กระแสเงินสดเทียบกับ market cap
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระแสเงินสดเทียบกับ market cap
โพสต์ที่ 3
เงินสดเทียบ market cap คือ วัด asset based valuation ครับ
ลองไปหา graham net net ดูครับ
ลองไปหา graham net net ดูครับ
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระแสเงินสดเทียบกับ market cap
โพสต์ที่ 4
ผมว่า มาจากอีกกระทู้แหงเลย คุ้นๆเรื่อง market cap ไรเนี่ย
จริงความถนัดในการเทียบวัด ต่อบ. ต่อ อุตสาหกรรม น่าจะต้องบ่มเพาะนานนะคับ
แต่ถ้าคุณชำนาญและเข้าใจ แค่ 1 ratio อย่างลึกซึ้งจริงๆ ก็ใช้หากินไปได้อีกนานเลย
แนะนำ เริ่มจาก
ev/ebitda ก่อน
ดูว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
ใช้ยังไง
ข้อจำกัดคืออะไร
และประยุกต์ แบบ advance อย่างเทพคุณ chinn ยังไง
จริงความถนัดในการเทียบวัด ต่อบ. ต่อ อุตสาหกรรม น่าจะต้องบ่มเพาะนานนะคับ
แต่ถ้าคุณชำนาญและเข้าใจ แค่ 1 ratio อย่างลึกซึ้งจริงๆ ก็ใช้หากินไปได้อีกนานเลย
แนะนำ เริ่มจาก
ev/ebitda ก่อน
ดูว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
ใช้ยังไง
ข้อจำกัดคืออะไร
และประยุกต์ แบบ advance อย่างเทพคุณ chinn ยังไง
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 171
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระแสเงินสดเทียบกับ market cap
โพสต์ที่ 5
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับ margin of safety หรือไม่ แต่ก็ขอแชร์นะครับ ผิดถูกอย่างไร ชี้แนะด้วยนะครับ..
ผมเหมือนเคยอ่านมาว่า ท่านเบนจามิน เกรแฮม ชอบที่จะซื้อหุ้นในราคาที่มีส่วนลด หรือพวกหุ้น "แบกะดิน" โดยดูจากกระแสเงินสดสุทธิ ของแต่ละบริษัทเทียบกับ Market cap. หรือมูลค่าซื้อทั้งบริษัท โดยจะนำเอาสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายมาหักลบกับหนี้สินทั้งหมดของบริษัท ถ้ามีมูลค่าสูงถึง 2 ใน 3 ของ market cap. หุ้นตัวนั้นก็จะน่าสนใจทันที เพราะมันหมายความว่าเงินสดท่วมบริษัทเลยทีเดียว..
ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ กระแสเงินสดสุทธิคืออะไร ถ้าเราสังเกตดูในสินทรัพย์หมุนเวียน เราจะพบว่ามีบางรายการอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย หรือเป็นต้นเหตุของการหมกเม็ดได้ง่าย เช่น สินค้าคงคลัง (ซึ่งอาจเป็นสินค้าล้าสมัย) หรือเงินลงทุนชั่วคราว (ซึ่งอาจไปลงทุนแบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน) ในการนี้ หากกระแสเงินสดดังที่กล่าวมานั้น คือ อันที่เห็นชัดๆว่าเปลี่ยนเป็นเงินได้จริงๆ และถ้ามีมากๆ ก็หมายความว่า กิจการแข็งแรงมาก เพราะเหมือนกับการเอาเงิน 10 บาท ไปแลกแบงก์ 20 บาท ซึ่งหลังจากซื้อหุ้นแล้ว สิ่งที่ต้องทำมีเพียงการรอให้มูลค่าวิ่งเข้าหามูลค่าทางบัญชี..
แล้วหุ้นแบบนี้มีอยู่จริงหรือไม่.. ก็คิดว่าน่าจะพอมี (ในบางช่วงเวลา) เพราะอย่างน้อยเมื่อต้นปี 2553 มีหุ้นตัวหนึ่ง ราคาเพียง 1.10 บาทต่อหุ้น ทั้งที่มีมูลค่าทางบัญชีถึง 2.30 บาทต่อหุ้น ในขณะที่กระแสเงินสดสุทธิทั้งบริษัทถ้าจำไม่ผิดอยู่ที่ราวๆ 1.60-1.80 บาทต่อหุ้น ต่อมาในช่วงปลายปี 2553 ก็ถูกเทคโอเวอร์ไป ซึ่งก่อนที่จะมีข่าวเทคโอเวอร์ ราคาวิ่งกลับไปที่ 2.3-2.4 บาทต่อหุ้น เข้าสู่มูลค่าทางบัญชีของมันครับ...
ข้อควรระวัง... หุ้นแบบนี้ จะต้องมีเหตุผลที่มันอยู่ในสถานการณ์ถูกขนาดนี้ บางกิจการอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนในระดับสูง จนกินทุนไปจนหมดได้.. แต่ถ้าหากเจอหุ้นที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไรมาก หรือสุขภาพดีแต่ราคาร่วงลงมาเอง อันนี้ก็จะดีมากทีเดียว ขึ้นอยู่กับการแกะงบการเงินของแต่ละบุคคลด้วยนะขอรับ..
ผมเหมือนเคยอ่านมาว่า ท่านเบนจามิน เกรแฮม ชอบที่จะซื้อหุ้นในราคาที่มีส่วนลด หรือพวกหุ้น "แบกะดิน" โดยดูจากกระแสเงินสดสุทธิ ของแต่ละบริษัทเทียบกับ Market cap. หรือมูลค่าซื้อทั้งบริษัท โดยจะนำเอาสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายมาหักลบกับหนี้สินทั้งหมดของบริษัท ถ้ามีมูลค่าสูงถึง 2 ใน 3 ของ market cap. หุ้นตัวนั้นก็จะน่าสนใจทันที เพราะมันหมายความว่าเงินสดท่วมบริษัทเลยทีเดียว..
ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ กระแสเงินสดสุทธิคืออะไร ถ้าเราสังเกตดูในสินทรัพย์หมุนเวียน เราจะพบว่ามีบางรายการอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย หรือเป็นต้นเหตุของการหมกเม็ดได้ง่าย เช่น สินค้าคงคลัง (ซึ่งอาจเป็นสินค้าล้าสมัย) หรือเงินลงทุนชั่วคราว (ซึ่งอาจไปลงทุนแบบมีผลประโยชน์ทับซ้อน) ในการนี้ หากกระแสเงินสดดังที่กล่าวมานั้น คือ อันที่เห็นชัดๆว่าเปลี่ยนเป็นเงินได้จริงๆ และถ้ามีมากๆ ก็หมายความว่า กิจการแข็งแรงมาก เพราะเหมือนกับการเอาเงิน 10 บาท ไปแลกแบงก์ 20 บาท ซึ่งหลังจากซื้อหุ้นแล้ว สิ่งที่ต้องทำมีเพียงการรอให้มูลค่าวิ่งเข้าหามูลค่าทางบัญชี..
แล้วหุ้นแบบนี้มีอยู่จริงหรือไม่.. ก็คิดว่าน่าจะพอมี (ในบางช่วงเวลา) เพราะอย่างน้อยเมื่อต้นปี 2553 มีหุ้นตัวหนึ่ง ราคาเพียง 1.10 บาทต่อหุ้น ทั้งที่มีมูลค่าทางบัญชีถึง 2.30 บาทต่อหุ้น ในขณะที่กระแสเงินสดสุทธิทั้งบริษัทถ้าจำไม่ผิดอยู่ที่ราวๆ 1.60-1.80 บาทต่อหุ้น ต่อมาในช่วงปลายปี 2553 ก็ถูกเทคโอเวอร์ไป ซึ่งก่อนที่จะมีข่าวเทคโอเวอร์ ราคาวิ่งกลับไปที่ 2.3-2.4 บาทต่อหุ้น เข้าสู่มูลค่าทางบัญชีของมันครับ...
ข้อควรระวัง... หุ้นแบบนี้ จะต้องมีเหตุผลที่มันอยู่ในสถานการณ์ถูกขนาดนี้ บางกิจการอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนในระดับสูง จนกินทุนไปจนหมดได้.. แต่ถ้าหากเจอหุ้นที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไรมาก หรือสุขภาพดีแต่ราคาร่วงลงมาเอง อันนี้ก็จะดีมากทีเดียว ขึ้นอยู่กับการแกะงบการเงินของแต่ละบุคคลด้วยนะขอรับ..
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระแสเงินสดเทียบกับ market cap
โพสต์ที่ 6
อ่านอีกที่ไม่แน่ใจ ที่ผมตอบไปคือ เงินสด ที่คุณอยากดูคือ กระแสเงินสดอิสระ? หรืออะไรครับtaweepan เขียน:ไม่รู้ว่าต้องใช้อะไรบ้างในการคำนวณหา กระแสเงินสดครับ เพื่อที่จะเทียบกับ market cap ...
ถ้าใช้ free cash flow ต้องรู้ 3 อย่างครับ
operating cash flow
change in working cap
capital expenditures
เอาตัวแรกตั้งแล้วลบที่เหลือ
value trap
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระแสเงินสดเทียบกับ market cap
โพสต์ที่ 7
กระแสเงินสดของบริษัทมักเปลี่ยนไปเปลี่ยนมานะครับ ไม่แน่นอน อย่างในกลุ่มก่อสร้าง ถ้าบริษัทไม่มีงาน เงินที่บริษัทใช้ในการหมุนเวียนก็จะทยอยกลับมา ทำให้กระแสเงินสดมีมาก เราต้องดูเป็นบริษัทๆไปนะ ว่าตอนนั้นเค้าทำอะไรอยู่
"ตัวพี่ชอบกินผัดเผ็ด พี่ชอบกินเห็ดผัดตับ"