยกัน volume ขนาดใหญ่ ก็จะมีต้นทุนต่อหน่วยน้อยกว่า volume ขนาดเล็ก
ผมยกตัวอย่างของจริงเลย Telenor (บริษัทแม่ DTAC) จัดซื้ออุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคม สร้างเครือข่ายมือถือให้ประเทศขนาดเล็กประชากรสิบกว่าล้าน เทียบกับซื้อให้ DTAC สำหรับประเทศที่มีประชากรเกือบ 70 ล้านอย่างไทย supplier ทั้งหลายนอกจากจะแย่งกันลดราคามากกว่าในโครงการ DTAC ทั้งไล่ทุบราคา ทั้่ง lobby สารพัด จนราคาต้นทุนต่อหน่วย (variable cost) แตกต่างมากมายจนมีนัยสำคัญ
ยิ่งชัดเจนไปอีก ถ้า Telenor เอาโครงการของสองประเทศมารวมกันซื้่อทีเดียว การแข่งขันของ supplier ก็ยิ่งรุนแรงไปอีก คนซื้อยิ่งมีอำนาจการต่อรองสูงขึ้นไปอีก
ความเป็นจริงก็คือ supplier ยอมเฉือน profit margin ของตัวเองเหมือนกัน เพื่อลงมาแข่งเพื่อให้ได้โครงการที่อิ่มไปได้ทั้งปี ถ้าได้ market share มาจากคู่แข่งสักหน่อย
และ supplier ถ้าจะไม่ให้ margin ตัวเองลด ก็ต้องไปควบคุม cost "ต้นน้ำ" แต่การผลิตจำนวนมากๆ ก็ย่อมกลับทำให้ไปต่อรอง material supplier หรือ subcontractor ของตัวเองได้ดีกว่าโครงการขนาดเล็ก หรือจำนวนสถานีโครงข่ายให้บริการประชาชนจำนวนน้อย
ถ้าเอาตัวอย่างวงการอื่น ก็ไม่ต่างกัน อย่างถ้าคุณสร้างบ้านของคุณหลังเดียว กับโครงการ PS หรือ SENA ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องจัดซื้อจำนวนมาก ("bulk") อำนาจการต่อรองในการซื้อเหล็ก ปูน ดิน หิน ทราย สายไฟ หลอดไฟฟ้า ย่อมมากกว่าช่างก่อสร้างทั่วไปหรือบริษัทรับเหมาเล็กๆ ที่รับสร้างบ้านทีละหลัง
หรือถ้าจะเปรียบเทียบสุดขั้ว ระหว่างคุณไปซื้อหลอดไฟหลอดเดียว กับให้ SENA ซื้อหลอดให้โครงการ คุณย่อมถูกโก่งราคามากกว่าทั้งที่เป็นหลอดจากโรงงานเดียวกัน รุ่นเดียวกัน
และโลกแห่งความเป็นจริง ทุกคนอยากได้ลูกค้าจำนวนมาก อยากผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าเยอะๆ กันทั้งนั้น แต่ก็ต้องไต่บันได ค่อยๆ เติบโตกันทั้งนั้น
ผมว่า แทบจะไม่ได้เรียกว่ากลยุทธอะไรเลย เป็นสภาพจำยอมมากกว่า ว่าตัวเองอยู่ระดับไหนของตลาด (เหมืิอนถ้าคุณเป็น คุณเป็น SENA คุณจะไปจัดซื้อสินค้าคงคลังปริมาณเท่ากับ PS ก็เป็นไปไม่ได้ จึงไม่ใช่เป็นการเลือก แต่เป็นสถานภาพ)
แต่ Economies of Scale เป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่ยกมาแสดงในเรื่องของการได้เปรียบการ "ประหยัด" ต้นทุนของขนาด (Scale) การผลิต
ถ้าได้เรียนเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ต้องพูดถึงหลักการนี้แน่นอน ลองไปดู wikipedia ก็มี
http://en.wikipedia.org/wiki/Economies_of_scale
แม้แต่ mass production ด้วยกัน volume ขนาดใหญ่ ก็จะมีต้นทุนต่อหน่วยน้อยกว่า volume ขนาดเล็ก
ผมยกตัวอย่างของจริงเลย Telenor (บริษัทแม่ DTAC) จัดซื้ออุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคม สร้างเครือข่ายมือถือให้ประเทศขนาดเล็กประชากรสิบกว่าล้าน เทียบกับซื้อให้ DTAC สำหรับประเทศที่มีประชากรเกือบ 70 ล้านอย่างไทย supplier ทั้งหลายนอกจากจะแย่งกันลดราคามากกว่าในโครงการ DTAC ทั้งไล่ทุบราคา ทั้่ง lobby สารพัด จนราคาต้นทุนต่อหน่วย (variable cost) แตกต่างมากมายจนมีนัยสำคัญ
ยิ่งชัดเจนไปอีก ถ้า Telenor เอาโครงการของสองประเทศมารวมกันซื้่อทีเดียว การแข่งขันของ supplier ก็ยิ่งรุนแรงไปอีก คนซื้อยิ่งมีอำนาจการต่อรองสูงขึ้นไปอีก
ความเป็นจริงก็คือ supplier ยอมเฉือน profit margin ของตัวเองเหมือนกัน เพื่อลงมาแข่งเพื่อให้ได้โครงการที่อิ่มไปได้ทั้งปี ถ้าได้ market share มาจากคู่แข่งสักหน่อย
และ supplier ถ้าจะไม่ให้ margin ตัวเองลด ก็ต้องไปควบคุม cost "ต้นน้ำ" แต่การผลิตจำนวนมากๆ ก็ย่อมกลับทำให้ไปต่อรอง material supplier หรือ subcontractor ของตัวเองได้ดีกว่าโครงการขนาดเล็ก หรือจำนวนสถานีโครงข่ายให้บริการประชาชนจำนวนน้อย
ถ้าเอาตัวอย่างวงการอื่น ก็ไม่ต่างกัน อย่างถ้าคุณสร้างบ้านของคุณหลังเดียว กับโครงการ PS หรือ SENA ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องจัดซื้อจำนวนมาก ("bulk") อำนาจการต่อรองในการซื้อเหล็ก ปูน ดิน หิน ทราย สายไฟ หลอดไฟฟ้า ย่อมมากกว่าช่างก่อสร้างทั่วไปหรือบริษัทรับเหมาเล็กๆ ที่รับสร้างบ้านทีละหลัง
หรือถ้าจะเปรียบเทียบสุดขั้ว ระหว่างคุณไปซื้อหลอดไฟหลอดเดียว กับให้ SENA ซื้อหลอดให้โครงการ คุณย่อมถูกโก่งราคามากกว่าทั้งที่เป็นหลอดจากโรงงานเดียวกัน รุ่นเดียวกัน
และโลกแห่งความเป็นจริง ทุกคนอยากได้ลูกค้าจำนวนมาก อยากผลิตสินค้าขายให้ลูกค้าเยอะๆ กันทั้งนั้น แต่ก็ต้องไต่บันได ค่อยๆ เติบโตกันทั้งนั้น
ผมว่า แทบจะไม่ได้เรียกว่ากลยุทธอะไรเลย เป็นสภาพจำยอมมากกว่า ว่าตัวเองอยู่ระดับไหนของตลาด (เหมืิอนถ้าคุณเป็น คุณเป็น SENA คุณจะไปจัดซื้อสินค้าคงคลังปริมาณเท่ากับ PS ก็เป็นไปไม่ได้ จึงไม่ใช่เป็นการเลือก แต่เป็นสถานภาพ)
แต่ Economies of Scale เป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่ยกมาแสดงในเรื่องของการได้เปรียบการ "ประหยัด" ต้นทุนของขนาด (Scale) การผลิต
ถ้าได้เรียนเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ต้องพูดถึงหลักการนี้แน่นอน ลองไปดู wikipedia ก็มี
http://en.wikipedia.org/wiki/Economies_of_scale
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 11
ขอแก้นิดหนึ่งครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นสินค้าคงคลัง แต่หมายถึง ปริมาณวัตถุที่ใช้ในการผลิตและการก่อสร้างIi'8N เขียน:ผมว่า แทบจะไม่ได้เรียกว่ากลยุทธอะไรเลย เป็นสภาพจำยอมมากกว่า ว่าตัวเองอยู่ระดับไหนของตลาด (เหมืิอนถ้าคุณเป็น คุณเป็น SENA คุณจะไปจัดซื้อสินค้าคงคลังปริมาณเท่ากับ PS ก็เป็นไปไม่ได้ จึงไม่ใช่เป็นการเลือก แต่เป็นสถานภาพ)
แต่ Economies of Scale เป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค ที่ยกมาแสดงในเรื่องของการได้เปรียบการ "ประหยัด" ต้นทุนของขนาด (Scale) การผลิต
(ถ้าจัดการดี Inventory ของบริษัทใหญ่ก็น้อยกว่าบริษัทเล็กได้)
-
- Verified User
- โพสต์: 110
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 12
ข้อความนี้ผมว่าน่าจะอธิบาย Economy of Scale(ประหยัดต่อขนาด)ได้ดีสุดtradtrae เขียน:ในแง่บัญชีต้นทุน จะประกอบด้วยต้นทุนผันแปร (variable cost) และ ต้นทุนคงที่ (fixed cost)
ต้นทุนผันแปร ก็คือ ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามปริมาณที่ผลิต
ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายในการผฟลิตสินค้าที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะผลิตได้ปริมาณเท่าใดก็ตาม
เช่น
ถ้าเราจะพับนกกระดาษสัก 1 ตัว ใช้เวลาพับมาตรฐาน 2 นาที ภายใต้ดวงไฟ 20 วัตต์ที่เปิด 2 นาที
เราจะมีต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ 1 แผ่น และ ค่าแรงงานในการพับนกกระดาษ 2 นาที
และจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าไฟ 20 วัตต์ 2 นาที
หากเราจ้างคนมาพับนกกระดาษ 10 ตัว 10 คน โดยใช้เวลามาตรฐาน 2 นาทีต่อนกกระดาษ 1 ตัว ภายใต้ดวงไฟ 20 วัตต์ที่เปิด 2 นาที
เราจะมีต้นทุนผันแปรคือ กระดาษ 10 แผ่น และ ค่าแรงงานในการพับนกกระดาษ 20 นาที
และจะมีต้นทุนคงที่คือ ค่าไฟ 20 วัตต์ 2 นาที
หากเราคำนวณต้นทุนของนกกระดาษ 1 ตัวที่ผลิตเพียง 1 ตัว และ ต้นทุนของนกกระดาษ 1 ตัวที่ผลิต 10 ตัว จะพบว่า
ต้นทุนของนกกระดาษที่พับพร้อมกัน 10 ตัว จะถูกกว่าต้นทุนของนกกระดาษที่ผลิตเพียงตัวเดียว
นี่ครับ หลักของ Economy of Scale
แต่จริงๆไม่ใช่แค่ต้นทุนคงที่เท่านั้นที่ก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ยังมีปัจจัยอื่น เช่น
ความชำนาญการผลิต กำลังการผลิต(แปรผันกับยอดขาย)
เช่นไฟ1ดวงอาจพอเพียงสำหรับคนงานแค่5คน ถ้าขายได้แค่วันละ4-5 ชิ้นก็ใช้ไฟแค่1ดวง
แต่ถ้าเกิดยอดขายเพิ่มเป็น6 เราอยากขยายกำลังการผลิตต้องลงทุนไฟอีก1ดวง
แต่เราใช้ประโยชน์จากไฟที่เพิ่มอีก1ดวงไปแค่20% ก็อาจจะไม่ก่อให้เกิด Economy of Scale
ซึ่งในส่วนด้านบนผมว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราเป็นหน้าที่ของเจ้าของกิจการที่จะต้องคำนวนต้นทุนของเค้า
ถ้าเป็นส่วนของผู้ลงทุน อาจจะมองไปที่เรื่อง โรงงานของบริษัทดำเนินการผลิตเต็มอัตราหรือยัง
เช่น ถ้าเต็มแล้วแสดงว่าไม่มีทางผลิตได้มากกว่านี้ หมายความว่าถ้าอยากเพิ่มยอดขายบริษัทต้องลงทุนเพิ่ม(ถ้าเงินสดไม่พอ อาจมีการกู้หรือเพิ่มทุน)อะไรทำนองนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 13
ไม่ใช่ทางบัญชีคับอาจารย์mprandy เขียน:เรื่องการเปลี่ยน fixed เป็น variable cost เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแบบนั้นคงเป็นแง่บัญชีหรือเปล่าครับ ธุรกิจบางอย่างมันต้องมี fixed cost สูงเป็น nature ของมันเองเปลี่ยนได้ยากnut776 เขียน: ลองคุยกันต่ออีกทีนะคับ
เท่าที่ consultant เคยแนะนำมา
fixed cost ต้่องพยายามทำให้เป็น variable cost เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
หนี้สั้น ต้องเปลี่ยนเป็น หนี้ยาวให้หมด เท่าที่ทำได้
อันนี้จริงไหมคับ
ข้อดีของธุรกิจที่มี fixed cost ต่ำคือผู้ประกอบการรายเล็กทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้ทุนสูง แต่ก็ต้องแลกด้วยการมีคู่แข่งมากเพราะใครก็ทำได้
ถ้ามีผลต่อสัดส่วนต้นทุนน้อยขนาดนั้น เราก็ไม่เรียกว่ามี EoS ไงครับnut776 เขียน: ส่ว่นเรื่อง eos ผมไม่แน่ใจว่า มันเป็นกลยุทธ์ ในเชิงการแข่งขันได้มากแค่ไหน
เพราะถึงมีแต่มีผลต่อสัดส่วน ต้นทุนไม่ถึง 5% ก็ไม่รู้จะ
เอามาเป็นกลยุทธ์ในการเชิงการแข่งขันทำไม
มันเหมือน เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว เพื่อพัฒนาองค์กร
ถ้าผมคิดในแง่อย่างนี้ ท่านมีความเห็นอย่างไรอะคับ
ธุรกิจใดที่ไม่มี EoS ก็ต้องสร้าง competitive advantage ผ่านทางอื่น เช่นเพิ่ม operational efficiency (เช่น ลด loss ratio หรือเพิ่ม inventory turnover) หรือใช้ supply หรือ demand advantage แทน
เคยทำธุรกิจ ตอนรายได้ไม่เข้าเป้า
เงินสดสำรองไม่เยอะ
ต้องลด fix cost ลงม่หรือเปลี่ยนเปน าvariable ให้ได้
consult ให้โจทย์มาแ่่่ี้ นคสุดท้ายไม่ได้บอกว่าทำไง
สุดท้าย ต้องขายขาดทุน
ทำเองรู้หน่้ตักตัวเอง
พอมาดูงบ บ. ในตลาดประยุกต์ไม่ถูกเลยคับ
ว่าแต่ อ. เอาเวลาไหนอ่านหนังสือคับ
grand round อ. ดุไหมคับ
เพิ่งทราบไม่นานคับ ว่า มีคนหลังคาเดียวกันด้วยคับ
แต่อ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 581
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 15
ขอตอบในมุมที่ผมคิดนะครับ ตรงไหนผิดถูกแลกเปลี่ยนได้ ยินดีครับ
1. มันคือการทำให้เกิดประโยชน์ (utilize) จาก asset ที่มีอยู่ให้มากที่สุด จากขนาด (scale) ที่สูงขึ้น
โดย asset ทุกตัวมีต้นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น PP&E ปัจจัยการผลิต ตราสินค้า ชื่อเสียง สิทธิทางการค้า หรือแม้กระทั่ง "คน"
ลืมเรื่องประเภทต้นทุนจะ fixed จะ variable ไปได้เลยครับ เพราะในทางปฏิบัติ fixed คือ variable ในระยะยาว
และ variable เองก็มาจาก fixed ในวันนี้ โดยถ้าพิจารณาตาม variable ของเราคือ fixed ของ supplier
ดังนั้นเราก็จะใช้ประโยชน์จากขนาดที่สูงขึ้นนี้ utilize asset(cost) ของ supplier ด้วย ทำให้เราไ้ด้ประโยชน์จาก variable ที่ต่ำลง
ตัวอย่างก็ไม่ขอยกนะเพราะคงเห็นกันดีอยู่แล้วตามที่หลายท่านอธิบาย
ไหนๆ ก็พูดแล้ว พอดีมันมีอีกตัวที่คู่กันคือ economies of scope ก็ขอเสนอมุมมองไปด้วยเลย
2. มันคือการทำให้เกิดประโยชน์ (utilize) จาก asset ที่มีอยู่ให้มากที่สุด จากขอบเขต (scope) ที่สูงขึ้น
โดย asset ทุกตัวมีต้นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น PP&E ปัจจัยการผลิต ตราสินค้า ชื่อเสียง สิทธิทางการค้า หรือแม้กระทั่ง "คน"
อันนี้แนวคิดเหมือนข้อ 1 แต่ Driver ไม่ใช่ ขนาด (scale) แต่เป็น ขอบเขต (scope)
พูดง่ายๆ คือแทนที่จะนำไปใช้ประโยชน์แบบเดิมที่เป็นอยู่ ก็ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
เช่น ตราสินค้าเดิมที่ดีและน่าเชื่อถือ ก็นำไปใช้ออกสินค้าอื่น
หรือการใช้ waste หรือ by-product ทำเป็นสินค้า
อันนี้ตอนนี้ผมนึกถึงฟาร์มโชคชัยครับ เพิ่งไปกินสเต๊กกับทำไอติมมา ^^
ส่วนตัวผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันใช้เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจเชิงเปรียบเทียบได้ แต่ dynamic ครับ
เพราะทุกวันนี้ไม่มีอะไรที่จะได้เปรียบกันตลอดกาลหรือยาวนานหลายๆสิบปี อีกแล้ว
อันนี้เป็นมุมมองเรื่องกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเท่าที่เข้าใจนะครับ ส่วนจะสะท้อนไปยังเรื่องอื่นๆอย่างไร ไม่รู้ครับ ^^
1. มันคือการทำให้เกิดประโยชน์ (utilize) จาก asset ที่มีอยู่ให้มากที่สุด จากขนาด (scale) ที่สูงขึ้น
โดย asset ทุกตัวมีต้นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น PP&E ปัจจัยการผลิต ตราสินค้า ชื่อเสียง สิทธิทางการค้า หรือแม้กระทั่ง "คน"
ลืมเรื่องประเภทต้นทุนจะ fixed จะ variable ไปได้เลยครับ เพราะในทางปฏิบัติ fixed คือ variable ในระยะยาว
และ variable เองก็มาจาก fixed ในวันนี้ โดยถ้าพิจารณาตาม variable ของเราคือ fixed ของ supplier
ดังนั้นเราก็จะใช้ประโยชน์จากขนาดที่สูงขึ้นนี้ utilize asset(cost) ของ supplier ด้วย ทำให้เราไ้ด้ประโยชน์จาก variable ที่ต่ำลง
ตัวอย่างก็ไม่ขอยกนะเพราะคงเห็นกันดีอยู่แล้วตามที่หลายท่านอธิบาย
ไหนๆ ก็พูดแล้ว พอดีมันมีอีกตัวที่คู่กันคือ economies of scope ก็ขอเสนอมุมมองไปด้วยเลย
2. มันคือการทำให้เกิดประโยชน์ (utilize) จาก asset ที่มีอยู่ให้มากที่สุด จากขอบเขต (scope) ที่สูงขึ้น
โดย asset ทุกตัวมีต้นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น PP&E ปัจจัยการผลิต ตราสินค้า ชื่อเสียง สิทธิทางการค้า หรือแม้กระทั่ง "คน"
อันนี้แนวคิดเหมือนข้อ 1 แต่ Driver ไม่ใช่ ขนาด (scale) แต่เป็น ขอบเขต (scope)
พูดง่ายๆ คือแทนที่จะนำไปใช้ประโยชน์แบบเดิมที่เป็นอยู่ ก็ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
เช่น ตราสินค้าเดิมที่ดีและน่าเชื่อถือ ก็นำไปใช้ออกสินค้าอื่น
หรือการใช้ waste หรือ by-product ทำเป็นสินค้า
อันนี้ตอนนี้ผมนึกถึงฟาร์มโชคชัยครับ เพิ่งไปกินสเต๊กกับทำไอติมมา ^^
ส่วนตัวผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันใช้เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจเชิงเปรียบเทียบได้ แต่ dynamic ครับ
เพราะทุกวันนี้ไม่มีอะไรที่จะได้เปรียบกันตลอดกาลหรือยาวนานหลายๆสิบปี อีกแล้ว
อันนี้เป็นมุมมองเรื่องกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเท่าที่เข้าใจนะครับ ส่วนจะสะท้อนไปยังเรื่องอื่นๆอย่างไร ไม่รู้ครับ ^^
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 16
เช่นไมโครซอฟท์
ก่อนจะออกวินโดวส์รุ่นใหม่ ต้องเสียงบวิจัยพัฒนามหาศาล
แต่เมื่อขาย ต้นทุนการทำโปรแกรมน้อยมาก(ต้นทุนราคาเท่าแผ่นซีดี+เเพ็กเกจ)
พอมาเฉลี่ยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรแล้ว จะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยลดลงครับ
สังขิตเตนะ โดยย่อ รวบยอด
บริษัทที่มีECONOMIES of SCALE สูงๆ คือบริษัทที่ต้นทุนคงที่สูงกว่าต้นทุนผันแปรมากๆครับ
ก่อนจะออกวินโดวส์รุ่นใหม่ ต้องเสียงบวิจัยพัฒนามหาศาล
แต่เมื่อขาย ต้นทุนการทำโปรแกรมน้อยมาก(ต้นทุนราคาเท่าแผ่นซีดี+เเพ็กเกจ)
พอมาเฉลี่ยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรแล้ว จะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยลดลงครับ
สังขิตเตนะ โดยย่อ รวบยอด
บริษัทที่มีECONOMIES of SCALE สูงๆ คือบริษัทที่ต้นทุนคงที่สูงกว่าต้นทุนผันแปรมากๆครับ
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 17
ถ้าอย่างนั้นมันก็หมายถึงให้เราปรับโมเดลธุรกิจใหม่เลยนะครับ คือเปลี่ยนให้เป็นโมเดลที่ลงทุนไม่หนัก (fixed cost ต่ำ) แล้วให้อยู่รอดได้ก่อน คืออาศัยการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการในการลดต้นทุน โดยไม่ต้องไปมัวแต่พะวงเรื่องการสร้าง DCA ด้วย EoSnut776 เขียน: ไม่ใช่ทางบัญชีคับอาจารย์
เคยทำธุรกิจ ตอนรายได้ไม่เข้าเป้า
เงินสดสำรองไม่เยอะ
ต้องลด fixed cost ลงมาหรือเปลี่ยนเป็น variable ให้ได้
consult ให้โจทย์มาแค่นี้สุดท้ายไม่ได้บอกว่าทำไง
สุดท้าย ต้องขายขาดทุน
ทำเองรู้หน่้าตักตัวเอง
พอมาดูงบ บ. ในตลาดประยุกต์ไม่ถูกเลยคับ
เอาให้รอดตาย ไม่เจ๊งก่อน ค่อยคิดว่าจะโต และโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไรครับ
EoS เห็นพูด ๆ กันโครม ๆ หน่ะ ... แท้จริงแล้วสร้างยากนะครับ ถ้าทุกคนทำได้กันหมด มันจะเป็น DCA ได้ยังไงล่ะ จริงไหม
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 18
่ตรงนี้แหละคับที่้สงสัยchowbe76 เขียน: บริษัทที่มีECONOMIES of SCALE สูงๆ คือบริษัทที่ต้นทุนคงที่สูงกว่าต้นทุนผันแปรมากๆครับ
เพราะทั่วไป การมี fix cost สูง มากไม่น่าจะเป็นสิ่งดีคับ
ยิ่งในกรณี เงินทุนหมุนเวียนต่ำ หรือ ภาวะ ที่ไม่สามารถคาดเดา income ได้ชัดเจน
เหมือนผมยังคิดไม่ตกในมุมใดมุมหนึ่ง
เหมือนที่อาจารย์ หมอ จะพยายามบอก
คือ ภาพ ที่เราเห็นว่า มี eos คือ ต้องเป็นบ. ทีี่มั่นคงแล้ว
แต่ถ้าบ. ที่ไม่มั่นคง ก็ไม่ต้องไปมองหาว่ามี eos หรือไม่
ประมาณนี้หรือเปล่าคับ เหมือนเป็นการ ruled out เอาบ. ที่ฐานะการเงินไม่ดีไปในตัว
ไปเลยหรือเปล่้าคับ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 19
ถ้าไม่โกรธกันนะคับrayvi เขียน:ขอตอบในมุมที่ผมคิดนะครับ ตรงไหนผิดถูกแลกเปลี่ยนได้ ยินดีครับ
1. มันคือการทำให้เกิดประโยชน์ (utilize) จาก asset ที่มีอยู่ให้มากที่สุด จากขนาด (scale) ที่สูงขึ้น
โดย asset ทุกตัวมีต้นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น PP&E ปัจจัยการผลิต ตราสินค้า ชื่อเสียง สิทธิทางการค้า หรือแม้กระทั่ง "คน"
ลืมเรื่องประเภทต้นทุนจะ fixed จะ variable ไปได้เลยครับ เพราะในทางปฏิบัติ fixed คือ variable ในระยะยาว
และ variable เองก็มาจาก fixed ในวันนี้ โดยถ้าพิจารณาตาม variable ของเราคือ fixed ของ supplier
ดังนั้นเราก็จะใช้ประโยชน์จากขนาดที่สูงขึ้นนี้ utilize asset(cost) ของ supplier ด้วย ทำให้เราไ้ด้ประโยชน์จาก variable ที่ต่ำลง
ตัวอย่างก็ไม่ขอยกนะเพราะคงเห็นกันดีอยู่แล้วตามที่หลายท่านอธิบาย
ไหนๆ ก็พูดแล้ว พอดีมันมีอีกตัวที่คู่กันคือ economies of scope ก็ขอเสนอมุมมองไปด้วยเลย
2. มันคือการทำให้เกิดประโยชน์ (utilize) จาก asset ที่มีอยู่ให้มากที่สุด จากขอบเขต (scope) ที่สูงขึ้น
โดย asset ทุกตัวมีต้นทุน และเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ไม่ว่าจะเป็น PP&E ปัจจัยการผลิต ตราสินค้า ชื่อเสียง สิทธิทางการค้า หรือแม้กระทั่ง "คน"
อันนี้แนวคิดเหมือนข้อ 1 แต่ Driver ไม่ใช่ ขนาด (scale) แต่เป็น ขอบเขต (scope)
พูดง่ายๆ คือแทนที่จะนำไปใช้ประโยชน์แบบเดิมที่เป็นอยู่ ก็ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น
เช่น ตราสินค้าเดิมที่ดีและน่าเชื่อถือ ก็นำไปใช้ออกสินค้าอื่น
หรือการใช้ waste หรือ by-product ทำเป็นสินค้า
อันนี้ตอนนี้ผมนึกถึงฟาร์มโชคชัยครับ เพิ่งไปกินสเต๊กกับทำไอติมมา ^^
ส่วนตัวผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้มันใช้เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจเชิงเปรียบเทียบได้ แต่ dynamic ครับ
เพราะทุกวันนี้ไม่มีอะไรที่จะได้เปรียบกันตลอดกาลหรือยาวนานหลายๆสิบปี อีกแล้ว
อันนี้เป็นมุมมองเรื่องกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเท่าที่เข้าใจนะครับ ส่วนจะสะท้อนไปยังเรื่องอื่นๆอย่างไร ไม่รู้ครับ ^^
อ่านแล้ว งง คับ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 57
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 20
ต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนนะครับว่า EoS ไม่มีในธุรกิจทุกชนิดนะครับ ต้องเอาตรงนี้ให้เคลียร์ก่อน บางอย่างมี EoS ได้ บางอย่างพยายามทำแทบตายก็ไม่มีครับ เพราะ nature ของมันเปนเช่นนั้นnut776 เขียน:่ตรงนี้แหละคับที่้สงสัยchowbe76 เขียน: บริษัทที่มีECONOMIES of SCALE สูงๆ คือบริษัทที่ต้นทุนคงที่สูงกว่าต้นทุนผันแปรมากๆครับ
เพราะทั่วไป การมี fix cost สูง มากไม่น่าจะเป็นสิ่งดีคับ
ยิ่งในกรณี เงินทุนหมุนเวียนต่ำ หรือ ภาวะ ที่ไม่สามารถคาดเดา income ได้ชัดเจน
เหมือนผมยังคิดไม่ตกในมุมใดมุมหนึ่ง
เหมือนที่อาจารย์ หมอ จะพยายามบอก
คือ ภาพ ที่เราเห็นว่า มี eos คือ ต้องเป็นบ. ทีี่มั่นคงแล้ว
แต่ถ้าบ. ที่ไม่มั่นคง ก็ไม่ต้องไปมองหาว่ามี eos หรือไม่
ประมาณนี้หรือเปล่าคับ เหมือนเป็นการ ruled out เอาบ. ที่ฐานะการเงินไม่ดีไปในตัว
ไปเลยหรือเปล่้าคับ
คนชอบใช้คำนี้กันเกร่อให้ดูเท่แต่เข้าใจผิด
อุตสาหกรรมที่มี EoS ได้ เช่น ซอฟท์แวร์, หนังสือพิมพ์, ผู้ให้บริการมือถือ, ชิปคอมพิวเตอร์ เปนต้น
อุตสาหกรรมที่ทำให้เกิด EoS ได้ยาก เช่น ค้าปลีก, อสังหา, ประกอบและจำหน่าย PC, ผลิตรถยนตร์ เปนต้น
แยกความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ได้หรือเปล่าครับ ว่ามันอยู่ตรงไหน
ของบางอย่างคนคิดว่าเปน EoS แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ มันเปนเพียง operational efficiency ครับ
ไทยวิเอย ... จงซับซ้อนยิ่งขึ้น
เขาว่าผมเป็น บิดาแห่ง CI ... Celebrity Investment อะฮิ อะฮิ ^^
มีแฟนเพจแล้วด้วย http://www.facebook.com/celebfollower
เขาว่าผมเป็น บิดาแห่ง CI ... Celebrity Investment อะฮิ อะฮิ ^^
มีแฟนเพจแล้วด้วย http://www.facebook.com/celebfollower
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 21
ผมเห็นต่างนะครับ ว่าใช้ได้เกือบทุกวงการ
เพราะการผลิตหรือการสร้า่งอะไรก็ตาม ที่ทำให้ average cost per unit ลดลง เมื่อ scale มาก/ใหญ่ขึ้น เข้าข่าย economies of scale ทั้งสิ้น
economies of scale = ประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น
scale ความต้องการให้เกิดผลิตผลจำนวนมากๆ
รถยนต์ ระหว่างอู่ทำรถเล็กๆ ทำรถคันสองคัน กับบริืษัทรถขนาดใหญ่ อู่ต่อรถย่อมต้นทุนสูงกว่า
แม้แต่บริษัทรถขนาดใหญ่เองก็เถอะ ถ้าทำรถต้นแบบคันเดียวหรือรถที่เป็นแค่ concept car เทียบกับทำรถขายมวลชน ต้นทุนต่อหน่วยผิดกัน
ค้าปลีก ยิ่งไปใหญ่ 7-11 ยิ่งขยายสาขา ก็ยิ่งต่อรอง supplier ได้มาก
Lotus/BigC ยิ่งมีสาขาเยอะ ก็ยิ่งได้ต้นทุนถูก มีแต่ supplier วิ่้งเข้าหา แทนที่จะไปวิ่งหาเอง เพราะสาขา คือการเพิ่ม Distribution Channel
อสังหาบอกทำยาก แต่อย่างที่ผมเปรียบเทียบข้างบน เรื่องการสร้างบ้านโดยช่างรับเหมา 1 หลัง กับบริษัทขนาดใหญ่ปั๊มออกมาจนคนเมาเข้าผิดบ้าน ต้นทุนต่างกันลิบ
และอย่างที่บอก ผมยังมั่นใจว่าไม่ใช่เรื่อง strategy แต่เป็นเรื่อง status
แต่นักเศรษฐศาสตร์ แค่พยายามอธิบายแค่นั้น ว่ายิ่งใหญ่ขึ้นต้นทุนต่อหน่วยยิ่งถูกลง (แต่มีจุดอิ่มตัวเหมือนกันเมื่อใหญ่ไปถึงจุดหนึ่งที่ใหญ่เกิน แล้วปัญหาจะรุมเร้า เขาให้ชื่อว่้า Diseconomy of scale)
เพราะถ้ามีโอกาสหรือหนทางเติบโต ใครๆ ก็อยากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาดของอุตสาหกรรมตัวเองทั้งนั้น ถ้าไม่โกหกเมื่อบริหารผิดพลาดหรือแก้ตัวแบบองุ่นเปรี้ยว ว่า "อยู่ตามอัตภาพ" นี่แหละ
ก็ขนาดองค์กรการกุศล ก็ยังอยากดังอยากใหญ่เลย....แต่นี่ธุรกิจทั้งนั้น
เพราะการผลิตหรือการสร้า่งอะไรก็ตาม ที่ทำให้ average cost per unit ลดลง เมื่อ scale มาก/ใหญ่ขึ้น เข้าข่าย economies of scale ทั้งสิ้น
economies of scale = ประหยัดจากขนาดที่ใหญ่ขึ้น
scale ความต้องการให้เกิดผลิตผลจำนวนมากๆ
รถยนต์ ระหว่างอู่ทำรถเล็กๆ ทำรถคันสองคัน กับบริืษัทรถขนาดใหญ่ อู่ต่อรถย่อมต้นทุนสูงกว่า
แม้แต่บริษัทรถขนาดใหญ่เองก็เถอะ ถ้าทำรถต้นแบบคันเดียวหรือรถที่เป็นแค่ concept car เทียบกับทำรถขายมวลชน ต้นทุนต่อหน่วยผิดกัน
ค้าปลีก ยิ่งไปใหญ่ 7-11 ยิ่งขยายสาขา ก็ยิ่งต่อรอง supplier ได้มาก
Lotus/BigC ยิ่งมีสาขาเยอะ ก็ยิ่งได้ต้นทุนถูก มีแต่ supplier วิ่้งเข้าหา แทนที่จะไปวิ่งหาเอง เพราะสาขา คือการเพิ่ม Distribution Channel
อสังหาบอกทำยาก แต่อย่างที่ผมเปรียบเทียบข้างบน เรื่องการสร้างบ้านโดยช่างรับเหมา 1 หลัง กับบริษัทขนาดใหญ่ปั๊มออกมาจนคนเมาเข้าผิดบ้าน ต้นทุนต่างกันลิบ
และอย่างที่บอก ผมยังมั่นใจว่าไม่ใช่เรื่อง strategy แต่เป็นเรื่อง status
แต่นักเศรษฐศาสตร์ แค่พยายามอธิบายแค่นั้น ว่ายิ่งใหญ่ขึ้นต้นทุนต่อหน่วยยิ่งถูกลง (แต่มีจุดอิ่มตัวเหมือนกันเมื่อใหญ่ไปถึงจุดหนึ่งที่ใหญ่เกิน แล้วปัญหาจะรุมเร้า เขาให้ชื่อว่้า Diseconomy of scale)
เพราะถ้ามีโอกาสหรือหนทางเติบโต ใครๆ ก็อยากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาดของอุตสาหกรรมตัวเองทั้งนั้น ถ้าไม่โกหกเมื่อบริหารผิดพลาดหรือแก้ตัวแบบองุ่นเปรี้ยว ว่า "อยู่ตามอัตภาพ" นี่แหละ
ก็ขนาดองค์กรการกุศล ก็ยังอยากดังอยากใหญ่เลย....แต่นี่ธุรกิจทั้งนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 22
คุณสาวกยอมหรือเปล่าไม่รู้ แต่ผมยอมแพ้ ... ไม่อยากแย้งแล้วล่ะ เด๋วนี้พิมพ์ยาว ๆ ไม่ค่อยเป็น :lovl:
ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้แล้วกัน Competition Demystified: A Radically Simplified Approach to Business Strategy เขียนโดย Bruce C. Greenwald
เขาอธิบายเรื่องนี้ได้ดีและง่ายที่สุด เท่าที่เคยอ่านมา
http://www.amazon.com/Competition-Demys ... 042&sr=8-2
ผมแนะนำหนังสือเล่มนี้แล้วกัน Competition Demystified: A Radically Simplified Approach to Business Strategy เขียนโดย Bruce C. Greenwald
เขาอธิบายเรื่องนี้ได้ดีและง่ายที่สุด เท่าที่เคยอ่านมา
http://www.amazon.com/Competition-Demys ... 042&sr=8-2
ไม่สน return rate เยอะ, ขอแค่ financial freedom ภายใน 14 ปีก็พอ..
------------------------
------------------------
- NinjaTurtle
- Verified User
- โพสต์: 506
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Economies of scale คืออะไร มีหลักพิจารณาอย่างไร
โพสต์ที่ 23
ขุดมาทำไมไม่รู้
หาว่า EoS จะมองให้ง่ายแค่ดูว่า บ. มีอำนาจต่อรองเหนือ Supplier ไหม น่าจะช่วยได้
หาว่า EoS จะมองให้ง่ายแค่ดูว่า บ. มีอำนาจต่อรองเหนือ Supplier ไหม น่าจะช่วยได้
Why not invest your assets in the companies you really like? As Mae West said, "Too much of a good thing can be wonderful."