นายจิรวุฒิ บุญศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้เหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปีที่ผ่านมาจะสร้างความเสียหายอย่างมาก ต่อบริษัทรับประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ในต่างประเทศจนมีข่าวบริษัทรับประกันภัยต่อหนีตลาดเมืองไทย ตนมองว่าไม่จริง แม้บริษัทซีซีอาร์ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อรายใหญ่ของโลกจากฝรั่งเศสจะถอนตัวไปเพราะความเสียหายจากน้ำท่วมก็จริง แต่บริษัทรับประกันต่อรายอื่นที่เสียหายจากน้ำท่วมแทนที่จะถอยกลับมามองทำอย่างไรถึงจะมีธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มได้มากกว่า
เช่น บริษัทเบิร์กเชียร์ แฮทชเวย์ (Berkshrie Hathaway) บริษัทรับประกันภัยต่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหา เศรษฐีของโลกที่ตั้งอยู่ในรัฐคอนเน็กติกัต ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อช่วงคือรับประกัน ภัยต่อมาจากบริษัทรับประกันภัยต่ออีกที วันนี้ขยับมาอยู่ข้างหน้ามารับประกันภัยต่อตรงจากบริษัทประกันภัยในไทยเพราะเขาเสียหายจากน้ำท่วมในประเทศไทยด้วยจึงต้องเอาพอร์ตมาดูเอง
“พอเริ่มบอกโซนนี้เสี่ยง สิ่งที่บอกต่อกันไปคือราคาเบี้ยประกันต้องขึ้น เดิมภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมเป็นประกันภัยที่แถมให้กับบ้านเรา เขตไหนที่บอกเสี่ยงสูงกำไร เขตที่แถมขาดทุน น้ำท่วมเปลี่ยน หน้าประเทศไทยภัยธรรมชาติไม่ใช่ของแถมอีกแล้ว รีอินชัวเรอส์หลายรายเข้ามาจับตลาดบ้านเรา”
นายจิรวุฒิ กล่าวว่า ในโลกยังมีประเทศที่มีความเสี่ยงสูงกว่าประเทศไทย มาก อย่างสหรัฐอเมริกามีพายุทอร์นาโด พายุเฮอริเคนที่มีความรุนแรงกว่าน้ำท่วมในประเทศไทยมากยังสามารถซื้อความคุ้มครองมหันตภัยประเภทนี้ได้ เท่าที่คุยกับบริษัทเอออนที่เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย (โบรกเกอร์) ระดับโลกบอกประเทศที่มีมหันตภัยเกิดมากบริษัทรับประกันภัยต่อสามารถทำกำไรได้ ตามทฤษฎีประกันภัยหากราคาเบี้ยประกันภัยเหมาะสมสามารถขายได้
“รีอินชัวเรอส์เขาคาดหวังกับบ้านเราเขาต้องดูมาตรการของรัฐ เช่น Risk improvement โอกาสเกิดความเสียหายน้อยลง บริษัทประกันก็แฮปปี้ น้ำท่วมครั้งนี้รีอินชัวเรอส์เขาก็มองเป็นภัยธรรมชาติบางคนบอกเกิดขึ้นในรอบ 50 ปี ผมว่าต้องมองย้อนไปในปี 2485 หรือ 60-70 ปีก่อนถึงจะใกล้เคียงความจริง”
นายจิรวุฒิ กล่าวว่า ในเชิงประกัน ภัยต้องวิเคราะห์ในเชิงสถิติ บริษัทประกัน ภัยและรีอินชัวเรอส์ต้องไม่ตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพียงแต่ครั้งนี้บริษัทรับประกันต่อโดนเยอะทำให้มีเรื่องราคาเบี้ยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถามว่าค่าเสียหายทั้งหมด เท่าไหร่ไม่มีใครเดาถูกเพราะในอดีตไม่มีตัวอย่าง น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมสูง 2 เมตรไม่เคยมีต้องผ่านไป 3-6 เดือนตัว เลขค่าเสียหายถึงจะใกล้เคียงความจริง วันนี้ยังไม่ถึงขั้นที่บริษัทรับประกันภัยต่อไม่สามารถออฟเฟอร์ประเทศไทยได้ เขาต้องชั่งน้ำหนัก
ก่อนหน้านี้นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ย้ำว่ายังมีบริษัทประกันภัยและบริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศ หลายรายทั้งเก่าและใหม่สนใจธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยอย่างตอนที่ไป พบลอยด์ส ออฟ ลอนดอน ที่อังกฤษซึ่ง เป็นตลาดประกันภัยต่อใหญ่สุดในโลกเมื่อปลายปีที่ผ่านมายังมองประเทศไทย มีศักยภาพ โดยประเทศไทยยังจะมีการ ลงทุนอีกมากทั้งจากภาคเอกชนอย่างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และภาครัฐที่ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจประกันภัยเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเชิญผู้รับประกันภัยต่อที่ยังไม่เคยเข้ามาในประเทศไทยเข้ามา
สอดคล้องกับนายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) หนึ่งในคณะกรรมการบริหารสมาคมประกันวินาศภัย (บอร์ด) ที่ว่าตลาดลอยด์สยังสนใจประเทศไทยอยู่แต่อยู่บนเงื่อนไขแนวทางการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลเป็นรูปธรรมมากน้อยแค่ไหนและความเสียหายทั้งหมดจากน้ำท่วมเท่าไหร่ ค่าเสียหายที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเท่าไหร่และรีอินชัวเรอส์เสียหายเท่าไหร่
ฝรั่งไม่หวั่นน้ำท่วม วอร์เรน บัฟเฟตต์ สั่งลุย
- ko_hisashi
- Verified User
- โพสต์: 343
- ผู้ติดตาม: 0
ฝรั่งไม่หวั่นน้ำท่วม วอร์เรน บัฟเฟตต์ สั่งลุย
โพสต์ที่ 1
- ko_hisashi
- Verified User
- โพสต์: 343
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ฝรั่งไม่หวั่นน้ำท่วม วอร์เรน บัฟเฟตต์ สั่งลุย
โพสต์ที่ 2
บัฟเฟตต์รุกรีอินชัวรันส์
วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีโลก เจ้าของ เบิร์กไชร์ แฮธะเวย์ สวนกระแสรีอินชัวเรอร์ ประกาศรับประกันภัยต่อโดยตรงจากประเทศไทยมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยในประเทศแห่ส่งประกันภัยต่อให้ หนุนมาร์เก็ตแชร์กว่า 20%
ด้านเทเวศประกันเปิดแผนธุรกิจปี 55 ตั้งเป้าเบี้ยรับรวม 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เน้นลูกค้ารายย่อยเป็น 60% พร้อมลดความเสี่ยงด้านการบริหารให้พนักงานศูนย์บริการข้อมูลเคาะเบี้ยได้
นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เศรษฐกิจประกันภัย จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัท เบิร์กไชร์ แฮธะเวย์ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อต่างชาติ หรือรีอินชัวเรอร์ ซึ่งเป็นบริษัทของ นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีของโลก ได้ประกาศตัวเข้ามารับประกันภัยต่อ โดยตรงในประเทศไทยมากขึ้น หลังจากที่ รีอินชัวเรอร์หลายรายปฏิเสธเข้ามารับประกันภัยต่อในประเทศไทย ส่งผลให้เบิร์ก ไชร์ แฮธะเวย์ มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 20% ของงานประกันภัยต่อแบบรายสัญญาที่เป็นการรับประกันภัยลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ไปแล้วในขณะนี้
ผมคิดว่า การที่เข้าเปิดตัวอย่างเป็นทางการ จากเดิมที่รับงานอยู่เบื้องหลัง ก็น่าจะมองเห็นโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ประกอบกับรีอินชัวเรอร์หลายราย ไม่รับงานในไทยด้วย ส่งผลให้ตอนนี้เกือบทุกบริษัทประกันภัย ส่งงานให้เขาเกือบหมด ทำให้เขากลายเป็นผู้ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดรายใหญ่ไปแล้ว และยังไม่มีทิศทางว่าจะมีรีอินชัวเรอร์รายอื่นเข้ามาแย่งตลาดอีกด้วย ตอนนี้ก็เลยมีการมองว่าระยะยาวเขาอาจชี้นำตลาดประกันในไทยได้ รวมถึงกำหนดค่าเบี้ยให้ถูกหรือแพงก็ได้
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยจะมีบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่นที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดในการรับประกันภัยต่อในประเทศไทยมากที่สุด ภายหลังจากเกิดน้ำท่วมสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป บริษัทประกันของญี่ปุ่นลดความสามารถในการรับประกันในไทยไปพอสมควร เช่น จากเดิมอาจรับงานประกันภัยต่อจากบริษัทประกันในไทย 10% ก็ปรับลดเหลือ 1%
ในอดีตญี่ปุ่นมองว่าความเสี่ยงภัยธรรมชาติในไทย มีโอกาสที่เกิดขึ้นน้อยมาก จึงเก็บงานเอาไว้เป็นส่วนใหญ่ คือซื้อความเสี่ยงภัยเพื่อกระจายออกไปน้อย ผลจากน้ำท่วมครั้งนี้ก็ ทำให้เงินกองทุนลดลงมาก ผิดกับสึนามิที่ญี่ปุ่นมีการเตรียมความพร้อม โดยได้ซื้อความเสี่ยงภัยไว้มากและมีเงินกองทุนไว้เพียงพอ
สำหรับตลาดประกันภัยต่อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีการขยับตัวมาก โดยรีอินชัวเรอร์ เข้ามาในไทยเพื่อเจรจากับคู่ค้าเดิม คือ มีทั้งกลุ่มที่ต้องการลดกำลังการรับประกันภัยต่อลง โดยเข้ามาทำความเข้าใจ เพื่อขอลดสัดส่วน ลดความสามารถในการรับประกัน และขอลดค่านายหน้าลง รวมถึงกลุ่มที่เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับการสำรวจภัย ค่าสินไหมที่เกิดขึ้นและประมาณการค่าสินไหมเสร็จเรียบร้อยหรือยัง โดยเฉพาะบริษัทประกันของญี่ปุ่นที่จะปิดงบบัญชีในเดือน มี.ค. 2555 ต้องการความชัดเจนในเรื่องนี้มาก เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดฐานเงินกองทุน
นอกจากนี้ รีอินชัวเรอร์ที่ยังต้องการทำธุรกิจในไทย ก็อยากทราบเกี่ยวกับเงื่อนไขความต้องการหรือความคุ้มครองของลูกค้าในไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงเรื่องรายละเอียดหรือรูปแบบการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติว่าจะมีความสอดคล้องกับการรับประกันภัยต่อมากน้อยแค่ไหน
เทเวศรุกรายย่อยเป็น 60%
ด้านนายชาติชาย ชินเวชกิจวานิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทตั้งเป้าเบี้ยรับรวม 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2554 ที่มีเบี้ยรับรวม ประมาณ 3 พันล้านบาท ในจำนวนเบี้ย 3.5 พันล้านบาทนั้น ให้น้ำหนักกับการรุกตลาดรายย่อย 60% รายใหญ่อยู่ที่ 40% ให้น้ำหนักกับประกันอัคคีภัย 180 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 1.1 พันล้านบาท ประกันภัยขนส่งทางทะเล 100 ล้านบาท ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) 256 ล้านบาท และประกันภัยเบ็ดเตล็ด 1.85 พันล้านบาท
ในจำนวนประกันภัยเบ็ดเตล็ด นั้นมีประกันภัยทรัพย์สินถึง 800 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาเพราะเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ต้องลดค่านายหน้าประกันภัย และอาจทำให้มีคนส่งงานให้ไม่มากนัก ทั้งนี้ จะเน้นขยายฐานลูกค้ารายย่อยซึ่งเป็นพนักงานในเครือของลูกค้าองค์กร เช่น กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ด้วยการเสนอแบบประกันภัยครบวงจร ทั้งอัคคีภัย รถยนต์ สุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงในด้านการบริหารพอร์ต
นายชาติชาย กล่าวว่า แผนงานในปีนี้จะรุกตลาดรายย่อยมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายฐานลูกค้ารายย่อยที่เป็นพนักงานของลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งจะมีการเสนอขายประกันอัคคีภัย สุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ซึ่งในปีนี้ได้เตรียมช่องทางการขายไว้ 8 ช่องทางด้วยกัน พร้อมกับเตรียมเปิดสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา โดยเฉพาะช่องทางการให้บริการผ่านศูนย์บริการลูกค้า หรือ Call Center ที่มีเจ้าหน้าที่ไว้บริการ 50 คน สามารถพิจารณาราคาเบี้ยประกันภัยรายย่อยแก่ลูกค้าได้ โดยลูกค้าสามารถโทรเข้ามาสอบถามราคาเบี้ยประกันภัยได้ตลอดเวลา
นายชาติชาย กล่าวว่า สำหรับแบบประกันบ้านพิทักษ์ภัย ที่ให้ความคุ้มครองอัคคีภัยและเพิ่มความคุ้มครองภัยพิบัติธรรมชาติ 10% ของทุนประกันทรัพย์สินสูงสุด 50 ล้านบาทที่ออกขายไปช่วงต้นปี ได้รับการตอบรับที่ดีมาก แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจนได้
วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีโลก เจ้าของ เบิร์กไชร์ แฮธะเวย์ สวนกระแสรีอินชัวเรอร์ ประกาศรับประกันภัยต่อโดยตรงจากประเทศไทยมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยในประเทศแห่ส่งประกันภัยต่อให้ หนุนมาร์เก็ตแชร์กว่า 20%
ด้านเทเวศประกันเปิดแผนธุรกิจปี 55 ตั้งเป้าเบี้ยรับรวม 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เน้นลูกค้ารายย่อยเป็น 60% พร้อมลดความเสี่ยงด้านการบริหารให้พนักงานศูนย์บริการข้อมูลเคาะเบี้ยได้
นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เศรษฐกิจประกันภัย จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัท เบิร์กไชร์ แฮธะเวย์ ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อต่างชาติ หรือรีอินชัวเรอร์ ซึ่งเป็นบริษัทของ นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีของโลก ได้ประกาศตัวเข้ามารับประกันภัยต่อ โดยตรงในประเทศไทยมากขึ้น หลังจากที่ รีอินชัวเรอร์หลายรายปฏิเสธเข้ามารับประกันภัยต่อในประเทศไทย ส่งผลให้เบิร์ก ไชร์ แฮธะเวย์ มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 20% ของงานประกันภัยต่อแบบรายสัญญาที่เป็นการรับประกันภัยลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ไปแล้วในขณะนี้
ผมคิดว่า การที่เข้าเปิดตัวอย่างเป็นทางการ จากเดิมที่รับงานอยู่เบื้องหลัง ก็น่าจะมองเห็นโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ประกอบกับรีอินชัวเรอร์หลายราย ไม่รับงานในไทยด้วย ส่งผลให้ตอนนี้เกือบทุกบริษัทประกันภัย ส่งงานให้เขาเกือบหมด ทำให้เขากลายเป็นผู้ที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดรายใหญ่ไปแล้ว และยังไม่มีทิศทางว่าจะมีรีอินชัวเรอร์รายอื่นเข้ามาแย่งตลาดอีกด้วย ตอนนี้ก็เลยมีการมองว่าระยะยาวเขาอาจชี้นำตลาดประกันในไทยได้ รวมถึงกำหนดค่าเบี้ยให้ถูกหรือแพงก็ได้
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยจะมีบริษัทประกันภัยของญี่ปุ่นที่ครองส่วนแบ่งทางการตลาดในการรับประกันภัยต่อในประเทศไทยมากที่สุด ภายหลังจากเกิดน้ำท่วมสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป บริษัทประกันของญี่ปุ่นลดความสามารถในการรับประกันในไทยไปพอสมควร เช่น จากเดิมอาจรับงานประกันภัยต่อจากบริษัทประกันในไทย 10% ก็ปรับลดเหลือ 1%
ในอดีตญี่ปุ่นมองว่าความเสี่ยงภัยธรรมชาติในไทย มีโอกาสที่เกิดขึ้นน้อยมาก จึงเก็บงานเอาไว้เป็นส่วนใหญ่ คือซื้อความเสี่ยงภัยเพื่อกระจายออกไปน้อย ผลจากน้ำท่วมครั้งนี้ก็ ทำให้เงินกองทุนลดลงมาก ผิดกับสึนามิที่ญี่ปุ่นมีการเตรียมความพร้อม โดยได้ซื้อความเสี่ยงภัยไว้มากและมีเงินกองทุนไว้เพียงพอ
สำหรับตลาดประกันภัยต่อในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีการขยับตัวมาก โดยรีอินชัวเรอร์ เข้ามาในไทยเพื่อเจรจากับคู่ค้าเดิม คือ มีทั้งกลุ่มที่ต้องการลดกำลังการรับประกันภัยต่อลง โดยเข้ามาทำความเข้าใจ เพื่อขอลดสัดส่วน ลดความสามารถในการรับประกัน และขอลดค่านายหน้าลง รวมถึงกลุ่มที่เข้ามาสอบถามเกี่ยวกับการสำรวจภัย ค่าสินไหมที่เกิดขึ้นและประมาณการค่าสินไหมเสร็จเรียบร้อยหรือยัง โดยเฉพาะบริษัทประกันของญี่ปุ่นที่จะปิดงบบัญชีในเดือน มี.ค. 2555 ต้องการความชัดเจนในเรื่องนี้มาก เพื่อใช้เป็นตัวกำหนดฐานเงินกองทุน
นอกจากนี้ รีอินชัวเรอร์ที่ยังต้องการทำธุรกิจในไทย ก็อยากทราบเกี่ยวกับเงื่อนไขความต้องการหรือความคุ้มครองของลูกค้าในไทยว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงเรื่องรายละเอียดหรือรูปแบบการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติว่าจะมีความสอดคล้องกับการรับประกันภัยต่อมากน้อยแค่ไหน
เทเวศรุกรายย่อยเป็น 60%
ด้านนายชาติชาย ชินเวชกิจวานิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทตั้งเป้าเบี้ยรับรวม 3.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2554 ที่มีเบี้ยรับรวม ประมาณ 3 พันล้านบาท ในจำนวนเบี้ย 3.5 พันล้านบาทนั้น ให้น้ำหนักกับการรุกตลาดรายย่อย 60% รายใหญ่อยู่ที่ 40% ให้น้ำหนักกับประกันอัคคีภัย 180 ล้านบาท เบี้ยประกันภัยรถยนต์ 1.1 พันล้านบาท ประกันภัยขนส่งทางทะเล 100 ล้านบาท ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) 256 ล้านบาท และประกันภัยเบ็ดเตล็ด 1.85 พันล้านบาท
ในจำนวนประกันภัยเบ็ดเตล็ด นั้นมีประกันภัยทรัพย์สินถึง 800 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาเพราะเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ต้องลดค่านายหน้าประกันภัย และอาจทำให้มีคนส่งงานให้ไม่มากนัก ทั้งนี้ จะเน้นขยายฐานลูกค้ารายย่อยซึ่งเป็นพนักงานในเครือของลูกค้าองค์กร เช่น กลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ด้วยการเสนอแบบประกันภัยครบวงจร ทั้งอัคคีภัย รถยนต์ สุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงในด้านการบริหารพอร์ต
นายชาติชาย กล่าวว่า แผนงานในปีนี้จะรุกตลาดรายย่อยมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายฐานลูกค้ารายย่อยที่เป็นพนักงานของลูกค้าองค์กร โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งจะมีการเสนอขายประกันอัคคีภัย สุขภาพ ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ซึ่งในปีนี้ได้เตรียมช่องทางการขายไว้ 8 ช่องทางด้วยกัน พร้อมกับเตรียมเปิดสาขาเพิ่มอีก 3 สาขา โดยเฉพาะช่องทางการให้บริการผ่านศูนย์บริการลูกค้า หรือ Call Center ที่มีเจ้าหน้าที่ไว้บริการ 50 คน สามารถพิจารณาราคาเบี้ยประกันภัยรายย่อยแก่ลูกค้าได้ โดยลูกค้าสามารถโทรเข้ามาสอบถามราคาเบี้ยประกันภัยได้ตลอดเวลา
นายชาติชาย กล่าวว่า สำหรับแบบประกันบ้านพิทักษ์ภัย ที่ให้ความคุ้มครองอัคคีภัยและเพิ่มความคุ้มครองภัยพิบัติธรรมชาติ 10% ของทุนประกันทรัพย์สินสูงสุด 50 ล้านบาทที่ออกขายไปช่วงต้นปี ได้รับการตอบรับที่ดีมาก แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจนได้