ขายออกเเล้วต้นทุนลด...งง
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
ขายออกเเล้วต้นทุนลด...งง
โพสต์ที่ 1
เมื่อวานขายหุ้นออกไปครึงหนึ่งของที่ถือไว้แล้วเช้ามาอีกวันปรากฏว่าราคาต้นทุนต่อหุ้นมันลดลงโดยที่ตัวนี้ตอนซื้อๆเพิ่มเก็บเข้ามาสามรอบโดยแต่ละครั้งถูกกว่าแพงกว่าเดิมบ้างอยากทราบวิธีคิดว่าคิดคำนวนยังไงครับราคาต้นทุนจึงลดลงได้
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขายออกเเล้วต้นทุนลด...งง
โพสต์ที่ 2
เขาคิดเป็น FIFO คือ เวลาขายมันก็เอาหุ้นล๊อตแรกที่เราซื้อมาไปขายออกก่อน ถ้าตอนซื้อครั้งแรกต้นทุนสูงกว่า พอขายปุ๊บ ต้นทุนในพอร์ตก็จะลดลง เพราะขายหุ้นที่แพงกว่าออกไปครับ
"I believe what I said yesterday. I don't know what I said, but I know what I think... and I assume it's what I said." -- Donald Rumsfeld
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 962
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขายออกเเล้วต้นทุนลด...งง
โพสต์ที่ 6
ตอนซื้อ หากซื้อที่หลายๆราคา เราจะเห็นราคาเฉลี่ยทั้งหมด
แต่พอทะยอยขาย เราจะเห็นราคาที่เฉลี่ยเหมือนกัน แต่เฉลี่ยแบบ FIFO เรื่อยๆครับ
เช่น
วันแรกซื้อ หุ้น A ที่ 10 บาท จำนวน 1000 หุ้น
วันที่สองซื้อ หุ้น A ที่ 12 บาท จำนวน 1000 หุ้น
สรุปราคาต้นทุนจะเฉลี่ยเป็น 11 บาท และมีจำนวน 2000 หุ้นครับ
แต่พอขายไป 500 หุ้นจะพบว่า
ราคาต้นทุนจะเปลี่ยนไปเป็น 11.33 บาท
ทั้งนี้เพราะระบบจะคิดว่า หุ้นต้นทุน 10 บาทที่ซื้อมาก่อนนั้น หายไปแล้ว 500 หุ้น
เลยคิดเฉลี่ยจากหุ้นที่เหลือ คือ ต้นทุน 10 บาท 500 หุ้น และ ต้นทุน 12 บาท 1000 หุ้นครับ
แต่พอทะยอยขาย เราจะเห็นราคาที่เฉลี่ยเหมือนกัน แต่เฉลี่ยแบบ FIFO เรื่อยๆครับ
เช่น
วันแรกซื้อ หุ้น A ที่ 10 บาท จำนวน 1000 หุ้น
วันที่สองซื้อ หุ้น A ที่ 12 บาท จำนวน 1000 หุ้น
สรุปราคาต้นทุนจะเฉลี่ยเป็น 11 บาท และมีจำนวน 2000 หุ้นครับ
แต่พอขายไป 500 หุ้นจะพบว่า
ราคาต้นทุนจะเปลี่ยนไปเป็น 11.33 บาท
ทั้งนี้เพราะระบบจะคิดว่า หุ้นต้นทุน 10 บาทที่ซื้อมาก่อนนั้น หายไปแล้ว 500 หุ้น
เลยคิดเฉลี่ยจากหุ้นที่เหลือ คือ ต้นทุน 10 บาท 500 หุ้น และ ต้นทุน 12 บาท 1000 หุ้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 8
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขายออกเเล้วต้นทุนลด...งง
โพสต์ที่ 7
ได้คำตอบเเล้วครับ Ktzmico Securities Company Limited
ตัวอย่างแสดงต้นทุน วันที่ 3/07/2011 ก่อนรายการซื้อขาย
วันที่ >> หลักทรัพย์ >> จำนวนหุ้น >> ราคาซื้อ >> รวมต้นทุน
01/07/2011 >> A buy >> 4,000 >> 29.50 >> 118,000.00 >> 118,325.49
02/07/2011 >> A buy >> 2,000 >> 29.75 >> 59,500.00 >>
59,664.13
ราคาเฉลี่ย >> ต้นทุน
จำนวน >> 6,000 >> 29.66 >> 177,989.62
ตามตัวอย่างด้านล่าง ลูกค้ามีรายการซื้อ และ ขาย หลักทรัพย์ A ในจำนวนที่เท่ากัน ราคาเฉลี่ยที่ ลูกค้าเห็นที่หน้าจอลูกค้า จะเห็นเป็น 28.87 บาท
วันที่ >> หลักทรัพย์ >> จำนวนหุ้น >> ราคา >> รวมต้นทุน
01/07/2011 >> A buy >> 4,000 >> 29.50 >> 118,000.00 >> 118,325.49
02/07/2011 >> A buy >> 2,000 >> 29.75 >> 59,500.00 >> 59,664.13
03/07/2011 >> A sell >> 3,000 >> 31.00 >> 93,000.00
03/07/2011 >> A buy >> 3,000 >> 28.00 >> 84,000.00 >>
84,231.71
ราคาเฉลี่ย >> ต้นทุน
จำนวน >> 6,000 >> 29.13 >> 262,221.33
ต้นทุน คำนวณ โดยนำต้นทุนเดิม บวกกับ ต้นทุนที่ซื้อใหม่ หารด้วยจำนวนหุ้นรวม คือ ((6,000 x 29.66)+84,231.71) / 9,000) = 29.13
เมื่อสิ้นสุดวัน IT ทำการ Process ข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ยอดหุ้นคงเหลือ และ ราคาเฉลี่ยที่ส่งขึ้นหน้าจอของลูกค้า ในวันที่ 4/07/2011 ดังนี้
วันที่ >> หลักทรัพย์ >> จำนวนหุ้น >> ราคา >> รวมต้นทุน
01/07/2011 >> A buy >> 1,000 >> 29.50 >> 29,500.00 >> 29,581.37
02/07/2011 >> A buy >> 2,000 >> 29.75 >> 59,500.00 >>
59,664.13
03/07/2011 >> A buy >> 3,000 >> 28.00 >> 84,000.00 >>
84,231.71
ราคาเฉลี่ย >> ต้นทุน
สิ้นวัน >> 6,000 >> 28.91 >> 173,477.22
จะเห็นว่าต้นทุนเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจาก back office ใช้วิธีการตัดยอดแบบ FIFO (เข้าก่อน ออกก่อน) และจะคำนวณต้นทุนใหม่ทุกครั้ง แต่ที่ Front จะคำนวณแบบถัวเฉลี่ย จากตัวอย่างลูกค้าได้ราคาเฉลี่ยต่ำจากการที่ซื้อหุ้นได้ที่ต้นทุนต่ำ แต่ถ้าลูกค้าซื้อหุ้นได้ที่ราคาสูง ราคาเฉลี่ยที่ได้ อาจจะเท่ากับ หรือ มากกว่าค่าเฉลี่ยที่ Front คำนวณได้ค่ะ
ตัวอย่างแสดงต้นทุน วันที่ 3/07/2011 ก่อนรายการซื้อขาย
วันที่ >> หลักทรัพย์ >> จำนวนหุ้น >> ราคาซื้อ >> รวมต้นทุน
01/07/2011 >> A buy >> 4,000 >> 29.50 >> 118,000.00 >> 118,325.49
02/07/2011 >> A buy >> 2,000 >> 29.75 >> 59,500.00 >>
59,664.13
ราคาเฉลี่ย >> ต้นทุน
จำนวน >> 6,000 >> 29.66 >> 177,989.62
ตามตัวอย่างด้านล่าง ลูกค้ามีรายการซื้อ และ ขาย หลักทรัพย์ A ในจำนวนที่เท่ากัน ราคาเฉลี่ยที่ ลูกค้าเห็นที่หน้าจอลูกค้า จะเห็นเป็น 28.87 บาท
วันที่ >> หลักทรัพย์ >> จำนวนหุ้น >> ราคา >> รวมต้นทุน
01/07/2011 >> A buy >> 4,000 >> 29.50 >> 118,000.00 >> 118,325.49
02/07/2011 >> A buy >> 2,000 >> 29.75 >> 59,500.00 >> 59,664.13
03/07/2011 >> A sell >> 3,000 >> 31.00 >> 93,000.00
03/07/2011 >> A buy >> 3,000 >> 28.00 >> 84,000.00 >>
84,231.71
ราคาเฉลี่ย >> ต้นทุน
จำนวน >> 6,000 >> 29.13 >> 262,221.33
ต้นทุน คำนวณ โดยนำต้นทุนเดิม บวกกับ ต้นทุนที่ซื้อใหม่ หารด้วยจำนวนหุ้นรวม คือ ((6,000 x 29.66)+84,231.71) / 9,000) = 29.13
เมื่อสิ้นสุดวัน IT ทำการ Process ข้อมูลเสร็จเรียบร้อย ยอดหุ้นคงเหลือ และ ราคาเฉลี่ยที่ส่งขึ้นหน้าจอของลูกค้า ในวันที่ 4/07/2011 ดังนี้
วันที่ >> หลักทรัพย์ >> จำนวนหุ้น >> ราคา >> รวมต้นทุน
01/07/2011 >> A buy >> 1,000 >> 29.50 >> 29,500.00 >> 29,581.37
02/07/2011 >> A buy >> 2,000 >> 29.75 >> 59,500.00 >>
59,664.13
03/07/2011 >> A buy >> 3,000 >> 28.00 >> 84,000.00 >>
84,231.71
ราคาเฉลี่ย >> ต้นทุน
สิ้นวัน >> 6,000 >> 28.91 >> 173,477.22
จะเห็นว่าต้นทุนเฉลี่ยต่างกัน เนื่องจาก back office ใช้วิธีการตัดยอดแบบ FIFO (เข้าก่อน ออกก่อน) และจะคำนวณต้นทุนใหม่ทุกครั้ง แต่ที่ Front จะคำนวณแบบถัวเฉลี่ย จากตัวอย่างลูกค้าได้ราคาเฉลี่ยต่ำจากการที่ซื้อหุ้นได้ที่ต้นทุนต่ำ แต่ถ้าลูกค้าซื้อหุ้นได้ที่ราคาสูง ราคาเฉลี่ยที่ได้ อาจจะเท่ากับ หรือ มากกว่าค่าเฉลี่ยที่ Front คำนวณได้ค่ะ