โซรอสกับทฤษฏีสะท้อนกลับไปมา
-
- Verified User
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
โซรอสกับทฤษฏีสะท้อนกลับไปมา
โพสต์ที่ 1
จอร์จ โซรอส มีแนวคิดว่าตลาดหุ้นทำงานอย่างไรที่ค่อนข้างแตกต่างจากคนอื่น เขาเรียกโมเดลของเขาว่า Reflexivity…
โซรอสมองว่าในตลาดหุ้นจะมีความลำเอียงหลักของตลาดอยู่เสมอ นักลงทุนแต่ละคนต่างมีความลำเอียงเป็นของตัวเองซึ่งแรงซื้อแรงขายจะทำให้ความลำเอียงเหล่านั้นหักล้างกันไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะหักล้างกันยังไงก็จะยังเหลือความลำเอียงส่วนหนึ่ง ที่หักล้างไม่หมดและกลายเป็นความลำเอียงหลักที่ครอบงำทั้งตลาดในขณะนั้นๆ อยู่ ความลำเอียงหลักทำให้ตลาดไม่เคยอยู่ที่จุดสมดุล มีแต่มากไปกับน้อยไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มที่แท้จริงของมันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบวกด้วยความลำเอียงหลักที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลง มากหรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามปัจจัยพื้นฐาน
แต่แค่นั้นยังไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นจะย้อนกลับมามีอิทธิพลกับแนวโน้มที่แท้จริงและความลำเอียงหลักอีกที ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่แท้จริงกับ ความลำเอียงหลักที่มีต่อราคาหุ้น ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบทางเดียว แต่เป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งราคาหุ้นขึ้น ความลำเอียงของตลาดว่าหุ้นขึ้นจะยิ่งมากขึ้น และทำให้ราคาหุ้นยิ่งขึ้นต่อไปอีก การที่มุมมองของนักลงทุนส่งผลต่อราคาหุ้นแล้วทำให้ราคาหุ้นกลับมาส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนอีกทีนี้เองที่โซรอสเรียกว่า Reflexivity ในตลาดหุ้น ปฏิสัมพันธ์แบบสองทางนี้ทำให้การทำนายราคาหุ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก
ถ้าเรามีสมมติฐานเกี่ยวกับกลไกในตลาดหุ้นว่าเป็นแบบนี้ เมื่อใดที่มุมมองของนักลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นมีลักษณะส่งเสริมกันเอง เมื่อนั้นราคาหุ้นจะวิ่งออกจากปัจจัยพื้นฐานออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดฟองสบู่ และจะเป็นเช่นนั้นอยู่จนกว่าพวกมันจะขัดขากันเองซึ่งจะทำให้เกิด market correction ขึ้น ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom และ burst อยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามวิ่งเข้าสู่จุดสมดุลเองตลอดเวลาเหมือนอย่างที่ทฤษฏีทางการเงินบอกไว้ และกลยุทธ์ของโซรอสก็คือการพยายามทำกำไรจาก boom และ burst เหล่านี้
โซรอสบอกว่าพวก neoclassical คิดถูกที่เชื่อว่าตลาดเสรีดีที่สุด แต่ผิดตรงที่เชื่อว่าตลาดเสรีมีเสถียรภาพ ส่วนพวก keynesians นั้นผิดตรงที่เชื่อว่า การแทรกแซงโดยรัฐฯ จะช่วยสร้างเสถียรภาพได้ โซรอสเชื่อว่านั่นจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ตลาด unstable อยู่แล้วโดยธรรมชาติและไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนมันได้
แนวคิดที่สำคัญมากของ Reflexivity คือ ราคาหุ้นส่งอิทธิพลต่อปัจจัยพื้นฐานได้ด้วย ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเดียว เช่น บริษัทที่ใช้ M&A เป็นกลยุทธ์ในการเติบโต ถ้าราคาหุ้นของบริษัทสูงลิ่ว บริษัทย่อมสามารถระดมทุนได้ในราคาต่ำ ทำให้มีเงินต้นทุนต่ำมาซื้อกิจการ ซึ่งจะยิ่งทำให้กำไรเติบโตได้ง่ายขึ้น หรือในช่วงเวลาที่ตลาดอสังหาตกต่ำ ถ้าอยู่ดีๆ ตลาดหุ้นขึ้นแรงเนื่องจากตลาดเก็งล่วงหน้าว่าอสังหากำลังจะฟื้นทั้งที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ เลยที่ทำให้เชื่อได้ว่าอสังหากำลังจะฟื้น แต่ถ้าตลาดหุ้นยังขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ความมั่งคั่งของคนในตลาดย่อมเพิ่มขึ้น ที่สุดแล้วก็จะทำให้มีคนมีสภาพคล่องมาช้อนซื้ออสังหาราคาถูก ทำให้ตลาดอสังหาฟื้นได้จริง เป็นต้น
โซรอสเป็นนักเก็งกำไร ประเภท Global Macro เขาเชื่อว่า การเข้าใจปัจจัยพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ว่ายังไม่เพียงพอ การมองตลาดแบบ Reflexivity คือสิ่งที่มาช่วยเติมเต็มการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่ เพราะนักลงทุนไม่มีวันเข้าใจปัจจัยพื้นฐานได้ครบถ้วน จึงจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตจากตลาดในส่วนที่เรายังไม่รู้ด้วย แต่เดิมโซรอสอาศัยปัจจัยพื้นฐานและ Reflexivity ในการทำกำไรจากหุ้นเป็นรายตัว แต่ต่อมาเขาก็เริ่มหันมาหากำไรจากการมองทั้งตลาดแทน เพราะเขามองว่าตัวเขาเองมีความสามารถจำกัดในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมให้ได้แบบลึกซึ้งอยู่ ในขณะที่เขาสามารถทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและการเงินได้ดีมากกว่า และนั่นก็ได้ทำให้เขาค้นพบแนวทางที่เขามีพรสวรรค์อย่างยิ่งในที่สุด
ปล.เครดิต เว็บเพื่อนบ้านนะครับ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาแชร์กันอ่านครับ
โซรอสมองว่าในตลาดหุ้นจะมีความลำเอียงหลักของตลาดอยู่เสมอ นักลงทุนแต่ละคนต่างมีความลำเอียงเป็นของตัวเองซึ่งแรงซื้อแรงขายจะทำให้ความลำเอียงเหล่านั้นหักล้างกันไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะหักล้างกันยังไงก็จะยังเหลือความลำเอียงส่วนหนึ่ง ที่หักล้างไม่หมดและกลายเป็นความลำเอียงหลักที่ครอบงำทั้งตลาดในขณะนั้นๆ อยู่ ความลำเอียงหลักทำให้ตลาดไม่เคยอยู่ที่จุดสมดุล มีแต่มากไปกับน้อยไป ราคาหุ้นจะเคลื่อนตัวไปตามแนวโน้มที่แท้จริงของมันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานบวกด้วยความลำเอียงหลักที่ทำให้ราคาหุ้นขึ้นหรือลง มากหรือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามปัจจัยพื้นฐาน
แต่แค่นั้นยังไม่พอ การเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่เกิดขึ้นจะย้อนกลับมามีอิทธิพลกับแนวโน้มที่แท้จริงและความลำเอียงหลักอีกที ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มที่แท้จริงกับ ความลำเอียงหลักที่มีต่อราคาหุ้น ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบทางเดียว แต่เป็นความสัมพันธ์แบบสองทิศทาง พูดง่ายๆ ก็คือ ยิ่งราคาหุ้นขึ้น ความลำเอียงของตลาดว่าหุ้นขึ้นจะยิ่งมากขึ้น และทำให้ราคาหุ้นยิ่งขึ้นต่อไปอีก การที่มุมมองของนักลงทุนส่งผลต่อราคาหุ้นแล้วทำให้ราคาหุ้นกลับมาส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนอีกทีนี้เองที่โซรอสเรียกว่า Reflexivity ในตลาดหุ้น ปฏิสัมพันธ์แบบสองทางนี้ทำให้การทำนายราคาหุ้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก
ถ้าเรามีสมมติฐานเกี่ยวกับกลไกในตลาดหุ้นว่าเป็นแบบนี้ เมื่อใดที่มุมมองของนักลงทุนกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นมีลักษณะส่งเสริมกันเอง เมื่อนั้นราคาหุ้นจะวิ่งออกจากปัจจัยพื้นฐานออกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดฟองสบู่ และจะเป็นเช่นนั้นอยู่จนกว่าพวกมันจะขัดขากันเองซึ่งจะทำให้เกิด market correction ขึ้น ตลาดหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะมี boom และ burst อยู่ร่ำไป แทนที่จะพยายามวิ่งเข้าสู่จุดสมดุลเองตลอดเวลาเหมือนอย่างที่ทฤษฏีทางการเงินบอกไว้ และกลยุทธ์ของโซรอสก็คือการพยายามทำกำไรจาก boom และ burst เหล่านี้
โซรอสบอกว่าพวก neoclassical คิดถูกที่เชื่อว่าตลาดเสรีดีที่สุด แต่ผิดตรงที่เชื่อว่าตลาดเสรีมีเสถียรภาพ ส่วนพวก keynesians นั้นผิดตรงที่เชื่อว่า การแทรกแซงโดยรัฐฯ จะช่วยสร้างเสถียรภาพได้ โซรอสเชื่อว่านั่นจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ตลาด unstable อยู่แล้วโดยธรรมชาติและไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนมันได้
แนวคิดที่สำคัญมากของ Reflexivity คือ ราคาหุ้นส่งอิทธิพลต่อปัจจัยพื้นฐานได้ด้วย ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเดียว เช่น บริษัทที่ใช้ M&A เป็นกลยุทธ์ในการเติบโต ถ้าราคาหุ้นของบริษัทสูงลิ่ว บริษัทย่อมสามารถระดมทุนได้ในราคาต่ำ ทำให้มีเงินต้นทุนต่ำมาซื้อกิจการ ซึ่งจะยิ่งทำให้กำไรเติบโตได้ง่ายขึ้น หรือในช่วงเวลาที่ตลาดอสังหาตกต่ำ ถ้าอยู่ดีๆ ตลาดหุ้นขึ้นแรงเนื่องจากตลาดเก็งล่วงหน้าว่าอสังหากำลังจะฟื้นทั้งที่ยังไม่มีสัญญาณใดๆ เลยที่ทำให้เชื่อได้ว่าอสังหากำลังจะฟื้น แต่ถ้าตลาดหุ้นยังขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ความมั่งคั่งของคนในตลาดย่อมเพิ่มขึ้น ที่สุดแล้วก็จะทำให้มีคนมีสภาพคล่องมาช้อนซื้ออสังหาราคาถูก ทำให้ตลาดอสังหาฟื้นได้จริง เป็นต้น
โซรอสเป็นนักเก็งกำไร ประเภท Global Macro เขาเชื่อว่า การเข้าใจปัจจัยพื้นฐานนั้นเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แต่ว่ายังไม่เพียงพอ การมองตลาดแบบ Reflexivity คือสิ่งที่มาช่วยเติมเต็มการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่ เพราะนักลงทุนไม่มีวันเข้าใจปัจจัยพื้นฐานได้ครบถ้วน จึงจำเป็นต้องอาศัยการสังเกตจากตลาดในส่วนที่เรายังไม่รู้ด้วย แต่เดิมโซรอสอาศัยปัจจัยพื้นฐานและ Reflexivity ในการทำกำไรจากหุ้นเป็นรายตัว แต่ต่อมาเขาก็เริ่มหันมาหากำไรจากการมองทั้งตลาดแทน เพราะเขามองว่าตัวเขาเองมีความสามารถจำกัดในการทำความเข้าใจอุตสาหกรรมหลายอุตสาหกรรมให้ได้แบบลึกซึ้งอยู่ ในขณะที่เขาสามารถทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและการเงินได้ดีมากกว่า และนั่นก็ได้ทำให้เขาค้นพบแนวทางที่เขามีพรสวรรค์อย่างยิ่งในที่สุด
ปล.เครดิต เว็บเพื่อนบ้านนะครับ เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาแชร์กันอ่านครับ
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: โซรอสกับทฤษฏีสะท้อนกลับไปมา
โพสต์ที่ 2
ถ้าเชื่อโซรอสก็ต้องศึกษาด้าน Behavioral Finance เพิ่มเติมเพราะ Fundamental จะไม่ตอบโจทย์เรื่องแรงสะท้อนนี้ หรือพูดให้ตรงกว่านั้นคือ ต้องยอมรับการอ่านกราฟว่ามีประโยชน์
อย่างไรก็ดี แนวทางของโซรอสก็ไม่ได้เป็นแนวทางเดียวในตลาด ถ้าเลือกแนวของบัฟเฟตต์ก็ไม่ต้องวอกแวกจากแนว VI ก็ได้
อย่างไรก็ดี แนวทางของโซรอสก็ไม่ได้เป็นแนวทางเดียวในตลาด ถ้าเลือกแนวของบัฟเฟตต์ก็ไม่ต้องวอกแวกจากแนว VI ก็ได้
- vi_tal signs
- Verified User
- โพสต์: 631
- ผู้ติดตาม: 0
Re: โซรอสกับทฤษฏีสะท้อนกลับไปมา
โพสต์ที่ 3
ผมว่าพื้นฐาน บริษัทก็คือ ความจริง แต่ราคาหุ้นเป็นความเห็นของนักลงทุนนะครับ
การที่ใช้ reflexivity มาอธิบายก็ค่อนข้างจะอธิบายมิติอื่นของตลาดหุ้นได้ อย่างเช่น
บอกว่า ถ้าหุ้นขึ้นแล้วข่าวดีออกมา คนที่มาซื้อต่อก็คิดว่ามันดี ( แล้วก็ละเลยข้อเสียของหุ้นเหล่านั้น จัดว่า เป็น Boom ) แต่ถ้าพอข่าวร้ายมากระทบก็คือมีการขัดกัน เป็นจุดเริ่มของ negative-loop ก็จะทำให้ทุกคนมองแต่แง่ร้ายนั่นเอง
บางที ราคาก็ชี้นำพื้นฐาน บางทีพื้นฐานก็ชี้นำราคา เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับไปกลับมา
ถ้าอย่างในเชิงของ vi เป็นพื้นฐานของบริษัท ถ้าผลประกอบการดี ราคาหุ้นก็ขึ้น ( ไม้แรกซื้อเพราะ "เชื่อ" ว่าดี ) เมื่อหุ้นขึ้นถึงระดับนึง สายกราฟก็เข้ามาซื้อต่อ ( สายกราฟก็"เชื่อกราฟ" และถ้ากราฟดี ก็ทำให้สายกราฟ คนต่อไปมาซื้อ เช่นเดียวกับ vi คนต่อไปไม้ 2-3 ) ทีนี้ก็จะวนเป็น loop ด้านบวกขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันแตก แล้วราคาก็ถล่มลงมา
การมอง reflexivity อธิบายจุดที่เป็นมิติอื่นของการลงทุน แต่ยังไงก็ต้องอิงกับหุ้นพื้นฐานดีครับ เพราะจะเป็นต่อ " ก่อให้เกิด " ความเชื่อที่ดีต่อไป )
( เขียนเอง งง เอง 55 )
การที่ใช้ reflexivity มาอธิบายก็ค่อนข้างจะอธิบายมิติอื่นของตลาดหุ้นได้ อย่างเช่น
บอกว่า ถ้าหุ้นขึ้นแล้วข่าวดีออกมา คนที่มาซื้อต่อก็คิดว่ามันดี ( แล้วก็ละเลยข้อเสียของหุ้นเหล่านั้น จัดว่า เป็น Boom ) แต่ถ้าพอข่าวร้ายมากระทบก็คือมีการขัดกัน เป็นจุดเริ่มของ negative-loop ก็จะทำให้ทุกคนมองแต่แง่ร้ายนั่นเอง
บางที ราคาก็ชี้นำพื้นฐาน บางทีพื้นฐานก็ชี้นำราคา เป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับไปกลับมา
ถ้าอย่างในเชิงของ vi เป็นพื้นฐานของบริษัท ถ้าผลประกอบการดี ราคาหุ้นก็ขึ้น ( ไม้แรกซื้อเพราะ "เชื่อ" ว่าดี ) เมื่อหุ้นขึ้นถึงระดับนึง สายกราฟก็เข้ามาซื้อต่อ ( สายกราฟก็"เชื่อกราฟ" และถ้ากราฟดี ก็ทำให้สายกราฟ คนต่อไปมาซื้อ เช่นเดียวกับ vi คนต่อไปไม้ 2-3 ) ทีนี้ก็จะวนเป็น loop ด้านบวกขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันแตก แล้วราคาก็ถล่มลงมา
การมอง reflexivity อธิบายจุดที่เป็นมิติอื่นของการลงทุน แต่ยังไงก็ต้องอิงกับหุ้นพื้นฐานดีครับ เพราะจะเป็นต่อ " ก่อให้เกิด " ความเชื่อที่ดีต่อไป )
( เขียนเอง งง เอง 55 )
มันจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
- ซุนเซ็ก
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
Re: โซรอสกับทฤษฏีสะท้อนกลับไปมา
โพสต์ที่ 4
ส่วนตัวผมมองว่า reflexivity นี่แหล่ะ มาเติมเต็มส่วนที่ vi ขาดไป
พื้นฐานของบริษัทคือ ปรวิสัย(objectivity) คือความจริงที่เที่ยงแท้, คือ absolute
ที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้สังเกตจะมีความเห็นอย่างไร (สมมุติว่าเราทราบพื้นฐานที่ถูกต้อง)
แต่การ valuation ไม่ว่าจะเป็นโมเดลไหน pe, dcf, ddm มันไม่ใช่ objectivity แล้ว
ทุกวิธีการล้วนใช้ "ความเห็น" ของผู้สังเกต ดังนั้นการ valuation เป็น อัตวิสัย(subjectivity)
และการ"ยึดติดในความเห็น"ของตนเองนี้เอง ที่เป็นจุดอ่อนทำให้เราหลงเข้าไปใน feedback loop
เมื่อราคาหุ้นเปลี่ยน > ทำให้มุมมองเปลี่ยน > มุมมองนั้นก็มาเปลี่ยนพื้นฐาน > ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยน
เป็น loop แบบนี้ทั้งเชิงบวกและลบ โซรอสเรียกว่า self-reinforcing / self-defeating
และนี่เองที่ reflexivity จะเข้ามามีประโยชน์
Reflexvity เอามาใช้แทน vi ไม่ได้ครับ เพราะ reflex ก็ยังจำเป็นต้องหามูลค่าก่อน
ถึงจะนำมาใช้กับ reflexivity stages ได้,
Reflexivity จึงไม่ใช่ศัตรูของ vi แต่เป็นส่วนเติมเต็ม
พื้นฐานของบริษัทคือ ปรวิสัย(objectivity) คือความจริงที่เที่ยงแท้, คือ absolute
ที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้สังเกตจะมีความเห็นอย่างไร (สมมุติว่าเราทราบพื้นฐานที่ถูกต้อง)
แต่การ valuation ไม่ว่าจะเป็นโมเดลไหน pe, dcf, ddm มันไม่ใช่ objectivity แล้ว
ทุกวิธีการล้วนใช้ "ความเห็น" ของผู้สังเกต ดังนั้นการ valuation เป็น อัตวิสัย(subjectivity)
และการ"ยึดติดในความเห็น"ของตนเองนี้เอง ที่เป็นจุดอ่อนทำให้เราหลงเข้าไปใน feedback loop
เมื่อราคาหุ้นเปลี่ยน > ทำให้มุมมองเปลี่ยน > มุมมองนั้นก็มาเปลี่ยนพื้นฐาน > ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยน
เป็น loop แบบนี้ทั้งเชิงบวกและลบ โซรอสเรียกว่า self-reinforcing / self-defeating
และนี่เองที่ reflexivity จะเข้ามามีประโยชน์
Reflexvity เอามาใช้แทน vi ไม่ได้ครับ เพราะ reflex ก็ยังจำเป็นต้องหามูลค่าก่อน
ถึงจะนำมาใช้กับ reflexivity stages ได้,
Reflexivity จึงไม่ใช่ศัตรูของ vi แต่เป็นส่วนเติมเต็ม
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk