ข่าวน้ำท่วม...
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 1
เร่ิมจากจีน
โวยน้ำท่วมกรุงปักกิ่ง ตาย 37 ศพ “ไฉนสิ่งก่อสร้างแพงลิบของรัฐ ถึงเปราะบางเช่นนี้”
ผู้จัดการออนไลน์ /เอเยนซี - มหาอุทกภัยล่าสุดกรุงปักกิ่งเมืองหลวงของจีนได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 37 รายในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเป็นกระแสไม่พอใจจนมีเสียงตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐทุ่มเงินมหาศาลสร้างขึ้น ว่าเหตุไฉนถึงเปราะบางจนกลายเป็นหายนะสาหัสถึงเพียงนี้
ภาพคุ้นๆ...
อ่านต่อ http://www.manager.co.th/China/ViewNews ... 0000090354
โวยน้ำท่วมกรุงปักกิ่ง ตาย 37 ศพ “ไฉนสิ่งก่อสร้างแพงลิบของรัฐ ถึงเปราะบางเช่นนี้”
ผู้จัดการออนไลน์ /เอเยนซี - มหาอุทกภัยล่าสุดกรุงปักกิ่งเมืองหลวงของจีนได้คร่าชีวิตประชาชนไปแล้ว 37 รายในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเป็นกระแสไม่พอใจจนมีเสียงตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐทุ่มเงินมหาศาลสร้างขึ้น ว่าเหตุไฉนถึงเปราะบางจนกลายเป็นหายนะสาหัสถึงเพียงนี้
ภาพคุ้นๆ...
อ่านต่อ http://www.manager.co.th/China/ViewNews ... 0000090354
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 2
ใครอยู่แถวภาคเหนือ & อีสานระวังฝนตกหนักนะครับ
อุตุฯเหนือเตือนพายุวีเซนเต ทำฝนตกหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 23 กรกฎาคม ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่องพายุโซนร้อน"วีเซนเต" (VIVENTE) ว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันเดียวกัน พายุโซนร้อน"วีเซนเต" ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมา 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นผ่านเกาะไหหลำในวันที่ 24 กรกฎาคม นี้ และจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 25 กรกฎาคม นี้ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้ภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 24 -27 กรกฎาคมนี้ จึงขอแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยใกล้ทางน้ำหลากระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
อุตุฯเหนือเตือนพายุวีเซนเต ทำฝนตกหนัก
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 23 กรกฎาคม ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศฉบับที่ 1 เรื่องพายุโซนร้อน"วีเซนเต" (VIVENTE) ว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วันเดียวกัน พายุโซนร้อน"วีเซนเต" ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมา 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวขึ้นผ่านเกาะไหหลำในวันที่ 24 กรกฎาคม นี้ และจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามในวันที่ 25 กรกฎาคม นี้ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้ภาคเหนือมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก และเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 24 -27 กรกฎาคมนี้ จึงขอแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยใกล้ทางน้ำหลากระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 3
แปลกแต่จริง ฝนตกทุกวันแต่น้ำไหลเข้าเขื่อนน้อย?
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:00 น.
http://www.dailynews.co.th/article/440/134439
บทเรียนปริมาณน้ำในปี 2554 ที่มีมากกว่าปกติ ทำให้การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนปีนี้ได้บูรณาการแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการพร่องน้ำล่วงหน้าสำรองพื้นที่ว่างสำหรับรับน้ำช่วงฤดูฝน ติดตาม ประเมินสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำ เพื่อกำหนดระบายน้ำอย่างเหมาะสม ประชุม และวางแผนร่วมกับหลายหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เน้นป้องกันอุทกภัยอย่างเต็มที่
ในช่วงนี้มีฝนตกลงมาแทบทุกวันของแทบทุกภูมิภาค ซึ่งทำให้ประชาชนวิตกกังวลอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหรือไม่ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกเช่นกันที่ฝนฟ้าได้กระหน่ำตกลงมาทุกวัน ปรากฏว่าน้ำในเขื่อนใหญ่ ๆ ที่เป็นเขื่อนสำคัญของประเทศในภาคเหนือกลับมีน้ำในเขื่อนน้อยกว่าปีที่แล้ว
จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ศูนย์นิรภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูล กรมชลประทาน ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555) ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 36,745 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2554 (41,336 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,591 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 98.14 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 118.92 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,168 และ 4,169 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 46 และ 44 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,337 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 40.05 ล้านลูกบาศก์เมตร
จะเห็นว่า แม้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ยังสามารถรับน้ำได้อีก แต่ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำไหลเข้าอยู่ในปริมาณน้อย และหลายแห่งต้องระบายน้ำเพิ่ม เพื่อช่วยเกษตรกรในฤดูทำนาด้วย
ด้าน ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2555 (กลางพฤษภาคม-กลางตุลาคม) ว่า ในระยะแรกจะมีฝนตกเป็นระยะ ๆ เกือบตลอดช่วง แต่ปริมาณฝนยังมีไม่มากนัก โดยครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนที่ตกลงมาจะมีน้อย อาจทำให้น้ำมีไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรในบางพื้นที่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน และปริมาณฝนจะดีขึ้นช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน โดยจะมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ ซึ่งปริมาณฝนรวมโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มใกล้เคียงค่าปกติ
“สำหรับพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อน และไต้ฝุ่น) คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าประเทศไทย 1-2 ลูก โดยมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนช่วงเดือนสิงหาคม/กันยายน และ/หรือ ภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม/พฤศจิกายน”
หลังผ่านระยะฝนทิ้งช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม เมื่อฝนได้ตกเหนือเขื่อนคงต้องดูว่าจะมีปริมาณฝนมากน้อยเท่าไหร่ และไหลลงอ่างมากน้อยเพียงใด จะส่งผลให้ปีนี้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ หรือ ปริมาณน้ำจะมีมากกว่าปกติเหมือนปีที่ผ่านมาหรือไม่ อย่างไร การเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติ พร้อมใช้นโยบายการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบรอบด้าน ถือเป็นสิ่งจำเป็น
สัญญาณของเขื่อนใหญ่ ๆ ที่ในขณะนี้มีจำนวนน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว และการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้าไทย 1-2 ลูก ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าปี 2555 นี้น้ำจะไม่ท่วมใหญ่เป็นมหาอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2555 เวลา 06:00 น.
http://www.dailynews.co.th/article/440/134439
บทเรียนปริมาณน้ำในปี 2554 ที่มีมากกว่าปกติ ทำให้การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนปีนี้ได้บูรณาการแนวทางต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งการพร่องน้ำล่วงหน้าสำรองพื้นที่ว่างสำหรับรับน้ำช่วงฤดูฝน ติดตาม ประเมินสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำ เพื่อกำหนดระบายน้ำอย่างเหมาะสม ประชุม และวางแผนร่วมกับหลายหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง เน้นป้องกันอุทกภัยอย่างเต็มที่
ในช่วงนี้มีฝนตกลงมาแทบทุกวันของแทบทุกภูมิภาค ซึ่งทำให้ประชาชนวิตกกังวลอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้งหรือไม่ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกเช่นกันที่ฝนฟ้าได้กระหน่ำตกลงมาทุกวัน ปรากฏว่าน้ำในเขื่อนใหญ่ ๆ ที่เป็นเขื่อนสำคัญของประเทศในภาคเหนือกลับมีน้ำในเขื่อนน้อยกว่าปีที่แล้ว
จากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ศูนย์นิรภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (ข้อมูล กรมชลประทาน ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555) ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศมีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 36,745 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2554 (41,336 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,591 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ทั้งหมดวันนี้ 98.14 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายวันนี้ 118.92 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,168 และ 4,169 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 46 และ 44 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมดตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,337 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำระบายรวมกันทั้งสองอ่างฯ วันนี้ 40.05 ล้านลูกบาศก์เมตร
จะเห็นว่า แม้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ยังสามารถรับน้ำได้อีก แต่ขณะเดียวกัน ปริมาณน้ำไหลเข้าอยู่ในปริมาณน้อย และหลายแห่งต้องระบายน้ำเพิ่ม เพื่อช่วยเกษตรกรในฤดูทำนาด้วย
ด้าน ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ.2555 (กลางพฤษภาคม-กลางตุลาคม) ว่า ในระยะแรกจะมีฝนตกเป็นระยะ ๆ เกือบตลอดช่วง แต่ปริมาณฝนยังมีไม่มากนัก โดยครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนที่ตกลงมาจะมีน้อย อาจทำให้น้ำมีไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรในบางพื้นที่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน และปริมาณฝนจะดีขึ้นช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน โดยจะมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ ซึ่งปริมาณฝนรวมโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มใกล้เคียงค่าปกติ
“สำหรับพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชั่น โซนร้อน และไต้ฝุ่น) คาดว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าประเทศไทย 1-2 ลูก โดยมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนช่วงเดือนสิงหาคม/กันยายน และ/หรือ ภาคใต้ช่วงเดือนตุลาคม/พฤศจิกายน”
หลังผ่านระยะฝนทิ้งช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม เมื่อฝนได้ตกเหนือเขื่อนคงต้องดูว่าจะมีปริมาณฝนมากน้อยเท่าไหร่ และไหลลงอ่างมากน้อยเพียงใด จะส่งผลให้ปีนี้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ หรือ ปริมาณน้ำจะมีมากกว่าปกติเหมือนปีที่ผ่านมาหรือไม่ อย่างไร การเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติ พร้อมใช้นโยบายการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบรอบด้าน ถือเป็นสิ่งจำเป็น
สัญญาณของเขื่อนใหญ่ ๆ ที่ในขณะนี้มีจำนวนน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว และการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนพัดเข้าไทย 1-2 ลูก ซึ่งก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าปี 2555 นี้น้ำจะไม่ท่วมใหญ่เป็นมหาอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว.
ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 4
ข่าววีเซนเต แบบละเอียดขึ้น
อุตุฯ ประกาศเตือน ฉ.6 พายุโซนร้อนวีเซนเต ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว
วันจันทร์ที่ 23 กรกฏาคม 2012 เวลา 16:56 น. อนงค์วดี ด่านปาน
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย "พายุโซนร้อนวีเซนเต (VICENTE)" ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 เมื่อเวลา 16.30 น. วันนี้ (23 ก.ค.55)
พายุโซนร้อน “วีเซนเต” (VICENTE) ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นผ่านเกาะไหหลำในพรุ่งนี้ (24 ก.ค.55) และจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 นี้
ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้คือ
– ในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม
– ในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์
– ในช่วงวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดระนอง พังงา
ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำไหลหลาก บริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
สำหรับในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในเวลา 23.30 น
-จบ-
อุตุฯ ประกาศเตือน ฉ.6 พายุโซนร้อนวีเซนเต ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว
วันจันทร์ที่ 23 กรกฏาคม 2012 เวลา 16:56 น. อนงค์วดี ด่านปาน
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย "พายุโซนร้อนวีเซนเต (VICENTE)" ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 เมื่อเวลา 16.30 น. วันนี้ (23 ก.ค.55)
พายุโซนร้อน “วีเซนเต” (VICENTE) ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหลำ ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.7 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนตัวขึ้นผ่านเกาะไหหลำในพรุ่งนี้ (24 ก.ค.55) และจะขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 นี้
ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะส่งผลทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้คือ
– ในช่วงวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม
– ในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก เพชรบูรณ์
– ในช่วงวันที่ 25-27 กรกฎาคม 2555 ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และภาคใต้ฝั่งตะวันตก บริเวณจังหวัดระนอง พังงา
ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ลุ่ม ใกล้ทางน้ำไหลหลาก บริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
สำหรับในช่วงวันที่ 24-27 กรกฎาคม 2555 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย
อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในเวลา 23.30 น
-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 5
กรมชลฯเผยเขื่อนยังรับน้ำได้กว่า 3หมื่นลบ.ม.
23 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:10 น.
กรมชลประทานเผยเขื่อนทั่วประเทศยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนได้กว่า 3.3 หมื่นล้าน ลบ.ม.
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด 23 ก.ค. 2555 มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 36,945 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 33,000 ล้านลบ.ม.
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในภาคเหนือ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 13,000 ล้านลบ.ม. โดย เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,078 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 45% ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 7,300 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,141 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 44 % ของความจุอ่างฯสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 5,300 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 236 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 25 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลบ.ม. แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่มีน้ำไหลลงอ่างฯมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย
ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 5,300 ล้านลบ.ม. อาทิ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 527 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 27% ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,400 ล้านลบ.ม. เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 119 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 38 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 190 ล้านลูกบาศก์เมตร แนวโน้มเขื่อนหลายแห่งภาคอีสาน ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ส่วนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 96 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 12 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 680 ล้านลบ.ม. เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 44 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 28 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 100 ล้านลบ.ม. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 56 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 25% ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 160 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 121 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 49 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 120 ล้านลบ.ม. แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก เริ่มมีน้ำไหลลงอ่างฯมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย
-จบ-
23 กรกฎาคม 2555 เวลา 21:10 น.
กรมชลประทานเผยเขื่อนทั่วประเทศยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนได้กว่า 3.3 หมื่นล้าน ลบ.ม.
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ ล่าสุด 23 ก.ค. 2555 มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 36,945 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 53% ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 33,000 ล้านลบ.ม.
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในภาคเหนือ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 13,000 ล้านลบ.ม. โดย เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 6,078 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 45% ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 7,300 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 4,141 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 44 % ของความจุอ่างฯสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 5,300 ล้านลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 236 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 25 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 700 ล้านลบ.ม. แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ส่วนใหญ่มีน้ำไหลลงอ่างฯมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย
ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่างๆ ยังสามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อีกกว่า 5,300 ล้านลบ.ม. อาทิ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 527 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 27% ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 1,400 ล้านลบ.ม. เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 119 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 38 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 190 ล้านลูกบาศก์เมตร แนวโน้มเขื่อนหลายแห่งภาคอีสาน ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ส่วนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 96 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 12 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 680 ล้านลบ.ม. เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี มีปริมาณน้ำ 44 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 28 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 100 ล้านลบ.ม. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 56 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 25% ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 160 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนประแสร์ จ.ระยอง มีปริมาณน้ำ 121 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 49 % ของความจุอ่างฯ สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 120 ล้านลบ.ม. แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก เริ่มมีน้ำไหลลงอ่างฯมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย
-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- simpleBE
- Verified User
- โพสต์: 2335
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 6
พิษณุโลกวันนี้ฝนตกทั้งวันครับ
แต่แม่น้ำน่านยังพร่องอยู่
แต่แม่น้ำน่านยังพร่องอยู่
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 7
รู้สู้ฟลัด by Thai VI ครับ ^___^simpleBE เขียน:พิษณุโลกวันนี้ฝนตกทั้งวันครับ
แต่แม่น้ำน่านยังพร่องอยู่
Update วีเซนเต้เพิ่งถล่มฮ่องกง
พายุวีเซนเต้ถล่มฮ่องกง
วันเผยแพร่ วันอังคาร, 24 กรกฎาคม 2555 10:53
พายุไต้ฝุ่นรุนแรงที่สุดในรอบ 13 ปี พัดถล่มเกาะฮ่องกง ทำให้เกิดฝนตกหนัก ทำให้การดำเนินธุรกิจในฮ่องกงต้องหยุดชะงัก ขณะที่ตลาดหุ้นต้องปิดทำการในช่วงเช้า และสายการบินต้องยกเลิกเที่ยวบินหรือเลื่อนเวลาเที่ยวบินจำนวนมาก
พายุ “วีเซนเต้” ที่มีความเร็วลมอย่างน้อย 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้พัดถล่มเกาะฮ่องกง ส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก//คลื่น ลมแรง ทำให้ต้นไม้หักโค่น และล่าสุดมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากภัยธรรมชาติครั้งนี้แล้วกว่า 100 คน
หลังเที่ยงคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา ทางการฮ่องกง ได้ออกประกาศเตือนภัยพายุในระดับ 10 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ก่อนปรับลดมาอยู่ที่ระดับ 8 ตั้งแต่เวลา 3 นาฬิกา 35 นาที ของวันนี้ ซึ่งการเตือนระดับ 8 ทำให้ตลาดการเงิน//โรงเรียน//ธุรกิจ และหน่วยงานราชการที่ไม่ได้ให้บริการจำเป็นต้องปิดทำการ และส่งผลให้การดำเนินธุรกิจในฮ่องกงหยุดชะงัก ขณะที่มีผู้โดยสารจำนวนมากติดค้างอยู่ตามท่าเรือ//สถานีรถโดยสารประจำทาง และสนามบิน โดยสายการบินจำเป็นต้องยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินรวมกว่า 300 เที่ยวบิน
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาฮ่องกง บอกว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย พายุไต้ฝุ่นลูกนี้ได้เบี่ยงออกจากฮ่องกงและอ่อนกำลังลง และล่าสุดได้ปรับลดการเตือนภัยมาอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งจะทำให้ตลาดหุ้นฮ่องกงสามารถเปิดทำการตามปกติได้ในภาคบ่าย หลังจากปิดทำการในช่วงเช้าที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาของไทย ได้ประกาศเตือนภัยเมื่อเวลา 4 นาฬิกาของวันนี้ ว่า คาดว่า พายุวีเซนเต้ จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งตอนเหนือเกาะไหหลำในวันนี้ และจะอ่อนกำลังลง ก่อนเคลื่อนตัวไปประเทศเวียดนามตอนบนในวันพรุ่งนี้
ซึ่งลักษณะดังกล่าว จะส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งจนถึงวันศุกร์นี้
-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 8
รัฐบาลเปิดเว็บไซต์ waterforthai ให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมระบบการสื่อสารสำรอง หากเกิดภัยพิบัติขึ้น
นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ดูแลประชาชนในยามที่ประสบภัยพิบัติ ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ แล้วส่งมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อประมวลผล ก่อนส่งข้อมูลกลับไปให้ประชาชนได้รับทราบ และหาทางรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น หากเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ ไม่สามารถใช้ได้ ภาครัฐได้เตรียมระบบการสื่อสารสำรองไว้พร้อมแล้ว ทั้งโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม วิทยุสื่อสาร และรถดาวเทียม ขณะเดียวกัน ได้จัดชุดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนในจังหวัดพื้นที่เสี่ยงภัย 20 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัยอีกทางหนึ่งด้วย รวมถึงระบบเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่รวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำในพื้นที่ต่างๆ ก่อนประมวลและแสดงผลให้ประชาชนเข้าใจง่าย ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.waterforthai.go.th
สำหรับประชาชนที่ต้องการทราบกระบวนการเตือนภัยของชาติ รวมถึงต้องการสัมผัสเทคโนโลยีใหม่ๆ และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 4G สามารถเข้าชมได้ภายในงาน Bangkok International ICT Expo 2012 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : จุฑามาส รักษาพันธุ์ / สวท. Rewriter : ฑีฆะสุดา ภักดี / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้ดูแลประชาชนในยามที่ประสบภัยพิบัติ ด้วยการนำระบบคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของภาครัฐ แล้วส่งมายังศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อประมวลผล ก่อนส่งข้อมูลกลับไปให้ประชาชนได้รับทราบ และหาทางรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น หากเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ ไม่สามารถใช้ได้ ภาครัฐได้เตรียมระบบการสื่อสารสำรองไว้พร้อมแล้ว ทั้งโทรศัพท์ผ่านดาวเทียม วิทยุสื่อสาร และรถดาวเทียม ขณะเดียวกัน ได้จัดชุดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความรู้กับประชาชนในจังหวัดพื้นที่เสี่ยงภัย 20 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัยอีกทางหนึ่งด้วย รวมถึงระบบเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำที่รวบรวมข้อมูลปริมาณน้ำในพื้นที่ต่างๆ ก่อนประมวลและแสดงผลให้ประชาชนเข้าใจง่าย ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.waterforthai.go.th
สำหรับประชาชนที่ต้องการทราบกระบวนการเตือนภัยของชาติ รวมถึงต้องการสัมผัสเทคโนโลยีใหม่ๆ และอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 4G สามารถเข้าชมได้ภายในงาน Bangkok International ICT Expo 2012 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-6 สิงหาคม 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : จุฑามาส รักษาพันธุ์ / สวท. Rewriter : ฑีฆะสุดา ภักดี / สวท.
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : http://thainews.prd.go.th
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 9
กางแผน...สู้ศึกน้ำท่วมกรุงเก่า ปิดจุดอ่อน "ช่วยเหลือทั่วถึง-ไม่มั่ว"
updated: 04 ส.ค. 2555 เวลา 09:31:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"พระนครศรีอยุธยา" ซึ่งเป็นจังหวัดปลายทางน้ำและเป็นที่ราบลุ่มรับน้ำจากภาคเหนือ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำหลากอีกครั้ง แต่ดีกรีความรุนแรงจะซ้ำรอยอุทกภัยใหญ่ปี 2554 หรือไม่ ต้องจับตากันอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญในปีนี้มีการเตรียมรับมือไว้พรั่งพร้อมแค่ไหน อย่างไร ?
"วิทยา ผิวผ่อง" ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพ่อเมืองที่เคยสู้ศึกอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และในปัจจุบันยังปักหลักอยู่ในเก้าอี้นี้ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ว่า จังหวัดได้เตรียมความพร้อมอย่างหนักเพื่อรับมือน้ำท่วม ภายใต้การบริหารจัดการน้ำให้ถูกต้องทั้งระบบกับงบประมาณที่รัฐบาลให้มากว่า 2,000 ล้านบาท โดยมีแผนป้องกันและกำหนดทิศทางไหลของน้ำ มีพื้นที่รองรับน้ำ มีเส้นทางระบายน้ำจึงจะสามารถสู้กับน้ำได้
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งพื้นที่อยุธยาเป็น 4 ลุ่มน้ำ คือ 1.แม่น้ำเจ้าพระยา 2.แม่น้ำป่าสัก 3.แม่น้ำน้อย 4.แม่น้ำลพบุรี และตั้งหัวหน้าส่วนราชการเข้าไปดูแลแต่ละลุ่มน้ำว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
นอกจากนี้ จะมีหน่วยงานในจังหวัดเข้ามาร่วมเป็นหูเป็นตาในการทำงาน โดยแต่งตั้งให้นายอำเภอทุกพื้นที่เป็นเลขานุการ ในแต่ละลุ่มน้ำจะต้องมีมาตรการป้องกัน มาตรการเก็บกักน้ำ การระบายน้ำอย่างไร
สำหรับแผนงานในภาพรวมนั้น มีการแบ่งพื้นที่อยุธยาเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม และเขตชุมชนขนาดใหญ่ จะป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปเพราะจะมีมูลค่าความเสียหายมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยทำคันกั้นน้ำเสริมเข้าไป 1 เมตรจากเดิม
ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตก จะต้องกั้นและยกถนน ทำเขื่อน ทำคันดินให้สูงเท่ากับระดับน้ำที่ท่วมเมื่อปี 2554 แผนงานดังกล่าวทำเสร็จไปแล้ว 80-90%
ในส่วนของ "พื้นที่รับน้ำนอง" อยุธยามีทั้งหมด 7 ทุ่ง สามารถรับน้ำนองได้ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ปีที่ผ่านมาน้ำมา 2 หมื่นล้าน ลบ.ม. ในส่วนของเส้นทางระบายน้ำ ได้ขุดลอกไปทั้งหมด 90 คลอง
นอกจากนี้ยังมีแผนขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะขุดลอกตั้งแต่วัดพนัญเชิง
ไปจนถึงศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ขุดเฉพาะตรงกึ่งกลางแม่น้ำลึก 1 เมตร ไปซ้าย 25 เมตร ขวา 25 เมตร เว้นจากที่ขุดไปจนถึงตลิ่งอีก 75 เมตร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อตลิ่ง ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่รับน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1.9 ล้าน ลบ.ม. และสามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้นอีก 100 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะนี้กำลังเริ่มขุด และต้องให้เสร็จก่อนน้ำมาประมาณเดือนกันยายนให้ได้ ส่วนการยกระดับถนนตั้งแต่อำเภอภาชี นครหลวง และถนนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสักทั้งหมด ขณะนี้ทำไปแล้ว 95%
ที่สำคัญยังให้ทุกหมู่บ้านทำ "แผนเผชิญเหตุ" โดยเอาบทเรียนจากปี 2554 มาเป็นพื้นฐาน และให้แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 น้ำท่วมจนอยู่ในบ้านไม่ได้ จะให้มาอยู่ศูนย์อพยพและศูนย์พักพิง มีกี่ครัวเรือน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกี่คนที่จะเข้ามาอยู่ที่ศูนย์พักพิง และแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน ได้แก่ 1.กลุ่มคนทำกับข้าว 2.กลุ่มทำความสะอาด 3.กลุ่มติดต่อประสานงานขอความช่วยเหลือ
ซื้ออาหารและยา และ 4 กลุ่ม รปภ. ดูแลเรื่องความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และส่วนสุดท้ายจะต้องมีคนดูแลด้านสาธารณสุข เรื่องการเจ็บป่วย ทุกคนที่ไปอยู่ศูนย์พักพิงจะรู้หน้าที่ว่าต้องทำอะไร
ส่วนกลุ่มที่ 2 จำนวน 50 หลังคาเรือน ที่สามารถอยู่ในบ้านได้ เช่น น้ำท่วมบ้านแค่ชั้น 1 แต่ชั้น 2 ยังอยู่ได้ จะให้เลือกหัวหน้าคุ้ม เพื่อทำหน้าที่ติดต่อกับทางอำเภอและตำบล เป็นคนมารับข้าวสารอาหารแห้งไปแจก ขอเรือ ห้องน้ำ 1 คนต่อ 20 หลังคาเรือน
"เราจะไม่ใช้วิธีการทำงานแบบเดิมเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง เราจึงใช้แนวคิดนี้ คือ ประชาชนช่วยประชาชนเอง เพราะประชาชนเท่านั้นจะรู้ว่าใครเดือดร้อน ใครต้องการความช่วยเหลืออะไร ทำให้เข้าถึงมากขึ้น ที่ผ่านมาภาครัฐทำงานไม่ทั่วถึง ต้องจัดระบบให้ดี ไม่มั่ว ตอนนี้ทุกหมู่บ้านกำลังทำแผนตัวเอง และมีการซ้อมแล้ว"
ในส่วนของแผนแต่ละอำเภอนั้น เมื่อเกิดน้ำท่วม ทุกอำเภอจะมีถนนสายไหนที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ได้ จังหวัดจะไปยกระดับถนนเส้นที่จะใช้สัญจร ถ้ายกระดับไม่ได้ก็จะไปทำคันดินกั้นยุทธศาสตร์ของเราทุกอำเภอจะต้องมีหนึ่งเส้นทางหลัก เพื่อไม่ให้เส้นทางการคมนาคมไปภาคเหนือและภาคอีสานถูกตัดขาด
ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรม กำลังจะซ้อมการขนย้ายคนและเครื่องจักร ตอนนี้ได้ประสานงานการขนย้ายกับจังหวัดสระบุรี จะใช้เขตพื้นที่ค่ายอดิศร และศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ
การรับมือนำท่วมระยะยาว ผู้ว่าฯกรุงเก่าเห็นว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปีแผนจะสำเร็จได้ เพราะแผนรับมือน้ำท่วมอยุธยาไม่ควรที่จะบริหารที่อยุธยา ต้องไปบริหารที่ต้นน้ำ คือ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ ควรที่จะบริหารน้ำไม่ให้มาถึงอยุธยาพร้อมกันและมากเกิน
สิ่งที่ยั่งยืนคือ ระบบการจัดการ ปิง วัง ยม น่านให้ได้ ทางเหนือควรปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ทำยังไงถึงจะปล่อยน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้มากที่สุด ภาพรวมแผนรับมือน้ำท่วมของจังหวัดคืบหน้าแล้ว 80% จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้
ในภาคอุตสาหกรรมนั้นยังมั่นใจว่า น้ำท่วมที่ผ่านมายังไม่กระทบนักลงทุน คาดว่าปีนี้จะมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2.5% มูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านบาท
นี่คือ ความพร้อมของแผนปฏิบัติการรับมือน้ำท่วมปลายปีนี้ของเมืองกรุงเก่า ซึ่งมีความยากและท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเมืองปลายน้ำที่รับมวลน้ำจากภาคเหนือ
-จบ-
updated: 04 ส.ค. 2555 เวลา 09:31:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
"พระนครศรีอยุธยา" ซึ่งเป็นจังหวัดปลายทางน้ำและเป็นที่ราบลุ่มรับน้ำจากภาคเหนือ จะต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วม-น้ำหลากอีกครั้ง แต่ดีกรีความรุนแรงจะซ้ำรอยอุทกภัยใหญ่ปี 2554 หรือไม่ ต้องจับตากันอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญในปีนี้มีการเตรียมรับมือไว้พรั่งพร้อมแค่ไหน อย่างไร ?
"วิทยา ผิวผ่อง" ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพ่อเมืองที่เคยสู้ศึกอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 และในปัจจุบันยังปักหลักอยู่ในเก้าอี้นี้ เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนป้องกันน้ำท่วมในปีนี้ว่า จังหวัดได้เตรียมความพร้อมอย่างหนักเพื่อรับมือน้ำท่วม ภายใต้การบริหารจัดการน้ำให้ถูกต้องทั้งระบบกับงบประมาณที่รัฐบาลให้มากว่า 2,000 ล้านบาท โดยมีแผนป้องกันและกำหนดทิศทางไหลของน้ำ มีพื้นที่รองรับน้ำ มีเส้นทางระบายน้ำจึงจะสามารถสู้กับน้ำได้
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งพื้นที่อยุธยาเป็น 4 ลุ่มน้ำ คือ 1.แม่น้ำเจ้าพระยา 2.แม่น้ำป่าสัก 3.แม่น้ำน้อย 4.แม่น้ำลพบุรี และตั้งหัวหน้าส่วนราชการเข้าไปดูแลแต่ละลุ่มน้ำว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
นอกจากนี้ จะมีหน่วยงานในจังหวัดเข้ามาร่วมเป็นหูเป็นตาในการทำงาน โดยแต่งตั้งให้นายอำเภอทุกพื้นที่เป็นเลขานุการ ในแต่ละลุ่มน้ำจะต้องมีมาตรการป้องกัน มาตรการเก็บกักน้ำ การระบายน้ำอย่างไร
สำหรับแผนงานในภาพรวมนั้น มีการแบ่งพื้นที่อยุธยาเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม และเขตชุมชนขนาดใหญ่ จะป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปเพราะจะมีมูลค่าความเสียหายมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ โดยทำคันกั้นน้ำเสริมเข้าไป 1 เมตรจากเดิม
ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตก จะต้องกั้นและยกถนน ทำเขื่อน ทำคันดินให้สูงเท่ากับระดับน้ำที่ท่วมเมื่อปี 2554 แผนงานดังกล่าวทำเสร็จไปแล้ว 80-90%
ในส่วนของ "พื้นที่รับน้ำนอง" อยุธยามีทั้งหมด 7 ทุ่ง สามารถรับน้ำนองได้ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร ปีที่ผ่านมาน้ำมา 2 หมื่นล้าน ลบ.ม. ในส่วนของเส้นทางระบายน้ำ ได้ขุดลอกไปทั้งหมด 90 คลอง
นอกจากนี้ยังมีแผนขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะขุดลอกตั้งแต่วัดพนัญเชิง
ไปจนถึงศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร ขุดเฉพาะตรงกึ่งกลางแม่น้ำลึก 1 เมตร ไปซ้าย 25 เมตร ขวา 25 เมตร เว้นจากที่ขุดไปจนถึงตลิ่งอีก 75 เมตร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อตลิ่ง ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่รับน้ำเพิ่มขึ้นอีก 1.9 ล้าน ลบ.ม. และสามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้นอีก 100 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะนี้กำลังเริ่มขุด และต้องให้เสร็จก่อนน้ำมาประมาณเดือนกันยายนให้ได้ ส่วนการยกระดับถนนตั้งแต่อำเภอภาชี นครหลวง และถนนที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสักทั้งหมด ขณะนี้ทำไปแล้ว 95%
ที่สำคัญยังให้ทุกหมู่บ้านทำ "แผนเผชิญเหตุ" โดยเอาบทเรียนจากปี 2554 มาเป็นพื้นฐาน และให้แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 น้ำท่วมจนอยู่ในบ้านไม่ได้ จะให้มาอยู่ศูนย์อพยพและศูนย์พักพิง มีกี่ครัวเรือน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกี่คนที่จะเข้ามาอยู่ที่ศูนย์พักพิง และแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน ได้แก่ 1.กลุ่มคนทำกับข้าว 2.กลุ่มทำความสะอาด 3.กลุ่มติดต่อประสานงานขอความช่วยเหลือ
ซื้ออาหารและยา และ 4 กลุ่ม รปภ. ดูแลเรื่องความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และส่วนสุดท้ายจะต้องมีคนดูแลด้านสาธารณสุข เรื่องการเจ็บป่วย ทุกคนที่ไปอยู่ศูนย์พักพิงจะรู้หน้าที่ว่าต้องทำอะไร
ส่วนกลุ่มที่ 2 จำนวน 50 หลังคาเรือน ที่สามารถอยู่ในบ้านได้ เช่น น้ำท่วมบ้านแค่ชั้น 1 แต่ชั้น 2 ยังอยู่ได้ จะให้เลือกหัวหน้าคุ้ม เพื่อทำหน้าที่ติดต่อกับทางอำเภอและตำบล เป็นคนมารับข้าวสารอาหารแห้งไปแจก ขอเรือ ห้องน้ำ 1 คนต่อ 20 หลังคาเรือน
"เราจะไม่ใช้วิธีการทำงานแบบเดิมเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง เราจึงใช้แนวคิดนี้ คือ ประชาชนช่วยประชาชนเอง เพราะประชาชนเท่านั้นจะรู้ว่าใครเดือดร้อน ใครต้องการความช่วยเหลืออะไร ทำให้เข้าถึงมากขึ้น ที่ผ่านมาภาครัฐทำงานไม่ทั่วถึง ต้องจัดระบบให้ดี ไม่มั่ว ตอนนี้ทุกหมู่บ้านกำลังทำแผนตัวเอง และมีการซ้อมแล้ว"
ในส่วนของแผนแต่ละอำเภอนั้น เมื่อเกิดน้ำท่วม ทุกอำเภอจะมีถนนสายไหนที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ได้ จังหวัดจะไปยกระดับถนนเส้นที่จะใช้สัญจร ถ้ายกระดับไม่ได้ก็จะไปทำคันดินกั้นยุทธศาสตร์ของเราทุกอำเภอจะต้องมีหนึ่งเส้นทางหลัก เพื่อไม่ให้เส้นทางการคมนาคมไปภาคเหนือและภาคอีสานถูกตัดขาด
ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรม กำลังจะซ้อมการขนย้ายคนและเครื่องจักร ตอนนี้ได้ประสานงานการขนย้ายกับจังหวัดสระบุรี จะใช้เขตพื้นที่ค่ายอดิศร และศูนย์ฝึกอบรมตำรวจ
การรับมือนำท่วมระยะยาว ผู้ว่าฯกรุงเก่าเห็นว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 ปีแผนจะสำเร็จได้ เพราะแผนรับมือน้ำท่วมอยุธยาไม่ควรที่จะบริหารที่อยุธยา ต้องไปบริหารที่ต้นน้ำ คือ เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ น่าน แพร่ ควรที่จะบริหารน้ำไม่ให้มาถึงอยุธยาพร้อมกันและมากเกิน
สิ่งที่ยั่งยืนคือ ระบบการจัดการ ปิง วัง ยม น่านให้ได้ ทางเหนือควรปล่อยน้ำให้เป็นจังหวะ ทำยังไงถึงจะปล่อยน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้มากที่สุด ภาพรวมแผนรับมือน้ำท่วมของจังหวัดคืบหน้าแล้ว 80% จะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้
ในภาคอุตสาหกรรมนั้นยังมั่นใจว่า น้ำท่วมที่ผ่านมายังไม่กระทบนักลงทุน คาดว่าปีนี้จะมีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2.5% มูลค่ากว่า 2.5 หมื่นล้านบาท
นี่คือ ความพร้อมของแผนปฏิบัติการรับมือน้ำท่วมปลายปีนี้ของเมืองกรุงเก่า ซึ่งมีความยากและท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเมืองปลายน้ำที่รับมวลน้ำจากภาคเหนือ
-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 10
'ปลอด'ขอโทษน้ำท่วมสุโขทัย-ปัดไม่ได้เกิดจากทดสอบระบายน้ำ
วันอังคารที่ 11 กันยายน 2012 เวลา 11:15 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (11ก.ย.) ก่อนการประชุม ครม. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้แถลงถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ว่า เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจและไม่ตกใจ กบอ.ขอยืนยันว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว 20%
เช่นเดียวกับปริมาณน้ำท่าก็น้อยกว่าเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา และจากรายงานของกรมชลประทานก็ไม่ปรากฏว่ามีน้ำล้นจากแม่น้ำสายหลักของประเทศเข้าสู่ทุ่งเลย โดยที่ จ.นครสวรรค์มีน้ำผ่านเพียง 1,900 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่ปีที่แล้วมีมากถึง 3,000 ลบ.ม. ส่วนเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำที่ 1,900 คิวเซก ถือว่าอยู่ในปริมาณปกติ
ส่วนสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมที่ อ.บางบาน หรือที่คลองโผงเผง จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำมากกว่าระดับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดน้ำท่วมทุกปีมานับ 100 ปีแล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ในจุดนี้ คิดว่าในวันข้างหน้าทั้ง อ.บางบาน และอ.บางไทร จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมอีกแล้ว พราะในแผนระยะยาวเราจะทำมีการทำเขื่อนหรือกำแพงกั้นน้ำป้องกัน ส่วน อ.วังน้อย ที่มีข้อกล่าวหาว่าสาเหตุน้ำท่วมเกิดจากการทดสอบการระบายน้ำเข้ากทม. ก็ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ที่อ.วังน้อยได้ประชุมเกษตร และมีรายงานขึ้นมา โดยกรมชลประทานว่าต้องการให้เก็บน้ำในปริมาณนี้ เนื่องจากต้องใช้ในการปลูกข้าวฟางลอย เพราะฉะนั้นจึงเป็นการเก็บน้ำตามความต้องการของชาวเกษตรกร ประกอบกับมีการปิดประตูน้ำที่คลองระพีพัฒน์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่น้ำจะไหลขึ้นไปทางเหนือคลองระพีพัฒน์ เข้าพื้นที่อ.วังน้อย
ส่วนพื้นที่จังหวัดสุโขทัยขณะนี้มีน้ำไหลผ่านแม่น้ำยม 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ที่เกิดน้ำท่วมขึ้นเนื่องจากเขื่อนซีเมนต์ที่สร้างขึ้นโดยเทศบาลทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำยม เกิดน้ำลอดใต้เขื่อนเข้าท่วมพื้นที่ ซึ่งคาดว่าอีก 1-2 วันน้ำจะลดลง ประตูระบายน้ำ
"ต้องขอโทษในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ขอแสดงความเห็นใจเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่อาจจะรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ใต้เขื่อน แต่ก็จะเป็นอุทธาหรณ์ในมีการตรวจสอบโครงสร้างเก่าๆ ที่สร้างขึ้นมานานแล้ว ซึ่งจะพยายามทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะที่ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ระดับน้ำในจ.สุโขทัยทรงตัว และเริ่มลดลง ซึ่งเชื่อว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากศักยภาพของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ยังสามารถรองรับน้ำได้ ขณะเดียวกันต้องขอบคุณคนในกทม. บางคนที่ออกมาแนะนำว่า ให้ระบายน้ำลงคลองต่างๆ แต่เวลานี้จะมีการระบายน้ำจากทางเหนือลงแม่น้ำสายหลักก่อน ซึ่งถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่ระบายออกทางซ้าย-ขวา เพราะอาจเป็นการวางยารัฐบาลได้ให้ผันน้ำไปท่วมในพื้นที่อื่น "นายปลอดประสพกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้มีการสำรวจเขื่อนเก่า ที่อาจมีรอยรั่ว เหมือนเช่นเขื่อนในจังหวัดสุโขทัย และให้เจ้าหน้าที่ตรวจจุดเสี่ยงก่อนน้ำท่วม เช่นแม่น้ำสแกกรัง โดยจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปทำงานเชิงรุก ช่วยเหลือเยียวยาก่อนน้ำมา และใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบในพื้นที่ ส่วนในอนาคตจะมีการทำเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ที่ภาคเหนือตอนล่างมีแม่น้ำ 4 สายหลัก ซึ่งแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายเดียวที่ไม่สามารถควบคุมต้นน้ำได้ และจะเกิดปัญหากับจังหวัดสุโขทัย อยู่ตลอด เพราะฉะนั้น จะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมต้นน้ำ โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหายจะต้องออกมาพูดให้ชัดเจนว่าต้องการหรือไม่
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรี สั่งให้สำรวจเขื่อนและประตูระบายน้ำ หากเก่าหรือชำรุดให้เร่งซ่อมแซม และให้ส่งเจ้าหน้าที่ สำรวจจุดเสี่ยงตามแนวแม่น้ำ เพื่อส่งให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนก่อนน้ำมา
-จบ-
วันอังคารที่ 11 กันยายน 2012 เวลา 11:15 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=524
ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (11ก.ย.) ก่อนการประชุม ครม. นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ได้แถลงถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ว่า เพื่อให้ประชาชนเกิดความสบายใจและไม่ตกใจ กบอ.ขอยืนยันว่าปริมาณน้ำฝนในปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว 20%
เช่นเดียวกับปริมาณน้ำท่าก็น้อยกว่าเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา และจากรายงานของกรมชลประทานก็ไม่ปรากฏว่ามีน้ำล้นจากแม่น้ำสายหลักของประเทศเข้าสู่ทุ่งเลย โดยที่ จ.นครสวรรค์มีน้ำผ่านเพียง 1,900 ลบ.ม.ต่อวินาที ขณะที่ปีที่แล้วมีมากถึง 3,000 ลบ.ม. ส่วนเขื่อนเจ้าพระยาปล่อยน้ำที่ 1,900 คิวเซก ถือว่าอยู่ในปริมาณปกติ
ส่วนสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมที่ อ.บางบาน หรือที่คลองโผงเผง จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำมากกว่าระดับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดน้ำท่วมทุกปีมานับ 100 ปีแล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ในจุดนี้ คิดว่าในวันข้างหน้าทั้ง อ.บางบาน และอ.บางไทร จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมอีกแล้ว พราะในแผนระยะยาวเราจะทำมีการทำเขื่อนหรือกำแพงกั้นน้ำป้องกัน ส่วน อ.วังน้อย ที่มีข้อกล่าวหาว่าสาเหตุน้ำท่วมเกิดจากการทดสอบการระบายน้ำเข้ากทม. ก็ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ที่อ.วังน้อยได้ประชุมเกษตร และมีรายงานขึ้นมา โดยกรมชลประทานว่าต้องการให้เก็บน้ำในปริมาณนี้ เนื่องจากต้องใช้ในการปลูกข้าวฟางลอย เพราะฉะนั้นจึงเป็นการเก็บน้ำตามความต้องการของชาวเกษตรกร ประกอบกับมีการปิดประตูน้ำที่คลองระพีพัฒน์ จึงเป็นไปไม่ได้ที่น้ำจะไหลขึ้นไปทางเหนือคลองระพีพัฒน์ เข้าพื้นที่อ.วังน้อย
ส่วนพื้นที่จังหวัดสุโขทัยขณะนี้มีน้ำไหลผ่านแม่น้ำยม 600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ที่เกิดน้ำท่วมขึ้นเนื่องจากเขื่อนซีเมนต์ที่สร้างขึ้นโดยเทศบาลทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำยม เกิดน้ำลอดใต้เขื่อนเข้าท่วมพื้นที่ ซึ่งคาดว่าอีก 1-2 วันน้ำจะลดลง ประตูระบายน้ำ
"ต้องขอโทษในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย ขอแสดงความเห็นใจเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่อาจจะรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ใต้เขื่อน แต่ก็จะเป็นอุทธาหรณ์ในมีการตรวจสอบโครงสร้างเก่าๆ ที่สร้างขึ้นมานานแล้ว ซึ่งจะพยายามทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะที่ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ระดับน้ำในจ.สุโขทัยทรงตัว และเริ่มลดลง ซึ่งเชื่อว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อจังหวัดนครสวรรค์ เนื่องจากศักยภาพของแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ยังสามารถรองรับน้ำได้ ขณะเดียวกันต้องขอบคุณคนในกทม. บางคนที่ออกมาแนะนำว่า ให้ระบายน้ำลงคลองต่างๆ แต่เวลานี้จะมีการระบายน้ำจากทางเหนือลงแม่น้ำสายหลักก่อน ซึ่งถ้าไม่จำเป็นจริงๆ จะไม่ระบายออกทางซ้าย-ขวา เพราะอาจเป็นการวางยารัฐบาลได้ให้ผันน้ำไปท่วมในพื้นที่อื่น "นายปลอดประสพกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้มีการสำรวจเขื่อนเก่า ที่อาจมีรอยรั่ว เหมือนเช่นเขื่อนในจังหวัดสุโขทัย และให้เจ้าหน้าที่ตรวจจุดเสี่ยงก่อนน้ำท่วม เช่นแม่น้ำสแกกรัง โดยจะมีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปทำงานเชิงรุก ช่วยเหลือเยียวยาก่อนน้ำมา และใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ตรวจสอบในพื้นที่ ส่วนในอนาคตจะมีการทำเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ที่ภาคเหนือตอนล่างมีแม่น้ำ 4 สายหลัก ซึ่งแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำสายเดียวที่ไม่สามารถควบคุมต้นน้ำได้ และจะเกิดปัญหากับจังหวัดสุโขทัย อยู่ตลอด เพราะฉะนั้น จะต้องมีเครื่องมือในการควบคุมต้นน้ำ โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ได้รับความเสียหายจะต้องออกมาพูดให้ชัดเจนว่าต้องการหรือไม่
นายปลอดประสพ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรี สั่งให้สำรวจเขื่อนและประตูระบายน้ำ หากเก่าหรือชำรุดให้เร่งซ่อมแซม และให้ส่งเจ้าหน้าที่ สำรวจจุดเสี่ยงตามแนวแม่น้ำ เพื่อส่งให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนก่อนน้ำมา
-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ข่าวน้ำท่วม...
โพสต์ที่ 11
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530