สงสัยการบันทึกบัญชีเวลาบริษัทเข้าไปลงทุนในบริษัทย่อยๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 715
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยการบันทึกบัญชีเวลาบริษัทเข้าไปลงทุนในบริษัทย่อยๆครับ
โพสต์ที่ 1
เช่นไปซื้อหุ้น เพิ่ม ยังนี้ จะมีผลใน งบกำไรขาดทุนรึเปล่าครับ? เพราะอย่างเวลาซื้อเครื่องจักร ยังมีเลย คือจะบันทึก ค่าเสื่อมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน แล้วผมอยากทรายบว่ากรณีซื้อเครื่องจักรนี้ ซื้อปุ๊บ ในไตรมาสนั้นๆ ตัดค่าเสื่อมออกเลยรึเปล่าครับ? ตัดเป็นทุกๆไตรมาสรึเปล่า หรือว่า ปีนึงตัด 1 ครั้ง?
แล้วอีกอย่าง การลงทุนในระบบ IT ของบริษัทจะนิยมตัดค่าเสื่อม กี่ปีครับ? อย่างรถยนต์พาหนะส่วนใหญ่จะใช้ 5 ปี กัน (คุณแม่ผมท่านบอกมา)
ขอบคุณครับ
แล้วอีกอย่าง การลงทุนในระบบ IT ของบริษัทจะนิยมตัดค่าเสื่อม กี่ปีครับ? อย่างรถยนต์พาหนะส่วนใหญ่จะใช้ 5 ปี กัน (คุณแม่ผมท่านบอกมา)
ขอบคุณครับ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
สงสัยการบันทึกบัญชีเวลาบริษัทเข้าไปลงทุนในบริษัทย่อยๆครับ
โพสต์ที่ 2
การถือหุ้นในบริษัทอื่นมีสองรูปแบบ
แบบที่ 1 ความสัมพันธ์แบบเงินลงทุนในรูปหลักทรัพย์เผื่อขาย เป็นแบบที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือซื้อหุ้น ไม่มีส่วนในการบริหาร โดยปกติจะเป็นสัดส่วนที่น้อย ลงบัญชีเป็นสินทรัพย์ และลงบัญชีกำไร หรือขาดทุนทางบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อราคาตลาด (ถ้าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์) หรือ book value ในกรณีที่ไม่อยู่ในตลาด อันนี้เหมือนกับเราท่านไปซื่อหุ้นครับ
แบบที่ 2 รูปแบบบริษัทร่วม เป็นรูปแบบที่มีอำนาจในการบริหารบ้างแต่สัดส่วนการถือหุ้นไม่พอกับการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แบบนี้เค้าจะลงรายการเป็นวิธีบันทึกแบบส่วนได้ส่วนเสีย หมายความว่าลงทุนไปเป็นสัดส่วน 20% พอได้บริษัทย่อยได้กำไรมา 100 บาท บริษัทก็จะได้ส่วนเป็นกำไรบันทึก 20 บาท
แบบที่ 3 รูปแบบบริษัทย่อย เป็นรูปแบบที่บริษัทแม่มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นเสียงส่วนใหญ่อาจด้วยการถือหุ้นเกิน 50 % หรือ มีผู้บริหารชุดเดียวกัน อันนี้ต้องเอางบสองบริษัทมารวมกันและเพิ่มผู้ถือหุ้นส่วนน้อยออกไปในส่วนของทุน
ในกรณีค่าเสื่อมมีหลายอย่างเช่นอาคารเครื่องจักร ถ้าจำไม่ผิดน่าจะ 10 ปี รถยนต์ ก็ 5 ปี ส่วนใหญ่ในงบรายไตรมาสก็มีการคิดด้วย
ค่าเสื่อมระบบสารสนเทศไม่รู้แฮะ
จริงๆ เรื่องของค่าเสื่อมในหมายเหตุงบก็น่าจะมีอยู่นะครับ
หวังว่าคงช่วยได้บ้างคับ
แบบที่ 1 ความสัมพันธ์แบบเงินลงทุนในรูปหลักทรัพย์เผื่อขาย เป็นแบบที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือซื้อหุ้น ไม่มีส่วนในการบริหาร โดยปกติจะเป็นสัดส่วนที่น้อย ลงบัญชีเป็นสินทรัพย์ และลงบัญชีกำไร หรือขาดทุนทางบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้นเมื่อราคาตลาด (ถ้าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์) หรือ book value ในกรณีที่ไม่อยู่ในตลาด อันนี้เหมือนกับเราท่านไปซื่อหุ้นครับ
แบบที่ 2 รูปแบบบริษัทร่วม เป็นรูปแบบที่มีอำนาจในการบริหารบ้างแต่สัดส่วนการถือหุ้นไม่พอกับการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แบบนี้เค้าจะลงรายการเป็นวิธีบันทึกแบบส่วนได้ส่วนเสีย หมายความว่าลงทุนไปเป็นสัดส่วน 20% พอได้บริษัทย่อยได้กำไรมา 100 บาท บริษัทก็จะได้ส่วนเป็นกำไรบันทึก 20 บาท
แบบที่ 3 รูปแบบบริษัทย่อย เป็นรูปแบบที่บริษัทแม่มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นเสียงส่วนใหญ่อาจด้วยการถือหุ้นเกิน 50 % หรือ มีผู้บริหารชุดเดียวกัน อันนี้ต้องเอางบสองบริษัทมารวมกันและเพิ่มผู้ถือหุ้นส่วนน้อยออกไปในส่วนของทุน
ในกรณีค่าเสื่อมมีหลายอย่างเช่นอาคารเครื่องจักร ถ้าจำไม่ผิดน่าจะ 10 ปี รถยนต์ ก็ 5 ปี ส่วนใหญ่ในงบรายไตรมาสก็มีการคิดด้วย
ค่าเสื่อมระบบสารสนเทศไม่รู้แฮะ
จริงๆ เรื่องของค่าเสื่อมในหมายเหตุงบก็น่าจะมีอยู่นะครับ
หวังว่าคงช่วยได้บ้างคับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ