รูป Free Fall รากเหง้า - ทางออกแห่งวิกฤติการณ์การเงินโลก
- nasesus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1278
- ผู้ติดตาม: 0
รูป Free Fall รากเหง้า - ทางออกแห่งวิกฤติการณ์การเงินโลก
โพสต์ที่ 1
ตีแผ่เส้นทางของวิกฤติการณ์การเงิน และเหตุปัจจัยเบื้องหลัง จากนักเศรษฐศาสตร์ผู้เป็นนักคิดชั้นนำคนหนึ่งของโลก "โจเซฟ สติกลิตซ์)
ผู้เขียน Joseph E. Stiglitz (โจเซฟ อี. สติกลิตซ์)
ผู้แปล ขุนทอง ลอเสรีวานิช
อ่านไปได้หน่อย เปิดมุมมองดีครับ
ทางที่ไม่มีไฟ ใช่ว่าไม่มีทาง เพียงแค่การก้าวไปข้างหน้าต้องใช้มากกว่าการหวังพึ่งแค่ดวงตา
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รูป Free Fall รากเหง้า - ทางออกแห่งวิกฤติการณ์การเงินโลก
โพสต์ที่ 2
โจเซฟ สติกลิตซ์ กับวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม
หลังจากถดถอยมาเป็นเวลากว่าสองปี เศรษฐกิจโลกมีทีท่าว่าจะฟื้นคืนชีพกลับมาอย่างมั่นคงแล้ว ในช่วงที่ภาคต่างๆ กำลังถดถอยอยู่นั้น ภาคหนึ่งซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเขียนหนังสือวิจารณ์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดวิกฤติและการแก้ไข ในช่วงเวลาเพียงสองปีมีหนังสือพิมพ์ออกมาในอเมริกาไม่ต่ำกว่า 34 เล่ม ในจำนวนนี้ เล่มที่วิจารณ์ตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างกว้างขวางที่สุด ได้แก่ Freefall : America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy โดย ดร. โจเซฟ สติกลิตซ์
นอกจากจะมีประสบการณ์ทางด้านวิจัย จนได้รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์แล้ว ดร.สติกลิตซ์ ยังมีประสบการณ์จากการทำงานกับรัฐบาลอเมริกัน และกับธนาคารโลกอีกด้วย ประสบการณ์เหล่านั้นเอื้อให้เขามองปรากฏการณ์ต่างๆ ได้อย่างลุ่มลึก ด้านหนึ่งที่เขามุ่งเน้นเป็นพิเศษในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ กระบวนการโลกาภิวัตน์ กระบวนการนี้มีข้อดีมากมาย แต่ในขณะเดียวกัน มันก็มีผลร้ายสูงมากหากบุคคลและสังคมไม่เข้าใจ ก่อนเขียนเรื่อง Freefall ดร. สติกลิตซ์เขียนหนังสือสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ไว้สองเล่ม คือ Globalization and Its Discontents และ Making Globalization Work ซึ่งมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยที่อาจดึงออกมาได้จากเว็บไซต์ http://www.sawaiboonma.com
Freefall เป็นหนังสือขนาด 360 หน้าซึ่งพิมพ์ออกมาครั้งแรกเมื่อต้นปี 2553 นอกจากเนื้อหาที่น่าสนใจในแต่ละบทแล้ว ผู้เขียนยังรวมชื่อเอกสารอ้างอิงและคำอธิบายจำนวนมากไว้ในตอนท้ายเล่มอีก ด้วย เอกสารและคำอธิบายยาวกว่า 60 หน้ากระดาษนี้ น่าจะมีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาบางประเด็นให้ลึกลงไป ในบรรดาเนื้อหาทั้งหมด ผมเห็นว่าบทสุดท้ายควรจะได้รับความใส่ใจสูงสุด เพราะผู้เขียนสรุปปัจจัยพื้นฐานของวิกฤติ และชี้ทางกว้างๆ ที่ชาวโลกจะต้องหาทางออกกันต่อไป เพื่อทำให้สังคมมีโอกาสอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ดร. สติกลิตซ์ สรุปว่า ปัจจัยพื้นฐานของวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐ คือ วิกฤติทางศีลธรรมจรรยา ที่เขาเรียกตามแนวเศรษฐศาสตร์ ว่า “การขาดดุลทางศีลธรรมจรรยา (moral deficit)” เขาประเมินว่า การขาดดุลนี้ยากที่จะแก้มากกว่าการขาดดุลทางเศรษฐกิจของสหรัฐ อันเกิดจากการใช้จ่ายเกินตัวของชาวอเมริกันและความบกพร่องในการควบคุมภาคการ เงิน ซึ่งก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์เสียอีก ในปัจจุบันนักธุรกิจอเมริกันแยกความดีกับความชั่วแทบไม่ออก จึงตกแต่งบัญชีและมีพฤติกรรมจำพวกฉ้อโกงอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ผู้บริหารญี่ปุ่นอาจคว้านท้องตัวเอง และผู้บริหารอังกฤษลาออกเมื่อบริษัทล้มละลาย ผู้บริหารอเมริกันกลับแย่งเงินโบนัสกัน
นอกจากนั้น ดร. สติกลิตซ์ ยังสรุปอีกว่า แนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคมของสหรัฐได้เดินเข้าสู่ทางตันแล้ว ทั้งนี้ เพราะมันผลักดันให้คนมองเฉพาะประโยชน์ส่วนตัวและบริโภคแบบตกขอบซึ่งนำไปสู่ ความล่มสลายของความไว้เนื้อเชื่อใจกันและความเป็นชุมชน เมื่อปราศจากฐานสำคัญทางสังคมทั้งสองนี้ การทำงานร่วมกันย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาสารพัดอย่าง รวมทั้งความล้มเหลวของภาคการเงิน ยิ่งกว่านั้น มันยังนำไปสู่การสูญเปล่าของทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ซึ่งได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย ทั้งนี้ เพราะในระยะหลังๆ นี้ นักศึกษาที่เก่งที่สุดมักมุ่งเข้าเรียนทางด้านการเงิน เพื่อหวังจะสร้างความร่ำรวยอย่างรวดเร็ว แทนที่จะเรียนทางวิทยาศาสตร์ แพทย์ หรือครูดังที่รุ่นปู่ย่าและพ่อแม่เคยทำ นักศึกษามุ่งทำเช่นนั้น เพราะระบบเศรษฐกิจอเมริกันให้รางวัลแก่ผู้ทำงานในภาคการเงินสูงจนเกินขอบเขต
เนื่องจากปัญหามีที่มาจากปัจจัยพื้นฐาน ฉะนั้น ผู้เขียนมองว่าการแก้ไขจะต้องยกเครื่องระบบสังคมและเศรษฐกิจแนวอเมริกันทั้ง หมด ไม่ใช่ทำเพียงรื้อนั่นนิด แก้นี่หน่อย ดังที่รัฐบาลอเมริกันพยายามทำอยู่ในขณะนี้ เขาไม่ได้เสนอรายละเอียดของการยกเครื่องใหม่ ซึ่งคงจะเป็นเนื้อหาของหนังสือเล่มต่อไปของเขา นอกจากพูดคร่าวๆ ถึงการลดการบริโภคและการสร้างความสมดุลของสิ่งต่างๆ รวมทั้งระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ระหว่างบุคคลกับชุมชน ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและระหว่างวิธีการและจุดมุ่งหมาย
หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมนึกถึงวิกฤติเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 ตอนนั้นมีการวิจารณ์กันไปต่างๆ นานาถึงที่มาของวิกฤติ คงเพราะคำวิจารณ์ของผมออกไปนอกกรอบเศรษฐศาสตร์ จึงไม่มีสื่อแห่งไหนนำไปเสนอจนกระทั่งหลังผมไปบรรยายในสถาบันผู้บริหารชั้น สูงของกระทรวงศึกษาธิการที่วัดไร่ขิง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2542 วันนั้นรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการไปนั่งฟังอยู่ด้วย หลังเสร็จการบรรยาย ท่านให้สัมภาษณ์สื่อและอ้างถึงเนื้อหาส่วนหนึ่งของการบรรยาย ซึ่งได้แก่ ผมมองว่าวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้นเป็นอาการของโรคร้าย ไม่ใช่เป็นตัวโรคเอง โรคร้าย ได้แก่ วิกฤติทางศีลธรรมจรรยาของสังคมไทย สื่อส่วนใหญ่คงไม่เห็นด้วย จึงมีหนังสือพิมพ์เพียงฉบับเดียวที่เอ่ยถึงเรื่องวิกฤติทางศีลธรรมจรรยา และหลังจากนั้นมา ก็ไม่มีใครพูดถึงอีก แม้วิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้นจะยุติลง แต่ผมมองว่าวิกฤติทางศีลธรรมจรรยาหายุติไม่ ตรงข้ามมันกลับทวีความเลวร้าย และแสดงอาการออกมาในรูปของวิกฤติการเมืองติดต่อกันมาเป็นเวลานานหลายปี ตัวอย่างของอาการอันแสนเลวร้ายชั้นดีเยี่ยม ได้แก่ ผู้ชุมนุมทางการเมืองบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ดร.สติกลิตซ์จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับเศรษฐกิจแนวใหม่หรือไม่และเนื้อหาจะ เป็นอย่างไร คงต้องรอกันไปอีกสักระยะหนึ่ง เท่าที่เขากล่าวถึงในเรื่อง Freefall โดยเฉพาะเกี่ยวกับความจำเป็นในการลดการบริโภคและการสร้างความสมดุลต่างๆ ผมค่อนข้างแน่ใจว่า ข้อเสนอของเขาจะอยู่ในกรอบของเศรษฐกิจพอเพียง แม้เขาจะไม่ใช้คำนี้ก็ตาม น่าเสียดายที่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจแนวคิดใหม่นี้ จึงยังไม่นำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต และป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
ดร.ไสว บุญมา
http://sawaiboonma.com/joseph-stiglitz-books
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รูป Free Fall รากเหง้า - ทางออกแห่งวิกฤติการณ์การเงินโลก
โพสต์ที่ 3
เคยอ่าน Paper หลายๆ ฉบับของสติกลิตซ์ และหนังสือ Globalization and Its Discontents ของเค้า ดีและประทับใจมาถึงทุกวันนี้ เล่มนี้รับรองไม่พลาดแน่นอนครับ
ขอบคุณนะครับที่แนะนำมา
ขอบคุณนะครับที่แนะนำมา
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?