ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรงสุด

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
icehihi
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรงสุด

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรงสุดในรอบ 50 ปี


วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2554 เวลา 16:51:21 น.
ผู้เข้าชม : 222 คน


บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) คาดการณ์ว่าสถาบันการเงินของไทยจะได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปีของประเทศ แม้ว่าฟิทช์จะยังไม่จัดอันดับความน่าเชื่อถือที่เป็นลบในขณะนี้ เนื่องจากบริษัทพิจารณาว่าความสูญเสียโดยรวมในปัจจุบันยังอยู่แค่ในระดับปานกลาง

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด 10 จังหวัดในภาคกลางของไทย อยู่ที่ 2.97 แสนล้านบาท หรือประมาณ 3.7% ของเงินกู้ในระบบ ณ สิ้นเดือนส.ค. 2554 ซึ่งหากนับรวมถึงจังหวัดโดยรอบอีก 20 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่า การปล่อยสินเชื่ออาจจะสูงขึ้นแตะ 1 ล้านล้านบาท หรือ 13.4% ของเงินกู้ในระบบ

<< Back
http://www.kaohoon.com/online/22736/ฟิท ... 50-ปี-.htm
icehihi
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ฟิทช์จับตาฐานะลูกค้าหุ้นกู้
วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2011 เวลา 10:17 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ การเงิน Financial - การเงิน Financial
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
ฟิทช์เรทติ้ง จับตาลูกค้าถี่ยิบ หวั่นฐานะการเงินเปลี่ยน แผนระดมทุนสะดุด หลังโดนปัจจัยลบใน-นอกกระหน่ำ เตรียมเข้าพบผู้บริหารประจำไตรมาส รับกลุ่มพลังงานเสี่ยงจากปัญหาหนี้กรีซ

ส่วนอสังหาริมทรัพย์ มีโอกาสเกิดสินค้าล้นตลาด ด้านปัญหาน้ำท่วมอยู่ในช่วงประเมินสถานการณ์ ด้านทริสเรทติ้ง ประกาศเครดิตพินิจแนวโน้ม"ลบ"สวนอุตสาหกรรมโรจนะ-ไทคอน
นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จาก 2 ปัจจัยลบทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กระทบต่อภาคธุรกิจ ประกอบด้วยวิกฤติหนี้กรีช ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และวิกฤติน้ำท่วมในประเทศ ทำให้บริษัทจับตาลูกค้าอย่างใกล้ชิด เพราะอาจประสบปัญหาฐานะทางการเงินได้ ส่วนวิกฤติน้ำท่วมยังอยู่ในช่วงประเมินความเสียหายของลูกค้า
ส่วนผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำให้บริษัทต้องติดตามสถานการณ์เป็นพิเศษในกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ คือ กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับตัวลง โดยเฉพาะบริษัทที่มีแผนระดมทุนอาจจะสะดุดได้จากฐานะทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงจนอาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์นั้น บริษัทยังจะต้องจับตาเช่นกันจากกรณีที่อาจเกิดผลกระทบต่อสภาพคล่อง
อย่างไรก็ตามฟิทช์ประเมินว่าเบื้องต้นคงยังไม่น่าจะมีการปรับมุมมอง (Out look) ลูกค้าในกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และอสังหาริมทรัพย์ แต่เตรียมที่จะเข้าพบผู้บริหารของบริษัททั้งในกลุ่มพลังงานและอสังหาริมทรัพย์ต่อกรณีการแก้ไขปัญหาฐานะทางการเงิน ซึ่งบริษัทได้จัดเป็นประจำทุกไตรมาสอยู่แล้ว
สำหรับลูกค้าของฟิทช์ ปัจจุบันมีดังนี้ กลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) (บมจ.)หรือปตท.สผ. บมจ.ไทยออยล์ บมจ.ไออาร์พีซี ส่วนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มี บมจ. เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ฯ และบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นต้น
อนึ่งเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้ประกาศ "เครดิตพินิจ" แนวโน้ม "Negative" หรือ "ลบ" ให้แก่อันดับเครดิตองค์กรของ บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ และอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันของบมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น สืบเนื่องจากเหตุอุทกภัยในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2554 และในอีกหลายแห่งทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าของบมจ.ไทคอน
ทั้งนี้ผลกระทบจากน้ำที่ท่วมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จะส่งผลให้ฐานะการเงินของบริษัทดังกล่าวอ่อนแอลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากโรงไฟฟ้าซึ่งสร้างรายได้ 60% ของรายได้รวมอาจต้องหยุดดำเนินงานประมาณ 3-6 เดือน อย่างไรก็ตาม ความเสียหายบางส่วนจะได้รับการชดเชยจากบริษัทประกันภัยซึ่งคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินและการสูญเสียรายได้ในช่วงหยุดดำเนินการ ในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดต่ออันดับเครดิตของบมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอุทกภัย ระยะเวลาที่ลูกค้าในสวนอุตสาหกรรมจะกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติ รวมทั้งมูลค่าการซ่อมแซมโรงไฟฟ้าและสาธารณูปโภคในสวนอุตสาหกรรม
สำหรับบมจ.ไทคอนประกาศว่าโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าทั้งหมดของบริษัทที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะได้ถูกน้ำท่วม ซึ่งประกอบด้วยโรงงานให้เช่า 30 หลังและคลังสินค้าให้เช่า 3 หลัง รวมพื้นที่ 107,324 ตารางเมตร (ตร.ม.) ณ เดือนกันยายน 2554 มีพื้นที่ให้เช่ารวม 514,025 ตร.ม. ตั้งอยู่พื้นที่ 13 แห่งในประเทศไทย พื้นที่ให้เช่าที่ประสบอุทกภัยคิดเป็นสัดส่วน 21% ของพื้นที่เช่ารวมของบริษัทและสร้างรายได้ 22% ของรายได้ค่าเช่ารวมในครึ่งแรกของปี 2554
อย่างไรก็ตาม โรงงานและคลังสินค้าให้เช่าที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอื่น เช่น นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค และนิคมอุตสาหกรรมนวนครยังคงมีความเสี่ยงที่จะประสบอุทกภัยเนื่องจากสถานการณ์น้ำหลากยังไม่สิ้นสุด ขณะที่ความเสียหายจะได้รับการชดเชยบางส่วนจากบริษัทประกันภัยซึ่งคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สิน ในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดต่ออันดับเครดิตของบมจ.ไทคอน จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดอุทกภัยและระยะเวลาที่ลูกค้าโรงงานและคลังสินค้าให้เช่าจะกลับมาดำเนินงานได้เป็นปกติ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,680 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554
icehihi
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Home ข่าวหน้า1 Big Stories สั่งปิดนิคมฯลาดกระบัง! กนอ.หวั่นซ้ำรอยอยุธยา-ปทุมฯ
Air conditioners
สั่งปิดนิคมฯลาดกระบัง! กนอ.หวั่นซ้ำรอยอยุธยา-ปทุมฯ
วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2011 เวลา 09:04 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - Big Stories
User Rating: / 0
แย่ดีที่สุด
"นวนคร"เซ่นกระแสน้ำแล้ว! ทำโรงงาน 277 แห่งช็อตไลน์นาน 2-3 เดือน ศก.จังหวัดปทุมธานีสะเทือนหนักแรงงานกว่า 2 แสนคนลอยคอ ล่าสุดกนอ.ออกหนังสือให้ 231 รง.ในนิคมฯลาดกระบัง หยุดผลิตชั่วคราว ครม.เห็นชอบเพิ่มงบขาดดุลงบปี 2555 อีก 5 หมื่นล้านบาท เตรียมออกพ.ร.ก.กู้เงินฟื้นฟูน้ำท่วมเพิ่มเติม นักเศรษฐศาสตร์ แนะรัฐสรุปแผนบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการภายใน 2-3 เดือน เพื่อเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับ ด้านนิคมฯฝั่งตะวันออก อมตะ, เหมราช เด้งรับทุนหนีน้ำท่วม ประกอบสำนักงานจัดหางาน จ.ชลบุรี อุ้มแรงงานเข้าพื้นที่มากกว่า10,000 คน
สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมยังคงพ่นพิษต่อเนื่อง ขยายวงลามสู่ฐานการผลิตเป็นแห่งที่ 6 แล้วหลังจากที่สวนอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ถูกกระแสน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6,000 ไร่ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม เพียงแต่ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีกจำนวนมากยังรักษาพื้นที่กันน้ำท่วมไม่ให้เข้าถึงโรงงานได้ แต่ระดับน้ำที่สูงขึ้นเรื่อยๆก็อาจทำให้ฐานการผลิตดังกล่าวจมน้ำเหมือนกับ 5 ฐานการผลิตไปก่อนหน้านี้ ขณะที่ศูนย์วิจัยหลายสำนักประเมินผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้(จีดีพี)มีโอกาสปรับลดลง
-ปทุมสาหัสแรงงาน2แสนคนระส่ำ
นายมานะผล ภู่สมบุญ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า สวนอุตสาหกรรมนวนคร เป็นฐานการผลิตแห่งแรกของจังหวัดปทุมธานีที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วมแล้ว หลังจากที่ต้านกระแสน้ำไม่อยู่ และหากโรงงานอุตสาหกรรมถูกน้ำท่วมทั้งหมด ก็คาดว่าความเสียหายจะมากกว่า 100,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการผลิตของผู้ประกอบการขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยปัจจุบันประชากรมีรายได้ 60-70% ที่มาจากกภาคการผลิตในพื้นที่ และส่วนใหญ่จะเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในสวนอุตสาหกรรมนวนครจำนวนมาก เพราะการเติบโตในพื้นที่ดังกล่าวเหมือนเป็นเมืองๆหนึ่ง เป็นสถานประกอบการที่มีการรวมตัวของภาคการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับ 5 ฐานการผลิตที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ได้รับผลกระทบไปก่อนหน้านี้
ดังนั้นผลที่ต่อเนื่องจากที่พื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมในสวนอุตสาหกรรมนวนครได้รับความเสียหายคือโรงงานหยุดการผลิต(ช็อตไลน์)นาน 2-3 เดือน ก็จะทำให้แรงงานมากกว่า 200,000 คนไม่มีงานทำ ในขณะที่ผู้ประกอบการไม่มีรายได้เข้ามา แต่กลับต้องมีค่าใช้จ่ายเข้ามาแทน ยังไม่รวมความเสียหายจากร้านค้า หรือธุรกิจในย่านดังกล่าวที่จะได้รับผลกระทบด้วย นับเป็นความเสียหายด้านเศรษฐกิจของจังหวัดปทุมธานีโดยตรง เพราะในสวนอุตสาหกรรมนวนคร มีทุนข้ามชาติจำนวนมากกระจายอยู่ในพื้นที่ และเป็นบริษัทร่วมทุนไทย-ญี่ปุ่น มีอุตสาหกรรมหลากหลายชนิด ที่ตั้งโรงงานอยู่ เช่น เนสท์เล่ ,เอ็มเค, สยามคูโบต้า ในเครือเอสซีจี เป็นต้น
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ล่าสุด (18 ต.ค.2554) ที่สวนอุตสาหกรรมนวนครซึ่งมีพื้นที่ 6,500 ไร่ 227 โรงงาน น้ำได้ไหลเข้าพื้นที่ไปแล้ว 85% ของพื้นที่ แต่โรงงานประมาณ 65% มีการจัดทำคันกั้นน้ำหน้าโรงงานไว้แล้ว ซึ่งระดับน้ำจะมีความสูงต่ำต่างกันไปตามพื้นที่ ด้านมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ กระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอไปยัง คณะรัฐมนตรีให้สนับสนุนการกู้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ส่วนแผนฟื้นฟูโรงงานเมื่อปริมาณน้ำเริ่มนิ่ง จะเร่งสูบน้ำออกเพื่อลดความเสียหาย
สำหรับการหารือร่วมกับผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ผู้บริหารบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอลฯ (WD) ยืนยันว่ายังไม่ตัดสินใจย้ายฐานการลงทุนการผลิตฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ ออกจากประเทศไทย แต่ต้องการให้รัฐบาลเร่งกู้สถานการณ์น้ำท่วมให้ได้ภายใน 1-2 เดือน เพราะต้องใช้เวลาฟื้นฟูโรงงานกว่า 6 เดือนจึงจะกลับมาผลิตสินค้าได้ตามปกติ ประเมินเบื้องต้นจะทำให้ยอดการส่งออกหายไปกว่า 8 หมื่นล้านบาท จากปกติส่งออกปีละ 2 แสนล้านบาท ขณะที่บริษัท เอคโค่ (ประเทศไทย) จำกัด เสนอขอให้รัฐบาลดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบริษัท เพราะเกรงว่าจะมีการขโมยสินค้าคงค้างในโรงงาน พร้อมทั้งขอให้รัฐบาลให้สิทธิพิเศษทางภาษีในการเช่าเครื่องจักร เนื่องจากเอคโค่จะมีการเช่าเครื่องจักรและโรงงานชั่วคราวในพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯ เพื่อผลิตรองเท้าชั่วคราว
-สั่งนิคมฯลาดกระบังหยุดชั่วคราว
ด้านนายสมคิด แท่นวัฒนกุล รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ล่าสุดได้มีการออกหนังสือขอความร่วมมือให้โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง รวม 231 โรงงานหยุดการผลิตชั่วคราว และให้ทยอยขนอุปกรณ์ออกจากพื้นที่หรือย้ายไว้ในที่สูงแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบรุนแรงเหมือนนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมกันนี้ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือโดยมีเขื่อนอยู่รอบนิคมฯ ความสูง 3.20 เมตร แต่ขึ้นอยู่กับมวลน้ำด้วยว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด
-ครม.เพิ่มงบขาดดุลอีก5หมื่นล.
จากผลกระทบอุทกภัยครั้งนี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ครม.อนุมัติขาดดุลงบประมาณปี 2555 จำนวน 5 หมื่นล้านบาท จากเดิม 3.5 แสนล้านบาท เป็น 4 แสนล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณรายจ่ายโดยรวมเพิ่มจาก 2.33 ล้านล้านบาท เป็น 2.38 ล้านล้านบาท โดยมีรายจ่ายประจำ 1.85 ล้านล้านบาท คิดเป็น 78% ของงบประมาณโดยรวม และรายจ่ายลงทุน 4.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 17.8% ขณะที่รายได้ยังคงไว้ที่ 1.98 ล้านล้านบาท
สำหรับแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ระยะยาว 3-5 ปีนั้นทางคณะกรรมการในชุดที่ 4 โดยมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาฯ เป็นประธาน ทำการรวบรวมว่าเงินลงทุนมีเท่าไร และเสนอให้คลังกู้เงินออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.)
" งบขาดดุล 5 หมื่นล้านบาท ที่เพิ่มขึ้น กับงบประมาณที่ตัดงบรายจ่ายแต่ละกระทรวง 10% จำนวน 8 หมื่นล้านบาท สำหรับการใช้จ่ายระยะสั้น ขณะนี้รัฐบาลแบ่งการทำงานเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงฉุกเฉินที่จะผ่านไปแล้ว ช่วงที่ 2 ที่น้ำยังท่วมต้องเร่งดูแลประชาชน ช่วงที่ 3 เป็นช่วงกู้สถานการณ์ เพื่อให้มีการผลิตโดยเร็ว และช่วงที่ 4 เป็นช่วงการวางแผนบริหารจัดการน้ำระยะยาว ทุกช่วงต้องเดินคู่กัน"
แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในทางปฏิบัตินั้น รัฐบาลน่าจะแก้ระเบียบ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2555 โดยขยายเพดานขาดดุลเต็มจำนวนเป็น 5 แสนล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 3.5 แสนล้านบาท หากใช้วงเงินที่กู้เพิ่ม 150,000 ล้านบาทไม่เพียงพอจึงค่อยใช้พ.ร.ก.กู้เงิน เพราะรัฐบาลยังสามารถใช้โครงการเงินกู้นอกงบประมาณ ที่เป็นเงินกู้ต่างประเทศ ในสัดส่วน 10% ของงบเงินงบประมาณ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท จากเดิมกู้ไว้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลควรศึกษาการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำ ว่าจะลงทุนอย่างไร จะทำเป็นโครงการเล็กหรือใหญ่ ขึ้นอยู่กับว่าโครงการเหล่านี้ ใครจะเป็นเจ้าภาพวางแผน
ทั้งนี้หากเพิ่มวงเงินกู้ เป็น 5 แสนล้านบาท จะมีสัดส่วนการกู้ต่อจีดีพีเพิ่มเป็น 46%จากปัจจุบันอยู่ที่ 41% ถือว่ายังอยู่ในกรอบ ส่วนทางด้านภาระดอกเบี้ยวงเงินกู้อีกจำนวน 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็นวงเงิน 6,000 ล้านบาท(คำนวณจากดอกเบี้ยอัตรา 4%) ยังถือว่ารับได้ อีกทั้งงบชำระหนี้ต่องบประมาณรายจ่ายขณะนี้อยู่ที่ อยู่ที่ 12% ยังเหลืออีก 3% ของงบประมาณรายจ่าย 2.33 ล้านล้านบาท หรือยังมีวงเงินหนี้รับได้อีก 69,000 ล้านบาท
" การใช้งบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณที่ถูกต้องตามกฎหมายก่อนยังดีกว่า การใช้ พ.ร.ก.เงินกู้ ฉุกเฉิน เพราะพ.ร.ก. กู้เงิน ต้องมีการกำหนดโครงการที่ใช้เงินให้ชัดเจนก่อน และต้องไปใช้เวลาผ่านสภา มากกว่า ดังนั้น หากใช้วงเงินกู้ที่เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาทไม่พอค่อยใช้ พ.ร.ก. กู้เงินก็ได้"แหล่งข่าวระบุ
-สศค.ประเมินความเสียหาย
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ระบุว่า สศค.ประเมินความเสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม( 17ต.ค.54)ประมาณ 157,000-200,000 ล้านบาท โดยรวมน่าจะส่งผลจีดีพีลดลง 1.5% โดยผลกระทบสูงสุดเป็นภาคอุตสาหกรรมประมาณแสนล้านบาท ภาคเกษตรเกือบ 36,000 ล้านบาท ภาคบริการซึ่งรวมการท่องเที่ยวและก่อสร้างเกือบ 20,000 ล้านบาทเหล่านี้ยังเหลือที่ต้องประเมินเพิ่มนิคมอุตสาหกรรมนวนครและโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ผลกระทบต่อจีดีพีมีโอกาสถึง 2%โดยต้องดูผลต่อเนื่องซัพพลายเชนในประเทศ การส่งออก การท่องเที่ยวและการว่างงานที่จะส่งผลเศรษฐกิจมาก แต่หากรัฐบาลเร่งการใช้จ่ายของประชาชนและการลงทุนฟื้นฟูจะเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทำให้ความเสียหายไม่เลยร้ายกว่าที่คาด
แนวทางเยียวยานั้น จริงๆกรอบขาดดุลยังมีรูมกู้ได้อีก 1.5แสนล้านบาทเบื้องต้นที่เลือกกู้ 5 หมื่นล้านบาทนั้นเพราะมีเงิน 8 หมื่นล้านบาท จากที่ได้เจียดจ่ายเงินงบประมาณปี 2555 ของแต่ละกระทรวงลง 10%รวมเป็น 1.3 แสนล้านบาท อีกทั้งนโยบายรัฐบาลที่จะมีผลปีหน้าในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล,ค่าแรงขั้นต่ำ ,ปรับเงินเดือน,และเบี้ยยังชีพเหล่านี้เป็นการใส่เงินในมือให้ประชาชนใช้จ่ายบวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังน้ำลดที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ปีหน้ารัฐบาลต้องให้น้ำหนักความสำคัญในการกระตุ้นการใช้จ่ายประชาชน กระตุ้นการลงทุนและมาตรการที่ออกมานั้นต้องวัดประสิทธิผลโดยเฉพาะการเบิกจ่าย ที่หน่วยงานเกี่ยวข้องต้องเร่งเบิกจ่ายตามวัตถุประสงค์และโครงการที่จัดทำไว้เพราะปีหน้าถ้าเศรษฐกิจโลกทรุดมากกว่านี้ไทยต้องเตรียมแผน 2 รองรับด้วย
-แนะจัดการน้ำแบบบูรณาการ
ดร.บันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน)(บมจ.)กล่าวว่า หลังจากนี้ผลเชิงบวกต้องลงทุนเพิ่มทำให้จีดีพีปีหน้าโตหากโรงงานต่างๆฟื้นได้ใน 3เดือนที่สำคัญรัฐบาลต้องเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนโดยจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการเป็นระบบภายใน 2-3 เดือนโดยไม่ต้องรอสรุปผลความเสียหาย เพราะแผนดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนตัดสินใจง่ายขึ้น
นอกจากนี้ยังมองว่าทิศทางดอกเบี้ยอาร์/พีมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาลงโดยเชื่อว่าที่ประชุมกนง.จะคงดอกเบี้ยอาร์/พีในการประชุมดังกล่าว และปีหน้าถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา 4ประเทศในเอเชียที่พึ่งพาการส่งออกได้แก่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย ไต้หวัน จะต้องปรับลดดอกเบี้ยอาร์/พี ส่วนความเห็นต่อจีดีพีนั้นธนาคารได้ปรับลดประมาณการจีดีพีปีนี้ลงมา 1%เหลือ 2.75-3.25%จากเดิม 3.5-4%สาเหตุอุตสาหกรรมส่งออกกระเทือนเป็นแสนล้านบาท
ส่วนความกังวลผลกระทบจากอุทกภัยจะส่งผลต่อการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ในวันพุธที่ 19 ต.ค.ในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1วันหรือดอกเบี้ยนโยบาย(อาร์/พี)นั้น จากการสำรวจตลาดการเงินทั้งบมจ.กสิกรไทย ,ไทยพาณิชย์,กรุงศรีอยุธยา,ทหารไทย,ซีไอเอ็มบีไทยและสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)ต่างเห็นพ้องกันว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์/พีไว้ที่ระดับ 3.50% เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว
-โซนตอ.เด้งรับรง.หนีน้ำท่วม
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้นิคมอุตสาหกรรมในกลุ่มอมตะยังมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้พัฒนาอีก 16,000 ไร่ แบ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ที่จ.ชลบุรี ที่มีประมาณ 10,000 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างทะเลประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำลงทะเลได้เร็ว หากเกิดน้ำท่วมขัง และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ที่ จ.ระยอง ประมาณ 6,000 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วม ในจำนวนนี้มีการพัฒนาพื้นที่บางส่วนแล้วและพร้อมใช้พื้นที่ได้เลย ซึ่งเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมาก็มีการเซ็นสัญญากับลูกค้าที่หนีมาจากเขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ จำนวน 2 ราย ที่จะเข้ามาอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครแล้ว
-รับแรงงานกว่าหมื่นคน
อย่างไรก็ตามเวลานี้กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอมตะพยายามจะลงมาช่วยภาครัฐลดปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะปัญหาแรงงานที่ไม่มีงานทำในช่วงที่ผู้ประกอบการอยู่ในช่วงฟื้นฟูโรงงานโดยร่วมมือกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรีที่มีเครือข่ายประสานกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่แล้วในการรับคนที่ยังไม่มีงานทำเข้ามาทำงานในพื้นที่ฝั่งตะวันออกโดยมีตำแหน่งรองรับได้มากกว่า 10,000 คน ทั้งนี้กลุ่มนิคมอุตสาหกรรมอมตะต้องการป้อนแรงงานให้กับลูกค้าที่มีการลงทุนทั้ง 2 แห่ง ซึ่งมีลูกค้ารวมกันทั้งหมด 750 ราย ที่ยังต้องการแรงงานอีกจำนวนมาก
ด้านนายเผ่าพิทยา สมุทรกลิน ผู้อำนวยการนักลงทุนสัมพันธ์และวางแผน บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) (HEMRAJ) กล่าวว่า ขณะนี้เหมราชมีความเป็นห่วงนิคมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางโดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทุกด้าน ทั้งนี้เหมราชที่แม้ว่าจะตั้งอยู่ในภาคตะวันออกอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลค่อนข้างมาก และยังไม่เคยประสบกับปัญหาน้ำท่วม แต่ก็ได้ดำเนินมาตรการป้องกันน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สำหรับน้ำท่วมครั้งนี้ยอมรับว่าในระยะสั้นคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ แต่ในระยะยาวยังมั่นใจว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านการลงทุนอยู่
ในปัจจุบันเหมราชมีนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกรวม 4 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นิคมอุตสาหกรรมเหมราช ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด) และมีเขตประกอบการอุตสาหกรรม 2 แห่งที่จังหวัดระยองและสระบุรี ซึ่งยังมีพื้นที่ว่างพร้อมพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนรวมประมาณ 7,700 ไร่
-ลูกจ้างกระทบกว่า4 แสนคน
ด้านนางสาวส่งศรี บุญบา ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานการประชุมสถานการณ์ อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือของกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มี 9,629 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 478,143 คน ส่วนนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี ที่อยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง มีสถานประกอบกิจการ 270 แห่ง และลูกจ้าง 170,000 คน
ด้านกรมการจัดหางานจัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 106,248 อัตรา โดยในพื้นที่จังหวัด ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี สมุทรปราการ เตรียมตำแหน่งงานไว้รองรับแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วมไว้แล้ว 25,000 อัตรา นอกจากนี้ยังมีโครงการจัดส่งแรงงานไปยังต่างประเทศในระบบรัฐต่อรัฐ โดยโครงการแรกเป็นประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นแรงงานภาคการเกษตรที่มี 5,000 อัตรา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,680 20 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554
icehihi
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เจโทร"อัดรัฐอ่อนหัดกู้วิกฤติ


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2554 21:50 น. Share



ASTVผู้จัดการรายวัน – “เจโทร” อัดรัฐบาลปูไหลยับ จี้ถามหาความชัดเจนในการฟื้นฟูและช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่จมบาดาลครั้งนี้ ย้ำไทยยังน่าสนใจลงมุนในสายตายญี่ปุ่น แต่ต้องมีมาตรการจัดการแก้ปัญหาที่ดีจากนี้ไป
นายเซตสึโอะ อิอูจิ ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ต้องการให้รัฐบาลไทยออกมาอธิบายและชี้แจงให้ละเอียดถึงการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่าเป็นอบย่งไร เพระหากกมีแผนการที่ดีก็ยังถือว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนในสายตาของนักลงทุนญี่ปุ่น เนื่องจากที่ผ่านมาปริมาณน้ำทว่วมที่รุนแรงบริษทัและธุรกิจของญี่ปุ่นได้รับบผลกระทบและเสียหายมากมายแล้ว
รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลไทยให้ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษที่ถุกต้องด้วย เพื่อความเข้าใจในการสื่อสารกับชาวต่างชาติในไทย พร้อมกับมาตรการที่ชัดเจนสำหรับช่วยเหลือธุรกิจของญี่ปุ่นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งใหญ่นี้อย่างไรด้วย เพื่อให้แผนการฟื้นฟูเกิดขึ้นโดยเร็ว ตลอดจนความช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่ได้ถูกน้ำท่วมมแต่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเหตุการณ์นี่อย่างไร
“จริงๆแล้วในมุมมองของนักธุรกิจญี่ปุ่นตอนนี้ที่มีต่อประเทศไทยก็ยังเป็นมุมบวก เป็นประเทศที่น่าสนใจอยู่เหมือนเดิม และยังคงดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี แต่จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบอ่ย่าใงหญ่หลวง อยากให้รัฐบาลออกมาชี้แจงว่าจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งหากมีการเตรียมการรับมือที่ดีประเทศไทยก็ยังเป็นประเทศที่น่าลงทุนของนักธุรกิจญี่ปุ่น”
ทั้งนี้บริษัทจากญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นจำนวนมากหรือคิดเป็น 40% ของการลงทุนในต่างประเทศของญี่ปุ่นแล้ว และล่าสุดปีนี้ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ชัดเจนและตอกย้ำว่าปรเทศญี่ปุ่นยังคงสนใจ ละมีความพร้อาที่จะลงทุนในไทยต่อไปหากทุกอย่างมีความชัดเจน ทั้งนี้ธุรกิจอาหารญี่ปุ่นในไทยเฉพาะตลาดในกรุงเทพฯมีเปิดรวมกันมากว่า 1,000 แห่งแล้ว
นายมาซาโตะ โอทากะ อัครราชทูตฝ่ายเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทญี่ปุ่นอยากขอร้องให้รัฐบาลไทยเร่งออกมาแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพราะเป็นภัยพิบัติกรณีพิเศษที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และอยากให้รัฐบาลไทยหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ไม่ใช่ใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ เพราะไม่เช่นนั้นภัยพิบัติเดิมๆก็จะเกิดขึ้นอีก
“ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทางบริษัทญี่ปุ่นหวังว่ารัฐบาลน่าจะมีวิธีการว่าทำอย่างไรจะให้อุทกภัยเกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งในส่วนของนักลงทุนญี่ปุ่นโดยรวมเข้าใจปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพราะเป็นปัญหาที่ยากลำบากและเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ไข “
icehihi
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

icehihi
Verified User
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เวิลด์แบงก์ชี้น้ำท่วมไทยทำศก.ติดลบ
20 ตุลาคม 2554 เวลา 14:34 น. | เปิดอ่าน 1,095 | ความคิดเห็น 4 ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม ,
เวิลด์แบงก์เชื่อน้ำพัดเศรษฐกิจไทยไตรมาส4ติดลบกระทบภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมูลค่าเสียหายกว่าแสนล้าน

น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ธนาคารโลกได้ประเมินความเสียหายของเศรษฐกิจไทยจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีนี้เอาไว้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท และจะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายอยู่ในระดับติดลบ เนื่องจากความเสียหายได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

อย่างไรก็ตาม มองว่าการลงทุนเพื่อฟื้นฟูความเสียหายจะส่งผลให้เศรษฐกิจในปีหน้าเติบโตได้สูงกว่าระดับ 4.4 % ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารโลกได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า

“ในช่วงต้นปี เราได้ปรับลดตัวเลขประมาณการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 3.6 % แล้ว จากปัจจัยความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น เมื่อรวมความเสียหายจากน้ำท่วมล่าสุดเข้าไปด้วยจะทำให้การเติบโตลดต่ำลงอีก นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงให้ราคาข้าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จากผลผลิตที่หายไป 6-7 ล้านตัน ไม่รวมความเสียหายของประเทศผู้ส่งออกข้าวรายอื่นที่ประสบภัยธรรมชาติเช่นเดียวกัน ” น.ส.กิริฎา กล่าว



http://goo.gl/M3TfV
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2603
ผู้ติดตาม: 1

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมเป็นเเฟนพันธุ์เเท้พี่คร้าบบบ :B ตามอ่านด้วยคน เเต่ไม่ต้องเปลี่ยนLog in ก็ได้
torpongpak เขียน: ไอซ์ฮิฮิ...

เฮ้อ...พอtrendy Post ครั้งสุดท้าย Tue Oct 18, 2011 5:32 am
ก็จุติดาวดวงใหม่...ชื่อ ไอซ์ฮิฮิ...Joined: Tue Oct 18, 2011 5:36 am สมัครเสร็จPostยิกๆ ซึ่งผิดวิสัยของคนมีLogin ในThaiVIครั้งเเรก
อันนี้คือผลงานใหม่ๆ

http://board.thaivi.org/search.php?auth ... 6&sr=posts

อาจไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ครับเเต่...ความ กะเรียน เหมือนกัน
ขอโทษทีครับขอ Add คุณไอซ์ เป็นFoeอีกท่านครับและขอทำเเบบเปิดเผย...จากนี้คุณPostผมจะไม่เห็น
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
torpongpak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2603
ผู้ติดตาม: 1

Re: ฟิทช์คาดสถาบันการเงินไทยรับผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ครั้งรุนแรง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอชื่นชมว่าPostได้ดีขึ้นกว่าตอนเป็น Kloysri, Thai...เเลน..Handsome, หนุ่มล่ำ ชาวเร๊ามาก
แต่ตอนเป็นtrendy Post ดีสุดเพราะPostเเต่ข่าว
ว่าเเต่จำPasswordได้ยังไงไหว Log in ตั้งเยอะ

ขอบคุณครับ...จบ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
โพสต์โพสต์