ความลับของ EBITDA

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นี่เป็นครั้งแรกของผมที่จะเขียนเรื่องที่มันมีสาระจากที่ได้เรียนรู้มา ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยพี่ๆ เพื่อนๆ ด้วยนะครับ และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับส่วนรวมของเวปเรา

ความลับของ EBITDA
ผมเห็นหลายคนพูดกันเกี่ยวกับ EBITDA วันนี้ก็เลยอยากจะเขียนความเข้าใจส่วนตัวของผมเองเพื่อแชร์ความคิดกับเพื่อนๆนะครับ ถูกผิดอย่างไรช่วยกัน เสนอแนวคิดกันด้วยนะครับ

EBITDA คือ กำไรก่อน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม และ ค่าตัดจ่าย

การที่เราจะนำเอา EBITDA มาใช้นั้นผมคิดว่าควรมีข้อควรระวังที่จะต้องพิจารณาหลายอย่าง เพราะเนื่องจากว่า EBITDA นั้น เกิดจากการบวกกลับของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายจริงเข้ามา (แต่จริงๆแล้วค่าเสื่อมและค่าตัดจ่ายนั้นได้เกิดขึ้นจริงก่อนหน้านี้ไปแล้ว ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงๆ จากลงทุนในสินทรัยพ์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนเพื่อใช้ในการสร้างรายได้ในอนาคตเข้ามา โดยที่ค่อยนำเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาหักออกที่หลังขึ้นอยู่กับวิธีการที่จะเลือกใช้ เช่น วิธีเส้นตรง หรือ วิธีอัตราเร่ง เป็นต้น) พอเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราก็ควรที่จะต้องพิจารณาสิ่งต่างๆเหล่านี้เพิ่มเติมกันด้วย ไม่งั้นจะทำให้เรานำเอา EBITDA ไปใช้ในทางที่ผิดหรือเกิดหลงประเด็นว่าเงินสดเหล่านี้เป็นเงินสดของเราทั้งหมดที่สามารถนำไปใช้โดยปราศจากข้อผูกพันใดๆ

สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย 5 ประเด็นดังต่อไปนี้
1 ประเภทของกิจการ
2 กลยุทธ์ของกิจการ
3 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อรักษาสภาพการใช้งานของทรัพย์สิน
4 วิธีการหักค่าเสื่อมราคา
5 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อการเติบโต

ที่นี้เราก็ลองมาดูทีละประเด็นกันนะครับ ว่ามีเหตุผลอะไร ทำไมเราถึงต้องมาดูสิ่งเหล่านี้กัน

1 ประเภทของกิจการ
เหตุผลที่เราต้องดูประเภทของกิจการ เพราะเนื่องจากแต่ละกิจการก็มีความจำเป็นในการใช้ทรัพย์สินถาวรและไม่ถาวรในการสร้างรายได้แตกต่างกัน เช่น บางกิจการนั้นต้องการเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสูง ซึ่งก็จะทำให้เกิดค่าเสื่อมราคาสูงเช่นกัน แต่ต้องดูวิธีการหักค่าเสื่อมประกอบ แต่บางกิจการใช้สินทรัพย์ถาวรน้อย ก็จะทำให้เกิดค่าเสื่อมราคาเทียบเป็นอัตราส่วนของรายได้น้อยกว่ากิจการประเภทแรก ที่นี้การที่เราจะนำเอา EBITDA ไปใช้เลยนั้น ผมคิดว่าไม่ถูกต้องมากนัก เนื่องจากว่าในความเป็นจริงแล้ว กิจการประเภทที่ใช้สินทรัพย์ถาวรสูงในการสร้างรายได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงสินทรัพย์เหล่านี้ในอนาคตเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพเท่าๆเดิม หรืออาจจะต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าเดิมเนื่องจากเงินเฟ้อก็เป็นได้ ฉนั้นพอเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราก็จะสามารถพิจารณาเรื่องของ EBITDA และประเภทของกิจกาจได้ตรงประเด็นและนำไปใช้ได้แม่นยำมากขึ้น

2 กลยุทธของกิจการ
เหตุผลที่เราจะต้องดูกลยุทธของกิจการประกอบนั้น ผมขอยกตัวอย่างประกอบน่าจะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากกว่านะครับ เช่น โรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าระดับบน (A) กับ โรงพยาบาลที่เน้นลูกค้าระดับกลาง-ล่าง (B) รพ A นั้นเน้นลูกค้าระดับบน จึงคิดค่ารักษาพยาบาลสูงกว่า รพ B เนื่องจากว่าจำเป็นที่จะต้องลงทุนในเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีกว่า ทันสมัยกว่า และใหม่กว่าอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลทำให้อายุการใช้งานของเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านั้นสั้นกว่า รพ B เพราะต้องคอยซื้อเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆมาทดแทนของเก่าและให้ดีกว่าเครื่องไม้เครื่องมือของ รพ B อยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้ รพ A ตัดค่าเสื่อมราคาในระยะเวลาที่สั้นกว่า รพ B เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันนี้เอาไว้

3 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อรักษาสภาพการใช้งานของทรัพย์สิน
ค่าใช้จ่ายนี้ก็คือค่าใช้จ่ายที่ผมได้พูดถึงก่อนหน้านี้แล้วในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 เพราะว่าค่าเสื่อมราคาที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเงินสดที่เราได้หักไว้ในวันนี้ ก็จะต้องถูกนำไปใช้ในอนาคตเพื่อใช้ในการซ่อมแซมให้สินทรัพย์ใช้งานได้ตามปกติดังเดิม มีประสิทธิภาพดีกว่าหรือเท่าเดิม แต่เราก็ควรที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยว่าวิธีการหักค่าเสื่อมราคาที่กิจการได้เลือกใช้นั้น มีความถูกต้องเหมาะสมกับกลยุทธและสภาพการใช้งานจริงของบริษัทนั้นๆมากน้อยเพียงใด

4 วิธีการหักค่าเสื่อมราคา
ในแง่มุมของทางบัญชีนั้น บริษัทสามารถที่จะเลือกใช้วิธีการหักค่าเสื่อมราคาได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีผลกับงบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสดแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทเลือกใช้วิธีการแบบเส้นตรง ซึ่งก็คือการหักค่าเสื่อมราคาๆเท่าๆกันทุกปีตามจำนวนปีที่กำหนด เช่น ปีละ 100000 บาท ก็จะมีผลแตกต่างกับวิธี Double-Declining Balance ซึ่งวิธีนี้จะทำการคิดค่าเสื่อมในปีแรกๆสูงกว่าปีหลังๆ หรือเรียกอีกอย่างนึงว่าวิธีอัตราเร่ง เช่นปีแรกๆคิด 200000 บาท ซึ่งจะทำให้มีผลกับงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดแตกต่างกันตามวิธีที่บริษัทเลือกใช้

5 ค่าใช้จ่ายลงทุนเพื่อการเติบโต
นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพของสินทรัพย์แล้ว เรายังต้องพิจารณาถึงการลงทุนเพื่อการเติบโตของกิจการด้วย ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะเป็นสินทรัยพ์ที่ใช้สร้างรายได้เพิ่มเติมในอนาคตที่พวกเราเหล่านักลงทุนต้องการเพื่อให้กำไรต่อหุ้นเติบโตและทำให้ราคาหุ้นสูงมากขึ้น สิ่งสำคัญก็คือเราจะต้องสอบถามผู้บริหารว่าปีนี้ค่าใช้จ่ายลงทุนนั้นเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพเท่าไหร่ และเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการเติบโตเท่าไหร่
Notelio
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1021
ผู้ติดตาม: 1

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
raynus
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 720
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ

ps เห็นชื่อคนโพส นึกว่าเปิด course อบรมใหม่ :mrgreen:
สายปันผลครับ

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับพี่ชาญ เขียนเรื่องการนำไปใช้อีกซักเรื่องซิครับพี่ กำลังมันส์^^
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 5

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
Dekfaifah
Verified User
โพสต์: 1220
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แวะมาทักทายครับพี่ส้มเขียว บางทีผมใช้แต่ EBIT อย่างเดียวนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nACrophiles_117
Verified User
โพสต์: 1362
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มาสวัสดีพี่ส้มเขียวหวานด้วยคนครับ ไม่ได้คุยกับพี่นานพอควรเลย สบายดีนะครับพี่ชาญ :)
labor omnia vincit
ภาพประจำตัวสมาชิก
green-orange
Verified User
โพสต์: 896
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 8

โพสต์

picklife เขียน:ขอบคุณครับพี่ชาญ เขียนเรื่องการนำไปใช้อีกซักเรื่องซิครับพี่ กำลังมันส์^^

:shock: :shock: โอ... เข้ามาดูอีกที น้องปิ๊กทำให้งานเข้าเลยไหมล่ะ งั้นผมขอลองไปทำเป็นการบ้านก่อนนะ เสร็จแล้วจะมานำเสนอ ผิดถูกอย่างไร...ต้องขออภัยสำหรับมือใหม่อย่างผมด้วยละกันนะครับ

มีอาจาร์ยท่านนึงบอกว่า การให้คือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ยิ่งให้....ยิ่งดี...
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
Verified User
โพสต์: 4090
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณพี่ส้มเขียวครับ
Small Details Make a Big Difference
investor9000
Verified User
โพสต์: 297
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สำหรับผม EBITDA ไม่เคยเอามาใช้เลย
ภาพประจำตัวสมาชิก
jack5515566
Verified User
โพสต์: 119
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Buffet เคยบอกว่าการใช้ EBITDA คือการหลอกตัวเอง
podrbu
Verified User
โพสต์: 119
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 12

โพสต์

jack5515566 เขียน:Buffet เคยบอกว่าการใช้ EBITDA คือการหลอกตัวเอง
ช่วยขยายความทีครับ ผมอยากรู้
wj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1399
ผู้ติดตาม: 1

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Buffett กล่าวว่า "ตัวเลขตัวหนึ่งที่เรามองว่าไร้สาระก็คือ EBIDA ธุรกิจใดก็ตามที่ใช้สินทรัพย์ถาวรอย่างมีนัยสำคัญจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้ในระดับเดิมในแง่ของปริมาณการขาย ดังนั้นการใช้ตัวเลขที่ไม่ได้พิจารณาถึงเงินสดที่บริษัทจำเป็นต้องนำไปลงทุนเพิ่มเป็นเรื่องที่เขลาสิ้นดี แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ผู้คนจำนวนมากเลิกนำ EBIDA ไปใช้อย่างผิดๆ เพื่อขายสินค้าในรูปแบบต่างๆปีแล้วปีเล่า"
แม้แต่ Buffett เองก็ยังบอกเป็นนัยๆว่ามันไม่ได้ใช้เหมือนกันไปหมด สินทรัพย์ถาวรที่กล่าวนั้น Buffett หมายถึงสินทรัพย์ที่จะต้องลงทุนเพื่อรักษาระดับการแข่งขันให้ได้ ในความเห็นส่วนตัวผมถึงแม้ว่าปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ถ้ากำไรไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยเป็นระยะเวลานานๆหลายปีติดกัน นั้นย่อมแสดงให้เห็นว่า EBITDA เป็นเรื่องเขลาเช่นกัน

EBITDA นั้นไม่ได้มีความสำคัญเลยถ้ามันไม่ได้ถูกใช้ให้ถูกต้อง หลายๆบริษัทที่ยังไม่ถึง Break Event Point จะใช้ EBITDA นี้เพื่อแสดงถึงสถานะในการทำกำไร เนื่องจากบริษัทอยู่ในสภาวะที่ขาดทุน ทำให้บริษัทเหล่านี้ไม่ต้องจ่ายภาษี และการเสื่อมของสินทรัพย์เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจจำเป็นต้องมีความใช้จ่ายเพื่อรักษารายได้ของบริษัท เช่น ถ้าเราซื้อคอนโดหรือบ้านให้เช่า ในช่วงแรกของการให้เช่า ค่าเช่าทั้งหมดจะเข้ากระเป๋าของเจ้าของ เมื่อเวลาผ่านไปหลายๆปี เงินก็ยังเข้ากระเป๋าเหมือนเดิม แต่สิ่งที่ไม่เหมือนเดิมคือ ความเก่าของบ้าน, ท่อตัน, สีบ้านลอก เป็นต้น เมื่อไหร่ที่ต้องหาผู้เช่ารายใหม่ สินทรัพย์เหล่านี้ก็ต้องการเงินลงทุนเพื่อให้บ้านอยู่ในสภาพที่ดีและเหมาะสมกับค่าเช่าเหมือนในตอนให้เช่าครั้งแรก

และในหลายๆกรณีที่ D หรือ amortization สร้างความเจ็บปวดให้กับนักลงทุน เช่น MPT(ในปี 2006) ได้ทำการบันทึกการด้อยค่าเครื่องจักรผลิตชิ้นส่วน hard disk ก่อนกำหนดตามการตัดค่าเสื่อมราคาตามบัญชีเพราะเทคโนโลยีการผลิต hard disk เปลี่ยนไปทำให้เครื่องจักรเดิมผลิตสินค้าไม่ตรงความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ขาดทุนเป็นจำนวนมาก(2 ปี ขาดทุน 1.7 พันล้านบาท)

สำหรับผม EBITDA ไม่ได้มีความสำคัญในการวิเคราะห์บริษัทเลยครับ ผมจะดู free cash flow หลายๆปีติดกัน โดยเฉพาะภายหลังจากที่บริษัทได้ลงทุนหนักๆแล้ว
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
woodooshy
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ขอบคุณครับ
ลงทุนในความรู้ นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน

ลงทุนในบุญกุศล นำไปสู่อิสระภาพทางใจ
chatchaithai
Verified User
โพสต์: 32
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ผมใช้ประโยชน์EBITDAในการพิจารณาบ.ในกรณีดังนี้
1.ค่าใช้จ่ายในบำรุงรักษาสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องน้อยกว่าค่าเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญ เช่น สมมุติมีอาคารAปล่อยให้เช่าโดยซื้ออาคารมา 1,000 บาท ตัดค่าเสื่อม10ปี ปีละ100 บาท แล้วเก็บค่าเช่าปีละ 150 บาท ถ้าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้<100บาท/ปี ผมก็จะได้กำไร(แต่ต้องเข้าเงื่อนใขข้อ2,3ด้วย)
2.เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ต้องมีอายุการใช้งานมากกว่าระยะเวลาในการตัดค่าเสื่อมภายหลังจากการตัดค่าเสื่อมครบแล้วแต่ยังสามารถใช้งานได้อยู่ก็เป็นกำไรต้องนำมาพิจารณาในมูลลค่าหุ้นด้วย
3.บ.นี้ต้องมีหนี้น้อยๆเนื่องจากภาระในการคืนเงินต้น/ปีและดอกเบี้ยจะต้องนำมาหักจากเงินสดที่ได้จากค่าเสีื่อมด้วยจึงจะถือว่าเงินสดส่วนเกินนั้นเป็นของเรา แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาความเสี่ยงในแง่ของรายได้หากเศรษฐกิจผันผวนด้วย ดังนั้นจะให้ดีควรมีหนี้น้อยๆหรือไม่มีเลย อีกประเด็นหนึ่งคือสมมุติว่าสินทรัพย์ที่เราซื้อมานั้นมาด้วยเงินกู้บางส่วนการที่เงินกู้เป็นศูนย์แสดงให้เห็นว่าค่าเสื่อม-ค่าบำรุงรักษา มีเหลือพอในการทยอยใช้หนี้จนหมดหากสินทรัพย์นั้นยังสามารถสร้างรายได้ต่อไปแปลว่าเงินส่วนที่เหลือก็จะเพิ่มในส่วนของเรา

สรุป; เงินสดส่วนเกิน=ค่าเสื่อม-ค่าบำรุงรักษา-(เงินต้นที่ต้องคืนใน1ปี+ดอกเบี้ย)อันเกิดจากการซื้อสินทรัพย์ =>ถ้าเป็นบวกเยอะๆEBITDAก็น่าสนใจ

หากพิจารณาแล้วผ่านทั้ง 3 ข้อผมคิดว่า EBITDA บ.นี้ก็หน้าสนใจ ผิดถูกประการใดรบกวนผู้รู้ช่วนแนะนำด้วยครับ
erawan
Verified User
โพสต์: 139
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ประโยชน์ของebidaนั้นผมเข้าใจว่าเพื่อเปรียบเทียบกับบริษัทคล้ายกันในภูมิภาคว่าดีเลวถูกแพงกว่ากันอย่างไรในมาตรฐานเดียวกัน แต่ถ้าลงทุนในตลาดเดียวผมว่าไม่จำเป็นเท่าไหร่โดยส่วนตัวผมใช้ebdaเพราะสท้อนถึงfree cash flow ได้ดีกว่า ซึ่งเป็นอันดับ1 ของการประเมินมูลค่าของกิจการ
ปล.i&t ที่ผมเอาออกเพราะสุดท้ายกิจการก็ต้องจ่ายออกไปอยู่ดีครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ดูธุรกิจการบินคับ เป็นตัวอย่างที่ดี
ติดตามดูได้คับ "หุ้นรักคุณเท่าฟ้า"
ภาพประจำตัวสมาชิก
1154
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 894
ผู้ติดตาม: 0

Re: ความลับของ EBITDA

โพสต์ที่ 18

โพสต์

ไดุ้มุมมองหลายประเด็นเพิ่มขึ้น ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์