สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
- maoinvestor
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
โพสต์ที่ 1
สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาด อาจจะเคยได้ยินคำว่า "การลงทุนแนว VI "
การลงทุนแนววีไอ มันคืออะไรกันน้า...แล้วนักลงทุนหน้าใหม่แบบเราจะเป็น VI ได้หรือเปล่า
VI : Value Investment การลงทุนแนวเน้นคุณค่า โดยหลักการทั่วไป เป็นการเข้าซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าการวิเคราะห์พื้นฐานของกิจการ อย่างไรก็ตาม การลงทุนแนวนี้มีอีกหลายหลักการแยกย่อยลงไป เช่น Benjamin Graham จะเลือกหุ้นที่มี Margin of Saftey สูง แต่ Warren Buffett จะเลือกหุ้นของบริษัทที่ยอดเยี่ยมในราคาที่เหมาะสม มากกว่าหุ้นถูกๆของบริษัทธรรมดาๆ หรือ ดร.นิเวศน์ จะเลือกหุ้นในกิจการที่ตนเองคุ้นเคย
ความยากของการลงทุนในแนว Value Investment ไม่ใช่แค่การศึกษาปัจจัยพื้นฐาน การแกะงบการเงินต่างๆเท่านั้นแต่สิ่งสำคัญที่นักลงทุนหน้าใหม่ส่วนมากมักถอดใจไปก่อนคือ การต้องอดทนรออนาคตที่ยังมาไม่ถึง ทั้งในแง่ของการเติบโตของกิจการและราคาหุ้นที่ผันผวนตลอดเวลา นักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังวิเคราะห์ตลาดได้ไม่ดีพอ มักจะคิดว่าการคาดคะเนของตนเองผิดพลาดและหมดกำลังใจในการลงทุน
ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป กิจการที่ดีจะพิสูจน์ตัวเองให้เห็นในที่สุด แต่ตอนนี้บรรดานักลงทุนหน้าใหม่ที่ต่างเทขายเพราะเสียเซ้วไปนั้น ต้องมานึกเสียดายและเสียใจ ก็เป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่บรรดาแมลงเม่าต้องจดจำไว้ว่า รักจะเป็น VI ต้องอดทน นะจ๊ะ
การลงทุนแนววีไอ มันคืออะไรกันน้า...แล้วนักลงทุนหน้าใหม่แบบเราจะเป็น VI ได้หรือเปล่า
VI : Value Investment การลงทุนแนวเน้นคุณค่า โดยหลักการทั่วไป เป็นการเข้าซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่าการวิเคราะห์พื้นฐานของกิจการ อย่างไรก็ตาม การลงทุนแนวนี้มีอีกหลายหลักการแยกย่อยลงไป เช่น Benjamin Graham จะเลือกหุ้นที่มี Margin of Saftey สูง แต่ Warren Buffett จะเลือกหุ้นของบริษัทที่ยอดเยี่ยมในราคาที่เหมาะสม มากกว่าหุ้นถูกๆของบริษัทธรรมดาๆ หรือ ดร.นิเวศน์ จะเลือกหุ้นในกิจการที่ตนเองคุ้นเคย
ความยากของการลงทุนในแนว Value Investment ไม่ใช่แค่การศึกษาปัจจัยพื้นฐาน การแกะงบการเงินต่างๆเท่านั้นแต่สิ่งสำคัญที่นักลงทุนหน้าใหม่ส่วนมากมักถอดใจไปก่อนคือ การต้องอดทนรออนาคตที่ยังมาไม่ถึง ทั้งในแง่ของการเติบโตของกิจการและราคาหุ้นที่ผันผวนตลอดเวลา นักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังวิเคราะห์ตลาดได้ไม่ดีพอ มักจะคิดว่าการคาดคะเนของตนเองผิดพลาดและหมดกำลังใจในการลงทุน
ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป กิจการที่ดีจะพิสูจน์ตัวเองให้เห็นในที่สุด แต่ตอนนี้บรรดานักลงทุนหน้าใหม่ที่ต่างเทขายเพราะเสียเซ้วไปนั้น ต้องมานึกเสียดายและเสียใจ ก็เป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่บรรดาแมลงเม่าต้องจดจำไว้ว่า รักจะเป็น VI ต้องอดทน นะจ๊ะ
ติดตามอ่านการ์ตูนหุ้น สารคดีชีวิตสัตว์โลก::แมลงเม่า ได้ตามลิงค์ข้างล่างจ้ะ
http://www.maoinvestor.com
http://www.facebook.com/maoinvestor
http://www.maoinvestor.com
http://www.facebook.com/maoinvestor
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
โพสต์ที่ 3
Victim of Industies
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- airazoc
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 904
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
โพสต์ที่ 4
คำว่า "VI ต้องอดทน" มักจะถูกใช้ตอนราคาหุ้นลงไปต่ำกว่าที่ซื้อทั้งๆที่มูลค่าที่ประเมินไว้สูงกว่านั้นมาก
จึงต้องอดทนขาดทุนระยะสั้น หรือ ระยะกลาง จนกว่าจะกำไร
ผมอยากขยายความ คำว่า "VI ต้องอดทน" ในอีกแง่มุมนึง ที่ไม่ค่อยจะได้รับการพูดถึง
"VI ต้องอดทน" จริงๆแล้ว ใช้ในตอนที่ได้กำไรอยู่ และอยู่ในขาขึ้นอีกด้วย
บางที ทั้งๆที่ประเมินเอาไว้แล้วว่ามันจะวิ่งไปได้ 5 เท่า 10 เท่า
แต่พอราคาวิ่งไป 2 เท่า ก็มือสั่นอยากจะขายเสียแล้ว ยิ่งหุ้นนิ่งๆอยู่อีกสักพัก
ปรับฐานลงมาอีกหน่อย ก็ใจแป้วกลัวกำไรหด ขายไปเสียแล้ว (ผมก็เป็นกับตัวเองมาก่อน)
VI จึงต้องอดทน ในกำไรที่ได้รับด้วยครับไม่ใช่แค่ผลขาดทุนระยะสั้น
หากไม่อดทนแล้ว การที่จะกำไร 5 เท่า 10 เท่า แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
เพราะปกติ ขึ้นมา 20-30% ก็ขายกันเกือบหมดแล้ว
ดังนั้นเมื่อใจสั่นอยากขายเมื่อไหร่ ให้กลับไปตรวจสอบ valuation และ assumption ของตัวเองว่ายังถูกต้องหรือไม่
ถ้ายังถูกต้องอยู่ก็ถือต่อไป ใจแข็งๆ ถ้าชักไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรที่คำนวนผิด ต่อให้ขาดทุนอยู่ก็ต้องขายเช่นกัน
จึงต้องอดทนขาดทุนระยะสั้น หรือ ระยะกลาง จนกว่าจะกำไร
ผมอยากขยายความ คำว่า "VI ต้องอดทน" ในอีกแง่มุมนึง ที่ไม่ค่อยจะได้รับการพูดถึง
"VI ต้องอดทน" จริงๆแล้ว ใช้ในตอนที่ได้กำไรอยู่ และอยู่ในขาขึ้นอีกด้วย
บางที ทั้งๆที่ประเมินเอาไว้แล้วว่ามันจะวิ่งไปได้ 5 เท่า 10 เท่า
แต่พอราคาวิ่งไป 2 เท่า ก็มือสั่นอยากจะขายเสียแล้ว ยิ่งหุ้นนิ่งๆอยู่อีกสักพัก
ปรับฐานลงมาอีกหน่อย ก็ใจแป้วกลัวกำไรหด ขายไปเสียแล้ว (ผมก็เป็นกับตัวเองมาก่อน)
VI จึงต้องอดทน ในกำไรที่ได้รับด้วยครับไม่ใช่แค่ผลขาดทุนระยะสั้น
หากไม่อดทนแล้ว การที่จะกำไร 5 เท่า 10 เท่า แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
เพราะปกติ ขึ้นมา 20-30% ก็ขายกันเกือบหมดแล้ว
ดังนั้นเมื่อใจสั่นอยากขายเมื่อไหร่ ให้กลับไปตรวจสอบ valuation และ assumption ของตัวเองว่ายังถูกต้องหรือไม่
ถ้ายังถูกต้องอยู่ก็ถือต่อไป ใจแข็งๆ ถ้าชักไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรที่คำนวนผิด ต่อให้ขาดทุนอยู่ก็ต้องขายเช่นกัน
"In life and business, there are two cardinal sins ... The first is to act precipitously without thought, and the second is to not act at all.” – Carl Icahn
- lengmanutd
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณนะครับพี่เม่า อยากเป็น VI ต้องมีใจอดทน
ลงทุนในบริษัทที่ดี ราคาหุ้นมี MOS (Downside = Limited) และแนวโน้มกำไรมี Growth (Upside = Infinity)
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
โพสต์ที่ 6
ตอนนี้ต้องVery idiotเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 1070
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สารคดีชีวิตสัตว์โลก:: คุณคือ VI สไตล์ไหน
โพสต์ที่ 7
เห็นด้วย...อย่างยิ่ง...airazoc เขียน:คำว่า "VI ต้องอดทน" มักจะถูกใช้ตอนราคาหุ้นลงไปต่ำกว่าที่ซื้อทั้งๆที่มูลค่าที่ประเมินไว้สูงกว่านั้นมาก
จึงต้องอดทนขาดทุนระยะสั้น หรือ ระยะกลาง จนกว่าจะกำไร
ผมอยากขยายความ คำว่า "VI ต้องอดทน" ในอีกแง่มุมนึง ที่ไม่ค่อยจะได้รับการพูดถึง
"VI ต้องอดทน" จริงๆแล้ว ใช้ในตอนที่ได้กำไรอยู่ และอยู่ในขาขึ้นอีกด้วย
บางที ทั้งๆที่ประเมินเอาไว้แล้วว่ามันจะวิ่งไปได้ 5 เท่า 10 เท่า
แต่พอราคาวิ่งไป 2 เท่า ก็มือสั่นอยากจะขายเสียแล้ว ยิ่งหุ้นนิ่งๆอยู่อีกสักพัก
ปรับฐานลงมาอีกหน่อย ก็ใจแป้วกลัวกำไรหด ขายไปเสียแล้ว (ผมก็เป็นกับตัวเองมาก่อน)
VI จึงต้องอดทน ในกำไรที่ได้รับด้วยครับไม่ใช่แค่ผลขาดทุนระยะสั้น
หากไม่อดทนแล้ว การที่จะกำไร 5 เท่า 10 เท่า แทบจะไม่มีทางเป็นไปได้เลย
เพราะปกติ ขึ้นมา 20-30% ก็ขายกันเกือบหมดแล้ว
ดังนั้นเมื่อใจสั่นอยากขายเมื่อไหร่ ให้กลับไปตรวจสอบ valuation และ assumption ของตัวเองว่ายังถูกต้องหรือไม่
ถ้ายังถูกต้องอยู่ก็ถือต่อไป ใจแข็งๆ ถ้าชักไม่ถูกต้อง หรือมีอะไรที่คำนวนผิด ต่อให้ขาดทุนอยู่ก็ต้องขายเช่นกัน
The One