ธปท.เตรียมพร้อมรับ "คิวอี3" เปิดแผนโชว์ 4 เครื่องมือสกัดบาทผันผวน-แข็งค่า ปิดความเสี่ยงเม็ดเงินมหาศาลไหลทะลักท่วมเอเชีย โดยมาตรการแรงสุด คือ มาตรการสกัดกันเงินทุนไหลเข้า
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.เตรียมมาตรการทางด้านการเงิน 4-5 เครื่องมือ ไว้รองรับความผันผวนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในทิศทางแข็งค่า หลังจากมีความเป็นไปได้สูงมากที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE : Quantitative Easing) ในรอบที่ 3 เพื่อพยุงเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของโลกทะลักเข้าภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวดีกว่า
ทั้งนี้ เครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วย เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน การส่งเสริมในเรื่องเงินทุนไหลออก การเข้าแทรกแซงตลาด และมาตรการสกัดกั้น เป็นต้น ซึ่ง ธปท.จะต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม ตามสถานการณ์และความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพสูงสุด
นายประสาร กล่าวว่าในเครื่องมือทั้งหมด อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือที่เป็นธรรมชาติมากสุด โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด หากค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ผันผวนมากเกินไป ในระดับที่ผู้ประกอบการส่งออกรับได้ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนนี้ส่วนใหญ่มักจะเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าหรือคู่แข่งขันด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบเอเชีย ดังนั้น การเคลื่อนไหวสอดคล้องกับประเทศเหล่านี้ก็ไม่มีปัญหามากนัก ส่วนมาตรการสกัดก็ขึ้นกับระดับความรุนแรงของเงินทุนไหลเข้า
“ถ้าคิวอี 3 เกิดจริง คงมีเงินทะลักเข้ามาแน่ เงินบาทก็คงแข็งค่าขึ้น เวลานี้เราจึงพยายามเก็บพื้นที่เอาไว้ จะเห็นว่าช่วงปีที่ผ่านมาเงินสำรองระหว่างประเทศไทยไม่ได้เพิ่มเลย จะคงๆ อยู่ระดับนี้ หากไปดูแลก็มีค่าใช้จ่ายมาก เราเองก็เหนื่อย ก็ภาวนาอยู่”
ส่วนมาตรการที่ส่งเสริมให้เอกชนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศนั้น เป็นมาตรการเพื่อสร้างความสมดุลของค่าเงินบาท ซึ่งที่ผ่านมาค่อนข้างได้ผลดี โดยปี 2554 ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินออกไปแล้ว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ 5 เดือนแรกของปีนี้ ออกไป 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังคงต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี
อย่างไรก็ตาม ในระยะนี้มาตรการการคลังมีความจำเป็นนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย แต่ควรเป็นมาตรการที่ส่งเสริมในเรื่องการลงทุนเพื่อให้เกิดผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจในอนาคต มากกว่าการกระตุ้นการอุปโภคและบริโภค เพราะเวลานี้ประเทศไทยต้องการการลงทุนมากกว่า
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000093286
แบงค์คาด qe3 พี่ๆคิดว่ามีผลเหมือน qe1 และ q2 มั้ย คร้าบบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1049
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แบงค์คาด qe3 พี่ๆคิดว่ามีผลเหมือน qe1 และ q2 มั้ย คร้าบบ
โพสต์ที่ 2
ตอน qe1 -qe2 ทอง น้ำมัน ขึ้นมาก รอบนี้ ถ้าออกมาจริง น้ำมันจะเอาให้ถึง 200 เหรียญ ผมเปลีย่นไปซื้อรถไฮบริด แน่ เห็น ฮอนด้า ออก แจ็สไฮบริด แล้ว
ส่วนทอง จะขึ้นไป30000 ผมก้อไม่ใส่ ขนาดตอน 8000 ยังไม่อยากใส่เลย อิอิ (ไม่มีเงินจะซื้อมาใส่)
ส่วนทอง จะขึ้นไป30000 ผมก้อไม่ใส่ ขนาดตอน 8000 ยังไม่อยากใส่เลย อิอิ (ไม่มีเงินจะซื้อมาใส่)
อย่าหลุดแนวที่ตัวเองถนัด สู้สู้
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: แบงค์คาด qe3 พี่ๆคิดว่ามีผลเหมือน qe1 และ q2 มั้ย คร้าบบ
โพสต์ที่ 3
ขอแบ่งเป็นglobalกับlocalนะครับ
global ผมว่าเหมือนเดิมแต่ไม่แรงเท่าเดิมและระยะเวลาที่ได้ผลสั้นกว่าเดิม ทำไม? เพราะเราเห็นแล้วว่าทั้งสองครั้งช่วยให้สถานะการณ์ดีขึ้นแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็ตามพื้นฐานปัญหาของแต่ละที่ พูดง่ายๆคือซื้อเวลา ตราบใดที่ยังไม่"ดับชะนวน"ปัญหาให้จบ ระเบิดลูกนั้นก็จะกลับมาระเบิดเหมือนเดิม
local ขึ้นกับนโยบายของBOTแหละครับ แต่ครั้งนี้ผมหวังให้ออกcapital controlนะรักษาธุรกิจในประเทศก่อน ถ้าcapital controlออกมา ระยะสั้นคงตกระนาว แต่ระยะยาวจะกลับมาได้และอาจมากกว่าเดิม ทำไม? ก็เพราะGDP65%มาจากส่งออก เมื่อการส่งออกยังดีมีกำไร ไม่ปิดบ. คนไม่ตกงาน เงินยังหมุนเวียนได้ปกติ บ.จดทะเบียนทั้งหลายก็ยังขายดีมีกำไร มีเงินปันผล พอเทียบกับเพื่อนบ้านที่ขาดทุนหรือร่อแร่ก็ทำให้ตลท.น่าลงทุนมากขึ้น เงื่อนไขcapital controlอาจกลายเป็นสิ่งเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ และเงินไหลจากที่ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ
global ผมว่าเหมือนเดิมแต่ไม่แรงเท่าเดิมและระยะเวลาที่ได้ผลสั้นกว่าเดิม ทำไม? เพราะเราเห็นแล้วว่าทั้งสองครั้งช่วยให้สถานะการณ์ดีขึ้นแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นก็ตามพื้นฐานปัญหาของแต่ละที่ พูดง่ายๆคือซื้อเวลา ตราบใดที่ยังไม่"ดับชะนวน"ปัญหาให้จบ ระเบิดลูกนั้นก็จะกลับมาระเบิดเหมือนเดิม
local ขึ้นกับนโยบายของBOTแหละครับ แต่ครั้งนี้ผมหวังให้ออกcapital controlนะรักษาธุรกิจในประเทศก่อน ถ้าcapital controlออกมา ระยะสั้นคงตกระนาว แต่ระยะยาวจะกลับมาได้และอาจมากกว่าเดิม ทำไม? ก็เพราะGDP65%มาจากส่งออก เมื่อการส่งออกยังดีมีกำไร ไม่ปิดบ. คนไม่ตกงาน เงินยังหมุนเวียนได้ปกติ บ.จดทะเบียนทั้งหลายก็ยังขายดีมีกำไร มีเงินปันผล พอเทียบกับเพื่อนบ้านที่ขาดทุนหรือร่อแร่ก็ทำให้ตลท.น่าลงทุนมากขึ้น เงื่อนไขcapital controlอาจกลายเป็นสิ่งเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับ และเงินไหลจากที่ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ