เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 1
ที่่บ้านติดจานแดงของทรู เวลาฝนตกทีไรสัญญาณหายตลอด ทำให้เซ็งมาก โดยเฉพาะเวลารอดูบอลสด
อยากทราบว่า จานยี่ห้ออื่นๆ รวมทั้งเครื่องรับ ทั้งจานเหลือง จานส้ม กล่องอากู๋ ... เวลาฝนตกสัญญาณหายเหมือนกันหมดรึเปล่าครับ แล้วแก้ยังไง
อยากทราบว่า จานยี่ห้ออื่นๆ รวมทั้งเครื่องรับ ทั้งจานเหลือง จานส้ม กล่องอากู๋ ... เวลาฝนตกสัญญาณหายเหมือนกันหมดรึเปล่าครับ แล้วแก้ยังไง
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 2
เหมือนกันครับ พวกจานระบบ ku band ม้นมีปัญหากับฝน หรือเมฆ ดำก่อนฝนตก
ถ้าฟ้าปิดมีเมฆดำ สัญญาณ ดาวเทียม ในระบบ ku ม้นจะฝ่าเมฆ ไม่ได้
ทำให้เกิดอาการ ไม่มีสัญญาณ ครับ
ข้อควรรู้เพิ่มเติม คือ ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูง ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพิ่มขนาดใบจานอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าฝนตกหนัก เมฆหนาทึบ จะรับสัญญาณไม่ได้ ในขณะที่ C-Band จะเหนือกว่าตรงที่ไม่มีปัญหาขณะฝนตก
ถ้าฟ้าปิดมีเมฆดำ สัญญาณ ดาวเทียม ในระบบ ku ม้นจะฝ่าเมฆ ไม่ได้
ทำให้เกิดอาการ ไม่มีสัญญาณ ครับ
ข้อควรรู้เพิ่มเติม คือ ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูง ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพิ่มขนาดใบจานอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าฝนตกหนัก เมฆหนาทึบ จะรับสัญญาณไม่ได้ ในขณะที่ C-Band จะเหนือกว่าตรงที่ไม่มีปัญหาขณะฝนตก
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 3
สัญญาณที่ส่งลงมา จากดาวเทียมที่สามารถรับในประเทศไทย ปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบ C-Band และ KU-Band
ระบบ C-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นกว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้ แต่เนื่องจากสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว้าง ความเข้มสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟุต รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด (รายการส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวีของแต่ละประเทศ และส่วนมากสามารถรับชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน )
ระบบ KU-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 10-12 GHz สัญญาณที่ส่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย ใช้กับการส่งสัญญาณภายในประเทศ ส่วนใหญ่ใช้กับระบบการให้บริการ เคเบิ้ลทีวี ภายในประเทศ ความเข้มสัญญาณจะสูง จึงใช้จานขนาดเล็ก 35-75 ซม. เช่น UBC (การรับทีวีผ่านดาวเทียมในระบบ KU-Band ส่วนใหญ่ต้องสมัครสมาชิกจึงจะรับชมได้)
C-Band & Ku-Band แตกต่างที่ตรงไหน
1. ความเข้มของสัญญาณในการส่ง C-Band จะเบากว่า Ku-Band เป็นเหตุผลในทางเทคนิค ตามข้อที่ 2
2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ C-Band จะใช้งานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างขวางทั่วทั้งทวีป แต่ระบบ Ku-Band จะใช้เพื่อคลอบคลุมพื้นที่เฉพาะในประเทศ ในทางเทคนิคต้องส่งสัญญาณ C-Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku-Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกันได้
3. ลักษณะของใบจานรับสัญญาณ C-Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบ ทรงกลม ขึ้นรูปพาราโบลิค ขนาดทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 - 10 ฟุต ส่วน Ku-Band จะเป็นจานทึบ Offset รูปไข่ ขนาด 0.35 - 1.80 เมตร
4. ขนาดของจานรับสัญญาณดาวเทียม จากเหตุผลข้อที่ 1 ทำให้ระบบ Ku-Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า C-Band ค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น UBC จะใช้ใบจาน offset ขนาด 35 - 75 ซม. ก็สามารถรับสัญญาณได้ดี ในขณะที่ระบบ C-Band ต้องใช้จานขนาดใหญ่กว่าถึง 2-3 เท่า เพื่อให้รับสัญญาณได้ดี
5. ลักษณะของแผ่นสะท้อนของใบจาน ระบบ Ku-Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี ในขณะที่ C-Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ จาน C-Band จานแบบทึบมีให้เห็นบ้างแต่น้อยมาก และไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากน้ำหนักมาก และต้านลม แล้วถ้าหากว่า จะใช้จานแบบ C-Band รับสัญญาณระบบ Ku-Band ได้มั้ย ตอบว่าได้แต่ในทางกลับกันจะเอาจาน Ku-Band มารับสัญญาณ C-Band ไม่ได้ นอกจากจะใช้จานขนาดใหญ่จริง ๆ
6. หัวรับสัญญาณ ซึ่งในทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้ตำลงมาจนเหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับสัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C-band จะรองรับความถี่ 3.4-4.2 GHz ในขณะที่ Ku-Band รองรับความถี่ 10-12 GHz จึงใช้แทนกันไม่ได้ อาจมีบางรุ่นที่ทำแบบ 2 in 1 คือ เอาหัว 2 ระบบบรรจุไว้ใน Case เดียวกัน
7. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนอกจากผู้ผลิตจะเจตนาให้ตัวเครื่องรับได้เฉพาะระบบ เช่น เครื่องรับสัญญาณของ UBC จะไม่สามรถนำมาใช้รับสัญญาณระบบ C-Band ได้ โดยทั่วไปเครื่องรับสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ เพียงตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
ข้อควรรู้เพิ่มเติม คือ ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูง ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพิ่มขนาดใบจานอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าฝนตกหนัก เมฆหนาทึบ จะรับสัญญาณไม่ได้ ในขณะที่ C-Band จะเหนือกว่าตรงที่ไม่มีปัญหาขณะฝนตก
ระบบ C-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 3.4-4.2 GHz แบบนี้จะมีฟุตปริ้นกว้างสามารถส่งสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ได้หลายประเทศ ซึ่งสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้ แต่เนื่องจากสัญญาณครอบคลุมพื้นที่กว้าง ความเข้มสัญญาณจะต่ำ จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟุต รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด (รายการส่วนใหญ่เป็นฟรีทีวีของแต่ละประเทศ และส่วนมากสามารถรับชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายรายเดือน )
ระบบ KU-Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกในช่วงความถี่ 10-12 GHz สัญญาณที่ส่งครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย ใช้กับการส่งสัญญาณภายในประเทศ ส่วนใหญ่ใช้กับระบบการให้บริการ เคเบิ้ลทีวี ภายในประเทศ ความเข้มสัญญาณจะสูง จึงใช้จานขนาดเล็ก 35-75 ซม. เช่น UBC (การรับทีวีผ่านดาวเทียมในระบบ KU-Band ส่วนใหญ่ต้องสมัครสมาชิกจึงจะรับชมได้)
C-Band & Ku-Band แตกต่างที่ตรงไหน
1. ความเข้มของสัญญาณในการส่ง C-Band จะเบากว่า Ku-Band เป็นเหตุผลในทางเทคนิค ตามข้อที่ 2
2. พื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณ ( Beam Coverage Area) ระบบ C-Band จะใช้งานเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณได้กว้างขวางทั่วทั้งทวีป แต่ระบบ Ku-Band จะใช้เพื่อคลอบคลุมพื้นที่เฉพาะในประเทศ ในทางเทคนิคต้องส่งสัญญาณ C-Band ให้มีความเข้มของสัญญาณน้อยกว่า Ku-Band เพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนกันได้
3. ลักษณะของใบจานรับสัญญาณ C-Band จะเป็นตะแกรงโปร่ง หรือทึบ ทรงกลม ขึ้นรูปพาราโบลิค ขนาดทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5 - 10 ฟุต ส่วน Ku-Band จะเป็นจานทึบ Offset รูปไข่ ขนาด 0.35 - 1.80 เมตร
4. ขนาดของจานรับสัญญาณดาวเทียม จากเหตุผลข้อที่ 1 ทำให้ระบบ Ku-Band สามารถใช้ใบจานขนาดเล็กกว่า C-Band ค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น UBC จะใช้ใบจาน offset ขนาด 35 - 75 ซม. ก็สามารถรับสัญญาณได้ดี ในขณะที่ระบบ C-Band ต้องใช้จานขนาดใหญ่กว่าถึง 2-3 เท่า เพื่อให้รับสัญญาณได้ดี
5. ลักษณะของแผ่นสะท้อนของใบจาน ระบบ Ku-Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลูมีเนียม หรือ เหล็กชุบสี ในขณะที่ C-Band ส่วนใหญ่จะเป็นตะแกรงปั้มเป็นรูเล็กๆ จาน C-Band จานแบบทึบมีให้เห็นบ้างแต่น้อยมาก และไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากน้ำหนักมาก และต้านลม แล้วถ้าหากว่า จะใช้จานแบบ C-Band รับสัญญาณระบบ Ku-Band ได้มั้ย ตอบว่าได้แต่ในทางกลับกันจะเอาจาน Ku-Band มารับสัญญาณ C-Band ไม่ได้ นอกจากจะใช้จานขนาดใหญ่จริง ๆ
6. หัวรับสัญญาณ ซึ่งในทางเทคนิคเรียกว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เป็นตัวแปลงสัญญาณความถี่สูงให้ตำลงมาจนเหมาะสมกับภาครับของเครื่องรับสัญญาณ (Receiver) ซึ่งระบบ C-band จะรองรับความถี่ 3.4-4.2 GHz ในขณะที่ Ku-Band รองรับความถี่ 10-12 GHz จึงใช้แทนกันไม่ได้ อาจมีบางรุ่นที่ทำแบบ 2 in 1 คือ เอาหัว 2 ระบบบรรจุไว้ใน Case เดียวกัน
7. เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) โดยทั่วไปไม่แตกต่างกันนอกจากผู้ผลิตจะเจตนาให้ตัวเครื่องรับได้เฉพาะระบบ เช่น เครื่องรับสัญญาณของ UBC จะไม่สามรถนำมาใช้รับสัญญาณระบบ C-Band ได้ โดยทั่วไปเครื่องรับสามารถรับสัญญาณได้ทั้ง 2 ระบบ เพียงตั้งค่า LNBF ให้ถูกต้องเท่านั้นเอง
ข้อควรรู้เพิ่มเติม คือ ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่ส่งสัญญาณด้วยความถี่สูง ซึ่งจะมีปัญหาการรับสัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพิ่มขนาดใบจานอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าฝนตกหนัก เมฆหนาทึบ จะรับสัญญาณไม่ได้ ในขณะที่ C-Band จะเหนือกว่าตรงที่ไม่มีปัญหาขณะฝนตก
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 4
จุดนี้เป็นข้อเสียของระบบทีวีดาวเทียม
ถ้าเราใช้จานดำ ม้นก็เกะกะ ครับ น่าเกลียด อีกต่างหาก ถ้าติดในเมือง
อีกอย่าง ระบบ C band หรือจานดำ ในอนาคต คงจะค่อยๆ น้อยลงจากตามบ้านในเมือง
เนื่องจาก เมื่อมีการใช้ 3G มากขึ้น หรือมี ไวแม๊กซ์ เมื่อไหร่ ความถี่ของ สองอย่างนั้นจะกวน
ความถี่ในระบบ C band ถ้าจะไม่ให้รบกวน ต้องใช้จานดำ 6 ฟุตเป็นอย่างต่ำหรือไม่ก็ 10 ฟุต ผมเคยไปสัมมนา เรื่องจานดาวเทียมมา
เจ้าของบริษัท IPM หรือแม้แต่ dynasat ก็บอกว่า จานในระบบ C band ที่มีขนาด
เล็กแบบในไทยคือ 1.5 เมตร 1.7 เมตร หรือ 1.8 เมตร เมื่องนอกไม่ได้ผลิต
เมืองนอกเขาใช้แต่ พวกจานให้ คือ 10 ฟุต
ถ้าเราใช้จานดำ ม้นก็เกะกะ ครับ น่าเกลียด อีกต่างหาก ถ้าติดในเมือง
อีกอย่าง ระบบ C band หรือจานดำ ในอนาคต คงจะค่อยๆ น้อยลงจากตามบ้านในเมือง
เนื่องจาก เมื่อมีการใช้ 3G มากขึ้น หรือมี ไวแม๊กซ์ เมื่อไหร่ ความถี่ของ สองอย่างนั้นจะกวน
ความถี่ในระบบ C band ถ้าจะไม่ให้รบกวน ต้องใช้จานดำ 6 ฟุตเป็นอย่างต่ำหรือไม่ก็ 10 ฟุต ผมเคยไปสัมมนา เรื่องจานดาวเทียมมา
เจ้าของบริษัท IPM หรือแม้แต่ dynasat ก็บอกว่า จานในระบบ C band ที่มีขนาด
เล็กแบบในไทยคือ 1.5 เมตร 1.7 เมตร หรือ 1.8 เมตร เมื่องนอกไม่ได้ผลิต
เมืองนอกเขาใช้แต่ พวกจานให้ คือ 10 ฟุต
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 5
ยังสงสัยอยู่ว่าทำไม C-Band ถึงไม่แพ้ฝนล่ะครับ
ขอถามเลยไปถึงเรื่องทีวีดิจิตอลได้มั้ยครับ ว่าหมายถึงต้องมีทีวีรุ่นใหม่ หรือต้องมีอุปกรณ์รับสัญญาณเพิ่มเพื่อมาต่อกับทีวีเดิมรึเปล่า แล้วต่างกับทีวีดาวเทียมยังไงครับ ตัวรับสัญญาณเป็นยังไง
ขอถามเลยไปถึงเรื่องทีวีดิจิตอลได้มั้ยครับ ว่าหมายถึงต้องมีทีวีรุ่นใหม่ หรือต้องมีอุปกรณ์รับสัญญาณเพิ่มเพื่อมาต่อกับทีวีเดิมรึเปล่า แล้วต่างกับทีวีดาวเทียมยังไงครับ ตัวรับสัญญาณเป็นยังไง
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 6
ทีวี ดิจิตอล ข้อดี ไม่กลัวฝน
แล้วใช้เสาอากาศ ต้นเล็กๆ กับรับได้ชัดแล้ว
ถือว่าเป็นคู่แข่งของทีวีดาวเทียมในเมืองได้เลย
ส่วนการรับชมนั้น ถ้าเป็นทีวีรุ่นก่า ก็ต้องหาซื้อ settopbox มาเพื่อแปลงสัญญาณ
เครื่องนี้ม้นก็เหมือนเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมนั่นแหละ
แต่ในอนาคน ทีวีรุ่นใหม่ๆ ก็น่าจะใช้ tuner รับดิจิตอล โดยครง
แล้วใช้เสาอากาศ ต้นเล็กๆ กับรับได้ชัดแล้ว
ถือว่าเป็นคู่แข่งของทีวีดาวเทียมในเมืองได้เลย
ส่วนการรับชมนั้น ถ้าเป็นทีวีรุ่นก่า ก็ต้องหาซื้อ settopbox มาเพื่อแปลงสัญญาณ
เครื่องนี้ม้นก็เหมือนเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมนั่นแหละ
แต่ในอนาคน ทีวีรุ่นใหม่ๆ ก็น่าจะใช้ tuner รับดิจิตอล โดยครง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 108
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 10
แล้วต้องติดจานหรือไม่ แล้วส่งสัญญาณเป็น C-brand รึเปล่าครับmatee เขียน:GMMz ม้นก็เหมือนกับเครื่องรับดาวเทียมทั่วไปนั่นแหละ
แต่ว่าเขาเข้าระหัส ช่องของ GMMz
เหมือนทรูเข้าระหัส ช่องของตัวเอง
เด็กยอดดอย...นอนคอยวาสนา
วิธีคิด สำคัญกว่า วิธีการ
ทิศทาง สำคัญกว่า ความเร็ว
วิธีคิด สำคัญกว่า วิธีการ
ทิศทาง สำคัญกว่า ความเร็ว
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 11
ตามข้อมูล
GMMz ส่งทั้ง ku และ C
ครับ
ถ้าจานดำ ตั้งรับ ไทยคม อยู่แล้วก็ซื้อ จาก 7/11 ไปเสียบแทนตัวเก่าได้เลย โทรไปลงทะเบียน ดูช่อง GMM อีก 3 ช่อง
ส่วน ku ถ้าใช้จานแดงหรือ จานเหลืองก็ไปเสียบแทนได้เลย
ส่วนถ้าจานส้ม ก็ต้องปรับหน้าจานกับ lnb อาจต้องเปลี่ยนใหม่หรือไม่ก็ใช้ตัวเก่า
รู้สึกว่า GMMz ตัวใหม่นี่ เราไม่ต้องตั้งค่า lnb ม้นจะหาเองอัตโนม้ติ เวลาเสียบครั้งแรก
ลองดูคู่มืออีกที
แต่เขาว่า เครื่อง GMMz รุ่นนี้ใช้ของสามารถ ม้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่
ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะว่าไม่ได้ใช้
GMMz ส่งทั้ง ku และ C
ครับ
ถ้าจานดำ ตั้งรับ ไทยคม อยู่แล้วก็ซื้อ จาก 7/11 ไปเสียบแทนตัวเก่าได้เลย โทรไปลงทะเบียน ดูช่อง GMM อีก 3 ช่อง
ส่วน ku ถ้าใช้จานแดงหรือ จานเหลืองก็ไปเสียบแทนได้เลย
ส่วนถ้าจานส้ม ก็ต้องปรับหน้าจานกับ lnb อาจต้องเปลี่ยนใหม่หรือไม่ก็ใช้ตัวเก่า
รู้สึกว่า GMMz ตัวใหม่นี่ เราไม่ต้องตั้งค่า lnb ม้นจะหาเองอัตโนม้ติ เวลาเสียบครั้งแรก
ลองดูคู่มืออีกที
แต่เขาว่า เครื่อง GMMz รุ่นนี้ใช้ของสามารถ ม้นไม่ค่อยดีเท่าไหร่
ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะว่าไม่ได้ใช้
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 13
ดำ เขียน:หมายความว่า ถ้าผมติดทรูอยู่แล้ว อยากดูอากู๋ ก็ต้องถอดสายสลับเสียบกล่อง 2 กล่องถูกมั้ยครับ?matee เขียน: ส่วน ku ถ้าใช้จานแดงหรือ จานเหลืองก็ไปเสียบแทนได้เลย
ถูกต้องครับ
เสียบแทนได้เลย
เครื่องม้นจะหาค่า lnb ให้อัตโนมัติ
อย่าลืมโทรไปลงทะเบียน เพื่อดูช่องเพิ่มอีก 3 ช่อง
แต่ทำใจไว้หน่อย ตามข่าว เครื่องล๊อตนี้เขาพยายามโล๊ะทิ้ง
ม้นเป็นเครื่องค้างสต๊อค ของ พี่มาดเขา
เครื่องไม่ค่อยดีเท่าไหร่ สู้เครื่องพวก box ของ จีนแดงไม่ได้
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 14
โอ้ว... เพิ่งได้ข้อมูลใหม่ พี่มาดเราคุณภาพระดับจีนแดงยังไม่ขอ(ลดตัว)สู้เลยเหรอครับmatee เขียน:ดำ เขียน:แต่ทำใจไว้หน่อย ตามข่าว เครื่องล๊อตนี้เขาพยายามโล๊ะทิ้ง
ม้นเป็นเครื่องค้างสต๊อค ของ พี่มาดเขา
เครื่องไม่ค่อยดีเท่าไหร่ สู้เครื่องพวก box ของ จีนแดงไม่ได้
สมัยก่อนที่รีโมทยังไม่ฮิต นั่งดูทีวีกันหลายคนต้องเกี่ยงกันเดินไปเปลี่ยนช่อง
สมัยนี้มีหลายกล่อง ต้องเกี่ยงกันไปเปลี่ยนกล่อง
ทำไมมันเหมือน Back to the Future ยังงั้นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 16
ใช่ครับ ต้องซื้อหลายเครื่อง
หัว LNB ก็ต้อง เปลี่ยนเป็นแบบ 2 ขั้ว
แล้วมาต่อเข้า มัลติสวิทช์
แยกไปอีกที่ เอา 4 เครื่องก็ได้
ก็ LNB 2 ขั้ว มาเข้า มัลติ 2 x4 ไปเข้า 4 เครื่อง
ดูแยก อิสระ 4 เครื่อง
เครื่อง อากู๋ 4 เครื่อง
แต่ผมว่า อย่าซื้อเยอะเลยเครื่องอากู่ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
ผมว่า ถ้าจะดู ยูโร ซื้อเครื่อง อากู๋ เครื่องเดียวก็พอ
ส่วนจุดอื่น ถ้า ไม่ดูอะไรมากมาย นอกจากฟรีทีวี ก็ ซื้อ ทรูขายขาด ก็ได้
ที่ดูฟรี หรือเติมเงิน ดูอย่างอื่นได้นิดหน่อย เครื่องก็ พันกว่าบาท
คนที่ใช้อยู่ เขาก็ว่า ของ ทรู ภาพชัดกว่า อากู๋ เยอะ
แล้วปัญหาก็น้อยกว่า อากู๋ หรือถ้าใช้ DTV ม้นก็มีปัญหาเยอะเหมือนกัน
หัว LNB ก็ต้อง เปลี่ยนเป็นแบบ 2 ขั้ว
แล้วมาต่อเข้า มัลติสวิทช์
แยกไปอีกที่ เอา 4 เครื่องก็ได้
ก็ LNB 2 ขั้ว มาเข้า มัลติ 2 x4 ไปเข้า 4 เครื่อง
ดูแยก อิสระ 4 เครื่อง
เครื่อง อากู๋ 4 เครื่อง
แต่ผมว่า อย่าซื้อเยอะเลยเครื่องอากู่ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่
ผมว่า ถ้าจะดู ยูโร ซื้อเครื่อง อากู๋ เครื่องเดียวก็พอ
ส่วนจุดอื่น ถ้า ไม่ดูอะไรมากมาย นอกจากฟรีทีวี ก็ ซื้อ ทรูขายขาด ก็ได้
ที่ดูฟรี หรือเติมเงิน ดูอย่างอื่นได้นิดหน่อย เครื่องก็ พันกว่าบาท
คนที่ใช้อยู่ เขาก็ว่า ของ ทรู ภาพชัดกว่า อากู๋ เยอะ
แล้วปัญหาก็น้อยกว่า อากู๋ หรือถ้าใช้ DTV ม้นก็มีปัญหาเยอะเหมือนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 535
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 17
อ้นนี้ไม่ได้ใส่ร้าย พี่มาดนี่ทำคนไทยเจ็บมาเยอะ ตอนที่เขาทำจาน ku ขาย 10000 กว่าบาทดำ เขียน:โอ้ว... เพิ่งได้ข้อมูลใหม่ พี่มาดเราคุณภาพระดับจีนแดงยังไม่ขอ(ลดตัว)สู้เลยเหรอครับmatee เขียน:ดำ เขียน:แต่ทำใจไว้หน่อย ตามข่าว เครื่องล๊อตนี้เขาพยายามโล๊ะทิ้ง
ม้นเป็นเครื่องค้างสต๊อค ของ พี่มาดเขา
เครื่องไม่ค่อยดีเท่าไหร่ สู้เครื่องพวก box ของ จีนแดงไม่ได้
สมัยก่อนที่รีโมทยังไม่ฮิต นั่งดูทีวีกันหลายคนต้องเกี่ยงกันเดินไปเปลี่ยนช่อง
สมัยนี้มีหลายกล่อง ต้องเกี่ยงกันไปเปลี่ยนกล่อง
ทำไมมันเหมือน Back to the Future ยังงั้นครับ
จานน้ำเงิน ตอนนี้ลอยแพลูกค้าไปแล้ว
เครื่องของ GMMz รุ่นนี้ คนที่ใช้บอกว่า ห่วย เหมือน อากู๋โดน พี่มาดหลอก รับเครื่องค้างสต๊อค ขายไม่ออกของพี่มาดไป
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เรื่องจานดาวเทียมกับฝนตก
โพสต์ที่ 19
กลับมาเรื่องดิจิตอลทีวีอีกทีครับ
คุณภาพในการรับสัญญาณขึ้นกับอะไรครับ ผมเข้าใจว่าระบบส่งสัญญาณเป็นแบบภาคพื้นดิน ยังงี้แล้วปัญหาเกี่ยวกับมุมอับ หรือสิ่งก่อสร้างกีดขวางเช่นตึกสูง จะมีมั้ยครับ แล้วขอบเขตของพื้นที่รับสัญญาณมันทั่วประเทศรับได้ชัดเหมือนกันหมดรึเปล่าครับ
คุณภาพในการรับสัญญาณขึ้นกับอะไรครับ ผมเข้าใจว่าระบบส่งสัญญาณเป็นแบบภาคพื้นดิน ยังงี้แล้วปัญหาเกี่ยวกับมุมอับ หรือสิ่งก่อสร้างกีดขวางเช่นตึกสูง จะมีมั้ยครับ แล้วขอบเขตของพื้นที่รับสัญญาณมันทั่วประเทศรับได้ชัดเหมือนกันหมดรึเปล่าครับ