รายได้กับความสุข
การวัดความก้าวหน้าของการพัฒนาของประเทศ โดยใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเด็นที่ความเจริญทางเศรษฐกิจไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของการพัฒนาประเทศ รวมทั้งมีข้อเสนอให้มีการวัดความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) แทนการวัด GDP ซึ่งรัฐบาลของบางประเทศได้มีการจัดตั้งโครงการศึกษา “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness) เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เป็นต้น
คำถามที่น่าสนใจ คือ หากความสุขของประชาชนเป็นเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ แล้วการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถสะท้อนเป้าหมายดังกล่าวได้หรือไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง รายได้มีความสัมพันธ์กับความสุขอย่างไร
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรายได้และความสุขอาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดที่ขัดแย้งกัน คือ ระดับความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามระดับรายได้ แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการวัด GDP ถกเถียงว่า ความร่ำรวยที่เพิ่มขึ้นทำให้ความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นน้อยมาก และมองว่าความพยายามทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นสิ่งที่ไร้ความหมาย
อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของความสุขกับรายได้อาจมีความซับซ้อนหรือมีพลวัตรมากกว่าความสัมพันธ์เชิงเส้นทั้งสองแบบดังที่ได้กล่าวข้างต้น ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์บางทฤษฎีระบุถึงความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นเส้นตรง กล่าวคือ ระดับของความสุขของประชาชนจะเพิ่มขึ้นตามระดับความมั่งคั่ง จากนั้นระดับของความสุขจะเริ่มมีระดับคงที่ ซึ่งโดยปกติเมื่อรายได้ประชาชาติต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 25,000 เหรียญต่อปีระดับความสุขจะเริ่มคงที่
รูปแบบของความสัมพันธ์ตามทฤษฎีดังกล่าว สะท้อนว่าความสุขของประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาหรือมีรายได้ต่อหัวต่ำมีความสัมพันธ์กับรายได้มากกว่าความสุขของประชาชนในประเทศที่ร่ำรวย หรือสามารถอธิบายได้ว่า คนยากจนจะมีพึงพอใจหรือความสุขเพิ่มขึ้นมากเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น แต่คนร่ำรวยจะมีความสุขเพิ่มขึ้นน้อยเมื่อรายได้เพิ่มขึ้นในระดับเดียวกันกับคนยากจน
หากพิจารณาผลการศึกษาเชิงประจักษ์ การศึกษาของบริษัทวิจัย Ipsos ที่ทำการสำรวจความเห็นจาก 19,000 คน ใน 24 ประเทศ ในปี 2554 พบว่า ประชาชนที่มีระดับความสุขสูงสุดไม่ได้อยู่ในประเทศที่ร่ำรวย แต่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง โดยเฉพาะอินโดนีเซีย อินเดีย และเม็กซิโก สำหรับคนในประเทศที่ร่ำรวยมีระดับความสุขแตกต่างกันไป เช่น ออสเตรเลียและอเมริกามีระดับความสุขสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก แต่ประชาชนในประเทศยุโรปส่วนใหญ่มีความห่อเหี่ยวใจมากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก
ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนผู้มีความสุข ผู้ตอบแบบสอบถามในเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีขนาดใหญ่และขยายตัวเร็วมีสัดส่วนผู้ที่ตอบว่า “มีความสุขมาก” สูงขึ้น เช่น ตุรกี เม็กซิโก อินเดีย เป็นต้น แต่ในบางประเทศ ประชาชนที่ตอบว่ามีความสุขมีสัดส่วนที่ลดลง เช่น อินโดนีเซีย บราซิล รัสเซีย เป็นต้น เช่นเดียวกับคนในประเทศร่ำรวยไม่ได้มองแง่ลบเป็นเหมือนกันทั้งหมด เช่น ผู้ตอบแบบสอบถามในญี่ปุ่นที่มีความสุขมีจำนวนมากขึ้น แม้ต้องประสบกับภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์สึนามิและวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
จากผลการสำรวจดังกล่าวอาจสะท้อนว่า ตัวเลขระดับความสุขของคนไม่ได้มีความสัมพันธ์มากนักกับระดับรายได้ แต่อาจมีความสัมพันธ์กับอัตราการเปลี่ยนแปลงของรายได้ โดยเฉพาะประชาชนในเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มีระดับความสุขสูงกว่าประชาชนในประเทศร่ำรวย เนื่องจากเศรษฐกิจเกิดใหม่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง หรือหมายความว่าประชาชนมีรายได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศร่ำรวยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำ และหลายประเทศประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ดี ระดับความสุขยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย เพราะระดับความสุขของประเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกลับไม่ได้มีทิศทางเดียวกันทั้งหมด ซึ่งสะท้อนว่าระดับความสุขของประชาชนในแต่ละประเทศยังได้รับอิทธิพลจากปัจจัยที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศอีกด้วย
การนำดัชนีวัดความสุขมวลรวมมาใช้ในการวัดระดับการพัฒนาประเทศแทนการใช้ GDP ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดมากขึ้น เพราะนอกเหนือจากการวัดความสุขแล้ว ประเด็นที่สำคัญยิ่งกว่าที่จำเป็นต้องทราบ คือ ปัจจัยอะไรที่ทำให้ประชาชนมีความสุขมากขึ้น นอกจากนี้การวัด GDP ยังจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป เพราะรายได้น่าจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อระดับความสุขของคนอยู่ในระดับหนึ่ง
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
[email protected], http:// http://www.kriengsak.com
"รายได้กับความสุข"
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
"รายได้กับความสุข"
โพสต์ที่ 1
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "รายได้กับความสุข"
โพสต์ที่ 2
ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness )
: กรณีศึกษา การพัฒนาคุณภาพประชากรในประเทศภูฏาน ตอนที่ ๑
บทนำ
การพัฒนากระแสหลักได้ถูกตั้งคำถามถึงความยั่งยืน และ ความเป็นธรรม (Justice) ในการพัฒนา รวมทั้งตัวชี้วัดและความเจริญที่อยู่บนฐานคิดและรับใช้ของทุนนิยม การยึดถือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Products) ว่าเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุ่งเรืองและเป็นยอดปรารถนาของการพัฒนา ได้ส่งผลกระทบถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะสร้างปัญหา
รวมทั้งการพัฒนากระแสหลักได้ละเลย ความดี ความงาม รวมทั้งศีลธรรมจริยธรรมในสังคม แนวคิดการพัฒนากระแสรองจึงเกิดขึ้นและได้ตั้งคำถามกับทิศทางการพัฒนาในกระแสหลัก รวมทั้งได้สร้างทางเลือกในการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง ดังเช่น
แนวคิดเรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ของประเทศภูฏาน (Bhutan) ซึ่ง สุลักษณ์ ศิวะลักษณ์ เคยกล่าวว่า หากจะพัฒนาประเทศแบบใช้พระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาแล้วละก็ ภูฏานเป็นประเทศหนึ่งเดียวที่พอจะเป็นแม่แบบนำร่องในการพัฒนาแนวพุทธได้เป็นอย่างดี (ส.ศิวลักษณ์,2543)
แม้จะเป็นพระพุทธศาสนามหายาน นิกายวัชรยานก็ตาม การพัฒนาแบบภูฏาน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าจักศึกษาและทำความเข้าใจ วิเคราะห์ วิพากย์ และเสนอแนะบทเรียนดังกล่าวให้กับการพัฒนาคุณภาพประชากร ในบริบทสังคมไทยอีกด้วย โจทย์ที่บทความนี้ตั้งไว้ก็คือ
1. บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของภูฏานเป็นอย่างไร ?
2. สารัตถะแห่งกระบวนทัศน์ความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏานเป็นอย่างไร ?
3. กระบวนการเรียนรู้และการผลักดัน การพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติ
4. บทสรุป สำเร็จ / ล้มเหลว ของกระบวนการเรียนรู้ ความสุขมวลรวมประชาชาติ และข้อเสนอแนะที่มีต่อนัยการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศไทย
1. บริบทของทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่แถบหิมาลัยลักษณะทางกายภาพจึงเป็นภูเขาสูงและ มีพื้นที่เป็นประเทศเล็กๆ ขนาด 38,394 ตารางกิโลเมตร ที่ยังคงความเป็นอารยธรรมโดยมีวัตถุความเจริญเข้ามาเกี่ยวคงน้อยมาก
ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์เป็นประมุข มีสภาองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และมีสภาแห่งชาติ (Tsongdu) เป็นผู้ออก กฏหมาย มีสมาชิก 106 คนมาจากการเลือกตั้ง อีก 55 คนมาจากการแต่งตั้งของพระราชาธิบดี ประชากร ประมาณ 752,7000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน (ข้อมูลเมื่อ ปี2004
อนึ่ง การจัดเก็บสำมะโนประชากรของภูฏานยังมีปัญหาอยู่) เนื่องจากชาวภูฎานเป็นพุทธศาสนิกชนที่ยังคงยึดถือในประเพณีและวัฒนธรรมและได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตอย่างเคร่งครัดอยู่ และยังไม่ได้ถูกรุกรานจากกระบวนการโลกาภิวัตน์มากนัก
อัตลักษณ์ของชาวภูฏาน จึงเป็นชาวพุทธแบบมหายานที่ยังคงยึดถือหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวันอยู่อย่างมาก (ผู้สนใจพึงศึกษารายละเอียดในเวบไชต์ ดังต่อไปนี้ http://www.bhutan.gov.bt/government/aboutbhutan.php)
มิติทางสังคมและวัฒนธรรมของภูฏาน
การปกครองแบบดั้งเดิมในภูฏาน ยืนอยู่บนฐานวัฒนธรรมและความเชื่อของพระพุทธศาสนา (วัชรยาน) ซึ่งนำไปสู่ความสุขมวลรวมประชาชาติ พันธสัญญา (Social Contract) ปี 1675 ในเรื่องความเท่าเทียมกันของชาวพุทธได้ประกาศว่า ความสุขของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์
และ คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความสอดคล้องและอิสระอย่างเท่าเทียมกัน ปี 1729 มาตรการทางกฏหมาย (Legal code) ของภูฏานได้เน้นย้ำว่า กฎหมายจะต้องส่งเสริมความสุขของมวลมนุษย์ในภูฏาน (www.bhutanstudies.org.bt)
ซึ่งชาวภูฏานเองเชื่อว่า องค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมและการให้การศึกษาในสังคมดั้งเดิมนี้ จะสามารถสร้างวิถีการพัฒนา (Path of development) ซึ่งนำสู่การบ่มเพาะและสร้างการพัฒนามนุษย์และสังคมได้อย่างสมบูรณ์
เพราะการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่ใช่การใส่มนุษย์ลงไปให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ดังนั้น กระบวนการในการสร้างความสุขจึงดำเนินการอยู่บนฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง รูปแบบการพัฒนาในประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆแล้ว มักจะไม่รวมเอาความสุขเข้าไปอยู่ในเป้าหมายการพัฒนา (Development end) แต่มักจะมองมิติทางด้านเศรษฐสังคม (Socio – Economic) เป็นด้านหลัก
ซึ่งจะเห็นได้จาก วาทกรรมการพัฒนาในชุดต่างๆ เช่น ตัวชี้วัดการพัฒนามนุษย์ (Human development) การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) และ เป้าหมายการพัฒนายุคสหัสวรรษ (Millennium development goal) เป็นต้น
แต่การพัฒนาแบบ ความสุขมวลรวมประชาชาติ นั้นได้มุ่งไปยังประเด็นที่เห็นว่า ทิศทางการพัฒนาควรจะแตกต่างไปจากการพัฒนาแนวอื่นๆทั้งในด้านวิธีวิทยา และ ผลลัพธ์การพัฒนา (Methodologies and outcomes) โดยรัฐจักต้องกระจายและส่งเสริมความสุขให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐอย่างแท้จริง
ในขณะที่ประเทศต่างๆมุ่งสร้าง พัฒนา และวัดความสำเร็จด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่ได้ละเลยเรื่อง ความสุข โดยเฉพาะในประเทศที่มั่งคั่งทั้งหลาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วควรจะรวมเอาความมั่งคั่งและความสุขเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การมองถึงความมั่งคั่งแล้วจะส่งผลถึงความสุขได้ฝ่ายเดียว
การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติจึงเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความทันสมัยกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ (Balance of tradition and modernization)
2.สารัตถะแห่งกระบวนทัศน์ความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏานเป็นอย่างไร ?
รากฐานความคิดเรื่อง GDP ที่ถือกำเนิดในนาม GDH - Gross National Happiness ของกษัตริย์จิเม ซิงเย วังชุง (Jigme Singye Wangchuck) ของภูฏาน พระองค์จบการศึกษาจากอังกฤษ ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972
และประกาศว่า วัตถุประสงค์สูงสุดของรัฐบาลก็คือการส่งเสริมความสุขของประชาชน ความสุขมวลรวมประชาชาติสำคัญยิ่งกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้อพิสูจน์ทางวิชาการมาประเมินความสุขตามความหมาย
แต่ภูฎานจะตั้งหลักการและคำถามทางจริยธรรมเกี่ยวกบความสุขขึ้นมา โดยให้เป็นข้อเสนอและระบบการให้คุณค่าซึ่งใช้ได้ทั่วไป ซึ่งความสุขอันเป็นเป้าหมายที่มนุษยชาติทั้งมวลมีร่วมกันโดยพื้นฐาน (เลียงโป จิกมี วาย ธินเลย์, อ้างใน เจษณี สุขจิรัตติกาล,2541)
โดยแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาตินี้ จะไม่เน้น GNP - Gross National Product แต่จะถือ GNH - Gross National Happiness เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งองค์ประกอบ 4 ประการของ GNH คือ (www.bhutanstudies.org)
1. การพัฒนาเศรษฐสังคม (Socio-economic) อย่างยั่งยืนและเท่าเทียม
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. อนุรักษณ์และส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ที่ดีงามของชาวภูฏาน
4. ส่งเสริมธรรมาภิบาล (Good governance)
การพัฒนาด้วยการตั้งโจทย์และวางกรอบการพัฒนาโดยการนำเอาตัวแปรทั้ง 4 มาแปลงเป็นหน่วยเพื่อเป็นดัชนีใช้วัดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ พระราชาธิบดีแห่งภูฏานทรงเห็นว่า
“ GNP หรือกระทั่ง GDP คือภาพลวงตา เนื่องจากมันไม่สามารถสะท้อนภาพความจริงที่ปรากฏ เพราะเนื้อในของมันเป็นการรวมเอาตัวเลขยอดซื้อและตัวเลขยอดขายผลิตภัณฑ์กับบริการทั้งหมด โดยไม่จำแนกธุรกรรมที่ทำให้ความอยู่ดีมีสุขของสังคมต้องเลวร้ายลงออกไป
ตรงกันข้าม กลับรวมเอาธุรกรรมที่ทำลายความอยู่ดีมีสุขของสังคมมาเติมให้ค่าความมั่งคั่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก แทนที่ GDP จะจำแนกความแตกต่างระหว่างต้นทุนที่ต้องจ่ายไป กับผลแทนที่ได้รับ หรือระหว่างกิจกรรมที่สร้างสรรค์กับส่วนที่เป็นการทำลาย GDP กลับตีความว่าทุก ๆ ธุรกรรมที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนได้ด้วยเงินทั้งหมด ถือเป็นการทำให้ชีวิตดีขึ้น
นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย ทรัพย์สินและหนี้สิน จะมีค่าเป็นบวกหมด ไม่มีการหักลบออก
GDP จึงมืดบอดกับการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อม และสูญสิ้นของทรัพยากรธรรมชาติ การแตกสลายของระดับครอบครัวและชุมชนสังคม” (พายัพ วนาสุวรรณ์,2548)
3. กระบวนการเรียนรู้และการผลักดันนโยบาย การพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติ อย่างไร?
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของภูฏาน ได้กำหนดให้มีหัวข้อใหญ่ในการพัฒนาไว้ดังนี้ คือ
1.การพัฒนาที่ต้องพึ่งพาตนเองในระดับ ซ่องกัง (Dzong Khang)
พึ่งพาตนเองทั้งในระดับ ประเทศและระดับท้องถิ่น
กล่าวคือ รูปแบบการปกครองของภูฏานได้แบ่งมณฑลแห่งการปกครองและยกให้ ซองกัง เป็นเหมือนหน่วยงานระดับจังหวัดและอำเภอ ในการรับผิดชอบดำเนินการในการรับผิดชอบการดำเนินการพัฒนา
2. การกระจายอำนาจการบริหารออกไปจากส่วนกลางทำให้ทุกอำเภอมี ซองกัง (Dzong Khang) โดยให้ศาสนาเป็นพื้นฐานในการปกครอง
3. ควบคุมการใช้จ่ายเงินตราและสรรพวัสดุของบ้านเมือง โดยถือความประหยัดเป็นเกณฑ์
4. มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรในการบริหารพัฒนาในประเทศเป็นหลัก ไม่มุ่งเน้นชักชวนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน
5. ให้ประชาราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศในทุกระดับ โดยมีองค์กรเยาวชน องค์กรคณะสงฆ์ สภาตำบล แต่ละ ซองกัง เป็นศูนย์รวมของแต่ละเมือง
รูปแบบของการกำหนดวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของภูฏาน ซึ่งเป็นเสมือนกลไกหลักที่นำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่แท้จริง ก็เป็นโจทย์ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อการเรียนรู้ ในเรื่อง แนวคิดและนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ.
การให้ความหมายเรื่องความสุขของภูฏาน
พระราชาธิบดี จิกเม ซิงจิ วังชุก หลังขึ้นครองราชในปี 1872 พระองค์ทรงเห็นว่า ความสุขต่างหากที่เป็นเป้าหมายสูงสุด ส่วนวัตถุอื่นๆ นั้นเป็นเพียงอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เติมเต็มความปรารถนาของมวลมนุษยชาติเท่านั้น
ดังนั้น กระบวนการในการพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติจึงมีเหตุผลต่างๆดังต่อไปนี้สนับสนุน
1. ความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ GNH มุ่งตอบสนองความต้องการและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในเชิงองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากกายและจิตไม่สามารถแยกกันได้
2.ความสุขมวลรวมประชาชาติ มุ่งแสวงหาความสุขภายในจิตที่สมบูรณ์พร้อมกับสภาพแวดล้อมในภายนอกด้วย ซึ่งทั้งต้องมีความกลมกลืนกัน
3. ความสุขมวลรวมประชาชาติ ตระหนักถึงความสุขที่สามารถเข้าถึงเป้าหมายทางสังคมที่แท้จริงได้ ทั้งปัจเจกและสังคม
4. การกำหนดนโยบายสาธารณะ บนฐานความสุขมวลรวมประชาชาติจะมีตัวชี้วัดที่ไม่ใช้เครื่องมือแบบเศรษฐศาสตร์มากำหนด
พันธะทางนโยบายในภูฏาน
การพัฒนาประชากรด้วย วิธีคิดชุด ความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH) นั้น ภูฏานเองก็เห็นว่า การพัฒนาด้วยวิธีคิดชุดนี้ได้ถูกกระทำให้เป็นที่รับรู้รับทราบอย่างกว้างขวางในภูฏานเอง และได้นิยามความสุขด้วยบริบทของภูฏานเอง และไม่จำเป็นที่จะต้องให้เหมือนกับประเทศสากลอื่นๆ และประเทศอื่นๆจะต้องเหมือน
ดังนั้น รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและการเคหะ แห่งภูฏานจึงได้เสนอแนวทางการวัดปริมาณความสุขของประชาชนด้วยวิธีสังเกตง่ายๆ คือ “มองหน้าประชาชานแล้ววัดที่รอยยิ้มของพวกเขาดู” (Look at the faces of the people and measure the breadth of their smile) ซึ่งจะดูดีกว่า การมองไปที่ กรอบนโยบาย
ซึ่งอนุมานกันเอาว่าเป็นเงื่อนไขระดับมหภาค ของการวัดความสุข ฉะนั้น หลัก 4 ประการของ ความสุขมวลรวมประชาชาติจึงประกอบด้วยหลักการดังกล่าวไว้แล้วคือ
การพัฒนาเศรษฐสังคม (Socio-economic) อย่างยั่งยืนและเท่าเทียม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อนุรักษณ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่งเสริมธรรมาภิบาล (www.bhutanstudies.org/gnh/jigmi.thm.)
ความสุขภาคเกษตรกรรม
ชาวภูฏานเองเป็นผู้ที่ดำรงตนในวิถีแห่งพระพุทธศาสนามหายาน เป็นผู้เคารพในธรรมชาติและการเกษตร ลดการเบียดเบียนและเข่นฆ่าชีวิตสัตว์อื่น ขณะที่การทำเกษตรกรรมจะมี เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง กระทรวงเกษตรและชาวไร่ชาวนา ทำหน้าที่ประสานงานการเกษตร
รวมทั้งด้านการตลาดการนำปัญหาของเกษตรกร เข้าไปสู่กระทรวงเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเอานโยบายทางเกษตรมาเผยแพร่ต่อเกษตรกรรม กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จึงได้สร้างวิธีการเข้าถึงความสุขผ่านเจ้าที่ของรัฐและดูเหมือนว่า
กระบวนการทางนโยบายดังกล่าวยังเป็นแบบ บนสู่ล่าง หรือ Top down policy กระนั้นก็ตาม แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่กระทรวงเหล่านั้นด้วย
ขณะเดียวกัน กระบวนการสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ ผ่านทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมิติที่น่าสนใจ เช่น เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของภูฏานนับถือพระพุทธศาสนาและยังคงยึดมั่นในทางศาสนาอยู่อย่างมั่นคง
ฉะนั้น ประชากรภูฏานจึง มีความเชื่อว่า ภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง พื้นดิน ฯลฯ ล้วนมีเจ้าชีวิต (Spirit) ครอบครองและอาศัยอยู่ ดังนั้น หากทำลาย ภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง ก็เป็นการทำลายชีวิต ของเจ้าชีวิตที่ประจำอยู่ในทรัพยากรเหล่านั้น (http://www.missoulanews.com/News/News.asp?no=2745 )
การที่มีความเชื่อเช่นนี้ ส่งผลต่อการจัดการระบบนิเวศ ที่ดีได้ ความสุขของประชากรที่สะท้อนไปยัง มิติของการอนุรักษ์ธรรมชาติในข้อที่ 2 จึงตอบสนองความสุขมวลรวมประชาชาติทางด้านนี้
พร้อมกันนี้ เกษตรกรรมในภูฏาน ยังไม่นิยมใช้ยาฆ่าแมลง เพราะการฆ่าแมลงถือเป็นการขัดต่อหลักศาสนา โดยเฉพาะศีลที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การตีความเรื่องความสุขมวลรวมจึงส่งผ่านการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสัตว์เล็กสัตว์น้อยบนฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง
ความสุขที่ผ่านการจัดการด้านการท่องเที่ยว
ภูฏานได้สร้างความหมายของการมีความสุขมวลรวมประชาชาติ ผ่านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองประเด็นสำคัญของความสุขมวลรวม ด้วยวิธีการในการจำกัดนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศ
โดยตั้งเพดานนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไม่เกินปีละ 8,000 (แปดพันคน ณ พ.ศ.2548)) และต้องจ่ายเงินเพื่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในภูฏาน 200 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อคน/ต่อวัน
โดยมีไกด์นำเที่ยวที่จะอนุญาตให้นำนักท่องเที่ยวไปชมได้ และไม่ทำลายแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเรื่องการจัดการขยะ โดยมัคคุเทศก์ จะไม่ยอมให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวได้เองตามอัธยาศัย
การจำกัดนั่งท่องเที่ยว และจำกัดสถานที่ท่องเที่ยวในภูฏาน ก็คือ การมุ่งสร้างความสุขให้กับประชาชน เนื่องจากไม่ต้องการให้สภาพแวดล้อมของภูฏานต้องได้รับความเสียหายจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปนั่นเอง
อันจะส่งผลต่อระบบนิเวศและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชนและสังคมของภูฏาน การให้คุณค่ากับชีวิตในเรื่องจิตวิญญาณผ่านนโยบายต่างๆ เช่นนี้ นับได้ว่า ภูฏานมองเห็นและให้ความสำคัญในเรื่องความมั่งคั่งทางด้านจิตใจ มากว่าความมั่งคั่งทางด้านวัตถุ การสร้างความสุขในการจัดการท่องเที่ยวเช่นนี้ ภูฏานนับเป็นต้นแบบในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างแท้จริง
การสร้างความสุขผ่านกระบวนการศึกษา
ระบบการศึกษาในภูฏานนั้น รัฐจัดการศึกษาในระบบ (Formal education) ให้ฟรี ด้วยการเรียนถึง 11 ชั้นปี (11 grades) อย่างไรก็ตามอัตราผู้รู้หนังสือยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ประมาณการ ที่ร้อยละ 54 (ข้อมูลเมื่อ 2003) กระบวนการจัดการศึกษานั้น แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การศึกษาในวัด (Monastic Education) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์และยึดถือประเพณีวัฒนธรรมของภูฏานอย่างแท้จริงเอาไว้ เป็นการศึกษาที่มีมาดั้งเดิมก่อนจะถูกการศึกษาแบบที่สอง เข้ามาให้ความหมายของการศึกษาแบบ โรงเรียน
2. การศึกษาสมัยใหม่ (Modern education) เป็นการจัดการศึกษาแบบตะวันตกที่เข้ามาสร้างการศึกษาแบบโรงเรียนอย่างจริงจังให้เกิดขึ้น ซึ่งยึดถือเอา ระบบการศึกษาของยุโรป ผ่านทางด้านอินเดียซึ่งมีอิทธิพลต่อภูฏาน โดยผ่านการครอบงำทางวัฒนธรรมการศึกษาจากอังกฤษที่เป็นครองอาณานิคมอังกฤษอยู่ก่อนนี้
3. การศึกษาของชุมชน (Dzongha meduim education) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกจากสองระบบแรก นั้น และเพื่อรองรับผู้ที่การศึกษาระบบทั้งสองสำหรับผู้ที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาทั้งสองระบบแรกนั้น
อย่างไรก็ตาม เส้นแบ่งระบบการศึกษาดังกล่าว ก็ได้ซึมซับกันและกัน และไร้ขอบเขตลงเนื่องจากกระแสของโลกสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทผ่านการจัดการศึกษาในโรงเรียนอย่างจริงจังเริ่มขึ้น
โดยนำปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่เข้ามาเป็นการศึกษาเพื่อทุกคน (Education for all)
ในระบบการศึกษารัฐได้พยายามที่จะให้การศึกษาในโรงเรียนที่มีหลักสูตรเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และมุ่งจะเน้นถึงประเพณีและอัตลักษณ์ของตนเอง นักเรียนจึงจำเป็นต้องใส่ชุดประจำชาติของตนเองและ ประชาชน ก็จำต้องสวมใส่ชุดประจำชาติ โดยผู้ชายเป็นชุดคลุมอย่างกิโมโนทาบทับคาดเอวเป็นโสร่งดึงท่อนกลางทบลงเป็นชายเสื้อ ชุดชาย เรียก “โก๊ะ” ชุดผู้หญิง เรียก “คีรา” (ส.ศิวรักษ์,2543)
ความสุขประชาชาติที่ตีความผ่าน บุหรี่
ภูฏาน อาจถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในโลกที่มีนโยบายห้ามบุหรี่เด็ดขาด ถ้าคนจะสูบบุหรี่ต้องสูบในบ้าน และเสียภาษี 200เปอร์เซ็นต์ ภูฏานมุ่งมั่นเป็นประเทศปลอดบุหรี่ ภูฏาน เดินหน้าจริงจังในการห้ามจำหน่ายยาสูบทุกชนิด และห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะทุกแห่ง โดยยอมให้คนที่ยังอยากสูบไปสูบเฉพาะภายในเคหะสถานของตน หากสามารถที่จะหาบุหรี่ได้
บรรดาร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร และบาร์ จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่มาจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2547 จากนั้นก็ต้องเลิกขาย วิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุขของภูฏานมองว่า จุดมุ่งหมายหลักของกฎหมายข้อนี้คือ มุ่งคุ้มครองปกป้องสุขภาพของประชาชน
และภูฏานได้ประกาศในสมัชชาผู้แทนสมาชิก องค์การอนามัยโลกแล้วว่า จะขอเป็นประเทศแรกในโลกที่ปลอดบุหรี่ และหวังว่าจะ มีประเทศอื่นๆ เดินตาม (www.thairat.co.th/news/smooking.htm)
กระบวนการดังกล่าว นับเป็นการสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ ผ่านกลไกทางด้านกฎหมายโดยใช้วิธีการบังคับ การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติดังกล่าวจึงมุ่งที่จะสร้างความสุขผ่านทางสุขภาพประชาชานเพื่อสร้างชุมชนสุขภาพ (Healthy city) ให้เกิด โดยอาศัยกลไกทางกฎหมายเป็นตัวผลักดันการลด ละ เลิก การสูบุหรี่ในที่สุด
การสร้างความสุขผ่านกลไกกฎหมายนี้ หากมองตามหลักการทางเสรีนิยม ( New Liberalism) และทุนนิยม (Capitalism) แล้ว ก็จะถูกตั้งคำถามว่า รัฐได้จำกัดเสรีภาพส่วนบุคคล โดยอ้างความชอบธรรมในเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ
ขณะเดียวกัน ฝ่ายทุนนิยมก็ตั้งโจทย์ว่า ความสุขมวลรวมประชาชนได้ละเลยการใช้ทุนของปัจเจกในการจัดการอุปโภคบริโภค(บุหรี่)ของปัจเจกด้วยเช่นกัน
สื่อโทรทัศน์ ความสุข หรือ ความทุกข์มวลรวมประชาชาติ
ปี 1998 รัฐบาลภูฏานได้ก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นและออกอากาศ ด้วยช่องรายการต่างๆของเคเบิลทีวีจากต่างประเทศ 5 ปีผ่านไป งานวิจัยหลายชิ้นได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า คดีอาชญากรรมได้เพิ่มมาขึ้นจากการที่ประชาชนได้รับชมสื่อนอกเหล่านั้น
เนื่องจากเด็ก ๆ ส่วนมากกำลังมีพฤติกรรมลอกเลียนลักษณะการกระทำของบรรดานักมวยปล้ำ (Wrestling) นักเรียนเริ่มที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ที่โรงเรียน นักเรียนที่โตกว่า พยายามเลียนแบบมวยปล้ำกระทำกับนักเรียนที่เล็กกว่าตน ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากในโรงเรียน
คนหนุ่มสาวได้ปรับตนให้สอดคล้องกับกระแสโลกภิวัฒน์มากขึ้นและรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก สิ่งที่เป็นอันตรายก็คือ ยิ่งเรียนรู้โลกมากเท่าใด ภูฏานก็จะยิ่งสูญเสียวัฒนธรรมของพวกตนมากขึ้นเท่านั้น การร่างกฎหมายควบคุมสื่อ แยกแยะข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีจึงได้ทำขึ้นมาเพื่อ
แก้ปัญหาดังกล่าว (http://www.budpage.com/bn175.shtml)
กระบวนการเรียนรู้เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness)
กระบวนการเรียนรู้ มีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพประชากรในทุกมิติ เพราะการเรียนรู้จำนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิด และวิธีปฏิบัติในระดับปัจเจก และระดับ ครอบครัว สังคม กลุ่ม ชุมชน ประเทศ และ สากล
ฉะนั้น กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของกระบวนการพัฒนาทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค เพื่อขับเคลี่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงงอกงามและจำเริญทางคุณภาพประชากร
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ จึงไม่ใช่เรื่องที่ควรศึกษาเฉพาะครั้งหรือเฉพาะในยุคสมัยเท่านั้น แต่ควรเป็นการศึกษาและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกหรือยังมีชีวิตอยู่ และอาจถือได้ว่า การเรียนรู้นั้น เป็นภาระกิจที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของสังคมมนุษย์ เพราะความรู้ คือ ประตูสู่การสร้างความงดงามของชีวิต
แนวคิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความสุข
“ การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระบบคิด การกระทำ และประสบการณ์ ซ฿งมีความเกี่ยวข้องกับความจำ ความเข้าใจ การรับรู้ การวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง สามารถงอกเงยและเปลี่ยนแปลงได้
ผลลัพภ์ของการเรียนรู้ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องนั้นๆ และความรู้ที่มีความหมาย คือ ความรู้ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาและสร้างปัญญาให้กับตนเอง ดังนั้น หัวใจ ของการเรียนรู้ ก็คือ การคิดเป็น ทำเป็น เผชิญปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ” (สุพัตรา ชาติบัญชาชัย,2548)
ขณะเดียวกัน การสร้างการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการ เรียน โดยมี ความรู้ เป็นแกน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น องค์ประกอบของ กระบวนการเรียนรู้ ในฐานะที่เป็นกระบวนการจึงประกอบด้วยการทำงานใน 3 ระบบ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต),2543) ดังนี้
1. เป็นระบบปัจจยาการของชีวิต 3 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์และเชื่อมโยง ของระบบชีวิต คือ ด้านพฤติกรรม (กาย) ด้านคุณธรรม จริยธรรม สมรรถภาพทางด้านจิตใจ (จิต) รวมทั้งด้านความสัมพันธ์กับสังคม ได้ด้วยความความสามารถในการขยับเขยื้อนพฤติกรรม ซึ่งต้องอาศัยความรู้ (ปัญญา) และระบบคิดที่ทำงานสัมพันธ์กันไปตลอด
2.เป็นระบบการสื่อสารสัมพันธ์กับโลกทางอินทรีย์ 6 กล่าวคือ ความสามารถที่พัฒนาจากกระบวนการเสพ สู่ กระบวนการศึกษาและเรียนรู้ ผ่านอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งอินทรีย์ของมนุษย์ ทำหน้าที่ รู้สึก และ เสพ นำไปสู่ การรู้ และการศึกษา หล่อหลอมเป็นประสบการณ์ เมื่อบุคคลตระหนักและพิจารณาใช้ อินทรีย์ 6 ก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะ นำสู่การเกิดปัญญา
3. เป็นระบบสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก กระบวนการเรียนรู้ ต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยภายนอก ได้ แก่ เสียง สื่อ สิ่งเร้าจากภายนอก เรียกว่า ปรโตโฆสะ และ ปัจจัยภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ คือ การรู้จักคิด รู้จักมอง รู้จักพิจารณา อย่างถูกวิธี
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ที่บุคคล ใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง คนก็จะเกิดการพัฒนาขึ้น การศึกษาก็เริ่มขึ้น เกิดการพัฒนาความต้องการใหม่ เมื่อรู้จักการเรียนรู้ก็จะเกิดความรู้ใหม่ เกิดการใฝ่รู้และตอบสนองความต้องการได้ก็จะเกิดความสุข
กล่าวคือ เกิดองค์ความรู้และเกิดความสุขจากการเรียนรู้ ถ้ากระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้อง ความสุขก็จะตามมาในตัวของมันเอง
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพประชากร จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ เป็นสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง วิธีคิด การตีความ การให้คุณค่า การประยุกต์ความรู้และการนำไปสู่การพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาในแต่ละประเทศ ภายใต้บริบทที่ ต่างกัน
การนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายหลักของการพัฒนา เพื่อสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ ของประเทศภูฏาน ก็คือ การที่รัฐได้อาศัยแนวคิดเรื่องความสุข ซึ่งในบริทบ (Context) ของภูฏานแล้ว การตีความเรื่องความสุข อยู่บนฐานของความเชื่อทางพระพุทธศาสนา (แบบวัชรยาน)
นั่นคือ การมองถึงทางดับทุกข์ แก้ข้อผูกมัดของอัตตา ที่เห็นความสุขภายในเป็นเป้าหมายสูงสุด ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนาความสุข หรือ การสร้างความสุขบนฐานคติที่เชื่อว่า
1. ความสุขภายในคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ วัตถุเป็นเพียงอุปกรณ์เติมเต็มความปรารถนาของมนุษย์
2. ประชากรที่มีความสุข ก็คือ ประชากรที่มีความเป็นอยู่ที่สมดุลทั้งกายและจิต นัยความหมายคุณภาพประชากรของภูฏานจึงตีความได้ว่า คุณภาพประชากรเกิดจากการมีความสุขเป็นพื้นฐาน
3. ประชากรมีความสุขภายในจิตที่สมบูรณ์โดยกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมบูรณ์
เนื่องจากว่า ค่านิยมโดยทั่วไปของสังคมชาวภูฏาน ตามที่ยึดถือปฏิบัติกันมาก็คือ จริยธรรมและศีลธรรมแบบชาวพุทธ (Rose, Leo .The politics of Bhutan,2001)
วิถีปฏิบัติและความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นรากฐานค่านิยม (Values) ของชาวภูฏาน ที่ตีความผ่านการมองจากมุมของศาสนาเป็นหลัก ฉะนั้น เป้าหมายความสุขจึงครอบคลุมอยู่เหนือทุกรูปการของชีวิตรวมทั้งมิติทางเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่ความต้องการทางวัตถุที่เพิ่มทวีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้วยการบริโภค
หากแต่เป็น การทำให้มนุษย์มีคุณธรรมยิ่งขึ้น ปรัชญาทางศีลธรรมของพระพุทธศาสนาในภูฏานจึงมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา นำไปสู่การให้คำนิยามของความสุข โดยเห็นว่า ความอยู่ดีมีสุขเกิดจากความกลมกลืนทางจิตวิญญาณและวัตถุ
ดังนั้น ความสุขมวลรวมประชาชาติ ของภูฏาน จึงเกิดขึ้นบนพื้นฐานของศาสนาพุทธ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำให้เกิด วิธีคิดชุดนี้ ซึ่งแน่นอนว่า การให้ความหมายเรื่องความสุขดังกล่าว ย่อมจะได้รับการวิพากย์วิจารณ์จากเนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทางตะวันตกที่มองว่าขาดเหตุผลและตัวชี้วัดที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียนรู้ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ได้ส่งผ่าน องค์กร (Agent) ทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันหลักทางสังคม อยู่หลาย สถาบันที่เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับ กระบวนการเรียนรู้ในเรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ของประเทศภูฏาน ในที่นี้จึงจะนำมาวิเคราะห์เพียง 5 สถาบัน เท่านั้น
1. สถาบันครอบครัว (Family) ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดสถาบันหนึ่งในด้านการก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ แรกเริ่มของระบบสังคม และ ส่งผ่านความรู้และการเรียนรู้ในเบื้องต้นในครอบครัว ก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้พื้นฐานของชีวิต และยังเป็นสถาบันที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีบทบาทต่อการเรียนรู้ของปัจเจกและสังคมอย่างมาก
2. สถาบันการศึกษา (Schooling) เป็นสถาบันที่สร้างการเรียนรู้ให้กับบุคคลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งได้รับการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความรู้ที่จะจัดสรรให้กับบุคคลเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน ด้วยช่วงวัยอายุและประสบการณ์ของผู้เรียนรู้
3.สถาบันศาสนา (Religion ) เป็นสถาบันที่สร้างการเรียนรู้ในเรื่องการให้คุณค่า ความดีงาม อุดมคติ คุณธรรมจริยธรรม รวมทั้ง กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องของจิตใจและความสุขที่ไม่อิงอยู่กับเรื่องวัตถุ
4.สถาบันการการเมืองการปกครอง (Politics) สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นสถาบันที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการยอมรับสิทธิเสรีภาพ การกำหนดบทบาทและหน้าที่ กฎหมายและข้อบังคับ ที่สังคมสร้างขึ้นเป็นกรอบปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
5.สถาบันสื่อมวลชน (Mass media) ในโลกยุคปัจจุบัน สื่อสารมวลชนมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง การเปลี่ยนแปลงคุณค่า การให้ความสำคัญ ประเพณีวัฒนธรรม ถูกส่งผ่านช่องทางของสื่อมวลชนและสร้างอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของบุคคลเป็นอย่างมาก
พันธกิจและเป้าหมายทางประชากรของแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
การบริหารงานของราชอาณาจักรภูฏานมี 10 กระทรวง โดยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจมุ่งเน้นในการพัฒนาประเทศภูฏานบนฐานความเชื่อเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ
โดยร่วมกำหนดพันธกิจว่าจะต้องมุ่งทำงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของความสุขมวลรวมประชาชาติที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง (The Royal Government of Bhutan has 10 ministries which work in bringing the goal of Gross National Happiness closer to reality.) (www.bhutan.go.bt)
ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ด้วยความที่ภูฏานเอง ยังคงเป็นประเทศที่ความเป็นโลกาภิวัตน์เข้าไม่ถึงได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังคงเป็นประเทศที่ยึดมั่นในคำสอนทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยานเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ดังนั้น ความสุขทางกายและจิตจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร เป้าหมายทางประชากรของ ประเทศภูฏานจึง หมายถึง การสร้างเสริมความสุขให้กับประชากรบนรากฐานทางอัตลักษณ์ของภูฏาน (Maximizing of Happiness based on Bhutan’s identities)
กระบวนการมุ่งสู่การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติจึงหมายถึง การสร้างสังคมแห่งความสุข หรือ GNH society ภูฏาน ได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาจนถึงปัจจุบัน อยู่ในระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2550 แผนการพัฒนาของภูฏานก็ยืนอยู่บนฐานความเชื่อในด้านการพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นหลัก.
ในตอนต่อไปจะได้วิเคราะห์ กระบวนการเรียนรู้เรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ การถอดบทเรียน ของการพัฒนาคุณภาพประชากร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของวิถีโลก และกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ที่เข้ามาพร้อมกับทุนนิยมเสรี ในปัจจุบัน ภูฏานจะเปลี่ยนแปลงและดำรงอัตลักษณ์ของตนอย่างไร ? โปรดติดตามอ่านต่อตอนจบ ในตอนต่อไป หรือเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.src.ac.th
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =5&gblog=1
: กรณีศึกษา การพัฒนาคุณภาพประชากรในประเทศภูฏาน ตอนที่ ๑
บทนำ
การพัฒนากระแสหลักได้ถูกตั้งคำถามถึงความยั่งยืน และ ความเป็นธรรม (Justice) ในการพัฒนา รวมทั้งตัวชี้วัดและความเจริญที่อยู่บนฐานคิดและรับใช้ของทุนนิยม การยึดถือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Products) ว่าเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรุ่งเรืองและเป็นยอดปรารถนาของการพัฒนา ได้ส่งผลกระทบถึงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะสร้างปัญหา
รวมทั้งการพัฒนากระแสหลักได้ละเลย ความดี ความงาม รวมทั้งศีลธรรมจริยธรรมในสังคม แนวคิดการพัฒนากระแสรองจึงเกิดขึ้นและได้ตั้งคำถามกับทิศทางการพัฒนาในกระแสหลัก รวมทั้งได้สร้างทางเลือกในการพัฒนาอีกรูปแบบหนึ่ง ดังเช่น
แนวคิดเรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ของประเทศภูฏาน (Bhutan) ซึ่ง สุลักษณ์ ศิวะลักษณ์ เคยกล่าวว่า หากจะพัฒนาประเทศแบบใช้พระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาแล้วละก็ ภูฏานเป็นประเทศหนึ่งเดียวที่พอจะเป็นแม่แบบนำร่องในการพัฒนาแนวพุทธได้เป็นอย่างดี (ส.ศิวลักษณ์,2543)
แม้จะเป็นพระพุทธศาสนามหายาน นิกายวัชรยานก็ตาม การพัฒนาแบบภูฏาน ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าจักศึกษาและทำความเข้าใจ วิเคราะห์ วิพากย์ และเสนอแนะบทเรียนดังกล่าวให้กับการพัฒนาคุณภาพประชากร ในบริบทสังคมไทยอีกด้วย โจทย์ที่บทความนี้ตั้งไว้ก็คือ
1. บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของภูฏานเป็นอย่างไร ?
2. สารัตถะแห่งกระบวนทัศน์ความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏานเป็นอย่างไร ?
3. กระบวนการเรียนรู้และการผลักดัน การพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติ
4. บทสรุป สำเร็จ / ล้มเหลว ของกระบวนการเรียนรู้ ความสุขมวลรวมประชาชาติ และข้อเสนอแนะที่มีต่อนัยการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศไทย
1. บริบทของทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่แถบหิมาลัยลักษณะทางกายภาพจึงเป็นภูเขาสูงและ มีพื้นที่เป็นประเทศเล็กๆ ขนาด 38,394 ตารางกิโลเมตร ที่ยังคงความเป็นอารยธรรมโดยมีวัตถุความเจริญเข้ามาเกี่ยวคงน้อยมาก
ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์เป็นประมุข มีสภาองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และมีสภาแห่งชาติ (Tsongdu) เป็นผู้ออก กฏหมาย มีสมาชิก 106 คนมาจากการเลือกตั้ง อีก 55 คนมาจากการแต่งตั้งของพระราชาธิบดี ประชากร ประมาณ 752,7000 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน (ข้อมูลเมื่อ ปี2004
อนึ่ง การจัดเก็บสำมะโนประชากรของภูฏานยังมีปัญหาอยู่) เนื่องจากชาวภูฎานเป็นพุทธศาสนิกชนที่ยังคงยึดถือในประเพณีและวัฒนธรรมและได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตอย่างเคร่งครัดอยู่ และยังไม่ได้ถูกรุกรานจากกระบวนการโลกาภิวัตน์มากนัก
อัตลักษณ์ของชาวภูฏาน จึงเป็นชาวพุทธแบบมหายานที่ยังคงยึดถือหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวันอยู่อย่างมาก (ผู้สนใจพึงศึกษารายละเอียดในเวบไชต์ ดังต่อไปนี้ http://www.bhutan.gov.bt/government/aboutbhutan.php)
มิติทางสังคมและวัฒนธรรมของภูฏาน
การปกครองแบบดั้งเดิมในภูฏาน ยืนอยู่บนฐานวัฒนธรรมและความเชื่อของพระพุทธศาสนา (วัชรยาน) ซึ่งนำไปสู่ความสุขมวลรวมประชาชาติ พันธสัญญา (Social Contract) ปี 1675 ในเรื่องความเท่าเทียมกันของชาวพุทธได้ประกาศว่า ความสุขของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์
และ คำสอนของพระพุทธเจ้ามีความสอดคล้องและอิสระอย่างเท่าเทียมกัน ปี 1729 มาตรการทางกฏหมาย (Legal code) ของภูฏานได้เน้นย้ำว่า กฎหมายจะต้องส่งเสริมความสุขของมวลมนุษย์ในภูฏาน (www.bhutanstudies.org.bt)
ซึ่งชาวภูฏานเองเชื่อว่า องค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมและการให้การศึกษาในสังคมดั้งเดิมนี้ จะสามารถสร้างวิถีการพัฒนา (Path of development) ซึ่งนำสู่การบ่มเพาะและสร้างการพัฒนามนุษย์และสังคมได้อย่างสมบูรณ์
เพราะการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่ใช่การใส่มนุษย์ลงไปให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ดังนั้น กระบวนการในการสร้างความสุขจึงดำเนินการอยู่บนฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง รูปแบบการพัฒนาในประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆแล้ว มักจะไม่รวมเอาความสุขเข้าไปอยู่ในเป้าหมายการพัฒนา (Development end) แต่มักจะมองมิติทางด้านเศรษฐสังคม (Socio – Economic) เป็นด้านหลัก
ซึ่งจะเห็นได้จาก วาทกรรมการพัฒนาในชุดต่างๆ เช่น ตัวชี้วัดการพัฒนามนุษย์ (Human development) การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) และ เป้าหมายการพัฒนายุคสหัสวรรษ (Millennium development goal) เป็นต้น
แต่การพัฒนาแบบ ความสุขมวลรวมประชาชาติ นั้นได้มุ่งไปยังประเด็นที่เห็นว่า ทิศทางการพัฒนาควรจะแตกต่างไปจากการพัฒนาแนวอื่นๆทั้งในด้านวิธีวิทยา และ ผลลัพธ์การพัฒนา (Methodologies and outcomes) โดยรัฐจักต้องกระจายและส่งเสริมความสุขให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐอย่างแท้จริง
ในขณะที่ประเทศต่างๆมุ่งสร้าง พัฒนา และวัดความสำเร็จด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แต่ได้ละเลยเรื่อง ความสุข โดยเฉพาะในประเทศที่มั่งคั่งทั้งหลาย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วควรจะรวมเอาความมั่งคั่งและความสุขเข้าด้วยกัน ไม่ใช่การมองถึงความมั่งคั่งแล้วจะส่งผลถึงความสุขได้ฝ่ายเดียว
การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติจึงเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความทันสมัยกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ (Balance of tradition and modernization)
2.สารัตถะแห่งกระบวนทัศน์ความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏานเป็นอย่างไร ?
รากฐานความคิดเรื่อง GDP ที่ถือกำเนิดในนาม GDH - Gross National Happiness ของกษัตริย์จิเม ซิงเย วังชุง (Jigme Singye Wangchuck) ของภูฏาน พระองค์จบการศึกษาจากอังกฤษ ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1972
และประกาศว่า วัตถุประสงค์สูงสุดของรัฐบาลก็คือการส่งเสริมความสุขของประชาชน ความสุขมวลรวมประชาชาติสำคัญยิ่งกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ข้อพิสูจน์ทางวิชาการมาประเมินความสุขตามความหมาย
แต่ภูฎานจะตั้งหลักการและคำถามทางจริยธรรมเกี่ยวกบความสุขขึ้นมา โดยให้เป็นข้อเสนอและระบบการให้คุณค่าซึ่งใช้ได้ทั่วไป ซึ่งความสุขอันเป็นเป้าหมายที่มนุษยชาติทั้งมวลมีร่วมกันโดยพื้นฐาน (เลียงโป จิกมี วาย ธินเลย์, อ้างใน เจษณี สุขจิรัตติกาล,2541)
โดยแนวคิดเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาตินี้ จะไม่เน้น GNP - Gross National Product แต่จะถือ GNH - Gross National Happiness เป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ซึ่งองค์ประกอบ 4 ประการของ GNH คือ (www.bhutanstudies.org)
1. การพัฒนาเศรษฐสังคม (Socio-economic) อย่างยั่งยืนและเท่าเทียม
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. อนุรักษณ์และส่งเสริมวัฒนธรรมอันเป็นอัตลักษณ์ที่ดีงามของชาวภูฏาน
4. ส่งเสริมธรรมาภิบาล (Good governance)
การพัฒนาด้วยการตั้งโจทย์และวางกรอบการพัฒนาโดยการนำเอาตัวแปรทั้ง 4 มาแปลงเป็นหน่วยเพื่อเป็นดัชนีใช้วัดความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ พระราชาธิบดีแห่งภูฏานทรงเห็นว่า
“ GNP หรือกระทั่ง GDP คือภาพลวงตา เนื่องจากมันไม่สามารถสะท้อนภาพความจริงที่ปรากฏ เพราะเนื้อในของมันเป็นการรวมเอาตัวเลขยอดซื้อและตัวเลขยอดขายผลิตภัณฑ์กับบริการทั้งหมด โดยไม่จำแนกธุรกรรมที่ทำให้ความอยู่ดีมีสุขของสังคมต้องเลวร้ายลงออกไป
ตรงกันข้าม กลับรวมเอาธุรกรรมที่ทำลายความอยู่ดีมีสุขของสังคมมาเติมให้ค่าความมั่งคั่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก แทนที่ GDP จะจำแนกความแตกต่างระหว่างต้นทุนที่ต้องจ่ายไป กับผลแทนที่ได้รับ หรือระหว่างกิจกรรมที่สร้างสรรค์กับส่วนที่เป็นการทำลาย GDP กลับตีความว่าทุก ๆ ธุรกรรมที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนได้ด้วยเงินทั้งหมด ถือเป็นการทำให้ชีวิตดีขึ้น
นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่าย ทรัพย์สินและหนี้สิน จะมีค่าเป็นบวกหมด ไม่มีการหักลบออก
GDP จึงมืดบอดกับการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อม และสูญสิ้นของทรัพยากรธรรมชาติ การแตกสลายของระดับครอบครัวและชุมชนสังคม” (พายัพ วนาสุวรรณ์,2548)
3. กระบวนการเรียนรู้และการผลักดันนโยบาย การพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติ อย่างไร?
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของภูฏาน ได้กำหนดให้มีหัวข้อใหญ่ในการพัฒนาไว้ดังนี้ คือ
1.การพัฒนาที่ต้องพึ่งพาตนเองในระดับ ซ่องกัง (Dzong Khang)
พึ่งพาตนเองทั้งในระดับ ประเทศและระดับท้องถิ่น
กล่าวคือ รูปแบบการปกครองของภูฏานได้แบ่งมณฑลแห่งการปกครองและยกให้ ซองกัง เป็นเหมือนหน่วยงานระดับจังหวัดและอำเภอ ในการรับผิดชอบดำเนินการในการรับผิดชอบการดำเนินการพัฒนา
2. การกระจายอำนาจการบริหารออกไปจากส่วนกลางทำให้ทุกอำเภอมี ซองกัง (Dzong Khang) โดยให้ศาสนาเป็นพื้นฐานในการปกครอง
3. ควบคุมการใช้จ่ายเงินตราและสรรพวัสดุของบ้านเมือง โดยถือความประหยัดเป็นเกณฑ์
4. มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรในการบริหารพัฒนาในประเทศเป็นหลัก ไม่มุ่งเน้นชักชวนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุน
5. ให้ประชาราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศในทุกระดับ โดยมีองค์กรเยาวชน องค์กรคณะสงฆ์ สภาตำบล แต่ละ ซองกัง เป็นศูนย์รวมของแต่ละเมือง
รูปแบบของการกำหนดวิสัยทัศน์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของภูฏาน ซึ่งเป็นเสมือนกลไกหลักที่นำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation) เพื่อให้เกิดผลสำเร็จที่แท้จริง ก็เป็นโจทย์ที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจถึงผลกระทบที่มีต่อการเรียนรู้ ในเรื่อง แนวคิดและนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ.
การให้ความหมายเรื่องความสุขของภูฏาน
พระราชาธิบดี จิกเม ซิงจิ วังชุก หลังขึ้นครองราชในปี 1872 พระองค์ทรงเห็นว่า ความสุขต่างหากที่เป็นเป้าหมายสูงสุด ส่วนวัตถุอื่นๆ นั้นเป็นเพียงอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เติมเต็มความปรารถนาของมวลมนุษยชาติเท่านั้น
ดังนั้น กระบวนการในการพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติจึงมีเหตุผลต่างๆดังต่อไปนี้สนับสนุน
1. ความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ GNH มุ่งตอบสนองความต้องการและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในเชิงองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากกายและจิตไม่สามารถแยกกันได้
2.ความสุขมวลรวมประชาชาติ มุ่งแสวงหาความสุขภายในจิตที่สมบูรณ์พร้อมกับสภาพแวดล้อมในภายนอกด้วย ซึ่งทั้งต้องมีความกลมกลืนกัน
3. ความสุขมวลรวมประชาชาติ ตระหนักถึงความสุขที่สามารถเข้าถึงเป้าหมายทางสังคมที่แท้จริงได้ ทั้งปัจเจกและสังคม
4. การกำหนดนโยบายสาธารณะ บนฐานความสุขมวลรวมประชาชาติจะมีตัวชี้วัดที่ไม่ใช้เครื่องมือแบบเศรษฐศาสตร์มากำหนด
พันธะทางนโยบายในภูฏาน
การพัฒนาประชากรด้วย วิธีคิดชุด ความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH) นั้น ภูฏานเองก็เห็นว่า การพัฒนาด้วยวิธีคิดชุดนี้ได้ถูกกระทำให้เป็นที่รับรู้รับทราบอย่างกว้างขวางในภูฏานเอง และได้นิยามความสุขด้วยบริบทของภูฏานเอง และไม่จำเป็นที่จะต้องให้เหมือนกับประเทศสากลอื่นๆ และประเทศอื่นๆจะต้องเหมือน
ดังนั้น รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและการเคหะ แห่งภูฏานจึงได้เสนอแนวทางการวัดปริมาณความสุขของประชาชนด้วยวิธีสังเกตง่ายๆ คือ “มองหน้าประชาชานแล้ววัดที่รอยยิ้มของพวกเขาดู” (Look at the faces of the people and measure the breadth of their smile) ซึ่งจะดูดีกว่า การมองไปที่ กรอบนโยบาย
ซึ่งอนุมานกันเอาว่าเป็นเงื่อนไขระดับมหภาค ของการวัดความสุข ฉะนั้น หลัก 4 ประการของ ความสุขมวลรวมประชาชาติจึงประกอบด้วยหลักการดังกล่าวไว้แล้วคือ
การพัฒนาเศรษฐสังคม (Socio-economic) อย่างยั่งยืนและเท่าเทียม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ อนุรักษณ์และส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่งเสริมธรรมาภิบาล (www.bhutanstudies.org/gnh/jigmi.thm.)
ความสุขภาคเกษตรกรรม
ชาวภูฏานเองเป็นผู้ที่ดำรงตนในวิถีแห่งพระพุทธศาสนามหายาน เป็นผู้เคารพในธรรมชาติและการเกษตร ลดการเบียดเบียนและเข่นฆ่าชีวิตสัตว์อื่น ขณะที่การทำเกษตรกรรมจะมี เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง กระทรวงเกษตรและชาวไร่ชาวนา ทำหน้าที่ประสานงานการเกษตร
รวมทั้งด้านการตลาดการนำปัญหาของเกษตรกร เข้าไปสู่กระทรวงเกษตรเพื่อแก้ไขปัญหา และนำเอานโยบายทางเกษตรมาเผยแพร่ต่อเกษตรกรรม กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวนี้จึงได้สร้างวิธีการเข้าถึงความสุขผ่านเจ้าที่ของรัฐและดูเหมือนว่า
กระบวนการทางนโยบายดังกล่าวยังเป็นแบบ บนสู่ล่าง หรือ Top down policy กระนั้นก็ตาม แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรกับเจ้าหน้าที่กระทรวงเหล่านั้นด้วย
ขณะเดียวกัน กระบวนการสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ ผ่านทางด้านเกษตรกรรมยังคงมีมิติที่น่าสนใจ เช่น เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของภูฏานนับถือพระพุทธศาสนาและยังคงยึดมั่นในทางศาสนาอยู่อย่างมั่นคง
ฉะนั้น ประชากรภูฏานจึง มีความเชื่อว่า ภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง พื้นดิน ฯลฯ ล้วนมีเจ้าชีวิต (Spirit) ครอบครองและอาศัยอยู่ ดังนั้น หากทำลาย ภูเขา แม่น้ำ ลำคลอง ก็เป็นการทำลายชีวิต ของเจ้าชีวิตที่ประจำอยู่ในทรัพยากรเหล่านั้น (http://www.missoulanews.com/News/News.asp?no=2745 )
การที่มีความเชื่อเช่นนี้ ส่งผลต่อการจัดการระบบนิเวศ ที่ดีได้ ความสุขของประชากรที่สะท้อนไปยัง มิติของการอนุรักษ์ธรรมชาติในข้อที่ 2 จึงตอบสนองความสุขมวลรวมประชาชาติทางด้านนี้
พร้อมกันนี้ เกษตรกรรมในภูฏาน ยังไม่นิยมใช้ยาฆ่าแมลง เพราะการฆ่าแมลงถือเป็นการขัดต่อหลักศาสนา โดยเฉพาะศีลที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การตีความเรื่องความสุขมวลรวมจึงส่งผ่านการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสัตว์เล็กสัตว์น้อยบนฐานความเชื่อทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง
ความสุขที่ผ่านการจัดการด้านการท่องเที่ยว
ภูฏานได้สร้างความหมายของการมีความสุขมวลรวมประชาชาติ ผ่านการจัดการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองประเด็นสำคัญของความสุขมวลรวม ด้วยวิธีการในการจำกัดนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในประเทศ
โดยตั้งเพดานนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไม่เกินปีละ 8,000 (แปดพันคน ณ พ.ศ.2548)) และต้องจ่ายเงินเพื่อค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในภูฏาน 200 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อคน/ต่อวัน
โดยมีไกด์นำเที่ยวที่จะอนุญาตให้นำนักท่องเที่ยวไปชมได้ และไม่ทำลายแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเรื่องการจัดการขยะ โดยมัคคุเทศก์ จะไม่ยอมให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวได้เองตามอัธยาศัย
การจำกัดนั่งท่องเที่ยว และจำกัดสถานที่ท่องเที่ยวในภูฏาน ก็คือ การมุ่งสร้างความสุขให้กับประชาชน เนื่องจากไม่ต้องการให้สภาพแวดล้อมของภูฏานต้องได้รับความเสียหายจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไปนั่นเอง
อันจะส่งผลต่อระบบนิเวศและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชุมชนและสังคมของภูฏาน การให้คุณค่ากับชีวิตในเรื่องจิตวิญญาณผ่านนโยบายต่างๆ เช่นนี้ นับได้ว่า ภูฏานมองเห็นและให้ความสำคัญในเรื่องความมั่งคั่งทางด้านจิตใจ มากว่าความมั่งคั่งทางด้านวัตถุ การสร้างความสุขในการจัดการท่องเที่ยวเช่นนี้ ภูฏานนับเป็นต้นแบบในการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างแท้จริง
การสร้างความสุขผ่านกระบวนการศึกษา
ระบบการศึกษาในภูฏานนั้น รัฐจัดการศึกษาในระบบ (Formal education) ให้ฟรี ด้วยการเรียนถึง 11 ชั้นปี (11 grades) อย่างไรก็ตามอัตราผู้รู้หนังสือยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก ประมาณการ ที่ร้อยละ 54 (ข้อมูลเมื่อ 2003) กระบวนการจัดการศึกษานั้น แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การศึกษาในวัด (Monastic Education) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์และยึดถือประเพณีวัฒนธรรมของภูฏานอย่างแท้จริงเอาไว้ เป็นการศึกษาที่มีมาดั้งเดิมก่อนจะถูกการศึกษาแบบที่สอง เข้ามาให้ความหมายของการศึกษาแบบ โรงเรียน
2. การศึกษาสมัยใหม่ (Modern education) เป็นการจัดการศึกษาแบบตะวันตกที่เข้ามาสร้างการศึกษาแบบโรงเรียนอย่างจริงจังให้เกิดขึ้น ซึ่งยึดถือเอา ระบบการศึกษาของยุโรป ผ่านทางด้านอินเดียซึ่งมีอิทธิพลต่อภูฏาน โดยผ่านการครอบงำทางวัฒนธรรมการศึกษาจากอังกฤษที่เป็นครองอาณานิคมอังกฤษอยู่ก่อนนี้
3. การศึกษาของชุมชน (Dzongha meduim education) เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกจากสองระบบแรก นั้น และเพื่อรองรับผู้ที่การศึกษาระบบทั้งสองสำหรับผู้ที่เข้าไม่ถึงระบบการศึกษาทั้งสองระบบแรกนั้น
อย่างไรก็ตาม เส้นแบ่งระบบการศึกษาดังกล่าว ก็ได้ซึมซับกันและกัน และไร้ขอบเขตลงเนื่องจากกระแสของโลกสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทผ่านการจัดการศึกษาในโรงเรียนอย่างจริงจังเริ่มขึ้น
โดยนำปรัชญาการศึกษาสมัยใหม่เข้ามาเป็นการศึกษาเพื่อทุกคน (Education for all)
ในระบบการศึกษารัฐได้พยายามที่จะให้การศึกษาในโรงเรียนที่มีหลักสูตรเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และมุ่งจะเน้นถึงประเพณีและอัตลักษณ์ของตนเอง นักเรียนจึงจำเป็นต้องใส่ชุดประจำชาติของตนเองและ ประชาชน ก็จำต้องสวมใส่ชุดประจำชาติ โดยผู้ชายเป็นชุดคลุมอย่างกิโมโนทาบทับคาดเอวเป็นโสร่งดึงท่อนกลางทบลงเป็นชายเสื้อ ชุดชาย เรียก “โก๊ะ” ชุดผู้หญิง เรียก “คีรา” (ส.ศิวรักษ์,2543)
ความสุขประชาชาติที่ตีความผ่าน บุหรี่
ภูฏาน อาจถือได้ว่าเป็นประเทศแรกในโลกที่มีนโยบายห้ามบุหรี่เด็ดขาด ถ้าคนจะสูบบุหรี่ต้องสูบในบ้าน และเสียภาษี 200เปอร์เซ็นต์ ภูฏานมุ่งมั่นเป็นประเทศปลอดบุหรี่ ภูฏาน เดินหน้าจริงจังในการห้ามจำหน่ายยาสูบทุกชนิด และห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะทุกแห่ง โดยยอมให้คนที่ยังอยากสูบไปสูบเฉพาะภายในเคหะสถานของตน หากสามารถที่จะหาบุหรี่ได้
บรรดาร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร และบาร์ จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่มาจนถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2547 จากนั้นก็ต้องเลิกขาย วิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุขของภูฏานมองว่า จุดมุ่งหมายหลักของกฎหมายข้อนี้คือ มุ่งคุ้มครองปกป้องสุขภาพของประชาชน
และภูฏานได้ประกาศในสมัชชาผู้แทนสมาชิก องค์การอนามัยโลกแล้วว่า จะขอเป็นประเทศแรกในโลกที่ปลอดบุหรี่ และหวังว่าจะ มีประเทศอื่นๆ เดินตาม (www.thairat.co.th/news/smooking.htm)
กระบวนการดังกล่าว นับเป็นการสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ ผ่านกลไกทางด้านกฎหมายโดยใช้วิธีการบังคับ การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติดังกล่าวจึงมุ่งที่จะสร้างความสุขผ่านทางสุขภาพประชาชานเพื่อสร้างชุมชนสุขภาพ (Healthy city) ให้เกิด โดยอาศัยกลไกทางกฎหมายเป็นตัวผลักดันการลด ละ เลิก การสูบุหรี่ในที่สุด
การสร้างความสุขผ่านกลไกกฎหมายนี้ หากมองตามหลักการทางเสรีนิยม ( New Liberalism) และทุนนิยม (Capitalism) แล้ว ก็จะถูกตั้งคำถามว่า รัฐได้จำกัดเสรีภาพส่วนบุคคล โดยอ้างความชอบธรรมในเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ
ขณะเดียวกัน ฝ่ายทุนนิยมก็ตั้งโจทย์ว่า ความสุขมวลรวมประชาชนได้ละเลยการใช้ทุนของปัจเจกในการจัดการอุปโภคบริโภค(บุหรี่)ของปัจเจกด้วยเช่นกัน
สื่อโทรทัศน์ ความสุข หรือ ความทุกข์มวลรวมประชาชาติ
ปี 1998 รัฐบาลภูฏานได้ก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้นและออกอากาศ ด้วยช่องรายการต่างๆของเคเบิลทีวีจากต่างประเทศ 5 ปีผ่านไป งานวิจัยหลายชิ้นได้ข้อสรุปที่ตรงกันว่า คดีอาชญากรรมได้เพิ่มมาขึ้นจากการที่ประชาชนได้รับชมสื่อนอกเหล่านั้น
เนื่องจากเด็ก ๆ ส่วนมากกำลังมีพฤติกรรมลอกเลียนลักษณะการกระทำของบรรดานักมวยปล้ำ (Wrestling) นักเรียนเริ่มที่จะใช้ความรุนแรงมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ที่โรงเรียน นักเรียนที่โตกว่า พยายามเลียนแบบมวยปล้ำกระทำกับนักเรียนที่เล็กกว่าตน ซึ่งได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากในโรงเรียน
คนหนุ่มสาวได้ปรับตนให้สอดคล้องกับกระแสโลกภิวัฒน์มากขึ้นและรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลก สิ่งที่เป็นอันตรายก็คือ ยิ่งเรียนรู้โลกมากเท่าใด ภูฏานก็จะยิ่งสูญเสียวัฒนธรรมของพวกตนมากขึ้นเท่านั้น การร่างกฎหมายควบคุมสื่อ แยกแยะข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีจึงได้ทำขึ้นมาเพื่อ
แก้ปัญหาดังกล่าว (http://www.budpage.com/bn175.shtml)
กระบวนการเรียนรู้เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness)
กระบวนการเรียนรู้ มีความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพประชากรในทุกมิติ เพราะการเรียนรู้จำนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งวิธีคิด และวิธีปฏิบัติในระดับปัจเจก และระดับ ครอบครัว สังคม กลุ่ม ชุมชน ประเทศ และ สากล
ฉะนั้น กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของกระบวนการพัฒนาทั้ง ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค เพื่อขับเคลี่อนสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงงอกงามและจำเริญทางคุณภาพประชากร
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ จึงไม่ใช่เรื่องที่ควรศึกษาเฉพาะครั้งหรือเฉพาะในยุคสมัยเท่านั้น แต่ควรเป็นการศึกษาและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกหรือยังมีชีวิตอยู่ และอาจถือได้ว่า การเรียนรู้นั้น เป็นภาระกิจที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของสังคมมนุษย์ เพราะความรู้ คือ ประตูสู่การสร้างความงดงามของชีวิต
แนวคิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อความสุข
“ การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในระบบคิด การกระทำ และประสบการณ์ ซ฿งมีความเกี่ยวข้องกับความจำ ความเข้าใจ การรับรู้ การวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง สามารถงอกเงยและเปลี่ยนแปลงได้
ผลลัพภ์ของการเรียนรู้ คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องนั้นๆ และความรู้ที่มีความหมาย คือ ความรู้ที่สามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาและสร้างปัญญาให้กับตนเอง ดังนั้น หัวใจ ของการเรียนรู้ ก็คือ การคิดเป็น ทำเป็น เผชิญปัญหา และสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ” (สุพัตรา ชาติบัญชาชัย,2548)
ขณะเดียวกัน การสร้างการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการ เรียน โดยมี ความรู้ เป็นแกน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น องค์ประกอบของ กระบวนการเรียนรู้ ในฐานะที่เป็นกระบวนการจึงประกอบด้วยการทำงานใน 3 ระบบ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต),2543) ดังนี้
1. เป็นระบบปัจจยาการของชีวิต 3 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์และเชื่อมโยง ของระบบชีวิต คือ ด้านพฤติกรรม (กาย) ด้านคุณธรรม จริยธรรม สมรรถภาพทางด้านจิตใจ (จิต) รวมทั้งด้านความสัมพันธ์กับสังคม ได้ด้วยความความสามารถในการขยับเขยื้อนพฤติกรรม ซึ่งต้องอาศัยความรู้ (ปัญญา) และระบบคิดที่ทำงานสัมพันธ์กันไปตลอด
2.เป็นระบบการสื่อสารสัมพันธ์กับโลกทางอินทรีย์ 6 กล่าวคือ ความสามารถที่พัฒนาจากกระบวนการเสพ สู่ กระบวนการศึกษาและเรียนรู้ ผ่านอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งอินทรีย์ของมนุษย์ ทำหน้าที่ รู้สึก และ เสพ นำไปสู่ การรู้ และการศึกษา หล่อหลอมเป็นประสบการณ์ เมื่อบุคคลตระหนักและพิจารณาใช้ อินทรีย์ 6 ก็จะเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่จะ นำสู่การเกิดปัญญา
3. เป็นระบบสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก กระบวนการเรียนรู้ ต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยภายนอก ได้ แก่ เสียง สื่อ สิ่งเร้าจากภายนอก เรียกว่า ปรโตโฆสะ และ ปัจจัยภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ คือ การรู้จักคิด รู้จักมอง รู้จักพิจารณา อย่างถูกวิธี
ดังนั้น กระบวนการเรียนรู้ที่บุคคล ใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง คนก็จะเกิดการพัฒนาขึ้น การศึกษาก็เริ่มขึ้น เกิดการพัฒนาความต้องการใหม่ เมื่อรู้จักการเรียนรู้ก็จะเกิดความรู้ใหม่ เกิดการใฝ่รู้และตอบสนองความต้องการได้ก็จะเกิดความสุข
กล่าวคือ เกิดองค์ความรู้และเกิดความสุขจากการเรียนรู้ ถ้ากระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างถูกต้อง ความสุขก็จะตามมาในตัวของมันเอง
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาคุณภาพประชากร จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ เป็นสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง วิธีคิด การตีความ การให้คุณค่า การประยุกต์ความรู้และการนำไปสู่การพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาในแต่ละประเทศ ภายใต้บริบทที่ ต่างกัน
การนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายหลักของการพัฒนา เพื่อสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติ ของประเทศภูฏาน ก็คือ การที่รัฐได้อาศัยแนวคิดเรื่องความสุข ซึ่งในบริทบ (Context) ของภูฏานแล้ว การตีความเรื่องความสุข อยู่บนฐานของความเชื่อทางพระพุทธศาสนา (แบบวัชรยาน)
นั่นคือ การมองถึงทางดับทุกข์ แก้ข้อผูกมัดของอัตตา ที่เห็นความสุขภายในเป็นเป้าหมายสูงสุด ดังนั้นเป้าหมายการพัฒนาความสุข หรือ การสร้างความสุขบนฐานคติที่เชื่อว่า
1. ความสุขภายในคือเป้าหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ วัตถุเป็นเพียงอุปกรณ์เติมเต็มความปรารถนาของมนุษย์
2. ประชากรที่มีความสุข ก็คือ ประชากรที่มีความเป็นอยู่ที่สมดุลทั้งกายและจิต นัยความหมายคุณภาพประชากรของภูฏานจึงตีความได้ว่า คุณภาพประชากรเกิดจากการมีความสุขเป็นพื้นฐาน
3. ประชากรมีความสุขภายในจิตที่สมบูรณ์โดยกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สมบูรณ์
เนื่องจากว่า ค่านิยมโดยทั่วไปของสังคมชาวภูฏาน ตามที่ยึดถือปฏิบัติกันมาก็คือ จริยธรรมและศีลธรรมแบบชาวพุทธ (Rose, Leo .The politics of Bhutan,2001)
วิถีปฏิบัติและความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นรากฐานค่านิยม (Values) ของชาวภูฏาน ที่ตีความผ่านการมองจากมุมของศาสนาเป็นหลัก ฉะนั้น เป้าหมายความสุขจึงครอบคลุมอยู่เหนือทุกรูปการของชีวิตรวมทั้งมิติทางเศรษฐกิจ จึงไม่ใช่ความต้องการทางวัตถุที่เพิ่มทวีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้วยการบริโภค
หากแต่เป็น การทำให้มนุษย์มีคุณธรรมยิ่งขึ้น ปรัชญาทางศีลธรรมของพระพุทธศาสนาในภูฏานจึงมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนา นำไปสู่การให้คำนิยามของความสุข โดยเห็นว่า ความอยู่ดีมีสุขเกิดจากความกลมกลืนทางจิตวิญญาณและวัตถุ
ดังนั้น ความสุขมวลรวมประชาชาติ ของภูฏาน จึงเกิดขึ้นบนพื้นฐานของศาสนาพุทธ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำให้เกิด วิธีคิดชุดนี้ ซึ่งแน่นอนว่า การให้ความหมายเรื่องความสุขดังกล่าว ย่อมจะได้รับการวิพากย์วิจารณ์จากเนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ทางตะวันตกที่มองว่าขาดเหตุผลและตัวชี้วัดที่ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม กระบวนการเรียนรู้ เรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ได้ส่งผ่าน องค์กร (Agent) ทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย สถาบันหลักทางสังคม อยู่หลาย สถาบันที่เห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับ กระบวนการเรียนรู้ในเรื่อง ความสุขมวลรวมประชาชาติ ของประเทศภูฏาน ในที่นี้จึงจะนำมาวิเคราะห์เพียง 5 สถาบัน เท่านั้น
1. สถาบันครอบครัว (Family) ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดสถาบันหนึ่งในด้านการก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ แรกเริ่มของระบบสังคม และ ส่งผ่านความรู้และการเรียนรู้ในเบื้องต้นในครอบครัว ก่อให้เกิดประสบการณ์และการเรียนรู้พื้นฐานของชีวิต และยังเป็นสถาบันที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่มีบทบาทต่อการเรียนรู้ของปัจเจกและสังคมอย่างมาก
2. สถาบันการศึกษา (Schooling) เป็นสถาบันที่สร้างการเรียนรู้ให้กับบุคคลอย่างเป็นระบบ รวมทั้งได้รับการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความรู้ที่จะจัดสรรให้กับบุคคลเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอน ด้วยช่วงวัยอายุและประสบการณ์ของผู้เรียนรู้
3.สถาบันศาสนา (Religion ) เป็นสถาบันที่สร้างการเรียนรู้ในเรื่องการให้คุณค่า ความดีงาม อุดมคติ คุณธรรมจริยธรรม รวมทั้ง กระบวนการเรียนรู้ในเรื่องของจิตใจและความสุขที่ไม่อิงอยู่กับเรื่องวัตถุ
4.สถาบันการการเมืองการปกครอง (Politics) สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นสถาบันที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการยอมรับสิทธิเสรีภาพ การกำหนดบทบาทและหน้าที่ กฎหมายและข้อบังคับ ที่สังคมสร้างขึ้นเป็นกรอบปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
5.สถาบันสื่อมวลชน (Mass media) ในโลกยุคปัจจุบัน สื่อสารมวลชนมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่ง การเปลี่ยนแปลงคุณค่า การให้ความสำคัญ ประเพณีวัฒนธรรม ถูกส่งผ่านช่องทางของสื่อมวลชนและสร้างอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของบุคคลเป็นอย่างมาก
พันธกิจและเป้าหมายทางประชากรของแห่งราชอาณาจักรภูฏาน
การบริหารงานของราชอาณาจักรภูฏานมี 10 กระทรวง โดยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจมุ่งเน้นในการพัฒนาประเทศภูฏานบนฐานความเชื่อเรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ
โดยร่วมกำหนดพันธกิจว่าจะต้องมุ่งทำงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของความสุขมวลรวมประชาชาติที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง (The Royal Government of Bhutan has 10 ministries which work in bringing the goal of Gross National Happiness closer to reality.) (www.bhutan.go.bt)
ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ด้วยความที่ภูฏานเอง ยังคงเป็นประเทศที่ความเป็นโลกาภิวัตน์เข้าไม่ถึงได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และยังคงเป็นประเทศที่ยึดมั่นในคำสอนทางพระพุทธศาสนานิกายวัชรยานเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ดังนั้น ความสุขทางกายและจิตจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร เป้าหมายทางประชากรของ ประเทศภูฏานจึง หมายถึง การสร้างเสริมความสุขให้กับประชากรบนรากฐานทางอัตลักษณ์ของภูฏาน (Maximizing of Happiness based on Bhutan’s identities)
กระบวนการมุ่งสู่การสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติจึงหมายถึง การสร้างสังคมแห่งความสุข หรือ GNH society ภูฏาน ได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาจนถึงปัจจุบัน อยู่ในระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2550 แผนการพัฒนาของภูฏานก็ยืนอยู่บนฐานความเชื่อในด้านการพัฒนาความสุขมวลรวมประชาชาติเป็นหลัก.
ในตอนต่อไปจะได้วิเคราะห์ กระบวนการเรียนรู้เรื่องความสุขมวลรวมประชาชาติ การถอดบทเรียน ของการพัฒนาคุณภาพประชากร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของวิถีโลก และกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ที่เข้ามาพร้อมกับทุนนิยมเสรี ในปัจจุบัน ภูฏานจะเปลี่ยนแปลงและดำรงอัตลักษณ์ของตนอย่างไร ? โปรดติดตามอ่านต่อตอนจบ ในตอนต่อไป หรือเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.src.ac.th
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =5&gblog=1
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."