เกี่ยวกับ "มาตรา 47 ทวิ และมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร" ครับ
จากเดิมผมเข้าใจว่า "ผู้มีเงินได้ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี หรือผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย" นั้นมีสิทธิที่จะได้รับเครดิตภาษีในสิ้นปี สรุปคือ
1. ชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันและมีรายได้ในปีภาษี
2. ชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วันและมีรายได้ในปีภาษี
3. ชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันและมีรายได้ในปีภาษี
กรณี 1, 2 และ 3 นั้น มีสิทธิ์ที่จะรับเครดิตภาษีจากปันผลหุ้นคืน
แต่มีทนายทักท้วงมาว่า จากตัวอย่างคดีและการพิจารณาตัดสินของศาลฎีกา (สักแห่ง) บอกไว้ว่า ผู้ที่จะมีสิทธิ์ขอเครดิตภาษีคืนนั้นจะต้องเป็น "ผู้มีเงินได้ที่เป็นอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีภาษี และผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย" กล่าวคือ เฉพาะกรณี 1 และ 2 ในขั้นต้นเท่านั้นที่จะได้เครดิตภาษี
นั่นก็คือ ชาวไทยที่อยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วันของปีภาษีนั้น จะไม่มีสิทธิ์ได้รับภาษีคืน
จากที่ลองค้นหาในอินเตอร์เน็ตแล้ว ผมพบคำตอบที่ขัดแย้งกัน บ้างก็ว่าได้เครดิตภาษี บ้างก็ว่าไม่ได้ ไม่ทราบว่ามีผู้ใดพอทราบคำตอบที่ชัดเจนของกรณีนี้ ถ้าได้ความเห็นจากนักกฏหมายหรือแหล่งอ้างอิงก็จะดีมากเลยครับ
ขอบคุณครับ
[กฏหมาย] เครดิตภาษี สำหรับชาวไทยที่อยู่ในไทยน้อยกว่า 180 วัน
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: [กฏหมาย] เครดิตภาษี สำหรับชาวไทยที่อยู่ในไทยน้อยกว่า 180
โพสต์ที่ 2
ลืมกล่าวถึงมาตรา 41 (เดี๋ยวจะพากันงงกันหมดครับ)
หลักที่มาของภาษีเงินได้นั้นตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรของไทย มีอยู่สองหลักคือ
1. หลักแหล่งเงินได้ (Source) คือเงินได้เกิดที่ไทย ก็ต้องจ่ายภาษีที่ไทย
2. หลักถิ่นที่อยู่ (Resident) คืออยู่ประเทศไหน ก็ต้องจ่ายภาษีประเทศนั้น ตามหลักคือหากอยู่ประเทศไหนเกิน 180 วันก็จะถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในประเทศนั้น
ทีนี้มันจะเกิดความซ้ำซ้อนกัน หากอยู่ต่างประเทศแต่รายได้เกิดที่เมืองไทย เราอาจจะต้องจ่ายภาษีทั้งสองประเทศ ซึ่งแล้วแต่กฏหมายของแต่ละประเทศว่าจะลดหย่อนหรือขอคืนได้ไหม
ในไทยมีระบบเครดิตภาษี ทำให้ผู้อยู่ต่างประเทศสามารถขอภาษีคืนได้ (ตามที่ผมเข้าใจ) แต่ล่าสุดพึ่งมีทนายมาเล่าให้ฟังว่ามัคล้ายกับกรณีตัวอย่างที่ผู้พิภากษาศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยยกตัวอย่างไว้ และตีความว่า ต้องอยู่ในไทยเกิน 180 วัน ถึงสามารถขอภาษีคืนได้ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม
ปล. ไม่เกี่ยวกับประเทศไทย แต่น่าจะเป็นความรู้รอบตัวที่ดี คือนอกจากนี้ในบางประเทศยังมีหลักภาษีเงินได้หลักการที่ 3. หลักเก็บภาษีตามสัญชาติ (Nationality) คือหากคุณมีสัญชาตินี้คุณก็ต้องจ่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก ทำให้บุคคลบุคคลหนึ่งอาจต้องเสียภาษีถึงสามประเทศด้วยกัน
หลักที่มาของภาษีเงินได้นั้นตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากรของไทย มีอยู่สองหลักคือ
1. หลักแหล่งเงินได้ (Source) คือเงินได้เกิดที่ไทย ก็ต้องจ่ายภาษีที่ไทย
2. หลักถิ่นที่อยู่ (Resident) คืออยู่ประเทศไหน ก็ต้องจ่ายภาษีประเทศนั้น ตามหลักคือหากอยู่ประเทศไหนเกิน 180 วันก็จะถือว่ามีถิ่นที่อยู่ในประเทศนั้น
ทีนี้มันจะเกิดความซ้ำซ้อนกัน หากอยู่ต่างประเทศแต่รายได้เกิดที่เมืองไทย เราอาจจะต้องจ่ายภาษีทั้งสองประเทศ ซึ่งแล้วแต่กฏหมายของแต่ละประเทศว่าจะลดหย่อนหรือขอคืนได้ไหม
ในไทยมีระบบเครดิตภาษี ทำให้ผู้อยู่ต่างประเทศสามารถขอภาษีคืนได้ (ตามที่ผมเข้าใจ) แต่ล่าสุดพึ่งมีทนายมาเล่าให้ฟังว่ามัคล้ายกับกรณีตัวอย่างที่ผู้พิภากษาศาลฎีกาท่านหนึ่งเคยยกตัวอย่างไว้ และตีความว่า ต้องอยู่ในไทยเกิน 180 วัน ถึงสามารถขอภาษีคืนได้ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม
ปล. ไม่เกี่ยวกับประเทศไทย แต่น่าจะเป็นความรู้รอบตัวที่ดี คือนอกจากนี้ในบางประเทศยังมีหลักภาษีเงินได้หลักการที่ 3. หลักเก็บภาษีตามสัญชาติ (Nationality) คือหากคุณมีสัญชาตินี้คุณก็ต้องจ่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก ทำให้บุคคลบุคคลหนึ่งอาจต้องเสียภาษีถึงสามประเทศด้วยกัน
Vi IMrovised