คำเตือนสั้นๆของ Peter Lynch
- raynus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 720
- ผู้ติดตาม: 0
คำเตือนสั้นๆของ Peter Lynch
โพสต์ที่ 1
โดยคุณ SiTh LoRd PaCk เว็ป Stock2morrow
ในสายตาของผม นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จควรจะมีความอดทน ความมั่นใจในตัวเอง สามัญสำนึก ความอดทนต่อความเจ็บปวด การเปิดใจให้กว้าง การวางเฉยต่อสิ่งร้ายๆในวอลสตรีท การยืนกรานในความคิด ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความยืดหยุ่น ความพร้อมที่จะศึกษาและทุ่มเท และพร้อมที่จะยอมรับความผิดพลาด
ตามที่ผมเห็น คนที่เป็นอัจฉริยะจริงๆมักหลุ่มหลงกับตัวเลขและการวิเคราะห์ในทางทฤษฏี และถูกพฤติกรรมที่แท้จริงของตลาดหุ้นหลอกหลวงอยู่เสมอ
การตัดสินใจได้โดยไม่ต้องใช้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือสมบูรณ์แบบก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน สิ่งต่างๆในวอลสตรีทแทบไม่เคยมีความชัดเจน หรือต่อให้มีมันก็สายเกินไปที่จะทำกำไรได้แล้ว
************************************
ในขณะที่ผมทำงานใน Fidelity มีนิตยสารชื่อดังจะเชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ้นซึ่งร่วมถึงผมด้วย มาร่วมประชุมกันมองทิศทางตลาดและหุ้นเด่นดัง ที่พร้อมจะระเบิดในไตรมาสหน้า จริงๆแล้วพวกเขาไม่ได้เรียกเรามาประชุม แต่เรียกพวกเรามา"ร่วมกันกังวลใจ" น่าจะเหมาะสมกว่ามาก
เวลาหุ้นขึ้นแรงๆ เหล่านักวิเคราะห์ก็จะบอกว่าหุ้นมีการขึ้นมาเยอะแล้วจะมีแรงเทขายทำกำไร ให้ชะลอการลงทุนไว้ก่อน.... ถ้าเมื่อใดหุ้นตกลงไปแรง แทนที่พวกเขาจะเชียร์ให้เราซื้อหุ้น พวกเขากลับบอกว่า "การตกลงมาแรงครั้งนี้ทำให้ผมนึกถึงเมื่อ 2 ปีก่อนที่อเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอย ให้ชะลอการลงทุนไว้ก่อน..." ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายๆจะมีอยู่ทุกที่และตลอดเวลา ถ้านักลงทุนเชื่อนักวิเคราะห์เหล่านั้น คุณก็จะไม่มีวันได้ซื้อหุ้นเลยเพราะจะต้อง"ชะลอการลงทุนไว้ก่อน" อยู่เสมอ
เส้นแบ่งแยกระหว่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและนักลงทุนผู้พ่ายแพ้ ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาด และการอ่านงบการเงิน หรือแม้แต่การหาจังหวะที่เส้นกราฟตัดกันไปมา แต่เป็นการเพิกเฉยต่อข่าวร้ายๆที่เกิดขึ้นในวอลสตรีทต่างหาก ทุกๆครั้งที่มันเกิดเหตุการณ์ร้ายๆที่ว่า ภาวะโลกร้อนกำลังจะเกิดขึ้น รูรั่วในชั้นโอโซน หรือสงครามในตะวันออกกลาง สุดท้ายตลาดก็มักจะจบด้วยการทำจุดสูงสุดใหม่เสมอ
Peter Lynch
ชอบ เลยเอามาฝากกันครับ
ในสายตาของผม นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จควรจะมีความอดทน ความมั่นใจในตัวเอง สามัญสำนึก ความอดทนต่อความเจ็บปวด การเปิดใจให้กว้าง การวางเฉยต่อสิ่งร้ายๆในวอลสตรีท การยืนกรานในความคิด ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความยืดหยุ่น ความพร้อมที่จะศึกษาและทุ่มเท และพร้อมที่จะยอมรับความผิดพลาด
ตามที่ผมเห็น คนที่เป็นอัจฉริยะจริงๆมักหลุ่มหลงกับตัวเลขและการวิเคราะห์ในทางทฤษฏี และถูกพฤติกรรมที่แท้จริงของตลาดหุ้นหลอกหลวงอยู่เสมอ
การตัดสินใจได้โดยไม่ต้องใช้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือสมบูรณ์แบบก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน สิ่งต่างๆในวอลสตรีทแทบไม่เคยมีความชัดเจน หรือต่อให้มีมันก็สายเกินไปที่จะทำกำไรได้แล้ว
************************************
ในขณะที่ผมทำงานใน Fidelity มีนิตยสารชื่อดังจะเชิญผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ้นซึ่งร่วมถึงผมด้วย มาร่วมประชุมกันมองทิศทางตลาดและหุ้นเด่นดัง ที่พร้อมจะระเบิดในไตรมาสหน้า จริงๆแล้วพวกเขาไม่ได้เรียกเรามาประชุม แต่เรียกพวกเรามา"ร่วมกันกังวลใจ" น่าจะเหมาะสมกว่ามาก
เวลาหุ้นขึ้นแรงๆ เหล่านักวิเคราะห์ก็จะบอกว่าหุ้นมีการขึ้นมาเยอะแล้วจะมีแรงเทขายทำกำไร ให้ชะลอการลงทุนไว้ก่อน.... ถ้าเมื่อใดหุ้นตกลงไปแรง แทนที่พวกเขาจะเชียร์ให้เราซื้อหุ้น พวกเขากลับบอกว่า "การตกลงมาแรงครั้งนี้ทำให้ผมนึกถึงเมื่อ 2 ปีก่อนที่อเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอย ให้ชะลอการลงทุนไว้ก่อน..." ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข่าวร้ายๆจะมีอยู่ทุกที่และตลอดเวลา ถ้านักลงทุนเชื่อนักวิเคราะห์เหล่านั้น คุณก็จะไม่มีวันได้ซื้อหุ้นเลยเพราะจะต้อง"ชะลอการลงทุนไว้ก่อน" อยู่เสมอ
เส้นแบ่งแยกระหว่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและนักลงทุนผู้พ่ายแพ้ ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาด และการอ่านงบการเงิน หรือแม้แต่การหาจังหวะที่เส้นกราฟตัดกันไปมา แต่เป็นการเพิกเฉยต่อข่าวร้ายๆที่เกิดขึ้นในวอลสตรีทต่างหาก ทุกๆครั้งที่มันเกิดเหตุการณ์ร้ายๆที่ว่า ภาวะโลกร้อนกำลังจะเกิดขึ้น รูรั่วในชั้นโอโซน หรือสงครามในตะวันออกกลาง สุดท้ายตลาดก็มักจะจบด้วยการทำจุดสูงสุดใหม่เสมอ
Peter Lynch
ชอบ เลยเอามาฝากกันครับ
สายปันผลครับ
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คำเตือนสั้นๆของ Peter Lynch
โพสต์ที่ 2
เพิ่มเติมด้วยล่ะกันครับ เข้าใจว่าน่าจะมาจาก Beating The Street ที่ผมกำลังอ่านเหมือนกัน
Lynch ยกตัวอย่างการลงทุนที่ไม่ตระหนกตกใจเรื่องของเศรษฐกิจมหภาคจนเกินไปนัก
เพราะในมุมมอมของ Lynch ไม่มีผลตอบแทนจากการลงทุนอะไรจะชนะหุ้นได้ แม้ว่าในยามเศรษฐกิจมหภาคชะลอตัว เพียงแต่ต้องเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่นับแค่ช่วง 2-3 ปี
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ถ้านำเงิน 1,000 USD ลงทุนใน S&P 500 ตั้งแต่ปี 1940 และถือไว้ 52 ปีอย่างมั่นคงไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์ใดๆ เงินลงทุนจะงองเงยเป็น 330,000 USD
แต่ถ้าเติมเงินทุกๆปี ปีละแค่ 1,000 USD เป็นจำนวน 52 ปี เงินลงทุน 52,000 USD จะงอกเงยเป็น 3.5 ล้าน USD
ยิ่งไปกว่านั้น หากทุกๆครั้งที่ดัชนีตกไปเกิน 10% ซึ่งถือว่าลงเยอะๆมากๆ สำหรับ Dowjones ซึ่งเกิดขึ้นแค่ 31 ครั้งในรอบ 52 ปี ถ้าเรากล้าลงทุนทุกครั้ง ครั้งละ 1,000 USD เงินลงทุนทั้งหมด 83,000 USD จะงอกเงยเป็น 8.3 ล้าน USD
เป็นมุมมองที่สะท้อนการลงทุนในหุ้นจริงๆ ว่าเราต้องพยายามลดความกลัวจากเศรษฐกิจหมภาคที่คาดเดาได้ยากให้ได้
และก็ยังช่วยเสริมความมั่นใจส่วนตัวสำหรับผมด้วย เพราะหลายๆครั้งก็ยังไม่กล้าทุ่มซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นพิเศษ ยังใช้ Dollar Cost Average อยู่ ว่าก็ยังเป็นวิธีที่ไม่เลวร้ายมากจนเกินไปนักครับ
Lynch ยกตัวอย่างการลงทุนที่ไม่ตระหนกตกใจเรื่องของเศรษฐกิจมหภาคจนเกินไปนัก
เพราะในมุมมอมของ Lynch ไม่มีผลตอบแทนจากการลงทุนอะไรจะชนะหุ้นได้ แม้ว่าในยามเศรษฐกิจมหภาคชะลอตัว เพียงแต่ต้องเป็นการลงทุนระยะยาว ไม่นับแค่ช่วง 2-3 ปี
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ถ้านำเงิน 1,000 USD ลงทุนใน S&P 500 ตั้งแต่ปี 1940 และถือไว้ 52 ปีอย่างมั่นคงไม่หวั่นไหวกับเหตุการณ์ใดๆ เงินลงทุนจะงองเงยเป็น 330,000 USD
แต่ถ้าเติมเงินทุกๆปี ปีละแค่ 1,000 USD เป็นจำนวน 52 ปี เงินลงทุน 52,000 USD จะงอกเงยเป็น 3.5 ล้าน USD
ยิ่งไปกว่านั้น หากทุกๆครั้งที่ดัชนีตกไปเกิน 10% ซึ่งถือว่าลงเยอะๆมากๆ สำหรับ Dowjones ซึ่งเกิดขึ้นแค่ 31 ครั้งในรอบ 52 ปี ถ้าเรากล้าลงทุนทุกครั้ง ครั้งละ 1,000 USD เงินลงทุนทั้งหมด 83,000 USD จะงอกเงยเป็น 8.3 ล้าน USD
เป็นมุมมองที่สะท้อนการลงทุนในหุ้นจริงๆ ว่าเราต้องพยายามลดความกลัวจากเศรษฐกิจหมภาคที่คาดเดาได้ยากให้ได้
และก็ยังช่วยเสริมความมั่นใจส่วนตัวสำหรับผมด้วย เพราะหลายๆครั้งก็ยังไม่กล้าทุ่มซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นพิเศษ ยังใช้ Dollar Cost Average อยู่ ว่าก็ยังเป็นวิธีที่ไม่เลวร้ายมากจนเกินไปนักครับ