ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 1
เมื่อมีคนหลายคนมากพอมาทายน้ำหนักนายAโดยวิธีสังเกตด้วยตา
พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้ใกล้เคียง ค่าน้ำหนักจริงของนายA
ตลาดหุ้นระยะสั้นมันก็เหมือนการโหวต
ดังนั้นตลาดก็น่าจะมีประสิทธิภาพ จริงหรือไม่?
ทุกท่านมีความเห็นอย่างไรบ้าง มาคุยกันหน่อยสิครับ
.............
โดยความเห็นส่วนตัว ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพเป็นบางครั้งเพราะ
1.คนเรามีขอบเขตความรอบรู้ ความถนัดเฉพาะตนที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละอุตสาหกรรม
2.คนเราเต็มไปด้วยอารมณ์กับการปรุงแต่งทางอารมณ์
คนเรามีอคติแตกต่างกันไป มีความชอบความสนใจที่แตกต่างกัน
3.วิธีการสังเกตด้วยตาง่ายมากเมื่อเทียบกับการหามูลค่าของกิจการที่เข้าไปลงทุน
4.จุดประสงค์ของการเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ บางคนเข้ามาลงทุน บางคนเข้ามาเก็งกำไร บางคนเข้ามาเพราะหวังอยากรวยทางลัดอยากรวยเร็วแบบสบายๆ
5.ข้อมูลที่ได้รับ และรับรู้ไม่เท่ากัน การให้ความสำคัญกับข้อมูลไม่เท่ากัน บ้างก็เป็นinsider
พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้ใกล้เคียง ค่าน้ำหนักจริงของนายA
ตลาดหุ้นระยะสั้นมันก็เหมือนการโหวต
ดังนั้นตลาดก็น่าจะมีประสิทธิภาพ จริงหรือไม่?
ทุกท่านมีความเห็นอย่างไรบ้าง มาคุยกันหน่อยสิครับ
.............
โดยความเห็นส่วนตัว ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพเป็นบางครั้งเพราะ
1.คนเรามีขอบเขตความรอบรู้ ความถนัดเฉพาะตนที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละอุตสาหกรรม
2.คนเราเต็มไปด้วยอารมณ์กับการปรุงแต่งทางอารมณ์
คนเรามีอคติแตกต่างกันไป มีความชอบความสนใจที่แตกต่างกัน
3.วิธีการสังเกตด้วยตาง่ายมากเมื่อเทียบกับการหามูลค่าของกิจการที่เข้าไปลงทุน
4.จุดประสงค์ของการเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ บางคนเข้ามาลงทุน บางคนเข้ามาเก็งกำไร บางคนเข้ามาเพราะหวังอยากรวยทางลัดอยากรวยเร็วแบบสบายๆ
5.ข้อมูลที่ได้รับ และรับรู้ไม่เท่ากัน การให้ความสำคัญกับข้อมูลไม่เท่ากัน บ้างก็เป็นinsider
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 210
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 3
ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพบางเวลาครับ
ซึ่งเราก็แค่รอให้มันไม่มีประสิทธิภาพ ( มองโลกในแง่ร้าย )
ค่อยเข้าไปเก็บหุ้น
ซึ่งเราก็แค่รอให้มันไม่มีประสิทธิภาพ ( มองโลกในแง่ร้าย )
ค่อยเข้าไปเก็บหุ้น
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 4
ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพเป็นบางเวลา
เมื่อใดที่ตลาดผิดพลาด นั้นเป็นโอกาสของเราที่จะเข้าทำ
เมื่อใดที่ตลาดผิดพลาด นั้นเป็นโอกาสของเราที่จะเข้าทำ
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 6
คำพูดแรกคงต้องยกให้เป็นของเบน เกรแฮม ในฐานะที่เป็น “บิดา” ของการวิเคราะห์การลงทุนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือ “ตลาดหุ้นในระยะสั้นเป็นเสมือนเครื่องลงคะแนน แต่ในระยะยาวเป็นเสมือนเครื่องชั่ง” ความหมายก็คือ ในระยะสั้น ๆ นั้น ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจซื้อขายของนักลงทุน ถ้าคนเชื่อและลงความเห็นว่ามันจะขึ้นมากกว่าคนที่คิดว่ามันจะลง ราคาก็จะขึ้นตามการ “ลงคะแนน” ของนักลงทุน แต่ในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทว่ามันจะมีกำไรมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีกำไรมากหรือเทียบกับว่ามีน้ำหนักมาก ตลาดก็จะให้ราคาหุ้นสูงขึ้นตามกำไรหรือน้ำหนักนั้น
คำพูดที่สองผมคงต้องยกให้กับ วอเร็น บัฟเฟตต์ ในฐานะที่เป็นนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บัฟเฟตต์บอกว่า “หลักการรวบยอดสำหรับนักลงทุนก็คือ การเลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่” นอกจากนั้น เขายังมีคำพูดต่อเนื่องจากหลักการนี้ว่า “มันเป็นเรื่องดีกว่ามากที่จะซื้อบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาที่ยุติธรรม แทนที่จะซื้อบริษัทที่ดีพอควรในราคาที่ถูกมาก”
ความหมายของคำพูดแรกก็คือ เวลาจะซื้อหุ้นนั้น นักลงทุนจะต้องดูเสียก่อนว่ามันเป็นกิจการหรือบริษัทที่ดีหรือเปล่า ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องไปลงทุน ถ้าดีแล้วก็ต้องดูต่อว่าราคาหุ้นในขณะนั้นเหมาะสมหรือเปล่า ถ้าราคาแพงก็อย่าซื้อ ถ้าไม่แพงหรือถูก ก็ซื้อ หลังจากนั้นก็เก็บหุ้นไว้ ไม่ต้องคิดว่าจะขายแม้ว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือตก จะขายต่อเมื่อกิจการนั้นเริ่มจะไม่ดีแล้ว ส่วนคำพูดที่สองนั้นบอกว่า การซื้อหุ้นของกิจการที่ดีในราคาที่เหมาะสมนั้นอาจจะมีสองแบบ และแบบที่ดีก็คือ ซื้อกิจการที่ดีมาก ๆ ดีกว่าซื้อกิจการที่ดีธรรมดา แม้ว่าราคาหุ้นของกิจการที่ดีมากจะแพงกว่ากิจการธรรมดา ๆ มาก
ผมว่า สองท่านนี้ ไม่เชื่อว่ามันมีประสิทธิภาพนะ
และผมก็เชื่อตามนั้น
http://www.thaivi.com/2010/08/547/
คำพูดที่สองผมคงต้องยกให้กับ วอเร็น บัฟเฟตต์ ในฐานะที่เป็นนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บัฟเฟตต์บอกว่า “หลักการรวบยอดสำหรับนักลงทุนก็คือ การเลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่” นอกจากนั้น เขายังมีคำพูดต่อเนื่องจากหลักการนี้ว่า “มันเป็นเรื่องดีกว่ามากที่จะซื้อบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาที่ยุติธรรม แทนที่จะซื้อบริษัทที่ดีพอควรในราคาที่ถูกมาก”
ความหมายของคำพูดแรกก็คือ เวลาจะซื้อหุ้นนั้น นักลงทุนจะต้องดูเสียก่อนว่ามันเป็นกิจการหรือบริษัทที่ดีหรือเปล่า ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องไปลงทุน ถ้าดีแล้วก็ต้องดูต่อว่าราคาหุ้นในขณะนั้นเหมาะสมหรือเปล่า ถ้าราคาแพงก็อย่าซื้อ ถ้าไม่แพงหรือถูก ก็ซื้อ หลังจากนั้นก็เก็บหุ้นไว้ ไม่ต้องคิดว่าจะขายแม้ว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือตก จะขายต่อเมื่อกิจการนั้นเริ่มจะไม่ดีแล้ว ส่วนคำพูดที่สองนั้นบอกว่า การซื้อหุ้นของกิจการที่ดีในราคาที่เหมาะสมนั้นอาจจะมีสองแบบ และแบบที่ดีก็คือ ซื้อกิจการที่ดีมาก ๆ ดีกว่าซื้อกิจการที่ดีธรรมดา แม้ว่าราคาหุ้นของกิจการที่ดีมากจะแพงกว่ากิจการธรรมดา ๆ มาก
ผมว่า สองท่านนี้ ไม่เชื่อว่ามันมีประสิทธิภาพนะ
และผมก็เชื่อตามนั้น
http://www.thaivi.com/2010/08/547/
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 7
1.กฎธรรมชาตินั้น
เปรียบได้ว่า การทำสวน ปลูกต้นไม้
ต้องใส่ ปุ๋ย ให้น้ำ ให้แดด ดูแลกำจัดวัชพืช ต้นไม้ จึงจะโต หรือ ปลูกกระจงหนู ก็จะได้ต้นกระจงหนู
ไม่กลายเป็นต้นมะม่วง ดังนี้
เป็นกฏที่เป็นจริงเสมอ มีความแน่นอน และทำงานตอด 24ชั่วโมง
และเป็นคุณค่าที่แท้จริง
อย่างมะม่วงคุณค่าที่แท้จริง คือลูกมะม่วง นำมาทำอาหารกินได้ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วงน้ำดอกไม้ ปากซอยทองหล่อกล่องละ 80-100 คุณค่าที่แท้จริงคล้ายๆกับ กฏธรรมชาติ คือเป็นจริงเสมอ คือกินมะม่วงเป็นอาหารได้เสมอ
...
ถ้าตลาดมีประสิทธิภาพจริงตลอดเวลา..ต้องทำงานเหมือนกฏธรรมชาติ
**
2.ส่วนกฎสมมติเป็นกฏที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่มีความแน่นอน(เปลี่ยนแปลงได้) ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
เช่นว่า
"มาทำสวนให้ ฉัน 1 เดือนแล้ว จะได้เงิน 7000บาท" เป็นกฏสมมติ
พอครบ 1 เดือนแล้ว อาจะได้ 7000 แค่ 4000 บาท นั้น ขึ้นอยู่กับ เงื่อนไข
ว่า เขามาทำทุกวัน หรือเปล่า มาแล้วขยันทำงานหรือเปล่า หรือมัวแต่นอนอยู่
หรือทำงานถูกต้องหรือเปล่า เช่นเขาเป็นสวนปลูกไม้ประดับกระจงหนู
แต่ คุณกับไปเอาเมล็ดมะม่วงไปลงปลูก อย่างนี้ไม่ตรงเงื่อนไข ผลลัพท์ ก็อาจจะไม่แน่นอนไม่ได้
ตามที่สมมติไว้
...
และเป็นคุณค่าเทียม
ยกตัวอย่างต้นไม้ประดับ ต้นกระจงหนู กับ ต้นลีลาวดี(เดิมชื่อ ลั่นทม) (ลั่นทมยางมีพิษ)
ซึ่งคุณค่าเทียมนั้น คล้ายกฎสมมติของคนเรา เมื่อไหร่มีความนิยมสูงก็ราคาสูงมากๆ เมื่อไหร่ไม่มีความนิยมกลับหมดค่า
เช่นต้นลั่นทมสมัยที่ไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่ปลูกไว้ตามสุสาน แถมมีข้อห้ามอีกว่าห้ามปลูกในบ้าน เพราะจะทำให้ทุกข์ระทม แต่พอเปลี่ยนชื่อเป็น ลีลาวดี และปลูกตามหมู่บ้านโครงการหรูหลายสิบล้าน และ สนามบิน (เขาปลูกเพราะอาจจะไม่ต้องการให้มีนกมารบกวน) กลายเป็นที่นิยมสูง ราคาต้นขนาดกลางใหญ่ขึ้นไปถึงหลักแสน
ส่วนต้นกระจงหนูที่เพิ่งนิยมเร็วนี้ เพราะ Formationของใบสวย ก็ราคาต้นขึ้นไปเป็นหลายหมื่น
ต้นเล็กนิดเดียวในกระถาง ต้นไม้ทั่วไปก็ราคา 50-200 แต่กระจงหนูนั้น 2000 ราคาเป็น 10เท่าตัว
***
เปรียบได้ว่า การทำสวน ปลูกต้นไม้
ต้องใส่ ปุ๋ย ให้น้ำ ให้แดด ดูแลกำจัดวัชพืช ต้นไม้ จึงจะโต หรือ ปลูกกระจงหนู ก็จะได้ต้นกระจงหนู
ไม่กลายเป็นต้นมะม่วง ดังนี้
เป็นกฏที่เป็นจริงเสมอ มีความแน่นอน และทำงานตอด 24ชั่วโมง
และเป็นคุณค่าที่แท้จริง
อย่างมะม่วงคุณค่าที่แท้จริง คือลูกมะม่วง นำมาทำอาหารกินได้ เช่น ข้าวเหนียวมะม่วงน้ำดอกไม้ ปากซอยทองหล่อกล่องละ 80-100 คุณค่าที่แท้จริงคล้ายๆกับ กฏธรรมชาติ คือเป็นจริงเสมอ คือกินมะม่วงเป็นอาหารได้เสมอ
...
ถ้าตลาดมีประสิทธิภาพจริงตลอดเวลา..ต้องทำงานเหมือนกฏธรรมชาติ
**
2.ส่วนกฎสมมติเป็นกฏที่มนุษย์สร้างขึ้น
ไม่มีความแน่นอน(เปลี่ยนแปลงได้) ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
เช่นว่า
"มาทำสวนให้ ฉัน 1 เดือนแล้ว จะได้เงิน 7000บาท" เป็นกฏสมมติ
พอครบ 1 เดือนแล้ว อาจะได้ 7000 แค่ 4000 บาท นั้น ขึ้นอยู่กับ เงื่อนไข
ว่า เขามาทำทุกวัน หรือเปล่า มาแล้วขยันทำงานหรือเปล่า หรือมัวแต่นอนอยู่
หรือทำงานถูกต้องหรือเปล่า เช่นเขาเป็นสวนปลูกไม้ประดับกระจงหนู
แต่ คุณกับไปเอาเมล็ดมะม่วงไปลงปลูก อย่างนี้ไม่ตรงเงื่อนไข ผลลัพท์ ก็อาจจะไม่แน่นอนไม่ได้
ตามที่สมมติไว้
...
และเป็นคุณค่าเทียม
ยกตัวอย่างต้นไม้ประดับ ต้นกระจงหนู กับ ต้นลีลาวดี(เดิมชื่อ ลั่นทม) (ลั่นทมยางมีพิษ)
ซึ่งคุณค่าเทียมนั้น คล้ายกฎสมมติของคนเรา เมื่อไหร่มีความนิยมสูงก็ราคาสูงมากๆ เมื่อไหร่ไม่มีความนิยมกลับหมดค่า
เช่นต้นลั่นทมสมัยที่ไม่เป็นที่นิยม ส่วนใหญ่ปลูกไว้ตามสุสาน แถมมีข้อห้ามอีกว่าห้ามปลูกในบ้าน เพราะจะทำให้ทุกข์ระทม แต่พอเปลี่ยนชื่อเป็น ลีลาวดี และปลูกตามหมู่บ้านโครงการหรูหลายสิบล้าน และ สนามบิน (เขาปลูกเพราะอาจจะไม่ต้องการให้มีนกมารบกวน) กลายเป็นที่นิยมสูง ราคาต้นขนาดกลางใหญ่ขึ้นไปถึงหลักแสน
ส่วนต้นกระจงหนูที่เพิ่งนิยมเร็วนี้ เพราะ Formationของใบสวย ก็ราคาต้นขึ้นไปเป็นหลายหมื่น
ต้นเล็กนิดเดียวในกระถาง ต้นไม้ทั่วไปก็ราคา 50-200 แต่กระจงหนูนั้น 2000 ราคาเป็น 10เท่าตัว
***
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 8
กฎสมมติและคุณค่าเทียม
ก็คือ
ตราบเท่ายังเป็นที่นิยม(มักในระยะสั้น) ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นที่นิยมจะสูงเกินคุณค่าที่แท้จริง
แต่พอ หมดความนิยมราคาหุ้นก็มักลงมากกว่าคุณค่าที่แท้จริงหรือลงมาที่ราคาที่เป็นจริง (แต่ในระยะยาว-กฏธรรมชาติจะเข้ามาแทน คือราคาหุ้นก็จะกลับมายังคุณค่าที่แท้จริงของบริษัท)
เช่น
ช่วงมีข่าวว่า หวย Online ใกล้เป็นจริง หรือ ช่วง กันยาปี 2009ข่าวประมูล 3G ใกล้เป็นจริง
ราคาหุ้น ของ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ก็จะวิ่ง และมักจะวิ่ง สูงเกินมูลค่าที่แท้จริง
ซึ่งกฎสมมติก็บอกแล้วว่าขึ้นกับเงื่อนไข ไม่แน่นอน
พอต่อมา ข่าวบอกว่า หวย Online ชะงักอีกแล้ว หรือ 3G เลื่อนไปปีหน้าๆราคาหุ้นก็จะตกลง
หรือช่วง ADVANC ข่าวว่าหลังประกาศยึดทรัพย์อดีตนายกแล้ว นักวิเคราะห์คาดว่าทางรัฐบาล อาจจะพิจารณา เพิ่มภาษี/ปรับอะไรก็แล้วแต่ แต่นักวิเคาราะห์ก็ออกมาเลย scenario (แนวทางที่เป็นไปได้หลายแนวทาง)หลากหลาย เช่นถ้าถูกปรับ ราคาจะลงต่ำสุด ถึง 77 บาท ปรากฏว่า รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรเลย พอบทวิเคราะห์ออก 2-3 วันราคาไปเลย ที่ 77 เลย
เสร็จต่อมาระยะหนึ่ง รัฐบาลมาออกข่าว ราคาก็ทะยอยดีขึ้น จน ก่อนปันผลXD - ขึ้นไปถึง 90 บาท
ก็คือกฎของความสมมติกำลังทำงาน กฏสมมติต้องมีเงื่อนไข เสมอ เหมือน scenario ถ้าถูกปรับจะอย่างนี้ ถ้าเพิ่มภาษีไม่ถูกปรับจะอย่างนี้ ถ้าไม่มีอะไรเกินขึ้นจะอย่างนี้
ทันทีที่กฏสมมติทำงาน ราคาหุ้นก็จะไม่สูงไปก็จะต่ำเกินไปเสมอ
เพราะถ้ามีข่าวร้ายก็หมดความนิยม ราคาก็ตกรุนแรง
แต่พอข่าวดีขึ้นก็กลับมานิยม ราคาก็ขึ้นไปใหม่
ก็คือ
ตราบเท่ายังเป็นที่นิยม(มักในระยะสั้น) ราคาหุ้นของบริษัทที่เป็นที่นิยมจะสูงเกินคุณค่าที่แท้จริง
แต่พอ หมดความนิยมราคาหุ้นก็มักลงมากกว่าคุณค่าที่แท้จริงหรือลงมาที่ราคาที่เป็นจริง (แต่ในระยะยาว-กฏธรรมชาติจะเข้ามาแทน คือราคาหุ้นก็จะกลับมายังคุณค่าที่แท้จริงของบริษัท)
เช่น
ช่วงมีข่าวว่า หวย Online ใกล้เป็นจริง หรือ ช่วง กันยาปี 2009ข่าวประมูล 3G ใกล้เป็นจริง
ราคาหุ้น ของ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ก็จะวิ่ง และมักจะวิ่ง สูงเกินมูลค่าที่แท้จริง
ซึ่งกฎสมมติก็บอกแล้วว่าขึ้นกับเงื่อนไข ไม่แน่นอน
พอต่อมา ข่าวบอกว่า หวย Online ชะงักอีกแล้ว หรือ 3G เลื่อนไปปีหน้าๆราคาหุ้นก็จะตกลง
หรือช่วง ADVANC ข่าวว่าหลังประกาศยึดทรัพย์อดีตนายกแล้ว นักวิเคราะห์คาดว่าทางรัฐบาล อาจจะพิจารณา เพิ่มภาษี/ปรับอะไรก็แล้วแต่ แต่นักวิเคาราะห์ก็ออกมาเลย scenario (แนวทางที่เป็นไปได้หลายแนวทาง)หลากหลาย เช่นถ้าถูกปรับ ราคาจะลงต่ำสุด ถึง 77 บาท ปรากฏว่า รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรเลย พอบทวิเคราะห์ออก 2-3 วันราคาไปเลย ที่ 77 เลย
เสร็จต่อมาระยะหนึ่ง รัฐบาลมาออกข่าว ราคาก็ทะยอยดีขึ้น จน ก่อนปันผลXD - ขึ้นไปถึง 90 บาท
ก็คือกฎของความสมมติกำลังทำงาน กฏสมมติต้องมีเงื่อนไข เสมอ เหมือน scenario ถ้าถูกปรับจะอย่างนี้ ถ้าเพิ่มภาษีไม่ถูกปรับจะอย่างนี้ ถ้าไม่มีอะไรเกินขึ้นจะอย่างนี้
ทันทีที่กฏสมมติทำงาน ราคาหุ้นก็จะไม่สูงไปก็จะต่ำเกินไปเสมอ
เพราะถ้ามีข่าวร้ายก็หมดความนิยม ราคาก็ตกรุนแรง
แต่พอข่าวดีขึ้นก็กลับมานิยม ราคาก็ขึ้นไปใหม่
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 9
กฏสมมติกำลังทำงาน..เหตุการณ์เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปมาเป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายโดยนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษชื่อ ชาร์ลส์ แม็คเคย์ ในหนังสือชื่อ Extraordinary Popular Delusions and the Madness of Crowds (ความเพ้อฝันอันวิปริตและความบ้าคลั่งของมหาชน) ที่เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1841 แม็คเคย์กล่าวว่าในจุดหนึ่งของการขายถึงกับมีผู้เสนอแลกที่ดิน 12 เอเคอร์เพื่อแลกกับหัวทิวลิปสายพันธุ์ "Semper Augustus" เพียงหัวเดียว
http://www.stock2morrow.com/showthread. ... 795&page=1
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 10
ในความคิดผม ตลาดมีประสิทธิภาพบ้างและในบางเวลา
*ตลาดมีประสิทธิภาพคือทุกคนคาดการณ์ได้มีค่าเท่ากันฉะนั้น price difference จะหมดไปในพริบตา ซึ่งสิ่งนี้ไม่เป็นจริงผมเลยบอกว่ามีประสิทธิภาำพบ้าง เช่น มีประสิทธิภาพ 50% และมีในบางเวลาคือบางเวลาอาจจะมีแค่ 30% บางเวลาอาจจะ 60% (ทิศทางของตลาดต่อ information ใหม่ที่เข้ามาถ้ามีประสิทธิภาพบาง ควรจะ move ไปตามข่าวดีหรือข่าวร้าย แต่จะไม่ไปหา intrinsic value ตามทฤษำีในทันที) Behavioral finance ถึงมีบทบาทมากขึ้นทุกวันครับ
*ตลาดมีประสิทธิภาพคือทุกคนคาดการณ์ได้มีค่าเท่ากันฉะนั้น price difference จะหมดไปในพริบตา ซึ่งสิ่งนี้ไม่เป็นจริงผมเลยบอกว่ามีประสิทธิภาำพบ้าง เช่น มีประสิทธิภาพ 50% และมีในบางเวลาคือบางเวลาอาจจะมีแค่ 30% บางเวลาอาจจะ 60% (ทิศทางของตลาดต่อ information ใหม่ที่เข้ามาถ้ามีประสิทธิภาพบาง ควรจะ move ไปตามข่าวดีหรือข่าวร้าย แต่จะไม่ไปหา intrinsic value ตามทฤษำีในทันที) Behavioral finance ถึงมีบทบาทมากขึ้นทุกวันครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 11
มีประสิทธิภาพน้อย...แน่นอนครับ!!!
เพราะ "เครื่องจักร" ที่ว่ามีประสิทธิภาพแล้ว...ยังมีวันรวน
นับประสาอะไรกับ "หัวใจของคน" ซึ่งเต็มไปด้วย ความโลภ โกรธ หลง และความกลัว
สุนทรภู่เอง ยังเขียนไว่นานมากแล้วว่า...
"ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก้ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน"
ขึ้นชื่อว่าคน ยากครับที่จะมีประสิทธิภาพ และความเท่าเทียม
เพราะ "เครื่องจักร" ที่ว่ามีประสิทธิภาพแล้ว...ยังมีวันรวน
นับประสาอะไรกับ "หัวใจของคน" ซึ่งเต็มไปด้วย ความโลภ โกรธ หลง และความกลัว
สุนทรภู่เอง ยังเขียนไว่นานมากแล้วว่า...
"ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก้ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน"
ขึ้นชื่อว่าคน ยากครับที่จะมีประสิทธิภาพ และความเท่าเทียม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 12
ประสิทธิภาพของตลาดนั้นมีอยู่ แต่ไม่ใช่ทุกเวลา
ประสิทธิภาพของตลาด มักถูกรบกวนด้วย noise ถูกดึงถูกลาก อยู่เสมอ ๆ แถมมีแรงเฉื่อยแรงเหวี่ยง แรงสะท้อนกลับเต็มไปหมด
ประสิทธิภาพของตลาด มักถูกรบกวนด้วย noise ถูกดึงถูกลาก อยู่เสมอ ๆ แถมมีแรงเฉื่อยแรงเหวี่ยง แรงสะท้อนกลับเต็มไปหมด
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 13
ในหนังเรื่อง..
Thick as Thieves (I) (2009)
นำแสดงโดย Antonio Banderas
http://www.imdb.com/title/tt1112782/
ในหนังตอนที่ Antonio Banderas ปล้นจี้เพชรในรถไฟใต้ดิน แล้วตำตรวก็มาถึง
A Banderas ก็เลยเอาเงินโปรยโยนกระจาย ไปทั่วรถ และพื้น
ฝูงชนก็บ้าคลั่งเก็บเงิน อยู่ไม่สน ตำรวจกับผู้ร้ายใกล้จะยิงกัน
ตลาดหุ้นเวลาเขาลากขึ้นเกินพื้นฐาน ฝูงชนก็เกิดความโลภอย่างบ้าคลั่ง กลัวตกรถบ้าง
เปรียบเหมือน ตลาดโปรยเงินแจก ใครจะไม่เข้าไปเก็บบ้าง..
หรือในการคำนวณ %Turn Over
% Turn Over = จำนวนหุ้นที่ซื้อขายกันในวันนั้น / จำนวนหุ้นที่จดทะเบียน
หุ้นบางตัว ที่เป็น TOP 10 ของตลาด
พอไปดู %Turn Over ranking ใน setsmart โดยมี ให้ เลือกแบบ วัน เดือน ปี
(เสียดาย copy มาเป็น ต.ย.ไม่ได้ เพราะไม่เป็น เข้ามูล public freely access
แต่ถ้าใครมี link % Turn Over Rank ที่ free และ public access ได้ก็ขอด้วย)
โอ้โฮ 200% /เดือน
หมายความว่า ผู้ถือบริษัทเขามั่นใจในอนาคต เขาบริษัทมากเลย ใน 1 เดือน ขายหุ้นหมดไป 2 รอบแล้ว
ทำนองนี้
ซึ่งถ้าตลาดมีประสิทธิภาพ มันก็ควรจะ
แบบ invisible hand
Mr.Market ของปู่เบน
จึงยอดเยี่ยมเสมอ
http://ezinearticles.com/?Ben-Graham-An ... &id=122055
Thick as Thieves (I) (2009)
นำแสดงโดย Antonio Banderas
http://www.imdb.com/title/tt1112782/
ในหนังตอนที่ Antonio Banderas ปล้นจี้เพชรในรถไฟใต้ดิน แล้วตำตรวก็มาถึง
A Banderas ก็เลยเอาเงินโปรยโยนกระจาย ไปทั่วรถ และพื้น
ฝูงชนก็บ้าคลั่งเก็บเงิน อยู่ไม่สน ตำรวจกับผู้ร้ายใกล้จะยิงกัน
ตลาดหุ้นเวลาเขาลากขึ้นเกินพื้นฐาน ฝูงชนก็เกิดความโลภอย่างบ้าคลั่ง กลัวตกรถบ้าง
เปรียบเหมือน ตลาดโปรยเงินแจก ใครจะไม่เข้าไปเก็บบ้าง..
หรือในการคำนวณ %Turn Over
% Turn Over = จำนวนหุ้นที่ซื้อขายกันในวันนั้น / จำนวนหุ้นที่จดทะเบียน
หุ้นบางตัว ที่เป็น TOP 10 ของตลาด
พอไปดู %Turn Over ranking ใน setsmart โดยมี ให้ เลือกแบบ วัน เดือน ปี
(เสียดาย copy มาเป็น ต.ย.ไม่ได้ เพราะไม่เป็น เข้ามูล public freely access
แต่ถ้าใครมี link % Turn Over Rank ที่ free และ public access ได้ก็ขอด้วย)
โอ้โฮ 200% /เดือน
หมายความว่า ผู้ถือบริษัทเขามั่นใจในอนาคต เขาบริษัทมากเลย ใน 1 เดือน ขายหุ้นหมดไป 2 รอบแล้ว
ทำนองนี้
ซึ่งถ้าตลาดมีประสิทธิภาพ มันก็ควรจะ
แบบ invisible hand
ฉะนั้นhttp://www.investorwords.com/2633/invisible_hand.html
invisible hand
Term used by Adam Smith to describe the natural force that guides free market capitalism through competition for scarce resources. According to Adam Smith, in a free market each participant will try to maximize self-interest, and the interaction of market participants, leading to exchange of goods and services, enables each participant to be better of than when simply producing for himself/herself. He further said that in a free market, no regulation of any type would be needed to ensure that the mutually beneficial exchange of goods and services took place, since this "invisible hand" would guide market participants to trade in the most mutually beneficial manner.
Read more: http://www.investorwords.com/2633/invis ... z1L0e7ZvqI
Mr.Market ของปู่เบน
จึงยอดเยี่ยมเสมอ
http://ezinearticles.com/?Ben-Graham-An ... &id=122055
Graham used what has become a famous metaphor called "Mr. Market" to explain how the stock market works. It is probably still the best way to understand how stocks are priced and what it means to you as an investor.
Let's say you own a business and you have a partner. His name is "Mr. Market." Your business is a good one. It has given you a high return on what you have invested in the business. The only thing is your partner, Mr. Market, is kind of a strange dude. He's very emotional. Some days he's on a very euphoric high and other days he's very depressed. I guess today we would describe his condition as manic-depressive.
Mr. Market has a curious habit. Every day he comes into the office and offers to sell you his share of the business or buy yours. However, because he is so moody, if he happens to be euphoric on a particular day he wants a very high price for his share. On the other hand, if he's in one of his down moods he's willing to sell out for a pittance.
The interesting thing about Mr. Market is that he doesn't seem to care whether or not you choose to buy his interest or sell yours. He doesn't get his feelings hurt. You can do whatever you want. It's completely up to you. He just keeps coming in the office every day, offering to buy or sell at wildly different prices. It's always the same good business it has always been. That doesn't change. It's just that, depending on his mood, some days Mr. Market is enthusiastic about the business and other days he's very pessimistic.
Since you know what the business is worth, you can just listen to Mr. Market's offer every day and decide if his offer is a good one or one you want to turn down. Even though Mr. Market's moods might be difficult to get used to, he's actually a great business partner to have.
That's exactly the way you should view the stock market. Choose your favorite business that happens to be one of the 10,000 or so publicly traded stocks. Look at the stock tables in the paper and notice the yearly high and low price for that stock. You'll find that there can be a dramatic difference between the high and the low during a single year. The business hasn't changed. It's just the mood of Mr. Market that changes.
Article Source: http://EzineArticles.com/122055
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 16
และถ้า ตลาดมีประสิทธิภาพ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=20&t=47626
เราคง ไม่ต้อง ถามคำถามว่า ดู Turn Over List ได้ ประโยชน์ อะไร?Turnover List
การจัดทำ Turnover list มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงรายชื่อหลักทรัพย์ที่มีอัตราการ ซื้อขายหมุนเวียนสูง อันแสดงว่าเป็นหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันมาก และอาจมีแนวโน้มนำไปสู่ ภาวะการซื้อขายที่ผิดปกติ อันอาจกระทบต่อความเสี่ยงของระบบการชำระราคาได้
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=20&t=47626
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 17
และถ้า
the efficient-market hypothesis (EMH) asserts that financial markets are
"informationally efficient".
แล้ว Accouting Scandale ใหญ่ ตั้งแต่ ปี 1980-2010 ละ
http://en.wikipedia.org/wiki/Accounting_scandals
อย่างกรณีดังๆเช่น Enron หรือ Worldcom
แม้กระทั่ง Regulator ยังไม่รู้ทัน ข้อมูล เลย
แล้ว นักลงทุน ตาดำอย่างเรา จะรอดหรือ
จึง ไม่แปลก
เวลาฟังสัมนา
ได้ยินบ่อยๆว่า
ถ้าผู้บริหาร สีดำ หรือ สีเทา จะไม่เอาหุ้นนั้นเลย..
the efficient-market hypothesis (EMH) asserts that financial markets are
"informationally efficient".
แล้ว Accouting Scandale ใหญ่ ตั้งแต่ ปี 1980-2010 ละ
http://en.wikipedia.org/wiki/Accounting_scandals
อย่างกรณีดังๆเช่น Enron หรือ Worldcom
แม้กระทั่ง Regulator ยังไม่รู้ทัน ข้อมูล เลย
แล้ว นักลงทุน ตาดำอย่างเรา จะรอดหรือ
จึง ไม่แปลก
เวลาฟังสัมนา
ได้ยินบ่อยๆว่า
ถ้าผู้บริหาร สีดำ หรือ สีเทา จะไม่เอาหุ้นนั้นเลย..
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 19
ต่อ.
คำกล่าวที่ว่า:
"the stock market is based on greed and fear"
Greed=มองภาพดี=มองว่าอนาคตสดใส=ความรู้สึก =superOverbroughtที่ฝรั่งเรีกว่า BULL MARKET
Fear=มองเห็นแต่ข่างร้าย=มือมิด=Panic sell =Fear Market
ลองย้อนไปดูปี 51 ตลาดบ้านเรา
http://www.stock2morrow.com/attachment. ... 1230701967
หรือ
http://www.stock2morrow.com/attachment. ... 1225338644
ต.ย.ง่ายเลย
TCAPปี51=7.05 และมีBVมูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น (บาท)ปี51=19.69 เป็น big buy opportunity in Fear Market
ราคาปี53=36 ขึ้น51-53=5.1x
สมกับที่ buffet บอกว่า
http://www.moneybluebook.com/warren-buf ... investors/
คำกล่าวที่ว่า:
"the stock market is based on greed and fear"
Greed=มองภาพดี=มองว่าอนาคตสดใส=ความรู้สึก =superOverbroughtที่ฝรั่งเรีกว่า BULL MARKET
Fear=มองเห็นแต่ข่างร้าย=มือมิด=Panic sell =Fear Market
ลองย้อนไปดูปี 51 ตลาดบ้านเรา
http://www.stock2morrow.com/attachment. ... 1230701967
หรือ
http://www.stock2morrow.com/attachment. ... 1225338644
ต.ย.ง่ายเลย
TCAPปี51=7.05 และมีBVมูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้น (บาท)ปี51=19.69 เป็น big buy opportunity in Fear Market
ราคาปี53=36 ขึ้น51-53=5.1x
สมกับที่ buffet บอกว่า
http://www.moneybluebook.com/warren-buf ... investors/
"Occasional outbreaks of those two super-contagious diseases, fear and greed, will forever occur in the investment community. The timing of these epidemics is equally unpredictable, both as to duration and degree. Therefore we never try to anticipate the arrival or departure of either. We simply attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful."
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 20
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... snift.html
ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ : "ตัวการ" หรือ "แพะรับบาป"?
วันนี้ผมจะปกป้องเจ้าทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพนะครับ ใครบางคนต้องลุกขึ้นมาทำ เพราะมันถูกถล่มเละเลยตั้งแต่วิกฤตสินเชื่อเริ่มต้น เดวิด ไวตัน แห่ง ไทมส์ ให้ความเห็นในเดือนมกราคม 2009 ว่า "ทฤษฎีนี้ถูกประกาศว่าตายแล้วอย่างเป็นทางการในที่ประชุมเศรษฐกิจโลกที่กรุง ดาโวส ไม่มีใครไว้ทุกข์มันสักคน" ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน โรเจอร์ โลเวนสไตน์ ก็เขียนใน เดอะ วอชิงตัน โพสต์ ว่า "ข้อดีของการถดถอยทางเศรษฐกิจรุนแรงที่กำลังเกิดในปัจจุบัน คือ มันอาจทิ่มแทงหัวใจยาสามัญประจำบ้านทางวิชาการที่เรียกว่า ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ จนทะลุ" และเมื่อไม่นานมานี้ แมทธิว บิชอป และไมเคิล กรีน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ถนนจากซากปรักหักพัง (The Road from Ruin) ก็เสนอว่าทฤษฎีอีเอ็มเอชมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤติ
เราควรจะหยุดคิดกันเล็กน้อยว่า ทฤษฎีอีเอ็มเอชหมายความว่าอะไรกันแน่ มันไม่ใช่การอ้างแบบเรแกน (หมายถึงอดีตประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ของอเมริกา ผู้เชื่อว่าตลาดเสรีดูแลตัวเองได้) ที่ว่า ตลาดเสรีนั้นเหนือกว่าการแทรกแซงของรัฐ ที่จริงมันเป็นข้ออ้างที่แคบกว่าและเชิงเทคนิคกว่ากันมาก เกี่ยวกับราคาของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง อย่างเช่น หุ้นหรือตราสารหนี้ของเอกชน แต่กระนั้นมันก็สำคัญมากอยู่ดี
ทฤษฎีอีเอ็มเอชมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่ "อ่อน" ที่สุด (weakest form) บอกว่า ผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในอดีตไม่สามารถรับประกันผลตอบแทนของมัน ในอนาคตได้ ยิ่งไปกว่านั้น การปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นในอดีตก็บอกอะไรคุณไม่ได้เลยว่ามันจะขึ้นลง อย่างไรในอนาคต รูปแบบที่ "แข็ง" ที่สุด (strongest form) ของทฤษฎีนี้บอกว่า ราคาตลาดคือราคาที่ "ถูกต้อง" แล้ว นั่นคือ ข้อมูลอะไรก็ตาม ทั้งที่เป็นข้อมูลส่วนตัวและเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าหุ้นล้วนถูกสะท้อนออกมาในราคาหุ้นโดยสมบูรณ์แล้ว รูปแบบอ่อนของทฤษฎีอีเอ็มเอชบอกว่า คุณไม่ควรฟังเสียงของเซียนวิเคราะห์หุ้นที่แนะนำให้ซื้อหุ้นที่เร็วๆ นี้เพิ่งวิ่งแรง รูปแบบแข็งของทฤษฎีอีเอ็มเอชบอกว่า คุณไม่ควรเสียเวลามานั่งวิเคราะห์หุ้นเลย เพราะทำไปก็เท่านั้น
ทฤษฎีอีเอ็มเอชในรูปแบบแข็งไม่มีทางเป็นจริงตลอดเวลา (ถ้าหากคนที่มีเหตุมีผลทุกคนไม่วิเคราะห์หุ้นเลย แล้วตลาดจะมีประสิทธิภาพสูงมากได้อย่างไร?) บางทีมันอาจไม่เคยจริงเลยก็ได้ แต่ จอห์น เคย์ เพื่อนร่วมงานของผม ก็ชี้ว่าความแตกต่างระหว่าง "ทฤษฎีอีเอ็มเอชปกติเป็นความจริง" กับ "ทฤษฎีอีเอ็มเอชเป็นความจริงตลอดเวลา" อาจเป็นความแตกต่างมากพอที่จะอธิบายคน (ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดมาก) อย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้
แต่ทฤษฎีอีเอ็มเอชนำเราไปสู่วิกฤติได้อย่างไร แน่นอนว่า มันไม่ได้นำไปตรงๆ ที่จริงสิ่งแรกที่ทฤษฎีอีเอ็มเอชบอกคุณ คือ จงอย่าไว้ใจนายหน้าค้าตราสารหนี้ที่อ้างว่า หลักทรัพย์อิงสินเชื่อซับไพร์มนี้สามารถให้ผลตอบแทนสูงมากโดยแทบไม่มีความ เสี่ยงใดๆ เลย ผมคิดว่าข้อเท็จจริงที่ชัดเจนมาก จากหนังสือเรื่อง การชอร์ตครั้งมหึมา (The Big Short) ของ ไมเคิล ลูวิส คือ นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญบางคนที่อยากชอร์ต (short คือ สั่งขายล่วงหน้าก่อนไปซื้อทีหลัง ด้วยความมั่นใจว่าราคาหลักทรัพย์จะตก) หลักทรัพย์อิงซับไพร์มลังเลใจที่จะทำ เพราะกลัวว่าพวกเขาจะคิดผิด สัญชาตญาณของพวกเขาเชื่อมั่นในทฤษฎีอีเอ็มเอช เพียงแต่เพิ่งมาชอร์ตหลักทรัพย์พวกนี้หลังจากที่ได้พบกับคนที่คลั่งไคล้ใน ซับไพร์ม และพบว่าพวกหลังนี้ตัวจริงก็ไม่ฉลาดพอๆ กับกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขา ทฤษฎีอีเอ็มเอชส่งเสริมให้เราไม่ไว้ใจใครง่ายๆ เกี่ยวกับการลงทุนที่ดูเหมือนของตาย ไม่ใช่ให้เราเชื่อคนง่าย
ความคิดที่น่าจะถูกกว่านั้น คือ ข้อเสนอที่ว่าทฤษฎีอีเอ็มเอชก่อความเสียหายทางอ้อม ผ่านทัศนคติของผู้กำกับดูแล แม็ทธิว บิชอป บอกผมว่าเขามองเห็นสามทางที่ทฤษฎีอีเอ็มเอชมีส่วนสร้างวิกฤติ ทางแรก มันล่อลวงให้ อลัน กรีนสแปน (อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอเมริกัน) เชื่อว่าฟองสบู่ไม่ได้เกิดจริง หรือไม่ถ้ามันเกิด ก็ไม่มีทางที่ธนาคารกลางจะสามารถมองเห็นมันและแทรกแซง (ได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ทางที่สอง ทฤษฎีอีเอ็มเอชสร้างแรงจูงใจให้ตลาดใช้กฎ "บันทึกบัญชีตามมูลค่าตลาด" (mark-to-market) ซึ่งทำให้ธนาคารต่างๆ ตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อราคาสินทรัพย์ของพวกเขามลายหายไปใน อากาศ ทางที่สาม ทฤษฎีอีเอ็มเอชสนับสนุนมุมมองที่ว่า ผู้บริหารไม่สามารถเปลี่ยนราคาหุ้นของบริษัทตัวเองได้ตามใจอยาก การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นออปชั่นหุ้นจึงมีเหตุมีผล ผมคิดว่าประเด็นเหล่านี้ฟังขึ้น และดังนั้น ผู้กำกับดูแลจึงสมควรที่จะระแวงทฤษฎีอีเอ็มเอชให้มาก
อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังเชื่อมั่นว่า นักลงทุนทั่วไปควรใช้ทฤษฎีอีเอ็มเอชควรเป็นดาวนำทาง มันเสนอกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ - เลือกหุ้นหลายๆ ตัวหรือหลักทรัพย์ที่อิงดัชนีหุ้น ลงทุนอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องพยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมอะไรมาก ถ้าเพียงแต่นายธนาคารจะฟังคำแนะนำนี้อีกไม่กี่คน (เราก็คงไม่ต้องประสบกับหายนะ)
ข้อเท็จจริงและผลพวงของทฤษฎีอีเอ็มเอชที่ฮาร์ฟอร์ดเล่าอย่างสนุก สนานข้างต้น ทำให้ผู้เขียนนึกถึงวรรคทองของ มาร์ค ทเวน นักเขียนในดวงใจคนหนึ่ง ที่กล่าวไว้กว่าหนึ่งศตวรรษที่แล้วว่า "สิ่งที่ทำให้เธอประสบปัญหาไม่ใช่สิ่งที่เธอไม่รู้ หากเป็นสิ่งที่เธอรู้แน่ๆ แต่เอาเข้าจริงไม่ใช่อย่างที่คิดเลย" (It ain't what you don't know that gets you into trouble. It's what you know for sure that just ain't so.)
ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ : "ตัวการ" หรือ "แพะรับบาป"?
วันนี้ผมจะปกป้องเจ้าทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพนะครับ ใครบางคนต้องลุกขึ้นมาทำ เพราะมันถูกถล่มเละเลยตั้งแต่วิกฤตสินเชื่อเริ่มต้น เดวิด ไวตัน แห่ง ไทมส์ ให้ความเห็นในเดือนมกราคม 2009 ว่า "ทฤษฎีนี้ถูกประกาศว่าตายแล้วอย่างเป็นทางการในที่ประชุมเศรษฐกิจโลกที่กรุง ดาโวส ไม่มีใครไว้ทุกข์มันสักคน" ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน โรเจอร์ โลเวนสไตน์ ก็เขียนใน เดอะ วอชิงตัน โพสต์ ว่า "ข้อดีของการถดถอยทางเศรษฐกิจรุนแรงที่กำลังเกิดในปัจจุบัน คือ มันอาจทิ่มแทงหัวใจยาสามัญประจำบ้านทางวิชาการที่เรียกว่า ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ จนทะลุ" และเมื่อไม่นานมานี้ แมทธิว บิชอป และไมเคิล กรีน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง ถนนจากซากปรักหักพัง (The Road from Ruin) ก็เสนอว่าทฤษฎีอีเอ็มเอชมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดวิกฤติ
เราควรจะหยุดคิดกันเล็กน้อยว่า ทฤษฎีอีเอ็มเอชหมายความว่าอะไรกันแน่ มันไม่ใช่การอ้างแบบเรแกน (หมายถึงอดีตประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ของอเมริกา ผู้เชื่อว่าตลาดเสรีดูแลตัวเองได้) ที่ว่า ตลาดเสรีนั้นเหนือกว่าการแทรกแซงของรัฐ ที่จริงมันเป็นข้ออ้างที่แคบกว่าและเชิงเทคนิคกว่ากันมาก เกี่ยวกับราคาของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง อย่างเช่น หุ้นหรือตราสารหนี้ของเอกชน แต่กระนั้นมันก็สำคัญมากอยู่ดี
ทฤษฎีอีเอ็มเอชมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่ "อ่อน" ที่สุด (weakest form) บอกว่า ผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในอดีตไม่สามารถรับประกันผลตอบแทนของมัน ในอนาคตได้ ยิ่งไปกว่านั้น การปรับตัวขึ้นลงของราคาหุ้นในอดีตก็บอกอะไรคุณไม่ได้เลยว่ามันจะขึ้นลง อย่างไรในอนาคต รูปแบบที่ "แข็ง" ที่สุด (strongest form) ของทฤษฎีนี้บอกว่า ราคาตลาดคือราคาที่ "ถูกต้อง" แล้ว นั่นคือ ข้อมูลอะไรก็ตาม ทั้งที่เป็นข้อมูลส่วนตัวและเป็นข้อมูลสาธารณะ ที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าหุ้นล้วนถูกสะท้อนออกมาในราคาหุ้นโดยสมบูรณ์แล้ว รูปแบบอ่อนของทฤษฎีอีเอ็มเอชบอกว่า คุณไม่ควรฟังเสียงของเซียนวิเคราะห์หุ้นที่แนะนำให้ซื้อหุ้นที่เร็วๆ นี้เพิ่งวิ่งแรง รูปแบบแข็งของทฤษฎีอีเอ็มเอชบอกว่า คุณไม่ควรเสียเวลามานั่งวิเคราะห์หุ้นเลย เพราะทำไปก็เท่านั้น
ทฤษฎีอีเอ็มเอชในรูปแบบแข็งไม่มีทางเป็นจริงตลอดเวลา (ถ้าหากคนที่มีเหตุมีผลทุกคนไม่วิเคราะห์หุ้นเลย แล้วตลาดจะมีประสิทธิภาพสูงมากได้อย่างไร?) บางทีมันอาจไม่เคยจริงเลยก็ได้ แต่ จอห์น เคย์ เพื่อนร่วมงานของผม ก็ชี้ว่าความแตกต่างระหว่าง "ทฤษฎีอีเอ็มเอชปกติเป็นความจริง" กับ "ทฤษฎีอีเอ็มเอชเป็นความจริงตลอดเวลา" อาจเป็นความแตกต่างมากพอที่จะอธิบายคน (ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดมาก) อย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้
แต่ทฤษฎีอีเอ็มเอชนำเราไปสู่วิกฤติได้อย่างไร แน่นอนว่า มันไม่ได้นำไปตรงๆ ที่จริงสิ่งแรกที่ทฤษฎีอีเอ็มเอชบอกคุณ คือ จงอย่าไว้ใจนายหน้าค้าตราสารหนี้ที่อ้างว่า หลักทรัพย์อิงสินเชื่อซับไพร์มนี้สามารถให้ผลตอบแทนสูงมากโดยแทบไม่มีความ เสี่ยงใดๆ เลย ผมคิดว่าข้อเท็จจริงที่ชัดเจนมาก จากหนังสือเรื่อง การชอร์ตครั้งมหึมา (The Big Short) ของ ไมเคิล ลูวิส คือ นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญบางคนที่อยากชอร์ต (short คือ สั่งขายล่วงหน้าก่อนไปซื้อทีหลัง ด้วยความมั่นใจว่าราคาหลักทรัพย์จะตก) หลักทรัพย์อิงซับไพร์มลังเลใจที่จะทำ เพราะกลัวว่าพวกเขาจะคิดผิด สัญชาตญาณของพวกเขาเชื่อมั่นในทฤษฎีอีเอ็มเอช เพียงแต่เพิ่งมาชอร์ตหลักทรัพย์พวกนี้หลังจากที่ได้พบกับคนที่คลั่งไคล้ใน ซับไพร์ม และพบว่าพวกหลังนี้ตัวจริงก็ไม่ฉลาดพอๆ กับกลยุทธ์การลงทุนของพวกเขา ทฤษฎีอีเอ็มเอชส่งเสริมให้เราไม่ไว้ใจใครง่ายๆ เกี่ยวกับการลงทุนที่ดูเหมือนของตาย ไม่ใช่ให้เราเชื่อคนง่าย
ความคิดที่น่าจะถูกกว่านั้น คือ ข้อเสนอที่ว่าทฤษฎีอีเอ็มเอชก่อความเสียหายทางอ้อม ผ่านทัศนคติของผู้กำกับดูแล แม็ทธิว บิชอป บอกผมว่าเขามองเห็นสามทางที่ทฤษฎีอีเอ็มเอชมีส่วนสร้างวิกฤติ ทางแรก มันล่อลวงให้ อลัน กรีนสแปน (อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอเมริกัน) เชื่อว่าฟองสบู่ไม่ได้เกิดจริง หรือไม่ถ้ามันเกิด ก็ไม่มีทางที่ธนาคารกลางจะสามารถมองเห็นมันและแทรกแซง (ได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ทางที่สอง ทฤษฎีอีเอ็มเอชสร้างแรงจูงใจให้ตลาดใช้กฎ "บันทึกบัญชีตามมูลค่าตลาด" (mark-to-market) ซึ่งทำให้ธนาคารต่างๆ ตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อราคาสินทรัพย์ของพวกเขามลายหายไปใน อากาศ ทางที่สาม ทฤษฎีอีเอ็มเอชสนับสนุนมุมมองที่ว่า ผู้บริหารไม่สามารถเปลี่ยนราคาหุ้นของบริษัทตัวเองได้ตามใจอยาก การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นออปชั่นหุ้นจึงมีเหตุมีผล ผมคิดว่าประเด็นเหล่านี้ฟังขึ้น และดังนั้น ผู้กำกับดูแลจึงสมควรที่จะระแวงทฤษฎีอีเอ็มเอชให้มาก
อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังเชื่อมั่นว่า นักลงทุนทั่วไปควรใช้ทฤษฎีอีเอ็มเอชควรเป็นดาวนำทาง มันเสนอกลยุทธ์ดังต่อไปนี้ - เลือกหุ้นหลายๆ ตัวหรือหลักทรัพย์ที่อิงดัชนีหุ้น ลงทุนอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องพยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมอะไรมาก ถ้าเพียงแต่นายธนาคารจะฟังคำแนะนำนี้อีกไม่กี่คน (เราก็คงไม่ต้องประสบกับหายนะ)
ข้อเท็จจริงและผลพวงของทฤษฎีอีเอ็มเอชที่ฮาร์ฟอร์ดเล่าอย่างสนุก สนานข้างต้น ทำให้ผู้เขียนนึกถึงวรรคทองของ มาร์ค ทเวน นักเขียนในดวงใจคนหนึ่ง ที่กล่าวไว้กว่าหนึ่งศตวรรษที่แล้วว่า "สิ่งที่ทำให้เธอประสบปัญหาไม่ใช่สิ่งที่เธอไม่รู้ หากเป็นสิ่งที่เธอรู้แน่ๆ แต่เอาเข้าจริงไม่ใช่อย่างที่คิดเลย" (It ain't what you don't know that gets you into trouble. It's what you know for sure that just ain't so.)
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
-
- Verified User
- โพสต์: 1160
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 21
ในระยะยาว จะมีสิ่งที่เรียกว่าประสิทธิภาพเกิดขึ้นเป็นช่วงๆครับ
เพราะ ถ้าตลาดไม่มีประสิทธิภาพเลย
หุ้นที่ดีมากๆ เช่นโตปีละ30% กำไรดี เงินสดงาม ปันผลมีเหตุผล ขายอยู่เท่าบุ๊ค
มันก็อาจขายเท่าบุ๊คตลอดกาล ทุกคนปิดตาแทง มาเก็ตแคปจะไปกองอยู่ที่set50จนหมด
อันนี้คือไร้สิ้นเชิง
เราพบว่ามันไม่จริง หุ้นที่ดีนั้น ในระยะยาว ราคาจะปรับเข้าหามูลค่าเอง
ตรงนี้คือ ประสิทธิภาพของตลาด มันเกิดแน่
แต่ถามว่ามีประสิทธิภาพตลอดเวลาไหม
ตอบได้เลยว่าไม่ ราคาขึ้นๆลงๆสวิงขนาดนั้น ไปดูPTLได้ หรือดูindexก็ได้ ถ้ามีประสิทธิภาพตลอดเวลา
ตลาดถล่มจะไม่มี บูลหรือแบร์ ก็ไม่มี คนซื้อก็ไม่ต้องคิดอะไรปิดตาซื้อผลตอบแทนก็ได้ค่าเฉลี่ย ซึ่งสิ่งนี้มันผิด
คือถ้าทุกคนปิดตาซื้อ ประสิทธิภาพจะหายไปแน่นอน
สรุปได้ว่า
มีบ้าง ไม่มีบ้าง นั่นเองครับ แถมเกิดพร้อมกันซะด้วย!
เช่นหุ้นบางตัวปรับเข้าสู่มูลค่ายุติธรรมแล้ว บางตัวก็ไม่ปรับสักที
บางทีก็เกินทั้งระบบ หรือต่ำทั้งระบบ
เพราะ ถ้าตลาดไม่มีประสิทธิภาพเลย
หุ้นที่ดีมากๆ เช่นโตปีละ30% กำไรดี เงินสดงาม ปันผลมีเหตุผล ขายอยู่เท่าบุ๊ค
มันก็อาจขายเท่าบุ๊คตลอดกาล ทุกคนปิดตาแทง มาเก็ตแคปจะไปกองอยู่ที่set50จนหมด
อันนี้คือไร้สิ้นเชิง
เราพบว่ามันไม่จริง หุ้นที่ดีนั้น ในระยะยาว ราคาจะปรับเข้าหามูลค่าเอง
ตรงนี้คือ ประสิทธิภาพของตลาด มันเกิดแน่
แต่ถามว่ามีประสิทธิภาพตลอดเวลาไหม
ตอบได้เลยว่าไม่ ราคาขึ้นๆลงๆสวิงขนาดนั้น ไปดูPTLได้ หรือดูindexก็ได้ ถ้ามีประสิทธิภาพตลอดเวลา
ตลาดถล่มจะไม่มี บูลหรือแบร์ ก็ไม่มี คนซื้อก็ไม่ต้องคิดอะไรปิดตาซื้อผลตอบแทนก็ได้ค่าเฉลี่ย ซึ่งสิ่งนี้มันผิด
คือถ้าทุกคนปิดตาซื้อ ประสิทธิภาพจะหายไปแน่นอน
สรุปได้ว่า
มีบ้าง ไม่มีบ้าง นั่นเองครับ แถมเกิดพร้อมกันซะด้วย!
เช่นหุ้นบางตัวปรับเข้าสู่มูลค่ายุติธรรมแล้ว บางตัวก็ไม่ปรับสักที
บางทีก็เกินทั้งระบบ หรือต่ำทั้งระบบ
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 22
+1Warantact เขียน:ในระยะยาว จะมีสิ่งที่เรียกว่าประสิทธิภาพเกิดขึ้นเป็นช่วงๆครับ
เพราะ ถ้าตลาดไม่มีประสิทธิภาพเลย
หุ้นที่ดีมากๆ เช่นโตปีละ30% กำไรดี เงินสดงาม ปันผลมีเหตุผล ขายอยู่เท่าบุ๊ค
มันก็อาจขายเท่าบุ๊คตลอดกาล ทุกคนปิดตาแทง มาเก็ตแคปจะไปกองอยู่ที่set50จนหมด
อันนี้คือไร้สิ้นเชิง
เราพบว่ามันไม่จริง หุ้นที่ดีนั้น ในระยะยาว ราคาจะปรับเข้าหามูลค่าเอง
ตรงนี้คือ ประสิทธิภาพของตลาด มันเกิดแน่
แต่ถามว่ามีประสิทธิภาพตลอดเวลาไหม
ตอบได้เลยว่าไม่ ราคาขึ้นๆลงๆสวิงขนาดนั้น ไปดูPTLได้ หรือดูindexก็ได้ ถ้ามีประสิทธิภาพตลอดเวลา
ตลาดถล่มจะไม่มี บูลหรือแบร์ ก็ไม่มี คนซื้อก็ไม่ต้องคิดอะไรปิดตาซื้อผลตอบแทนก็ได้ค่าเฉลี่ย ซึ่งสิ่งนี้มันผิด
คือถ้าทุกคนปิดตาซื้อ ประสิทธิภาพจะหายไปแน่นอน
สรุปได้ว่า
มีบ้าง ไม่มีบ้าง นั่นเองครับ แถมเกิดพร้อมกันซะด้วย!
เช่นหุ้นบางตัวปรับเข้าสู่มูลค่ายุติธรรมแล้ว บางตัวก็ไม่ปรับสักที
บางทีก็เกินทั้งระบบ หรือต่ำทั้งระบบ
ถ้าตลาดหุ้นไม่มีประสิทธิภาพเลยหลัง XD ราคาต้องไม่ร่วง หลังเพิ่มทุนราคาต้องไม่ dilute
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ตลาด(หุ้น)มีประสิทธิภาพ จริงหรือ?
โพสต์ที่ 23
ตลาดมีประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิภาพ
ต่อหุ้นรายตัว ต่างกรรม ต่างเวลากัน
ค้นหา รอ และ เลือกซื้อหุ้นรายตัว ไม่ได้เลือกทั้งตลาด
ต่อหุ้นรายตัว ต่างกรรม ต่างเวลากัน
ค้นหา รอ และ เลือกซื้อหุ้นรายตัว ไม่ได้เลือกทั้งตลาด
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"