มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 1
ผมเริ่มศึกษา vi มาได้ระยะหนึ่ง
ผมยังไม่เข้าใจว่า
มองธรุกิจให้เป็น มองธุรกิจให้ออก เข้าใจธรุกิจ เป็นตั้น
แท้ที่จริงแล้วมันต้องเรียนรู้ รับรู้เรื่องอะไรบ้างถึงขั้นที่พูดได้ว่า
ผมมองธุรกิจเป็น ผมเข้าใจธุรกิจนี้ดี
ขอช่วยให้ความสว่างแก่ผมที่ครับ
ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนได้ ก็ยิ่งดีครับ
ขอคุณเพื่อนๆที่ให้ความรู้ที่มีแค่แก่ผมครับ
ผมยังไม่เข้าใจว่า
มองธรุกิจให้เป็น มองธุรกิจให้ออก เข้าใจธรุกิจ เป็นตั้น
แท้ที่จริงแล้วมันต้องเรียนรู้ รับรู้เรื่องอะไรบ้างถึงขั้นที่พูดได้ว่า
ผมมองธุรกิจเป็น ผมเข้าใจธุรกิจนี้ดี
ขอช่วยให้ความสว่างแก่ผมที่ครับ
ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนได้ ก็ยิ่งดีครับ
ขอคุณเพื่อนๆที่ให้ความรู้ที่มีแค่แก่ผมครับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 2
ไม่มีใครสามารถรู้เรื่องได้หมด
แต่ยิ่งรู้มาก คือการลดความเสี่ยงมากขึ้น โอกาสพลาดในการลงทุนก็น้อยลง
แต่อย่างน้อย
- ในเชิงปริมาณหรือเชิงตัวเลข (Quantitative) = สุขภาพทางการเงิน
ควรรู้แหล่งที่มาของรายได้ ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนั้นๆ
ลักษณะของรายจ่าย
การไหลของเงินสด
อัตราส่วนทางการเงิน โดยเฉพาะความสามารถในการทำกำไร และการเป็นหนี้
ต้องดูลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่าทางการเงินมีอะไรเป็นพิเศษแตกต่างจากกิจการหรือุตสาหกรรมอื่นหรือไม่ มิฉะนั้นอาจติดกับดักทางตัวเลข หรือถูกนักบัญชีหลอกได้ เช่น กิจการหลายประเภท Backlog เป็นสิ่งสำคัญ
และโดยเฉพาะถ้าเป็นวงการก่อสร้างบ้านขาย ดร.นิเวศน์บอกว่า ส่วนตัวไม่อยากเข้าไปยุ่ง เพราะตัวเลขที่เห็นอยู่ เป็นผลงานในอดีตที่ผ่านมานานแล้ว ไม่ได้แสดงฝีมือปัจจุบัน เป็นต้น
หรือบางกิจการ ได้ของมาก่อน แล้วผ่อนทีหลังก็เยอะ ก็จะเป็นประโยชน์ในเชิงแข่งขัน
แต่ก็ระวังการแต่งตัวเลข ลงประเภทของตัวเลขเพี้ยนจากสิ่งที่ควรจะเป็น อย่างที่เกิดกับบริษัทระดับโลกมาแล้ว
อย่างวงการ ICT (มือถือ/อินเตอร์เน็ต) ADVANCE/DTAC/TRUE/JAS คุณต้องศึกษาส่วนแบ่งในตลาดและลูกค้าในมือ เพราะชัดเจนมากที่แปรผันกับรายได้
แล้วต้องศึกษาศัพท์เฉพาะในวงการนั้นๆ ที่ตรงประเด็นกับตัวเลขแสดง "สุขภาพทางการเงินเลย" อย่างตัวอย่างในวงการมือถือหรอือินเตอร์เน็ต ถ้าไม่รู้จัก ก็ต้องเรียนรู่ว่า ARPU: Avearge Revenue per Unit or per User คืออะไร ถ้ายังไม่รู้แล้วซื้อหุ้น แปลว่ารู้โดยผิวเผินมาก
ลองเอางบการเงินในอดีตมาเปิดดูเลย จะค่อยๆ เริ่มรู้จักกิจการเชิงตัวเลขมากขึ้น
- ในเชิงคุณภาพ (Quantitative)
วิเคราะห์ว่าธุรกิจเป็นอย่างไร
เริ่มจากง่ายๆ ก่อน ว่าถ้าเอ่ยถึงบริษัทนี้ แล้วเรานึกถึงอะไรเป็นอันดับแรก แล้วให้ดูว่ามันอยู่ประมาณระดับไหนในตลาด
เช่น พูดถึง TF ก็นึกถึงซองมาม่าลอยมาแต่ไกล อันดับหนึ่งในตลาด
ถ้าพูดถึง CPN เราอาจนึกภาพห้าง Central, Central World อันดับต้นๆ ในตลาด แต่ก็ยังมีคู่แข่งเช่น เดอะมอลล์ มาบุญครอง Siam Paragon/Siam Center & discovery
อย่างพูดถึง DTAC ก็มีอันดับหนึ่ง ADVANC รองลงมา TRUE แล้วก็ TOT
หรือถ้าบริษัท มีกิจการจำนวนมาก ให้จดออกมาเลย ว่ามีอะไรในระดับไหนบ้าง
เช่น พูดถึง MBK มีหุ้นในสนามกอล์ฟ มีข้าวถุง มีหุ้นร่วมกับ The Mall ทำสยามพิวรรธน์ บริหาร Siam Paragon/Siam Center & discovery
ถ้าพูดถึง SHIN ก็ต้องไปดูว่ามีกิจการ ADVANC ในมือ มี THCOM, etc.
ปวดหัวอยู่เหมือนกัน ถ้าเป็นบริษัท Holding Company
ถ้านึกภาพไม่ออกเลย ก็ต้องค้นคว้า (นึกภาพออกอยู่แล้ว ก็แปลว่ารู้จักระดับหนึ่ง แต่ไม่รู้จักเลย ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณค่ามันจะไม่ดี แต่ถ้าอยากเข้าไป "ซื้อกิจการ" ก็ต้องทำความรู้จักก่อนซื้อ)
ถ้าเราคิดว่า ยังไม่เชี่ยว (เพราะแต่ละคน มีพื้นฐานทางธุรกิจต่างกัน)
ให้ใช้ Model และ Tools ทางธุรกิจ มาช่วยวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มีหลักให้เกาะมีแนวให้คิด มากกว่าจะชกสะเปะสะปะแบบมวยวัด
- Five Forces Model Prof. Michael E. Porter
- BCG Matrix (Business Consulting Group)
- 4P Marketing Mixes
(ไม่ยากเกินไป ที่จะศึกษา ลองไปค้นดูนะครับ)
ถ้าจะให้เร็วยิ่งขึ้น ใช้อากู๋ (google.com) หรือน้าบิง (boing.com) ให้เป็นประโยชน์นี่แหละ หาข้อมูลรอบด้านของกิจการนี้ และคู่แข่งในตลาดเลย ว่ามีใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
นอกจากนี้ ในเมื่อรักจะลงทุนในตลาด เราต้องมีหลักเกาะ ว่ากิจการเป็นกลุ่มไหน ผมชอบหลักการแบ่งของลุงปีเตอร์ ลินช์ ลองไปอ่านบทความของพี่วิบูลย์ที่นี่นะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%8C.html
หุ้น 6 ประเภท "ปีเตอร์ ลินซ์"
วิบูลย์ พึงประเสริฐ
อ่านละเอียด ก็หนังสือแปล ของอ.นิเวศน์
เหนือกว่าวอลสตรีท (One Up On Wall Street)
เขียนโดย :
Peter Lynch
แปลโดย :
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://www.fp.co.th/
แต่ยิ่งรู้มาก คือการลดความเสี่ยงมากขึ้น โอกาสพลาดในการลงทุนก็น้อยลง
แต่อย่างน้อย
- ในเชิงปริมาณหรือเชิงตัวเลข (Quantitative) = สุขภาพทางการเงิน
ควรรู้แหล่งที่มาของรายได้ ผลิตภัณฑ์ของธุรกิจนั้นๆ
ลักษณะของรายจ่าย
การไหลของเงินสด
อัตราส่วนทางการเงิน โดยเฉพาะความสามารถในการทำกำไร และการเป็นหนี้
ต้องดูลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมนั้นๆ ว่าทางการเงินมีอะไรเป็นพิเศษแตกต่างจากกิจการหรือุตสาหกรรมอื่นหรือไม่ มิฉะนั้นอาจติดกับดักทางตัวเลข หรือถูกนักบัญชีหลอกได้ เช่น กิจการหลายประเภท Backlog เป็นสิ่งสำคัญ
และโดยเฉพาะถ้าเป็นวงการก่อสร้างบ้านขาย ดร.นิเวศน์บอกว่า ส่วนตัวไม่อยากเข้าไปยุ่ง เพราะตัวเลขที่เห็นอยู่ เป็นผลงานในอดีตที่ผ่านมานานแล้ว ไม่ได้แสดงฝีมือปัจจุบัน เป็นต้น
หรือบางกิจการ ได้ของมาก่อน แล้วผ่อนทีหลังก็เยอะ ก็จะเป็นประโยชน์ในเชิงแข่งขัน
แต่ก็ระวังการแต่งตัวเลข ลงประเภทของตัวเลขเพี้ยนจากสิ่งที่ควรจะเป็น อย่างที่เกิดกับบริษัทระดับโลกมาแล้ว
อย่างวงการ ICT (มือถือ/อินเตอร์เน็ต) ADVANCE/DTAC/TRUE/JAS คุณต้องศึกษาส่วนแบ่งในตลาดและลูกค้าในมือ เพราะชัดเจนมากที่แปรผันกับรายได้
แล้วต้องศึกษาศัพท์เฉพาะในวงการนั้นๆ ที่ตรงประเด็นกับตัวเลขแสดง "สุขภาพทางการเงินเลย" อย่างตัวอย่างในวงการมือถือหรอือินเตอร์เน็ต ถ้าไม่รู้จัก ก็ต้องเรียนรู่ว่า ARPU: Avearge Revenue per Unit or per User คืออะไร ถ้ายังไม่รู้แล้วซื้อหุ้น แปลว่ารู้โดยผิวเผินมาก
ลองเอางบการเงินในอดีตมาเปิดดูเลย จะค่อยๆ เริ่มรู้จักกิจการเชิงตัวเลขมากขึ้น
- ในเชิงคุณภาพ (Quantitative)
วิเคราะห์ว่าธุรกิจเป็นอย่างไร
เริ่มจากง่ายๆ ก่อน ว่าถ้าเอ่ยถึงบริษัทนี้ แล้วเรานึกถึงอะไรเป็นอันดับแรก แล้วให้ดูว่ามันอยู่ประมาณระดับไหนในตลาด
เช่น พูดถึง TF ก็นึกถึงซองมาม่าลอยมาแต่ไกล อันดับหนึ่งในตลาด
ถ้าพูดถึง CPN เราอาจนึกภาพห้าง Central, Central World อันดับต้นๆ ในตลาด แต่ก็ยังมีคู่แข่งเช่น เดอะมอลล์ มาบุญครอง Siam Paragon/Siam Center & discovery
อย่างพูดถึง DTAC ก็มีอันดับหนึ่ง ADVANC รองลงมา TRUE แล้วก็ TOT
หรือถ้าบริษัท มีกิจการจำนวนมาก ให้จดออกมาเลย ว่ามีอะไรในระดับไหนบ้าง
เช่น พูดถึง MBK มีหุ้นในสนามกอล์ฟ มีข้าวถุง มีหุ้นร่วมกับ The Mall ทำสยามพิวรรธน์ บริหาร Siam Paragon/Siam Center & discovery
ถ้าพูดถึง SHIN ก็ต้องไปดูว่ามีกิจการ ADVANC ในมือ มี THCOM, etc.
ปวดหัวอยู่เหมือนกัน ถ้าเป็นบริษัท Holding Company
ถ้านึกภาพไม่ออกเลย ก็ต้องค้นคว้า (นึกภาพออกอยู่แล้ว ก็แปลว่ารู้จักระดับหนึ่ง แต่ไม่รู้จักเลย ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณค่ามันจะไม่ดี แต่ถ้าอยากเข้าไป "ซื้อกิจการ" ก็ต้องทำความรู้จักก่อนซื้อ)
ถ้าเราคิดว่า ยังไม่เชี่ยว (เพราะแต่ละคน มีพื้นฐานทางธุรกิจต่างกัน)
ให้ใช้ Model และ Tools ทางธุรกิจ มาช่วยวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น มีหลักให้เกาะมีแนวให้คิด มากกว่าจะชกสะเปะสะปะแบบมวยวัด
- Five Forces Model Prof. Michael E. Porter
- BCG Matrix (Business Consulting Group)
- 4P Marketing Mixes
(ไม่ยากเกินไป ที่จะศึกษา ลองไปค้นดูนะครับ)
ถ้าจะให้เร็วยิ่งขึ้น ใช้อากู๋ (google.com) หรือน้าบิง (boing.com) ให้เป็นประโยชน์นี่แหละ หาข้อมูลรอบด้านของกิจการนี้ และคู่แข่งในตลาดเลย ว่ามีใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
นอกจากนี้ ในเมื่อรักจะลงทุนในตลาด เราต้องมีหลักเกาะ ว่ากิจการเป็นกลุ่มไหน ผมชอบหลักการแบ่งของลุงปีเตอร์ ลินช์ ลองไปอ่านบทความของพี่วิบูลย์ที่นี่นะครับ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%8C.html
หุ้น 6 ประเภท "ปีเตอร์ ลินซ์"
วิบูลย์ พึงประเสริฐ
อ่านละเอียด ก็หนังสือแปล ของอ.นิเวศน์
เหนือกว่าวอลสตรีท (One Up On Wall Street)
เขียนโดย :
Peter Lynch
แปลโดย :
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
http://www.fp.co.th/
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 4
ผมชอบมองธุรกิจว่าเป็นเครื่องผลิตเงินสด
แต่เครื่องที่ว่าจู่ๆ จะผลิตเงินสดออกมาไม่ได้
ต้องใส่เงินสดให้มันก่อน
เครื่องมันถึงผลิตเงินสดออกมา
การมองธุรกิจของผมว่าผมเข้าใจธุรกิจนั้นดีหรือไม่
ผมจะมองตั้งแต่ที่มาของเงินที่ใส่เข้าไป
ว่ามาจากไหน และไหลเข้าเครื่องแล้ว
กระบวนการเป็นอย่างไร
ดูไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีเงินสดไหลอกมา
อย่างไรก็ตาม มีหลายธุรกิจนะครับ
ที่ผมไม่สามารถไล่วงจรเงินสดอย่างที่ว่ามาได้
ผมก็จะปล่อยไปครับ
เพราะเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจธุรกิจทุกอย่าง
แต่เครื่องที่ว่าจู่ๆ จะผลิตเงินสดออกมาไม่ได้
ต้องใส่เงินสดให้มันก่อน
เครื่องมันถึงผลิตเงินสดออกมา
การมองธุรกิจของผมว่าผมเข้าใจธุรกิจนั้นดีหรือไม่
ผมจะมองตั้งแต่ที่มาของเงินที่ใส่เข้าไป
ว่ามาจากไหน และไหลเข้าเครื่องแล้ว
กระบวนการเป็นอย่างไร
ดูไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีเงินสดไหลอกมา
อย่างไรก็ตาม มีหลายธุรกิจนะครับ
ที่ผมไม่สามารถไล่วงจรเงินสดอย่างที่ว่ามาได้
ผมก็จะปล่อยไปครับ
เพราะเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจธุรกิจทุกอย่าง
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 5
ของผมใช้ Common sense ครับ
ตอนเด็กๆ ผมช่วยอากง ขายของหน้าร้านประจำ
เอาสิ่งที่สังเกต เคยเห็น เคยสัมผัส มาประยุกต์ใช้กับการมองธุรกิจครับ
ตอนเด็กๆ ผมช่วยอากง ขายของหน้าร้านประจำ
เอาสิ่งที่สังเกต เคยเห็น เคยสัมผัส มาประยุกต์ใช้กับการมองธุรกิจครับ
- thalucoz
- Verified User
- โพสต์: 658
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 6
สำหรับผมแล้ว สิ่งแรกในการเป็น vi ก็คือศึกษาบริษัทเรามีความเข้าใจดีกว่า บริษัทอื่น ๆ ก่อนครับ เช่น ถ้าผมเป็นเจ้าของร้านโชว์ห่วย หุ้นแรก ๆ ที่ผมจะศึกษาก็คือ cpf, bigc ,makro, homepro ครับเพราะผมจะมองออกว่าอะไรที่เกิดขึ้น แล้วค่อยเข้าไปดูจุดเด่นจุดแข็ง ทราบอะไรมากกว่าข้อมูลที่บริษัทเปิดเผย ซึ่งจะให้เราลามไปศึกษาถึง บริษัทคู่แข่ง บริษัทต้นน้ำ ปลายน้ำได้ดีขึ้น จากการที่เราได้อ่านมากขึ้นครับ ตรงนี้เป็นตัววัดเลยครับว่าเราพร้อมแค่ไหนครับ
สำหรับผมเองแล้ว ผมก็ยังเป็นมือใหม่ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมพอจะช่วยเหลือได้ครับ หลังจากงมโข่งอยู่เป็นปี ๆ กว่าจะเข้าใจแล้วตั้งหลักได้ก็พลาดโอกาสงาม ๆ ไปหลาย ๆ ครั้งครับ
สำหรับผมเองแล้ว ผมก็ยังเป็นมือใหม่ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมพอจะช่วยเหลือได้ครับ หลังจากงมโข่งอยู่เป็นปี ๆ กว่าจะเข้าใจแล้วตั้งหลักได้ก็พลาดโอกาสงาม ๆ ไปหลาย ๆ ครั้งครับ
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
- thalucoz
- Verified User
- โพสต์: 658
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 7
เขียนไปตั้งนาน พอกลับมาอ่านไม่เห็นตรงประเด็นเลยครับ สรุปง่าย ๆ ก็คือเราต้องสามารถเขียนออกมาได้ว่า บริษัทนี้ดียังไง เสียตรงไหน แล้วน่าซื้อเพราะอะไร เมื่อเทียบกับคู่แข่ง และบริษัทอื่น ๆ ที่เราศึกษาครับ
ขออภัยที่ Post 2 ครั้งครับ
ขออภัยที่ Post 2 ครั้งครับ
FREEDOM ---------- HOLD MY HAND
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 8
มาเสริมอีกอย่าง
ดูธุรกิจ นอกจากรู้การดำเนินกิจการแล้ว ที่เราเห็นๆ กัน ก็คือต้องดูผู้บริหารด้วย ทำจริงอาจยากหน่อยหรือบางทีก็จนด้วยเกล้า เพราะไม่มีในตำรา ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องคอยฟังข่าว แต่บางกิจการก็หาข่าวเกี่ยวกับผู้บริหารได้ง่าย ถ้ามีชื่อเสียงอยู่แล้ว
บางที เดิมกิจการงั้นๆ แต่ผู้บริหารเก่ง ก็จะช่วยให้รุ่งเรืองขึ้นเป็นดาวรุ่งก็ได้
บางทีผู้บริหาร นิสัยส่วนตัวไม่น่าไว้ใจ มีชื่อเสียงลบบางด้าน แต่ก็บริหารได้ดี ก็ถือว่าหยวนๆ เอาเป็นว่ามองที่ผลงานละกัน (ได้ยินคุณโจ ลูกอิสานก็พูดแง่นี้ ครั้งหนึ่ง แต่จำไม่ได้ว่ากิจการไหน)
กรณีศึกษาระดับปู่บัฟฟ์ ที่บอกว่าดูว่าผู้บริหารทำงานอย่างไรด้วย ไม่ได้ยุ่งในรายละเอียด แต่ดูที่ผลงานปรากฎ ปู่แกไม่ได้บังคับว่า CEO บริษัทลูกต้องมาขับรถเก่าๆ สมถะอย่างแก
และถ้าเป็นการเข้าซื้อกิจการ (ไม่ใช่ซื้อหุ้นในตลาด) ด้วยว่าแกซื้อกิจการที่รุ่งและแข็งแรงแล้วแบบมี DCA* แกเลยตั้งเงื่อนไขว่า ต้องบริหารกิจการต่อหลังจากขายให้แล้ว
*(แต่มีนักลงทุนบางสายคนละแนวกับบัฟเฟตต์ ซื้อกิจการที่ตกอับแล้วคอยกลับมา turnaround หรือเข้าไปซื้อแบบ take over แล้วปลดกรรมการ/ผู้บริหารเก่าแย่ๆ ออก เพื่อฟื้นฟูก็มี)
หรือกรณีที่เห็นๆ ในไทย เดือนที่ผ่านมานี่เอง หุ้นขึ้นต้นด้วยตัว I อย่างน้อยสองตัว แม้จะได้ชื่อว่าทำกำไรดีมาก่อน แต่ผู้บริหารเล่นขายทำตลาดป่วน แบบนี้ก็ต้องระวัง
ดูธุรกิจ นอกจากรู้การดำเนินกิจการแล้ว ที่เราเห็นๆ กัน ก็คือต้องดูผู้บริหารด้วย ทำจริงอาจยากหน่อยหรือบางทีก็จนด้วยเกล้า เพราะไม่มีในตำรา ไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ต้องคอยฟังข่าว แต่บางกิจการก็หาข่าวเกี่ยวกับผู้บริหารได้ง่าย ถ้ามีชื่อเสียงอยู่แล้ว
บางที เดิมกิจการงั้นๆ แต่ผู้บริหารเก่ง ก็จะช่วยให้รุ่งเรืองขึ้นเป็นดาวรุ่งก็ได้
บางทีผู้บริหาร นิสัยส่วนตัวไม่น่าไว้ใจ มีชื่อเสียงลบบางด้าน แต่ก็บริหารได้ดี ก็ถือว่าหยวนๆ เอาเป็นว่ามองที่ผลงานละกัน (ได้ยินคุณโจ ลูกอิสานก็พูดแง่นี้ ครั้งหนึ่ง แต่จำไม่ได้ว่ากิจการไหน)
กรณีศึกษาระดับปู่บัฟฟ์ ที่บอกว่าดูว่าผู้บริหารทำงานอย่างไรด้วย ไม่ได้ยุ่งในรายละเอียด แต่ดูที่ผลงานปรากฎ ปู่แกไม่ได้บังคับว่า CEO บริษัทลูกต้องมาขับรถเก่าๆ สมถะอย่างแก
และถ้าเป็นการเข้าซื้อกิจการ (ไม่ใช่ซื้อหุ้นในตลาด) ด้วยว่าแกซื้อกิจการที่รุ่งและแข็งแรงแล้วแบบมี DCA* แกเลยตั้งเงื่อนไขว่า ต้องบริหารกิจการต่อหลังจากขายให้แล้ว
*(แต่มีนักลงทุนบางสายคนละแนวกับบัฟเฟตต์ ซื้อกิจการที่ตกอับแล้วคอยกลับมา turnaround หรือเข้าไปซื้อแบบ take over แล้วปลดกรรมการ/ผู้บริหารเก่าแย่ๆ ออก เพื่อฟื้นฟูก็มี)
หรือกรณีที่เห็นๆ ในไทย เดือนที่ผ่านมานี่เอง หุ้นขึ้นต้นด้วยตัว I อย่างน้อยสองตัว แม้จะได้ชื่อว่าทำกำไรดีมาก่อน แต่ผู้บริหารเล่นขายทำตลาดป่วน แบบนี้ก็ต้องระวัง
-
- Verified User
- โพสต์: 28
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 9
ประสบการณ์จะสอนคุณเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 10
การมองธุรกิจอาจจะมองผ่านจากงานที่ทำก็ได้ครับ
เช่น ทำงานในด้านธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์ รู้ว่า โรงพยาบาลทำอย่างไง
แต่อย่างไงก็ตามคนทำอาชีพแพทย์ก็มักไม่ได้ซื้อหุ้นโรงพยาบาล เพราะรู้ไส้รู้พุงในธุรกิจที่เราทำอาชีพอยู่หรือเปล่า
อันนี้ผมตั้งขอสังเกตไว้ล่ะครับ ว่าคนรู้ดีจริงๆในธุรกิจที่เราประกอบอาชีพแต่ไม่ยอมซื้อธุรกิจนั้น แต่ไปซื้อธุรกิจอื่นๆแทน
ถ้ามองกลับอีกมุมหนึ่งคือ ต้องการเปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขวางขึ้น หรือเปล่าหนอ
อันนี้เป็นข้อสังเกตไว้ละครับ
เช่น ทำงานในด้านธุรกิจเกี่ยวกับการแพทย์ รู้ว่า โรงพยาบาลทำอย่างไง
แต่อย่างไงก็ตามคนทำอาชีพแพทย์ก็มักไม่ได้ซื้อหุ้นโรงพยาบาล เพราะรู้ไส้รู้พุงในธุรกิจที่เราทำอาชีพอยู่หรือเปล่า
อันนี้ผมตั้งขอสังเกตไว้ล่ะครับ ว่าคนรู้ดีจริงๆในธุรกิจที่เราประกอบอาชีพแต่ไม่ยอมซื้อธุรกิจนั้น แต่ไปซื้อธุรกิจอื่นๆแทน
ถ้ามองกลับอีกมุมหนึ่งคือ ต้องการเปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขวางขึ้น หรือเปล่าหนอ
อันนี้เป็นข้อสังเกตไว้ละครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 26
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 11
ขอคุณพี่ๆทุกท่านครับที่ให้ความรู้ดีๆๆมากมาย
ทำให้ผมต้องคิดตั้งคำถามกับตนเองใหม่อีกรอบ(เตือนสติ)
ปัจจุบันนี้ผมอายุ 20 ตั้นๆได้ทางบ้านก็ทำอาชีพค้าขาย
ส่วนตัวผมเรียนเภสัชครับ
เมื่ออ่านความคิดของพี่ๆ ก็ทำให้ผมได้คิดใหม่อีกครับในการมองธุรกิจให้ดีขี้น
ขอบคุณจริงๆๆครับ
ทำให้ผมต้องคิดตั้งคำถามกับตนเองใหม่อีกรอบ(เตือนสติ)
ปัจจุบันนี้ผมอายุ 20 ตั้นๆได้ทางบ้านก็ทำอาชีพค้าขาย
ส่วนตัวผมเรียนเภสัชครับ
เมื่ออ่านความคิดของพี่ๆ ก็ทำให้ผมได้คิดใหม่อีกครับในการมองธุรกิจให้ดีขี้น
ขอบคุณจริงๆๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 12
เวลาอ่านงบก็ให้จิตนาการเป็นนิยายซักเรื่องก็ได้ ส่วนใหญ่ผมชอบนิยายเรื่อง "การเดินทางของเงินสด" ฝึกจิตนาการบ่อยๆ เดี๋ยวก็เป็นครับ
นายมาร์คมีเงิน 50 บาท กู้เงินทักษินอีก 50 บาท มีทุนอยู่ 100 นึง
ซื้อรถเข็นหมูปิ้ง 1 คัน ตัวเลขก็ไปอยู่ในสินทรัพย์ถาวร 50 บาท เงินสด 50 บาท
ต่อมาก็เอาสินทรัพย์ไปสร้างยอดขาย
เอาเงินสดไปซื้อหมู ไม้เสียบ ถ่าน -->วัตถุดิบ
เอาหมูไปหมัก เอาไม้มาเสียบ -->งานระหว่างทำ
มีหมูปิ้งวางหน้า้ร้าน-->สินค้าสำเร็จรูป
ลูกค้ามาซื้อเซ็นไว้ก่อน-->ลูกหนี้การค้า
เอายอดขาย-ต้นทุนขายได้กำไรขั้นต้น 30
ตอนเย็นทักษินมาเก็บดอก 10 บาท
เหลือ 20 บาท -->ส่วนทุนเพิ่ม 20 บาท
พวกปัจจัยภายนอกอื่นฯ เช่นคู่แข่ง supplier ราคาวัตถุดิบ ฯลฯ ก็ต้องอาศัยความเก๋ามาช่วยจิตนาการล่ะครับ ว่ากระทบยอดขาย กำไร อย่างไร
นายมาร์คมีเงิน 50 บาท กู้เงินทักษินอีก 50 บาท มีทุนอยู่ 100 นึง
ซื้อรถเข็นหมูปิ้ง 1 คัน ตัวเลขก็ไปอยู่ในสินทรัพย์ถาวร 50 บาท เงินสด 50 บาท
ต่อมาก็เอาสินทรัพย์ไปสร้างยอดขาย
เอาเงินสดไปซื้อหมู ไม้เสียบ ถ่าน -->วัตถุดิบ
เอาหมูไปหมัก เอาไม้มาเสียบ -->งานระหว่างทำ
มีหมูปิ้งวางหน้า้ร้าน-->สินค้าสำเร็จรูป
ลูกค้ามาซื้อเซ็นไว้ก่อน-->ลูกหนี้การค้า
เอายอดขาย-ต้นทุนขายได้กำไรขั้นต้น 30
ตอนเย็นทักษินมาเก็บดอก 10 บาท
เหลือ 20 บาท -->ส่วนทุนเพิ่ม 20 บาท
พวกปัจจัยภายนอกอื่นฯ เช่นคู่แข่ง supplier ราคาวัตถุดิบ ฯลฯ ก็ต้องอาศัยความเก๋ามาช่วยจิตนาการล่ะครับ ว่ากระทบยอดขาย กำไร อย่างไร
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 14
ลองอ่านใน บทความ ที่อ.มน เขียนไว้ใน Value way ซิครับ...
http://www.thaivi.com/2010/02/370/
เขียนไว้ค่อนข้างล่ะเอียด ตั้งแต่การดูธุรกิจ ดูอย่างไร
การประเมินธุรกิจจะประเมินอย่างอย่างไร
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็เป็นเพียงแนวทางให้เราไปประยุกต์ต่อ
ไม่ใช่ต้องทำตามนั้น เขาว่าการลงทุน ไม่มีสูตรสำเร็จ อย่าไปเชื่อไรให้มันมาก
แต่ถ้าไม่เชื่อเลยก็ไม่ได้
http://www.thaivi.com/2010/02/370/
เขียนไว้ค่อนข้างล่ะเอียด ตั้งแต่การดูธุรกิจ ดูอย่างไร
การประเมินธุรกิจจะประเมินอย่างอย่างไร
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็เป็นเพียงแนวทางให้เราไปประยุกต์ต่อ
ไม่ใช่ต้องทำตามนั้น เขาว่าการลงทุน ไม่มีสูตรสำเร็จ อย่าไปเชื่อไรให้มันมาก
แต่ถ้าไม่เชื่อเลยก็ไม่ได้
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
-
- Verified User
- โพสต์: 113
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 15
ผมขอแสดงความคิดเห็นและขอคำแนะนำหน่อยนะครับ สำหรับผม ผมใช้วิธีอ่านข้อมูลและข่าวของ บริษัท ย้อนหลังไปเท่าที่จะหาได้รวมทั้งลูกค้า คู่แข่ง และก็ จินตนาการ โดยสมมติว่าถ้าเราเป็น ผบห เราจะคิดและนำองค์กรไปยังไงถึงจะมีการเติบโต ผมว่านักลงทุนส่วนใหญ่ จะมองในลักษณะ out side in ผมว่าถ้าเพิ่มการมองในลักษณะ in side out ด้วยมันอาจจะเห็นอะไร ๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะเหมือนกันนะครับ แต่จริง ๆ สำหรับผมปัญหาของผมคือผมไม่มีความรู้ทาง บัญชี และการดูงบดุลเลย ผมจึงหาวิธีที่จะเข้าใจในแบบที่มีความรู้จำกัด ผิดถูกยังไงรบกวนแนะนำผมด้วยนะครับ เพราะผมก็ยังไม่เคยประสบความสำเร็จในการลงทุนเลยครับ ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1223
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองธุรกิจให้เป็น มันต้องมองให้เป็นอย่างไร
โพสต์ที่ 16
พอดีผมเพิ่งอ่านเจอสุนทรพจน์ของ ลี ลูtanamonji เขียน:ผมเริ่มศึกษา vi มาได้ระยะหนึ่ง
ผมยังไม่เข้าใจว่า
มองธรุกิจให้เป็น มองธุรกิจให้ออก เข้าใจธรุกิจ เป็นตั้น
แท้ที่จริงแล้วมันต้องเรียนรู้ รับรู้เรื่องอะไรบ้างถึงขั้นที่พูดได้ว่า
ผมมองธุรกิจเป็น ผมเข้าใจธุรกิจนี้ดี
ขอช่วยให้ความสว่างแก่ผมที่ครับ
ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพที่ชัดเจนได้ ก็ยิ่งดีครับ
ขอคุณเพื่อนๆที่ให้ความรู้ที่มีแค่แก่ผมครับ
ในหนังสือเล่มใหม่ของพี่วิบูลย์
ลี ลู ให้เราคิดเสมือนหนึ่งว่า
มีญาติสนิทยกธุรกิจนั้นๆให้เราบริหารจัดการ 100 เปอร์เซ็นต์
เราจะจัดการยังไงให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้
ถ้าเราจัดการได้ ถือว่าเราเข้าใจธุรกิจนั้นครับ
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด