RIP : Walter Schloss ซุปเปอร์เต่าตัวใหญ่ Super Investor
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4641
- ผู้ติดตาม: 0
RIP : Walter Schloss ซุปเปอร์เต่าตัวใหญ่ Super Investor
โพสต์ที่ 1
เมื่อผมหัดเล่นหุ้นเป็นเต่าน้อย หัดอ่านหนังสือเล่มแรก ๆ ในท้ายบทของ Intelligent Investor มีคำนิยมที่กล่าวถึง Walter Schloss รวมถึงความที่ท่านเป็นเกลอกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ณ วันเริ่มต้นของการหัดเป็นวีไอ สติปัญญาของผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับบัฟเฟตต์ไม่เข้าใจ ฟังเค้าพูดก็ไม่เข้าใจ อ่านหนังสือของฟิชเชอร์พ่อลูกยิ่งยากไปใหญ่
ผมเริ่มต้นสนใจ Walter Schloss เพราะง่าย แนวทางของท่านก็เข้าใจได้ง่าย ผมเองก็ใช้แนวทางของท่านอยู่เป็นปี ๆ ในจุดเริ่มต้นของการลงทุนแบบวีไอ ก็นับว่าท่านเป็นครูผู้มีพระคุณในการดึงความสนใจของผมออกมาจากกราฟต่าง ๆ ผมใช้เวลาในการฝึกลงทุนด้วยวิธีของท่านอยู่ได้ 2-3 ปี รวมถึงสะสมบทสัมภาษณ์ต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ของท่านตั้งแต่ก่อนที่ผมจะมาเล่นบอร์ดของ ThaiVI
จนถึงวันนี้แนวทางของผมเปลี่ยนไปมาก มีพัฒนาการที่ก้าวหน้า แต่นั่นเป็นเพราะท่านได้วางรากฐานไว้ให้ผม
ในวันที่ท่านจากไป 29 กุมภาพันธ์ 2555 นี้ผมในฐานะศิษย์ขอรำลึกพระคุณของอาจารย์ครับ
Mr. Schloss grew up in Manhattan, attended Franklin School and the New York Stock Exchange Institute, where he studied under Benjamin Graham. He enlisted in the Army on December 8, 1942, rising to the rank of Second Lieutenant. He served in Iran as part of the US Signal Corps, finishing out his wartime service at the Pentagon. At the end of WWI, he was invited by Benjamin Graham to join the firm of Graham Newman as a securities analyst. In 1955 Mr. Schloss set up his own investment management partnership, Walter J. Schloss Associates. His son, Edwin, joined the company in 1973. Walter managed investments with utmost integrity and a commitment to his clients. He retired in 2002 at the age of 87.
สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ผมก็จะพยายามถ่ายทอดให้ได้มากที่สุด บทความด้านล่างผมแปล (แบบถอดใจความไม่ได้เรียบเรียงตามตัวอักษร) ไว้นานแล้วก่อนมาเล่นบอร์ด ThaiVI ผมก็ขอนำมาแชร์ไว้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของอาจารย์ครับ
.................
บทสัมภาษณ์ วอลเตอร์ ซลอชส์ สงบสยบเคลือนไหว นิ่งประดุจดังเหยี่ยวถลาลม
ในช่วงภาวะตลาดเป็นขาลงนักลงทุน VI คงมีงานทำกันเยอะไล่เก็บหุ้นกันเป็นพัลวัน คำนวณ ค่าเผื่อความปลอดภัยกันวุ่นวาย ช่วงตลาดขาขึ้นหลายคนก็คงง่วนกับการขาย และคงกำลังสับสนระหว่าง “ขาย” และ “ถือ” ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ควรทำกันแน่?
แต่พอดีไอ้คน “ดื้อ” อย่างผมมันตั้งใจไว้แล้วว่าจะไม่ขายตลอดชีวิต โดยมีข้อแม้คือ 1) Odd ของการลงทุนไม่ลดลง และ 2) มีการกระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล ฟังดูแล้วอาจมีแนวทางแตกต่างจากหลายท่านอื่น ๆ แต่ทั้งสองข้อ มีรายละเอียดมากทีเดียว โดยอ้างอิงจากหนังสือหลายเล่ม บวก ประสบการณ์ส่วนตัว ผมตั้งใจจะเขียนไว้เป็นบทความต่อไป
ดังนั้น ช่วงหุ้นขึ้น ก็เลยยิ่งต้องทำการบ้านหนัก แต่ไม่ได้ทำการบ้านเรื่อง “ขาย” หรือ “ถือ” นะครับ ผมทำการบ้านหนักเรื่อง “ซื้อ” เพราะในช่วงนี้มันซื้อยาก แต่ก็ไม่แน่ครับ เบนจามิน เกรแฮม บอกว่าจังหวะการซื้อมีทุกเวลา ไม่ใช่เฉพาะภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยเท่านั้น
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ผมใช้เวลาก็คือ อ่านหนังสือและบทความของครูบาอาจารย์ที่ผมนับถือ ในเชิงลงทุน หลาย ๆ คนในนั้นคือ Walter Schloss เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักเค้าดีอยู่แล้ว ลองมาฟังมุมมองของเค้ากัน บทสัมภาษณ์นี้เค้าได้สัมภาษณ์ไว้กับนิตยสาร Forbes เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2551 ครับ
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี Schloss ยึดมั่นในแนวทางของตนเองมาตลอด บัฟเฟตต์เคยพูดว่า ตัวเค้าเองไม่มีอิทธิพลกับ Schloss มากนัก และจนถึงวันนี้ จนวัยเข้าสู่เลข 9 ผมเชื่อว่า Schloss เองก็ยังยึดมั่นในแนวทางของตนเองอยู่
......................................................................................................................................................................................
เรียบเรียงเฉพาะเนื้อหาจากต้นฉบับ (มิใช่แปลตามตัวอักษร) จาก
Forbes Magazine dated February 11, 2008
“จนย่างวัยเข้าเลข 9 แล้ว ชายผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยร่วมงานกับอาจารย์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีท เบนจามิน เกรแฮม และผู้ชายที่เพื่อนของเค้า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ขนานนามให้เป็นสุดยอดนักลงทุน แม้จนปัจจุบัน เค้ายังคงยึดมันในแนวทางเดิม – การเลือกลงทุนในหุ้นที่ไม่มีใครเอา”
จนปัจจุบัน ซลอชส์ ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว 17 ครั้ง และเค้าก็ทำรายได้นับครั้งไม่ถ้วนจากมัน
อะไรจะเกิดกับเศรษฐกิจในวันข้างหน้า ไม่ใช่สิ่งที่เค้าจะต้องกังวล
เค้ากล่าวว่า “ผมนิยมในหุ้นราคาถูกเช่น บริษัทผลิตล้อรถยนต์ในสภาวะดิ้นรนเอาตัวรอด หรือบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่กำลังขาดทุน”
คุณลุงคิ้วหนาคนนี้ กำลังพูดในสิ่งที่ นักซื้อ-ขายหุ้นประเภทเงินด่วน รวดเร็วทันใจ ไม่มีวันเข้าใจแม้จนปัจจุบัน เค้าไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ เค้าดูราคาหุ้นจากหนังสือพิมพ์! ข้อมูลทางการลงทุนส่วนใหญ่เค้าได้รับทางไปรษณีย์ จากบริษัท Value Line
มันเป็นเกมส์ที่เค้าถนัด แม้นว่าเค้าจะเลิกบริหารเงินของคนอื่นแล้วตั้งแต่ปี 2546 แต่เฉพาะบัญชีของเค้าอย่างเดียว เค้าเป็นผู้จัดการของตัวเค้าเอง เค้าสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 16% ตลอดระยะเวลากว่า ห้าสิบปี (ปัจจุบันพอร์ทการลงทุนหลายล้านดอลลาห์ของเค้าภายใต้การดูแลของได้อยู่ในการควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ซึ่งอายุน้อยเพียง 30 กว่า)
ในยุคคอมพิวเตอร์ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วฉับไว ลองมาฟัง ซลอชส์ พุดถึงแนวทางที่ “ง่าย” รูปแบบการลงทุนแบบธรรมดา ๆ แต่สำหรับ ซลอชส์ มันคือสิ่งกระตุ้นจิตใจตนเองที่ดี
“คุณลองดูนีสิครับ” ซลอชส์ ชักชวนให้ดูรายชื่อของ หุ้นที่มีผลงานที่แย่มาก ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์
หลังจากลาออกจากการทำงานกับเกรแฮม ตลอดระยะเวลาของการเป็นศิลปินเดี่ยว เค้าประพฤติประดุจเดียวกับพวก เฮดจ์ฟันด์ เค้าไม่คิดค่าบริหารกองทุน แต่เค้าจะหัก 25% จากกำไรที่ได้รับ เค้าไม่มีนักวิเคราะห์ผู้ช่วย ไม่มีแม้แต่เลขานุการ เค้าและลูกชายเค้า เออร์วินน์ (ซึ่งมาร่วมงานกับเค้าในปี พ.ศ. 2516) ทำงานในห้อง ห้องเดียวที่เต็มไปด้วยตารางและกราฟต่าง ๆ ของ Value Line
ในปี พ.ศ. 2525 สุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงของบัฟเฟตต์เรื่อง "The Superinvestor of Graham-and-Doddsville”
บัฟเฟตต์เล่าว่า ซลอชส์ จะเถียงชนิดหัวชนฝากับทฤษฎีเรื่อง ETF (Efficient Market Theory) สมมุติฐานของทฤษฎีนี้คือตลาดนั้นมีประสิทธิภาพและรับรู้ข้อมูลทั้งหมด ดังนั้นคำว่าหุ้นถูกไม่มีอยู่จริงในตลาดหลักทรัพย์ หรือมิฉะนั้นก็มีเพียงแค่ไม่กี่คนบนโลกเท่านั้นที่สามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ
ถ้ามีใครสักคนถามเค้าว่ารู้สึกอย่างไรกับสมญานาม Super investor เค้าตอบว่า “อื้อ, ไอ้ผมก็แค่ลงทุนแล้วไม่อยากเสียเงิน”
นิสัยประหยัดมัธยัสถ์ ดูจะเป็นลักษณะประจำของเขา แอนนาภรรยาเค้าเล่าว่า ซลอชส์ พาเธอเดินรอบบ้านเพื่อปิดไฟที่ไม่ใช่ รวมถึงการที่เค้ามีเทคนิคพิเศษในการแกะแสตมป์ที่ไม่ใช่ออกจากซองจดหมาย “ผมจะต้องจ่ายเงินให้เปลืองทำไม?” ซลอชส์ กล่าว
Adam Smith เขียนเรื่องราวของ ซลอชส์ ไว้ในหนังสือคลาสสิคของเค้าเรื่อง Supermoney ว่า ซลอชส์ ทำให้เค้าประหลาดใจกับคำว่า “หุ้นก้นบุหรี่” ยกตัวอย่างเช่น Jeddo Highland และ New York Trap Rock
ซลอชส์ จากคำบอกเล่าของผู้เขียนเป็นผู้ที่มีบุคลิคไม่โดดเด่นอะไร ไม่ได้เป็นผู้แข่งขันในวอลล์สตรีทในปี พศ. 2473 ทุกวันนี้เค้าทำงานอยู่ในอพาร์ทเมนท์ในแมนฮัตตันภูมิใจกับเงินทุนของเค้าและมีความสุขแบบเรียบง่าย
“ดูเจ้าเหยี่ยวตัวนั้นสิ!” ซลอชส์ ชี้ให้ดูนกเหยี่ยวถลาลมอยู่เหนือเซ็นทรัลพาร์ค
บริษัทหนึ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจด้วยวิธีการของซลอชส์ นั่นคือผู้ผลิตล้อรถ Superior Industries International ยอดขายสามไตรมาส ป่วยลงตามยอดขายของ GM และ Ford รายได้ตกต่ำในรอบห้าปี ซลอชส์หยิบ Value line ขึ้นมาดูในห้องรับแขก แล้วไล่นิ้วไปทีละบรรทัด แล้วมาสะดุดอยู่ตรงบรรทัดของหุ้นที่เค้าชอบ ขายอยู่ที่ 80% ของมูลค่าทางบัญชี มีปันผล 3% และไม่มีหนี้
“หลายคนกล่าวว่า ปีหน้าจะมีรายได้เท่าไร?”
สำหรับผม ผมโฟกัสที่สินทรัพย์ ถ้าหากคุณไม่มีหนี้ มันควรค่าพอที่จะทำอะไรได้ซักอย่างให้เกิดขึ้น
ซลอชส์หาบริษัทในอุดมคติโดยดูว่ามีส่วนลดจาก book value ไม่มีหนี้หรือมีน้อยมาก และผู้บริหารที่ถือหุ้นซึ่งนั่นจะทำให้เค้ามีสิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้น ถ้าเค้าชอบหุ้นตัวนั้น เค้าจะซื้อน้อย ๆ ก่อน เพื่อที่จะได้ financial statements และ proxies เค้าอ่านเอกสารเหล่านั้น ให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่อยู่ใน footnotes คำถามนึงที่สำคัญมากสำหรับเค้า “ผู้บริหารซื่อสัตย์ ใช่หรือไม่ (หมายความว่าไม่โลภจนเกินไปใช่หรือไม่)” นั่นสำคัญกับเค้ามากกว่าผู้บริหารคนนั้นฉลาดหรือไม่
ผู้บริหารที่รันบริษัท Hollinger International เป็นคนที่ฉลาดแต่โลภ และนั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับนักลงทุน
ซลอชส์ ไม่ได้เข้าใจธุรกิจของบริษัทดีตั้งแต่เริ่มและไม่เคยพูดคุยกับผู้บริหาร เค้าไม่เคยคิดมากเรื่องเวลา – ฉันซื้อที่จุดที่ถูกที่สุดรึเปล่านะ, ฉันขายจุดที่สูงที่สุดรึเปล่านะ หรือโมเมนตัม เค้าไม่เคยคิดถึงเรื่องเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่เค้าจะทำงานอยู่ระหว่างเวลา เก้าโมงเช้า ถึงสี่โมงเย็นครึ่ง หลังจากตลาดปิดครึ่งชั่วโมง
ซลอชส์ได้รับรางวัลในปี 1934 edition of Graham’s Security Analysis เค้าก็แค่พลิกผ่าน ๆ ทุกวันนี้มันยังติดอยู่ที่ผนังด้วยสก๊อตเทปสามอันในห้องเล็ก ๆ ที่เค้าทำงานเป็นเหมือน hall เล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยรูปตลก ๆ ของวอร์เรนบัฟเฟตต์ ใต้ภาพบรรยายบรรยายเกิยรติคุณโดยชื่อเล่นของเค้า Big Walt
ซลอชส์เปิดฉากชีวิตความเป็น นักล่าคุณค่าผู้มีชื่อเสียงครั้งแรกในงานประชุมประจำปีของผู้ค้าส่ง Marshall Wells มหาเศรษฐีในอนาคนนี้ได้อธิบายชัดถึงวิธีการของเค้า การคัดเลือกหุ้นตัวที่ซื้อขายกันที่ราคาต่ำว่า net working capital ( เงินสด, สินค้าคงคลัง และลูกหนี้ ลบ หนี้สินหมุนเวียน) นั่นเป็นตัวเลขที่โปรดปรานของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา Graham-Newman บริษัทที่ ซลอชส์ เข้าร่วมหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บัฟเฟตต์เข้าร่วมบริษัทหลังจากการประชุม Marshall Wells ใช้ออฟฟิตร่วมกับ ซลอชส์ ที่เมืองนิวยอร์ก ตึก Chanin บน East 42nt Street
ซลอชส์ออกจากบริษัทของเกรแฮมเมื่อปี 1955 ด้วยเงินหนึ่งแสนเหรียญจากนักลงทุน 19 คน เค้าเริ่มต้นซื้อ Working Capital Stock ตามสไตล์ของเค้า เช่น บริษัทผลิตที่นอน Burton-Dixie และผู้ค้าส่งเหล้าอย่าง Schenley อินดัสตรี จวบจนวันนี้ในวัย 92 ความสำเร็จมากมายมาสู่เค้า แต่เค้าไม่เคยทำการตลาดกองทุนของเค้า หรือเปิดกองทุนอื่น ๆ เค้าเก็บเงินที่ได้จากการลงทุน และคืนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมในแต่ละปี ยกเว้นผู้ถือหุ้นบอกให้นำไปลงทุนเพิ่ม ในปี 1960 S&P เพิ่มขึ้น ครึ่งเปอร์เซ็นต์ แต่ซลอชส์ได้ผลตอบแทนถึง 7% หุ้นแห่งชัยชนะตัวนึงคือ Fownes Brothers & Co., ผู้ผลิตถุงมือ ซลอชส์ซื้อมาในราคาสองเหรียญ (ต่ำกว่า Working Cap) และขายไปในราคา 15 เหรียญ
แม้ในยุค 80 หรือ 90 เค้ายังคงพบเจอหุ้นแห่งชัยชนะเรื่อยมาจนกระทั่ง ความหมายของสินค้าคงคลังและลูกหนี้ลดน้อยความสำคัญลง เค้าก็เริ่มเปลี่ยนวิธีการโดยเสาะหาหุ้นต่ำกว่า Book Value แต่จังหวะการเคลื่อนไหวของตลาดยังคงขึ้นลง ซลอชส์ ค้นพบว่าเค้ามักจะซื้อแม้ว่าราคามันยังจะไหลลงไปอีกลึก และบางครั้งเค้าขายเร็วเกินไป ซลอชส์ซื้อ Lehman Brothers ต่ำกว่า Book และขายไปโดยเค้าได้กำไรประมาณ 75% แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน Lehman Brothers บวกขึ้นไปสามเท่าของราคา
เหมือนเช่นเคยข้อสันนิษฐานของเค้ายังคงแม่นยำเสมอ เค้าชอร์ต Yahoo และ Amazon ก่อนที่ตลาดจะโซซัดโซเซและพังทลายลงมาในปี 2000 หลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ยากที่จะหาหุ้นถูกในตลาด เค้าและเอ็ดวิน ขายหุ้นทั้งหมดได้เงินประมาณ 130 ล้านเหรียญ ซลอชส์ เดินออกจากตลาดด้วยกำไรเพิ่มขึ้น 28% ในปี 2000 และ 12% ในปี 2001 โดยที่ S&P -9% และ -12% ตามลำดับ
ปัจจุบัน S&P ปรับตัวลงมากว่า 15% จากจุดสูงสุด ซลอชส์ กล่าวว่าเค้ายังไม่ค่อยเจอหุ้นราคาถูก เค้ามีเงินสดประมาณ 30% ของพอร์ต “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ถ้ามาจริงก็คงไม่มีผลอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงเค้ามากนัก “มันก็มีคนจำนวนมากอยู่ทั่วไปที่อ่านหนังสือของเกรแฮม” เค้ากล่าว
เค้ายังคงเฝ้าเสาะหาหุ้นฉลาด ๆ ถูก ๆ อย่างไม่หยุดหย่อน ตัวที่อยู่บนสุดของลิสต์ของเค้าในขณะนี้ CNA Financial เทรดกันอยู่ที่ 10% ต่ำกว่าราคาบุ๊ค ราคาของมันร่วงลงมา 18% ภายในปีเดียว บริษัทประกันรายนี้มีหนี้น้อย และ 89% ของสต๊อกถือโดย Loew Corp ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเศรษฐีในตระกูล Tisch ซลอชส์กล่าวว่า “ซื้อถ้ามันถูกกว่านี้” ผมคงพูดไม่ได้หรอกนะครับว่าคุณจะกำไรรึเปล่าถ้าซื้อมัน แต่ผมต้องการความปลอดภัยมากกว่าคำปลอบใจ
“แล้วก็นะครับ ถ้ามันตกลงมาก็ให้เป็นหน้าที่ของ ตระกูล Tisch ที่ต้องกังวลไม่ใช่ผม”
ซลอชส์เปิดดู Value Line อีกครั้งคราวนี้เค้าหยุดที่หน้า 885 Bassett Furniture บริษัทผู้ผลิตโต๊ะและเก้าอี้รายนี้เทรดอยู่ที่ 40% ต่ำกว่าบุ๊คและยังใจป้ำจ่ายปันผล 7% เค้ากล่าวว่ามันต้องมีบางอย่างที่ทำให้บุ๊คแวลลู ไม่ขยับ การจ่ายปันผลมีผลอย่างไรกับบริษัทนี้ ข้อสันนิษฐานของเค้าคือ ควรจะเข้าซื้อบริษัทนี้เมื่อบริษัทนี้เริ่มที่จะไม่จ่ายปันผล และเชื่อมั๊ยว่าราคาของ Bassett Furniture น่าจะต่ำกว่านี้
ถ้ารออีกนิดที่จะซื้อบริษัทผู้ผลิตล้อ Superior ที่เรากล่าถึงในย่อหน้าด้านบน นับเป็นเวลา 2 ปีหลังจากเค้าซื้อมันมา ราคาหุ้นตกลงมาหนึ่งในสาม แต่สำหรับ ซุปเปอร์อินเวสเตอร์อย่าง ซลอชส์ แล้ว การที่หุ้นตกไม่ใช่ประเด็น เค้าผ่านเหตุการณ์ที่เห็นหุ้นตกมานับครั้งไม่ถ้วนด้วยปรัชญาและความเชื่อมั่นว่าอย่างไรก็ตามราคาหุ้นควรจะเท่ากับมูลค่าของมันเป็นอย่างน้อย สำหรับเค้ามันจะไม่มีวันตกต่ำกว่ามูลค่าของมัน!
ก่อนจะจบบทสัมภาษณ์บทนี้ ซลอชส์ ฝากคำถามสำคัญเอาไว้ให้เรา
“แล้วคุณล่ะ ถ้าเป็นคุณ คุณจะสามารถยอมรับการตกลงของราคาหุ้นได้ถึงเท่าไร?”
…………………………………………………………….
ในทางการลงทุนแล้วผมเคารพท่านเป็นครูคนที่สำคัญของผมทีเดียว
เรียบเรียงโดย Cat-rule
Nov 2009
ณ วันเริ่มต้นของการหัดเป็นวีไอ สติปัญญาของผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับบัฟเฟตต์ไม่เข้าใจ ฟังเค้าพูดก็ไม่เข้าใจ อ่านหนังสือของฟิชเชอร์พ่อลูกยิ่งยากไปใหญ่
ผมเริ่มต้นสนใจ Walter Schloss เพราะง่าย แนวทางของท่านก็เข้าใจได้ง่าย ผมเองก็ใช้แนวทางของท่านอยู่เป็นปี ๆ ในจุดเริ่มต้นของการลงทุนแบบวีไอ ก็นับว่าท่านเป็นครูผู้มีพระคุณในการดึงความสนใจของผมออกมาจากกราฟต่าง ๆ ผมใช้เวลาในการฝึกลงทุนด้วยวิธีของท่านอยู่ได้ 2-3 ปี รวมถึงสะสมบทสัมภาษณ์ต่าง ๆ เท่าที่จะหาได้ของท่านตั้งแต่ก่อนที่ผมจะมาเล่นบอร์ดของ ThaiVI
จนถึงวันนี้แนวทางของผมเปลี่ยนไปมาก มีพัฒนาการที่ก้าวหน้า แต่นั่นเป็นเพราะท่านได้วางรากฐานไว้ให้ผม
ในวันที่ท่านจากไป 29 กุมภาพันธ์ 2555 นี้ผมในฐานะศิษย์ขอรำลึกพระคุณของอาจารย์ครับ
Mr. Schloss grew up in Manhattan, attended Franklin School and the New York Stock Exchange Institute, where he studied under Benjamin Graham. He enlisted in the Army on December 8, 1942, rising to the rank of Second Lieutenant. He served in Iran as part of the US Signal Corps, finishing out his wartime service at the Pentagon. At the end of WWI, he was invited by Benjamin Graham to join the firm of Graham Newman as a securities analyst. In 1955 Mr. Schloss set up his own investment management partnership, Walter J. Schloss Associates. His son, Edwin, joined the company in 1973. Walter managed investments with utmost integrity and a commitment to his clients. He retired in 2002 at the age of 87.
สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ผมก็จะพยายามถ่ายทอดให้ได้มากที่สุด บทความด้านล่างผมแปล (แบบถอดใจความไม่ได้เรียบเรียงตามตัวอักษร) ไว้นานแล้วก่อนมาเล่นบอร์ด ThaiVI ผมก็ขอนำมาแชร์ไว้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของอาจารย์ครับ
.................
บทสัมภาษณ์ วอลเตอร์ ซลอชส์ สงบสยบเคลือนไหว นิ่งประดุจดังเหยี่ยวถลาลม
ในช่วงภาวะตลาดเป็นขาลงนักลงทุน VI คงมีงานทำกันเยอะไล่เก็บหุ้นกันเป็นพัลวัน คำนวณ ค่าเผื่อความปลอดภัยกันวุ่นวาย ช่วงตลาดขาขึ้นหลายคนก็คงง่วนกับการขาย และคงกำลังสับสนระหว่าง “ขาย” และ “ถือ” ว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ควรทำกันแน่?
แต่พอดีไอ้คน “ดื้อ” อย่างผมมันตั้งใจไว้แล้วว่าจะไม่ขายตลอดชีวิต โดยมีข้อแม้คือ 1) Odd ของการลงทุนไม่ลดลง และ 2) มีการกระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล ฟังดูแล้วอาจมีแนวทางแตกต่างจากหลายท่านอื่น ๆ แต่ทั้งสองข้อ มีรายละเอียดมากทีเดียว โดยอ้างอิงจากหนังสือหลายเล่ม บวก ประสบการณ์ส่วนตัว ผมตั้งใจจะเขียนไว้เป็นบทความต่อไป
ดังนั้น ช่วงหุ้นขึ้น ก็เลยยิ่งต้องทำการบ้านหนัก แต่ไม่ได้ทำการบ้านเรื่อง “ขาย” หรือ “ถือ” นะครับ ผมทำการบ้านหนักเรื่อง “ซื้อ” เพราะในช่วงนี้มันซื้อยาก แต่ก็ไม่แน่ครับ เบนจามิน เกรแฮม บอกว่าจังหวะการซื้อมีทุกเวลา ไม่ใช่เฉพาะภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยเท่านั้น
แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ผมใช้เวลาก็คือ อ่านหนังสือและบทความของครูบาอาจารย์ที่ผมนับถือ ในเชิงลงทุน หลาย ๆ คนในนั้นคือ Walter Schloss เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักเค้าดีอยู่แล้ว ลองมาฟังมุมมองของเค้ากัน บทสัมภาษณ์นี้เค้าได้สัมภาษณ์ไว้กับนิตยสาร Forbes เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2551 ครับ
ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี Schloss ยึดมั่นในแนวทางของตนเองมาตลอด บัฟเฟตต์เคยพูดว่า ตัวเค้าเองไม่มีอิทธิพลกับ Schloss มากนัก และจนถึงวันนี้ จนวัยเข้าสู่เลข 9 ผมเชื่อว่า Schloss เองก็ยังยึดมั่นในแนวทางของตนเองอยู่
......................................................................................................................................................................................
เรียบเรียงเฉพาะเนื้อหาจากต้นฉบับ (มิใช่แปลตามตัวอักษร) จาก
Forbes Magazine dated February 11, 2008
“จนย่างวัยเข้าเลข 9 แล้ว ชายผู้ที่ครั้งหนึ่งเคยร่วมงานกับอาจารย์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีท เบนจามิน เกรแฮม และผู้ชายที่เพื่อนของเค้า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ขนานนามให้เป็นสุดยอดนักลงทุน แม้จนปัจจุบัน เค้ายังคงยึดมันในแนวทางเดิม – การเลือกลงทุนในหุ้นที่ไม่มีใครเอา”
จนปัจจุบัน ซลอชส์ ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาแล้ว 17 ครั้ง และเค้าก็ทำรายได้นับครั้งไม่ถ้วนจากมัน
อะไรจะเกิดกับเศรษฐกิจในวันข้างหน้า ไม่ใช่สิ่งที่เค้าจะต้องกังวล
เค้ากล่าวว่า “ผมนิยมในหุ้นราคาถูกเช่น บริษัทผลิตล้อรถยนต์ในสภาวะดิ้นรนเอาตัวรอด หรือบริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่กำลังขาดทุน”
คุณลุงคิ้วหนาคนนี้ กำลังพูดในสิ่งที่ นักซื้อ-ขายหุ้นประเภทเงินด่วน รวดเร็วทันใจ ไม่มีวันเข้าใจแม้จนปัจจุบัน เค้าไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ เค้าดูราคาหุ้นจากหนังสือพิมพ์! ข้อมูลทางการลงทุนส่วนใหญ่เค้าได้รับทางไปรษณีย์ จากบริษัท Value Line
มันเป็นเกมส์ที่เค้าถนัด แม้นว่าเค้าจะเลิกบริหารเงินของคนอื่นแล้วตั้งแต่ปี 2546 แต่เฉพาะบัญชีของเค้าอย่างเดียว เค้าเป็นผู้จัดการของตัวเค้าเอง เค้าสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 16% ตลอดระยะเวลากว่า ห้าสิบปี (ปัจจุบันพอร์ทการลงทุนหลายล้านดอลลาห์ของเค้าภายใต้การดูแลของได้อยู่ในการควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ซึ่งอายุน้อยเพียง 30 กว่า)
ในยุคคอมพิวเตอร์ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วฉับไว ลองมาฟัง ซลอชส์ พุดถึงแนวทางที่ “ง่าย” รูปแบบการลงทุนแบบธรรมดา ๆ แต่สำหรับ ซลอชส์ มันคือสิ่งกระตุ้นจิตใจตนเองที่ดี
“คุณลองดูนีสิครับ” ซลอชส์ ชักชวนให้ดูรายชื่อของ หุ้นที่มีผลงานที่แย่มาก ๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์
หลังจากลาออกจากการทำงานกับเกรแฮม ตลอดระยะเวลาของการเป็นศิลปินเดี่ยว เค้าประพฤติประดุจเดียวกับพวก เฮดจ์ฟันด์ เค้าไม่คิดค่าบริหารกองทุน แต่เค้าจะหัก 25% จากกำไรที่ได้รับ เค้าไม่มีนักวิเคราะห์ผู้ช่วย ไม่มีแม้แต่เลขานุการ เค้าและลูกชายเค้า เออร์วินน์ (ซึ่งมาร่วมงานกับเค้าในปี พ.ศ. 2516) ทำงานในห้อง ห้องเดียวที่เต็มไปด้วยตารางและกราฟต่าง ๆ ของ Value Line
ในปี พ.ศ. 2525 สุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงของบัฟเฟตต์เรื่อง "The Superinvestor of Graham-and-Doddsville”
บัฟเฟตต์เล่าว่า ซลอชส์ จะเถียงชนิดหัวชนฝากับทฤษฎีเรื่อง ETF (Efficient Market Theory) สมมุติฐานของทฤษฎีนี้คือตลาดนั้นมีประสิทธิภาพและรับรู้ข้อมูลทั้งหมด ดังนั้นคำว่าหุ้นถูกไม่มีอยู่จริงในตลาดหลักทรัพย์ หรือมิฉะนั้นก็มีเพียงแค่ไม่กี่คนบนโลกเท่านั้นที่สามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ
ถ้ามีใครสักคนถามเค้าว่ารู้สึกอย่างไรกับสมญานาม Super investor เค้าตอบว่า “อื้อ, ไอ้ผมก็แค่ลงทุนแล้วไม่อยากเสียเงิน”
นิสัยประหยัดมัธยัสถ์ ดูจะเป็นลักษณะประจำของเขา แอนนาภรรยาเค้าเล่าว่า ซลอชส์ พาเธอเดินรอบบ้านเพื่อปิดไฟที่ไม่ใช่ รวมถึงการที่เค้ามีเทคนิคพิเศษในการแกะแสตมป์ที่ไม่ใช่ออกจากซองจดหมาย “ผมจะต้องจ่ายเงินให้เปลืองทำไม?” ซลอชส์ กล่าว
Adam Smith เขียนเรื่องราวของ ซลอชส์ ไว้ในหนังสือคลาสสิคของเค้าเรื่อง Supermoney ว่า ซลอชส์ ทำให้เค้าประหลาดใจกับคำว่า “หุ้นก้นบุหรี่” ยกตัวอย่างเช่น Jeddo Highland และ New York Trap Rock
ซลอชส์ จากคำบอกเล่าของผู้เขียนเป็นผู้ที่มีบุคลิคไม่โดดเด่นอะไร ไม่ได้เป็นผู้แข่งขันในวอลล์สตรีทในปี พศ. 2473 ทุกวันนี้เค้าทำงานอยู่ในอพาร์ทเมนท์ในแมนฮัตตันภูมิใจกับเงินทุนของเค้าและมีความสุขแบบเรียบง่าย
“ดูเจ้าเหยี่ยวตัวนั้นสิ!” ซลอชส์ ชี้ให้ดูนกเหยี่ยวถลาลมอยู่เหนือเซ็นทรัลพาร์ค
บริษัทหนึ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจด้วยวิธีการของซลอชส์ นั่นคือผู้ผลิตล้อรถ Superior Industries International ยอดขายสามไตรมาส ป่วยลงตามยอดขายของ GM และ Ford รายได้ตกต่ำในรอบห้าปี ซลอชส์หยิบ Value line ขึ้นมาดูในห้องรับแขก แล้วไล่นิ้วไปทีละบรรทัด แล้วมาสะดุดอยู่ตรงบรรทัดของหุ้นที่เค้าชอบ ขายอยู่ที่ 80% ของมูลค่าทางบัญชี มีปันผล 3% และไม่มีหนี้
“หลายคนกล่าวว่า ปีหน้าจะมีรายได้เท่าไร?”
สำหรับผม ผมโฟกัสที่สินทรัพย์ ถ้าหากคุณไม่มีหนี้ มันควรค่าพอที่จะทำอะไรได้ซักอย่างให้เกิดขึ้น
ซลอชส์หาบริษัทในอุดมคติโดยดูว่ามีส่วนลดจาก book value ไม่มีหนี้หรือมีน้อยมาก และผู้บริหารที่ถือหุ้นซึ่งนั่นจะทำให้เค้ามีสิทธิในการเป็นผู้ถือหุ้น ถ้าเค้าชอบหุ้นตัวนั้น เค้าจะซื้อน้อย ๆ ก่อน เพื่อที่จะได้ financial statements และ proxies เค้าอ่านเอกสารเหล่านั้น ให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่อยู่ใน footnotes คำถามนึงที่สำคัญมากสำหรับเค้า “ผู้บริหารซื่อสัตย์ ใช่หรือไม่ (หมายความว่าไม่โลภจนเกินไปใช่หรือไม่)” นั่นสำคัญกับเค้ามากกว่าผู้บริหารคนนั้นฉลาดหรือไม่
ผู้บริหารที่รันบริษัท Hollinger International เป็นคนที่ฉลาดแต่โลภ และนั่นไม่ใช่สิ่งที่ดีสำหรับนักลงทุน
ซลอชส์ ไม่ได้เข้าใจธุรกิจของบริษัทดีตั้งแต่เริ่มและไม่เคยพูดคุยกับผู้บริหาร เค้าไม่เคยคิดมากเรื่องเวลา – ฉันซื้อที่จุดที่ถูกที่สุดรึเปล่านะ, ฉันขายจุดที่สูงที่สุดรึเปล่านะ หรือโมเมนตัม เค้าไม่เคยคิดถึงเรื่องเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่เค้าจะทำงานอยู่ระหว่างเวลา เก้าโมงเช้า ถึงสี่โมงเย็นครึ่ง หลังจากตลาดปิดครึ่งชั่วโมง
ซลอชส์ได้รับรางวัลในปี 1934 edition of Graham’s Security Analysis เค้าก็แค่พลิกผ่าน ๆ ทุกวันนี้มันยังติดอยู่ที่ผนังด้วยสก๊อตเทปสามอันในห้องเล็ก ๆ ที่เค้าทำงานเป็นเหมือน hall เล็ก ๆ ที่เต็มไปด้วยรูปตลก ๆ ของวอร์เรนบัฟเฟตต์ ใต้ภาพบรรยายบรรยายเกิยรติคุณโดยชื่อเล่นของเค้า Big Walt
ซลอชส์เปิดฉากชีวิตความเป็น นักล่าคุณค่าผู้มีชื่อเสียงครั้งแรกในงานประชุมประจำปีของผู้ค้าส่ง Marshall Wells มหาเศรษฐีในอนาคนนี้ได้อธิบายชัดถึงวิธีการของเค้า การคัดเลือกหุ้นตัวที่ซื้อขายกันที่ราคาต่ำว่า net working capital ( เงินสด, สินค้าคงคลัง และลูกหนี้ ลบ หนี้สินหมุนเวียน) นั่นเป็นตัวเลขที่โปรดปรานของบรรดาลูกศิษย์ลูกหา Graham-Newman บริษัทที่ ซลอชส์ เข้าร่วมหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บัฟเฟตต์เข้าร่วมบริษัทหลังจากการประชุม Marshall Wells ใช้ออฟฟิตร่วมกับ ซลอชส์ ที่เมืองนิวยอร์ก ตึก Chanin บน East 42nt Street
ซลอชส์ออกจากบริษัทของเกรแฮมเมื่อปี 1955 ด้วยเงินหนึ่งแสนเหรียญจากนักลงทุน 19 คน เค้าเริ่มต้นซื้อ Working Capital Stock ตามสไตล์ของเค้า เช่น บริษัทผลิตที่นอน Burton-Dixie และผู้ค้าส่งเหล้าอย่าง Schenley อินดัสตรี จวบจนวันนี้ในวัย 92 ความสำเร็จมากมายมาสู่เค้า แต่เค้าไม่เคยทำการตลาดกองทุนของเค้า หรือเปิดกองทุนอื่น ๆ เค้าเก็บเงินที่ได้จากการลงทุน และคืนแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมในแต่ละปี ยกเว้นผู้ถือหุ้นบอกให้นำไปลงทุนเพิ่ม ในปี 1960 S&P เพิ่มขึ้น ครึ่งเปอร์เซ็นต์ แต่ซลอชส์ได้ผลตอบแทนถึง 7% หุ้นแห่งชัยชนะตัวนึงคือ Fownes Brothers & Co., ผู้ผลิตถุงมือ ซลอชส์ซื้อมาในราคาสองเหรียญ (ต่ำกว่า Working Cap) และขายไปในราคา 15 เหรียญ
แม้ในยุค 80 หรือ 90 เค้ายังคงพบเจอหุ้นแห่งชัยชนะเรื่อยมาจนกระทั่ง ความหมายของสินค้าคงคลังและลูกหนี้ลดน้อยความสำคัญลง เค้าก็เริ่มเปลี่ยนวิธีการโดยเสาะหาหุ้นต่ำกว่า Book Value แต่จังหวะการเคลื่อนไหวของตลาดยังคงขึ้นลง ซลอชส์ ค้นพบว่าเค้ามักจะซื้อแม้ว่าราคามันยังจะไหลลงไปอีกลึก และบางครั้งเค้าขายเร็วเกินไป ซลอชส์ซื้อ Lehman Brothers ต่ำกว่า Book และขายไปโดยเค้าได้กำไรประมาณ 75% แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน Lehman Brothers บวกขึ้นไปสามเท่าของราคา
เหมือนเช่นเคยข้อสันนิษฐานของเค้ายังคงแม่นยำเสมอ เค้าชอร์ต Yahoo และ Amazon ก่อนที่ตลาดจะโซซัดโซเซและพังทลายลงมาในปี 2000 หลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ยากที่จะหาหุ้นถูกในตลาด เค้าและเอ็ดวิน ขายหุ้นทั้งหมดได้เงินประมาณ 130 ล้านเหรียญ ซลอชส์ เดินออกจากตลาดด้วยกำไรเพิ่มขึ้น 28% ในปี 2000 และ 12% ในปี 2001 โดยที่ S&P -9% และ -12% ตามลำดับ
ปัจจุบัน S&P ปรับตัวลงมากว่า 15% จากจุดสูงสุด ซลอชส์ กล่าวว่าเค้ายังไม่ค่อยเจอหุ้นราคาถูก เค้ามีเงินสดประมาณ 30% ของพอร์ต “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ถ้ามาจริงก็คงไม่มีผลอะไรที่จะเปลี่ยนแปลงเค้ามากนัก “มันก็มีคนจำนวนมากอยู่ทั่วไปที่อ่านหนังสือของเกรแฮม” เค้ากล่าว
เค้ายังคงเฝ้าเสาะหาหุ้นฉลาด ๆ ถูก ๆ อย่างไม่หยุดหย่อน ตัวที่อยู่บนสุดของลิสต์ของเค้าในขณะนี้ CNA Financial เทรดกันอยู่ที่ 10% ต่ำกว่าราคาบุ๊ค ราคาของมันร่วงลงมา 18% ภายในปีเดียว บริษัทประกันรายนี้มีหนี้น้อย และ 89% ของสต๊อกถือโดย Loew Corp ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของมหาเศรษฐีในตระกูล Tisch ซลอชส์กล่าวว่า “ซื้อถ้ามันถูกกว่านี้” ผมคงพูดไม่ได้หรอกนะครับว่าคุณจะกำไรรึเปล่าถ้าซื้อมัน แต่ผมต้องการความปลอดภัยมากกว่าคำปลอบใจ
“แล้วก็นะครับ ถ้ามันตกลงมาก็ให้เป็นหน้าที่ของ ตระกูล Tisch ที่ต้องกังวลไม่ใช่ผม”
ซลอชส์เปิดดู Value Line อีกครั้งคราวนี้เค้าหยุดที่หน้า 885 Bassett Furniture บริษัทผู้ผลิตโต๊ะและเก้าอี้รายนี้เทรดอยู่ที่ 40% ต่ำกว่าบุ๊คและยังใจป้ำจ่ายปันผล 7% เค้ากล่าวว่ามันต้องมีบางอย่างที่ทำให้บุ๊คแวลลู ไม่ขยับ การจ่ายปันผลมีผลอย่างไรกับบริษัทนี้ ข้อสันนิษฐานของเค้าคือ ควรจะเข้าซื้อบริษัทนี้เมื่อบริษัทนี้เริ่มที่จะไม่จ่ายปันผล และเชื่อมั๊ยว่าราคาของ Bassett Furniture น่าจะต่ำกว่านี้
ถ้ารออีกนิดที่จะซื้อบริษัทผู้ผลิตล้อ Superior ที่เรากล่าถึงในย่อหน้าด้านบน นับเป็นเวลา 2 ปีหลังจากเค้าซื้อมันมา ราคาหุ้นตกลงมาหนึ่งในสาม แต่สำหรับ ซุปเปอร์อินเวสเตอร์อย่าง ซลอชส์ แล้ว การที่หุ้นตกไม่ใช่ประเด็น เค้าผ่านเหตุการณ์ที่เห็นหุ้นตกมานับครั้งไม่ถ้วนด้วยปรัชญาและความเชื่อมั่นว่าอย่างไรก็ตามราคาหุ้นควรจะเท่ากับมูลค่าของมันเป็นอย่างน้อย สำหรับเค้ามันจะไม่มีวันตกต่ำกว่ามูลค่าของมัน!
ก่อนจะจบบทสัมภาษณ์บทนี้ ซลอชส์ ฝากคำถามสำคัญเอาไว้ให้เรา
“แล้วคุณล่ะ ถ้าเป็นคุณ คุณจะสามารถยอมรับการตกลงของราคาหุ้นได้ถึงเท่าไร?”
…………………………………………………………….
ในทางการลงทุนแล้วผมเคารพท่านเป็นครูคนที่สำคัญของผมทีเดียว
เรียบเรียงโดย Cat-rule
Nov 2009
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Simply
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: RIP : Walter Schloss ซุปเปอร์เต่าตัวใหญ่ Super Investor
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับที่ทำให้รู้จักVIระดับตำนานอีกท่านหนึ่ง เลยไปค้นเจอบทความที่ท่านเขียนไว้เมื่อ 1994
http://www.scribd.com/doc/80466887/Walt ... -Investing
Factors Needed to Make Money in the Stock Market
1.Price is the most important factor to use in relation to value
2.Try to establish the value of the company. Remember that a share of stock represents a part of a business and is not just a piece of paper.
3. Use book value as a starting point to try and establish the value of the enterprise. Be sure that debt does not equal 100% of the equity. (Capital and surplus for the common stock).
4.Have patience. Stocks don’t go up immediately.
5.Don’t buy on tips or for a quick move. Let the professionals do that, if they can. Don’t sell on bad news.
6.Don’t be afraid to be a loner but be sure that you are correct in your judgment. You can’t be 100% certain but try to look for the weaknesses in your thinking. Buy on a scale down and sell on a scale up.
7.Have the courage of your convictions once you have made a decision.
8.Have a philosophy of investment and try to follow it. The above is a way that I’ve found successful.
9.Don’t be in too much of a hurry to sll. If the stock reaches a price that you think is a fair one, then you can sell but often because a stock goes up say 50%, people say sell it and button up your profit. Before selling try to reevaluate the company again and see where the stock sells in relation to its book value. Be aware of the level of the stock market. Are yields low and P-E rations high. If the stock market historically high. Are people very optimistic etc?
10.When buying a stock, I find it helpful to buy near the low of the past few years. A stock may go as high as 125 and then decline to 60 and you think it attractive. 3 years before the stock sold at 20 which shows that there is some vulnerability in it.
11.Try to buy assets at a discount than to buy earnings. Earning can change dramatically in a short time. Usually assets change slowly. One has to know much more about a company if one buys earnings.
12.Listen to suggestions from people you respect. This doesn’t mean you have to accept them. Remember it’s your money and generally it is harder to keep money than to make it. Once you lose a lot of money, it is hard to make it back.
13.Try not to let your emotions affect your judgment. Fear and greed are probably the worst emotions to have in connection with the purchase and sale of stocks.
14.Remember the work compounding. For example, if you can make 12% a year and reinvest the money back, you will double your money in 6 yrs, taxes excluded. Remember the rule of 72. Your rate of return into 72 will tell you the number of years to double your money.
15.Prefer stock over bonds. Bonds will limit your gains and inflation will reduce your purchasing power.
16.Be careful of leverage. It can go against you.
http://www.scribd.com/doc/80466887/Walt ... -Investing
Factors Needed to Make Money in the Stock Market
1.Price is the most important factor to use in relation to value
2.Try to establish the value of the company. Remember that a share of stock represents a part of a business and is not just a piece of paper.
3. Use book value as a starting point to try and establish the value of the enterprise. Be sure that debt does not equal 100% of the equity. (Capital and surplus for the common stock).
4.Have patience. Stocks don’t go up immediately.
5.Don’t buy on tips or for a quick move. Let the professionals do that, if they can. Don’t sell on bad news.
6.Don’t be afraid to be a loner but be sure that you are correct in your judgment. You can’t be 100% certain but try to look for the weaknesses in your thinking. Buy on a scale down and sell on a scale up.
7.Have the courage of your convictions once you have made a decision.
8.Have a philosophy of investment and try to follow it. The above is a way that I’ve found successful.
9.Don’t be in too much of a hurry to sll. If the stock reaches a price that you think is a fair one, then you can sell but often because a stock goes up say 50%, people say sell it and button up your profit. Before selling try to reevaluate the company again and see where the stock sells in relation to its book value. Be aware of the level of the stock market. Are yields low and P-E rations high. If the stock market historically high. Are people very optimistic etc?
10.When buying a stock, I find it helpful to buy near the low of the past few years. A stock may go as high as 125 and then decline to 60 and you think it attractive. 3 years before the stock sold at 20 which shows that there is some vulnerability in it.
11.Try to buy assets at a discount than to buy earnings. Earning can change dramatically in a short time. Usually assets change slowly. One has to know much more about a company if one buys earnings.
12.Listen to suggestions from people you respect. This doesn’t mean you have to accept them. Remember it’s your money and generally it is harder to keep money than to make it. Once you lose a lot of money, it is hard to make it back.
13.Try not to let your emotions affect your judgment. Fear and greed are probably the worst emotions to have in connection with the purchase and sale of stocks.
14.Remember the work compounding. For example, if you can make 12% a year and reinvest the money back, you will double your money in 6 yrs, taxes excluded. Remember the rule of 72. Your rate of return into 72 will tell you the number of years to double your money.
15.Prefer stock over bonds. Bonds will limit your gains and inflation will reduce your purchasing power.
16.Be careful of leverage. It can go against you.
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา