รวมข่าว "หัวเว่ย"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 1
'หัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์' ทุ่ม 10 ล้าน แจกแลนสวิตซ์ 300 ชุดช่วย 7 นิคม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 16:06 น.
(ซ้าย)นายหยาง หัว ผู้บริหารหัวเว่ย (ขวา)นายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ผู้บริหารแวลลู
หัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์ ร่วมมือกับเดอะ แวลลู ประกาศมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลังน้ำท่วม มอบอุปกรณ์ Ethernet LAN switch จำนวน 300 ชุด ฟรี พร้อมเตรียมโซลูชันราคาพิเศษอื่นๆ สำหรับผู้ประกอบการใน 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
นายหยาง หัว ประธานกลุ่มธุรกิจเอนเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด กล่าวว่า หัวเว่ย เอนเตอร์ไพรส์ตระหนักดีถึงผลกระทบจากภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ ซึ่งถือว่าเป็นเหตุภัยพิบัติร้ายแรงครั้งใหญ่ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างมากแก่ภาคอุตสาหกรรม ทางบริษัทฯ มีเจตนาที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือองค์กรธุรกิจในประเทศไทย ถึงแม้จะเพิ่งเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการช่วงปลายปีที่ผ่านมาก็ตาม จึงได้มองหามาตรการฟื้นฟูเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือให้กับองค์กรในระดับเอนเตอร์ไพรซ์ที่ได้รับผลกระทบให้พลิกฟื้นสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น
ทางบริษัทฯ จึงร่วมมือกับบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายโซลูชัน เอนเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ด้วยการมอบอุปกรณ์อีเธอร์เน็ต แลน สวิทช์ รุ่น Huawei Quidway S2700 Series จำนวน 300 ชุด เพื่อทดแทนอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงชิ้นนี้ สามารถช่วยเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ใช้งานง่าย และยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
“มาตรการนี้ในเบื้องต้นมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทในภาคอุตสาหกรรมใน 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม ที่ไม่ใช่ลูกค้าของหัวเว่ย ส่วนผลกระทบที่มีต่อลูกค้าของบริษัทนั้น ยังอยู่ในระหว่างการสำรวจว่า ได้รับผลกระทบมากเท่าไร แต่วางงบในการช่วยเหลือครั้งนี้ไว้ที่ 10 ล้านบาท”
โดยทางเดอะแวลลูซิสเตมส์ จะให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายหลังจากที่ได้ประเมินความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมแล้ว โดยอุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่ภายใต้การรับประกันหนึ่งปี ทั้งนี้ บริษัทจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามลำดับการร้องขอ บริษัทที่สนใจสามารถติดต่อหัวเว่ยและเดอะแวลลูซิสเตมส์เพื่อขอรับอุปกรณ์ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ได้ทางสายด่วน 02 661 6666 ต่อ 1471 หรืออีเมลล์ [email protected]
ถึงแม้จะมีปัญหาอุทกภัยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ทางบริษัทฯ ก็ยังคงมั่นใจว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญของหัวเว่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นรองแค่ฮ่องกง และไต้หวันเท่านั้น ที่มีการลงทุนทางด้านไอทีค่อนข้างสูง ประกอบกับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นั้นเป็นเหตุผลที่ทำไมหัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์ถึงเลือกไทยเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคนี้
“จริงๆ แล้วประเทศไทยมีการลงทุนไอทีใกล้เคียงกับฮ่องกงมาก”
นายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด กล่าวเสริมว่าทางบริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ 'แวลลูฯ รวมน้ำใจ ช่วยภัยน้ำท่วม' และความร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบใน 7 นิคมอุตสาหกรรมใหญ่ ได้แก่ โรจนะ ไฮเทค สหรัตนนคร บางปะอิน นวนคร บางกะดี และแฟคตอรี่แลนด์ เพียงขอให้แต่ละโรงงานนำสวิทช์ตัวเก่าทีได้รับความเสียหายมาแลกกับสวิทช์ตัวใหม่ของหัวเว่ยโดยทางบริษัทฯ จะส่งทีมงานเข้าไปให้บริการติดตั้งฟรีถึงที่โรงงาน พร้อมรับประกันตัวสินค้าให้อีกเป็นเวลา 1 ปีเต็ม นอกจากนี้ หากโรงงานในนิคมฯ ที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องการซื้อสินค้าด้านระบบเครือข่ายเพิ่มเติม บริษัทฯ ยินดีที่จะจำหน่ายให้ในราคาพิเศษ
นอกเหนือจากมาตรการช่วยเหลือมูลค่าราว 10 ล้านบาทนี้ หัวเว่ย ประเทศไทยยังได้ร่วมช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการบริจาคเงินจำนวน 5 ล้านบาท และอุปกรณ์เทเลเพรสเซนส์ สำหรับการสื่อสารทางไกล มูลค่า 15 ล้านบาท เพื่อสมทบกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย นอกจากนี้ พนักงานบริษัทฯ ได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 50,000 บาทแก่สภากาชาดไทย เพื่อช่วยเหลือในอีกทางหนึ่งด้วย
หัวเหว่ย เอนเตอร์ไพรส์ เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักของหัวเว่ยที่จัดหาโซลูชันและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบครบวงจร ประกอบไปด้วยระบบพื้นฐานโครงสร้างเครือข่าย ระบบ Unified Communications โซลูชันคลาวด์ คอมพิวติ้ง และศูนย์ข้อมูล
นายธนสรณ์ สุดเสนาะ ผู้จัดการอาวุโสโซลูชันผลิตภัณฑ์ ส่วนงานเอนเตอร์ไพรซ์บิสซิเนส บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการตลาดหลักของหัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์เป็นลักษณะของโปรเจคต์จึงบอกได้ยากกว่า มีผลกระทบต่อมากน้อยเพียงใด ประกอบกับทางบริษัทเพิ่งเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยจริงๆ ยังไม่ถึง 1 ปี ซึ่งลูกค้าที่ผ่านมามีทั้งเป็นในส่วนภาครัฐและเอกชนอย่างละ 50%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 พฤศจิกายน 2554 16:06 น.
(ซ้าย)นายหยาง หัว ผู้บริหารหัวเว่ย (ขวา)นายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ผู้บริหารแวลลู
หัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์ ร่วมมือกับเดอะ แวลลู ประกาศมาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับภาคอุตสาหกรรมหลังน้ำท่วม มอบอุปกรณ์ Ethernet LAN switch จำนวน 300 ชุด ฟรี พร้อมเตรียมโซลูชันราคาพิเศษอื่นๆ สำหรับผู้ประกอบการใน 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
นายหยาง หัว ประธานกลุ่มธุรกิจเอนเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด กล่าวว่า หัวเว่ย เอนเตอร์ไพรส์ตระหนักดีถึงผลกระทบจากภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเวลานี้ ซึ่งถือว่าเป็นเหตุภัยพิบัติร้ายแรงครั้งใหญ่ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างมากแก่ภาคอุตสาหกรรม ทางบริษัทฯ มีเจตนาที่ต้องการเข้ามาช่วยเหลือองค์กรธุรกิจในประเทศไทย ถึงแม้จะเพิ่งเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการช่วงปลายปีที่ผ่านมาก็ตาม จึงได้มองหามาตรการฟื้นฟูเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือให้กับองค์กรในระดับเอนเตอร์ไพรซ์ที่ได้รับผลกระทบให้พลิกฟื้นสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น
ทางบริษัทฯ จึงร่วมมือกับบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายโซลูชัน เอนเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ยอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ด้วยการมอบอุปกรณ์อีเธอร์เน็ต แลน สวิทช์ รุ่น Huawei Quidway S2700 Series จำนวน 300 ชุด เพื่อทดแทนอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงชิ้นนี้ สามารถช่วยเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย ใช้งานง่าย และยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
“มาตรการนี้ในเบื้องต้นมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทในภาคอุตสาหกรรมใน 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม ที่ไม่ใช่ลูกค้าของหัวเว่ย ส่วนผลกระทบที่มีต่อลูกค้าของบริษัทนั้น ยังอยู่ในระหว่างการสำรวจว่า ได้รับผลกระทบมากเท่าไร แต่วางงบในการช่วยเหลือครั้งนี้ไว้ที่ 10 ล้านบาท”
โดยทางเดอะแวลลูซิสเตมส์ จะให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายหลังจากที่ได้ประเมินความเสียหายจากเหตุน้ำท่วมแล้ว โดยอุปกรณ์ทุกชิ้นอยู่ภายใต้การรับประกันหนึ่งปี ทั้งนี้ บริษัทจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามลำดับการร้องขอ บริษัทที่สนใจสามารถติดต่อหัวเว่ยและเดอะแวลลูซิสเตมส์เพื่อขอรับอุปกรณ์ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ได้ทางสายด่วน 02 661 6666 ต่อ 1471 หรืออีเมลล์ [email protected]
ถึงแม้จะมีปัญหาอุทกภัยเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ทางบริษัทฯ ก็ยังคงมั่นใจว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญของหัวเว่ยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเป็นรองแค่ฮ่องกง และไต้หวันเท่านั้น ที่มีการลงทุนทางด้านไอทีค่อนข้างสูง ประกอบกับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ นั้นเป็นเหตุผลที่ทำไมหัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์ถึงเลือกไทยเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคนี้
“จริงๆ แล้วประเทศไทยมีการลงทุนไอทีใกล้เคียงกับฮ่องกงมาก”
นายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด กล่าวเสริมว่าทางบริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ 'แวลลูฯ รวมน้ำใจ ช่วยภัยน้ำท่วม' และความร่วมมือกับหัวเว่ยในครั้งนี้ ก็ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบใน 7 นิคมอุตสาหกรรมใหญ่ ได้แก่ โรจนะ ไฮเทค สหรัตนนคร บางปะอิน นวนคร บางกะดี และแฟคตอรี่แลนด์ เพียงขอให้แต่ละโรงงานนำสวิทช์ตัวเก่าทีได้รับความเสียหายมาแลกกับสวิทช์ตัวใหม่ของหัวเว่ยโดยทางบริษัทฯ จะส่งทีมงานเข้าไปให้บริการติดตั้งฟรีถึงที่โรงงาน พร้อมรับประกันตัวสินค้าให้อีกเป็นเวลา 1 ปีเต็ม นอกจากนี้ หากโรงงานในนิคมฯ ที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องการซื้อสินค้าด้านระบบเครือข่ายเพิ่มเติม บริษัทฯ ยินดีที่จะจำหน่ายให้ในราคาพิเศษ
นอกเหนือจากมาตรการช่วยเหลือมูลค่าราว 10 ล้านบาทนี้ หัวเว่ย ประเทศไทยยังได้ร่วมช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้วยการบริจาคเงินจำนวน 5 ล้านบาท และอุปกรณ์เทเลเพรสเซนส์ สำหรับการสื่อสารทางไกล มูลค่า 15 ล้านบาท เพื่อสมทบกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย นอกจากนี้ พนักงานบริษัทฯ ได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 50,000 บาทแก่สภากาชาดไทย เพื่อช่วยเหลือในอีกทางหนึ่งด้วย
หัวเหว่ย เอนเตอร์ไพรส์ เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจหลักของหัวเว่ยที่จัดหาโซลูชันและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบครบวงจร ประกอบไปด้วยระบบพื้นฐานโครงสร้างเครือข่าย ระบบ Unified Communications โซลูชันคลาวด์ คอมพิวติ้ง และศูนย์ข้อมูล
นายธนสรณ์ สุดเสนาะ ผู้จัดการอาวุโสโซลูชันผลิตภัณฑ์ ส่วนงานเอนเตอร์ไพรซ์บิสซิเนส บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการตลาดหลักของหัวเว่ย เอนเตอร์ไพรซ์เป็นลักษณะของโปรเจคต์จึงบอกได้ยากกว่า มีผลกระทบต่อมากน้อยเพียงใด ประกอบกับทางบริษัทเพิ่งเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยจริงๆ ยังไม่ถึง 1 ปี ซึ่งลูกค้าที่ผ่านมามีทั้งเป็นในส่วนภาครัฐและเอกชนอย่างละ 50%
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 2
หัวเว่ยประเทศไทยขอเลื่อนเปิดตัว MediaPad ไปเดือนหน้า เหตุน้ำท่วม
หมวดหมู่: ข่าวประชาสัมพันธ์ ป้ายคำ: huawei, MediaPad, tablet
สำหรับ Tablet รายใหม่ที่กำลังจะเข้ามาแข่งในตลาดประเทศไทยอย่าง Huawei MediaPad นั้น ก่อนหน้านี้มีหลายคนคาดไว้ว่าจะวางจำหน่ายในเมืองไทยภายในกลางเดือนตุลาคม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการวางจำหน่ายในสิงค์โปร์ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ ผ่านมา ตลอดจนการประกาศส่งเพื่อวางจำหน่ายในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งตามกำหนดการที่เคยมีนั้น บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จะจัดงานเปิดตัวในกลางเดือนตุลาคมหลังจากที่มีการปล่อยตัวรีวิวกับทางบล็อคเกอร์และเว็บไซต์ไอทีต่างๆ ไปก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงเดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น ทำให้หลายอีเวนท์ต่างทยอยเลื่อนกำหนดการออกไปหมด ซึ่งแน่นอนว่างานเปิดตัวของ Huawei MediaPad เองก็มีความจำเป็นต้องเลื่อนด้วยเหตุผลดังกล่าวเช่นกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะจัดงานอีกครั้งในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และขอส่งกำลังใจให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนที่กำลังประสบภัยน้ำท่วม
Huawei MediaPad เป็น Android Tablet ตัวแรกของโลกที่ใช้ Android เวอร์ชั่น 3.2 มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว มีชิพประมวลผลแบบ Dual-Core ความเร็ว 1.2 GHz น้ำหนักเพียง 390 กรัม รองรับระบบ 3G ของทุกเครือข่าย มีความจำในตัวเครื่อง 8GB และสามารถเพิ่มได้สูงสุด 32GB ผ่าน microSD Card ราคา อยู่ที่ 13,900 บาท
หมวดหมู่: ข่าวประชาสัมพันธ์ ป้ายคำ: huawei, MediaPad, tablet
สำหรับ Tablet รายใหม่ที่กำลังจะเข้ามาแข่งในตลาดประเทศไทยอย่าง Huawei MediaPad นั้น ก่อนหน้านี้มีหลายคนคาดไว้ว่าจะวางจำหน่ายในเมืองไทยภายในกลางเดือนตุลาคม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการวางจำหน่ายในสิงค์โปร์ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ ผ่านมา ตลอดจนการประกาศส่งเพื่อวางจำหน่ายในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และฮ่องกง ซึ่งตามกำหนดการที่เคยมีนั้น บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จะจัดงานเปิดตัวในกลางเดือนตุลาคมหลังจากที่มีการปล่อยตัวรีวิวกับทางบล็อคเกอร์และเว็บไซต์ไอทีต่างๆ ไปก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงเดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น ทำให้หลายอีเวนท์ต่างทยอยเลื่อนกำหนดการออกไปหมด ซึ่งแน่นอนว่างานเปิดตัวของ Huawei MediaPad เองก็มีความจำเป็นต้องเลื่อนด้วยเหตุผลดังกล่าวเช่นกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะจัดงานอีกครั้งในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น และขอส่งกำลังใจให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนที่กำลังประสบภัยน้ำท่วม
Huawei MediaPad เป็น Android Tablet ตัวแรกของโลกที่ใช้ Android เวอร์ชั่น 3.2 มีขนาดหน้าจอ 7 นิ้ว มีชิพประมวลผลแบบ Dual-Core ความเร็ว 1.2 GHz น้ำหนักเพียง 390 กรัม รองรับระบบ 3G ของทุกเครือข่าย มีความจำในตัวเครื่อง 8GB และสามารถเพิ่มได้สูงสุด 32GB ผ่าน microSD Card ราคา อยู่ที่ 13,900 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 3
ไม่สนน้ำท่วม ยูดีควงหัวเว่ยขาย "MediaPad"
โดย : manager-online , วันพฤหัสบดี ที่ 27 ตุลาคม 2554 เวลา 11:41:53 น.
ยูดีเซ็นสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเล็ตหัวเว่ย กางแผนรุกขยายตลาด Media Pad ส่งตามหัวเมืองใหญ่เจาะลูกค้าวัยทำงาน เคาะราคาที่ 13,900 บาทครบทั้ง 3G และ Wi-Fi ยังอุบแผนทำตลาดพร้อมโปรโมชันอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่กับดีแทคในอนาคต จุดพลุเริ่มจำหน่ายแล้วโดยไม่สนรัฐบาลประกาศหยุดงานให้ประชาชนเฝ้าระวังบ้านเรือนเพราะน้ำทะเลหนุนสูงสุด
นายพงษกร เบญจรงคกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด ดิสทริบิวชั่น บิซซิเนส จำกัด (ยูดี) ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เปิดเผยว่า ยูดีได้ร่วมลงนามในการเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเลต ของ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) โดยการรุกเข้ามาทำตลาดดีไวซ์ในไทยในครั้งนี้ถือเป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของหัวเว่ย มั่นใจว่าการเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเล็ตของหัวเว่ยจะช่วยให้ไลน์สินค้าของยูดีครอบคลุมและตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
"จะไม่ซ้ำกับไลน์สินค้าเดิมที่บริษัทฯได้ลงนามเพื่อเป็นผู้แทนจำหน่าย ทิศทางตลาดแท็บเล็ตปี 55 มีแนวโน้มเติบโตอย่างแน่นอน ยูดีมีแผนจะเข้ามาจัดจำหน่ายแท็บเล็ตของหัวเว่ยมานานแล้ว การร่วมมือในครั้งนี้เปรียบเสมือนการจับมือกันเดิน ก่อนจะลงมือวิ่ง” นายพงษกรกล่าว
การวางจำหน่าย Media Pad ที่เกิดขึ้นถือว่าล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมคือกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่หัวเว่ยและยูดีเปิดให้บล็อคเกอร์และเว็บไซต์ไอทีร่วมทดลองใช้สินค้า โดย Media Pad นั้นวางจำหน่ายในประเทศสิงค์โปร์แล้วตั้งแต่เดือนกันยนยนที่ผ่านมา หลังจากเปิดตัวในงานคอมมิวนิคเอเชียเมื่อกลางปี 2011
การเข้าร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเล็ตหัวเว่ยของยูดีในครั้งนี้ เกิดขึ้นบนความเชื่อมั่นในหัวเว่ยซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงข่ายโทรคมนาคม เพราะหัวเว่ยนั้นได้ชื่อว่ามีกระบวนการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมของตัวเอง และมีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) อุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อให้รองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด โดยหัวเว่ยยังผลิตทั้งแอร์การ์ด และโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ให้บริการโครงข่าย (Operator) รายใหญ่ๆชั้นนำของโลก
ส่วนแผนการจัดจำหน่าย Media Pad แท็บเล็ตตัวแรกในประเทศไทยของหัวเว่ยนั้น ยูดีจะใช้ช่องทางจัดจัดหน่ายที่มีครอบคลุมทั่วประเทศในการกระจายสินค้าเน้นทำตลาดที่อยู่ในหัวเมืองใหญ่ โดยจะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มวัยทำงาน ซึ่งการเข้าไปทำตลาดในครั้งนี้คาดว่าจะได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีศักยภาพในการทำงานที่สูงราคาสมเหตุสมผล
ราคาจำหน่าย Media Pad ที่ 13,900 บาทนั้นถือว่าต่ำกว่าคาดการณ์ที่ราว 17,000 บาท โดย Media Pad ซึ่งมีดีกรีเป็นแท็บเล็ตรุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 3.2 จะมาพร้อมซีพียูดูอัลคอร์จากควอลคอมม์ความเร็ว 1.2GHz หน้าจอ LCD IPS ขนาด 7 นิ้ว กล้องหลัง 5 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 1.3 ล้านพิกเซล รองรับทั้ง Wi-Fi, Bluetooth และ 3G หน่วยความจำในเครื่อง 8GB สามารถเพิ่มเป็น 32GB ได้ด้วยการเสียบไมโครเอสดีการ์ดเพิ่ม
โดย : manager-online , วันพฤหัสบดี ที่ 27 ตุลาคม 2554 เวลา 11:41:53 น.
ยูดีเซ็นสัญญาเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเล็ตหัวเว่ย กางแผนรุกขยายตลาด Media Pad ส่งตามหัวเมืองใหญ่เจาะลูกค้าวัยทำงาน เคาะราคาที่ 13,900 บาทครบทั้ง 3G และ Wi-Fi ยังอุบแผนทำตลาดพร้อมโปรโมชันอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่กับดีแทคในอนาคต จุดพลุเริ่มจำหน่ายแล้วโดยไม่สนรัฐบาลประกาศหยุดงานให้ประชาชนเฝ้าระวังบ้านเรือนเพราะน้ำทะเลหนุนสูงสุด
นายพงษกร เบญจรงคกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด ดิสทริบิวชั่น บิซซิเนส จำกัด (ยูดี) ผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์สื่อสารและโทรศัพท์เคลื่อนที่ เปิดเผยว่า ยูดีได้ร่วมลงนามในการเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเลต ของ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) โดยการรุกเข้ามาทำตลาดดีไวซ์ในไทยในครั้งนี้ถือเป็นการพลิกบทบาทครั้งสำคัญของหัวเว่ย มั่นใจว่าการเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเล็ตของหัวเว่ยจะช่วยให้ไลน์สินค้าของยูดีครอบคลุมและตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้ามากยิ่งขึ้น
"จะไม่ซ้ำกับไลน์สินค้าเดิมที่บริษัทฯได้ลงนามเพื่อเป็นผู้แทนจำหน่าย ทิศทางตลาดแท็บเล็ตปี 55 มีแนวโน้มเติบโตอย่างแน่นอน ยูดีมีแผนจะเข้ามาจัดจำหน่ายแท็บเล็ตของหัวเว่ยมานานแล้ว การร่วมมือในครั้งนี้เปรียบเสมือนการจับมือกันเดิน ก่อนจะลงมือวิ่ง” นายพงษกรกล่าว
การวางจำหน่าย Media Pad ที่เกิดขึ้นถือว่าล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมคือกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่หัวเว่ยและยูดีเปิดให้บล็อคเกอร์และเว็บไซต์ไอทีร่วมทดลองใช้สินค้า โดย Media Pad นั้นวางจำหน่ายในประเทศสิงค์โปร์แล้วตั้งแต่เดือนกันยนยนที่ผ่านมา หลังจากเปิดตัวในงานคอมมิวนิคเอเชียเมื่อกลางปี 2011
การเข้าร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายแท็บเล็ตหัวเว่ยของยูดีในครั้งนี้ เกิดขึ้นบนความเชื่อมั่นในหัวเว่ยซึ่งเป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านโครงข่ายโทรคมนาคม เพราะหัวเว่ยนั้นได้ชื่อว่ามีกระบวนการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมของตัวเอง และมีศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) อุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อให้รองรับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด โดยหัวเว่ยยังผลิตทั้งแอร์การ์ด และโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ให้บริการโครงข่าย (Operator) รายใหญ่ๆชั้นนำของโลก
ส่วนแผนการจัดจำหน่าย Media Pad แท็บเล็ตตัวแรกในประเทศไทยของหัวเว่ยนั้น ยูดีจะใช้ช่องทางจัดจัดหน่ายที่มีครอบคลุมทั่วประเทศในการกระจายสินค้าเน้นทำตลาดที่อยู่ในหัวเมืองใหญ่ โดยจะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้ากลุ่มวัยทำงาน ซึ่งการเข้าไปทำตลาดในครั้งนี้คาดว่าจะได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีศักยภาพในการทำงานที่สูงราคาสมเหตุสมผล
ราคาจำหน่าย Media Pad ที่ 13,900 บาทนั้นถือว่าต่ำกว่าคาดการณ์ที่ราว 17,000 บาท โดย Media Pad ซึ่งมีดีกรีเป็นแท็บเล็ตรุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชัน 3.2 จะมาพร้อมซีพียูดูอัลคอร์จากควอลคอมม์ความเร็ว 1.2GHz หน้าจอ LCD IPS ขนาด 7 นิ้ว กล้องหลัง 5 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 1.3 ล้านพิกเซล รองรับทั้ง Wi-Fi, Bluetooth และ 3G หน่วยความจำในเครื่อง 8GB สามารถเพิ่มเป็น 32GB ได้ด้วยการเสียบไมโครเอสดีการ์ดเพิ่ม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 4
Open China 3 ตอน : หัวเหว่ย แบรนด์จีนสะท้านยุทธภพ
นาทีนี้ สำหรับคนในวงการไอทีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อ หัวเหว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมสัญชาติจีน ที่เขย่าวงการด้วยการขยายกิจการของตนไปกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
ใช้ชื่อบอกสัญชาติ ประกาศความเป็นจีน
หะแรกหากฟังชื่อ หัวเหว่ย แล้วทราบว่าเป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หลายท่านคงนึกขำ ที่กล้าใช้ชื่อออกสำเนียงจีนที่ดูโบราณขนาดนี้ มาเป็นชื่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สุดไฮเทค แต่ท่านจะยิ่งขำไม่ออก เมื่อได้ทราบต่อมาภายหลังว่า บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี สามารถเข้าไปประมูลโครงการโทรคมนาคมโปรเจ็คใหญ่ๆมากมายในหลายประเทศ ด้วยการทุบราคาต่ำกว่า ชนิดที่คู่แข่งรู้ตัวเลขแล้วแทบลมจับ ดูเหมือนเป็นจะเป็นความตั้งใจในการตั้งชื่อ ด้วยความภาคภูมิใจในชาตินิยมของตนอย่างใหญ่หลวงที่จะนำพาแบรนด์จีนออกไปให้โลกได้รู้จัก
ประกาศศักดาพญามังกร
บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 โดยนายเหริน เจิ้งเฟย อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพจีนเป็นผู้ก่อตั้ง มีสำนักงานใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของ “เสิ่นเจิ้น” มีพนักงานมากกว่า 24,000 คน และขยายกิจการทางด้านโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์หนึ่งที่หัวเหว่ย มักใช้ล้มคู่ต่อสู้คือ ทำได้เหมือนๆกันในราคาที่ถูกกว่าเกินครึ่ง ดังตัวอย่างของโครงการโทรศัพท์ไร้สายในไทย ที่ตั้งราคากลางการประมูลไว้ที่ประมาณ 13,000 ล้านบาท แต่ หัวเหว่ย ประมูลไปด้วยราคาเพียง 7,000 ล้านบาท เหตุการณ์แบบนี้ แทบจะทำให้เรามองเห็นภาพเวลานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวช็อปปิ้งแถวสำเพ็ง แล้วถามราคากระเป๋าซักใบ คนขายอาจบอกว่า 199 บาท แต่พอนักท่องเที่ยวทำท่าจะเกินออกไป คนขายก็สามารถลดราคาลงมาเองได้เรื่อยๆ เป็น 150 ไปจนเหลือ 60 บาทในที่สุด (วิธีนี้พบได้เช่นกันกับร้านขายของที่ระลึกในฮ่องกง แต่ไม่ทราบว่าใครเลียนแบบใคร) การที่บริษัทสัญชาติมังกรรายนี้ สามารถเข้าไปประมูลเมกะโปรเจ็คระดับประเทศได้ ทำให้ความไม่ธรรมดา ของหัวเหว่ยเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก และสงสัยว่าอาจมีการใช้กำลังภายในจากการสนับสนุนของกองทัพจีน หากแต่ เหริน เจิ้งเฟย กลับปฏิเสธเรื่องนี้ และกล่าวว่า หัวเหว่ยบริหารงานโดยพนักงานบริษัท 100% ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทางกองทัพใดๆทั้งสิ้น
Know How ของหัวเหว่ย
การเติบโตอันหวือหวาน่าประทับใจของ หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ ใน 20 ปีที่ผ่านมา กลับสร้างความกังขาและตาร้อนแก่คู่แข่งในขณะเดียวกัน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหตุที่ เทคโนโลยีของ หัวเหว่ย สามารถพัฒนาทันประเทศคู่แข่งได้ เป็นเพราะการละเมิดความรู้จากบริษัทอื่นนำมาลอกเลียน แล้วผลิตสินค้าแบบเดียวกันออกมาตัดราคาถูกกว่าในท้องตลาด ดังเช่น กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นกับ Cisco System ที่หัวเหว่ยถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนรหัสคอมพิวเตอร์ ในเราท์เตอร์ ที่ผลิตโดย Cisco และนำมาขายในราคาที่ถูกกว่า จนกระทั่งหัวเหว่ย ต้องยอมเก็บสินค้ารุ่นดังกล่าวกลับคืนจากท้องตลาดเพื่อยุติการฟ้องร้อง แต่หัวเหว่ยเองก็แสดงศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมากมาย ในปี 2005 หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาถึง 2,300 รายการ และทุ่มเทงบประมาณในการค้นคว้าและวิจัย ยังได้ตั้งศูนย์ “R&D” ของตนเองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกะบความต้องการของตลาดมากที่สุด และนายเหริน เจิ้งเฟย ยังกล่าวให้สัมภาษณ์ถึงเป้าหมายในอนาคตอีกว่า สำหรับเป้าหมายระยะสั้นของบริษัท คือการลดราคาสินค้า ด้วยการลดมาร์จิ้นของต้นทุนและกำไร โดยจะให้ถูกกว่าราคาเดิมในปัจจุบัน ที่ต่ำกว่าซิสโก 15-40%
ได้ฟังแค่ประโยคนี้ ยุทธภพไอทีไม่สะเทือนให้มันรู้กัน !
ข้อมูลจำเพาะ
บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ จำกัด (หัวเหว่ย) เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายและสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) การผลิต การจัดจำหน่ายและการตลาดอุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม
ผลิตภัณฑ์หลักของหัวเหว่ย ประกอบด้วย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายสำหรับใช้งานในระบบต่างๆ (เช่น UMTS, CDMA2000, GSM/ GPRS/ EDGE และ WiMAX) อุปกรณ์เครือข่าย (เช่น NGN, xDSL รวมถึงอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วและอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล) และบริการเสริมอื่นๆ (เช่น บริการโครงข่ายอัจฉริยะ CDN/ SAN และระบบสื่อสารข้อมูลไร้สาย) รวมถึงเครื่องลูกข่ายทั้งแบบ mobile และ fixed terminal
ปัจจุบัน หัวเหว่ย จัดหาอุปกรณ์ให้กับผู้บริหารโครงข่ายสื่อสารและโทรคมนาคมกว่า 300 ราย ในจำนวนนี้มี 22ราย ติดอันดับ 50 ผู้บริหารโครงข่ายชั้นนำระดับโลก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของหัวเหว่ยยังถูกนำไปใช้งานในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
นาทีนี้ สำหรับคนในวงการไอทีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อ หัวเหว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมสัญชาติจีน ที่เขย่าวงการด้วยการขยายกิจการของตนไปกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
ใช้ชื่อบอกสัญชาติ ประกาศความเป็นจีน
หะแรกหากฟังชื่อ หัวเหว่ย แล้วทราบว่าเป็นบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ หลายท่านคงนึกขำ ที่กล้าใช้ชื่อออกสำเนียงจีนที่ดูโบราณขนาดนี้ มาเป็นชื่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สุดไฮเทค แต่ท่านจะยิ่งขำไม่ออก เมื่อได้ทราบต่อมาภายหลังว่า บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี สามารถเข้าไปประมูลโครงการโทรคมนาคมโปรเจ็คใหญ่ๆมากมายในหลายประเทศ ด้วยการทุบราคาต่ำกว่า ชนิดที่คู่แข่งรู้ตัวเลขแล้วแทบลมจับ ดูเหมือนเป็นจะเป็นความตั้งใจในการตั้งชื่อ ด้วยความภาคภูมิใจในชาตินิยมของตนอย่างใหญ่หลวงที่จะนำพาแบรนด์จีนออกไปให้โลกได้รู้จัก
ประกาศศักดาพญามังกร
บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1988 โดยนายเหริน เจิ้งเฟย อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพจีนเป็นผู้ก่อตั้ง มีสำนักงานใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของ “เสิ่นเจิ้น” มีพนักงานมากกว่า 24,000 คน และขยายกิจการทางด้านโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์หนึ่งที่หัวเหว่ย มักใช้ล้มคู่ต่อสู้คือ ทำได้เหมือนๆกันในราคาที่ถูกกว่าเกินครึ่ง ดังตัวอย่างของโครงการโทรศัพท์ไร้สายในไทย ที่ตั้งราคากลางการประมูลไว้ที่ประมาณ 13,000 ล้านบาท แต่ หัวเหว่ย ประมูลไปด้วยราคาเพียง 7,000 ล้านบาท เหตุการณ์แบบนี้ แทบจะทำให้เรามองเห็นภาพเวลานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวช็อปปิ้งแถวสำเพ็ง แล้วถามราคากระเป๋าซักใบ คนขายอาจบอกว่า 199 บาท แต่พอนักท่องเที่ยวทำท่าจะเกินออกไป คนขายก็สามารถลดราคาลงมาเองได้เรื่อยๆ เป็น 150 ไปจนเหลือ 60 บาทในที่สุด (วิธีนี้พบได้เช่นกันกับร้านขายของที่ระลึกในฮ่องกง แต่ไม่ทราบว่าใครเลียนแบบใคร) การที่บริษัทสัญชาติมังกรรายนี้ สามารถเข้าไปประมูลเมกะโปรเจ็คระดับประเทศได้ ทำให้ความไม่ธรรมดา ของหัวเหว่ยเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก และสงสัยว่าอาจมีการใช้กำลังภายในจากการสนับสนุนของกองทัพจีน หากแต่ เหริน เจิ้งเฟย กลับปฏิเสธเรื่องนี้ และกล่าวว่า หัวเหว่ยบริหารงานโดยพนักงานบริษัท 100% ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทางกองทัพใดๆทั้งสิ้น
Know How ของหัวเหว่ย
การเติบโตอันหวือหวาน่าประทับใจของ หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ ใน 20 ปีที่ผ่านมา กลับสร้างความกังขาและตาร้อนแก่คู่แข่งในขณะเดียวกัน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหตุที่ เทคโนโลยีของ หัวเหว่ย สามารถพัฒนาทันประเทศคู่แข่งได้ เป็นเพราะการละเมิดความรู้จากบริษัทอื่นนำมาลอกเลียน แล้วผลิตสินค้าแบบเดียวกันออกมาตัดราคาถูกกว่าในท้องตลาด ดังเช่น กรณีพิพาทที่เกิดขึ้นกับ Cisco System ที่หัวเหว่ยถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนรหัสคอมพิวเตอร์ ในเราท์เตอร์ ที่ผลิตโดย Cisco และนำมาขายในราคาที่ถูกกว่า จนกระทั่งหัวเหว่ย ต้องยอมเก็บสินค้ารุ่นดังกล่าวกลับคืนจากท้องตลาดเพื่อยุติการฟ้องร้อง แต่หัวเหว่ยเองก็แสดงศักยภาพในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมากมาย ในปี 2005 หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาถึง 2,300 รายการ และทุ่มเทงบประมาณในการค้นคว้าและวิจัย ยังได้ตั้งศูนย์ “R&D” ของตนเองเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกะบความต้องการของตลาดมากที่สุด และนายเหริน เจิ้งเฟย ยังกล่าวให้สัมภาษณ์ถึงเป้าหมายในอนาคตอีกว่า สำหรับเป้าหมายระยะสั้นของบริษัท คือการลดราคาสินค้า ด้วยการลดมาร์จิ้นของต้นทุนและกำไร โดยจะให้ถูกกว่าราคาเดิมในปัจจุบัน ที่ต่ำกว่าซิสโก 15-40%
ได้ฟังแค่ประโยคนี้ ยุทธภพไอทีไม่สะเทือนให้มันรู้กัน !
ข้อมูลจำเพาะ
บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยีส์ จำกัด (หัวเหว่ย) เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายและสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) การผลิต การจัดจำหน่ายและการตลาดอุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม
ผลิตภัณฑ์หลักของหัวเหว่ย ประกอบด้วย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายสำหรับใช้งานในระบบต่างๆ (เช่น UMTS, CDMA2000, GSM/ GPRS/ EDGE และ WiMAX) อุปกรณ์เครือข่าย (เช่น NGN, xDSL รวมถึงอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วและอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล) และบริการเสริมอื่นๆ (เช่น บริการโครงข่ายอัจฉริยะ CDN/ SAN และระบบสื่อสารข้อมูลไร้สาย) รวมถึงเครื่องลูกข่ายทั้งแบบ mobile และ fixed terminal
ปัจจุบัน หัวเหว่ย จัดหาอุปกรณ์ให้กับผู้บริหารโครงข่ายสื่อสารและโทรคมนาคมกว่า 300 ราย ในจำนวนนี้มี 22ราย ติดอันดับ 50 ผู้บริหารโครงข่ายชั้นนำระดับโลก นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของหัวเหว่ยยังถูกนำไปใช้งานในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 5
คุณรู้หรือไม่...หัวเหว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารอันดับ 1 ของจีน อันดับ 7 ของโลก
หากเอ่ยถึง หัวเหว่ย หลายคนคงถึงถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิส แอร์การ์ด หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แล้ว ทราบหรือไม่ว่า บริษัทที่ผลิตสินค้าจากจีน ที่หลายคนมองว่า ราคาถูกแต่คุณภาพต่ำ สามารถก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างไร ?
หัวเหว่ย เทคโนโลยี มีสำนักงานใหญ่และศูนย์ผลิตอุปกรณ์สื่อสารหลากหลายประเภท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 11.3 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของ “เสิ่นเจิ้น” มีพนักงานมากกว่า 24,000 ชีวิต ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2531 โดยมี นายเหริน เจิ้งเฟย อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพจีนเป็นผู้ก่อตั้ง เริ่มจากการเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ทำ ธุรกิจโทรคมนาคม และให้บริการทางด้านการให้คำปรึกษาในการวางระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ปัจจุบัน หัวเหว่ย กลายเป็นที่จับตามองของทั่วโลก สามารถกวาดงานใหญ่มาได้มากกว่า 90 ประเทศ ทั่วโลก ครอบคลุมผู้ให้บริการระดับแนวหน้าถึง 22 บริษัท เริ่มตั้งแต่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย ล้วนแต่ใช้บริการของ “หัวเหว่ย เทคโนโลยี” สิ่งที่ทำให้ หัวเหว่ย กลายเป็นผู้นำในแต่ละประเทศได้อย่างรวดเร็วนั้น มาจาก ราคาที่ “ต่ำกว่าคู่แข่ง” ทำให้ได้เปรียบในการประมูล ดังตัวอย่างของโครงการโทรศัพท์ไร้สายในไทย ที่ตั้งราคากลางการประมูลไว้ที่ประมาณ 13,000 ล้านบาท แต่ 'หัวเหว่ย' ประมูลไปด้วยราคาเพียง 7,000 ล้านบาท เอาชนะคู่แข่งที่เป็นบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ของโลก ทั้งที่เป็นของชาติตะวันตก และญี่ปุ่น ชนิดเทียบไม่ติดเลยทีเดียว
ทำให้หัวเหว่ยกลายเป็นที่จับตามองว่า แท้จริงแล้ว เจ้าของ หัวเหว่ย เทคโนโลยี ที่แท้จริง คือกองทัพจีน เพราะได้รับอภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษมากมายจากรัฐบาล ตั้งแต่ ทุนด้านการวิจัยและพัฒนา สิทธิประโยชน์ทางภาษีจนถึงสินเชื่อเพื่อการส่งออกทำให้หัวเหวยสามารถเสนอราคาประมูลในระดับต่ำกว่าคู่แข่งถึง 70%
นอกจากนี้ หัวเว่ย เทคโนโลยี ให้ความสำคัญในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นอย่างมาก เพราะต้องการให้ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าทั่วโลก นอกจากจะหาทีมวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศแล้ว หัวเหว่ย ยังได้ตั้งศูนย์ “R&D” ของตนเองเพื่อดึงนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากให้ทำงานด้วย และยังมีสถาบันเพื่อการวิจัยในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ซิลิคอน วัลเลย์ และดัสลัส ในสหรัฐ ลังกาลอรี ในอินเดีย สตอกโฮล์ม ในสวีเดน และมอสโก ในรัสเซีย เป็นต้น เพื่อให้ง่ายในการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาจากทั่วทุกมุมโลก
ด้วยความทุ่มเททางด้านการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้หัวเหว่ยสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมาย ในปี 2005 หัวเหว่ย เทคโนโลยี มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาถึง 2,300 รายการ และในปีเดียวกันนั้นเอง นายเหริน เจิ้งเฟย ประธานบริหารหัวเหว่ย ติดอันดับ 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลโลก จัดโดยนิตยสาร “ไทม์” เทียบเท่ากับ สตีฟ จอบส์ เจ้าของแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ เม็ก ไวท์แมน
ประธานบริษัท อีเบย์
วันนี้ หัวเห่วย เทคโนโลยี สามารถก้าวสู่ทำเนียบบริษัทชั้นนำในโลกธุรกิจโทรคมนาคม กลายเป็นผู้นำทางด้านผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร อันดับ 1 ของจีน และ อันดับ 7 ของโลก
หากเอ่ยถึง หัวเหว่ย หลายคนคงถึงถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิส แอร์การ์ด หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แล้ว ทราบหรือไม่ว่า บริษัทที่ผลิตสินค้าจากจีน ที่หลายคนมองว่า ราคาถูกแต่คุณภาพต่ำ สามารถก้าวสู่ตลาดโลกได้อย่างไร ?
หัวเหว่ย เทคโนโลยี มีสำนักงานใหญ่และศูนย์ผลิตอุปกรณ์สื่อสารหลากหลายประเภท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 11.3 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของ “เสิ่นเจิ้น” มีพนักงานมากกว่า 24,000 ชีวิต ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2531 โดยมี นายเหริน เจิ้งเฟย อดีตเจ้าหน้าที่กองทัพจีนเป็นผู้ก่อตั้ง เริ่มจากการเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ทำ ธุรกิจโทรคมนาคม และให้บริการทางด้านการให้คำปรึกษาในการวางระบบสื่อสารโทรคมนาคม
ปัจจุบัน หัวเหว่ย กลายเป็นที่จับตามองของทั่วโลก สามารถกวาดงานใหญ่มาได้มากกว่า 90 ประเทศ ทั่วโลก ครอบคลุมผู้ให้บริการระดับแนวหน้าถึง 22 บริษัท เริ่มตั้งแต่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย ล้วนแต่ใช้บริการของ “หัวเหว่ย เทคโนโลยี” สิ่งที่ทำให้ หัวเหว่ย กลายเป็นผู้นำในแต่ละประเทศได้อย่างรวดเร็วนั้น มาจาก ราคาที่ “ต่ำกว่าคู่แข่ง” ทำให้ได้เปรียบในการประมูล ดังตัวอย่างของโครงการโทรศัพท์ไร้สายในไทย ที่ตั้งราคากลางการประมูลไว้ที่ประมาณ 13,000 ล้านบาท แต่ 'หัวเหว่ย' ประมูลไปด้วยราคาเพียง 7,000 ล้านบาท เอาชนะคู่แข่งที่เป็นบริษัทชั้นนำอื่น ๆ ของโลก ทั้งที่เป็นของชาติตะวันตก และญี่ปุ่น ชนิดเทียบไม่ติดเลยทีเดียว
ทำให้หัวเหว่ยกลายเป็นที่จับตามองว่า แท้จริงแล้ว เจ้าของ หัวเหว่ย เทคโนโลยี ที่แท้จริง คือกองทัพจีน เพราะได้รับอภิสิทธิ์ สิทธิพิเศษมากมายจากรัฐบาล ตั้งแต่ ทุนด้านการวิจัยและพัฒนา สิทธิประโยชน์ทางภาษีจนถึงสินเชื่อเพื่อการส่งออกทำให้หัวเหวยสามารถเสนอราคาประมูลในระดับต่ำกว่าคู่แข่งถึง 70%
นอกจากนี้ หัวเว่ย เทคโนโลยี ให้ความสำคัญในเรื่องของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นอย่างมาก เพราะต้องการให้ตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้าทั่วโลก นอกจากจะหาทีมวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศแล้ว หัวเหว่ย ยังได้ตั้งศูนย์ “R&D” ของตนเองเพื่อดึงนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากให้ทำงานด้วย และยังมีสถาบันเพื่อการวิจัยในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ซิลิคอน วัลเลย์ และดัสลัส ในสหรัฐ ลังกาลอรี ในอินเดีย สตอกโฮล์ม ในสวีเดน และมอสโก ในรัสเซีย เป็นต้น เพื่อให้ง่ายในการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาจากทั่วทุกมุมโลก
ด้วยความทุ่มเททางด้านการวิจัยและพัฒนา ส่งผลให้หัวเหว่ยสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมาย ในปี 2005 หัวเหว่ย เทคโนโลยี มีการยื่นขอจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาถึง 2,300 รายการ และในปีเดียวกันนั้นเอง นายเหริน เจิ้งเฟย ประธานบริหารหัวเหว่ย ติดอันดับ 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลโลก จัดโดยนิตยสาร “ไทม์” เทียบเท่ากับ สตีฟ จอบส์ เจ้าของแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ เม็ก ไวท์แมน
ประธานบริษัท อีเบย์
วันนี้ หัวเห่วย เทคโนโลยี สามารถก้าวสู่ทำเนียบบริษัทชั้นนำในโลกธุรกิจโทรคมนาคม กลายเป็นผู้นำทางด้านผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสาร อันดับ 1 ของจีน และ อันดับ 7 ของโลก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 6
"จุติ"สั่งรื้อสอบ กสท-หัวเว่ย ยอมจ่ายค่าปรับ5.7พันล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ,วันที่ 13 ธันวาคม 2553 09:07
“จุติ” สั่งที่ปรึกษากฎหมายรื้อสอบ กสท ยอมความหัวเว่ย ยอมจ่ายเงินค่าปรับส่งมอบงานล่าช้า 5.7 พันล้านบาท พร้อมถอนฟ้องเรียกค่าเสียหายบริษัทส่งมอบงานล่าช้า 3.5 หมื่นล้าน สงสัยข้ออ้างให้ขยายระยะเวลาส่งมอบงาน 1 ปีตามมติครม.ไม่ตรงข้อเท็จจริง ยอมรับเรียกเงินคืนจากหัวเว่ยยาก ลั่นหากว่าพบความผิดต้องมีคนรับผิดชอบ พบพิรุธคณะอนุกรรมการพิจารณาคดียอมความ แก้ไขรายงานการประชุม ตัดข้อความเหตุการณ์ไม่สงบ 3 จังหวัดภาคใต้ สถานการณ์น้ำท่วมตามมติ ครม.ไม่กระทบ การดำเนินงานตามสัญญา
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทกับ กิจการร่วมค้า หัวเว่ย ไทยแลนด์ คอนซอร์เตียม โดย กสท ได้ถอนฟ้องเรียกค่าปรับจากหัวเว่ย ที่ส่งมอบงานก่อสร้างระบบ CDMA พร้อมอุปกรณ์ประกอบล่าช้าจำนวน 35,097.639 ล้านบาท ยอมจ่ายเงินค่างวดเงินที่ระงับการจ่ายไว้เนื่องจากหัวเว่ยส่งมอบงานล่าช้า พร้อมดอกเบี้ยให้แก่หัวเว่ย 5,700 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญที่ กสท ทำข้อตกลงยอมความกับหัวเว่ย คือ การอ้างเอามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 ม.ค. 2548 กรณีเห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการอาชีพรับเหมาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการขยายอายุสัญญางานก่อสร้างออกไปอีก 180 วัน และมติ ครม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2550 เรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างในเขตจังหวัดที่มีการประกาศพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย ด้วยการขยายระยะเวลาสัญญาออกไปอีก 180 วัน
ชี้อ้างมติครม.2เรื่องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
การอ้างมติครม.ทั้ง 2 เรื่อง ไม่น่าจะตรงกับข้อเท็จจริง เพราะกรณีน้ำท่วม และเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดน มีผลกระทบต่อการก่อสร้างของหัวเว่ยในบางจังหวัดเท่านั้น แต่คณะกรรมการ กสท กลับมีมติให้หัวเว่ยขยายเวลาส่งมอบงานตามมติครม.ทั้ง 2 ฉบับ จึงต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน ว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่ และต้องหาผู้รับผิดชอบต่อไป
ในส่วนของเงินที่ กสท จ่ายให้แก่หัวเว่ยไปแล้ว 5,700 ล้านบาท คงไปเรียกคืนไม่ได้ เพราะ กสท ได้ยื่นถอนฟ้องคดีต่อศาลปกครองไปแล้ว
แหล่งข่าวจาก กสท เผยว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2548 กสท ได้ลงนามในสัญญาจัดจ้างหัวเว่ย จัดสร้างชุมสายและสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMA พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ให้แก่ กสท มูลค่าสัญญารวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7,199.998 ล้านบาท โดยกำหนดระยะเวลาส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายใน 26 ม.ค. 2550
จากนั้นในวันที่ 24 ม.ค. 2550 หัวเว่ยทำหนังสือส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่ กสท แต่คณะกรรมการตรวจการจ้าง พบว่าหัวเว่ย ยังไม่ได้ Upgrade Software ระบบจาก CDMA 2000 1xEV-DO Rev.0 เป็น EV-DO Rev.A ตามสัญญา กสทจึงให้หัวเว่ยอัพเกรดซอฟต์แวร์ ให้เสร็จก่อนส่งมอบงานพร้อมระงับการจ่ายค่าก่อสร้างงวดสุดท้ายให้แก่หัวเว่ย
27 ธ.ค.2550 หัวเว่ยได้ยื่นฟ้อง กสท ต่อศาลปกครอง เพื่อเรียกค่าเสียหรือค่าสินไหมทดแทน จากการที่ กสท ไม่จ่ายเงินงวดสุดท้ายรวม 7,197.269 ล้านบาท ขณะที่ กสท เอง ก็ได้ยื่นฟ้องหัวเว่ย ต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าปรับจากการ ส่งมอบงานล่าช้า 35,097.639 ล้านบาท กระทั่งวันที่ 26 ม.ค.2551 หัวเว่ยได้ทำหนังสือส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่ กสท ซึ่งล่าช้ากว่าสัญญา 1 ปี
แจงหัวเว่ยล่าช้าขัดข้องด้านเทคนิค
นอกจากกสท ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่หัวเว่ย ที่ส่งมอบงานล่าช้าแล้ว คณะกรรมการ กสท ที่มีพล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ เป็นประธาน
เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2551 ยังมีมติให้ กสท เรียกเงินชดใช้ค่าเสียหายจากการไม่สามารถ Upgrade อุปกรณ์ CDMA 2000-1x เป็น EV-DV เป็นเงินรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,281,155,570.85 บาท และเรียกค่าปรับของงานที่ส่งมอบงานล่าช้า ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.2550 จนถึงวันที่หัวเว่ยส่งมอบงานครบตามสัญญาในวันที่ 26 ม.ค.2551
“หัวเว่ย ได้ขอให้คณะกรรมการชุดนั้น ขยายระยะเวลาของสัญญาจ้างตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2548 เรื่องการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมติครม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2550 เรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ประ กอบการก่อสร้าง ในเขตจังหวัดที่มีการประกาศพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ออกไปรวม 360 วัน แต่ กสท พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่หัวเว่ยแจ้งส่งมอบงานแล้วเสร็จตามสัญญา ตามหนังสือ 24 ม.ค.2550 และคณะกรรมการตรวจการจ้างรายงานว่าหัวเว่ยดำเนินการทันภายในกำหนดเวลาสัญญา จึงถือว่ากรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ และสถานการณ์น้ำท่วมไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามสัญญา จึงไม่มีเหตุให้ขยายเวลาสัญญาในกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด”
เมื่อหัวเว่ยได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก กสท ต่อศาลปกครองกลางแล้ว หากให้ขยายระยะเวลาออกไป จะไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี จึงมีมติให้งดพิจารณาขยายเวลาตามสัญญา จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ กสท ชุดใหม่ ที่มี นายนัที เปรมรัศมี เป็นประธานบอร์ด ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ พิจารณาระงับข้อพิพาทระหว่าง กสท กับ หัวเว่ย โดยคณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ 1.พิจารณาข้อเท็จจริงกรณีพิพาทระหว่าง กสท กับหัวเว่ย 2.สรุปข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นประกอบการพิจารณา และหาแนวทางยุติข้อพิพาทที่เป็นธรรม เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการ พิจารณาโดยเร็ว 3.เชิญเจ้าหน้าที่ของ กสท ทุกระดับและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ข้อมูลที่จำเป็นประกอบการพิจารณา
คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีนายกฤษดา กวีญาน ประธานคณะกรรมการบริหาร กสท และ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เป็นคณะอนุกรรมการร่วมอยู่ด้วย โดยอนุ กรรมการมีมติยินยอมให้หัวเว่ยขยายเวลาสัญญาออกไป 1 ปี โดยอ้างมติครม. 2 ฉบับ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการ กสท ได้เคยพิจารณา และมีมติเมื่อ 27 ส.ค. 2551 แล้วว่าไม่ขยายเวลาสัญญาจ้าง เนื่องจากผู้รับจ้างไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ระบุไว้ในมติครม.
เมื่อพิจารณามติ ครม.วันที่ 18 ม.ค. 2548 เรื่องการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยพิจารณาอนุญาตให้ขยายสัญญาออกไปได้ 180 วัน ระบุชัดเจนเกี่ยวกับว่าผู้รับเหมาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น แต่โดยข้อเท็จจริง หัวเว่ย ส่งงานไม่ครบตามสัญญา คือ ไม่สามารถ Upgrade software ระบบเป็น Rev A. ทั่วประเทศได้ตามสัญญา หากคณะอนุกรรมการจะพิจารณาให้ความเห็นที่เป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ของ กสทแล้ว ก็ควรมีความเห็นให้ขยายเวลาอายุสัญญา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
ขยายสัญญาหัวเว่ย1ปีไม่ถูกต้อง
เป็นที่น่าสังเกตว่าในรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการระงับข้อพิพาทฯ ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 27 ส.ค.2552 ในระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา ทางฝ่ายพัสดุได้นำเสนอรายละเอียดข้อมูลความเป็นมาต่อที่ประชุม ในข้อ 3.8 ตามรายงานการประชุมระบุโดยสรุปว่า หัวเว่ยขอขยายระยะเวลาของสัญญาตามมติครม.2 ฉบับ ซึ่ง กสท พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่หัวเว่ยแจ้งส่งมอบงานตามสัญญา ลงวันที่ 24 ม.ค. 2550 และคณะกรรมการตรวจการจ้างฯ รายงานว่าหัวเว่ยดำเนินการทันภายในกำหนดสัญญา จึงถือว่าเหตุการณ์ไม่สงบสามจังหวัดภาคใต้ และสถานการณ์น้ำท่วมไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามสัญญา
ต่อมาในรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการระงับข้อพิพาทฯ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 7 ก.ย. 2552 ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 27 ส.ค.2552 ที่ประชุมเห็นควรให้ตัดข้อ 3.8 ออกทั้งข้อและมีมติรับรองรายงานการประชุมที่แก้ไขแล้วออก ก่อนที่จะสรุปเรื่องเสนอให้คณะกรรมการ กสท พิจารณา ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวขัดแย้งตรงกันข้ามกับมติ คณะกรรมการ กสท เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2551 โดยสิ้นเชิง
คณะอนุกรรมการระงับข้อพิพาทได้เสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท วันที่ 25 พ.ย. 2552 อนุมัติให้ กสท ขยายระเวลาส่งมอบงานให้แก่หัวเว่ยออกไปตามมติ ครม.ทั้ง 2 ฉบับ พร้อมกับให้อนุมัติการยอมความกับหัวเว่ย
“หัวเว่ยได้รับการขยายอายุสัญญา 1 ปี และไม่ถูกปรับเนื่องจากส่งงานไม่ครบถ้วนตามสัญญา เพราะ Upgrade software ระบบเป็น Rev.A เสร็จสมบูรณ์หลังสิ้นสุดอายุสัญญา ขณะที่ กสท เองก็ต้องจ่ายงวดเงินที่ระงับการจ่ายไว้ตามระเบียบพัสดุของกสท พร้อมดอกเบี้ยให้หัวเว่ย รวม 5,700 ล้านบาททันที เพื่อประนีประนอมกับหัวเว่ยที่ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง” แหล่งข่าวกล่าว
เป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากคณะกรรมการ กสท อนุมัติการยอมความกับหัวเว่ยแล้ว ในการประชุมคณะกรรมการ กสท เมื่อวันที่วันที่ 16 ธ.ค. 2552 ระหว่างที่ฝ่ายบริหาร กสท ได้รายงานผลการระงับข้อพิพาท ให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท รับทราบ พล.อ.ทนงศักดิ์ ตุวินันทน์ รองประธานกรรมการคนที่ 1 ได้สอบถามความชัดเจนเกี่ยวกับการขยายเวลาการส่งมอบงาน ให้แก่หัวเว่ยออกไปว่าเป็นไปตามมติ ครม.และมีหลักฐานว่า สถานีฐานที่ได้รับการเพิ่มและขยายระยะเวลา อยู่ในพื้นที่ที่ ครม.กำหนดหรือไม่
นายอุสาห์ สวัสดิ์-ชูโต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มปฏิบัติการสื่อสารไร้สาย สายงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย กสท ชี้แจงว่า สถานีฐานในโครงการที่ได้รับให้ขยายระยะเวลาอยู่ในพื้นที่ที่ ครม.กำหนด
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ,วันที่ 13 ธันวาคม 2553 09:07
“จุติ” สั่งที่ปรึกษากฎหมายรื้อสอบ กสท ยอมความหัวเว่ย ยอมจ่ายเงินค่าปรับส่งมอบงานล่าช้า 5.7 พันล้านบาท พร้อมถอนฟ้องเรียกค่าเสียหายบริษัทส่งมอบงานล่าช้า 3.5 หมื่นล้าน สงสัยข้ออ้างให้ขยายระยะเวลาส่งมอบงาน 1 ปีตามมติครม.ไม่ตรงข้อเท็จจริง ยอมรับเรียกเงินคืนจากหัวเว่ยยาก ลั่นหากว่าพบความผิดต้องมีคนรับผิดชอบ พบพิรุธคณะอนุกรรมการพิจารณาคดียอมความ แก้ไขรายงานการประชุม ตัดข้อความเหตุการณ์ไม่สงบ 3 จังหวัดภาคใต้ สถานการณ์น้ำท่วมตามมติ ครม.ไม่กระทบ การดำเนินงานตามสัญญา
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทำข้อตกลงระงับข้อพิพาทกับ กิจการร่วมค้า หัวเว่ย ไทยแลนด์ คอนซอร์เตียม โดย กสท ได้ถอนฟ้องเรียกค่าปรับจากหัวเว่ย ที่ส่งมอบงานก่อสร้างระบบ CDMA พร้อมอุปกรณ์ประกอบล่าช้าจำนวน 35,097.639 ล้านบาท ยอมจ่ายเงินค่างวดเงินที่ระงับการจ่ายไว้เนื่องจากหัวเว่ยส่งมอบงานล่าช้า พร้อมดอกเบี้ยให้แก่หัวเว่ย 5,700 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญที่ กสท ทำข้อตกลงยอมความกับหัวเว่ย คือ การอ้างเอามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 ม.ค. 2548 กรณีเห็นชอบแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกอบการอาชีพรับเหมาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการขยายอายุสัญญางานก่อสร้างออกไปอีก 180 วัน และมติ ครม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2550 เรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างในเขตจังหวัดที่มีการประกาศพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน อุทกภัย ด้วยการขยายระยะเวลาสัญญาออกไปอีก 180 วัน
ชี้อ้างมติครม.2เรื่องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
การอ้างมติครม.ทั้ง 2 เรื่อง ไม่น่าจะตรงกับข้อเท็จจริง เพราะกรณีน้ำท่วม และเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดน มีผลกระทบต่อการก่อสร้างของหัวเว่ยในบางจังหวัดเท่านั้น แต่คณะกรรมการ กสท กลับมีมติให้หัวเว่ยขยายเวลาส่งมอบงานตามมติครม.ทั้ง 2 ฉบับ จึงต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน ว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่ และต้องหาผู้รับผิดชอบต่อไป
ในส่วนของเงินที่ กสท จ่ายให้แก่หัวเว่ยไปแล้ว 5,700 ล้านบาท คงไปเรียกคืนไม่ได้ เพราะ กสท ได้ยื่นถอนฟ้องคดีต่อศาลปกครองไปแล้ว
แหล่งข่าวจาก กสท เผยว่า เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2548 กสท ได้ลงนามในสัญญาจัดจ้างหัวเว่ย จัดสร้างชุมสายและสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMA พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ให้แก่ กสท มูลค่าสัญญารวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 7,199.998 ล้านบาท โดยกำหนดระยะเวลาส่งมอบงานให้แล้วเสร็จภายใน 26 ม.ค. 2550
จากนั้นในวันที่ 24 ม.ค. 2550 หัวเว่ยทำหนังสือส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่ กสท แต่คณะกรรมการตรวจการจ้าง พบว่าหัวเว่ย ยังไม่ได้ Upgrade Software ระบบจาก CDMA 2000 1xEV-DO Rev.0 เป็น EV-DO Rev.A ตามสัญญา กสทจึงให้หัวเว่ยอัพเกรดซอฟต์แวร์ ให้เสร็จก่อนส่งมอบงานพร้อมระงับการจ่ายค่าก่อสร้างงวดสุดท้ายให้แก่หัวเว่ย
27 ธ.ค.2550 หัวเว่ยได้ยื่นฟ้อง กสท ต่อศาลปกครอง เพื่อเรียกค่าเสียหรือค่าสินไหมทดแทน จากการที่ กสท ไม่จ่ายเงินงวดสุดท้ายรวม 7,197.269 ล้านบาท ขณะที่ กสท เอง ก็ได้ยื่นฟ้องหัวเว่ย ต่อศาลปกครองเพื่อเรียกค่าปรับจากการ ส่งมอบงานล่าช้า 35,097.639 ล้านบาท กระทั่งวันที่ 26 ม.ค.2551 หัวเว่ยได้ทำหนังสือส่งมอบงานงวดสุดท้ายให้แก่ กสท ซึ่งล่าช้ากว่าสัญญา 1 ปี
แจงหัวเว่ยล่าช้าขัดข้องด้านเทคนิค
นอกจากกสท ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่หัวเว่ย ที่ส่งมอบงานล่าช้าแล้ว คณะกรรมการ กสท ที่มีพล.อ.มนตรี สังขทรัพย์ เป็นประธาน
เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2551 ยังมีมติให้ กสท เรียกเงินชดใช้ค่าเสียหายจากการไม่สามารถ Upgrade อุปกรณ์ CDMA 2000-1x เป็น EV-DV เป็นเงินรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,281,155,570.85 บาท และเรียกค่าปรับของงานที่ส่งมอบงานล่าช้า ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.2550 จนถึงวันที่หัวเว่ยส่งมอบงานครบตามสัญญาในวันที่ 26 ม.ค.2551
“หัวเว่ย ได้ขอให้คณะกรรมการชุดนั้น ขยายระยะเวลาของสัญญาจ้างตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2548 เรื่องการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมติครม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2550 เรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ประ กอบการก่อสร้าง ในเขตจังหวัดที่มีการประกาศพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ออกไปรวม 360 วัน แต่ กสท พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่หัวเว่ยแจ้งส่งมอบงานแล้วเสร็จตามสัญญา ตามหนังสือ 24 ม.ค.2550 และคณะกรรมการตรวจการจ้างรายงานว่าหัวเว่ยดำเนินการทันภายในกำหนดเวลาสัญญา จึงถือว่ากรณีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดภาคใต้ และสถานการณ์น้ำท่วมไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามสัญญา จึงไม่มีเหตุให้ขยายเวลาสัญญาในกรณีดังกล่าวแต่อย่างใด”
เมื่อหัวเว่ยได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก กสท ต่อศาลปกครองกลางแล้ว หากให้ขยายระยะเวลาออกไป จะไม่เป็นประโยชน์ต่อรูปคดี จึงมีมติให้งดพิจารณาขยายเวลาตามสัญญา จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ กสท ชุดใหม่ ที่มี นายนัที เปรมรัศมี เป็นประธานบอร์ด ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ พิจารณาระงับข้อพิพาทระหว่าง กสท กับ หัวเว่ย โดยคณะอนุกรรมการมีอำนาจหน้าที่ 1.พิจารณาข้อเท็จจริงกรณีพิพาทระหว่าง กสท กับหัวเว่ย 2.สรุปข้อเท็จจริงพร้อมความเห็นประกอบการพิจารณา และหาแนวทางยุติข้อพิพาทที่เป็นธรรม เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการ พิจารณาโดยเร็ว 3.เชิญเจ้าหน้าที่ของ กสท ทุกระดับและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ข้อมูลที่จำเป็นประกอบการพิจารณา
คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีนายกฤษดา กวีญาน ประธานคณะกรรมการบริหาร กสท และ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เป็นคณะอนุกรรมการร่วมอยู่ด้วย โดยอนุ กรรมการมีมติยินยอมให้หัวเว่ยขยายเวลาสัญญาออกไป 1 ปี โดยอ้างมติครม. 2 ฉบับ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการ กสท ได้เคยพิจารณา และมีมติเมื่อ 27 ส.ค. 2551 แล้วว่าไม่ขยายเวลาสัญญาจ้าง เนื่องจากผู้รับจ้างไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ระบุไว้ในมติครม.
เมื่อพิจารณามติ ครม.วันที่ 18 ม.ค. 2548 เรื่องการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยพิจารณาอนุญาตให้ขยายสัญญาออกไปได้ 180 วัน ระบุชัดเจนเกี่ยวกับว่าผู้รับเหมาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น แต่โดยข้อเท็จจริง หัวเว่ย ส่งงานไม่ครบตามสัญญา คือ ไม่สามารถ Upgrade software ระบบเป็น Rev A. ทั่วประเทศได้ตามสัญญา หากคณะอนุกรรมการจะพิจารณาให้ความเห็นที่เป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ของ กสทแล้ว ก็ควรมีความเห็นให้ขยายเวลาอายุสัญญา เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น
ขยายสัญญาหัวเว่ย1ปีไม่ถูกต้อง
เป็นที่น่าสังเกตว่าในรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการระงับข้อพิพาทฯ ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 27 ส.ค.2552 ในระเบียบวาระที่ 2 เรื่องเพื่อพิจารณา ทางฝ่ายพัสดุได้นำเสนอรายละเอียดข้อมูลความเป็นมาต่อที่ประชุม ในข้อ 3.8 ตามรายงานการประชุมระบุโดยสรุปว่า หัวเว่ยขอขยายระยะเวลาของสัญญาตามมติครม.2 ฉบับ ซึ่ง กสท พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่หัวเว่ยแจ้งส่งมอบงานตามสัญญา ลงวันที่ 24 ม.ค. 2550 และคณะกรรมการตรวจการจ้างฯ รายงานว่าหัวเว่ยดำเนินการทันภายในกำหนดสัญญา จึงถือว่าเหตุการณ์ไม่สงบสามจังหวัดภาคใต้ และสถานการณ์น้ำท่วมไม่ได้มีผลกระทบต่อการดำเนินงานตามสัญญา
ต่อมาในรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการระงับข้อพิพาทฯ ครั้งที่ 2/2552 วันที่ 7 ก.ย. 2552 ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 1/2552 วันที่ 27 ส.ค.2552 ที่ประชุมเห็นควรให้ตัดข้อ 3.8 ออกทั้งข้อและมีมติรับรองรายงานการประชุมที่แก้ไขแล้วออก ก่อนที่จะสรุปเรื่องเสนอให้คณะกรรมการ กสท พิจารณา ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวขัดแย้งตรงกันข้ามกับมติ คณะกรรมการ กสท เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2551 โดยสิ้นเชิง
คณะอนุกรรมการระงับข้อพิพาทได้เสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท วันที่ 25 พ.ย. 2552 อนุมัติให้ กสท ขยายระเวลาส่งมอบงานให้แก่หัวเว่ยออกไปตามมติ ครม.ทั้ง 2 ฉบับ พร้อมกับให้อนุมัติการยอมความกับหัวเว่ย
“หัวเว่ยได้รับการขยายอายุสัญญา 1 ปี และไม่ถูกปรับเนื่องจากส่งงานไม่ครบถ้วนตามสัญญา เพราะ Upgrade software ระบบเป็น Rev.A เสร็จสมบูรณ์หลังสิ้นสุดอายุสัญญา ขณะที่ กสท เองก็ต้องจ่ายงวดเงินที่ระงับการจ่ายไว้ตามระเบียบพัสดุของกสท พร้อมดอกเบี้ยให้หัวเว่ย รวม 5,700 ล้านบาททันที เพื่อประนีประนอมกับหัวเว่ยที่ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง” แหล่งข่าวกล่าว
เป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากคณะกรรมการ กสท อนุมัติการยอมความกับหัวเว่ยแล้ว ในการประชุมคณะกรรมการ กสท เมื่อวันที่วันที่ 16 ธ.ค. 2552 ระหว่างที่ฝ่ายบริหาร กสท ได้รายงานผลการระงับข้อพิพาท ให้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท รับทราบ พล.อ.ทนงศักดิ์ ตุวินันทน์ รองประธานกรรมการคนที่ 1 ได้สอบถามความชัดเจนเกี่ยวกับการขยายเวลาการส่งมอบงาน ให้แก่หัวเว่ยออกไปว่าเป็นไปตามมติ ครม.และมีหลักฐานว่า สถานีฐานที่ได้รับการเพิ่มและขยายระยะเวลา อยู่ในพื้นที่ที่ ครม.กำหนดหรือไม่
นายอุสาห์ สวัสดิ์-ชูโต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มปฏิบัติการสื่อสารไร้สาย สายงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย กสท ชี้แจงว่า สถานีฐานในโครงการที่ได้รับให้ขยายระยะเวลาอยู่ในพื้นที่ที่ ครม.กำหนด
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 7
ยกฟ้อง“บ.หัวเว่ยฯกับพวกไม่ผิดสัญญากสท.
ศาลปกครองกลาง พิพากษายกฟ้อง “ บ.หัวเว่ยฯ ” กับพวกไม่ผิดสัญญา กสท. วางระบบ CDMA งด ชดใช้เงินคืนกว่า 1.2 พันล้าน หลัง กสท. อ้าง บริษัทไม่อัพระบบตามสัญญา ศาลชี้ หัวเว่ย ส่งมอบระบบใกล้เคียงให้ กสท.ใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ถูกต้องตามสัญญา
(7 ม.ค. 54 ) ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ นายสมภพ ผ่องสว่าง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลางและองค์คณะ มีคำพิพากษายกฟ้องคดีบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด ( มหาชน) ยื่นฟ้อง บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี(ประเทศไทย) และพวก เป็นผู้ถูกฟ้อง เรื่องละเมิดสัญญาทางปกครอง กรณีที่ บ.หัวเว่ย ฯ กับพวก ดำเนินการจัดสร้างชุมสายและสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMA พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น ประกอบด้วย ชุมสายไม่น้อยกว่า 1 ระบบ และสถานีฐานอีกไม่น้อยกว่า 1,600 สถานีให้ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ กว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ ไม่เรียบร้อย โดยไม่ยอมปรับปรุงระบบ CDMA 2000-1X ให้เป็นระบบ EV-DV ซึ่งเป็นส่วนงาน Major(Better) ตามสัญญาจ้าง จึงขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้ บ.หัวเว่ยฯ และพวก ชำระค่าปรับตามสัญญาเป็นเงินจำนวน 1,281,155,570.85 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่ บมจ.กสท.
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เนื่องจากบริษัท Qualcomm ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีระบบ EV-DV ได้ยกเลิกแผนการที่พัฒนาเทคโนโลยีระบบดังกล่าว โดยหันไปพัฒนาระบบ Rev.A เพียงอย่างเดียว ถือเป็นว่าเรื่องพ้นวิสัย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 219 ประกอบกับ บ.หัวเว่ย และพวกได้ส่งมอบระบบ Rev.A ซึ่งมีคุณสมบัติและสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างกันให้ บมจ.กสท.แทน และ บมจ.กสท.ได้นำระบบดังกล่าวออกใช้งานในเชิงพาณิชย์ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสัญญา สร้างประโยชน์และรายได้ทางธุรกิจให้แก่ บมจ.กสท.เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จึงถือว่า บมจ.กสท.ยอมรับการชำระหนี้อื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 321 ดังนั้น บ.หัวเว่ยและพวกไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ บมจ.กสท.อีก จึงพิพากษายกฟ้อง
ศาลปกครองกลาง พิพากษายกฟ้อง “ บ.หัวเว่ยฯ ” กับพวกไม่ผิดสัญญา กสท. วางระบบ CDMA งด ชดใช้เงินคืนกว่า 1.2 พันล้าน หลัง กสท. อ้าง บริษัทไม่อัพระบบตามสัญญา ศาลชี้ หัวเว่ย ส่งมอบระบบใกล้เคียงให้ กสท.ใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ถูกต้องตามสัญญา
(7 ม.ค. 54 ) ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ นายสมภพ ผ่องสว่าง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลางและองค์คณะ มีคำพิพากษายกฟ้องคดีบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด ( มหาชน) ยื่นฟ้อง บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี(ประเทศไทย) และพวก เป็นผู้ถูกฟ้อง เรื่องละเมิดสัญญาทางปกครอง กรณีที่ บ.หัวเว่ย ฯ กับพวก ดำเนินการจัดสร้างชุมสายและสถานีวิทยุเครือข่ายระบบ CDMA พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น ประกอบด้วย ชุมสายไม่น้อยกว่า 1 ระบบ และสถานีฐานอีกไม่น้อยกว่า 1,600 สถานีให้ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ กว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ ไม่เรียบร้อย โดยไม่ยอมปรับปรุงระบบ CDMA 2000-1X ให้เป็นระบบ EV-DV ซึ่งเป็นส่วนงาน Major(Better) ตามสัญญาจ้าง จึงขอให้ศาลพิพากษาสั่งให้ บ.หัวเว่ยฯ และพวก ชำระค่าปรับตามสัญญาเป็นเงินจำนวน 1,281,155,570.85 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าชำระเสร็จแก่ บมจ.กสท.
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า เนื่องจากบริษัท Qualcomm ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีระบบ EV-DV ได้ยกเลิกแผนการที่พัฒนาเทคโนโลยีระบบดังกล่าว โดยหันไปพัฒนาระบบ Rev.A เพียงอย่างเดียว ถือเป็นว่าเรื่องพ้นวิสัย ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 219 ประกอบกับ บ.หัวเว่ย และพวกได้ส่งมอบระบบ Rev.A ซึ่งมีคุณสมบัติและสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างกันให้ บมจ.กสท.แทน และ บมจ.กสท.ได้นำระบบดังกล่าวออกใช้งานในเชิงพาณิชย์ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสัญญา สร้างประโยชน์และรายได้ทางธุรกิจให้แก่ บมจ.กสท.เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จึงถือว่า บมจ.กสท.ยอมรับการชำระหนี้อื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 321 ดังนั้น บ.หัวเว่ยและพวกไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้ บมจ.กสท.อีก จึงพิพากษายกฟ้อง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 8
SAMART-LOXLEYฉลุยบอร์ดทีโอทีไฟเขียว3G:นัดเซ็นสัญญาเดือนนี้ กสทช.สอบสัญญากสทฯ-ทรู
SAMART-LOXLEY ผ่านฉลุย บอร์ดพร้อมไฟเขียว 11 ก.พ.นี้ พร้อมเซ็นสัญญาก่อนสิ้นเดือน การันตีเริ่มเปิดบริการเดือนเม.ย.นี้แน่นอน ทีโอทีกร้าวตั้งทีมกฎหมายติวเข้มเรียกเงิน ADVANC 7.3 หมื่นล้านบาท ฟาก กสทช. ติงสัญญา กสทฯ-TRUE รวบรัด ล่าสุดเรียก กสทฯ มาชี้แจง พร้อมรอข้อมูลที่ได้ส่งไปตรวจสอบ คาดสัปดาห์หน้าเข้าบอร์ด กสทช.
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด เปิดเผยว่า กรณีการเซ็นสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลเพื่อติดตั้งโครงข่าย 3 จี ทีโอทีทั่วประเทศ จากมูลค่าการประมูลที่ 17,440 ล้านบาท เหลือ 16,290 ล้านบาท ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า “เอสแอล คอนซอร์เตียม” ประกอบด้วยบริษัท สามารถ คอมมิวนิเคชั่นเซอร์วิส จำกัด บริษัทในเครือบริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART และบริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวเลส จำกัด บริษัทในเครือบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หรือ LOXLEY บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โนเกีย ซีเมนส์ จำกัด เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ วาระการประชุมบอร์ดบริหารทีโอที ที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานบอร์ดทีโอที จะมีการพิจารณาเพื่อให้บอร์ดรับทราบและอนุมัติจะดำเนินการตามขั้นตอน ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซอร์เตียมปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ อาจล่าช้ากว่ากำหนดที่เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้วันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการเซ็นสัญญาจะล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 1 สัปดาห์ แต่รับรองว่าการติดตั้งโครงข่ายและให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาแน่นอน
สำหรับกรณีมีกระแสออกมาต่อต้านการประมูลโครงการดังกล่าว อาจมีความไม่โปรงใสนั้น ยืนยันว่าคณะทำงานได้ดำเนินงานตามขั้นตอนโปร่งใสและเป็นธรรมที่สุดแล้ว สามารถชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ต่อที่ประชุมได้ทุกขั้นตอนและกระบวนการ ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนได้เข้าใจที่ตรงกัน และสามารถตรวจสอบได้
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ผู้ชนะประมูลต้องติดตั้งระบบโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) จำนวน 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (ยูทีอาร์เอเอ็น) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสปอร์ต เน็ตเวิร์ก) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (โอเอสเอส) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) จำนวน 1 ระบบ ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) จำนวน 1 ระบบ รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่(Site Preparation) และ อุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่ายด้วย
ทั้งนี้ กรอบการให้บริการนั้น เฟส 1 และ เฟส 2 จะเปิดให้บริการได้ 180 วัน คือ กทม. ทุกพื้นที่และรวมปริมณฑลและ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ เฟสสุดท้าย จะขยายไปยังจังหวัดอีก 59 จังหวัด ภายใน 360 วัน ตามกรอบเวลาที่ คณะรัฐมนตรีและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำหนด ที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้ 3 จี โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ทีโอทีจะเร่งเปิดบริการ 3 จี โดยเร็วและให้ทันกำหนดเวลา โดยเฟส 1 และเฟส 2 จะดำเนินการพร้อมๆ กัน โดยจะใช้โครงข่ายร่วมกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC บมจ.ทรูมูฟ บริษัทลูกในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ TRUE เพื่อลดการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล
ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล รองประธานกรรมการบริหารทีโอที กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือโครงการพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำกว่า 80% ของประชากรภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ภายในปี 2563 ซึ่งทีโอทีได้รับมอบหมายให้บริการบรอดแบนด์ในโครงการ “ไทยเน็ต” (Thai Net) ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิต ค่าบริการ 199 บาทต่อเดือน จำกัดเลขหมายใช้งานเพียง 5 หมื่นเลขหมาย โดยเปิดให้สมัครได้ถึง 30 เมษายนนี้ เจาะกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์บ้านของทีโอทีอีก 2.5 ล้านรายทั่วประเทศที่ยังไม่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากลูกค้าโทรศัพท์บ้านของทีโอทีทั้งหมด 3.7 ล้านราย
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ กล่าวว่า ขณะนี้ทีมกฎหมายทีโอที อยู่ระหว่างดำเนินการในมาตรการเพื่อรองรับและดำเนินการกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC กรณีต้องจ่ายค่าเสียหายในการเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือพ.ร.บ.ร่วมทุน ตามคำตัดสินศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีมูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งคดีคำพิพากษาจะครบอายุความ 1 ปีวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554
อย่างไรก็ตามหลังจากทีโอทีส่งหนังสือแจ้งเตือน(โนติส) ไปยัง ADVANC เพื่อให้ชำระความเสียหาย ที่เกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่มีการแก้อัตราการปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายรวม (โรมมิ่ง) เป็นจำนวนเงิน 32,000 ล้านบาท และมีการจ่ายความเสียหายที่เกิดจากการภาษีสรรพสามิตอีก 32,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินราว 72,000 ล้านบาท รวมดอกเบี้ย 7.5% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยกำหนดให้ ADVANC ต้องชำระค่าเงินจำนวนดังกล่าวภายใน 15 กุมภาพันธ์นี้ และทาง ADVANC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวต่อทีโอทีอย่างแน่นอน ซึ่งทีโอทีพร้อมที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ส่วนการฟ้องร้องการค้างชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่ายแบบแอ็คเซสชาร์จ (ค่าเอซี) ในอัตราเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนมาตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าความเสียหายรวม 138,600 ล้านบาท แบ่งเป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค 97,000 ล้านบาท บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 35,000 ล้านบาท บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี 2,400 ล้านบาท บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 4,200 ล้านบาท นั้น ถึงแม้ว่าขณะนี้ ทีโอทีจะยังไม่ได้มีการยื่นฟ้องร้อง แต่อยู่ระหว่างดำเนินการของฝ่ายกฎหมาย ซึ่งทีโอทีต้องดำเนินการ เนื่องจากต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในฐานะผู้ลงนามในสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่กับกลุ่ม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ทั้งนี้ นายจิรายุทธ ได้มอบหมายให้นายหรรษา ชีวะพฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ และทีมงานฝ่ายกฎหมาย เป็นผู้มาชี้แจงแทน
ทั้งนี้ กสทช. ได้แจ้งว่า การทำสัญญากันระหว่าง กสทฯ กับ TRUE เป็นที่สนใจของสังคม เนื่องจากมีการเร่งรัดการทำสัญญาจนเกินไปและยังมีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า กสทฯ มีความเสียเปรียบ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งและขายต่อบริการ ดังนั้น จึงต้องการให้ กสทฯ ส่งสัญญาที่เกี่ยวข้องมาให้ กสทช. พิจารณาภายใน 10 วัน หลังการลงนามเสร็จสิ้น
ขณะที่ตัวแทน กสทฯ ได้ชี้แจงว่า กสทฯ ได้ทำตามขั้นตอน และพร้อมจะส่งสัญญาการขายส่งและขายต่อบริการให้ กสทช. แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของค่าเช่าได้ เนื่องจากเป็นความลับทางธุรกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ กสทช. รับฟังคำชี้แจงจาก กสทฯ แล้ว ทางสำนักงาน กสทช. ยังข้องใจในประเด็นที่ว่าเหตุใด กสทฯ ต้องเร่งรีบในการทำสัญญา และไม่ได้นำข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะผู้ตรวจร่างสัญญาทั้งหมด มาประกอบการพิจารณาทำสัญญาครั้งนี้ เนื่องจากการเสนอความเห็นของอัยการสูงสุด ถือเป็นสาระสำคัญทั้งสิ้น
โดยก่อนการลงนามในสัญญา กสทฯ จะต้องกำหนดอัตราค่าตอบแทน ค่าเช่า และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเงินและผลประโยชน์ให้แล้วเสร็จ ขณะที่พยานในสัญญามีเพียงลายเซ็นแต่ไม่มีการระบุชื่อ-นามสกุลจริงที่ชัดเจนในสัญญา อีกทั้ง ยังมีการยอมรับว่าสัญญายังต้องแก้ไขในอนาคตด้วย ดังนั้นจึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมาย กสทช. ไปพิจารณารายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องในภายหลัง
พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลจากสำนักงาน กสทช.เกี่ยวกับสัญญาระหว่างกสทฯ กับ TRUE แต่อย่างใด โดยได้เร่งรัดให้สำนักงาน กสทช. ส่งข้อมูลให้ภายใน 7 วัน
SAMART-LOXLEY ผ่านฉลุย บอร์ดพร้อมไฟเขียว 11 ก.พ.นี้ พร้อมเซ็นสัญญาก่อนสิ้นเดือน การันตีเริ่มเปิดบริการเดือนเม.ย.นี้แน่นอน ทีโอทีกร้าวตั้งทีมกฎหมายติวเข้มเรียกเงิน ADVANC 7.3 หมื่นล้านบาท ฟาก กสทช. ติงสัญญา กสทฯ-TRUE รวบรัด ล่าสุดเรียก กสทฯ มาชี้แจง พร้อมรอข้อมูลที่ได้ส่งไปตรวจสอบ คาดสัปดาห์หน้าเข้าบอร์ด กสทช.
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ รักษาการกรรมผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด เปิดเผยว่า กรณีการเซ็นสัญญากับเอกชนผู้ชนะการประมูลเพื่อติดตั้งโครงข่าย 3 จี ทีโอทีทั่วประเทศ จากมูลค่าการประมูลที่ 17,440 ล้านบาท เหลือ 16,290 ล้านบาท ได้แก่ กลุ่มกิจการร่วมค้า “เอสแอล คอนซอร์เตียม” ประกอบด้วยบริษัท สามารถ คอมมิวนิเคชั่นเซอร์วิส จำกัด บริษัทในเครือบริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART และบริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวเลส จำกัด บริษัทในเครือบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) หรือ LOXLEY บริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โนเกีย ซีเมนส์ จำกัด เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ วาระการประชุมบอร์ดบริหารทีโอที ที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานบอร์ดทีโอที จะมีการพิจารณาเพื่อให้บอร์ดรับทราบและอนุมัติจะดำเนินการตามขั้นตอน ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซอร์เตียมปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ อาจล่าช้ากว่ากำหนดที่เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้วันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการเซ็นสัญญาจะล่าช้ากว่ากำหนดประมาณ 1 สัปดาห์ แต่รับรองว่าการติดตั้งโครงข่ายและให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาแน่นอน
สำหรับกรณีมีกระแสออกมาต่อต้านการประมูลโครงการดังกล่าว อาจมีความไม่โปรงใสนั้น ยืนยันว่าคณะทำงานได้ดำเนินงานตามขั้นตอนโปร่งใสและเป็นธรรมที่สุดแล้ว สามารถชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ต่อที่ประชุมได้ทุกขั้นตอนและกระบวนการ ทั้งนี้ อยากให้ประชาชนได้เข้าใจที่ตรงกัน และสามารถตรวจสอบได้
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ผู้ชนะประมูลต้องติดตั้งระบบโครงข่ายหลัก (คอร์ เน็ตเวิร์ก) จำนวน 1 ระบบ ระบบสถานีฐาน (ยูทีอาร์เอเอ็น) จำนวน 4,772 แห่ง ระบบสื่อสัญญาณ (ทรานสปอร์ต เน็ตเวิร์ก) ระบบบริการจัดการโครงข่าย (โอเอสเอส) จำนวน 1 ระบบ ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) จำนวน 1 ระบบ ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) จำนวน 1 ระบบ รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่(Site Preparation) และ อุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่ายด้วย
ทั้งนี้ กรอบการให้บริการนั้น เฟส 1 และ เฟส 2 จะเปิดให้บริการได้ 180 วัน คือ กทม. ทุกพื้นที่และรวมปริมณฑลและ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ เฟสสุดท้าย จะขยายไปยังจังหวัดอีก 59 จังหวัด ภายใน 360 วัน ตามกรอบเวลาที่ คณะรัฐมนตรีและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กำหนด ที่ต้องการให้ประชาชนได้ใช้ 3 จี โดยเร็วที่สุด
นอกจากนี้ทีโอทีจะเร่งเปิดบริการ 3 จี โดยเร็วและให้ทันกำหนดเวลา โดยเฟส 1 และเฟส 2 จะดำเนินการพร้อมๆ กัน โดยจะใช้โครงข่ายร่วมกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC บมจ.ทรูมูฟ บริษัทลูกในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ TRUE เพื่อลดการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล
ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล รองประธานกรรมการบริหารทีโอที กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือโครงการพัฒนาโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมประชากรไม่ต่ำกว่า 80% ของประชากรภายในปี 2558 และไม่ต่ำกว่า 95% ภายในปี 2563 ซึ่งทีโอทีได้รับมอบหมายให้บริการบรอดแบนด์ในโครงการ “ไทยเน็ต” (Thai Net) ด้วยความเร็ว 2 เมกะบิต ค่าบริการ 199 บาทต่อเดือน จำกัดเลขหมายใช้งานเพียง 5 หมื่นเลขหมาย โดยเปิดให้สมัครได้ถึง 30 เมษายนนี้ เจาะกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์บ้านของทีโอทีอีก 2.5 ล้านรายทั่วประเทศที่ยังไม่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากลูกค้าโทรศัพท์บ้านของทีโอทีทั้งหมด 3.7 ล้านราย
นายนพณัฏฐ์ หุตะเจริญ กล่าวว่า ขณะนี้ทีมกฎหมายทีโอที อยู่ระหว่างดำเนินการในมาตรการเพื่อรองรับและดำเนินการกับ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC กรณีต้องจ่ายค่าเสียหายในการเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 หรือพ.ร.บ.ร่วมทุน ตามคำตัดสินศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีมูลค่า 4.6 หมื่นล้านบาท เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งคดีคำพิพากษาจะครบอายุความ 1 ปีวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554
อย่างไรก็ตามหลังจากทีโอทีส่งหนังสือแจ้งเตือน(โนติส) ไปยัง ADVANC เพื่อให้ชำระความเสียหาย ที่เกิดจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานครั้งที่ 6 และ 7 ที่มีการแก้อัตราการปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากระบบเติมเงิน (พรีเพด) และการใช้โครงข่ายรวม (โรมมิ่ง) เป็นจำนวนเงิน 32,000 ล้านบาท และมีการจ่ายความเสียหายที่เกิดจากการภาษีสรรพสามิตอีก 32,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินราว 72,000 ล้านบาท รวมดอกเบี้ย 7.5% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% โดยกำหนดให้ ADVANC ต้องชำระค่าเงินจำนวนดังกล่าวภายใน 15 กุมภาพันธ์นี้ และทาง ADVANC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวต่อทีโอทีอย่างแน่นอน ซึ่งทีโอทีพร้อมที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ส่วนการฟ้องร้องการค้างชำระค่าเชื่อมโยงโครงข่ายแบบแอ็คเซสชาร์จ (ค่าเอซี) ในอัตราเลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนมาตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549 จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าความเสียหายรวม 138,600 ล้านบาท แบ่งเป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค 97,000 ล้านบาท บริษัท ทรูมูฟ จำกัด 35,000 ล้านบาท บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือดีพีซี 2,400 ล้านบาท บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 4,200 ล้านบาท นั้น ถึงแม้ว่าขณะนี้ ทีโอทีจะยังไม่ได้มีการยื่นฟ้องร้อง แต่อยู่ระหว่างดำเนินการของฝ่ายกฎหมาย ซึ่งทีโอทีต้องดำเนินการ เนื่องจากต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม ในฐานะผู้ลงนามในสัญญาการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่กับกลุ่ม บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE รวมทั้งสิ้น 6 ฉบับ ทั้งนี้ นายจิรายุทธ ได้มอบหมายให้นายหรรษา ชีวะพฤกษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ และทีมงานฝ่ายกฎหมาย เป็นผู้มาชี้แจงแทน
ทั้งนี้ กสทช. ได้แจ้งว่า การทำสัญญากันระหว่าง กสทฯ กับ TRUE เป็นที่สนใจของสังคม เนื่องจากมีการเร่งรัดการทำสัญญาจนเกินไปและยังมีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า กสทฯ มีความเสียเปรียบ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทการขายส่งและขายต่อบริการ ดังนั้น จึงต้องการให้ กสทฯ ส่งสัญญาที่เกี่ยวข้องมาให้ กสทช. พิจารณาภายใน 10 วัน หลังการลงนามเสร็จสิ้น
ขณะที่ตัวแทน กสทฯ ได้ชี้แจงว่า กสทฯ ได้ทำตามขั้นตอน และพร้อมจะส่งสัญญาการขายส่งและขายต่อบริการให้ กสทช. แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของค่าเช่าได้ เนื่องจากเป็นความลับทางธุรกิจ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ กสทช. รับฟังคำชี้แจงจาก กสทฯ แล้ว ทางสำนักงาน กสทช. ยังข้องใจในประเด็นที่ว่าเหตุใด กสทฯ ต้องเร่งรีบในการทำสัญญา และไม่ได้นำข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด ในฐานะผู้ตรวจร่างสัญญาทั้งหมด มาประกอบการพิจารณาทำสัญญาครั้งนี้ เนื่องจากการเสนอความเห็นของอัยการสูงสุด ถือเป็นสาระสำคัญทั้งสิ้น
โดยก่อนการลงนามในสัญญา กสทฯ จะต้องกำหนดอัตราค่าตอบแทน ค่าเช่า และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเงินและผลประโยชน์ให้แล้วเสร็จ ขณะที่พยานในสัญญามีเพียงลายเซ็นแต่ไม่มีการระบุชื่อ-นามสกุลจริงที่ชัดเจนในสัญญา อีกทั้ง ยังมีการยอมรับว่าสัญญายังต้องแก้ไขในอนาคตด้วย ดังนั้นจึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมาย กสทช. ไปพิจารณารายละเอียดในสัญญาให้รอบคอบ เพื่อมิให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องในภายหลัง
พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลจากสำนักงาน กสทช.เกี่ยวกับสัญญาระหว่างกสทฯ กับ TRUE แต่อย่างใด โดยได้เร่งรัดให้สำนักงาน กสทช. ส่งข้อมูลให้ภายใน 7 วัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 9
เมื่อราวปี 1999-2000 สิบกว่าปีที่แล้ว ได้ยินชื่อหัวเหว่ยแล้ว คิดกันก่อนล่วงหน้าเลยว่าเป็นจีน คงแย่แน่ๆ (อย่างที่บางคนที่ไม่รู้จัก ยังเรียกว่า "ห่วยเว้ย" อยู่)
เคยร่วมงานกัน ตอนนั้นเอกสารเสนองานยังพิมพ์แบบก๊องแก๊ง แถมต้นฉบับเดิม จีนชอบใช้ Lotus ต้องมานั่งแปลงไฟล์ให้เป็น Word
สิบกว่าปีผ่านไป รู้ว่านั่นไม่ใช่สาระสำคัญก็จริง แต่จีนก็จ้างฝรั่งเข้าไปเป็น partner ทำอะไร inter ไปหมด
อย่างพวกวารสาร "ขายของ" หรือ "คุยอวดตัว" พวกนี้เป็นต้น
ตอนนี้ ลองไปดูโรงงาน ระบบ Logistics เขาจัดการแยก package เพื่อส่งลูกค้าไปทุกทวีป ซื้อระบบ Robot พร้อม Line ผลิต ERP (Enterprise resource planning) จากเยอรมัน เพราะมีบางโครงกการ ที่ Siemens อยากได้ project ตลาดจีน เลยไปเป็น joint venture 49%:51% ก็มี
ขณะที่ Nortel ก็เคยไปร่วมทุนกับ ZTE รายนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่บุกตลาดโลกเหมือนกัน ตอนนี้ ZTE ดังเรื่องครองส่วนแบ่งมือถือมากกว่าเครื่องเครือข่าย ในอเมริกาหลายรายจ้าง ZTE ผลิต ตอนนี้ market share น่าจะอยู่ราวอันดับ 3-4 ของโลก
ผลคือ อย่างที่เห็น
ไอ้ที่เป็นสาระจริง...ลงสนามทีไร Nokia, Ericsson, Alcatel, Nortel เดี้ยงเป็นแถบๆ ตอนนี้พะงาบๆ กันไปหมด Alcatel ไหวตัว ตอนบุกตลาดเอเชีย บุกไปในนาม Alcatel-Shanghai Bell ที่ตอนหลัง Lucent มา merger ด้วย
ทุกวันนี้ ทุกครั้งเวลาที่เรากดมือถือ เวลาเรายกหูโทรผ่านระบบมือถือไนไทย ทุกบริษัท ส่วนใหญ่ต้องผ่านอุปกรณ์ จีนอยู่บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมด เพราะ operator ต้องเก็บฝรั่งไว้ต่อรองกับจีนก็ตาม
ที่ NSN (Nokia-Siemens Network) กับ Ericcson จะกระอักเลือดว่าทำไมผมทองมาเกิดแล้ว ฟ้าต้องส่งพวกตาตี่ลงมาเกิดด้วย คือในถิ่นย่้าน scandinavia ของตัวเอง
Nortel (บริษัทแม่ของ dtac) ฝรั่งพวกกันเอง ทำระบบ 4G-LTE เอามาบี้ราคากันเอง สุดท้ายแล้วไปเลือก Huawei เป็น vendor!... ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาหมาดๆ นี่เอง
เคยร่วมงานกัน ตอนนั้นเอกสารเสนองานยังพิมพ์แบบก๊องแก๊ง แถมต้นฉบับเดิม จีนชอบใช้ Lotus ต้องมานั่งแปลงไฟล์ให้เป็น Word
สิบกว่าปีผ่านไป รู้ว่านั่นไม่ใช่สาระสำคัญก็จริง แต่จีนก็จ้างฝรั่งเข้าไปเป็น partner ทำอะไร inter ไปหมด
อย่างพวกวารสาร "ขายของ" หรือ "คุยอวดตัว" พวกนี้เป็นต้น
ตอนนี้ ลองไปดูโรงงาน ระบบ Logistics เขาจัดการแยก package เพื่อส่งลูกค้าไปทุกทวีป ซื้อระบบ Robot พร้อม Line ผลิต ERP (Enterprise resource planning) จากเยอรมัน เพราะมีบางโครงกการ ที่ Siemens อยากได้ project ตลาดจีน เลยไปเป็น joint venture 49%:51% ก็มี
ขณะที่ Nortel ก็เคยไปร่วมทุนกับ ZTE รายนั้นเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่บุกตลาดโลกเหมือนกัน ตอนนี้ ZTE ดังเรื่องครองส่วนแบ่งมือถือมากกว่าเครื่องเครือข่าย ในอเมริกาหลายรายจ้าง ZTE ผลิต ตอนนี้ market share น่าจะอยู่ราวอันดับ 3-4 ของโลก
ผลคือ อย่างที่เห็น
ไอ้ที่เป็นสาระจริง...ลงสนามทีไร Nokia, Ericsson, Alcatel, Nortel เดี้ยงเป็นแถบๆ ตอนนี้พะงาบๆ กันไปหมด Alcatel ไหวตัว ตอนบุกตลาดเอเชีย บุกไปในนาม Alcatel-Shanghai Bell ที่ตอนหลัง Lucent มา merger ด้วย
ทุกวันนี้ ทุกครั้งเวลาที่เรากดมือถือ เวลาเรายกหูโทรผ่านระบบมือถือไนไทย ทุกบริษัท ส่วนใหญ่ต้องผ่านอุปกรณ์ จีนอยู่บ้าง แม้จะไม่ทั้งหมด เพราะ operator ต้องเก็บฝรั่งไว้ต่อรองกับจีนก็ตาม
ที่ NSN (Nokia-Siemens Network) กับ Ericcson จะกระอักเลือดว่าทำไมผมทองมาเกิดแล้ว ฟ้าต้องส่งพวกตาตี่ลงมาเกิดด้วย คือในถิ่นย่้าน scandinavia ของตัวเอง
Nortel (บริษัทแม่ของ dtac) ฝรั่งพวกกันเอง ทำระบบ 4G-LTE เอามาบี้ราคากันเอง สุดท้ายแล้วไปเลือก Huawei เป็น vendor!... ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาหมาดๆ นี่เอง
-
- Verified User
- โพสต์: 883
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 12
Undead เขียน:สรุปเชียร์ SAMART-LOXLEY นั่นเอง โพสต์มาเยอะแยะ โธ่
คุณครับ มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำสิครับ คนเค้าอุส่าเอาข้อมูลมาให้ ซื้อไม่ซื้อก็เงินของคุณ ที่ทุกวันนี้ คนเก่งใน ไทยวิ ไม่ค่อยมาตอบก็เพราะแบบนี้แหละครับ
หวังว่าคุณคงเข้าใจนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 22
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 14
รัฐสภาUSส่งคกก.ตรวจสอบ “หัวเว่ย-ZTE” เสี่ยงเป็นภัยคุกคามความมั่นคงปท.หรือไม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 18:48 น. Share4
โลโก้บริษัท หัวเว่ย และ แซดทีอี สองยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลกสัญชาติจีน
วอลล์สตรีท เจอร์นัล / เอเอฟพี - รัฐสภาของสหรัฐฯ ส่งคณะกรรมาธิการด้านข่าวกรองลงตรวจสอบว่า บริษัทหัวเว่ย เทคโนโลจีส์ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมชั้นนำของโลกสัญชาติจีน ตลอดจนบริษัทด้านโทรคมนาคมรายอื่นๆ จากแดนมังกร จะเป็นต้นตอนำไปสู่ภัยคุกคามด้านความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกาหรือไม่ ในขณะที่บริษัทเหล่านี้มีความจำนงต้องการจะขยายตลาดและสร้างแบรนด์บนแผ่นดินของสหรัฐฯ
การตรวจสอบปัญหาดังกล่าวโดยคณะกรรมาธิการด้านข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คราวนี้ นับเป็นการตอกย้ำความพยายามของสหรัฐฯ ที่ต้องการใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเป็นไปได้ต่อประเทศของพวกเขา โดยเฉพาะจากบริษัทสัญชาติจีนอย่าง หัวเว่ย (Huawei) และ แซดทีอี คอร์ปอเรชัน (ZTE Corporation) ยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมระดับท็อป 5 ของโลก โดยรายแรกเป็นรองเพียง อีริกสัน ของสวีเดนเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ได้แสดงความวิตกกังวลร่วมกับบรรดาสมาชิกรัฐสภาว่า การที่บริษัทเหล่านี้เข้ามาขยายกิจการในสหรัฐฯ นั้น อาจกลายเป็นการสร้างฐานที่มั่นให้แก่จีนสำหรับการสืบราชการลับหรือการสอดแนมทางอิเล็กทรอนิกภายในอเมริกาได้
“พวกเราคิดว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะต้องทำการตรวจสอบหาความจริงชนิดเต็มรูปแบบ” ส.ส.ไมค์ โรเจอร์ส สังกัดพรรครีพับลิกัน ประธานคณะกรรมาธิการชุดตรวจสอบดังกล่าว ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล “พวกเราวิตกกังวลต่อความมั่นคงของชาติอย่างยิ่งยวด เกี่ยวกับ หัวเว่ย, แซดทีอี ตลอดจนบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ และพวกเราก็จำเป็นจะต้องทำการสอบสวนอย่างครอบคลุมทุกด้านด้วยการใช้ทรัพยากรบุคคลของพวกเราทั้งหมดในฐานะของคณะกรรมาธิการ”
โรเจอร์ส ระบุว่า ตอนนี้ทางคณะกรรมาธิการได้ลงตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งก็รวมถึงขั้นตอนการสรุปรายงานย่อ และการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง
กระบวนการตรวจสอบจะดูว่า บริษัทจีนจะสามารถจัดหาส่วนประกอบให้แก่ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ได้อย่างไร ตลอดจนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อเมริกันหวั่นเกรงว่า รัฐบาลจีนจะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้ และแกะรอยโทรศัพท์ หรืออีเมล ตลอดจนส่งคลื่นสัญญาณรบกวน และทำลายระบบการสื่อสาร เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมก็เตือนว่า ยังมีความเป็นไปได้ที่การเข้าถึงเหล่านี้จะกลายเป็นช่องทางสำคัญในการแอบดักฟังโทรศัพท์ หรือขัดขวางการรับส่งอีเมลระหว่างบริษัทคู่แข่งด้านเทคโนโลยีรายอื่นๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วิลเลียม พลัมเมอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์นอกประเทศของหัวเว่ย ระบุว่า อุปกรณ์ของบริษัทเขาได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่มากถึง 45 ราย จาก 50 อันดับแรกทั่วโลก โดยที่ไม่เคยปรากฏเหตุการณ์ที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยเลย
“นี่ไม่เกี่ยวกับหัวเว่ย” เขากล่าว “หัวเว่ยมีความยินดีสำหรับการพิจารณาทบทวนอย่างเปิดเผยและยุติธรรม ต่อความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบเครือข่าย อันมีสาเหตุจากห่วงโซ่อุปทานโลกที่พึ่งพากันและกัน”
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของจีน แถลงวันนี้ (18) เรียกร้องรัฐบาลสหรัฐฯ อย่าทำให้การค้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง
“การลงทุนของจีนในสหรัฐฯ สามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงาน ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ และเราก็หวังว่า ฝ่ายสหรัฐฯ จะไม่ทำให้การค้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง” หลิว เหว่ยหมิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของแดนมังกร กล่าวต่อผู้สื่อข่าว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2554 18:48 น. Share4
โลโก้บริษัท หัวเว่ย และ แซดทีอี สองยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมของโลกสัญชาติจีน
วอลล์สตรีท เจอร์นัล / เอเอฟพี - รัฐสภาของสหรัฐฯ ส่งคณะกรรมาธิการด้านข่าวกรองลงตรวจสอบว่า บริษัทหัวเว่ย เทคโนโลจีส์ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตอุปกรณ์โครงข่ายโทรคมนาคมชั้นนำของโลกสัญชาติจีน ตลอดจนบริษัทด้านโทรคมนาคมรายอื่นๆ จากแดนมังกร จะเป็นต้นตอนำไปสู่ภัยคุกคามด้านความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกาหรือไม่ ในขณะที่บริษัทเหล่านี้มีความจำนงต้องการจะขยายตลาดและสร้างแบรนด์บนแผ่นดินของสหรัฐฯ
การตรวจสอบปัญหาดังกล่าวโดยคณะกรรมาธิการด้านข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ คราวนี้ นับเป็นการตอกย้ำความพยายามของสหรัฐฯ ที่ต้องการใคร่ครวญอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับภัยคุกคามที่อาจเป็นไปได้ต่อประเทศของพวกเขา โดยเฉพาะจากบริษัทสัญชาติจีนอย่าง หัวเว่ย (Huawei) และ แซดทีอี คอร์ปอเรชัน (ZTE Corporation) ยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์โทรคมนาคมระดับท็อป 5 ของโลก โดยรายแรกเป็นรองเพียง อีริกสัน ของสวีเดนเท่านั้น
เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ได้แสดงความวิตกกังวลร่วมกับบรรดาสมาชิกรัฐสภาว่า การที่บริษัทเหล่านี้เข้ามาขยายกิจการในสหรัฐฯ นั้น อาจกลายเป็นการสร้างฐานที่มั่นให้แก่จีนสำหรับการสืบราชการลับหรือการสอดแนมทางอิเล็กทรอนิกภายในอเมริกาได้
“พวกเราคิดว่า มีเหตุผลอันสมควรที่จะต้องทำการตรวจสอบหาความจริงชนิดเต็มรูปแบบ” ส.ส.ไมค์ โรเจอร์ส สังกัดพรรครีพับลิกัน ประธานคณะกรรมาธิการชุดตรวจสอบดังกล่าว ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล “พวกเราวิตกกังวลต่อความมั่นคงของชาติอย่างยิ่งยวด เกี่ยวกับ หัวเว่ย, แซดทีอี ตลอดจนบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ และพวกเราก็จำเป็นจะต้องทำการสอบสวนอย่างครอบคลุมทุกด้านด้วยการใช้ทรัพยากรบุคคลของพวกเราทั้งหมดในฐานะของคณะกรรมาธิการ”
โรเจอร์ส ระบุว่า ตอนนี้ทางคณะกรรมาธิการได้ลงตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว ซึ่งก็รวมถึงขั้นตอนการสรุปรายงานย่อ และการสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ข่าวกรอง
กระบวนการตรวจสอบจะดูว่า บริษัทจีนจะสามารถจัดหาส่วนประกอบให้แก่ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ได้อย่างไร ตลอดจนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อเมริกันหวั่นเกรงว่า รัฐบาลจีนจะสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้ และแกะรอยโทรศัพท์ หรืออีเมล ตลอดจนส่งคลื่นสัญญาณรบกวน และทำลายระบบการสื่อสาร เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมก็เตือนว่า ยังมีความเป็นไปได้ที่การเข้าถึงเหล่านี้จะกลายเป็นช่องทางสำคัญในการแอบดักฟังโทรศัพท์ หรือขัดขวางการรับส่งอีเมลระหว่างบริษัทคู่แข่งด้านเทคโนโลยีรายอื่นๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วิลเลียม พลัมเมอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายความสัมพันธ์นอกประเทศของหัวเว่ย ระบุว่า อุปกรณ์ของบริษัทเขาได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายโดยบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่มากถึง 45 ราย จาก 50 อันดับแรกทั่วโลก โดยที่ไม่เคยปรากฏเหตุการณ์ที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยเลย
“นี่ไม่เกี่ยวกับหัวเว่ย” เขากล่าว “หัวเว่ยมีความยินดีสำหรับการพิจารณาทบทวนอย่างเปิดเผยและยุติธรรม ต่อความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในระบบเครือข่าย อันมีสาเหตุจากห่วงโซ่อุปทานโลกที่พึ่งพากันและกัน”
ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของจีน แถลงวันนี้ (18) เรียกร้องรัฐบาลสหรัฐฯ อย่าทำให้การค้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง
“การลงทุนของจีนในสหรัฐฯ สามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงาน ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ และเราก็หวังว่า ฝ่ายสหรัฐฯ จะไม่ทำให้การค้ากลายเป็นประเด็นทางการเมือง” หลิว เหว่ยหมิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของแดนมังกร กล่าวต่อผู้สื่อข่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 15
อหังการหัวเว่ย 4G บนเวทีโลก(รายงาน)
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2554 10:27 น.
คำว่าโกอินเตอร์คือคำบรรยายสถานภาพที่เหมาะสมของยักษ์ใหญ่โลกสื่อสารแดนมังกรอย่างหัวเว่ยในนาทีนี้ ถามว่าหัวเว่ยมีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้บริษัทจีนสามารถมีอิทธิพลและบทบาทเป็นผู้เล่นหลักในตลาด 4G และมีแวว"แทนที่"เจ้าตลาดฝั่งตะวันตกอย่างน่าตกใจ หนึ่งในคำตอบคือการพิสูจน์ตัวเองด้วยการปักหลักร่วมพัฒนากับพันธมิตรโอเปอเรเตอร์อย่างใกล้ชิดประเภท "ผูกกันตัวต่อตัว"
ตัวอย่างมนต์ขลังของนโยบายตัวต่อตัวที่หัวเว่ยใช้มัดใจโอเปอเรเตอร์บนเวที 4G อย่างอยู่หมัดคือกรณี "เทเลนอร์ นอร์เวย์" ที่เลือกหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย LTE เพื่อให้เทเลนอร์สามารถทดสอบนานาบริการและแอปพลิเคชัน 4G ที่กรุงออสโลว์ ประเทศนอร์เวย์
หัวเว่ยดึงพนักงานกว่า 120 คน มากกว่า 23 สัญชาติ มาทำงานร่วมกันกับเทเลนอร์พร้อมกับตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมโครงข่ายร่วมกันในชื่อ Joint Innovation Centre (JIC) โดยเช่าเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่จากสำนักงานใหญ่เทเลนอร์ในนอร์เวย์ บนโครงสร้างองค์กรคือการทำงานประกบบุคลากรเทเลนอร์ชนิด"Pair"หรือคู่กัน
จุดนี้น่าสนใจเพราะศูนย์ JIC นี้เป็นศูนย์ความร่วมมือพัฒนาโครงข่าย 4G ร่วมกันระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์ซึ่งมีที่ประเทศนอร์เวย์ประเทศเดียว แถมนอร์เวย์ยังเป็นพื้นที่เดียวที่โครงข่ายหลักของหัวเว่ยถูกติดตั้งแบบยกชุดเนื่องจากพื้นที่อื่นในเทเลนอร์กรุ๊ปก็ยังคงเลือก"อีริคสัน"เช่นในสวีเดนหรือประเทศไทยเอง โดยหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโครงข่าย 4G ให้เทเลนอร์สวีเดน แต่ก็ยังไม่ทิ้งอีริคสันเช่นกัน
จุดนี้มีการคาดว่าหากดีแทคซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์และอีริคสันจะสร้างศูนย์พัฒนาร่วมกัน ก็คงไม่ได้ออกมาในลักษณะการแบ่งปันทรัพยากรและความชำนาญด้านโครงข่ายร่วมกันเช่นนี้ แต่จะเป็นการร่วมกันพัฒนาด้านแอปพลิเคชันมากกว่า
เจ้าหน้าที่ JIC ของหัวเว่ยในเทเลนอร์สำนักงานใหญ่เล่าว่า ศูนย์ JIC นี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ที่ผ่านมาหลังการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์นอร์เวย์เมื่อปี 2009 ในโครงการจัดหาอุปกรณ์ในภาคเรดิโอของเครือข่ายแอลทีอี (LTE radio access) และในส่วนอุปกรณ์หลัก (EPC: Evolved Packet Core) สำหรับการทดสอบเครือข่ายแอลทีอี (LTE: Long Term Evaluation) ที่เมืองออสโล ซึ่งมีระยะเวลาโครงการต่อเนื่อง 6 ปี
หลายโครงการพัฒนาเรียบร้อยในปีที่แล้ว เช่น เทคโนโลยี LTE QoS หรือเทคโนโลยีจัดสรรแบนด์วิดท์ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แพกเกจแพงกว่าสามารถใช้งาน LTE ได้ดีกว่า สำหรับปี 2011 ศูนย์ JIC มีโครงการรออยู่มากกว่า 10 โครงการ ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 10 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือประมาณ 570 ล้านบาท
หัวเว่ยการันตีว่าศูนย์ JIC นี้ทำให้เทเลนอร์นอร์เวย์สามารถลดเงินทุนได้ถึง 30% เพิ่มชั่วโมงใช้งานดาต้าของลูกค้าได้มากกว่า 40% นำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเทเลนอร์มากกว่า 3%
ถามว่าหัวเว่ยได้อะไรกลับมา หัวเว่ยไม่ได้บอกว่าได้ใจอย่างเดียว แต่หัวเว่ยสามารถทดสอบและพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ เพื่อการันตีตัวเองว่าเลือกหัวเว่ยแล้วไม่ผิดหวัง
ประเด็นนี้เองที่ทำให้เทเลนอร์ นอร์เวย์หันมาเลือกใช้โครงข่าย LTE ของหัวเว่ย ซึ่งการันตีว่ามีแบนด์วิดท์รวมถึง 120Mbps แน่นอนว่าหัวเว่ยจะไม่หยุดนิ่งเฉพาะที่นอร์เวย์ แต่กำลังมีแผนขยายขอบเขตงานของศูนย์ JIC ไปที่สวีเดน บังกลาเทศ และปากีสถาน
สำหรับโครงการเปลี่ยนเครือข่ายหรือ Network Swap ซึ่งหัวเว่ยลงมือให้เทเลนอร์นอร์เวย์ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 900 ไซต์ในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนจะขยายเป็น 600 ไซต์ต่อเดือนตลอดช่วงปีนี้ท่ามกลางทีมงานกว่า 50 ทีม ทั้งหมดรวมทั้งการ Swap ที่เป็น Hot Swap (การเปลี่ยนเครือข่ายโดยที่เครือข่ายเก่ายังทำงานอยู่) และ Cold Swap (เปลี่ยนเครือข่ายโดยปิดเครือข่ายก่อน) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะไปได้สวยในเวทีโลก แต่ในเมืองไทย หัวเว่ยก็ยังไม่สามารถครองใจบริษัทในเครือเทเลนอร์อย่างดีแทค โดยแม้หัวเว่ยจะได้รับเลือกให้ ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย 3G เพื่อทดสอบตั้งแต่ปี 2009 แต่ดีแทคก็ตัดสินใจให้อีริคสันมาเป็นซัปพลายเออร์หลักในโครงการ Network Swap อยู่ดี จุดนี้ผู้บริหารดีแทคย้ำว่าภาพความพร้อมของซัปพลายเออร์เครือข่ายในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ซึ่งในประเทศไทย อีริคสันยังทำได้ดีกว่า
นอกจากเทเลนอร์ หัวเว่ยยังติดตั้งโครงข่าย LTE ให้บริษัทเทเลียโซเนอรา (TeliaSonera) ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียและกลุ่มประเทศบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) ซึ่งเป็นคู่แข่งของเทเลนอร์ โดยความคืบหน้าล่าสุดคือการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับบริษัท TELUS เพื่อตั้งศูนย์ JIC ที่แคนาดา เพื่อพัฒนาโซลูชันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบไร้สายและมีสาย ระยะเวลาโครงการคือ 3 ปี โดยหัวเว่ยถือหุ้นในศูนย์ 50%
อย่างนี้ไม่เรียกโกอินเตอร์ แล้วจะเรียกว่าอะไรดี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2554 10:27 น.
คำว่าโกอินเตอร์คือคำบรรยายสถานภาพที่เหมาะสมของยักษ์ใหญ่โลกสื่อสารแดนมังกรอย่างหัวเว่ยในนาทีนี้ ถามว่าหัวเว่ยมีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้บริษัทจีนสามารถมีอิทธิพลและบทบาทเป็นผู้เล่นหลักในตลาด 4G และมีแวว"แทนที่"เจ้าตลาดฝั่งตะวันตกอย่างน่าตกใจ หนึ่งในคำตอบคือการพิสูจน์ตัวเองด้วยการปักหลักร่วมพัฒนากับพันธมิตรโอเปอเรเตอร์อย่างใกล้ชิดประเภท "ผูกกันตัวต่อตัว"
ตัวอย่างมนต์ขลังของนโยบายตัวต่อตัวที่หัวเว่ยใช้มัดใจโอเปอเรเตอร์บนเวที 4G อย่างอยู่หมัดคือกรณี "เทเลนอร์ นอร์เวย์" ที่เลือกหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครือข่าย LTE เพื่อให้เทเลนอร์สามารถทดสอบนานาบริการและแอปพลิเคชัน 4G ที่กรุงออสโลว์ ประเทศนอร์เวย์
หัวเว่ยดึงพนักงานกว่า 120 คน มากกว่า 23 สัญชาติ มาทำงานร่วมกันกับเทเลนอร์พร้อมกับตั้งศูนย์พัฒนานวัตกรรมโครงข่ายร่วมกันในชื่อ Joint Innovation Centre (JIC) โดยเช่าเฟอร์นิเจอร์และพื้นที่จากสำนักงานใหญ่เทเลนอร์ในนอร์เวย์ บนโครงสร้างองค์กรคือการทำงานประกบบุคลากรเทเลนอร์ชนิด"Pair"หรือคู่กัน
จุดนี้น่าสนใจเพราะศูนย์ JIC นี้เป็นศูนย์ความร่วมมือพัฒนาโครงข่าย 4G ร่วมกันระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์ซึ่งมีที่ประเทศนอร์เวย์ประเทศเดียว แถมนอร์เวย์ยังเป็นพื้นที่เดียวที่โครงข่ายหลักของหัวเว่ยถูกติดตั้งแบบยกชุดเนื่องจากพื้นที่อื่นในเทเลนอร์กรุ๊ปก็ยังคงเลือก"อีริคสัน"เช่นในสวีเดนหรือประเทศไทยเอง โดยหัวเว่ยเป็นผู้จัดหาโครงข่าย 4G ให้เทเลนอร์สวีเดน แต่ก็ยังไม่ทิ้งอีริคสันเช่นกัน
จุดนี้มีการคาดว่าหากดีแทคซึ่งเป็นบริษัทในเครือเทเลนอร์และอีริคสันจะสร้างศูนย์พัฒนาร่วมกัน ก็คงไม่ได้ออกมาในลักษณะการแบ่งปันทรัพยากรและความชำนาญด้านโครงข่ายร่วมกันเช่นนี้ แต่จะเป็นการร่วมกันพัฒนาด้านแอปพลิเคชันมากกว่า
เจ้าหน้าที่ JIC ของหัวเว่ยในเทเลนอร์สำนักงานใหญ่เล่าว่า ศูนย์ JIC นี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2010 ที่ผ่านมาหลังการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างหัวเว่ยและเทเลนอร์นอร์เวย์เมื่อปี 2009 ในโครงการจัดหาอุปกรณ์ในภาคเรดิโอของเครือข่ายแอลทีอี (LTE radio access) และในส่วนอุปกรณ์หลัก (EPC: Evolved Packet Core) สำหรับการทดสอบเครือข่ายแอลทีอี (LTE: Long Term Evaluation) ที่เมืองออสโล ซึ่งมีระยะเวลาโครงการต่อเนื่อง 6 ปี
หลายโครงการพัฒนาเรียบร้อยในปีที่แล้ว เช่น เทคโนโลยี LTE QoS หรือเทคโนโลยีจัดสรรแบนด์วิดท์ตามคุณภาพที่กำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้แพกเกจแพงกว่าสามารถใช้งาน LTE ได้ดีกว่า สำหรับปี 2011 ศูนย์ JIC มีโครงการรออยู่มากกว่า 10 โครงการ ซึ่งใช้งบประมาณมากกว่า 10 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือประมาณ 570 ล้านบาท
หัวเว่ยการันตีว่าศูนย์ JIC นี้ทำให้เทเลนอร์นอร์เวย์สามารถลดเงินทุนได้ถึง 30% เพิ่มชั่วโมงใช้งานดาต้าของลูกค้าได้มากกว่า 40% นำไปสู่การเพิ่มรายได้ของเทเลนอร์มากกว่า 3%
ถามว่าหัวเว่ยได้อะไรกลับมา หัวเว่ยไม่ได้บอกว่าได้ใจอย่างเดียว แต่หัวเว่ยสามารถทดสอบและพิสูจน์ตัวเองได้ว่าเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ เพื่อการันตีตัวเองว่าเลือกหัวเว่ยแล้วไม่ผิดหวัง
ประเด็นนี้เองที่ทำให้เทเลนอร์ นอร์เวย์หันมาเลือกใช้โครงข่าย LTE ของหัวเว่ย ซึ่งการันตีว่ามีแบนด์วิดท์รวมถึง 120Mbps แน่นอนว่าหัวเว่ยจะไม่หยุดนิ่งเฉพาะที่นอร์เวย์ แต่กำลังมีแผนขยายขอบเขตงานของศูนย์ JIC ไปที่สวีเดน บังกลาเทศ และปากีสถาน
สำหรับโครงการเปลี่ยนเครือข่ายหรือ Network Swap ซึ่งหัวเว่ยลงมือให้เทเลนอร์นอร์เวย์ ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จ 900 ไซต์ในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนจะขยายเป็น 600 ไซต์ต่อเดือนตลอดช่วงปีนี้ท่ามกลางทีมงานกว่า 50 ทีม ทั้งหมดรวมทั้งการ Swap ที่เป็น Hot Swap (การเปลี่ยนเครือข่ายโดยที่เครือข่ายเก่ายังทำงานอยู่) และ Cold Swap (เปลี่ยนเครือข่ายโดยปิดเครือข่ายก่อน) คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนตุลาคมนี้
อย่างไรก็ตาม แม้จะไปได้สวยในเวทีโลก แต่ในเมืองไทย หัวเว่ยก็ยังไม่สามารถครองใจบริษัทในเครือเทเลนอร์อย่างดีแทค โดยแม้หัวเว่ยจะได้รับเลือกให้ ดำเนินการติดตั้งโครงข่าย 3G เพื่อทดสอบตั้งแต่ปี 2009 แต่ดีแทคก็ตัดสินใจให้อีริคสันมาเป็นซัปพลายเออร์หลักในโครงการ Network Swap อยู่ดี จุดนี้ผู้บริหารดีแทคย้ำว่าภาพความพร้อมของซัปพลายเออร์เครือข่ายในแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ซึ่งในประเทศไทย อีริคสันยังทำได้ดีกว่า
นอกจากเทเลนอร์ หัวเว่ยยังติดตั้งโครงข่าย LTE ให้บริษัทเทเลียโซเนอรา (TeliaSonera) ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียและกลุ่มประเทศบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) ซึ่งเป็นคู่แข่งของเทเลนอร์ โดยความคืบหน้าล่าสุดคือการเซ็นเอ็มโอยูร่วมกับบริษัท TELUS เพื่อตั้งศูนย์ JIC ที่แคนาดา เพื่อพัฒนาโซลูชันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งแบบไร้สายและมีสาย ระยะเวลาโครงการคือ 3 ปี โดยหัวเว่ยถือหุ้นในศูนย์ 50%
อย่างนี้ไม่เรียกโกอินเตอร์ แล้วจะเรียกว่าอะไรดี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 16
หยาง หัว แห่งหัวเว่ย ปั้นไทยสู่ฮับ"เอ็นเตอร์ไพรส์"
โดย : ปานฉัตร สินสุข , วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 13:00
"หยาง หัว" ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่
เราเน้นมาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเห็นว่ารูมของตลาดยังไปได้อีกไกล
"กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์เพิ่งเปิดตัว 6-7 เดือนที่ผ่านมา การที่เราเน้นมาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเห็นว่ารูมของตลาดยังไปได้อีกไกล แต่ต้องยอมรับว่าปีนี้ หัวเว่ยไม่ได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตเอาไว้ ขอแต่เพียงสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด สร้างการรับรู้ของคู่ค้า สร้างความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ในไทย นี้คือวัตถุประสงค์หลักของเรา"
"หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์" เป็น 1 ใน 4 กลุ่มธุรกิจหลักของหัวเว่ย ซึ่งปีที่ผ่านมา กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ทั่วโลกทำรายได้มากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัทแม่ ซึ่งการรุกเข้ามาทำตลาดไทยก็เพราะต้องการฉีกตัวเองจากการเป็นผู้ทำตลาดรับเหมาติดตั้งอุปกรณ์โครงข่าย หรือโครงการเฉพาะของผู้ประกอบการโทรคมนาคม ที่เรียกว่า "เทลโก้"
ดังนั้น การเข้ามาตลาดที่มีผู้เล่นหลักแย่งแชร์เค้กอยู่ทั้งซิสโก้ และโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์ก อาจเป็นโจทย์หินของหัวเว่ย ภายใต้การทำตลาดของ "หยาง หัว" ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ที่ต้องการปั้นให้ไทยเป็นฮับในภูมิภาคนี้ โดยแต่งตั้งบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักด้านโซลูชั่นส์เอ็นเตอร์ไพรส์ของอย่างเป็นทางการ
ผนึกพาร์ทเนอร์สยายปีกธุรกิจ
นายหยาง กล่าวว่า ปัจจุบัน เครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ครอบคลุมกว่า 1,000 บริษัทในประเทศจีน และช่วงต้นปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เริ่มดำเนินการขยายเครือข่ายนี้ออกไปให้ครอบคลุมอีกหลายประเทศ และภูมิภาคทั่วโลก ทั้งตะวันออกกลาง รัสเซีย และบราซิล
เป้าหมายการดำเนินงานของกลุ่ม คือการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าองค์กร และหน่วยงานรัฐบาล จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์โซลูชั่น ซึ่งยอมรับว่า ความถนัดเดิมของหัวเว่ยในการทำตลาดไทย คือการรับเหมางานภาครัฐ ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ บริการโทรคมนาคมเกือบ 100%
หากเมื่อมองตามเทรนด์ของตลาด บริการด้านโซลูชั่น ครบวงจรให้แก่ลูกค้าองค์กรในไทย ยังมีโอกาสเติบโตได้มาก โดยบริษัทมีสำนักงานใหญ่ในไทยที่ถือเป็นศูนย์รวมของการสั่งงานประจำภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะส่วนของงานวิศวกรรม และอาร์แอนด์ดี
ปีนี้หวังแค่สร้างสัมพันธ์กับคู่ค้า
"กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์เพิ่งเปิดตัวได้ 6-7 เดือนที่ผ่านมา การที่เราเน้นมาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเห็นว่ารูมของตลาดยังไปได้อีกไกล แต่ต้องยอมรับว่าปีนี้ หัวเว่ยไม่ได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตเอาไว้ ขอแต่เพียงสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด สร้างการรับรู้ของคู่ค้า สร้างความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ในไทย นี้คือวัตถุประสงค์หลักของเรา" เขา กล่าว
ทั้งนี้ การให้บริการของหัวเว่ย ด้านกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ไม่เพียงเฉพาะการให้บริการครอบคลุมทั้งบริการสาธารณูปโภค การเงิน พลังงาน ระบบขนส่ง แต่ปี 2553 หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับลูกค้าในอุตสาหกรรมทั่วโลกเป็นมูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ และรายได้รวมจากยอดขายทั่วโลกของกลุ่มก็ทำได้กว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นเครื่องพิสูจน์ได้แล้วว่า ตลาดนี้ยังสามารถสร้างรายได้ และความต้องการมีมากขึ้นเรื่อยๆ
ธุรกิจของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มธุรกิจย่อย ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ และบริการ ได้แก่ กลุ่มไอพี (Internet Portocal), ยูซีแอนด์ซี (Unified Communication and Collaboration), ไอที (Information Technology), อินดัสตรี โซลูชั่นส์ และบริการ โดยสำนักงานของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ทั่วโลก จะมีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเช่นนี้ทุกสาขา เพื่อให้การทำงานและประสานงานสอดคล้องและราบรื่น
เอกซเรย์บริการโซลูชั่นครบวงจร
เขาเล่าว่า หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ มีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่พร้อมเจาะฐานลูกค้าครบทุกเซ็กเมนท์อุตสาหกรรม สำหรับโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายจะให้บริการอีเธอร์เน็ตสวิตช์ เร้าท์เตอร์ ระบบควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย โซลูชั่นด้านความปลอดภัย และบริการออกแบบและติดตั้งเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ระบบติดต่อสื่อสารจะมีโซลูชั่นสำหรับศูนย์บริการทางโทรศัพท์ต่างๆ ระบบยูนิไฟด์ คอมมูนิเคชั่น และเทคโนโลยีประชุมทางไกลผ่านวีดิโอ
นอกจากนี้ ยังให้บริการครอบคลุมไปถึงศูนย์ข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ คลังเก็บข้อมูล โซลูชั่นระบบศูนย์ข้อมูล อีเธอร์เน็ตสวิตช์ เร้าท์เตอร์ และอุปกรณ์ศูนย์ควบคุม บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง บริการวางระบบคลาวด์ในระดับ IaaS (Infrastructure as a Service), PaaS (Platform as a Service) และ SaaS (Software as a Service)
ส่วนแอพพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจจะเป็นโซลูชั่นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้เข้ากับระบบการทำงานของลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งระบบอีกอฟเวิร์นเมนท์ อีซิตี้ อีเอ็ดดูเคชั่น ระบบจัดการแท่นขุดเจาะน้ำมัน ระบบบริหารการจ่ายไฟฟ้า
"ผมเชื่อว่าวันนี้เรามีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้ามารุกตลาดกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ จากที่เดิมเรามุ่งแต่ทำตลาดเฉพาะกลุ่มงานประมูล รับติดตั้งโครงข่าย สถานีฐานให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ซึ่งสิ่งที่หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ มองคือความเป็นคอนซูเมอร์ เซ็นทริกซ์ ดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก บริการโซลูชั่นทุกประเภทจะดูให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าเป็นสำคัญด้วย"
ยืนยันทำธุรกิจในไทยต่อเนื่อง
นายหยาง กล่าวว่า แม้สถานการณ์น้ำท่วมหนักขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อโรงงานขนาดใหญ่ที่อยู่ใน 7 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ โรจนะ สหรัตนนคร ไฮเทค บางปะอิน นวนคร บางกะดี และแฟคตอรี่แลนด์ แต่บริษัทยืนยันจะลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทยต่อไป เพราะไทยยังมีบรรยากาศที่น่าลงทุน
ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่หัวเว่ยเข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2542 รวมจนถึงวันนี้ 12 ปี ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นไอซีทีสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ บริษัทสามารถให้บริการเพื่อสนับสนุนการใช้งาน ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเหล่านี้ได้ตลอดอายุการใช้งาน โดยลูกค้าจะขอคำปรึกษาและความช่วยเหลือทางเทคนิคได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง
"เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญจำนวนกว่า 13,000 คนของหัวเว่ย ใน 130 ประเทศ และให้ความสำคัญกับงานส่วนวิศวกรรม และอาร์แอนด์ดี ซึ่งเราให้ความสำคัญกับทั้ง 2 ส่วนนี้อย่างมาก ซึ่งให้งบเงินลงทุนกับอาร์แอนด์ดีกว่า 10% ของรายได้กลุ่ม" นายหยาง ให้คำยืนยัน
โดย : ปานฉัตร สินสุข , วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 13:00
"หยาง หัว" ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่
เราเน้นมาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเห็นว่ารูมของตลาดยังไปได้อีกไกล
"กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์เพิ่งเปิดตัว 6-7 เดือนที่ผ่านมา การที่เราเน้นมาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเห็นว่ารูมของตลาดยังไปได้อีกไกล แต่ต้องยอมรับว่าปีนี้ หัวเว่ยไม่ได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตเอาไว้ ขอแต่เพียงสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด สร้างการรับรู้ของคู่ค้า สร้างความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ในไทย นี้คือวัตถุประสงค์หลักของเรา"
"หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์" เป็น 1 ใน 4 กลุ่มธุรกิจหลักของหัวเว่ย ซึ่งปีที่ผ่านมา กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ทั่วโลกทำรายได้มากกว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัทแม่ ซึ่งการรุกเข้ามาทำตลาดไทยก็เพราะต้องการฉีกตัวเองจากการเป็นผู้ทำตลาดรับเหมาติดตั้งอุปกรณ์โครงข่าย หรือโครงการเฉพาะของผู้ประกอบการโทรคมนาคม ที่เรียกว่า "เทลโก้"
ดังนั้น การเข้ามาตลาดที่มีผู้เล่นหลักแย่งแชร์เค้กอยู่ทั้งซิสโก้ และโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์ก อาจเป็นโจทย์หินของหัวเว่ย ภายใต้การทำตลาดของ "หยาง หัว" ประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ที่ต้องการปั้นให้ไทยเป็นฮับในภูมิภาคนี้ โดยแต่งตั้งบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักด้านโซลูชั่นส์เอ็นเตอร์ไพรส์ของอย่างเป็นทางการ
ผนึกพาร์ทเนอร์สยายปีกธุรกิจ
นายหยาง กล่าวว่า ปัจจุบัน เครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ครอบคลุมกว่า 1,000 บริษัทในประเทศจีน และช่วงต้นปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เริ่มดำเนินการขยายเครือข่ายนี้ออกไปให้ครอบคลุมอีกหลายประเทศ และภูมิภาคทั่วโลก ทั้งตะวันออกกลาง รัสเซีย และบราซิล
เป้าหมายการดำเนินงานของกลุ่ม คือการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าองค์กร และหน่วยงานรัฐบาล จากการนำเสนอผลิตภัณฑ์โซลูชั่น ซึ่งยอมรับว่า ความถนัดเดิมของหัวเว่ยในการทำตลาดไทย คือการรับเหมางานภาครัฐ ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือ บริการโทรคมนาคมเกือบ 100%
หากเมื่อมองตามเทรนด์ของตลาด บริการด้านโซลูชั่น ครบวงจรให้แก่ลูกค้าองค์กรในไทย ยังมีโอกาสเติบโตได้มาก โดยบริษัทมีสำนักงานใหญ่ในไทยที่ถือเป็นศูนย์รวมของการสั่งงานประจำภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะส่วนของงานวิศวกรรม และอาร์แอนด์ดี
ปีนี้หวังแค่สร้างสัมพันธ์กับคู่ค้า
"กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์เพิ่งเปิดตัวได้ 6-7 เดือนที่ผ่านมา การที่เราเน้นมาทำตลาดในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นฮับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเห็นว่ารูมของตลาดยังไปได้อีกไกล แต่ต้องยอมรับว่าปีนี้ หัวเว่ยไม่ได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตเอาไว้ ขอแต่เพียงสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด สร้างการรับรู้ของคู่ค้า สร้างความสัมพันธ์กับพาร์ทเนอร์ในไทย นี้คือวัตถุประสงค์หลักของเรา" เขา กล่าว
ทั้งนี้ การให้บริการของหัวเว่ย ด้านกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ไม่เพียงเฉพาะการให้บริการครอบคลุมทั้งบริการสาธารณูปโภค การเงิน พลังงาน ระบบขนส่ง แต่ปี 2553 หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับลูกค้าในอุตสาหกรรมทั่วโลกเป็นมูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ และรายได้รวมจากยอดขายทั่วโลกของกลุ่มก็ทำได้กว่า 4,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นเครื่องพิสูจน์ได้แล้วว่า ตลาดนี้ยังสามารถสร้างรายได้ และความต้องการมีมากขึ้นเรื่อยๆ
ธุรกิจของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มธุรกิจย่อย ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ และบริการ ได้แก่ กลุ่มไอพี (Internet Portocal), ยูซีแอนด์ซี (Unified Communication and Collaboration), ไอที (Information Technology), อินดัสตรี โซลูชั่นส์ และบริการ โดยสำนักงานของหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ทั่วโลก จะมีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเช่นนี้ทุกสาขา เพื่อให้การทำงานและประสานงานสอดคล้องและราบรื่น
เอกซเรย์บริการโซลูชั่นครบวงจร
เขาเล่าว่า หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ มีผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นที่พร้อมเจาะฐานลูกค้าครบทุกเซ็กเมนท์อุตสาหกรรม สำหรับโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายจะให้บริการอีเธอร์เน็ตสวิตช์ เร้าท์เตอร์ ระบบควบคุมการเข้าถึงเครือข่าย โซลูชั่นด้านความปลอดภัย และบริการออกแบบและติดตั้งเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ระบบติดต่อสื่อสารจะมีโซลูชั่นสำหรับศูนย์บริการทางโทรศัพท์ต่างๆ ระบบยูนิไฟด์ คอมมูนิเคชั่น และเทคโนโลยีประชุมทางไกลผ่านวีดิโอ
นอกจากนี้ ยังให้บริการครอบคลุมไปถึงศูนย์ข้อมูลเซิร์ฟเวอร์ คลังเก็บข้อมูล โซลูชั่นระบบศูนย์ข้อมูล อีเธอร์เน็ตสวิตช์ เร้าท์เตอร์ และอุปกรณ์ศูนย์ควบคุม บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง บริการวางระบบคลาวด์ในระดับ IaaS (Infrastructure as a Service), PaaS (Platform as a Service) และ SaaS (Software as a Service)
ส่วนแอพพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจจะเป็นโซลูชั่นที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้เข้ากับระบบการทำงานของลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งระบบอีกอฟเวิร์นเมนท์ อีซิตี้ อีเอ็ดดูเคชั่น ระบบจัดการแท่นขุดเจาะน้ำมัน ระบบบริหารการจ่ายไฟฟ้า
"ผมเชื่อว่าวันนี้เรามีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้ามารุกตลาดกลุ่มเอ็นเตอร์ไพรส์ จากที่เดิมเรามุ่งแต่ทำตลาดเฉพาะกลุ่มงานประมูล รับติดตั้งโครงข่าย สถานีฐานให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ซึ่งสิ่งที่หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ มองคือความเป็นคอนซูเมอร์ เซ็นทริกซ์ ดูความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก บริการโซลูชั่นทุกประเภทจะดูให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้าเป็นสำคัญด้วย"
ยืนยันทำธุรกิจในไทยต่อเนื่อง
นายหยาง กล่าวว่า แม้สถานการณ์น้ำท่วมหนักขณะนี้ จะส่งผลกระทบต่อโรงงานขนาดใหญ่ที่อยู่ใน 7 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ โรจนะ สหรัตนนคร ไฮเทค บางปะอิน นวนคร บางกะดี และแฟคตอรี่แลนด์ แต่บริษัทยืนยันจะลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทยต่อไป เพราะไทยยังมีบรรยากาศที่น่าลงทุน
ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่หัวเว่ยเข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2542 รวมจนถึงวันนี้ 12 ปี ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นไอซีทีสำหรับกลุ่มลูกค้าธุรกิจ บริษัทสามารถให้บริการเพื่อสนับสนุนการใช้งาน ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นเหล่านี้ได้ตลอดอายุการใช้งาน โดยลูกค้าจะขอคำปรึกษาและความช่วยเหลือทางเทคนิคได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง
"เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญจำนวนกว่า 13,000 คนของหัวเว่ย ใน 130 ประเทศ และให้ความสำคัญกับงานส่วนวิศวกรรม และอาร์แอนด์ดี ซึ่งเราให้ความสำคัญกับทั้ง 2 ส่วนนี้อย่างมาก ซึ่งให้งบเงินลงทุนกับอาร์แอนด์ดีกว่า 10% ของรายได้กลุ่ม" นายหยาง ให้คำยืนยัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 17
Huawei to Provide Voice & IP Network Renovation and Managed Services to Telenor Global Services in 10 Countries for Five Years
[Oslo, Norway, 16, September 2011]: Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider, today announced that it has been selected by Telenor Global Services (TGS), a leading provider of quality global interconnection services, as the sole partner for its Voice & IP network renovation across 10 countries. Huawei will provide TGS with a comprehensive One Network and IP Core solution and managed services for five years to countries including, Norway, Singapore, Hong Kong (China), United Kingdom, Germany, the Netherlands, Pakistan, Bangladesh, Thailand and Malaysia.
Huawei's One Network and IP Core solution will enable TGS to effectively deliver advanced voice, video, data and IP services to 170 international operators by building a future-proof IPX ready network, which is a high capacity and high interconnection quality security network that is compatible with TDM networks. In addition to developing the new IP connectivity network solution for TGS, Huawei's integrated managed services - including network prevention, planned, and corrective maintenance services will maintain the entire network, allowing TGS to focus on ensuring optimal network quality for its customers.
"We are proud that TGS has selected Huawei to development and maintain its IP network across 10 countries," said Jay Zhang, vice president of Huawei's Telenor business unit. "This partnership demonstrates our ability to seamlessly integrate our managed services offering and deliver customized and flexible solutions that meet the evolving needs of our customers and create maximum value for their business."
Huawei has provided more than 5,000 network performance management projects to more than 395 operators in 165 countries. Huawei's One Network solution for future-proof interconnection has been adopted by more than 73 operators. Huawei is the fastest growing managed services provider, with more than 230 contracts serving operators in more than 60 countries.
ที่มา : http://www.huawei.com/ilink/en/about-hu ... /HW_094147
[Oslo, Norway, 16, September 2011]: Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider, today announced that it has been selected by Telenor Global Services (TGS), a leading provider of quality global interconnection services, as the sole partner for its Voice & IP network renovation across 10 countries. Huawei will provide TGS with a comprehensive One Network and IP Core solution and managed services for five years to countries including, Norway, Singapore, Hong Kong (China), United Kingdom, Germany, the Netherlands, Pakistan, Bangladesh, Thailand and Malaysia.
Huawei's One Network and IP Core solution will enable TGS to effectively deliver advanced voice, video, data and IP services to 170 international operators by building a future-proof IPX ready network, which is a high capacity and high interconnection quality security network that is compatible with TDM networks. In addition to developing the new IP connectivity network solution for TGS, Huawei's integrated managed services - including network prevention, planned, and corrective maintenance services will maintain the entire network, allowing TGS to focus on ensuring optimal network quality for its customers.
"We are proud that TGS has selected Huawei to development and maintain its IP network across 10 countries," said Jay Zhang, vice president of Huawei's Telenor business unit. "This partnership demonstrates our ability to seamlessly integrate our managed services offering and deliver customized and flexible solutions that meet the evolving needs of our customers and create maximum value for their business."
Huawei has provided more than 5,000 network performance management projects to more than 395 operators in 165 countries. Huawei's One Network solution for future-proof interconnection has been adopted by more than 73 operators. Huawei is the fastest growing managed services provider, with more than 230 contracts serving operators in more than 60 countries.
ที่มา : http://www.huawei.com/ilink/en/about-hu ... /HW_094147
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 18
Hellenic Telecommunications (OTE) Successfully Transformed to an IMS Based Next Generation Network Provided by Huawei
Athens, Greece, Oct 8, 2011 – Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider, announced that OTE, the largest telecommunications provider in the Greek market and one of the leading telecom Groups in South-eastern Europe, has successfully transformed its softswitch based network to an IMS (IP Multimedia Subsystem) based Next Generation Network provided by Huawei in Greece.
The launched IMS network, which covers all of the country including the capital city Athens, is based on Huawei cutting edge and mature IMS solution and enables OTE to provide not only traditional voice services but also enriched communication features (e.g. Web based self care portal, multimedia services, instant messaging and presence based services).
The launched IMS network has characteristics of high-reliability, high-quality and high-efficiency. The high-reliability is based on the geographic redundancy technology, so there is no single failure in the network; the high-quality is based on the IP Voice Quality Enhancement technology, so the TDM (Time Division Multiplexing) alike voice experience is ensured; the high-efficiency is benefited from Huawei special operation and maintenance tools and Huawei unified platform.
The launched IMS network offers as a first phase SIP Trunking, IP Centrex and Unified Communication application for Enterprise market as well as VoBB (Voice over Broadband), Messaging and Self-Care Portal application for Residential market to over 500K users.
The Core Network President of Huawei CEE & Nordic region Dr. ZhangQin said “We are pleased to support OTE to deploy an IMS network. OTE has an impressive subscriber base and IMS can form the basis for offering the advanced services that the end users require. Huawei is committed to support OTE in always launching the best services"
About Hellenic Telecommunications Organization ( OTE )
ΟΤΕ is the largest telecommunications provider in the Greek market, and, together with its subsidiaries, forms one of the leading telecom groups in Southeastern Europe. OTE is among the five largest listed companies, with respect to capitalization, in the Athens Stock Exchange. OTE is also listed in London Stock Exchange (LSE). OTE’s main shareholders are Deutsche Telekom (40%) and the Greek State (10%). The Group offers a full range of products and services, from broadband services, fixed and mobile telephony, to high-speed data communications and leased lines services. In addition, OTE Group in Greece is involved in a range of activities, notably satellite communications, real-estate and professional training. At present, OTE companies employ over 30,000 people in four countries.
About Huawei
Huawei is a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider. Through our dedication to customer-centric innovation and strong partnerships, we have established end-to-end advantages in telecom networks, devices and cloud computing. We are committed to creating maximum value for telecom operators, enterprises and consumers by providing competitive solutions and services. Our products and solutions have been deployed in over 140 countries, serving more than one third of the world’s population. For more information, visit Huawei online: www.huawei.com
ที่มา : http://www.huawei.com/ilink/en/about-hu ... /HW_103252
Athens, Greece, Oct 8, 2011 – Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider, announced that OTE, the largest telecommunications provider in the Greek market and one of the leading telecom Groups in South-eastern Europe, has successfully transformed its softswitch based network to an IMS (IP Multimedia Subsystem) based Next Generation Network provided by Huawei in Greece.
The launched IMS network, which covers all of the country including the capital city Athens, is based on Huawei cutting edge and mature IMS solution and enables OTE to provide not only traditional voice services but also enriched communication features (e.g. Web based self care portal, multimedia services, instant messaging and presence based services).
The launched IMS network has characteristics of high-reliability, high-quality and high-efficiency. The high-reliability is based on the geographic redundancy technology, so there is no single failure in the network; the high-quality is based on the IP Voice Quality Enhancement technology, so the TDM (Time Division Multiplexing) alike voice experience is ensured; the high-efficiency is benefited from Huawei special operation and maintenance tools and Huawei unified platform.
The launched IMS network offers as a first phase SIP Trunking, IP Centrex and Unified Communication application for Enterprise market as well as VoBB (Voice over Broadband), Messaging and Self-Care Portal application for Residential market to over 500K users.
The Core Network President of Huawei CEE & Nordic region Dr. ZhangQin said “We are pleased to support OTE to deploy an IMS network. OTE has an impressive subscriber base and IMS can form the basis for offering the advanced services that the end users require. Huawei is committed to support OTE in always launching the best services"
About Hellenic Telecommunications Organization ( OTE )
ΟΤΕ is the largest telecommunications provider in the Greek market, and, together with its subsidiaries, forms one of the leading telecom groups in Southeastern Europe. OTE is among the five largest listed companies, with respect to capitalization, in the Athens Stock Exchange. OTE is also listed in London Stock Exchange (LSE). OTE’s main shareholders are Deutsche Telekom (40%) and the Greek State (10%). The Group offers a full range of products and services, from broadband services, fixed and mobile telephony, to high-speed data communications and leased lines services. In addition, OTE Group in Greece is involved in a range of activities, notably satellite communications, real-estate and professional training. At present, OTE companies employ over 30,000 people in four countries.
About Huawei
Huawei is a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider. Through our dedication to customer-centric innovation and strong partnerships, we have established end-to-end advantages in telecom networks, devices and cloud computing. We are committed to creating maximum value for telecom operators, enterprises and consumers by providing competitive solutions and services. Our products and solutions have been deployed in over 140 countries, serving more than one third of the world’s population. For more information, visit Huawei online: www.huawei.com
ที่มา : http://www.huawei.com/ilink/en/about-hu ... /HW_103252
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 19
"Formed in an emerging market,
Huawei is now a global company working in over 140 countries employing 120,000+ employees.
Discover what you may not know about us.
Huawei is now a global company working in over 140 countries employing 120,000+ employees.
Discover what you may not know about us.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 21
Huawei Innovation Webinar #1 Pt 2
- Huawei Enterprise expects USD 7 billion revenue by 2012
Huawei Innovation Webinar #1 Pt 7
- Rising demand for ICT services in emerging & developed
- Huawei Enterprise expects USD 7 billion revenue by 2012
Huawei Innovation Webinar #1 Pt 7
- Rising demand for ICT services in emerging & developed
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 274
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 22
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เปิดโลกทัศน์ดีสำหรับคนไม่ค่อยติดตาม IT แบบผม
ผมมี router หัวเว่ย เก่าๆตัวหนึ่ง แถมมาตอนติดตั้ง ADSL ของ true ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ WIFI กะจะขายทิ้ง พออ่านประวัติแบบนี้เก็บไว้เป็นที่ระลึกดีกว่า
ได้ยินมาว่าพวกบริษัทฝรั่งที่จะเข้าไปตั้งฐานการผลิตในจีน R&D ต้องแข็งพอ เพราะภายใน 4-5 ปีหลังเข้าไปก็จะมีเทคโนโลยีแบบเดียวกัน แต่ไปโผล่ที่โรงงานเจ้าถิ่น ดังนั้นถ้าพัฒนาถึบหนีไปไม่ทัน ก็เหมือนเอาเทคโนโลยีไปให้เขาฟรีๆ ส่วนของไทย เคยได้ยินผ่านเพื่อนทำงานโรงงานญี่ปุ่น เขาบอกกว่าพวกคนญี่ปุ่นชอบมาตั้งโรงงานในไทย เพราะคนไทยนิสัยดี ตั้งโรงงานมากี่ปีก็ไม่เคยขโมยเทคโนโลยีเขาไปผลิตของมาขายแข่งเลย
... อันนี้ฟังแล้วไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี
ผมมี router หัวเว่ย เก่าๆตัวหนึ่ง แถมมาตอนติดตั้ง ADSL ของ true ตอนนี้เปลี่ยนมาใช้ WIFI กะจะขายทิ้ง พออ่านประวัติแบบนี้เก็บไว้เป็นที่ระลึกดีกว่า
ได้ยินมาว่าพวกบริษัทฝรั่งที่จะเข้าไปตั้งฐานการผลิตในจีน R&D ต้องแข็งพอ เพราะภายใน 4-5 ปีหลังเข้าไปก็จะมีเทคโนโลยีแบบเดียวกัน แต่ไปโผล่ที่โรงงานเจ้าถิ่น ดังนั้นถ้าพัฒนาถึบหนีไปไม่ทัน ก็เหมือนเอาเทคโนโลยีไปให้เขาฟรีๆ ส่วนของไทย เคยได้ยินผ่านเพื่อนทำงานโรงงานญี่ปุ่น เขาบอกกว่าพวกคนญี่ปุ่นชอบมาตั้งโรงงานในไทย เพราะคนไทยนิสัยดี ตั้งโรงงานมากี่ปีก็ไม่เคยขโมยเทคโนโลยีเขาไปผลิตของมาขายแข่งเลย
... อันนี้ฟังแล้วไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดี
Kritsada
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 23
อุตสาหกรรม IT ทั่วโลกย้ายฐานการลงทุน ณ มหานครฉงชิ่ง
ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- พฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554 14:55:24 น.
อุตสาหกรรม IT ทั่วโลกมีการย้ายฐานการลงทุนหลักประมาณ 3 ครั้ง โดยเมื่อ 20 ปีก่อน ลงทุน ณ เกาะไต้หวัน และ 10 ปีก่อน ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ และในปัจจุบัน ณ มหานครฉงชิ่ง
บริษัท HUAWEI INTERNATIONAL INVESTMENT ซึ่งเป็นบริษัทที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรม IT ทั่วโลกได้ลงทุนในมหานครฉงชิ่งถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ นาย ZhangJingYi ประธานบริษัท ฯ กล่าวว่า การลงทุนในครั้งนี้มุ่งไปที่อุตสาหกรรม IT และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นหลักำ ได้แก่การลงทุนในขอบข่ายเทคโนโลยีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา Cloud Computing การแพทย์ การศึกษา โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมบริการด้าน IT อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเนื่องจากการลงทุนของบริษัท IT ยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัท HP บริษัท Foxconn บริษัท Quanta และบริษัท Inventec ทำให้ดึงดูดบริษัท IT อื่น ๆ ลงทุนในมหานครฉงชิ่งเพิ่มอีกหลายร้อยบริษัท รวมทั้งการเปิดตัวของ CHONGQING XIYONG MICRO-ELECTRONICS INDUSTRIAL PARK ซึ่งคาดว่าในอนาคตความต้องการด้านอุตสาหกรรมบริการจะยังมีอีกมาก
อุตสาหกรรม IT ทั่วโลกมีการโยกย้ายฐานการลงทุนประมาณ 3 ครั้ง อุตสาหกรรม IT อเมริกาย้ายฐานการลงทุนไปยังไต้หวันเมื่อปี 1990 ส่งผลให้เศรษฐกิจของไต้หวันได้รับการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาอุตสาหกรรม IT ไต้หวันย้ายฐานการลงทุนมายังมณฑลชายฝั่งทะเล โดยมีศูนย์กลาง ที่ มหานครเซี่ยงไฮ้ การลงทุนของบริษัท Acer บริษัท Quanta และอื่น ๆ ควบคู่กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน ทำให้มหานครเซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศจีน ทั่วโลกจับตามองการพัฒนาของมหานครเซี่ยงไฮ้ในทันที ปี 2010 บริษัท HP บริษัท Foxconn บริษัท Quanta และบริษัท Inventec ได้มาลงทุนในเขตซีหย่ง มหานครฉงชิ่ง นั่นแสดงให้เห็นถึงการโยกย้ายฐานอุตสาหกรรม IT ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจะทำให้ามหานครฉงชิ่งกับฐานการผลิตคอมพิวเตอร์พกพาของโลกำ เป็นจริง
ปัจจุบัน มหานครฉงชิ่งอยู่ในช่วงโอกาสทองแห่งประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนสร้างผลกำไร
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ China Daily และ Hua Xi Du Shi Bao
(http://www.chinadaily.com.cn/) (http://www.chinadaily.com.cn/) วันที่ 2 สิงหาคม 2554
ที่มา: http://www.depthai.go.th
ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- พฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554 14:55:24 น.
อุตสาหกรรม IT ทั่วโลกมีการย้ายฐานการลงทุนหลักประมาณ 3 ครั้ง โดยเมื่อ 20 ปีก่อน ลงทุน ณ เกาะไต้หวัน และ 10 ปีก่อน ณ มหานครเซี่ยงไฮ้ และในปัจจุบัน ณ มหานครฉงชิ่ง
บริษัท HUAWEI INTERNATIONAL INVESTMENT ซึ่งเป็นบริษัทที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรม IT ทั่วโลกได้ลงทุนในมหานครฉงชิ่งถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐ นาย ZhangJingYi ประธานบริษัท ฯ กล่าวว่า การลงทุนในครั้งนี้มุ่งไปที่อุตสาหกรรม IT และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นหลักำ ได้แก่การลงทุนในขอบข่ายเทคโนโลยีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา Cloud Computing การแพทย์ การศึกษา โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมบริการด้าน IT อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเนื่องจากการลงทุนของบริษัท IT ยักษ์ใหญ่ เช่น บริษัท HP บริษัท Foxconn บริษัท Quanta และบริษัท Inventec ทำให้ดึงดูดบริษัท IT อื่น ๆ ลงทุนในมหานครฉงชิ่งเพิ่มอีกหลายร้อยบริษัท รวมทั้งการเปิดตัวของ CHONGQING XIYONG MICRO-ELECTRONICS INDUSTRIAL PARK ซึ่งคาดว่าในอนาคตความต้องการด้านอุตสาหกรรมบริการจะยังมีอีกมาก
อุตสาหกรรม IT ทั่วโลกมีการโยกย้ายฐานการลงทุนประมาณ 3 ครั้ง อุตสาหกรรม IT อเมริกาย้ายฐานการลงทุนไปยังไต้หวันเมื่อปี 1990 ส่งผลให้เศรษฐกิจของไต้หวันได้รับการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ต่อมาอุตสาหกรรม IT ไต้หวันย้ายฐานการลงทุนมายังมณฑลชายฝั่งทะเล โดยมีศูนย์กลาง ที่ มหานครเซี่ยงไฮ้ การลงทุนของบริษัท Acer บริษัท Quanta และอื่น ๆ ควบคู่กับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศจีน ทำให้มหานครเซี่ยงไฮ้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศจีน ทั่วโลกจับตามองการพัฒนาของมหานครเซี่ยงไฮ้ในทันที ปี 2010 บริษัท HP บริษัท Foxconn บริษัท Quanta และบริษัท Inventec ได้มาลงทุนในเขตซีหย่ง มหานครฉงชิ่ง นั่นแสดงให้เห็นถึงการโยกย้ายฐานอุตสาหกรรม IT ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งจะทำให้ามหานครฉงชิ่งกับฐานการผลิตคอมพิวเตอร์พกพาของโลกำ เป็นจริง
ปัจจุบัน มหานครฉงชิ่งอยู่ในช่วงโอกาสทองแห่งประวัติศาสตร์ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนสร้างผลกำไร
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู
ที่มา: เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ China Daily และ Hua Xi Du Shi Bao
(http://www.chinadaily.com.cn/) (http://www.chinadaily.com.cn/) วันที่ 2 สิงหาคม 2554
ที่มา: http://www.depthai.go.th
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 24
Thailand
Huawei was first established in Thailand in 1999, based in Bangkok. By today, Huawei Technologies Thailand Co. Ltd. is one of the leading telecom equipment suppliers working for major Thai operators. Our major customers include True, AIS (Advanced Info Service Public Co., Ltd.), ADC (Advanced Data Network Communications Co., Ltd.), BFKT (Thailand) Co., Ltd., CAT Telecom Public Co., Ltd., TOT Public Co., Ltd., EGAT (Electricity Generating Authority of Thailand), Jasmine (Jasmine Telecom Systems Public Co., Ltd.), TT&T Public Co., Ltd., Loxley and so on.
As of September 2007, Huawei Thailand has above 400 staffs and 80% are local staff.
Huawei Thailand has provided products and services in the areas of Wireless, Fixed Networks, Application and Software, Transmission, DataCom, and Value-added Service to local operators.
By building modern fixed, wireless and broadband networks, Huawei Thailand has helped major Thai operators to reduce both capitalizing and operating costs together with enriching their services. Huawei’s support also extends to the employment of local staff, the establishment of training center with 1079 square meters layout in Bangkok, and 3 local service centers.
Through its high quality products and services, as well as continuous investments and business partnerships, Huawei will remain committed to Thailand and continue to make significant contributions to the development of the local telecom industry.
ที่มา : http://www.huawei.com/ap/en/catalog.do?id=302
Huawei was first established in Thailand in 1999, based in Bangkok. By today, Huawei Technologies Thailand Co. Ltd. is one of the leading telecom equipment suppliers working for major Thai operators. Our major customers include True, AIS (Advanced Info Service Public Co., Ltd.), ADC (Advanced Data Network Communications Co., Ltd.), BFKT (Thailand) Co., Ltd., CAT Telecom Public Co., Ltd., TOT Public Co., Ltd., EGAT (Electricity Generating Authority of Thailand), Jasmine (Jasmine Telecom Systems Public Co., Ltd.), TT&T Public Co., Ltd., Loxley and so on.
As of September 2007, Huawei Thailand has above 400 staffs and 80% are local staff.
Huawei Thailand has provided products and services in the areas of Wireless, Fixed Networks, Application and Software, Transmission, DataCom, and Value-added Service to local operators.
By building modern fixed, wireless and broadband networks, Huawei Thailand has helped major Thai operators to reduce both capitalizing and operating costs together with enriching their services. Huawei’s support also extends to the employment of local staff, the establishment of training center with 1079 square meters layout in Bangkok, and 3 local service centers.
Through its high quality products and services, as well as continuous investments and business partnerships, Huawei will remain committed to Thailand and continue to make significant contributions to the development of the local telecom industry.
ที่มา : http://www.huawei.com/ap/en/catalog.do?id=302
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 25
Milestone
Year 2007
As of January 26, 2007, Huawei has completed the installation of CDMA2000 1x products and solutions in 51 of the 76 provinces in Thailand for CAT TELECOM. The completion of this project enables CAT TELECOM to provide CDMA coverage in 51 provinces, and allow subscribers to experience high-speed multimedia services.
Year 2005
Huawei Thailand established a state-of-the-art training centre with 1,079 square meters layout in Bangkok, to support the customer training program of South East Pacific Region. The center provide 4 major technologies training program includes wireless (GSM, UMTS and CDMA), Application & software (IN, RBT, etc), fixed network (NGN, Access NW), transmission & data communication.
Huawei Thailand set up terminal team.
In 2005, Huawei Thailand sales revenue reached over USD 300 million.
Year 2004
Huawei Thailand set up local R&D team, covering Wireless, IN, IP, fixed line, and transmission products.
Year 2003
Huawei Thailand set up customized network solution team and expert team, organize pilot user forum.
Year 2002
Huawei Thailand set up call centre, spare part centre and logistics centre.
Year 2000
Huawei Thailand set up local Technical Support Department.
Year 1999
Huawei Thailand Representative Office was established in Bangkok.
Year 1996
Huawei participated Thailand telecom industry for the first time.
Source : http://www.huawei.com/ap/en/catalog.do?id=981
Year 2007
As of January 26, 2007, Huawei has completed the installation of CDMA2000 1x products and solutions in 51 of the 76 provinces in Thailand for CAT TELECOM. The completion of this project enables CAT TELECOM to provide CDMA coverage in 51 provinces, and allow subscribers to experience high-speed multimedia services.
Year 2005
Huawei Thailand established a state-of-the-art training centre with 1,079 square meters layout in Bangkok, to support the customer training program of South East Pacific Region. The center provide 4 major technologies training program includes wireless (GSM, UMTS and CDMA), Application & software (IN, RBT, etc), fixed network (NGN, Access NW), transmission & data communication.
Huawei Thailand set up terminal team.
In 2005, Huawei Thailand sales revenue reached over USD 300 million.
Year 2004
Huawei Thailand set up local R&D team, covering Wireless, IN, IP, fixed line, and transmission products.
Year 2003
Huawei Thailand set up customized network solution team and expert team, organize pilot user forum.
Year 2002
Huawei Thailand set up call centre, spare part centre and logistics centre.
Year 2000
Huawei Thailand set up local Technical Support Department.
Year 1999
Huawei Thailand Representative Office was established in Bangkok.
Year 1996
Huawei participated Thailand telecom industry for the first time.
Source : http://www.huawei.com/ap/en/catalog.do?id=981
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 26
หัวเว่ย เลือกใช้โซลูชั่น Mobile Push Email ของ EMOZE
ข่าวต่างประเทศ Asianet Press Release -- อังคารที่ 30 สิงหาคม 2554 13:47:55 น.
เซินเจิ้น, จีน และ ลอนดอน--30 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
หัวเว่ย (Huawei) ผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ EMOZE Ltd. ผู้นำด้านโซลูชั่นและเทคโนโลยี Push Email มีความยินดีที่จะประกาศว่า ทั้งสองบริษัทได้ลงนามข้อตกลงอนุญาตใช้สิทธิทั่วโลก
ข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า หัวเว่ยจะติดตั้งโซลูชั่น Push Email ของ EMOZE ลงในโทรศัพท์มือถือมีเดียเทก (MediaTek), ควอลคอมม์ (Qualcomm) และแอนดรอยด์ (Android) ของหัวเว่ย รวมถึงในแท็บเล็ตแอนดรอยด์ของหัวเว่ย
โซลูชั่น Push Email ของ EMOZE ที่มีความทันสมัย จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆของหัวเว่ย ด้วยสมรรถนะเหนือชั้นรวมถึงแบตเตอรี่และการใช้งานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมต่อ Push Email แบบเรียลไทม์ได้ด้วย
โมเช เลวี (Moshe Levy) ซีอีโอของ EMOZE กล่าวว่า “เราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นหนึ่งในพันธมิตรสำคัญของหัวเว่ย ในฐานะผู้นำอย่างแท้จริงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หัวเว่ยจะช่วยให้โซลูชั่น Push Email ของ EMOZE สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลกได้อย่างแท้จริง โดยผ่านอุปกรณ์ต่างๆของหัวเว่ยทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
สำหรับบรรณาธิการ
เกี่ยวกับ บริษัท หัวเว่ย ดีไวเซส จำกัด
หัวเว่ย เป็นผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ส่งผลให้บริษัทมีความได้เปรียบด้านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์ต่างๆ และคลาวด์คอมพิวติ้ง นอกจากนั้นหัวเว่ยยังมุ่งมั่นสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับบรรดาผู้ให้บริการโทรคมนาคม องค์กรต่างๆ และผู้บริโภค ด้วยการนำเสนอบริการและโซลูชั่นที่สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเว่ยเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายโทรคมนาคมในกว่า 140 ประเทศ ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งในสามของประชากรโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.huaweidevice.com/worldwide/index.html
เกี่ยวกับ EMOZE Ltd.
EMOZE ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นการเชื่อมต่อข้อมูลบนมือถือ การรับส่งข้อความ และข้อมูลบนมือถือ สำหรับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ผู้ให้บริการเครือข่าย และองค์กรต่างๆ นอกจากนั้น EMOZE ยังสนับสนุนผู้ให้บริการอีเมลรายใหญ่ทั้งหมด ด้วยบริการส่งข้อความด่วนและเครือข่ายสังคมต่างๆ โซลูชั่น Push Messaging ของ EMOZE ใช้เทคโนโลยีที่เป็นสิทธิบัตรของบริษัท และให้ประสบการณ์ Push ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง พร้อมกันนั้นยังมีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความติดขัดของข้อมูลและอัตราการกินแบตเตอรี่ในอุปกรณ์พกพาทุกชนิด (โทรศัพท์มือถือทั่วไปและสมาร์ทโฟน)
ผลิตภัณฑ์ของ Emoze ใช้เทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และมีความยืดหยุ่น ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) และสามารถตีตลาดได้อย่างรวดเร็ว
Emoze ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2549 และอยู่ในเครือบริษัท Emblaze Group (LSE:BLZ) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.emoze.com
ติดต่อ:
โจนาธาน ชิลลิงตัน/อลิสแตร์ สก็อต จากบริษัท Grayling
โทร: +44 20 7932 1850
อีเมล: [email protected]
แหล่งข่าว: EMOZE Ltd.
AsiaNet 46063
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
ข่าวต่างประเทศ Asianet Press Release -- อังคารที่ 30 สิงหาคม 2554 13:47:55 น.
เซินเจิ้น, จีน และ ลอนดอน--30 ส.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
หัวเว่ย (Huawei) ผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และ EMOZE Ltd. ผู้นำด้านโซลูชั่นและเทคโนโลยี Push Email มีความยินดีที่จะประกาศว่า ทั้งสองบริษัทได้ลงนามข้อตกลงอนุญาตใช้สิทธิทั่วโลก
ข้อตกลงดังกล่าวระบุว่า หัวเว่ยจะติดตั้งโซลูชั่น Push Email ของ EMOZE ลงในโทรศัพท์มือถือมีเดียเทก (MediaTek), ควอลคอมม์ (Qualcomm) และแอนดรอยด์ (Android) ของหัวเว่ย รวมถึงในแท็บเล็ตแอนดรอยด์ของหัวเว่ย
โซลูชั่น Push Email ของ EMOZE ที่มีความทันสมัย จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆของหัวเว่ย ด้วยสมรรถนะเหนือชั้นรวมถึงแบตเตอรี่และการใช้งานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็สามารถเชื่อมต่อ Push Email แบบเรียลไทม์ได้ด้วย
โมเช เลวี (Moshe Levy) ซีอีโอของ EMOZE กล่าวว่า “เราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นหนึ่งในพันธมิตรสำคัญของหัวเว่ย ในฐานะผู้นำอย่างแท้จริงในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม หัวเว่ยจะช่วยให้โซลูชั่น Push Email ของ EMOZE สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลกได้อย่างแท้จริง โดยผ่านอุปกรณ์ต่างๆของหัวเว่ยทั้งในปัจจุบันและอนาคต”
สำหรับบรรณาธิการ
เกี่ยวกับ บริษัท หัวเว่ย ดีไวเซส จำกัด
หัวเว่ย เป็นผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) หัวเว่ยมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลัก รวมถึงจับมือเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่น ส่งผลให้บริษัทมีความได้เปรียบด้านเครือข่ายโทรคมนาคม อุปกรณ์ต่างๆ และคลาวด์คอมพิวติ้ง นอกจากนั้นหัวเว่ยยังมุ่งมั่นสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับบรรดาผู้ให้บริการโทรคมนาคม องค์กรต่างๆ และผู้บริโภค ด้วยการนำเสนอบริการและโซลูชั่นที่สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเว่ยเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายโทรคมนาคมในกว่า 140 ประเทศ ซึ่งมีผู้ใช้บริการมากกว่าหนึ่งในสามของประชากรโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.huaweidevice.com/worldwide/index.html
เกี่ยวกับ EMOZE Ltd.
EMOZE ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นการเชื่อมต่อข้อมูลบนมือถือ การรับส่งข้อความ และข้อมูลบนมือถือ สำหรับผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ผู้ให้บริการเครือข่าย และองค์กรต่างๆ นอกจากนั้น EMOZE ยังสนับสนุนผู้ให้บริการอีเมลรายใหญ่ทั้งหมด ด้วยบริการส่งข้อความด่วนและเครือข่ายสังคมต่างๆ โซลูชั่น Push Messaging ของ EMOZE ใช้เทคโนโลยีที่เป็นสิทธิบัตรของบริษัท และให้ประสบการณ์ Push ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง พร้อมกันนั้นยังมีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความติดขัดของข้อมูลและอัตราการกินแบตเตอรี่ในอุปกรณ์พกพาทุกชนิด (โทรศัพท์มือถือทั่วไปและสมาร์ทโฟน)
ผลิตภัณฑ์ของ Emoze ใช้เทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์ที่มีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ และมีความยืดหยุ่น ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) และสามารถตีตลาดได้อย่างรวดเร็ว
Emoze ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2549 และอยู่ในเครือบริษัท Emblaze Group (LSE:BLZ) สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.emoze.com
ติดต่อ:
โจนาธาน ชิลลิงตัน/อลิสแตร์ สก็อต จากบริษัท Grayling
โทร: +44 20 7932 1850
อีเมล: [email protected]
แหล่งข่าว: EMOZE Ltd.
AsiaNet 46063
-- เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 27
สำหรับคนไม่มีพิ้นฐานด้านนี้มาก่อน
เราไปดูงานเกี่ยวกับ "การสื่อสารและโทรคมนาคม" กันหน่อยดีไหมขอรับ
ไปดูที่ "หัวเว่ย" ด้วยนะ...จะบอกให้
ไปกันเลยครับที่ http://web.parliament.go.th/parcy/sapa_ ... 00731_.pdf
เราไปดูงานเกี่ยวกับ "การสื่อสารและโทรคมนาคม" กันหน่อยดีไหมขอรับ
ไปดูที่ "หัวเว่ย" ด้วยนะ...จะบอกให้
ไปกันเลยครับที่ http://web.parliament.go.th/parcy/sapa_ ... 00731_.pdf
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 28
Huawei Showcases World's First CDMA Small Cell Solution
[Hong Kong, 7 December 2011]:
Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider, demonstrated its CDMA Small Cell solution, integrated with WiFi, at the CDMA Summit 2011 in Hong Kong.
The sharp increase in data traffic of single Mobile Broadband (MBB) subscriber has been well documented. In order to meet operator's requirements for high traffic density and deep coverage of the network, Huawei launched the CDMA Small Cell solution, integrated with WiFi. With this solution, operators can deploy networks quickly, increase the QoE (Quality of Experience) of customers and reduce the O&M costs (Operation and Maintenance) since both the macro and micro networks are deployed using one management system.
Huawei's CDMA Small Cell solution improves coverage and capacity in blind spots of indoor and outdoor areas. It can be deployed easily without an equipment room, saving operators on the cost of site and labor. Huawei's CDMA Small Cell solution also can be used without GPS (Global Positioning System) signal, maintaining coverage in areas such as basements, elevators and mines. Additionally it has been designed for easy installation and plug-and-play and also supports various access technologies such as DSL(Digital Subscriber Line), LAN(Local Area Network), PON(Passive Optical Network) and satellite.
"Huawei continually contributes to the development of MBB,"said Wu Hui, President of CDMA<E Network, Huawei, "We're glad to launch our CDMA Small Cell and WiFi integration solution, which will provide better coverage in blind and hot areas and improve the quality of experience for end-users."
[Hong Kong, 7 December 2011]:
Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) solutions provider, demonstrated its CDMA Small Cell solution, integrated with WiFi, at the CDMA Summit 2011 in Hong Kong.
The sharp increase in data traffic of single Mobile Broadband (MBB) subscriber has been well documented. In order to meet operator's requirements for high traffic density and deep coverage of the network, Huawei launched the CDMA Small Cell solution, integrated with WiFi. With this solution, operators can deploy networks quickly, increase the QoE (Quality of Experience) of customers and reduce the O&M costs (Operation and Maintenance) since both the macro and micro networks are deployed using one management system.
Huawei's CDMA Small Cell solution improves coverage and capacity in blind spots of indoor and outdoor areas. It can be deployed easily without an equipment room, saving operators on the cost of site and labor. Huawei's CDMA Small Cell solution also can be used without GPS (Global Positioning System) signal, maintaining coverage in areas such as basements, elevators and mines. Additionally it has been designed for easy installation and plug-and-play and also supports various access technologies such as DSL(Digital Subscriber Line), LAN(Local Area Network), PON(Passive Optical Network) and satellite.
"Huawei continually contributes to the development of MBB,"said Wu Hui, President of CDMA<E Network, Huawei, "We're glad to launch our CDMA Small Cell and WiFi integration solution, which will provide better coverage in blind and hot areas and improve the quality of experience for end-users."
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 29
Huawei Successfully Verifies E-Band Microwave Equipment on LTE Test Network
[Shenzhen, China, December 5th, 2011]:
Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) provider, today announced that it successfully deployed and verified the capabilities of its E-Band microwave equipment during a comprehensive LTE (Long Term Evolution) test network in Chengdu, China. The results of the test demonstrate the high service-bearing capability and market-readiness of Huawei's E-Band microwave equipment.
E-Band is a newer extremely high-frequency type of microwave band (80GHz) that supports multiple Gbit/s transmission bandwidths, meaning it is able to meet the considerable service backhaul requirements on LTE networks. Huawei's E-band microwave equipment enhances e-band microwave utilization as it offers a large capacity, is easy to install, and requires virtually no space in equipment rooms. A series of performance and pressure tests on a network with high LTE data usage has proven the high performance and advanced features of Huawei's E-band microwave equipment. Three months of successful operations during the extreme Chengdu summer heat and rain demonstrated the reliability and stability of the E-Band microwave prototype equipment. Tier 1 operators, including Telenor, Vodafone, and Italian Telecom, praised the advanced technology and high reliability of Huawei's E-Band microwave equipment.
Wireless operators worldwide are paying close attention to the developments and benefits of E-Band microwave technologies. In early 2011, Huawei's Milan R&D Center took the lead in implementing a high modulation scheme (64QAM) on E-band microwave and transmission capacity reached 2.5 Gbit/s. The full-outdoor E-Band microwave prototype equipment developed by Huawei has been bearing large-bandwidth services, such as multiple HD videos on demand and high-speed Internet access services between eNodeBs and mobile terminals on the outfield LTE network deployed at Huawei's Chengdu R&D Center since July, 2011.
Chen Shijun, Huawei's General Manager of Microwave Technology, said: "The implementation of this comprehensive test network is a big step in commercializing Huawei's E-Band microwave offerings. We will actively promote the commercialization of E-Band microwave technology to help operators bear large-bandwidth LTE services."
As a leader in the transmission network field, Huawei focuses on supplying operators with high-quality microwave, WDM/OTN, and MSTP/Hybrid MSTP products, and end-to-end transport network solutions. According to leading consulting firm Skylight, Huawei's microwave equipment ranked No. 2 worldwide as of Q1 of 2011, while the company's packet microwave equipment ranked No. 1 as of the same period.
[Shenzhen, China, December 5th, 2011]:
Huawei, a leading global information and communications technology (ICT) provider, today announced that it successfully deployed and verified the capabilities of its E-Band microwave equipment during a comprehensive LTE (Long Term Evolution) test network in Chengdu, China. The results of the test demonstrate the high service-bearing capability and market-readiness of Huawei's E-Band microwave equipment.
E-Band is a newer extremely high-frequency type of microwave band (80GHz) that supports multiple Gbit/s transmission bandwidths, meaning it is able to meet the considerable service backhaul requirements on LTE networks. Huawei's E-band microwave equipment enhances e-band microwave utilization as it offers a large capacity, is easy to install, and requires virtually no space in equipment rooms. A series of performance and pressure tests on a network with high LTE data usage has proven the high performance and advanced features of Huawei's E-band microwave equipment. Three months of successful operations during the extreme Chengdu summer heat and rain demonstrated the reliability and stability of the E-Band microwave prototype equipment. Tier 1 operators, including Telenor, Vodafone, and Italian Telecom, praised the advanced technology and high reliability of Huawei's E-Band microwave equipment.
Wireless operators worldwide are paying close attention to the developments and benefits of E-Band microwave technologies. In early 2011, Huawei's Milan R&D Center took the lead in implementing a high modulation scheme (64QAM) on E-band microwave and transmission capacity reached 2.5 Gbit/s. The full-outdoor E-Band microwave prototype equipment developed by Huawei has been bearing large-bandwidth services, such as multiple HD videos on demand and high-speed Internet access services between eNodeBs and mobile terminals on the outfield LTE network deployed at Huawei's Chengdu R&D Center since July, 2011.
Chen Shijun, Huawei's General Manager of Microwave Technology, said: "The implementation of this comprehensive test network is a big step in commercializing Huawei's E-Band microwave offerings. We will actively promote the commercialization of E-Band microwave technology to help operators bear large-bandwidth LTE services."
As a leader in the transmission network field, Huawei focuses on supplying operators with high-quality microwave, WDM/OTN, and MSTP/Hybrid MSTP products, and end-to-end transport network solutions. According to leading consulting firm Skylight, Huawei's microwave equipment ranked No. 2 worldwide as of Q1 of 2011, while the company's packet microwave equipment ranked No. 1 as of the same period.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "หัวเว่ย"
โพสต์ที่ 30
วิธีการของ Huawei ตั้งแต่ยุคบุกเบิกสู่ตลาดโลก...นอกจากใช้วิธีเอาไปให้ลูกค้าทดลองฟรีๆ ก่อน แล้วค่อยเก็บเงินแล้ว
ใช้การอัญเชิญผู้นำจากประเทศต่างๆ และผู้บริหารระดับสูง จากผู้ให้บริการต่างๆ เข้าเยี่ยมชมกิจการและกิจกรรมการผลิต
ทั้งลูกค้านอกประเทศ ซึ่งแน่นอน ว่า Huawei เชิญไปทั่วโลก
ส่วนในประเทศ แค่ให้บริการประชากรเป็นพันล้าน แค่นี้ก็อิ่มแล้ว แบ่งตลาดกันกับ ZTE
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการในจีน มีสถานีจำนวนเป็นหลักแสนขึ้นไป บางรายโชว์ตัวเลขแสนห้าแล้ว
รูปข้างล่าง ตั้งแต่ปี 2003....รูปบน คงไม่ต้องอธิบาย สำหรับคนไทยเรา
ผู้ทืี่มาต้อนรับ คือประธานสูงสุด Madam Sun
ล่างสุด คือมาดามอู๋อวี่ รองประธานาธิบดีถือเป็นหญิงเหล็กที่ทรงอิทธิพลที่สุดในจีนขณะนั้น ก็ได้รับอัญเชิญเข้าเยี่ยมชมด้วย
เป็นวิธีการแสดงแสนยานุภาพทางการค้าของพ่อค้ารายใหญ่ของจีน
ใช้การอัญเชิญผู้นำจากประเทศต่างๆ และผู้บริหารระดับสูง จากผู้ให้บริการต่างๆ เข้าเยี่ยมชมกิจการและกิจกรรมการผลิต
ทั้งลูกค้านอกประเทศ ซึ่งแน่นอน ว่า Huawei เชิญไปทั่วโลก
ส่วนในประเทศ แค่ให้บริการประชากรเป็นพันล้าน แค่นี้ก็อิ่มแล้ว แบ่งตลาดกันกับ ZTE
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการในจีน มีสถานีจำนวนเป็นหลักแสนขึ้นไป บางรายโชว์ตัวเลขแสนห้าแล้ว
รูปข้างล่าง ตั้งแต่ปี 2003....รูปบน คงไม่ต้องอธิบาย สำหรับคนไทยเรา
ผู้ทืี่มาต้อนรับ คือประธานสูงสุด Madam Sun
ล่างสุด คือมาดามอู๋อวี่ รองประธานาธิบดีถือเป็นหญิงเหล็กที่ทรงอิทธิพลที่สุดในจีนขณะนั้น ก็ได้รับอัญเชิญเข้าเยี่ยมชมด้วย
เป็นวิธีการแสดงแสนยานุภาพทางการค้าของพ่อค้ารายใหญ่ของจีน