รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 1
พิชัยดึงปตท.สผ.เจรจา"ยูเออี"เดินหน้าแลนด์บริดจ์
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Thursday, November 24, 2011
พิชัย นริพทะพันธุ์ พิชัย เดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ ดึง ปตท.สผ.หารือยูเออี ระบุเป็นผลดีต่อเส้นทางขนส่งน้ำมันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในขณะนี้ตนอยู่ระหว่างเดินทางไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ร่วมกับนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เพื่อหารือกับรัฐมนตรีพลังงานของยูเออีเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศไทยในอนาคต รวมทั้งศึกษารูปแบบโครงการแลนด์บริดจ์ที่จะเร่งให้เกิดขึ้นในภาคใต้
ยูเออี เป็นประเทศที่ส่งน้ำมันให้กับไทยมากที่สุด โดยมีปริมาณการส่งน้ำมันให้กับไทยวันละ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งในการหารือกันเบื้องต้น รัฐบาลยูเออีเห็นด้วยกับไทยที่จะมีการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ โดยประกอบไปด้วย คลังน้ำมันและท่อส่งน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อการขนส่งน้ำมันของโลกจากตะวันออกกลางไปยังประเทศต่างๆ ที่อยู่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.สผ.เปิดเผยว่า ในขณะนี้บริษัทยังไม่มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในยูเออี แต่ก็มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพทางด้านแหล่งปิโตรเลียม หากมีเงื่อนไขทางธุรกิจที่ดีก็อาจมีการเจรจากันในอนาคตเนื่องจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าไปทำธุรกิจในยูเออีก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม หากมีการเจรจาทางธุรกิจจริงคงใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนก่อนขณะที่ปัจจุบัน ปตท.สผ.ลงทุนในตะวันออกกลาง 2 ประเทศ คือ โอมาน ในแหล่งปิโตรเลียมโอมาน 44 โดยได้ผลผลิตทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ส่วนในประเทศบาร์เรลอยู่ในระหว่างการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม คาดว่าจะเริ่มทำการผลิตได้ในเร็วๆ นี้
ปตท.สผ.มีประเทศเป้าหมายในการลงทุนในระยะเวลา 5 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ ประเทศพม่า ออสเตรเลีย และประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งในประเทศไทยเอง อย่างไรก็ตาม หากในแหล่งพลังงานของที่อื่นๆ ที่มีศักยภาพ ปตท.สผ.ก็พร้อมที่จะเจรจา แหล่งข่าวกล่าว
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Thursday, November 24, 2011
พิชัย นริพทะพันธุ์ พิชัย เดินหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ ดึง ปตท.สผ.หารือยูเออี ระบุเป็นผลดีต่อเส้นทางขนส่งน้ำมันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในขณะนี้ตนอยู่ระหว่างเดินทางไปประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ร่วมกับนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เพื่อหารือกับรัฐมนตรีพลังงานของยูเออีเกี่ยวกับความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศไทยในอนาคต รวมทั้งศึกษารูปแบบโครงการแลนด์บริดจ์ที่จะเร่งให้เกิดขึ้นในภาคใต้
ยูเออี เป็นประเทศที่ส่งน้ำมันให้กับไทยมากที่สุด โดยมีปริมาณการส่งน้ำมันให้กับไทยวันละ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งในการหารือกันเบื้องต้น รัฐบาลยูเออีเห็นด้วยกับไทยที่จะมีการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ โดยประกอบไปด้วย คลังน้ำมันและท่อส่งน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อการขนส่งน้ำมันของโลกจากตะวันออกกลางไปยังประเทศต่างๆ ที่อยู่ในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.สผ.เปิดเผยว่า ในขณะนี้บริษัทยังไม่มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในยูเออี แต่ก็มีความสนใจที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพทางด้านแหล่งปิโตรเลียม หากมีเงื่อนไขทางธุรกิจที่ดีก็อาจมีการเจรจากันในอนาคตเนื่องจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เข้าไปทำธุรกิจในยูเออีก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม หากมีการเจรจาทางธุรกิจจริงคงใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี เนื่องจากต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนก่อนขณะที่ปัจจุบัน ปตท.สผ.ลงทุนในตะวันออกกลาง 2 ประเทศ คือ โอมาน ในแหล่งปิโตรเลียมโอมาน 44 โดยได้ผลผลิตทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ส่วนในประเทศบาร์เรลอยู่ในระหว่างการสำรวจแหล่งปิโตรเลียม คาดว่าจะเริ่มทำการผลิตได้ในเร็วๆ นี้
ปตท.สผ.มีประเทศเป้าหมายในการลงทุนในระยะเวลา 5 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ ประเทศพม่า ออสเตรเลีย และประเทศต่างๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งในประเทศไทยเอง อย่างไรก็ตาม หากในแหล่งพลังงานของที่อื่นๆ ที่มีศักยภาพ ปตท.สผ.ก็พร้อมที่จะเจรจา แหล่งข่าวกล่าว
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 2
พลังงานคลอดมาตรการพิเศษ
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Thursday, November 24, 2011
อุ้มปตท.ลงทุนท่อเหนือ-อีสาน
“พลังงาน” เร่งศึกษามาตรการช่วยเหลือ ปตท. หลังสั่งให้ลงทุน “แทปไลน์” เพิ่ม เผยรอบอร์ด ปตท. รูปแบบก่อนเสนอเข้าที่ประชุม กพช. พิจารณา มั่นใจได้ผลสรุปภายในสิ้นปีนี้
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างศึกษามาตรการที่จะให้การสนับสนุนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในการเพิ่มลงทุนในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งในส่วนของรูปแบบที่จะเข้าลงทุนเพิ่ม และงบประมาณ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตามรูปแบบการลงทุนในแทปไลน์เพิ่มนั้นจะต้องได้ข้อสรุปจากทาง ปตท. ก่อน โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท(บอร์ด) ปตท. ต้นเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นทางปตท. จะต้องเสนอมายัง กรมฯ อีกครั้ง ก่อนจะเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป อย่างไรก็ตามคงจะไม่ทัน กพช. ที่จะมีขึ้นในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
“ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนทั้งมาตรการ และรูปแบบที่ ปตท. จะเข้าลงทุนในแทปไลน์ รวมทั้งจะมีมาตรการอะไรที่จะช่วย ปตท. บ้าง ซึ่งในส่วนนี้จะต้องหารือรายละเอียดก่อน โดยที่ผ่านมาก็มีการหารือร่วมกับหลายฝ่ายแล้ว อย่างไรก็ตามการลงทุนเพิ่มดังกล่าว เป็นนโยบายของภาครัฐที่ ปตท. ต้องปฏิบัติตาม”นายวีระพล กล่าว
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน PTT กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ปตท. อยู่ระหว่างการศึกษาแผนลงทุนโครงการท่อส่งน้ำมันภาคเหนือและอีสาน โดยจะเสนอการลงทุนดังกล่าวให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ สำหรับแนวทางการลงทุนของ ปตท. แนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ การเข้าไปเจรจากับแทปไลน์ ให้ลงทุนโครงการนี้ โดย ปตท. เสนอตัวว่ามีความพร้อมในการสนับสนุนเม็ดเงินในการลงทุน
ก่อนหน้านี้ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานและ ปตท. ไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ ปตท. จะเข้าไปซื้อหุ้นของแทปไลน์ ซึ่งดำเนินธุรกิจท่อส่งน้ำมันในส่วนที่บริษัทต่างชาติถือหุ้นอยู่ จากเดิมที่ ปตท. มีสัดส่วนถือหุ้นอยู่แล้ว 33.19% เพื่อทำให้มีสัดส่วนหุ้นที่มากขึ้น และสามารถผลักดันโครงการท่อขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันแทปไลน์มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นประกอบไปด้วย ปตท. 33.19%, เอสโซ่ 20.66%, เชลล์ 14.87%, เชฟรอน 9.91%, ไทยออยล์ 9.19%, คูเวตปิโตรเลียม 4.96%, ปิโตรนาส 3.97% และบีพี 3.24%
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th)
Thursday, November 24, 2011
อุ้มปตท.ลงทุนท่อเหนือ-อีสาน
“พลังงาน” เร่งศึกษามาตรการช่วยเหลือ ปตท. หลังสั่งให้ลงทุน “แทปไลน์” เพิ่ม เผยรอบอร์ด ปตท. รูปแบบก่อนเสนอเข้าที่ประชุม กพช. พิจารณา มั่นใจได้ผลสรุปภายในสิ้นปีนี้
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างศึกษามาตรการที่จะให้การสนับสนุนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ในการเพิ่มลงทุนในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปทั้งในส่วนของรูปแบบที่จะเข้าลงทุนเพิ่ม และงบประมาณ อย่างไรก็ตามคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตามรูปแบบการลงทุนในแทปไลน์เพิ่มนั้นจะต้องได้ข้อสรุปจากทาง ปตท. ก่อน โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท(บอร์ด) ปตท. ต้นเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นทางปตท. จะต้องเสนอมายัง กรมฯ อีกครั้ง ก่อนจะเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ต่อไป อย่างไรก็ตามคงจะไม่ทัน กพช. ที่จะมีขึ้นในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้
“ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนทั้งมาตรการ และรูปแบบที่ ปตท. จะเข้าลงทุนในแทปไลน์ รวมทั้งจะมีมาตรการอะไรที่จะช่วย ปตท. บ้าง ซึ่งในส่วนนี้จะต้องหารือรายละเอียดก่อน โดยที่ผ่านมาก็มีการหารือร่วมกับหลายฝ่ายแล้ว อย่างไรก็ตามการลงทุนเพิ่มดังกล่าว เป็นนโยบายของภาครัฐที่ ปตท. ต้องปฏิบัติตาม”นายวีระพล กล่าว
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน PTT กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ปตท. อยู่ระหว่างการศึกษาแผนลงทุนโครงการท่อส่งน้ำมันภาคเหนือและอีสาน โดยจะเสนอการลงทุนดังกล่าวให้ที่ประชุมบอร์ดพิจารณาในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ สำหรับแนวทางการลงทุนของ ปตท. แนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ การเข้าไปเจรจากับแทปไลน์ ให้ลงทุนโครงการนี้ โดย ปตท. เสนอตัวว่ามีความพร้อมในการสนับสนุนเม็ดเงินในการลงทุน
ก่อนหน้านี้ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ได้มอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงานและ ปตท. ไปศึกษาความเป็นไปได้ที่ ปตท. จะเข้าไปซื้อหุ้นของแทปไลน์ ซึ่งดำเนินธุรกิจท่อส่งน้ำมันในส่วนที่บริษัทต่างชาติถือหุ้นอยู่ จากเดิมที่ ปตท. มีสัดส่วนถือหุ้นอยู่แล้ว 33.19% เพื่อทำให้มีสัดส่วนหุ้นที่มากขึ้น และสามารถผลักดันโครงการท่อขนส่งน้ำมันไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) ให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันแทปไลน์มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นประกอบไปด้วย ปตท. 33.19%, เอสโซ่ 20.66%, เชลล์ 14.87%, เชฟรอน 9.91%, ไทยออยล์ 9.19%, คูเวตปิโตรเลียม 4.96%, ปิโตรนาส 3.97% และบีพี 3.24%
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 3
BOI อนุมัติ 16 โครงการ ทั้งพลังงาน-ชิ้นส่วนยานยนต์ รวม 3.2 หมื่นลบ.
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 16:54:21 น.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการต่างๆ จำนวน 16 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 32,580 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.บริษัท เบสท์ ชิคส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการ เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 20,873,000 ตัว/ปี โดยจะทำการเลี้ยงในโรงเรือนปิด เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,062 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบูรณ์
2.บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตเครื่องมือช่างแบบพกพา ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในเมืองไทย เช่น เครื่องลับมุม สว่าน เครื่องเจาะ เครื่องตัด เครื่องไสกบไฟฟ้า กำลังผลิตปีละประมาณ 3,793,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,230 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จ.ชลบุรี
3.บริษัท หลิงหลง ยางรถยนต์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตยางเรเดียล (Radial Tires) สำหรับรถยนต์นั่ง รถปิคอัพ กำลังผลิตปีละประมาณ 2,000,000 เส้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,803 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง
4.บริษัท จาโตโค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตชุดเกียร์อัตโนมัติแบบปรับเปลี่ยนอัตราทดต่อเนื่อง (CONTINUOUSLY VARIABLE TRANSMISSION - CVT) ซึ่งเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติล่าสุด อัตราทดเกียร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องไร้การกระตุก ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในไทย กำลังผลิตปีละประมาณ 515,000 ชุด เงินลงทุนทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี
5.บริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตเครื่องยนต์เบนซินสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ให้กับ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด กำลังผลิตปีละประมาณ 149,600 เครื่อง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,302 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
6.บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์ อุตสาหกรรม จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิต ROTARY COMPRESSOR สำหรับเครื่องปรับอากาศ กำลังผลิต ปีละประมาณ 800,000 เครื่อง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,391 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
7.MR.ICHINOSE SHIGEYUKI ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิตฟิล์มพลาสติกหรือกระดาษเคลือบกาวหรือเคลือบซิลิโคน เพื่อนำไปใช้เป็นสติ๊กเกอร์ ฉลาก สำหรับติดบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ กำลังผลิตปีละประมาณ 41,600 ตัน(หรือ 384.2 ล้านตารางเมตร) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,300 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา
8.บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการ ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 9 เมกะวัตต์ไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,392 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี
ส่วนโครงการที่ 9 ถึง 12 เป็นของ บริษัท บางจาก โซลาร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 4 โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท (เงินลงทุนแห่งละ 900 ล้านบาท) โดยจะติดตั้งแผง Solar Cell แบบ Thin Film เพื่อผลิตไฟฟ้าจำหน่ายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) มีกำลังการผลิตรวม 4 โครงการ ทั้งสิ้น 32 เมกะวัตต์ (กำลังผลิตแห่งละ 8 เมกะวัตต์) โดยโครงการที่ 1 และ 2 ตั้งอยู่ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โครงการที่ 3 และ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
13.บริษัท ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิต ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล(ชานอ้อย) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 170 ตัน/ชั่วโมง โดยโครงการมีปริมาณการใช้ชานอ้อยสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 560,000 ตัน/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,682 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี
14.บริษัท เกษตรไทยไบโอเพาเวอร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล(ชานอ้อย) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 60 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 160 ตัน/ชั่วโมง โดยโครงการมีปริมาณการใช้ชานอ้อยสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 576,000 ตัน/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,240 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.นครสวรรค์
15.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) ได้รับส่งเสริมลงทุนในกิจการขนส่งน้ำมันทางท่อ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง
16.บริษัท ดีแอล อีเอ็นที จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการกำจัดขยะ ปีละประมาณ 221,000 ตัน โดยโดรงการนี้จะใช้วิธีการเผาขยะแล้วนำความร้อนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า กำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,578 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบุรี
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 16:54:21 น.
นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ) ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการต่างๆ จำนวน 16 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนกว่า 32,580 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.บริษัท เบสท์ ชิคส์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการ เลี้ยงไก่เนื้อ จำนวน 20,873,000 ตัว/ปี โดยจะทำการเลี้ยงในโรงเรือนปิด เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,062 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบูรณ์
2.บริษัท มาคิตะ แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตเครื่องมือช่างแบบพกพา ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในเมืองไทย เช่น เครื่องลับมุม สว่าน เครื่องเจาะ เครื่องตัด เครื่องไสกบไฟฟ้า กำลังผลิตปีละประมาณ 3,793,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,230 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จ.ชลบุรี
3.บริษัท หลิงหลง ยางรถยนต์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตยางเรเดียล (Radial Tires) สำหรับรถยนต์นั่ง รถปิคอัพ กำลังผลิตปีละประมาณ 2,000,000 เส้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,803 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง
4.บริษัท จาโตโค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตชุดเกียร์อัตโนมัติแบบปรับเปลี่ยนอัตราทดต่อเนื่อง (CONTINUOUSLY VARIABLE TRANSMISSION - CVT) ซึ่งเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติล่าสุด อัตราทดเกียร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องไร้การกระตุก ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตในไทย กำลังผลิตปีละประมาณ 515,000 ชุด เงินลงทุนทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี
5.บริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิตเครื่องยนต์เบนซินสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ให้กับ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด กำลังผลิตปีละประมาณ 149,600 เครื่อง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,302 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
6.บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์ อุตสาหกรรม จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุน ผลิต ROTARY COMPRESSOR สำหรับเครื่องปรับอากาศ กำลังผลิต ปีละประมาณ 800,000 เครื่อง เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,391 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี
7.MR.ICHINOSE SHIGEYUKI ได้รับส่งเสริมการลงทุนผลิตฟิล์มพลาสติกหรือกระดาษเคลือบกาวหรือเคลือบซิลิโคน เพื่อนำไปใช้เป็นสติ๊กเกอร์ ฉลาก สำหรับติดบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ กำลังผลิตปีละประมาณ 41,600 ตัน(หรือ 384.2 ล้านตารางเมตร) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,300 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จ.ฉะเชิงเทรา
8.บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการ ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนแสงอาทิตย์ กำลังผลิต 9 เมกะวัตต์ไฟฟ้า เพื่อจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,392 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี
ส่วนโครงการที่ 9 ถึง 12 เป็นของ บริษัท บางจาก โซลาร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวม 4 โครงการ เงินลงทุนทั้งสิ้น 3,600 ล้านบาท (เงินลงทุนแห่งละ 900 ล้านบาท) โดยจะติดตั้งแผง Solar Cell แบบ Thin Film เพื่อผลิตไฟฟ้าจำหน่ายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) มีกำลังการผลิตรวม 4 โครงการ ทั้งสิ้น 32 เมกะวัตต์ (กำลังผลิตแห่งละ 8 เมกะวัตต์) โดยโครงการที่ 1 และ 2 ตั้งอยู่ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ โครงการที่ 3 และ 4 ตั้งอยู่ที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
13.บริษัท ด่านช้าง ไบโอ-เอ็นเนอร์ยี จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิต ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล(ชานอ้อย) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 32 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 170 ตัน/ชั่วโมง โดยโครงการมีปริมาณการใช้ชานอ้อยสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 560,000 ตัน/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,682 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี
14.บริษัท เกษตรไทยไบโอเพาเวอร์ จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล(ชานอ้อย) มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 60 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 160 ตัน/ชั่วโมง โดยโครงการมีปริมาณการใช้ชานอ้อยสำหรับเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 576,000 ตัน/ปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,240 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.นครสวรรค์
15.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) ได้รับส่งเสริมลงทุนในกิจการขนส่งน้ำมันทางท่อ ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง
16.บริษัท ดีแอล อีเอ็นที จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการกำจัดขยะ ปีละประมาณ 221,000 ตัน โดยโดรงการนี้จะใช้วิธีการเผาขยะแล้วนำความร้อนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า กำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เพื่อจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,578 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.เพชรบุรี
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: [email protected]--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 4
ปตท.ผุดคลังน้ำมันใหม่ รับลูกค้าฝั่งอันดามัน
Source - บ้านเมือง (Th) , Monday, November 28, 2011
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทางบริษัท ปตท. ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารสำนักงานของบริษัทที่บริเวณ หมู่ 5 บ้านเขานางหงส์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง ตามโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานมูลค่า 40 ล้านบาท เพื่อรองรับแผนการก่อสร้างถังบรรจุน้ำมันขนาด 6 ล้านลิตรจำนวน 2 ถัง ที่บริษัทจะก่อสร้างบริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ จ.ระนอง ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่าง ปตท.กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขอจัดตั้งคลังน้ำมันปิโตรเลียมประเภทน้ำมันดีเซลที่บริเวณท่าเทียบเรืออเนกประสงค์จังหวัดระนอง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อมาตรฐานความปลอดภัยในการรับและจ่ายน้ำมันตามมาตรฐาน ปตท. และรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปทางฝั่งทะเลอันดามัน ที่สำคัญเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการพัฒนาจังหวัดระนอง ให้เป็นประตูการค้าระหว่างประเทศทางฝั่งทะเลอันดามัน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เหตุที่ทาง ปตท.ตัดสินใจก่อสร้างคลังน้ำมันที่ระนองเนื่องจากพบว่าปริมาณการใช้น้ำมันทั้งในส่วนของฐานขุดเจาะน้ำมันในน่านน้ำพม่ามีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติเข้าไปตั้งฐานขุดเจาะน้ำมันในน่านน้ำพม่าถึง 6 บริษัท ซึ่งมี 3 บริษัทได้หันมาสั่งน้ำมันจาก ปตท.เนื่องจากสะดวกกว่าการขนน้ำมันมาจากท่าเรือสิงคโปร์ ทำให้น้ำมันที่ผ่านท่าเรือระนองขณะนี้มีไม่ต่ำกว่าประมาณ 9 ล้านลิตรต่อเดือน อีกทั้งแนวโน้มและปริมาณการใช้น่าจะเพิ่มขึ้นอีกมาก--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
Source - บ้านเมือง (Th) , Monday, November 28, 2011
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทางบริษัท ปตท. ได้เริ่มลงมือก่อสร้างอาคารสำนักงานของบริษัทที่บริเวณ หมู่ 5 บ้านเขานางหงส์ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง ตามโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานมูลค่า 40 ล้านบาท เพื่อรองรับแผนการก่อสร้างถังบรรจุน้ำมันขนาด 6 ล้านลิตรจำนวน 2 ถัง ที่บริษัทจะก่อสร้างบริเวณท่าเรืออเนกประสงค์ จ.ระนอง ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่าง ปตท.กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขอจัดตั้งคลังน้ำมันปิโตรเลียมประเภทน้ำมันดีเซลที่บริเวณท่าเทียบเรืออเนกประสงค์จังหวัดระนอง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อมาตรฐานความปลอดภัยในการรับและจ่ายน้ำมันตามมาตรฐาน ปตท. และรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปทางฝั่งทะเลอันดามัน ที่สำคัญเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายการพัฒนาจังหวัดระนอง ให้เป็นประตูการค้าระหว่างประเทศทางฝั่งทะเลอันดามัน
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า เหตุที่ทาง ปตท.ตัดสินใจก่อสร้างคลังน้ำมันที่ระนองเนื่องจากพบว่าปริมาณการใช้น้ำมันทั้งในส่วนของฐานขุดเจาะน้ำมันในน่านน้ำพม่ามีเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติเข้าไปตั้งฐานขุดเจาะน้ำมันในน่านน้ำพม่าถึง 6 บริษัท ซึ่งมี 3 บริษัทได้หันมาสั่งน้ำมันจาก ปตท.เนื่องจากสะดวกกว่าการขนน้ำมันมาจากท่าเรือสิงคโปร์ ทำให้น้ำมันที่ผ่านท่าเรือระนองขณะนี้มีไม่ต่ำกว่าประมาณ 9 ล้านลิตรต่อเดือน อีกทั้งแนวโน้มและปริมาณการใช้น่าจะเพิ่มขึ้นอีกมาก--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 5
ริงไซด์เวทีโลก: ยักษ์ใหญ่น้ำมันเมินสำรวจพม่าไทย-มาเลเซีย-อินเดียช่วงชิงประทานบัตร
Source - ไทยโพสต์ (Th) ,Sunday, November 27, 2011
แม้ว่าพม่าได้เริ่มลงมือปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว แต่บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของชาติตะวันตกดูจะยังไม่สนใจเข้าไปสำรวจแหล่งก๊าซและน้ำมัน มีแต่กิจการของไทย มาเลเซีย และอินเดีย ที่เข้าไปประมูลสิทธิ์
พม่าได้ปิดกำหนดการยื่นซองประมูลประทานบัตรแปลงสำรวจน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ผู้บริหารบริษัทน้ำมันหลายรายเผยกับรอยเตอร์ว่า พวกกิจการของชาติตะวันตกไม่ได้เข้าประมูลด้วย ผู้ประมูลจึงมีแต่บริษัทในภูมิภาคนี้เป็นหลัก
บริษัทอเมริกันยังคงถูกห้ามไม่ให้เข้าไปลงทุนในโครงการใหม่ๆ ในพม่า เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของรัฐบาลสหรัฐ แต่ขณะเดียวกัน บริษัทของยุโรปก็ไม่ได้สนใจ แหล่งข่าวระดับผู้บริหารบอกว่า บล็อกที่เปิดประมูลไม่ได้มีน้ำมันมากมายนัก
ข้างฝ่ายบริษัทจีน ซึ่งเคยเป็นเจ้าใหญ่ในพม่า ก็ดูเนือยๆกับการประมูลแหล่งน้ำมันและก๊าซบนฝั่งจำนวน 18 บล็อกในเที่ยวนี้ เพราะประเมินเช่นกันว่าไม่น่าดึงดูดใจสักเท่าไร นอกจากนี้ กรณีรัฐบาลพม่าระงับโครงการเขื่อนที่จีนสนับสนุนให้สร้างในภาคเหนือของพม่า ก็ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเกิดบรรยากาศมึนตึงด้วย เอช. เอส. เยน ที่ปรึกษาประจำบริษัท FACTS Global Energy บอกว่า การประกวดราคาครั้งนี้มีผู้ยื่นประมูล 50 ราย แต่จำนวนบริษัทที่เข้าประมูลคงไม่ถึง 50 บริษัท เพราะพม่าได้แบ่งซอยแต่ละหลุมสำรวจให้นับเป็นหนึ่งประทานบัตร และการประมูลครั้งนี้อาจมีบริษัทยุโรปเข้าร่วมแค่รายเดียว และไม่มีบริษัทขนาดใหญ่รายใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าไปในพม่าแสดงความสนใจด้วย เพราะมองกันว่าการทำธุรกิจที่นั่นยังมีความเสี่ยง บวกกับปริมาณสำรองก็มีน้อย
รอยเตอร์รายงานว่า จนถึงขณะนี้มีแต่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.ของไทย กับ บริษัท โอเอ็นจีซี วิเทศ ของอินเดีย ที่สนใจการประมูลนี้ ขณะแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ชั้นสูงในย่างกุ้งบอกว่า บริษัทปิโตรนาสของมาเลเชียก็เข้าประมูลด้วย แต่ทางบริษัทเองปฏิเสธที่จะให้ข่าวในเรื่องนี้
บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่น อย่างเช่น มารูเบนี, มิตซูบิชิ, และมิตซุย ต่างก็ไม่ให้ความเห็นใดๆ เช่นกัน
กิจการของยุโรปและเอเชียหลายเจ้า ดูจะยังไม่กระตือรือร้น อย่างโทเทล ซึ่งกำลังขุดเจาะก๊าซในโครงการมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ที่แหล่งยาดานาในทะเลอันดามันของพม่า ก็บอกว่าโทเทลจะไม่ประมูลในรอบนี้ ซีอีโอของโทเทล คริสตอฟ เดอ มาร์เกอรี บอกว่า โทเทลอยากลงทุนในพม่ามากขึ้น แต่อยากรอดูสัญญาณที่เป็นรูปธรรมของการปฏิรูปประชาธิปไตยเสียก่อน
อย่างที่รู้กัน พม่าเพิ่งมีรัฐบาลพลเรือนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ผู้นำคนสำคัญๆ ในคณะรัฐมนตรีก็เป็นพวกนายพลเก่านั่นเอง อย่างไรก็ดี พม่าดูจะกำลังเดินหน้าปฏิรูปการเมือง ด้วยการพบหารือกับนางอองซาน ซูจี ปล่อยนักโทษการเมือง และติดต่อกับพวกกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่สู้รบกันมานาน
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้อยู่ในสายตาของนานาชาติ ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา บอกว่า เป็นสัญญาณที่ดี และเตรียมจะส่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ไปเยือนย่างกุ้งในสัปดาห์หน้า ซึ่งนับเป็นการแสดงความยอมรับต่อความพยายามที่จะปฏิรูปของพม่า แม้เจ้าหน้าที่สหรัฐยังคงยืนยันว่าจะเลิกคว่ำบาตรต่อเมื่อพม่าได้สร้างประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง
แหล่งข่าวบอกว่า บริษัทเชลล์ซึ่งกำลังขยายการลงทุนในเวียดนาม ไม่ได้สนใจพม่า ในขณะที่บริษัทอังกฤษรายหนึ่ง คือ โซโก อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเคยแสดงท่าทีว่าหมายตาพม่า ปฏิเสธที่จะให้ข่าว
บริษัทตะวันตกรายอื่นๆ เช่น พรีเมียร์ ออยล์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบแหล่งก๊าซเยตากุนเมื่อปี 1992 แต่ได้ขายธุรกิจในพม่าทั้งหมดให้แก่ปิโตรนาสเมื่อปี 2002, บริษัท ทัลโลว์ ออยล์ และบริษัท แคร์น เอนเนอร์จี ต่างพูดตรงกันว่าไม่ได้เข้าประมูล
สามยักษ์ใหญ่ของจีน คือ ซิโนเปก, ไชน่า เนชันแนล ปิโตรเลียม และซีนุก ดูมีทีท่าเฉยเมยเช่นกัน ซีนุกบอกว่าไม่ได้เข้าประมูล แต่ยังไม่รู้กันว่าอีกสองบริษัทได้ยื่นซองหรือไม่
บริษัทจีนทั้งสามล้วนกำลังทำโครงการอยู่ในพม่า มีสัมปทานสำรวจและผลิต 13 ประทานบัตร คิดเป็น 1 ใน 3 ของสัญญาสัมปทานที่พม่าได้ลงนามกับบริษัทต่างชาติ
ข้อมูลของบริษัทน้ำมันของพม่า Myanmar Oil and Gas Enterprise ระบุว่า พม่ามีน้ำมันสำรองที่สำรวจพบแล้วบนฝั่ง 115 ล้านบาร์เรล และนอกชายฝั่ง 100 ล้านบาร์เรล และมีก๊าซที่สำรวจพบแล้วบนชายฝั่ง 4 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต กับนอกชายฝั่ง 16 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ตัวเลขของ BP Statistical Review บอกว่า ปริมาณก๊าซสำรองที่พบแล้วของพม่าได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็น 8 แสนล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเป็นกว่า 1 ใน 4 ของปริมาณที่ออสเตรเลียมีอยู่ ขณะที่จีนมีน้ำมันสำรองที่พบแล้ว 14,800 ล้านบาร์เรล, มาเลเซียมี 5,800 ล้าน, เวียดนาม 4,400 ล้าน, และอินโดนีเซีย 4,200 ล้าน ณ สิ้นปี 2010
ผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำมันบอกว่า แม้ปริมาณสำรองเหล่านี้จะดูไม่ได้มากมายหากวัดด้วยมาตรฐานโลก แต่ก็นับว่ามีมากพอที่จะดึงดูดความสนใจของบริษัทน้ำมันในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทิน หม่อง หม่อง ตัน นักวิจัยอาวุโสของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา บอกว่า ในเมื่อรอบนี้บริษัทจีนไม่สนใจ บริษัทในไทย มาเลเชีย และอินเดีย จึงเข้าไปแสวงโอกาสใหม่ๆ ในพม่า
คาดกันว่า หากพม่ามีความคืบหน้าในการปฏิรูปการเมือง นานาชาติเลิกคว่ำบาตร บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกันและยุโรปคงเข้าไปตักตวงทรัพยากรในพม่ากันมากขึ้น ไม่เพียงแต่น้ำมันและก๊าซเท่านั้น.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
Source - ไทยโพสต์ (Th) ,Sunday, November 27, 2011
แม้ว่าพม่าได้เริ่มลงมือปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองแล้ว แต่บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของชาติตะวันตกดูจะยังไม่สนใจเข้าไปสำรวจแหล่งก๊าซและน้ำมัน มีแต่กิจการของไทย มาเลเซีย และอินเดีย ที่เข้าไปประมูลสิทธิ์
พม่าได้ปิดกำหนดการยื่นซองประมูลประทานบัตรแปลงสำรวจน้ำมันและก๊าซ ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ผู้บริหารบริษัทน้ำมันหลายรายเผยกับรอยเตอร์ว่า พวกกิจการของชาติตะวันตกไม่ได้เข้าประมูลด้วย ผู้ประมูลจึงมีแต่บริษัทในภูมิภาคนี้เป็นหลัก
บริษัทอเมริกันยังคงถูกห้ามไม่ให้เข้าไปลงทุนในโครงการใหม่ๆ ในพม่า เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของรัฐบาลสหรัฐ แต่ขณะเดียวกัน บริษัทของยุโรปก็ไม่ได้สนใจ แหล่งข่าวระดับผู้บริหารบอกว่า บล็อกที่เปิดประมูลไม่ได้มีน้ำมันมากมายนัก
ข้างฝ่ายบริษัทจีน ซึ่งเคยเป็นเจ้าใหญ่ในพม่า ก็ดูเนือยๆกับการประมูลแหล่งน้ำมันและก๊าซบนฝั่งจำนวน 18 บล็อกในเที่ยวนี้ เพราะประเมินเช่นกันว่าไม่น่าดึงดูดใจสักเท่าไร นอกจากนี้ กรณีรัฐบาลพม่าระงับโครงการเขื่อนที่จีนสนับสนุนให้สร้างในภาคเหนือของพม่า ก็ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเกิดบรรยากาศมึนตึงด้วย เอช. เอส. เยน ที่ปรึกษาประจำบริษัท FACTS Global Energy บอกว่า การประกวดราคาครั้งนี้มีผู้ยื่นประมูล 50 ราย แต่จำนวนบริษัทที่เข้าประมูลคงไม่ถึง 50 บริษัท เพราะพม่าได้แบ่งซอยแต่ละหลุมสำรวจให้นับเป็นหนึ่งประทานบัตร และการประมูลครั้งนี้อาจมีบริษัทยุโรปเข้าร่วมแค่รายเดียว และไม่มีบริษัทขนาดใหญ่รายใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าไปในพม่าแสดงความสนใจด้วย เพราะมองกันว่าการทำธุรกิจที่นั่นยังมีความเสี่ยง บวกกับปริมาณสำรองก็มีน้อย
รอยเตอร์รายงานว่า จนถึงขณะนี้มีแต่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.ของไทย กับ บริษัท โอเอ็นจีซี วิเทศ ของอินเดีย ที่สนใจการประมูลนี้ ขณะแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ชั้นสูงในย่างกุ้งบอกว่า บริษัทปิโตรนาสของมาเลเชียก็เข้าประมูลด้วย แต่ทางบริษัทเองปฏิเสธที่จะให้ข่าวในเรื่องนี้
บริษัทใหญ่ของญี่ปุ่น อย่างเช่น มารูเบนี, มิตซูบิชิ, และมิตซุย ต่างก็ไม่ให้ความเห็นใดๆ เช่นกัน
กิจการของยุโรปและเอเชียหลายเจ้า ดูจะยังไม่กระตือรือร้น อย่างโทเทล ซึ่งกำลังขุดเจาะก๊าซในโครงการมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ที่แหล่งยาดานาในทะเลอันดามันของพม่า ก็บอกว่าโทเทลจะไม่ประมูลในรอบนี้ ซีอีโอของโทเทล คริสตอฟ เดอ มาร์เกอรี บอกว่า โทเทลอยากลงทุนในพม่ามากขึ้น แต่อยากรอดูสัญญาณที่เป็นรูปธรรมของการปฏิรูปประชาธิปไตยเสียก่อน
อย่างที่รู้กัน พม่าเพิ่งมีรัฐบาลพลเรือนเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ผู้นำคนสำคัญๆ ในคณะรัฐมนตรีก็เป็นพวกนายพลเก่านั่นเอง อย่างไรก็ดี พม่าดูจะกำลังเดินหน้าปฏิรูปการเมือง ด้วยการพบหารือกับนางอองซาน ซูจี ปล่อยนักโทษการเมือง และติดต่อกับพวกกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่สู้รบกันมานาน
ความเคลื่อนไหวเหล่านี้อยู่ในสายตาของนานาชาติ ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบามา บอกว่า เป็นสัญญาณที่ดี และเตรียมจะส่งรัฐมนตรีต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ไปเยือนย่างกุ้งในสัปดาห์หน้า ซึ่งนับเป็นการแสดงความยอมรับต่อความพยายามที่จะปฏิรูปของพม่า แม้เจ้าหน้าที่สหรัฐยังคงยืนยันว่าจะเลิกคว่ำบาตรต่อเมื่อพม่าได้สร้างประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง
แหล่งข่าวบอกว่า บริษัทเชลล์ซึ่งกำลังขยายการลงทุนในเวียดนาม ไม่ได้สนใจพม่า ในขณะที่บริษัทอังกฤษรายหนึ่ง คือ โซโก อินเตอร์เนชันแนล ซึ่งเคยแสดงท่าทีว่าหมายตาพม่า ปฏิเสธที่จะให้ข่าว
บริษัทตะวันตกรายอื่นๆ เช่น พรีเมียร์ ออยล์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบแหล่งก๊าซเยตากุนเมื่อปี 1992 แต่ได้ขายธุรกิจในพม่าทั้งหมดให้แก่ปิโตรนาสเมื่อปี 2002, บริษัท ทัลโลว์ ออยล์ และบริษัท แคร์น เอนเนอร์จี ต่างพูดตรงกันว่าไม่ได้เข้าประมูล
สามยักษ์ใหญ่ของจีน คือ ซิโนเปก, ไชน่า เนชันแนล ปิโตรเลียม และซีนุก ดูมีทีท่าเฉยเมยเช่นกัน ซีนุกบอกว่าไม่ได้เข้าประมูล แต่ยังไม่รู้กันว่าอีกสองบริษัทได้ยื่นซองหรือไม่
บริษัทจีนทั้งสามล้วนกำลังทำโครงการอยู่ในพม่า มีสัมปทานสำรวจและผลิต 13 ประทานบัตร คิดเป็น 1 ใน 3 ของสัญญาสัมปทานที่พม่าได้ลงนามกับบริษัทต่างชาติ
ข้อมูลของบริษัทน้ำมันของพม่า Myanmar Oil and Gas Enterprise ระบุว่า พม่ามีน้ำมันสำรองที่สำรวจพบแล้วบนฝั่ง 115 ล้านบาร์เรล และนอกชายฝั่ง 100 ล้านบาร์เรล และมีก๊าซที่สำรวจพบแล้วบนชายฝั่ง 4 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต กับนอกชายฝั่ง 16 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
ตัวเลขของ BP Statistical Review บอกว่า ปริมาณก๊าซสำรองที่พบแล้วของพม่าได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็น 8 แสนล้านลูกบาศก์เมตร หรือเทียบเป็นกว่า 1 ใน 4 ของปริมาณที่ออสเตรเลียมีอยู่ ขณะที่จีนมีน้ำมันสำรองที่พบแล้ว 14,800 ล้านบาร์เรล, มาเลเซียมี 5,800 ล้าน, เวียดนาม 4,400 ล้าน, และอินโดนีเซีย 4,200 ล้าน ณ สิ้นปี 2010
ผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำมันบอกว่า แม้ปริมาณสำรองเหล่านี้จะดูไม่ได้มากมายหากวัดด้วยมาตรฐานโลก แต่ก็นับว่ามีมากพอที่จะดึงดูดความสนใจของบริษัทน้ำมันในภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ทิน หม่อง หม่อง ตัน นักวิจัยอาวุโสของสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา บอกว่า ในเมื่อรอบนี้บริษัทจีนไม่สนใจ บริษัทในไทย มาเลเชีย และอินเดีย จึงเข้าไปแสวงโอกาสใหม่ๆ ในพม่า
คาดกันว่า หากพม่ามีความคืบหน้าในการปฏิรูปการเมือง นานาชาติเลิกคว่ำบาตร บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกันและยุโรปคงเข้าไปตักตวงทรัพยากรในพม่ากันมากขึ้น ไม่เพียงแต่น้ำมันและก๊าซเท่านั้น.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 6
เวียดนามให้เกาหลีใต้ สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2554 12:26 น.
ข้อตกลงที่เวียดนามจะร่วมมือกับเกาหลีใต้ในด้านพลังงานนิวเคลียร์ และเป็นการเปิดทางที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินงานร่วมกันในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม มีขึ้นระหว่างการหารือของประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง ของเวียดนาม และประธานาธิบดี ลี มยอง บัก ของเกาหลีใต้ ในการเดินทางเยือนเกาหลีใต้ของประธานาธิบดีเวียดนามนาน 3 วัน ผู้นำทั้งสองเห็นชอบในความจำเป็นที่ต้องร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นในการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อประโยชน์ในทางสันติ และว่า ทั้งสองฝ่ายรับทราบในข้อเสนอพิเศษของเกาหลีใต้ทั้งการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวียดนามที่จะใช้เทคโนโลยีของเกาหลีใต้ การฝึกอบรมบุคลากร การถ่ายโอนเทคโนโลยี และความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เกาหลีใต้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ควบคุมอยู่ 20 แห่ง ผลิตไฟฟ้าครอบคลุม 35% ของความต้องการพลังงานทั้งหมด และวางแผนที่จะสร้างเพิ่มอีก 12 แห่ง ใน 14 ปีข้างหน้า ขณะที่เวียดนามกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนพลังงานและบรรดานักธุรกิจต่างชาติต่างร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ขณะที่ รัฐบาลเวียดนามเร่งมองหาความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นให้การรับรองที่จะช่วยเวียดนามสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่ง และในเดือน ต.ค.2553 รัฐบาลเวียดนามได้ลงนามข้อตกลงกับรัสเซียมูลค่า 5,600 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ
http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000142929
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2554 12:26 น.
ข้อตกลงที่เวียดนามจะร่วมมือกับเกาหลีใต้ในด้านพลังงานนิวเคลียร์ และเป็นการเปิดทางที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินงานร่วมกันในโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม มีขึ้นระหว่างการหารือของประธานาธิบดีเจื่อง เติ่น ซาง ของเวียดนาม และประธานาธิบดี ลี มยอง บัก ของเกาหลีใต้ ในการเดินทางเยือนเกาหลีใต้ของประธานาธิบดีเวียดนามนาน 3 วัน ผู้นำทั้งสองเห็นชอบในความจำเป็นที่ต้องร่วมมืออย่างแน่นแฟ้นในการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อประโยชน์ในทางสันติ และว่า ทั้งสองฝ่ายรับทราบในข้อเสนอพิเศษของเกาหลีใต้ทั้งการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวียดนามที่จะใช้เทคโนโลยีของเกาหลีใต้ การฝึกอบรมบุคลากร การถ่ายโอนเทคโนโลยี และความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เกาหลีใต้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ควบคุมอยู่ 20 แห่ง ผลิตไฟฟ้าครอบคลุม 35% ของความต้องการพลังงานทั้งหมด และวางแผนที่จะสร้างเพิ่มอีก 12 แห่ง ใน 14 ปีข้างหน้า ขณะที่เวียดนามกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนพลังงานและบรรดานักธุรกิจต่างชาติต่างร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาขาดแคลนพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ขณะที่ รัฐบาลเวียดนามเร่งมองหาความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานของประเทศ และเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นให้การรับรองที่จะช่วยเวียดนามสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่ง และในเดือน ต.ค.2553 รัฐบาลเวียดนามได้ลงนามข้อตกลงกับรัสเซียมูลค่า 5,600 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ
http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews ... 0000142929
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 7
(เพิ่มเติม) IRPCคาดรายได้ปี 55 โต 10-15% ตาม GIM ไม่รวมสต็อคสูงเป็น 10-10.5เหรียญฯ
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 17:29:56 น.
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไออาร์ซีพี(IRPC)คาดว่า แนวโน้มปี 55 จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 10-15% จากปี 54 ที่คาดรายได้จะเป็นไปตามเป้าหมาย 2.3 แสนบาท และค่าการกลั่นรวม(GIM)ไม่รวมสต๊อกน้ำมันในปีหน้าน่าจะสูงขึ่นมาที่ 10-10.5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงขึ้นจากปีนี้ที่อยู่ในระดับราว 9.2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากบริษัทจะมีกำลังการผลิตโพรพิลีนเพิ่มขึ้นอีก 1 แสนตัน จากปัจจุบัน 3.3 แสนตัน โดยจะเริ่มผลิตในเดือนมิ.ย.55 อีกทั้งสเปรดทั้งโรงกลั่นและปิโตรเคมีน่าจะขยายตัวอย่างน้อย 5% จากปีนี้
บริษัทตั้งงบลงทุนในปี 55 ไว้ที่ราว 1.9 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในโครงการฟีนิกซ์ 1.2 หมื่นล้านบาท และโครงการนอกฟีนิกซ์ 5 พันล้านบาท ขณะที่งบซ่อมบำรุงประจำปี 2 พันล้านบาท พร้อมกันนั้นตั้งงบลงทุน 5 ปี (55-59) ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการฟีนิกซ์ 4 หมื่นล้านบาท และนอกฟีนิกซ์ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนงบซ่อมบำรุง 1 หมื่นล้านบาท
นายอธิคม กล่าวว่า รายได้ของบริษัทที่จะเติบโตในปีหน้าจะมาจากกำลังการผลิตโพรพิลีนเพิ่มขึ้น และอัตรากำไร(มาร์จิ้น)ที่สูงขึ้นกว่า 5% แต่บริษัทมองว่าในปีหน้ายังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงปัญหาในอิหร่านที่จะมีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก
ส่วนโครงการฟีนิกซ์ที่ใช้งบลงทุนรวม 1,342 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับอนุมัติไปแล้ว 80-90%ของโครงการทั้งหมดนั้น เม็ดเงินส่วนใหญ่ 900 ล้านเหรียญใช้ในการผลิตโพรพิลีนเพิ่มอีก 3.2 แสนตันกำหนดแล้วเสร็จในปี 58 ซึ่งจะทำให้การกลั่นทำได้เต็มกำลังที่ 2.15แสนบาร์เรล/วันในปี 57 จาก 1.7 แสนบาร์เรล/วันในปีนี้
และในปี 55 บริษัทจะลงทุนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เฟสแรก ภายใต้วงเงิน 600-700 ล้านบาท บนที่ดินขนาด 600-700 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 2.5 พันไร่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบและทำความเข้าใจกับชุมชน โดยคาดว่ากลางปีหน้าเริ่มเปิดให้จับจองพื้นที่ได้
รวมทั้งจะลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก(SPP) 2 โรงที่ จ.ระยอง มีกำลังการผลิตรวม 200 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งขายใก้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)90 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จปี 60 เป็นโครงการที่พัฒนาร่วมกับการนิคมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ส่วนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา บนพื้นที่ 2.7 พันไร่ อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับ บมจ.ปตท.(PTT)เบื้องต้นจะมีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์
--อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/อาชวินท์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554 17:29:56 น.
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไออาร์ซีพี(IRPC)คาดว่า แนวโน้มปี 55 จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 10-15% จากปี 54 ที่คาดรายได้จะเป็นไปตามเป้าหมาย 2.3 แสนบาท และค่าการกลั่นรวม(GIM)ไม่รวมสต๊อกน้ำมันในปีหน้าน่าจะสูงขึ่นมาที่ 10-10.5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงขึ้นจากปีนี้ที่อยู่ในระดับราว 9.2 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจากบริษัทจะมีกำลังการผลิตโพรพิลีนเพิ่มขึ้นอีก 1 แสนตัน จากปัจจุบัน 3.3 แสนตัน โดยจะเริ่มผลิตในเดือนมิ.ย.55 อีกทั้งสเปรดทั้งโรงกลั่นและปิโตรเคมีน่าจะขยายตัวอย่างน้อย 5% จากปีนี้
บริษัทตั้งงบลงทุนในปี 55 ไว้ที่ราว 1.9 หมื่นล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในโครงการฟีนิกซ์ 1.2 หมื่นล้านบาท และโครงการนอกฟีนิกซ์ 5 พันล้านบาท ขณะที่งบซ่อมบำรุงประจำปี 2 พันล้านบาท พร้อมกันนั้นตั้งงบลงทุน 5 ปี (55-59) ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นโครงการฟีนิกซ์ 4 หมื่นล้านบาท และนอกฟีนิกซ์ 2 หมื่นล้านบาท ส่วนงบซ่อมบำรุง 1 หมื่นล้านบาท
นายอธิคม กล่าวว่า รายได้ของบริษัทที่จะเติบโตในปีหน้าจะมาจากกำลังการผลิตโพรพิลีนเพิ่มขึ้น และอัตรากำไร(มาร์จิ้น)ที่สูงขึ้นกว่า 5% แต่บริษัทมองว่าในปีหน้ายังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก รวมถึงปัญหาในอิหร่านที่จะมีผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลก
ส่วนโครงการฟีนิกซ์ที่ใช้งบลงทุนรวม 1,342 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับอนุมัติไปแล้ว 80-90%ของโครงการทั้งหมดนั้น เม็ดเงินส่วนใหญ่ 900 ล้านเหรียญใช้ในการผลิตโพรพิลีนเพิ่มอีก 3.2 แสนตันกำหนดแล้วเสร็จในปี 58 ซึ่งจะทำให้การกลั่นทำได้เต็มกำลังที่ 2.15แสนบาร์เรล/วันในปี 57 จาก 1.7 แสนบาร์เรล/วันในปีนี้
และในปี 55 บริษัทจะลงทุนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เฟสแรก ภายใต้วงเงิน 600-700 ล้านบาท บนที่ดินขนาด 600-700 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 2.5 พันไร่ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบและทำความเข้าใจกับชุมชน โดยคาดว่ากลางปีหน้าเริ่มเปิดให้จับจองพื้นที่ได้
รวมทั้งจะลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก(SPP) 2 โรงที่ จ.ระยอง มีกำลังการผลิตรวม 200 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแบ่งขายใก้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)90 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จปี 60 เป็นโครงการที่พัฒนาร่วมกับการนิคมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ส่วนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ อ.จะนะ จ.สงขลา บนพื้นที่ 2.7 พันไร่ อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับ บมจ.ปตท.(PTT)เบื้องต้นจะมีกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์
--อินโฟเควสท์ โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/อาชวินท์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 8
ปตท.เปิดประมูลคลัง LPG เฟสแรก รองรับนำเข้า 2.5 แสนตัน ส่วนเฟสสองดูดีมานด์ก่อน [ ข่าวหุ้น, 8 ธ.ค. 54 ]
ปตท. เตรียมเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 1 ภายในไตรมาส 2/55 มั่นใจรองรับ
นำเข้าแอลพีจีถึง 2.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่เฟส 2 รอดูดีมานด์ในประเทศก่อน
ปตท. เตรียมเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 1 ภายในไตรมาส 2/55 มั่นใจรองรับ
นำเข้าแอลพีจีถึง 2.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่เฟส 2 รอดูดีมานด์ในประเทศก่อน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 9
ข่าวฉบับเต็มครับ
====================================================
ปตท.เปิดประมูลคลังLPGเฟสแรก
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 08, 2011
รองรับนำเข้า 2.5 แสนตัน ส่วนเฟสสองดูดีมานด์ก่อน
ปตท. เตรียมเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 1 ภายในไตรมาส 2/55 มั่นใจรองรับนำเข้าแอลพีจีถึง 2.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่เฟส 2 รอดูดีมานด์ในประเทศก่อน
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการออกแบบการก่อสร้างคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) เฟส 1 ควบคู่ไปกับการเจรจาค่าตอบแทนจากทางภาครัฐ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างได้ภายในไตรมาส 2/55 และน่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2558
ทั้งนี้ หากการก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 1 ดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับการนำเข้าแอลพีจีได้ถึง 2.5 แสนตันต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.3 แสนตันต่อเดือน ขณะที่พื้นที่ในการก่อสร้าง ปตท. จะก่อสร้างคลังรับก๊าซในพื้นที่เดิมคือ คลังก๊าซฯบ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี คาดใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2-1.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับคลังแอลพีจีเฟส 2 จะมีแผนก่อสร้างหรือไม่นั้น คงต้องดูพื้นที่ และความต้องการแอลพีจีในประเทศก่อนว่ามากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในส่วนของภาคขนส่งหลังจากที่ภาครัฐขยับราคาขายปลีกขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร หากชะลอตัวก็จะทำให้ความจำเป็นในการก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 2 ในพื้นที่ใหม่ที่ต้องลงทุนอีก 1.8 หมื่นล้านบาทลดลงไปด้วย
โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้ปรับขึ้นราคาแอลพีจีตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงสิ้นปี 2555 ยกเว้นแอลพีจีภาคครัวเรือนที่ให้ตรึงราคาไปก่อน โดยแอลพีจีภาคยานยนต์จะขึ้นราคาเดือนละ 0.41 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ขึ้นราคาเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม
“ตอนนี้เราคงทำแผนก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟสแรกไปก่อน ล่าสุดอยู่ระหว่างการออกแบบควบคู่ไปกับการเจรจาค่าตอบแทนกับทางภาครัฐ ส่วนเฟส 2 จะมีความสามารถรองรับแอลพีจีได้อีก 1 เท่า แต่จะก่อสร้างเฟส 2 หรือไม่นั้นต้องดูดีมานด์แอลพีจีในประเทศก่อน” นายณัฐชาติ กล่าว
นอกจากนี้ มาตรการที่ภาครัฐจะกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งจะสิ้นสุดมาตรการภายในสิ้นปีนี้ หากขึ้นรอบเดียวกว่า 5 บาทต่อลิตร ก็อาจจะมีผลทำให้การใช้แอลพีจีปรับสูงขึ้นมากเช่นกัน เนื่องจากอัตราการขึ้นราคาแอลพีจีนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมัน
อย่างไรก็ตาม การลงทุนส่วนนี้ ปตท. ไม่ได้ประโยชน์เชิงธุรกิจ แต่เป็นการลงทุนเพื่อสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นจึงเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาเรื่องผลตอบแทนการลงทุน โดยคำนวณเบื้องต้นต้นทุนการก่อสร้างเท่ากับราคาแอลพีจี 1 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นแนวทางอาจจะขึ้นราคาแอลพีต้นทุนระยะยาว ซึ่งจะไม่ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก
--จบ--
====================================================
ปตท.เปิดประมูลคลังLPGเฟสแรก
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 08, 2011
รองรับนำเข้า 2.5 แสนตัน ส่วนเฟสสองดูดีมานด์ก่อน
ปตท. เตรียมเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 1 ภายในไตรมาส 2/55 มั่นใจรองรับนำเข้าแอลพีจีถึง 2.5 แสนตันต่อเดือน ขณะที่เฟส 2 รอดูดีมานด์ในประเทศก่อน
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการออกแบบการก่อสร้างคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) เฟส 1 ควบคู่ไปกับการเจรจาค่าตอบแทนจากทางภาครัฐ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลผู้รับเหมาก่อสร้างได้ภายในไตรมาส 2/55 และน่าจะเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2558
ทั้งนี้ หากการก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 1 ดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับการนำเข้าแอลพีจีได้ถึง 2.5 แสนตันต่อเดือน จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.3 แสนตันต่อเดือน ขณะที่พื้นที่ในการก่อสร้าง ปตท. จะก่อสร้างคลังรับก๊าซในพื้นที่เดิมคือ คลังก๊าซฯบ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี คาดใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2-1.5 หมื่นล้านบาท
สำหรับคลังแอลพีจีเฟส 2 จะมีแผนก่อสร้างหรือไม่นั้น คงต้องดูพื้นที่ และความต้องการแอลพีจีในประเทศก่อนว่ามากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในส่วนของภาคขนส่งหลังจากที่ภาครัฐขยับราคาขายปลีกขึ้นแล้วจะเป็นอย่างไร หากชะลอตัวก็จะทำให้ความจำเป็นในการก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟส 2 ในพื้นที่ใหม่ที่ต้องลงทุนอีก 1.8 หมื่นล้านบาทลดลงไปด้วย
โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติให้ปรับขึ้นราคาแอลพีจีตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จนถึงสิ้นปี 2555 ยกเว้นแอลพีจีภาคครัวเรือนที่ให้ตรึงราคาไปก่อน โดยแอลพีจีภาคยานยนต์จะขึ้นราคาเดือนละ 0.41 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ขึ้นราคาเดือนละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม
“ตอนนี้เราคงทำแผนก่อสร้างคลังแอลพีจีเฟสแรกไปก่อน ล่าสุดอยู่ระหว่างการออกแบบควบคู่ไปกับการเจรจาค่าตอบแทนกับทางภาครัฐ ส่วนเฟส 2 จะมีความสามารถรองรับแอลพีจีได้อีก 1 เท่า แต่จะก่อสร้างเฟส 2 หรือไม่นั้นต้องดูดีมานด์แอลพีจีในประเทศก่อน” นายณัฐชาติ กล่าว
นอกจากนี้ มาตรการที่ภาครัฐจะกลับมาเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งจะสิ้นสุดมาตรการภายในสิ้นปีนี้ หากขึ้นรอบเดียวกว่า 5 บาทต่อลิตร ก็อาจจะมีผลทำให้การใช้แอลพีจีปรับสูงขึ้นมากเช่นกัน เนื่องจากอัตราการขึ้นราคาแอลพีจีนับว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการใช้น้ำมัน
อย่างไรก็ตาม การลงทุนส่วนนี้ ปตท. ไม่ได้ประโยชน์เชิงธุรกิจ แต่เป็นการลงทุนเพื่อสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ดังนั้นจึงเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาเรื่องผลตอบแทนการลงทุน โดยคำนวณเบื้องต้นต้นทุนการก่อสร้างเท่ากับราคาแอลพีจี 1 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นแนวทางอาจจะขึ้นราคาแอลพีต้นทุนระยะยาว ซึ่งจะไม่ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อนมากนัก
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 10
PTTGC eyes new chemical plant to tap Asean
Source - The Nation (Eng), Wednesday, December 14, 2011
Drive for exports within region in line with global strategy
PTT Global Chemical is considering setting up a plant to manufacture toluene di-isocyanate (TDI) in Asean to promote exports within the region, with Thailand a potential site.
The investment is part of the company’s strategic plan to enlarge its presence in the global chemicals industry after the successful merger of PTT Chemical and PTT Aromatics and Refining, two subsidiaries of the country’s national oil company PTT, to form PTTGC on October 19.
Chief executive officer Veerasak Kositpaisal recently said there were no TDI plants in the Asean region. Polyurethane manufacturers in this region have to import TDI, a raw material to produce polyurethane. Thus it is a good opportunity to establish a plant in this region. Thailand is one of the potential sites, as it has a petrochemical complex in Rayong province. Besides, PTTGC also has benzene production, the feedstock for making TDI, in its chemicals value chain.
The plan to establish a TDI manufacturing plant in this region came after PTTGC announced plans to spend €114.8 million (Bt4.7 billion) for a 51-per-cent stake in Perstorp Holding France. In its statement on the deal, PTTGC stated that it would increase the production capacity of Perstorp.
"TDI is a chemical used in the automotive and construction industries," Veerasak said. "This segment is growing very fast in Asia, while in Europe it is slowing down. Perstorp is also interested in growing its business in this region. So, after the acquisition process is completed, we will discuss this expansion in Asean with Perstorp."
He said the value chain of polyurethane was quite long, and PTTGC had other plans to invest more in this chain.
Since the formation of PTTGC, it has announced two acquisition deals.
The first is the deal to acquire a 50-per-cent stake in NatureWorks, the world’s leading manufacturer of polylactic acid (PLA) used to produce bioplastic products, with US$150 million (Bt4.6 billion). PTTGC announced this deal in October, followed by the Perstorp deal in November. The NatureWorks deal is expected to be completed in the first quarter of next year.
As PTT Chemical, PTTGC was earlier successful in investing $60 million in US-based Myriant, a bio-based technology-development company. The acquisition will lead PTTGC to enlarge its business in bio-based chemicals.
"We’ve announced plans to expand our business overseas aggressively since we formed PTTGC. Our acquisitions started in the US and Europe. Regarding our strategy, we have many acquisition deals in the pipeline, and these deals have the potential to lead to new investments," he said.
Despite the aggressive plans to enlarge its business overseas, Veerasak insisted that the plans would follow good financial discipline. The company has credit ratings of AA- (tha) from Fitch, Baa2 from Moody’s, and BBB from S&P.
To maintain these credit ratings, PTTGC has to ensure its net debt-to-equity ratio does not exceed 0.7 times and net debt-to-earnings before interest, tax, depreciation and amortisation ratio is not over 2.4 times. The ratios right now are lower than 0.5 times for D/E and 1.5 times for the latter.
Veerasak said that besides the budget prepared for the new acquisition deals, the company had to allocate some funds for new investment projects. It plans to spend many millions of baht to set up a pilot plant for PLA next year.
This is a step before it invests in the commercial scale of 150,000 tonnes per year. And it is possible to invest for a new TDI plant in this region as well, the production capacity and investment size of which are yet to decided.
"No matter what the numbers of deals we expect to achieve, deals that fit with our strategy and can fulfil our plan to become a global leader are the most important.
"We can grow more in this region and the world market. In Asean, the demands for petrochemicals are four times those of Thailand alone, but the population of 600 million in this region is 10 times that of Thailand. This means that we have room to grow," he said.
Source - The Nation (Eng), Wednesday, December 14, 2011
Drive for exports within region in line with global strategy
PTT Global Chemical is considering setting up a plant to manufacture toluene di-isocyanate (TDI) in Asean to promote exports within the region, with Thailand a potential site.
The investment is part of the company’s strategic plan to enlarge its presence in the global chemicals industry after the successful merger of PTT Chemical and PTT Aromatics and Refining, two subsidiaries of the country’s national oil company PTT, to form PTTGC on October 19.
Chief executive officer Veerasak Kositpaisal recently said there were no TDI plants in the Asean region. Polyurethane manufacturers in this region have to import TDI, a raw material to produce polyurethane. Thus it is a good opportunity to establish a plant in this region. Thailand is one of the potential sites, as it has a petrochemical complex in Rayong province. Besides, PTTGC also has benzene production, the feedstock for making TDI, in its chemicals value chain.
The plan to establish a TDI manufacturing plant in this region came after PTTGC announced plans to spend €114.8 million (Bt4.7 billion) for a 51-per-cent stake in Perstorp Holding France. In its statement on the deal, PTTGC stated that it would increase the production capacity of Perstorp.
"TDI is a chemical used in the automotive and construction industries," Veerasak said. "This segment is growing very fast in Asia, while in Europe it is slowing down. Perstorp is also interested in growing its business in this region. So, after the acquisition process is completed, we will discuss this expansion in Asean with Perstorp."
He said the value chain of polyurethane was quite long, and PTTGC had other plans to invest more in this chain.
Since the formation of PTTGC, it has announced two acquisition deals.
The first is the deal to acquire a 50-per-cent stake in NatureWorks, the world’s leading manufacturer of polylactic acid (PLA) used to produce bioplastic products, with US$150 million (Bt4.6 billion). PTTGC announced this deal in October, followed by the Perstorp deal in November. The NatureWorks deal is expected to be completed in the first quarter of next year.
As PTT Chemical, PTTGC was earlier successful in investing $60 million in US-based Myriant, a bio-based technology-development company. The acquisition will lead PTTGC to enlarge its business in bio-based chemicals.
"We’ve announced plans to expand our business overseas aggressively since we formed PTTGC. Our acquisitions started in the US and Europe. Regarding our strategy, we have many acquisition deals in the pipeline, and these deals have the potential to lead to new investments," he said.
Despite the aggressive plans to enlarge its business overseas, Veerasak insisted that the plans would follow good financial discipline. The company has credit ratings of AA- (tha) from Fitch, Baa2 from Moody’s, and BBB from S&P.
To maintain these credit ratings, PTTGC has to ensure its net debt-to-equity ratio does not exceed 0.7 times and net debt-to-earnings before interest, tax, depreciation and amortisation ratio is not over 2.4 times. The ratios right now are lower than 0.5 times for D/E and 1.5 times for the latter.
Veerasak said that besides the budget prepared for the new acquisition deals, the company had to allocate some funds for new investment projects. It plans to spend many millions of baht to set up a pilot plant for PLA next year.
This is a step before it invests in the commercial scale of 150,000 tonnes per year. And it is possible to invest for a new TDI plant in this region as well, the production capacity and investment size of which are yet to decided.
"No matter what the numbers of deals we expect to achieve, deals that fit with our strategy and can fulfil our plan to become a global leader are the most important.
"We can grow more in this region and the world market. In Asean, the demands for petrochemicals are four times those of Thailand alone, but the population of 600 million in this region is 10 times that of Thailand. This means that we have room to grow," he said.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 11
โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด หรือ ทีเอสอี (TSE) ทุ่มเงินกว่า 900 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ร่วมกับสถาบันพลังงานที่มีชื่อเสียงหลายประเทศทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่จะมุ่งลดการใช้พลังงานฟอสซิลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นผู้นำของโลกในการนำเทคโนโลยีแบบดีเอสจี (Direct Steam Generation) มาใช้ ด้วยกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมเตรียมเปิดอีก 2 โครงการคาดอีก 3-5 ปี สามารถขยายกำลังการผลิตเป็น 135 เมกะวัตต์
ดร. แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และคณะผู้บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ทีเอสอี) หรือ Thai Solar Energy Co., Ltd (TSE) ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยมีการจัดตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งแรกที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งบริษัทได้วางแผนขยายเต็มกำลังการผลิต ตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่ 9 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างลดลงประมาณ 20-30%
ดร. แคทลีน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของ “ทีเอสอี” จะเป็นระบบ Parabolic Trough หรือ แบบรางรวมแสง เป็นระบบที่ทำงานโดยใช้หลักการรวมรังสีดวงอาทิตย์ด้วยการสะท้อนจากผิวโค้ง รูปพาราโบลาที่เป็นรางยาว เข้าสู่ท่อรับรังสี (Receiver) ซึ่งจะเป็นท่อโลหะอยู่ภายในท่อแก้ว โดยช่องว่างระหว่างท่อทั้งสองเป็นสุญญากาศเพื่อลดการสูญเสียความร้อน โดยจะมีน้ำ วนอยู่ภายใน เพื่อพาความร้อนและเปลี่ยนเป็นไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์กังหันไอน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า
บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขาย PPA ที่มีอยู่กว่า 10 สัญญา ซึ่งปัจจุบันได้เตรียมการเปิด 1 โครงการ และกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 3 โครงการ นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะขยายการลงทุนกับพันธมิตร โดยใช้เงินทุนที่ได้จากการเพิ่มทุนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจำนวน 1,000 ล้านบาท และวงเงิน project financing จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด หรือ ทีเอสอี (TSE) ทุ่มเงินกว่า 900 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ร่วมกับสถาบันพลังงานที่มีชื่อเสียงหลายประเทศทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ที่จะมุ่งลดการใช้พลังงานฟอสซิลแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นผู้นำของโลกในการนำเทคโนโลยีแบบดีเอสจี (Direct Steam Generation) มาใช้ ด้วยกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมเตรียมเปิดอีก 2 โครงการคาดอีก 3-5 ปี สามารถขยายกำลังการผลิตเป็น 135 เมกะวัตต์
ดร. แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และคณะผู้บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (ทีเอสอี) หรือ Thai Solar Energy Co., Ltd (TSE) ผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ เปิดเผยว่า บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยมีการจัดตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้าแห่งแรกที่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยกำลังการผลิต 5 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งบริษัทได้วางแผนขยายเต็มกำลังการผลิต ตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่ 9 เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างลดลงประมาณ 20-30%
ดร. แคทลีน กล่าวต่อไปว่า สำหรับกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ของ “ทีเอสอี” จะเป็นระบบ Parabolic Trough หรือ แบบรางรวมแสง เป็นระบบที่ทำงานโดยใช้หลักการรวมรังสีดวงอาทิตย์ด้วยการสะท้อนจากผิวโค้ง รูปพาราโบลาที่เป็นรางยาว เข้าสู่ท่อรับรังสี (Receiver) ซึ่งจะเป็นท่อโลหะอยู่ภายในท่อแก้ว โดยช่องว่างระหว่างท่อทั้งสองเป็นสุญญากาศเพื่อลดการสูญเสียความร้อน โดยจะมีน้ำ วนอยู่ภายใน เพื่อพาความร้อนและเปลี่ยนเป็นไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องยนต์กังหันไอน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้า
บริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขาย PPA ที่มีอยู่กว่า 10 สัญญา ซึ่งปัจจุบันได้เตรียมการเปิด 1 โครงการ และกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 3 โครงการ นอกจากนี้ยังวางแผนที่จะขยายการลงทุนกับพันธมิตร โดยใช้เงินทุนที่ได้จากการเพิ่มทุนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจำนวน 1,000 ล้านบาท และวงเงิน project financing จากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 12
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดโมเดล แปลงขยะเป็นไฟฟ้า น้ำมัน หลังเกิดปัญหาขยะจากเหตุน้ำท่วมใหญ่
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ขยะในปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ถึงวันละ 40,000 ต้น หรือปีละ 15 ล้านตัน และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมและผู้ที่เกี่ยวข้อง กำลังเผชิญกับปัญหาขยะมูลฝอยจำนวนมากที่รอการกำจัด โดยที่ผ่านมาการกำจัดขยะใช้วิธีการฝังกลบซึ่งลงทุนน้อย ค่าบำรุงรักษาต่ำ แต่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ไม่เพียงพอและแหล่งฝังกลบยังต้องอยู่ห่างไกล ทำให้เกิดค่าขนส่งขยะสูง แต่หากนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงานจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยลดปัญหาพื้นที่การจัดเก็บขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดโมเดลแปลงขยะเป็นพลังงาน คาดว่าจะได้พลังงานทดแทน ช่วยลดปัญหาพื้นที่การจัดเก็บขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า ขยะ 5 ตัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,300 หน่วย ขยะ 10 ตัน จะสามารถผลิตน้ำมันได้ 6,600 ลิตรต่อวัน จากการดำเนินการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในโครงการศึกษาและพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะชุมชนเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทย่อยสลายไม่ได้และย่อยสลายได้ และนำส่วนที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร ไปเข้าเครื่องสับขยะ จากนั้นนำเข้าสู่โรงงานหมักขยะ ใช้กระบวนการทางกลและชีวภาพเพื่อย่อยสลายและปรับสภาพให้ขยะมีความเหมาะสมนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล ด้านการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณกับเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการจัดซื้อเครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติก
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ขยะในปัจจุบันมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ถึงวันละ 40,000 ต้น หรือปีละ 15 ล้านตัน และเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้ ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมและผู้ที่เกี่ยวข้อง กำลังเผชิญกับปัญหาขยะมูลฝอยจำนวนมากที่รอการกำจัด โดยที่ผ่านมาการกำจัดขยะใช้วิธีการฝังกลบซึ่งลงทุนน้อย ค่าบำรุงรักษาต่ำ แต่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ไม่เพียงพอและแหล่งฝังกลบยังต้องอยู่ห่างไกล ทำให้เกิดค่าขนส่งขยะสูง แต่หากนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านพลังงานจะก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยลดปัญหาพื้นที่การจัดเก็บขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดโมเดลแปลงขยะเป็นพลังงาน คาดว่าจะได้พลังงานทดแทน ช่วยลดปัญหาพื้นที่การจัดเก็บขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า ขยะ 5 ตัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,300 หน่วย ขยะ 10 ตัน จะสามารถผลิตน้ำมันได้ 6,600 ลิตรต่อวัน จากการดำเนินการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในโครงการศึกษาและพัฒนาต้นแบบการจัดการขยะชุมชนเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ประเภทย่อยสลายไม่ได้และย่อยสลายได้ และนำส่วนที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร ไปเข้าเครื่องสับขยะ จากนั้นนำเข้าสู่โรงงานหมักขยะ ใช้กระบวนการทางกลและชีวภาพเพื่อย่อยสลายและปรับสภาพให้ขยะมีความเหมาะสมนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล ด้านการแปรรูปขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณกับเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ในการจัดซื้อเครื่องจักรแปรรูปขยะพลาสติก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 13
'ปู'จ่อไปพม่าเจรจาด้านพลังงานเปิดปตท.สผ.พัฒนาแปลงMD7-8
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, December 15, 2011
ASTVผู้จัดการรายวัน - "ยิ่งลักษณ์" เตรียมเดินทางไปพม่า เจรจาความร่วมมือด้านพลังงานขอให้ปตท.สผ.ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเล แปลง MD7 และ MD8 ขณะที่แปลงน้ำมันบนบกใกล้จบแล้ว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินคุณภาพสะอาดเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานยูโร 4 ของบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)วานนี้(14 ธ.ค)ว่า นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะประกอบด้วยนายสุรพงษ์โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศและตนจะร่วมเดินทางไปสหภาพพม่าระหว่างวันที่ 18-20 ธ.ค.นี้ เพื่อหารือกับรัฐมนตรีพลังงานของพม่าด้านความร่วมมือพลังงาน โดยจะขอให้พม่าอนุญาตให้บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)ได้เข้าไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่ง MD7 และ MD8 ซึ่งเป็นแปลงปิโตรเลียมในทะเล เพื่อนำก๊าซฯและน้ำมันที่สำรวจได้มาใช้ประโยชน์ร่วมกันส่วนความคืบหน้าในการเจรจาขอสัมปทานปิโตรเลียมบนบก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบนั้นขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยขั้นตอนการเจรจาใกล้จะจบแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีแผนเดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ หลังจากตนได้มีการพบปะกับนายซก อันรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชามาก่อนหน้านี้ โดยการเยีอนกัมพูชาอย่างเป็นทางการนี้จะมีการหารือความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา ซึ่งทั้งสองฝ่ายอยากให้มีการเร่งเดินหน้าเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ธันวาคมนี้ นายกรัฐมนตรีและตนจะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมงานของบริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในการเซ็นสัญญาซื้อหุ้นในบริษัท Perstorp Holding France ประเทศฝรั่งเศส ในสัดส่วนหุ้น 51% คิดเป็นวงเงินลงทุน 4.8 พันล้านบาท
โดยการเข้าไปซื้อหุ้นในPerstorp นี้ ทางพีทีที โกลบอล เคมิคอลต้องการเทคโนโลยีในการผลิต Isocyanate ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกโพลียูรีเทน ของ Perstorp ซึ่งพีทีที โกลบอลเคมิคอลมีแผนที่จะลงทุนตั้งโรงงานผลิต Isocyanate ในไทย นับเป็นโรงงานแห่งแรกในภูมิภาคนี้
นายพิชัย กล่าวต่อไปว่า ตามที่รัฐประกาศบังคับใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ในวันที่ 1 ม.ค.55 ทำให้โรงกลั่นน้ำมันในประเทศลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊ซโซฮอล์ รวมทั้งดีเซลเพิ่มสูงขึ้น โดยราคาขายปลีกน้ำมันคุณภาพยูโร 4 จะปรับขึ้นเป็นเท่าไรนั้นยังไม่ได้สรุปชัดเจน คงต้องหารือกับผู้ค้าน้ำมันว่าจะปรับขึ้นเท่าไรจึงจะไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน
น้อยที่สุด และควรปรับขึ้นในช่วงที่ราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลง
สำหรับแผนการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จะมีการจัดงาน Energy Expo ในวันที่ 26 ธ.ค.54-3 ม.ค.55 ที่ไบเทค กรุงเทพฯ เพื่อจำหน่ายสินค้าเครื่องไฟฟ้าราคาถูก และจะให้บัตรส่วนลดราคาสินค้าจำนวน 2,000 บาท แก่ผู้ที่บ้านถูกน้ำท่วม เพื่อนำมาซื้อสินค้าในงาน โดยตั้งงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท ครอบคลุม 1 ล้านครัวเรือนโดยจะจัดงานให้ได้ 20 จังหวัดที่น้ำท่วม
ส่วนการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม ได้มีการอนุมัติเงินประมาณ2,050 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
และอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เช่น มอเตอร์บอยเลอร์ เป็นต้น
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, December 15, 2011
ASTVผู้จัดการรายวัน - "ยิ่งลักษณ์" เตรียมเดินทางไปพม่า เจรจาความร่วมมือด้านพลังงานขอให้ปตท.สผ.ได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในทะเล แปลง MD7 และ MD8 ขณะที่แปลงน้ำมันบนบกใกล้จบแล้ว
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดหน่วยผลิตน้ำมันเบนซินคุณภาพสะอาดเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานยูโร 4 ของบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)วานนี้(14 ธ.ค)ว่า นายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะประกอบด้วยนายสุรพงษ์โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศและตนจะร่วมเดินทางไปสหภาพพม่าระหว่างวันที่ 18-20 ธ.ค.นี้ เพื่อหารือกับรัฐมนตรีพลังงานของพม่าด้านความร่วมมือพลังงาน โดยจะขอให้พม่าอนุญาตให้บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)ได้เข้าไปสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่ง MD7 และ MD8 ซึ่งเป็นแปลงปิโตรเลียมในทะเล เพื่อนำก๊าซฯและน้ำมันที่สำรวจได้มาใช้ประโยชน์ร่วมกันส่วนความคืบหน้าในการเจรจาขอสัมปทานปิโตรเลียมบนบก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบนั้นขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยขั้นตอนการเจรจาใกล้จะจบแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีแผนเดินทางไปเยือนประเทศกัมพูชาอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ หลังจากตนได้มีการพบปะกับนายซก อันรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชามาก่อนหน้านี้ โดยการเยีอนกัมพูชาอย่างเป็นทางการนี้จะมีการหารือความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา ซึ่งทั้งสองฝ่ายอยากให้มีการเร่งเดินหน้าเรื่องนี้เพื่อประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ
ส่วนในช่วงวันที่ 22-24 ธันวาคมนี้ นายกรัฐมนตรีและตนจะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่วมงานของบริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในการเซ็นสัญญาซื้อหุ้นในบริษัท Perstorp Holding France ประเทศฝรั่งเศส ในสัดส่วนหุ้น 51% คิดเป็นวงเงินลงทุน 4.8 พันล้านบาท
โดยการเข้าไปซื้อหุ้นในPerstorp นี้ ทางพีทีที โกลบอล เคมิคอลต้องการเทคโนโลยีในการผลิต Isocyanate ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกโพลียูรีเทน ของ Perstorp ซึ่งพีทีที โกลบอลเคมิคอลมีแผนที่จะลงทุนตั้งโรงงานผลิต Isocyanate ในไทย นับเป็นโรงงานแห่งแรกในภูมิภาคนี้
นายพิชัย กล่าวต่อไปว่า ตามที่รัฐประกาศบังคับใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4 ในวันที่ 1 ม.ค.55 ทำให้โรงกลั่นน้ำมันในประเทศลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรเพื่อให้สามารถผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊ซโซฮอล์ รวมทั้งดีเซลเพิ่มสูงขึ้น โดยราคาขายปลีกน้ำมันคุณภาพยูโร 4 จะปรับขึ้นเป็นเท่าไรนั้นยังไม่ได้สรุปชัดเจน คงต้องหารือกับผู้ค้าน้ำมันว่าจะปรับขึ้นเท่าไรจึงจะไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน
น้อยที่สุด และควรปรับขึ้นในช่วงที่ราคาน้ำมันโลกปรับตัวลดลง
สำหรับแผนการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จะมีการจัดงาน Energy Expo ในวันที่ 26 ธ.ค.54-3 ม.ค.55 ที่ไบเทค กรุงเทพฯ เพื่อจำหน่ายสินค้าเครื่องไฟฟ้าราคาถูก และจะให้บัตรส่วนลดราคาสินค้าจำนวน 2,000 บาท แก่ผู้ที่บ้านถูกน้ำท่วม เพื่อนำมาซื้อสินค้าในงาน โดยตั้งงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 2,000 ล้านบาท ครอบคลุม 1 ล้านครัวเรือนโดยจะจัดงานให้ได้ 20 จังหวัดที่น้ำท่วม
ส่วนการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม ได้มีการอนุมัติเงินประมาณ2,050 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
และอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เช่น มอเตอร์บอยเลอร์ เป็นต้น
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 14
“ไพรินทร์”หนุนรัฐตั้งคลังสำรองเพิ่ม
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 15, 2011
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTTเปิดเผยว่า เอกชนสนับสนุนการตั้งคลังสำรองทางยุทธศาตร์เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเห็นว่าในระยะแรกภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ แต่ในระยะยาวภาครัฐจะต้องช่วยดำเนินการในเรื่องของระบบสาธาณูปโภคต่างๆ ให้มีความเหมาะสม
สำหรับความคืบหน้าแผนลงทุนทางท่อ ปตท.จะเดินหน้าต่อไป เนื่องจากเห็นความสำคัญของการลงทุนทางท่อ โดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาน้ำท่วมทำให้การขนส่งทางบกไม่สามารถดำเนินการได้ แต่การขนส่งทางท่อสามารถดำเนินการได้ตามปกติ และมีความปลอดภัยจึงมีแผนที่จะขยายเส้นทางของท่อให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุป
ส่วนเรื่องแผนการลงทุนของปตท. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากแผนเดิมที่ตั้งไว้ โดยยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและยังสามารถขยายตัวต่อไปได้ ส่วนการลงทุนในต่างประเทศก็จะดูเรื่องผลตอบแทนการลงทุนเป็นหลัก ขณะที่การนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) ในปีหน้า คาดว่าจะมีการนำเข้าประมาณ 1 ล้านตันต่อปี
ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงปลายปีนี้น่าจะทรงตัวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนปีหน้ายังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากยังมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ โดยปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรป ส่วนเรื่องการปรับเปลี่ยนราคาน้ำมันในประเทศก็ต้องขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลกเป็นหลัก
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 15, 2011
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTTเปิดเผยว่า เอกชนสนับสนุนการตั้งคลังสำรองทางยุทธศาตร์เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเห็นว่าในระยะแรกภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้ แต่ในระยะยาวภาครัฐจะต้องช่วยดำเนินการในเรื่องของระบบสาธาณูปโภคต่างๆ ให้มีความเหมาะสม
สำหรับความคืบหน้าแผนลงทุนทางท่อ ปตท.จะเดินหน้าต่อไป เนื่องจากเห็นความสำคัญของการลงทุนทางท่อ โดยเฉพาะกรณีที่เกิดปัญหาน้ำท่วมทำให้การขนส่งทางบกไม่สามารถดำเนินการได้ แต่การขนส่งทางท่อสามารถดำเนินการได้ตามปกติ และมีความปลอดภัยจึงมีแผนที่จะขยายเส้นทางของท่อให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีหลายวิธี โดยขณะนี้ยังไม่ได้มีข้อสรุป
ส่วนเรื่องแผนการลงทุนของปตท. ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากแผนเดิมที่ตั้งไว้ โดยยังเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและยังสามารถขยายตัวต่อไปได้ ส่วนการลงทุนในต่างประเทศก็จะดูเรื่องผลตอบแทนการลงทุนเป็นหลัก ขณะที่การนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) ในปีหน้า คาดว่าจะมีการนำเข้าประมาณ 1 ล้านตันต่อปี
ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงปลายปีนี้น่าจะทรงตัวเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนปีหน้ายังไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากยังมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ โดยปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรป ส่วนเรื่องการปรับเปลี่ยนราคาน้ำมันในประเทศก็ต้องขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลกเป็นหลัก
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 15
PTT plots B1bn CNG plan
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, December 16, 2011
National oil conglomerate PTT Plc is proceeding with plans to spend 1 billion baht to increase delivery of compressed natural gas to sate the long queue of drivers at gas pumps.
Toemchai Bunnag, executive vice-president of the gas business unit, said PTT is expanding the delivery capacity of its 20 CNG stock pumps that can deliver 4,000 tonnes per day. These mother pumps operate not only the refill service but also the CNG tank farm, while daughter pumps only do refills.
Delivery capacity is projected to increase to 4,700 tonnes this year, jumping to 5,100 by the first quarter next year and 5,600 tonnes in the second quarter.
Daughter stations will expand to 502 from 463 units.
"Because environmental impact assessments are required for new CNG stations, we decided to accelerate delivery capacity at mother stations instead because we can accomplish it much more quickly," said Mr Toemchai.
Ahead of the heavy floods, CNG demand rose 12% to 7,000 tonnes per day, leading to long queues at CNG pumps.
Pailin Chuchottaworn, PTT’s chief executive, said it plans to reduce traffic at refill stations, particularly for taxis during rush hour.
PTT reported its CNG business has accumulated losses of 31 billion baht over the past decade because of government subsidies. Losses are expected to reach 10 billion baht each year from now if the price remains fixed at 8.5 baht a kilo.
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, December 16, 2011
National oil conglomerate PTT Plc is proceeding with plans to spend 1 billion baht to increase delivery of compressed natural gas to sate the long queue of drivers at gas pumps.
Toemchai Bunnag, executive vice-president of the gas business unit, said PTT is expanding the delivery capacity of its 20 CNG stock pumps that can deliver 4,000 tonnes per day. These mother pumps operate not only the refill service but also the CNG tank farm, while daughter pumps only do refills.
Delivery capacity is projected to increase to 4,700 tonnes this year, jumping to 5,100 by the first quarter next year and 5,600 tonnes in the second quarter.
Daughter stations will expand to 502 from 463 units.
"Because environmental impact assessments are required for new CNG stations, we decided to accelerate delivery capacity at mother stations instead because we can accomplish it much more quickly," said Mr Toemchai.
Ahead of the heavy floods, CNG demand rose 12% to 7,000 tonnes per day, leading to long queues at CNG pumps.
Pailin Chuchottaworn, PTT’s chief executive, said it plans to reduce traffic at refill stations, particularly for taxis during rush hour.
PTT reported its CNG business has accumulated losses of 31 billion baht over the past decade because of government subsidies. Losses are expected to reach 10 billion baht each year from now if the price remains fixed at 8.5 baht a kilo.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 17
กรณีนี้ ผมแนะนำให้สอบถามจากพี่วิบูลย์ ที่ "กระทู้ตะแกรงร่อนฯ" ที่อยู่ในห้องคลังกระทู้คุณค่าแพ้ปอ4 เขียน:คุณ pak ครับ ไม่ทราบว่า กำลังการผลิตของ Bongkot south ที่ใกล้จะผลิต มีจำนวนเท่าไหร่ครับ แล้วจะส่งผลต่อรายได้อย่างไรครับ ทราบว่าปริมาณการผลิตค่อนข้างเยอะทีเดียว
น่าจะได้คำตอบที่สมบูรณ์เลยหล่ะครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 18
ปตท.ลงทุนแอลเอ็นจีเฟสสองเร็วขึ้น 1-2 ปี ตั้งเป้าเข้าระบบปี 2558
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, December 20, 2011
รับความต้องการให้ก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มต่อเนื่องทดแทนถ่านหิน-นิวเคลียร์
ปตท.เร่งลงทุนแอลเอ็นจีเฟส 2 อีก 5 ล้านตันเร็วกว่ากำหนด 1-2 ปี คาดลงทุนในปี 2556 ก่อนเข้าระบบไม่เกินปี 2558 หลังพบความต้องการใช้ในภาคไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เหตุพลังงานปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 ส่งผลโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ต้องเข้าระบบแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์-ถ่านหิน
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างเร่งศึกษา เพื่อลงทุนสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ระยะที่ 2 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กำลังการรองรับก๊าซฯ 5 ล้านตัน ให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม ที่จะขยายโครงการในระยะที่ 2 ในปี 2559 มาเป็นไม่เกินปี 2558
โดยจะสรุปแผนให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2555 และเริ่มลงทุนในปี 2556 และเข้าระบบในปี 2557-2558 ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนต่ำกว่าระยะแรก ที่ลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากสามารถใช้ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น ท่าเรือ หรือคลัง ร่วมกับสถานีเดิมได้
ทั้งนี้การเร่งขยายการลงทุนดังกล่าว เพื่อรองรับความต้องการแอลเอ็นจีที่เพิ่มขึ้น หลังจากพบว่าแอลเอ็นจีระยะแรก 5 ล้านตัน ซึ่งกำลังทยอยนำเข้าปีละ 1 ล้านตันตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา จะไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ที่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70-80% ของความต้องการใช้ทั้งหมด
ขณะที่กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการปรับปรุง แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ฉบับ 2010 ที่จะเลื่อนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ออกไป ขณะเดียวกันการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะเข้าได้ตามแผน และจะสามารถมาแทนนิวเคลียร์ได้ตามแผนหรือไม่
ในช่วง 5-6 เดือนหลังจากนี้ จะต้องติดตามการปรับแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงาน เพื่อให้มีข้อมูลชัดเจนว่า จะนำโรงไฟฟ้าก๊าซฯ มาแทนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ และถ่านหินจะเดินหน้าตามแผนได้หรือไม่ และต้องประเมินความต้องการใช้ก๊าซฯ ในภาคอุตสาหกรรมและขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้ก๊าซฯ ที่ระดับ 20-30% ด้วย นายพีระพงษ์ กล่าว
โดยปัจจุบันแม้ความต้องการใช้ก๊าซจะลดลงเหลือ 3,800-3,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากเดิม 4,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่คาดว่าจะเป็นการลดลงชั่วคราวในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น แต่หลังจากนี้การใช้จะกลับมาเติบโตอย่าต่อเนื่อง ภายหลังจากภาคการผลิตฟื้นฟูแล้วและภาคการบริโภคกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นานมาก
นายพีระพงษ์ กล่าวว่า ในการนำเข้าแอลเอ็นจีนั้น ปัจจุบันทยอยนำเข้าระบบจริงประมาณ 130-140 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งถือว่ายังเป็นสัดส่วนไม่มากนัก หรือไม่ถึง 5% เมื่อเทียบกับการใช้ก๊าซฯ จากอ่าวไทยและสหภาพพม่า แต่จะเพิ่มเป็นสัดส่วนถึงระดับ 30% ภายในระยะเวลา 10 ปีและระยะยาว เมื่อแอลเอ็นจีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแล้ว โครงสร้างการนำเข้าและจัดจำหน่ายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับตลาดที่เปิดกว้างขึ้น เช่น การมีผู้ค้าหลายราย จากปัจจุบันที่ ปตท.ยังเป็นกลไกหลักของรัฐในการนำเข้าและกระจายแอลเอ็นจีไปสู่ความต้องการใช้ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นในการวางระบบ
นอกจากนี้เมื่อแอลเอ็นจีเข้ามามากขึ้น ผู้ใช้ก็ต้องยอมรับในเรื่องต้นทุนที่จะสูงตามไปด้วย ทั้งต้นทุนในภาคการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมและขนส่ง เพราะแอลเอ็นจีมีต้นทุนจากการจัดหาและนำเข้าสูงกว่าก๊าซฯ ในอ่าวไทยมากกว่า 1 ตัว
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, December 20, 2011
รับความต้องการให้ก๊าซเพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มต่อเนื่องทดแทนถ่านหิน-นิวเคลียร์
ปตท.เร่งลงทุนแอลเอ็นจีเฟส 2 อีก 5 ล้านตันเร็วกว่ากำหนด 1-2 ปี คาดลงทุนในปี 2556 ก่อนเข้าระบบไม่เกินปี 2558 หลังพบความต้องการใช้ในภาคไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เหตุพลังงานปรับปรุงแผนพีดีพี 2010 ส่งผลโรงไฟฟ้าก๊าซฯ ต้องเข้าระบบแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์-ถ่านหิน
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างเร่งศึกษา เพื่อลงทุนสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ระยะที่ 2 ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด กำลังการรองรับก๊าซฯ 5 ล้านตัน ให้เร็วขึ้นจากแผนเดิม ที่จะขยายโครงการในระยะที่ 2 ในปี 2559 มาเป็นไม่เกินปี 2558
โดยจะสรุปแผนให้แล้วเสร็จภายในกลางปี 2555 และเริ่มลงทุนในปี 2556 และเข้าระบบในปี 2557-2558 ทั้งนี้คาดว่าจะใช้เม็ดเงินลงทุนต่ำกว่าระยะแรก ที่ลงทุนประมาณ 30,000 ล้านบาท เนื่องจากสามารถใช้ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น ท่าเรือ หรือคลัง ร่วมกับสถานีเดิมได้
ทั้งนี้การเร่งขยายการลงทุนดังกล่าว เพื่อรองรับความต้องการแอลเอ็นจีที่เพิ่มขึ้น หลังจากพบว่าแอลเอ็นจีระยะแรก 5 ล้านตัน ซึ่งกำลังทยอยนำเข้าปีละ 1 ล้านตันตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา จะไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ ที่คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70-80% ของความต้องการใช้ทั้งหมด
ขณะที่กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการปรับปรุง แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ฉบับ 2010 ที่จะเลื่อนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ออกไป ขณะเดียวกันการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะเข้าได้ตามแผน และจะสามารถมาแทนนิวเคลียร์ได้ตามแผนหรือไม่
ในช่วง 5-6 เดือนหลังจากนี้ จะต้องติดตามการปรับแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงาน เพื่อให้มีข้อมูลชัดเจนว่า จะนำโรงไฟฟ้าก๊าซฯ มาแทนที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ และถ่านหินจะเดินหน้าตามแผนได้หรือไม่ และต้องประเมินความต้องการใช้ก๊าซฯ ในภาคอุตสาหกรรมและขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้ก๊าซฯ ที่ระดับ 20-30% ด้วย นายพีระพงษ์ กล่าว
โดยปัจจุบันแม้ความต้องการใช้ก๊าซจะลดลงเหลือ 3,800-3,900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากเดิม 4,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่คาดว่าจะเป็นการลดลงชั่วคราวในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น แต่หลังจากนี้การใช้จะกลับมาเติบโตอย่าต่อเนื่อง ภายหลังจากภาคการผลิตฟื้นฟูแล้วและภาคการบริโภคกลับมาฟื้นตัวเป็นปกติ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นานมาก
นายพีระพงษ์ กล่าวว่า ในการนำเข้าแอลเอ็นจีนั้น ปัจจุบันทยอยนำเข้าระบบจริงประมาณ 130-140 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งถือว่ายังเป็นสัดส่วนไม่มากนัก หรือไม่ถึง 5% เมื่อเทียบกับการใช้ก๊าซฯ จากอ่าวไทยและสหภาพพม่า แต่จะเพิ่มเป็นสัดส่วนถึงระดับ 30% ภายในระยะเวลา 10 ปีและระยะยาว เมื่อแอลเอ็นจีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นแล้ว โครงสร้างการนำเข้าและจัดจำหน่ายก็ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับตลาดที่เปิดกว้างขึ้น เช่น การมีผู้ค้าหลายราย จากปัจจุบันที่ ปตท.ยังเป็นกลไกหลักของรัฐในการนำเข้าและกระจายแอลเอ็นจีไปสู่ความต้องการใช้ เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นในการวางระบบ
นอกจากนี้เมื่อแอลเอ็นจีเข้ามามากขึ้น ผู้ใช้ก็ต้องยอมรับในเรื่องต้นทุนที่จะสูงตามไปด้วย ทั้งต้นทุนในภาคการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมและขนส่ง เพราะแอลเอ็นจีมีต้นทุนจากการจัดหาและนำเข้าสูงกว่าก๊าซฯ ในอ่าวไทยมากกว่า 1 ตัว
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 19
'ทักษิณ'เบิกทางรอ'ยิ่งลักษณ์'บินคุยพม่าซื้อพลังงานป้อนไทย
Source - แนวหน้า (Th), Tuesday, December 20, 2011
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการหารือทวิภาคีระหว่าง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลรมว.ต่างประเทศ และนายพิชัย นริพทะพันธุ์รมว.พลังงาน กับ นายวันนะ หม่อง ลวินรมว.ต่างประเทศพม่าและนายตาน เท รมว.พลังงานพม่า ที่จะมีขึ้นวันที่ 20 ธ.ค.โดยจะหารือเรื่องความร่วมมือด้านพลังงาน โดยเฉพาะด้านก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.สผ.มีความสนใจที่จะขอประมูลสัมปทานขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติทางบกในประเทศพม่า โดยทราบว่าพม่าจะเปิดให้ต่างชาติเข้าประมูลประมาณ10 แห่ง เพื่อเตรียมสำรองหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ให้ประเทศไทย เพราะทรัพยากรเท่าที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ปตท.สผ.ได้เดินทางมายังพม่าและเข้าพบผู้บริหารระดับสูงของพม่า เพื่อหารือถึงความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับพม่า ก่อนที่คณะของไทยนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสุรพงษ์และนายพิชัย จะพบปะกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ทั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ จะพบกับพล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำจีเอ็มเอส ครั้งที่ 4 ที่กรุงเนปิดอว์ ช่วงบ่ายวันที่ 20 ธ.ค. ก่อนที่จะพบกับ นางอองซานซู จี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดี ที่ทำเนียบของเอกอัครราชทูตไทย ณ นครย่างกุ้ง ก่อนเดินทางกลับในเย็นวันที่ 20 ธันวาคมเช่นกัน--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
Source - แนวหน้า (Th), Tuesday, December 20, 2011
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการหารือทวิภาคีระหว่าง นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุลรมว.ต่างประเทศ และนายพิชัย นริพทะพันธุ์รมว.พลังงาน กับ นายวันนะ หม่อง ลวินรมว.ต่างประเทศพม่าและนายตาน เท รมว.พลังงานพม่า ที่จะมีขึ้นวันที่ 20 ธ.ค.โดยจะหารือเรื่องความร่วมมือด้านพลังงาน โดยเฉพาะด้านก๊าซธรรมชาติที่ ปตท.สผ.มีความสนใจที่จะขอประมูลสัมปทานขุดเจาะแหล่งก๊าซธรรมชาติทางบกในประเทศพม่า โดยทราบว่าพม่าจะเปิดให้ต่างชาติเข้าประมูลประมาณ10 แห่ง เพื่อเตรียมสำรองหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ให้ประเทศไทย เพราะทรัพยากรเท่าที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ปตท.สผ.ได้เดินทางมายังพม่าและเข้าพบผู้บริหารระดับสูงของพม่า เพื่อหารือถึงความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับพม่า ก่อนที่คณะของไทยนำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสุรพงษ์และนายพิชัย จะพบปะกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้
ทั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ จะพบกับพล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำจีเอ็มเอส ครั้งที่ 4 ที่กรุงเนปิดอว์ ช่วงบ่ายวันที่ 20 ธ.ค. ก่อนที่จะพบกับ นางอองซานซู จี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดี ที่ทำเนียบของเอกอัครราชทูตไทย ณ นครย่างกุ้ง ก่อนเดินทางกลับในเย็นวันที่ 20 ธันวาคมเช่นกัน--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 20
ไทย-พม่าร่วมมือสร้างโรงแยกก๊าซ
แหล่งข่าว : เดลินิวส์, วันที่ : 22/12/2011
ไทย-พม่าสัมพันธ์แน่น เตรียมจับมือกันร่วมลงทุนโรงแยกก๊าซ ยันปรับราคาเอ็นจีวีขึ้นแน่ วอนผู้ประกอบการขนส่งเห็นใจ ให้ลดกำไรน้อยลง เพราะจะให้ปตท.ขาดทุนฝ่ายเดียวไม่ได้ พร้อมเปิดทางพูดคุยกับทุกฝ่าย ส่วนรถแท็กซี่จะขึ้นราคา ให้ไปคุยกับคมนาคม แต่ราคาต้องเหมาะสมด้วย มิเช่นนั้นประชาชนเดือดร้อน
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงการเดินทางเยือนประเทศพม่า เพื่อเจรจาเรื่องแหล่งพลังงาน เมื่อวันที่ 19-20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ว่า ตนพร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ร่วมหารือกับนายวันนะ หม่อง ลวิน รมว.ต่างประเทศ และนายยู ทัน เต รมต.พลังงาน ของประเทศพม่า ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ส่งผลให้เราได้แหล่งพลังงานบนภาคพื้นดินจากประเทศพม่าเพิ่มอีก 2 แหล่ง ใกล้กรุงเนปิดอว์ ซึ่งจะมีทั้งน้ำมันและก๊าซ โดยจะมีแหล่ง เอ็ม 9 ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2556
รมว.พลังงาน ระบุอีกว่า ส่วนแหล่งเอ็ม 3 อยู่ติดกับอ่าวเมาะตะมะ จะเกิดขึ้นในปี 2559 ซึ่งแหล่งเอ็ม 3 นี้จะเป็นแหล่งพลังงานก๊าซเปียก ที่มีส่วนผสมของปิโตรเคมี เป็นแหล่งแรก ซึ่งเราจะร่วมกับพม่าทำโรงแยกก๊าซ โดยจะมีความสัมพันธ์ระยะยาวกันด้วย โดยเราได้เชิญรัฐมนตรีพลังงานของพม่ามาร่วมงานอินเตอร์เนชั่นแนลปิโตรเลียม ในวันที่ 7-9 ก.พ. 2555 จากนั้นเราจะพาไปดูโรงแยกก๊าซที่จะนำไปทำที่ประเทศพม่าในลักษณะเดียวกับประเทศไทยด้วย
ต่อข้อถามว่าโรงแยกก๊าซที่จะเกิดขึ้นนี้ ประเทศใดเป็นผู้ลงทุน นายพิชัยตอบว่า คงต้องรอดูว่าการตัดสินใจของทางประเทศพม่า การลงทุนนั้นเราคงต้องเจรจาร่วมกัน ว่าพม่าจะร่วมลงทุนกับทางบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดหรือไม่ หรือจำนำแหล่งก๊าซอื่นเพื่อมาร่วมลงทุน เราพร้อมยินดี
สำหรับกรณีที่กลุ่มผู้ขับขี่ขนส่ง คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ในวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า เรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเราให้ข้อมูลกับประชาชนมาโดยตลอด ดังนั้นเราต้องมาดูว่าประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร จะให้มาอุ้มราคาพลังงานตลอดไปนั้นคงไม่ได้ ตั้งแต่ต้นปี 2554 ต้นทุนของราคาก๊าซอยู่ที่ 16 บาทกว่า ราคา 14 บาทกว่า นั้นยังขาดทุนอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเราขาดทุนอยู่แล้ว ทั้งนี้ตนคิดว่าการใช้เอ็นจีวี มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมที่จะพูดคุยกับทุกฝ่าย ปัญหามันอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการขนส่ง ต้องการที่จะได้กำไรมากแต่ให้ ปตท. ขาดทุน คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จะขึ้นราคาเอ็นจีวีอย่างแน่นอน
"เราอยากตามใจประชาชนอยู่แล้ว เข้ามาก็ลดราคาน้ำมันเลย ในภาวะที่ต้องช่วยเหลือกันเราได้ช่วยเหลือมาโดยตลอด แต่เวลานี้เราต้องปรับโครงสร้างของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เรื่องนี้เราได้หารือกันมาโดยตลอด และคิดว่าท่านทั้งหลายไม่ได้ลำบาก หากเอาต้นทุนมาดูแล้วอยู่ไม่ได้ ผมพร้อมที่จะคุยกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ขึ้นราคาแน่นอน" นายพิชัยกล่าว
ต่อข้อถามว่าผู้ประกอบการขนส่ง ขอความชัดเจนก่อนสิ้นปี 2554 จะนัดหารือกันหรือไม่ นายพิชัยระบุว่า หากผู้ประกอบการท่านใดมีการนัดหารือ ตนพร้อมยินดีที่จะพูดคุย สำหรับผู้ขับรถแท็กซี่หากมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาโดยสาร คงต้องหารือกับทางกระทรวงคมนาคม แต่ต้องหาแนวทางในราคาที่เหมาะสมกับประชาชนด้วย เพราะราคาโดยสารแท็กซี่นั้น ไม่ได้มีการปรับขึ้นตั้งแต่ปี 2551 ส่วนการตรึงดีเซลคือการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มอีก 1 เดือน หากคิดเป็นมูลค่านั้น คงต้องให้ทางกระทรวงการคลังเป็นผู้เช็ก งบประมาณ.--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
แหล่งข่าว : เดลินิวส์, วันที่ : 22/12/2011
ไทย-พม่าสัมพันธ์แน่น เตรียมจับมือกันร่วมลงทุนโรงแยกก๊าซ ยันปรับราคาเอ็นจีวีขึ้นแน่ วอนผู้ประกอบการขนส่งเห็นใจ ให้ลดกำไรน้อยลง เพราะจะให้ปตท.ขาดทุนฝ่ายเดียวไม่ได้ พร้อมเปิดทางพูดคุยกับทุกฝ่าย ส่วนรถแท็กซี่จะขึ้นราคา ให้ไปคุยกับคมนาคม แต่ราคาต้องเหมาะสมด้วย มิเช่นนั้นประชาชนเดือดร้อน
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 21 ธ.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน กล่าวถึงการเดินทางเยือนประเทศพม่า เพื่อเจรจาเรื่องแหล่งพลังงาน เมื่อวันที่ 19-20 ธ.ค. ที่ผ่านมา ว่า ตนพร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ร่วมหารือกับนายวันนะ หม่อง ลวิน รมว.ต่างประเทศ และนายยู ทัน เต รมต.พลังงาน ของประเทศพม่า ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้ส่งผลให้เราได้แหล่งพลังงานบนภาคพื้นดินจากประเทศพม่าเพิ่มอีก 2 แหล่ง ใกล้กรุงเนปิดอว์ ซึ่งจะมีทั้งน้ำมันและก๊าซ โดยจะมีแหล่ง เอ็ม 9 ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2556
รมว.พลังงาน ระบุอีกว่า ส่วนแหล่งเอ็ม 3 อยู่ติดกับอ่าวเมาะตะมะ จะเกิดขึ้นในปี 2559 ซึ่งแหล่งเอ็ม 3 นี้จะเป็นแหล่งพลังงานก๊าซเปียก ที่มีส่วนผสมของปิโตรเคมี เป็นแหล่งแรก ซึ่งเราจะร่วมกับพม่าทำโรงแยกก๊าซ โดยจะมีความสัมพันธ์ระยะยาวกันด้วย โดยเราได้เชิญรัฐมนตรีพลังงานของพม่ามาร่วมงานอินเตอร์เนชั่นแนลปิโตรเลียม ในวันที่ 7-9 ก.พ. 2555 จากนั้นเราจะพาไปดูโรงแยกก๊าซที่จะนำไปทำที่ประเทศพม่าในลักษณะเดียวกับประเทศไทยด้วย
ต่อข้อถามว่าโรงแยกก๊าซที่จะเกิดขึ้นนี้ ประเทศใดเป็นผู้ลงทุน นายพิชัยตอบว่า คงต้องรอดูว่าการตัดสินใจของทางประเทศพม่า การลงทุนนั้นเราคงต้องเจรจาร่วมกัน ว่าพม่าจะร่วมลงทุนกับทางบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดหรือไม่ หรือจำนำแหล่งก๊าซอื่นเพื่อมาร่วมลงทุน เราพร้อมยินดี
สำหรับกรณีที่กลุ่มผู้ขับขี่ขนส่ง คัดค้านการขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี ในวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมานั้น รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า เรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเราให้ข้อมูลกับประชาชนมาโดยตลอด ดังนั้นเราต้องมาดูว่าประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร จะให้มาอุ้มราคาพลังงานตลอดไปนั้นคงไม่ได้ ตั้งแต่ต้นปี 2554 ต้นทุนของราคาก๊าซอยู่ที่ 16 บาทกว่า ราคา 14 บาทกว่า นั้นยังขาดทุนอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเราขาดทุนอยู่แล้ว ทั้งนี้ตนคิดว่าการใช้เอ็นจีวี มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตนพร้อมที่จะพูดคุยกับทุกฝ่าย ปัญหามันอยู่ที่ว่าผู้ประกอบการขนส่ง ต้องการที่จะได้กำไรมากแต่ให้ ปตท. ขาดทุน คงเป็นไปไม่ได้แน่นอน อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง จะขึ้นราคาเอ็นจีวีอย่างแน่นอน
"เราอยากตามใจประชาชนอยู่แล้ว เข้ามาก็ลดราคาน้ำมันเลย ในภาวะที่ต้องช่วยเหลือกันเราได้ช่วยเหลือมาโดยตลอด แต่เวลานี้เราต้องปรับโครงสร้างของประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น เรื่องนี้เราได้หารือกันมาโดยตลอด และคิดว่าท่านทั้งหลายไม่ได้ลำบาก หากเอาต้นทุนมาดูแล้วอยู่ไม่ได้ ผมพร้อมที่จะคุยกับกระทรวงคมนาคม เพื่อให้ขึ้นราคาแน่นอน" นายพิชัยกล่าว
ต่อข้อถามว่าผู้ประกอบการขนส่ง ขอความชัดเจนก่อนสิ้นปี 2554 จะนัดหารือกันหรือไม่ นายพิชัยระบุว่า หากผู้ประกอบการท่านใดมีการนัดหารือ ตนพร้อมยินดีที่จะพูดคุย สำหรับผู้ขับรถแท็กซี่หากมีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นราคาโดยสาร คงต้องหารือกับทางกระทรวงคมนาคม แต่ต้องหาแนวทางในราคาที่เหมาะสมกับประชาชนด้วย เพราะราคาโดยสารแท็กซี่นั้น ไม่ได้มีการปรับขึ้นตั้งแต่ปี 2551 ส่วนการตรึงดีเซลคือการไม่เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มอีก 1 เดือน หากคิดเป็นมูลค่านั้น คงต้องให้ทางกระทรวงการคลังเป็นผู้เช็ก งบประมาณ.--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 21
ปตท.สผ.เบียดสู้ต่างชาติ ยึด2แหล่งปิโตรเลียมพม่า
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 22, 2011
ปตท.สผ. คว้า 2 แหล่งสัมปทานปิโตรเลียมบนบกพม่า พิชัย ดัน ปตท.สผ.ลงทุนโรงแยกก๊าซฯ-ปิโตรเคมีครบวงจรแลกกับสัมปทานในพม่า เตรียมเชิญรัฐมนตรีพม่า ดูกิจการโรงแยกก๊าซ-ปิโตรเคมีในไทย 6 ผู้นำลุ่มน้ำโขงถกอุปสรรคและความเสี่ยงลุ่มน้ำโขง
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเดินทางเยือนประเทศพม่า ร่วมกับคณะของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการยืนยันว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลสัมปทานปิโตรเลียมบนบกในประเทศพม่า จำนวน 2 แปลง จากที่ยื่นประมูลไป 3 แปลง ขณะที่พม่าได้เปิดประมูลทั้งหมด 10 แปลง ถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะการประมูลสัมปทานในรอบที่ผ่านมา มีการแข่งขันสูงมากจากหลายๆ ประเทศ เช่นเช่น สหรัฐ จีน
ส่วนที่ ปตท.สผ. สนใจลงทุนสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียม ที่อยู่ในเขตทะเลอันดามัน คือ แปลงสัมปทาน MD-7 และ MD-8 นั้น รัฐบาลพม่ามีท่าทีให้การสนับสนุน แต่ต้องรอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมในรอบต่อไป ส่วนสัมปทานปิโตรเลียมแปลง M-3 อยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ชัดเจน คาดว่าจะนำขึ้นมาใช้ได้ในปี 2559 เบื้องต้นพบว่าก๊าซธรรมชาติในแหล่งดังกล่าวเป็นแหล่งแรกของพม่าที่พบ wet gas ซึ่งมีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปแยกลงทุนผลิตปิโตรเคมีต่อเนื่อง
พม่ามีศักยภาพด้านก๊าซธรรมชาติ และเพิ่งค้นพบก๊าซคุณภาพสูง ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมต่อการผลิตปิโตรเคมีต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ซึ่งในอนาคตพม่าจะสร้างโรงแยกก๊าซ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อเนื่องอื่นๆ ฝ่ายไทยเสนอไปว่ามีความพร้อมที่จะลงทุน โดยกลุ่ม ปตท.พร้อมจะลงทุนให้แลกกับการให้แหล่งสัมปทานในพม่าเพิ่มเติมในอนาคต นายพิชัย กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับแปลงที่ชนะการประมูล 2 แปลงประกอบด้วย อีพี 2 และแปลงพีเอสซีจี ขณะนี้ยังไม่ได้เซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบศักยภาพทางทะเลและบนบกแล้ว ถือว่าแปลงสัมปทานบนบกของพม่าเพิ่งเริ่มต้น ซึ่งพม่าต้องการให้เอกชนต่างชาติเข้าไปสำรวจอย่างจริงจัง ในส่วนของแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในทะเลมีศักยภาพมากกว่าเพราะมีการสำรวจและพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว
เชิญรมต.พม่าดูโรงแยกก๊าซไทย
อย่างไรก็ตาม ได้เชิญนาย ยู ทัง เต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพม่า เข้าร่วมการประชุมปิโตรเลียมนานาชาติที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7-9 ก.พ. 2555 พร้อมเชิญนาย ยู ทัง เต ดูงานที่โรงแยกก๊าซและโรงงานผลิตปิโตรเคมีของไทย ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อสร้างความร่วมมือด้านพลังงานที่ดีของทั้งสองประเทศ ซึ่งพม่าจะเห็นรูปแบบการลงทุนในโรงแยกก๊าซและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย
ปัจจุบันไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า 70% หรือวันละ 4.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต โดยเป็นก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากพม่าในแหล่งเยนาดาและเยตากุน วันละ 1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต โดยปี 2556 จะมีการส่งก๊าซจากพม่าเข้ามาไทยเพิ่มวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต จากแหล่งซอนติก้า ในแปลง M-9
ส่วนเรื่องนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลพร้อมสนับสนุนโครงการลงทุน โดยโครงการแลนด์บริดจ์ในพื้นที่ภาคใต้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น ควบคู่กับอุตสาหกรรมพลังงานครบวงจร คือ คลังและท่อส่งน้ำมัน โรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยตรง หรือมากกว่านิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายนอกประเทศ
ถก6ประเด็นผู้นำลุ่มน้ำโขง
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศ ลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 4 ว่า ที่ประชุมได้กรอบข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับผู้นำประเทศถึงการพัฒนาใน ภูมิภาคช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2555-2565) โดยได้หารือถึงอุปสรรคและความเสี่ยงในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ 1.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.ความพอเพียงด้านพลังงาน 3.ความมั่นคงด้านอาหาร 4.ความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติ 5.ระบบโลจิสติกส์ และ 6.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สำหรับการหารือระหว่างนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่านั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ขอบคุณที่พม่ายอมเปิดด่านแม่สอด ความร่วมมือการค้าชายแดน และปล่อยนักโทษไทย 8 คน ขณะที่พม่าได้ขอให้ไทยช่วยซ่อมแซมตอม่อของสะพานไทย-เมียวดี ให้เสร็จภายใน 1 ปี ส่วนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ทางไทยจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว หวังว่าพม่าจะเปิดด่านชายแดนที่ อ.พุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี และทั้งสองฝ่ายช่วยกันดูแลป้องกันไม่ให้มีการขนส่งสินค้าเถื่อนตามแนวชายแดน
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, December 22, 2011
ปตท.สผ. คว้า 2 แหล่งสัมปทานปิโตรเลียมบนบกพม่า พิชัย ดัน ปตท.สผ.ลงทุนโรงแยกก๊าซฯ-ปิโตรเคมีครบวงจรแลกกับสัมปทานในพม่า เตรียมเชิญรัฐมนตรีพม่า ดูกิจการโรงแยกก๊าซ-ปิโตรเคมีในไทย 6 ผู้นำลุ่มน้ำโขงถกอุปสรรคและความเสี่ยงลุ่มน้ำโขง
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเดินทางเยือนประเทศพม่า ร่วมกับคณะของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับการยืนยันว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. จะได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลสัมปทานปิโตรเลียมบนบกในประเทศพม่า จำนวน 2 แปลง จากที่ยื่นประมูลไป 3 แปลง ขณะที่พม่าได้เปิดประมูลทั้งหมด 10 แปลง ถือเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะการประมูลสัมปทานในรอบที่ผ่านมา มีการแข่งขันสูงมากจากหลายๆ ประเทศ เช่นเช่น สหรัฐ จีน
ส่วนที่ ปตท.สผ. สนใจลงทุนสำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียม ที่อยู่ในเขตทะเลอันดามัน คือ แปลงสัมปทาน MD-7 และ MD-8 นั้น รัฐบาลพม่ามีท่าทีให้การสนับสนุน แต่ต้องรอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมในรอบต่อไป ส่วนสัมปทานปิโตรเลียมแปลง M-3 อยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ชัดเจน คาดว่าจะนำขึ้นมาใช้ได้ในปี 2559 เบื้องต้นพบว่าก๊าซธรรมชาติในแหล่งดังกล่าวเป็นแหล่งแรกของพม่าที่พบ wet gas ซึ่งมีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปแยกลงทุนผลิตปิโตรเคมีต่อเนื่อง
พม่ามีศักยภาพด้านก๊าซธรรมชาติ และเพิ่งค้นพบก๊าซคุณภาพสูง ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมต่อการผลิตปิโตรเคมีต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ซึ่งในอนาคตพม่าจะสร้างโรงแยกก๊าซ และอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อเนื่องอื่นๆ ฝ่ายไทยเสนอไปว่ามีความพร้อมที่จะลงทุน โดยกลุ่ม ปตท.พร้อมจะลงทุนให้แลกกับการให้แหล่งสัมปทานในพม่าเพิ่มเติมในอนาคต นายพิชัย กล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สำหรับแปลงที่ชนะการประมูล 2 แปลงประกอบด้วย อีพี 2 และแปลงพีเอสซีจี ขณะนี้ยังไม่ได้เซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบศักยภาพทางทะเลและบนบกแล้ว ถือว่าแปลงสัมปทานบนบกของพม่าเพิ่งเริ่มต้น ซึ่งพม่าต้องการให้เอกชนต่างชาติเข้าไปสำรวจอย่างจริงจัง ในส่วนของแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในทะเลมีศักยภาพมากกว่าเพราะมีการสำรวจและพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว
เชิญรมต.พม่าดูโรงแยกก๊าซไทย
อย่างไรก็ตาม ได้เชิญนาย ยู ทัง เต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพม่า เข้าร่วมการประชุมปิโตรเลียมนานาชาติที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 7-9 ก.พ. 2555 พร้อมเชิญนาย ยู ทัง เต ดูงานที่โรงแยกก๊าซและโรงงานผลิตปิโตรเคมีของไทย ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อสร้างความร่วมมือด้านพลังงานที่ดีของทั้งสองประเทศ ซึ่งพม่าจะเห็นรูปแบบการลงทุนในโรงแยกก๊าซและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย
ปัจจุบันไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า 70% หรือวันละ 4.2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต โดยเป็นก๊าซธรรมชาติที่นำเข้าจากพม่าในแหล่งเยนาดาและเยตากุน วันละ 1 พันล้านลูกบาศก์ฟุต โดยปี 2556 จะมีการส่งก๊าซจากพม่าเข้ามาไทยเพิ่มวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต จากแหล่งซอนติก้า ในแปลง M-9
ส่วนเรื่องนิคมอุตสาหกรรมทวาย รัฐบาลพร้อมสนับสนุนโครงการลงทุน โดยโครงการแลนด์บริดจ์ในพื้นที่ภาคใต้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้เกิดขึ้น ควบคู่กับอุตสาหกรรมพลังงานครบวงจร คือ คลังและท่อส่งน้ำมัน โรงแยกก๊าซ และโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยตรง หรือมากกว่านิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ภายนอกประเทศ
ถก6ประเด็นผู้นำลุ่มน้ำโขง
นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมสุดยอดผู้นำ 6 ประเทศ ลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 4 ว่า ที่ประชุมได้กรอบข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับผู้นำประเทศถึงการพัฒนาใน ภูมิภาคช่วง 10 ปีข้างหน้า (ปี 2555-2565) โดยได้หารือถึงอุปสรรคและความเสี่ยงในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ 1.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2.ความพอเพียงด้านพลังงาน 3.ความมั่นคงด้านอาหาร 4.ความยั่งยืนทางทรัพยากรธรรมชาติ 5.ระบบโลจิสติกส์ และ 6.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สำหรับการหารือระหว่างนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่านั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ขอบคุณที่พม่ายอมเปิดด่านแม่สอด ความร่วมมือการค้าชายแดน และปล่อยนักโทษไทย 8 คน ขณะที่พม่าได้ขอให้ไทยช่วยซ่อมแซมตอม่อของสะพานไทย-เมียวดี ให้เสร็จภายใน 1 ปี ส่วนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวาย ทางไทยจะผลักดันให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว หวังว่าพม่าจะเปิดด่านชายแดนที่ อ.พุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี และทั้งสองฝ่ายช่วยกันดูแลป้องกันไม่ให้มีการขนส่งสินค้าเถื่อนตามแนวชายแดน
--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 22
PTT wary of bio-jet fuel demand
แหล่งข่าว : Bangkok Post, วันที่ : 22/12/2011
The national oil company PTT Plc has not decided whether to produce bio-jet fuel for commercial sale despite Thailand’s aim of becoming an aviation hub.
Two years ago PTT Global Chemicals, formerly called PTT Aromatics and Refinery, studied the feasibility of investment in this project but the study was shelved because demand for bio-jet fuel was too low, said Auttapol Rerkpiboon, PTT’s executive vice-president for communication and international markets. The impetus was Europe’s requirement of bio-jet fuel next year.
KLM, Finnair and Lufthansa each operate one flight a day on bio-jet fuel.
The flag carrier, Thai Airways International Plc, made a test flight using biofuel around Bangkok yesterday for about 20 minutes.
THAI will start using biofuel for commercial flights from Bangkok to Chiang Mai this morning.
PTT supplies bio-jet fuel to THAI from the Netherlands-based Sky NRG Co. The price is 200 baht per litre, while regular jet fuel costs 30 baht per litre.
He said the government should subsidise this project if it wants bio-jet fuel produced on a commercial scale, as the price is seven times regular jet fuel.
PTTGC is building a 7-billion-baht biodegradable plastic plant in Map Ta Phut, Rayong, with commercial production slated for 2014.
Piyasvasti Amranand, president of THAI, said it will not use bio-jet fuel for flights to Europe next year, but will shift to more efficient engines.
He expected bio-jet fuel would become competitive in seven years.
แหล่งข่าว : Bangkok Post, วันที่ : 22/12/2011
The national oil company PTT Plc has not decided whether to produce bio-jet fuel for commercial sale despite Thailand’s aim of becoming an aviation hub.
Two years ago PTT Global Chemicals, formerly called PTT Aromatics and Refinery, studied the feasibility of investment in this project but the study was shelved because demand for bio-jet fuel was too low, said Auttapol Rerkpiboon, PTT’s executive vice-president for communication and international markets. The impetus was Europe’s requirement of bio-jet fuel next year.
KLM, Finnair and Lufthansa each operate one flight a day on bio-jet fuel.
The flag carrier, Thai Airways International Plc, made a test flight using biofuel around Bangkok yesterday for about 20 minutes.
THAI will start using biofuel for commercial flights from Bangkok to Chiang Mai this morning.
PTT supplies bio-jet fuel to THAI from the Netherlands-based Sky NRG Co. The price is 200 baht per litre, while regular jet fuel costs 30 baht per litre.
He said the government should subsidise this project if it wants bio-jet fuel produced on a commercial scale, as the price is seven times regular jet fuel.
PTTGC is building a 7-billion-baht biodegradable plastic plant in Map Ta Phut, Rayong, with commercial production slated for 2014.
Piyasvasti Amranand, president of THAI, said it will not use bio-jet fuel for flights to Europe next year, but will shift to more efficient engines.
He expected bio-jet fuel would become competitive in seven years.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 23
ปตท.ส่งซิกยกเลิกสัญญาระยองเพียว
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, December 27, 2011
ปตท.ส่งซิกเลิกสัญญาระยองเพียว ส่งวัตถุดิบแค่เดือน ม.ค.55 ด้านผู้บริหารระยองเพียว ร่อนหนังสือกลับขอความชัดเจน ยันหาก ปตท.ยืนยันหยุดส่งวัตถุดิบ ยังมีแหล่งอื่นสนับสนุนยอดขายปีละ 7 พันล้าน
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ รายงานตลาดหลักทรัพย์ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการได้รับทราบความคืบหน้าเรื่องข้อพิพาทสัญญาซื้อขายวัตถุดิกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2554 บริษัทได้รับแผนการส่งวัตถุดิบล่วงหน้าจากบริษัท ปตท. ซึ่งเป็นกระบวนการประสานงานตามธุรกิจปกติระหว่างกัน พบว่าแผนการส่งวัตถุดิบนี้ระบุปริมาณการส่งวัตถุดิบถึงเดือน ม.ค.2555 เท่านั้น บริษัทจึงได้มีหนังสือถึง บริษัท ปตท. เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2554 เพื่อความชัดเจนในเรื่องนี้ แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่ได้รับความชัดเจน
อย่างไรก็ตามขณะนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางบริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป ทั้งนี้หากทางบริษัท ปตท. เลือกที่จะหยุดส่งวัตถุดิบ บริษัทยังมียอดขายจากแหล่งอื่นๆ อีกประมาณปีละ 7 พันล้านบาท
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2552 บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ มีข้อพิพาทสัญญาซื้อขายวัตถุดิบกับ บริษัท ปตท.กล่าวคือบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิว กับ บริษัท ปตท. เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2538 ซึ่งวัตถุดิบนี้ผลิตโดย บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลั่น ปัจจุบันคือบริษัท บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล โดยสัญญามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด
โดยช่วงแรกของสัญญามีอายุ 15 ปี และจากนั้นจะเข้าสู่สัญญาช่วงถัดไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด และเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2552 บริษัท ปตท.ได้ส่งหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาการซื้อขายวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิว เมื่ออายุสัญญาครบ 15 ปีแรก ในวันที่ 31 ม.ค.2555 แต่บริษัทได้คัดค้านการแจ้งยกเลิกสัญญา เนื่องจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมณ์ในการทำสัญญาร่วมกันให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนระยะยาวที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
หลังจากนั้นได้มีการหารือกับ บริษัท ปตท. เพื่อหาข้อสรุปที่ยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ บริษัทจึงได้ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดโดยการยื่นเรื่องต่อสำนักอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2552 เพื่อให้องค์กรกลาง ร่วมพิจารณาหาข้อสรุป ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการหาข้อยุติที่ระบุไว้ในสัญญาขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว และยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
หากปตท.ยืนยันหยุดส่งวัตถุดิบยังมีแหล่งอื่นสนับสนุนยอดขายปีละ 7 พันล้าน
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, December 27, 2011
ปตท.ส่งซิกเลิกสัญญาระยองเพียว ส่งวัตถุดิบแค่เดือน ม.ค.55 ด้านผู้บริหารระยองเพียว ร่อนหนังสือกลับขอความชัดเจน ยันหาก ปตท.ยืนยันหยุดส่งวัตถุดิบ ยังมีแหล่งอื่นสนับสนุนยอดขายปีละ 7 พันล้าน
นางศิรพร กฤษณกาญจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ รายงานตลาดหลักทรัพย์ ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการได้รับทราบความคืบหน้าเรื่องข้อพิพาทสัญญาซื้อขายวัตถุดิกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2554 บริษัทได้รับแผนการส่งวัตถุดิบล่วงหน้าจากบริษัท ปตท. ซึ่งเป็นกระบวนการประสานงานตามธุรกิจปกติระหว่างกัน พบว่าแผนการส่งวัตถุดิบนี้ระบุปริมาณการส่งวัตถุดิบถึงเดือน ม.ค.2555 เท่านั้น บริษัทจึงได้มีหนังสือถึง บริษัท ปตท. เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2554 เพื่อความชัดเจนในเรื่องนี้ แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่ได้รับความชัดเจน
อย่างไรก็ตามขณะนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จนกว่าจะมีผลการพิจารณาชี้ขาดจากคณะอนุญาโตตุลาการ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางบริษัทจะแจ้งให้ทราบต่อไป ทั้งนี้หากทางบริษัท ปตท. เลือกที่จะหยุดส่งวัตถุดิบ บริษัทยังมียอดขายจากแหล่งอื่นๆ อีกประมาณปีละ 7 พันล้านบาท
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2552 บริษัท ระยองเพียวริฟายเออร์ มีข้อพิพาทสัญญาซื้อขายวัตถุดิบกับ บริษัท ปตท.กล่าวคือบริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิว กับ บริษัท ปตท. เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2538 ซึ่งวัตถุดิบนี้ผลิตโดย บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลั่น ปัจจุบันคือบริษัท บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล โดยสัญญามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผูกพันระยะยาวแบบไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด
โดยช่วงแรกของสัญญามีอายุ 15 ปี และจากนั้นจะเข้าสู่สัญญาช่วงถัดไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด และเมื่อวันที่ 30 ก.ย.2552 บริษัท ปตท.ได้ส่งหนังสือแจ้งขอยกเลิกสัญญาการซื้อขายวัตถุดิบคอนเดนเสทเรสซิดิว เมื่ออายุสัญญาครบ 15 ปีแรก ในวันที่ 31 ม.ค.2555 แต่บริษัทได้คัดค้านการแจ้งยกเลิกสัญญา เนื่องจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมีเจตนารมณ์ในการทำสัญญาร่วมกันให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนระยะยาวที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด
หลังจากนั้นได้มีการหารือกับ บริษัท ปตท. เพื่อหาข้อสรุปที่ยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ บริษัทจึงได้ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดโดยการยื่นเรื่องต่อสำนักอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2552 เพื่อให้องค์กรกลาง ร่วมพิจารณาหาข้อสรุป ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการหาข้อยุติที่ระบุไว้ในสัญญาขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว และยังอยู่ระหว่างกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
หากปตท.ยืนยันหยุดส่งวัตถุดิบยังมีแหล่งอื่นสนับสนุนยอดขายปีละ 7 พันล้าน
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 24
ปตท.ลุ้นรายได้3ล้านล.ทุ่มงบลงทุน3ปีทะลุ4แสนล้านสานต่อแผนพลังงานขยายกำไร
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, December 28, 2011
โพสต์ทูเดย์ -ปตท.โชว์แผนลงทุน3 ปี ทะลุ 4 แสนล้าน คาดฟันรายได้ปีหน้า 2.8 ล้านล้าน
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2555 วงเงินดำเนินการ 8.27 แสนล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 5.33 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ครม.ยังรับทราบประมาณการแนวโน้มการลงทุนในช่วงปี2556-2558 ของรัฐวิสาหกิจ โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวม 1.51 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 5.05 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานงบประมาณประจำปี 2555 ของบริษัท ปตท. ให้ ครม.รับทราบ โดยปี 2555 จะใช้งบลงทุน 2.13 แสนล้านบาท
บริษัท ปตท.ได้วางแผนลงทุนระยะยาวช่วงปี 2556-2558 รวม4.15 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ1.38 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วหลายโครงการ คาดว่าจะมีรายได้รวมในช่วง 3 ปี ดังกล่าว 9.87 ล้านล้านบาท
ขณะที่รายได้รวมในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.83 ล้านล้านบาทเป็นรายได้จากธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่ ปตท.ดำเนินการเอง54.2% รองลงมาเป็นธุรกิจน้ำมัน19.5% และธุรกิจก๊าซธรรมชาติ15.4% ภายใต้สมมติฐานราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้น 3-4%
ปตท.ตั้งเป้าจะบริหารจัดการให้มีอัตราส่วนการทำกำไรและสภาพคล่องทางการเงินไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยหากย้อนกลับไปดูประสิทธิภาพการทำกำไรของ ปตท.จะพบว่าเติบโตเกือบทุกปี จาก 5.9 หมื่นล้านบาท ในปี 2552 เพิ่มเป็น8.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2553 และกำไร 6 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 6.7 หมื่นล้านบาท
พร้อมกันนี้ สศช.ได้เสนอให้ปตท.จัดสรรงบ 3% ของกำไรสุทธิเพื่อวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, December 28, 2011
โพสต์ทูเดย์ -ปตท.โชว์แผนลงทุน3 ปี ทะลุ 4 แสนล้าน คาดฟันรายได้ปีหน้า 2.8 ล้านล้าน
น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบกรอบงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2555 วงเงินดำเนินการ 8.27 แสนล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 5.33 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ครม.ยังรับทราบประมาณการแนวโน้มการลงทุนในช่วงปี2556-2558 ของรัฐวิสาหกิจ โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวม 1.51 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 5.05 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานงบประมาณประจำปี 2555 ของบริษัท ปตท. ให้ ครม.รับทราบ โดยปี 2555 จะใช้งบลงทุน 2.13 แสนล้านบาท
บริษัท ปตท.ได้วางแผนลงทุนระยะยาวช่วงปี 2556-2558 รวม4.15 แสนล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ1.38 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนต่อเนื่องที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วหลายโครงการ คาดว่าจะมีรายได้รวมในช่วง 3 ปี ดังกล่าว 9.87 ล้านล้านบาท
ขณะที่รายได้รวมในปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.83 ล้านล้านบาทเป็นรายได้จากธุรกิจการค้าระหว่างประเทศที่ ปตท.ดำเนินการเอง54.2% รองลงมาเป็นธุรกิจน้ำมัน19.5% และธุรกิจก๊าซธรรมชาติ15.4% ภายใต้สมมติฐานราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้น 3-4%
ปตท.ตั้งเป้าจะบริหารจัดการให้มีอัตราส่วนการทำกำไรและสภาพคล่องทางการเงินไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา โดยหากย้อนกลับไปดูประสิทธิภาพการทำกำไรของ ปตท.จะพบว่าเติบโตเกือบทุกปี จาก 5.9 หมื่นล้านบาท ในปี 2552 เพิ่มเป็น8.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2553 และกำไร 6 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 6.7 หมื่นล้านบาท
พร้อมกันนี้ สศช.ได้เสนอให้ปตท.จัดสรรงบ 3% ของกำไรสุทธิเพื่อวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 25
Thaksin had no role in Burma gas deal
Source - The Nation (Eng), Wednesday, December 28, 2011
Good relations and perceived mutual benefit - and not the involvement of former prime minister Thaksin Shinawatra - were the reasons for Burma’s rapidly agreeing to sign a petroleum concession contract with PTTEP in the New Year, Foreign Minister Surapong Towichukchaikul said.
Surapong and Energy Minister Pichai Naripthaphan discussed the matter with Burmese Energy Minister Than Htay in Naypyidaw when they accompanied Prime Minister Yingluck Shinawatra to the 4th Summit of the Greater Mekong Sub-region last week.
The Burmese energy authority made a phone call last weekend to inform the government that it would be ready to sign a natural-gas concession contract with PTT Exploration and Production Co for the M3 block in the Gulf of Martaban by January 5 or 6, Surapong said.
Surapong said he did not know the details of the concession contract. Energy Minister Pichai will witness the signing ceremony.
The M3 block, in the Gulf of Martaban south of Rangoon, contains good quality natural gas, the by-products of processing which could be used as raw materials for the petrochemical industry, he said.
The Opposition Democrat Party has alleged that Thaksin, who was in Burma shortly before Yingluck’s visit, helped to pave the way for the contract signing because he has a personal interest in the gas deal.
Surapong said Thaksin had nothing to do with the negotiations, and that the government convinced Naypyidaw of the mutual benefits of cooperating on the energy project. Thailand can help Burma develop its petrochemical industry by using by-products of natural gas refining from block M3, the foreign minister said. The government would invite representatives from Burma to study the petrochemical industry in Thailand, he said.
In fact, PTTEP has dealt with Burma on the gas concession for a long time, but there was no progress during the previous government due to cold relations between the two countries at that time, Surapong said.
"Former Prime Minister Thaksin has no stake in the deal. If the Democrats can prove he has any interests in the concession, I would ask him to hand over the stake to them," he added.
Source - The Nation (Eng), Wednesday, December 28, 2011
Good relations and perceived mutual benefit - and not the involvement of former prime minister Thaksin Shinawatra - were the reasons for Burma’s rapidly agreeing to sign a petroleum concession contract with PTTEP in the New Year, Foreign Minister Surapong Towichukchaikul said.
Surapong and Energy Minister Pichai Naripthaphan discussed the matter with Burmese Energy Minister Than Htay in Naypyidaw when they accompanied Prime Minister Yingluck Shinawatra to the 4th Summit of the Greater Mekong Sub-region last week.
The Burmese energy authority made a phone call last weekend to inform the government that it would be ready to sign a natural-gas concession contract with PTT Exploration and Production Co for the M3 block in the Gulf of Martaban by January 5 or 6, Surapong said.
Surapong said he did not know the details of the concession contract. Energy Minister Pichai will witness the signing ceremony.
The M3 block, in the Gulf of Martaban south of Rangoon, contains good quality natural gas, the by-products of processing which could be used as raw materials for the petrochemical industry, he said.
The Opposition Democrat Party has alleged that Thaksin, who was in Burma shortly before Yingluck’s visit, helped to pave the way for the contract signing because he has a personal interest in the gas deal.
Surapong said Thaksin had nothing to do with the negotiations, and that the government convinced Naypyidaw of the mutual benefits of cooperating on the energy project. Thailand can help Burma develop its petrochemical industry by using by-products of natural gas refining from block M3, the foreign minister said. The government would invite representatives from Burma to study the petrochemical industry in Thailand, he said.
In fact, PTTEP has dealt with Burma on the gas concession for a long time, but there was no progress during the previous government due to cold relations between the two countries at that time, Surapong said.
"Former Prime Minister Thaksin has no stake in the deal. If the Democrats can prove he has any interests in the concession, I would ask him to hand over the stake to them," he added.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 26
กฟผ.ไม่ล้มแผนสร้าง "เขื่อนฮัตจี" ยอดใช้ไฟฟ้าปีหน้าโต 4% - รับกำลังผลิตฟื้นหลังน้ำท่วม [ ข่าวหุ้น, 28 ธ.ค. 54 ]
กฟผ.ยันไม่ล้มแผนสร้างเขื่อนฮัตจีในพม่า ล่าสุดอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมของผู้พัฒนา ขณะที่
ยอดใช้ไฟฟ้าปีหน้าเติบโตมากกว่า 4% เหตุโรงงานอุตสาหกรรมเร่งผลิตออเดอร์หลังฟื้นฟูจากน้ำท่วม
กฟผ.ยันไม่ล้มแผนสร้างเขื่อนฮัตจีในพม่า ล่าสุดอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมของผู้พัฒนา ขณะที่
ยอดใช้ไฟฟ้าปีหน้าเติบโตมากกว่า 4% เหตุโรงงานอุตสาหกรรมเร่งผลิตออเดอร์หลังฟื้นฟูจากน้ำท่วม
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 27
'พิชัย'ลั่นนโยบายปี'55 โหมก๊าซ'ท่อ-บ่อ-ถัง'
Source - มติชน (Th), Thursday, December 29, 2011
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงนโยบายด้านพลังงานในปี 2555 ว่า เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานได้มีการกำหนดนโยบายภายใต้แนวคิด "ท่อ-บ่อ-ถัง" เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน โดยจะมีการเร่งโครงการก่อสร้างท่อก๊าซไปยังภาคเหนือและอีสาน รวมทั้งโครงการท่อน้ำมันส่วนขยาย แม้ว่าผลตอบแทนการลงทุนจะต่ำ แต่จะช่วยสร้างความมั่นคงและลดอุบัติเหตุจากการขนส่งน้ำมันทางรถยนต์
นอกจากนี้ จะมีการเจรจาสำรวจปิโตรเลียมในต่างประเทศ เช่น หารือกับพม่าและกัมพูชา โดยพม่าได้มีนโยบายให้ ปตท.ไปหารือว่าจะมีการลงทุนเพิ่มเติมได้หรือไม่ เช่นโครงการโรงแยกก๊าซและอื่นๆ โดยในวันที่ 3 มกราคม 2555 ทาง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ.จะมีการลงนามกับทางรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับสัญญาการผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติเอ็ม 3 ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีก๊าซเปียกที่เหมาะสมกับการผลิตปิโตรเคมีด้วยและในเดือนกุมภาพันธ์ ปตท.สผ.จะลงนามกับรัฐบาลพม่าในการรับสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบนบก 2 แหล่ง คือแหล่งPHCQ และ EP2
ทั้งนี้ จะมีการส่งเสริมการลงทุนการสร้างคลังน้ำมัน และคลังก๊าซในประเทศไทย โดยเฉพาะคลังน้ำมันในภาคใต้ในโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งหากเกิดขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาเป็นประเทศไทย และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกไกล เป็นต้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
Source - มติชน (Th), Thursday, December 29, 2011
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงนโยบายด้านพลังงานในปี 2555 ว่า เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานได้มีการกำหนดนโยบายภายใต้แนวคิด "ท่อ-บ่อ-ถัง" เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน โดยจะมีการเร่งโครงการก่อสร้างท่อก๊าซไปยังภาคเหนือและอีสาน รวมทั้งโครงการท่อน้ำมันส่วนขยาย แม้ว่าผลตอบแทนการลงทุนจะต่ำ แต่จะช่วยสร้างความมั่นคงและลดอุบัติเหตุจากการขนส่งน้ำมันทางรถยนต์
นอกจากนี้ จะมีการเจรจาสำรวจปิโตรเลียมในต่างประเทศ เช่น หารือกับพม่าและกัมพูชา โดยพม่าได้มีนโยบายให้ ปตท.ไปหารือว่าจะมีการลงทุนเพิ่มเติมได้หรือไม่ เช่นโครงการโรงแยกก๊าซและอื่นๆ โดยในวันที่ 3 มกราคม 2555 ทาง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ.จะมีการลงนามกับทางรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับสัญญาการผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติเอ็ม 3 ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีก๊าซเปียกที่เหมาะสมกับการผลิตปิโตรเคมีด้วยและในเดือนกุมภาพันธ์ ปตท.สผ.จะลงนามกับรัฐบาลพม่าในการรับสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบนบก 2 แหล่ง คือแหล่งPHCQ และ EP2
ทั้งนี้ จะมีการส่งเสริมการลงทุนการสร้างคลังน้ำมัน และคลังก๊าซในประเทศไทย โดยเฉพาะคลังน้ำมันในภาคใต้ในโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งหากเกิดขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาเป็นประเทศไทย และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกไกล เป็นต้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 28
**PTTEP ร่วมเดินทางกับรมว.พลังงานเจรจาแหล่งใหม่พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา
อินโฟเควสท์ (29 ธ.ค. 54)--นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กล่าวกับ“อินโฟเควสท์"ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเดินทางไปยังกัมพูชาร่วมกับรมว.พลังงาน และรมว.ต่างประเทศ ตามคำเชิญของรมว.ต่างประเทศของกัมพูชา โดยมีประเด็นสำคัญที่จะเจรจาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีแหล่งปิโตรเลียมที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานต้องการเห็นการเจรจาระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและประโยชน์ร่วมกัน โดยปัจจุบัน PTTEP มีพื้นที่สัมปทานในกัมพูชา 2 แปลง คือ Cambodia B และ G9/43
ด้านสัมปทานแห่งปิโตรเลียมแห่งใหม่ในประเทศพม่านั้น นายอนนต์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือแจ้งจากทางการพม่าว่า PTTEP ได้รับสัมปทานเพิ่มเติม 2 แหล่ง ซึ่งเป็นแหล่งบนบกทั้ง 2 แปลง คือ แปลง G และ ET2 แต่ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดเวลาในการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ
ส่วนแปลงสัมปทานในทะเลลึกในพม่าทั้งแปลง MD7 และ MD8 ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่เดิมที่ PTTEP มีความสนใจ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในทะเลลึก จึงต้องประเมินในแง่ต้นทุนให้รอบก่อนก่อนว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่--จบ--
--อินโฟเควสท์ โดย สารภี สายะเวส/สารภี/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
อินโฟเควสท์ (29 ธ.ค. 54)--นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) กล่าวกับ“อินโฟเควสท์"ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเดินทางไปยังกัมพูชาร่วมกับรมว.พลังงาน และรมว.ต่างประเทศ ตามคำเชิญของรมว.ต่างประเทศของกัมพูชา โดยมีประเด็นสำคัญที่จะเจรจาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีแหล่งปิโตรเลียมที่น่าสนใจ
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานต้องการเห็นการเจรจาระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและประโยชน์ร่วมกัน โดยปัจจุบัน PTTEP มีพื้นที่สัมปทานในกัมพูชา 2 แปลง คือ Cambodia B และ G9/43
ด้านสัมปทานแห่งปิโตรเลียมแห่งใหม่ในประเทศพม่านั้น นายอนนต์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือแจ้งจากทางการพม่าว่า PTTEP ได้รับสัมปทานเพิ่มเติม 2 แหล่ง ซึ่งเป็นแหล่งบนบกทั้ง 2 แปลง คือ แปลง G และ ET2 แต่ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดเวลาในการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการ
ส่วนแปลงสัมปทานในทะเลลึกในพม่าทั้งแปลง MD7 และ MD8 ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้ แม้ว่าจะเป็นพื้นที่เดิมที่ PTTEP มีความสนใจ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในทะเลลึก จึงต้องประเมินในแง่ต้นทุนให้รอบก่อนก่อนว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่--จบ--
--อินโฟเควสท์ โดย สารภี สายะเวส/สารภี/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 29
งานสัมมนานิทรรศการด้านบริษัทจัดการพลังงาน
สัมมนาฟรี จัดโดย: ESCO Information Center
Thailand ESCO Fair 2011
เตรียมพบกับงานสัมมนานิทรรศการด้านบริษัท จัดการพลังงาน หรือ ESCO ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดโดย สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ขอเชิญผู้ประกอบการด้านอาคาร โรงงาน วิศวกร และผู้สนใจบริการด้านการอนุรักษ์พลังงานด้วยระบบ ESCO มาร่วมงาน Thailand ESCO Fair 2011 ภายใต้ธีม “ฝ่าวิกฤตพลังงานด้วยบริการ ESCO”
ภายใน งานจะได้พบกับบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่จะมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลัง เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ และสถาบันการเงินที่มาให้คำแนะนำด้านสินเชื่อกว่า 40 บริษัท รับฟังสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน และกิจกรรมพิเศษต่างๆ ภายในงาน อาทิ
* ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
* พบบูธ ESCO Information Center ที่จะมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ESCO
* รับฟังเสาวนา “ฝ่าวิกฤตพลังงานด้วยบริการ ESCO” จากผู้เชี่ยวชาญ ด้าน ESCO จากหน่วยงานภาครัฐ/ รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจด้าน ESCO สถาบันการเงิน และผู้ประการที่ประสบผลสำเร็จจากการเข้าร่วมโครงการ ESCO
* รับฟังการบรรยายพิเศษ “ESCO ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างผลกำไร” ณ ห้องบอลรูม และการบรรยาย “Success Case of ESCO Project” ณ Meeting Room 1
* การเจรจาธุรกิจระหว่างผู้สนใจลงทุนกับบริษัทผู้ประการด้าน ESCO ได้โดยตรง (Meet & Match)
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : http://seminardd.com/2011/8501
สัมมนาฟรี จัดโดย: ESCO Information Center
Thailand ESCO Fair 2011
เตรียมพบกับงานสัมมนานิทรรศการด้านบริษัท จัดการพลังงาน หรือ ESCO ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จัดโดย สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ขอเชิญผู้ประกอบการด้านอาคาร โรงงาน วิศวกร และผู้สนใจบริการด้านการอนุรักษ์พลังงานด้วยระบบ ESCO มาร่วมงาน Thailand ESCO Fair 2011 ภายใต้ธีม “ฝ่าวิกฤตพลังงานด้วยบริการ ESCO”
ภายใน งานจะได้พบกับบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่จะมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลัง เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ และสถาบันการเงินที่มาให้คำแนะนำด้านสินเชื่อกว่า 40 บริษัท รับฟังสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์พลังงาน และกิจกรรมพิเศษต่างๆ ภายในงาน อาทิ
* ชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
* พบบูธ ESCO Information Center ที่จะมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับ ESCO
* รับฟังเสาวนา “ฝ่าวิกฤตพลังงานด้วยบริการ ESCO” จากผู้เชี่ยวชาญ ด้าน ESCO จากหน่วยงานภาครัฐ/ รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจด้าน ESCO สถาบันการเงิน และผู้ประการที่ประสบผลสำเร็จจากการเข้าร่วมโครงการ ESCO
* รับฟังการบรรยายพิเศษ “ESCO ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ สร้างผลกำไร” ณ ห้องบอลรูม และการบรรยาย “Success Case of ESCO Project” ณ Meeting Room 1
* การเจรจาธุรกิจระหว่างผู้สนใจลงทุนกับบริษัทผู้ประการด้าน ESCO ได้โดยตรง (Meet & Match)
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : http://seminardd.com/2011/8501
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 30
“พิชัย”ลั่นถือPTTต่ำ50%แค่ไอเดีย
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 29, 2011
หวังลดภาระหนี้ภาครัฐ หวั่นการลงทุนถูกครหา
“พิชัย” เผยแนวคิดลดสัดส่วนถือหุ้นปตท.ต่ำกว่า 50% หวังลดหนี้ภาครัฐ ยันเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น แต่หวั่นการหนุนลงทุนจะถูกครหา
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีการลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เพื่อลดเพดานหนี้ภาครัฐ ในการเตรียมระดมทุนสำหรับแนวทางการปกป้องน้ำท่วมของรัฐบาลนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น ที่จะให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นใน ปตท. จากปัจจุบันถืออยู่ที่ 52% ให้เหลือต่ำกว่า 50% โดยจะโอนไปให้กองทุนวายุภักษ์ถือแทน จากปัจจุบันกองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นใน ปตท. 15%
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวมีผลดีคือเพดานหนี้ของ ปตท.จะไม่นับรวมเป็นเพดานหนี้ของรัฐบาล และ ปตท. รวมทั้ง PTTEP จะมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้น คือเมื่อ ปตท.ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว การที่รัฐบาลจะเข้าไปสั่งการ หรือเข้าไปเจรจาในรูปแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อให้กลุ่ม ปตท.เข้าไปลงทุน อาจถูกครหาว่าไม่ได้ทำเพื่อรัฐ ซึ่งเรื่องนี้คงต้องหารือในรายละเอียดต่อไป
นอกจากนี้วันนี้ (29 ธ.ค.) จะเดินทางไปกัมพูชาร่วมกับนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามคำเชิญของรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา จะมีการเข้าพบสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เพื่อสานสัมพันธ์และเป็นจุดเริ่มต้นในการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน
โดยเฉพาะพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนในทะเล ขนาด 26,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนจะมีการยึดถือข้อตกลงตามเอ็มโอยู 2544 หรือไม่นั้น เป็นเรื่องรายละเอียดที่ต้องมีการหารือต่อไป โดยกระทรวงพลังงานต้องการเห็นการเจรจาเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและประโยชน์ร่วมกันของสองประเทศ
สำหรับนโยบายด้านพลังงานในปี 2555 เพื่อสร้างความมั่นคง คือนโยบาย “ท่อ บ่อ ถัง” ซึ่งในส่วนของ “ท่อ” จะมีการเร่งโครงการก่อสร้างท่อก๊าซไปยังภาคเหนือและอีสาน รวมทั้งโครงการท่อน้ำมันส่วนขยาย แม้ว่าผลตอบแทนการลงทุนจะต่ำ แต่จะช่วยสร้างความมั่นคงและลดอุบัติเหตุจากการขนส่งน้ำมันทางรถยนต์
ส่วน “บ่อ” นั้น จะมีการเจรจาสำรวจปิโตรเลียมในต่างประเทศ เช่น หารือกับพม่าและกัมพูชา โดยพม่าได้มีนโยบายให้ ปตท.ไปหารือว่าจะมีการลงทุนเพิ่มเติมได้หรือไม่ เช่น โครงการโรงแยกก๊าซและอื่นๆ โดยในวันที่ 3 ม.ค. 55 ทาง PTTEP จะมีการลงนามกับทางรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับสัญญาการผลิตแหล่งเอ็ม 3 ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้น พบว่ามีก๊าซเปียกที่เหมาะสมกับการผลิตปิโตรเคมีด้วย และในเดือน ก.พ. 55 PTTEP จะลงนามกับรัฐบาลพม่าในการรับสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบนบก 2 แหล่ง คือ แหล่ง EP2 และ PHCQ
ขณะที่นโยบาย “ถัง” จะเป็นการส่งเสริมการลงทุนการสร้างคลังน้ำมัน และคลังก๊าซในประเทศไทย โดยเฉพาะคลังน้ำมันในภาคใต้ในโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งหากเกิดขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาเป็นประเทศไทย และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกไกล เป็นต้น
นายพิชัย กล่าวว่า การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จะยังเดินหน้าการปรับราคาเอ็นจีวี และแอลพีจี รวมถึงการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันดีเซล เบนซิน ในวันที่ 16 ม.ค. 55 เช่นเดิม แม้ว่าทางกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งและแท็กซี่จะคัดค้านการปรับขึ้นราคา โดยจะมีการประท้วงปิดถนนในวันที่ 9 ม.ค. 55 ซึ่งทางกระทรวงจะเชิญกลุ่มนี้มาหารือในวันที่ 12 ม.ค. 55 และขอให้พูดคุยด้วยเหตุและผล และตามข้อเท็จจริงการปรับขึ้นราคาเพราะต้นทุนเอ็นจีวีขณะนี้สูงถึง 16.80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันราคาเอ็นจีวียังตรึงอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ ปตท.และกองทุนน้ำมันฯต้องเข้ามาอุดหนุนราคาเอ็นจีวี จึงไม่เป็นธรรม โดย ปตท.ขาดทุนจากการตรึงราคาเอ็นจีวีแล้วประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 54 ได้พิจารณาแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยเห็นชอบให้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งเดือนละ 0.41 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 55 เป็นต้นไป และเพื่อให้สามารถจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง
นอกจากนี้ได้พิจารณาหลักเกณฑ์การคำนวณราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามมาตรฐานยูโร 4 โดยเห็นชอบปรับหลักเกณฑ์การคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันเพื่อให้สะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มของการผลิตน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 แต่ราคาที่สถานีบริการน้ำมันจะทยอยปรับขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภค โดยคำนึงถึงน้ำมันที่ค้างสต๊อกอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 55 และคุณภาพน้ำมันที่ยังไม่ได้มาตรฐานยูโร 4 ที่สถานีบริการน้ำมันด้วย
คาดว่าน้ำมันดีเซลจะใช้ระยะเวลาในการปรับคุณภาพให้ได้มาตรฐานยูโร 4 จากคลังไปจนถึงสถานีบริการน้ำมันประมาณ 9 สัปดาห์ ส่วนน้ำมันเบนซินใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนเป็นมาตรฐานยูโร 4 ประมาณ 15 สัปดาห์ สำหรับการบังคับใช้น้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 55 เป็นต้นไป--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, December 29, 2011
หวังลดภาระหนี้ภาครัฐ หวั่นการลงทุนถูกครหา
“พิชัย” เผยแนวคิดลดสัดส่วนถือหุ้นปตท.ต่ำกว่า 50% หวังลดหนี้ภาครัฐ ยันเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น แต่หวั่นการหนุนลงทุนจะถูกครหา
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากกรณีการลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เพื่อลดเพดานหนี้ภาครัฐ ในการเตรียมระดมทุนสำหรับแนวทางการปกป้องน้ำท่วมของรัฐบาลนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดเบื้องต้น ที่จะให้กระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นใน ปตท. จากปัจจุบันถืออยู่ที่ 52% ให้เหลือต่ำกว่า 50% โดยจะโอนไปให้กองทุนวายุภักษ์ถือแทน จากปัจจุบันกองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นใน ปตท. 15%
ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวมีผลดีคือเพดานหนี้ของ ปตท.จะไม่นับรวมเป็นเพดานหนี้ของรัฐบาล และ ปตท. รวมทั้ง PTTEP จะมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ แต่ปัญหาที่จะเกิดขึ้น คือเมื่อ ปตท.ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว การที่รัฐบาลจะเข้าไปสั่งการ หรือเข้าไปเจรจาในรูปแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อให้กลุ่ม ปตท.เข้าไปลงทุน อาจถูกครหาว่าไม่ได้ทำเพื่อรัฐ ซึ่งเรื่องนี้คงต้องหารือในรายละเอียดต่อไป
นอกจากนี้วันนี้ (29 ธ.ค.) จะเดินทางไปกัมพูชาร่วมกับนายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตามคำเชิญของรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา จะมีการเข้าพบสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เพื่อสานสัมพันธ์และเป็นจุดเริ่มต้นในการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกัน
โดยเฉพาะพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนในทะเล ขนาด 26,000 ตารางกิโลเมตร ส่วนจะมีการยึดถือข้อตกลงตามเอ็มโอยู 2544 หรือไม่นั้น เป็นเรื่องรายละเอียดที่ต้องมีการหารือต่อไป โดยกระทรวงพลังงานต้องการเห็นการเจรจาเกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงานและประโยชน์ร่วมกันของสองประเทศ
สำหรับนโยบายด้านพลังงานในปี 2555 เพื่อสร้างความมั่นคง คือนโยบาย “ท่อ บ่อ ถัง” ซึ่งในส่วนของ “ท่อ” จะมีการเร่งโครงการก่อสร้างท่อก๊าซไปยังภาคเหนือและอีสาน รวมทั้งโครงการท่อน้ำมันส่วนขยาย แม้ว่าผลตอบแทนการลงทุนจะต่ำ แต่จะช่วยสร้างความมั่นคงและลดอุบัติเหตุจากการขนส่งน้ำมันทางรถยนต์
ส่วน “บ่อ” นั้น จะมีการเจรจาสำรวจปิโตรเลียมในต่างประเทศ เช่น หารือกับพม่าและกัมพูชา โดยพม่าได้มีนโยบายให้ ปตท.ไปหารือว่าจะมีการลงทุนเพิ่มเติมได้หรือไม่ เช่น โครงการโรงแยกก๊าซและอื่นๆ โดยในวันที่ 3 ม.ค. 55 ทาง PTTEP จะมีการลงนามกับทางรัฐบาลพม่าเกี่ยวกับสัญญาการผลิตแหล่งเอ็ม 3 ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้น พบว่ามีก๊าซเปียกที่เหมาะสมกับการผลิตปิโตรเคมีด้วย และในเดือน ก.พ. 55 PTTEP จะลงนามกับรัฐบาลพม่าในการรับสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งบนบก 2 แหล่ง คือ แหล่ง EP2 และ PHCQ
ขณะที่นโยบาย “ถัง” จะเป็นการส่งเสริมการลงทุนการสร้างคลังน้ำมัน และคลังก๊าซในประเทศไทย โดยเฉพาะคลังน้ำมันในภาคใต้ในโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งหากเกิดขึ้นจะช่วยลดระยะเวลาการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางมาเป็นประเทศไทย และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกไกล เป็นต้น
นายพิชัย กล่าวว่า การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จะยังเดินหน้าการปรับราคาเอ็นจีวี และแอลพีจี รวมถึงการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันดีเซล เบนซิน ในวันที่ 16 ม.ค. 55 เช่นเดิม แม้ว่าทางกลุ่มผู้ประกอบการขนส่งและแท็กซี่จะคัดค้านการปรับขึ้นราคา โดยจะมีการประท้วงปิดถนนในวันที่ 9 ม.ค. 55 ซึ่งทางกระทรวงจะเชิญกลุ่มนี้มาหารือในวันที่ 12 ม.ค. 55 และขอให้พูดคุยด้วยเหตุและผล และตามข้อเท็จจริงการปรับขึ้นราคาเพราะต้นทุนเอ็นจีวีขณะนี้สูงถึง 16.80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ปัจจุบันราคาเอ็นจีวียังตรึงอยู่ที่ 8.50 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ ปตท.และกองทุนน้ำมันฯต้องเข้ามาอุดหนุนราคาเอ็นจีวี จึงไม่เป็นธรรม โดย ปตท.ขาดทุนจากการตรึงราคาเอ็นจีวีแล้วประมาณ 4 หมื่นล้านบาท
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 54 ได้พิจารณาแนวทางการปรับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยเห็นชอบให้ปรับเพิ่มราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคขนส่งเดือนละ 0.41 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 55 เป็นต้นไป และเพื่อให้สามารถจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับก๊าซ LPG ที่จำหน่ายให้ภาคขนส่ง
นอกจากนี้ได้พิจารณาหลักเกณฑ์การคำนวณราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามมาตรฐานยูโร 4 โดยเห็นชอบปรับหลักเกณฑ์การคำนวณราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมันเพื่อให้สะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มของการผลิตน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 แต่ราคาที่สถานีบริการน้ำมันจะทยอยปรับขึ้นเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภค โดยคำนึงถึงน้ำมันที่ค้างสต๊อกอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 55 และคุณภาพน้ำมันที่ยังไม่ได้มาตรฐานยูโร 4 ที่สถานีบริการน้ำมันด้วย
คาดว่าน้ำมันดีเซลจะใช้ระยะเวลาในการปรับคุณภาพให้ได้มาตรฐานยูโร 4 จากคลังไปจนถึงสถานีบริการน้ำมันประมาณ 9 สัปดาห์ ส่วนน้ำมันเบนซินใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนเป็นมาตรฐานยูโร 4 ประมาณ 15 สัปดาห์ สำหรับการบังคับใช้น้ำมันตามมาตรฐานยูโร 4 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 55 เป็นต้นไป--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."