หุ้นเด่นกลุ่มพลังงานในตลาด mai

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
jaetom
Verified User
โพสต์: 35
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นเด่นกลุ่มพลังงานในตลาด mai

โพสต์ที่ 1

โพสต์

หุ้นเด่นกลุ่มพลังงานในตลาด mai

โอกาสลงทุนในตลาด mai รออยู่ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) กับ SCBS ร่วมกันจัดงานประชุม LUNCH MEETING เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบันในประเทศได้มีโอกาสพบกับบริษัทพลังงาน 3 แห่งที่จดทะเบียนในตลาด mai คือ บมจ. เอ็นเนอร์ยี เอิร์ธ (EARTH) บมจ.ถิรไทย (TRT) และ บมจ. ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บ เบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อสนับสนุนบริษัทเหล่านี้ซึ่งมีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่สดใส MARKET CAP ของ 3 บริษัทนี้รวมกันคิดเป็น 18 % ของ mai โดยส่วนใหญ่เกิดจาก EARTH ในขณะที่ MARKET CAP ของอีกสองบริษัทที่เหลือยังมีน้อยไม่ถึง 2 พันล้านบาท
สรุปประเด็นสำคัญจากการประชุม:
EARTH: เลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการเหมืองถ่านหินซึ่งให้อัตรากำไรสูงกว่าธุรกิจเดิมของบริษัทคือการจำหน่ายถ่านหิน กลยุทธ์การเติบโตของ EARTH คือการเข้าซื้อเหมืองถ่านหินที่มีปริมาณสำรองถ่านหินประมาณ 40-50 ล้านตัน หรือคิดเป็นปริมาณการผลิต 4 ล้านตันต่อปี เป็นเวลา 10 ปี บริษัทตั้งเป้าเพิ่มปริมาณขายถ่านหินเป็น 20 ล้านตันต่อปี ในอีก 5 ปีข้างหน้า EARTH ได้มอบหมายให้ KPMG ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ศึกษาโครงสร้างทางการเงินของบริษัทเพื่อสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นและคงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไว้ไม่เกิน 2 เท่า
TRT: ผู้บริหารคาดว่า TRT จะสามารถรายงานกำไรเพิ่มขึ้นในงวดครึ่งหลังปี 2555 โดยได้รับปัจจัยหนุนจาก ออเดอร์ที่มีอยู่ซึ่งกำหนดส่งมอบในช่วงที่เหลือของปีนี้ แม้ผลการดำเนินงานในงวดครึ่งแรกปี 2555 ปรับตัวแย่ลง แต่บริษัทยังคงเป้ารายได้ในปี 2555 ไว้ที่ประมาณ 2.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.5% จากจำนวน 1.9พันล้านบาทในปี 2554 นอกจากนี้แล้วการเติบโตของรายได้หลังขยายกำลังการผลิตก็ดูมีแนวโน้มที่สดใสด้วย โดยคาดว่ารายได้จะเติบโต 14.5-15% ต่อปี หลังจากปี 2558 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายกำลังการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าจาก 5,000MVA เป็น 9,000MVA (โดยใช้งบลงทุน 280 ล้านบาท) และการขยายกำลังการผลิตโรงงานผลิตตัวถังหม้อแปลงและงานเหล็ก จาก 1,500 ตันต่อปี เป็น 10,000 ตันต่อปี (โดยใช้ลงทุน 220 ล้านบาท) บริษัทจะใช้แหล่งเงินทุนจากการออกหุ้นกู้จำนวน 600 ล้านบาทเมื่อไม่นานนี้
UAC: นอกเหนือจากธุรกิจหลักในฐานะผู้นำเข้าและจำหน่ายสารเคมี สารเร่งปฏิกิริยา น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน และอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ปิโตรเคมีน้ำมันและก๊าซโรงกลั่นน้ำมัน และโรงไฟฟ้าแล้ว UAC ก็กำลังขยายธุรกิจสู่การผลิตพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยมีโครงการหลายโครงการรออยู่แล้ว โครงการที่สำคัญ คือ การเข้าลงทุน 120 ล้านบาทในโรงงานผลิต CBG ซึ่งมีกำลังการผลิต 2,160 ตันต่อปี และมีกำหนดเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ในเดือนหน้า นอกจากนี้ UAC ก็เพิ่งเดินหน้าโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม (PPP) ด้วยงบลงทุน 620 ล้านบาท เพื่อผลิตก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) ก๊าซปิโตรเลี่ยมเหลว (LGG) และก๊าซโซลีนธรรมชาติ(NGL) จาก ASSOCIATED GAS (ก๊าซที่พบร่วมกับน้ำมัน) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบด้วย ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับ PTT ในฐานะผู้ขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทและต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้เป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จของโครงการเหล่านี้
ทั้ง 3 บริษัท คาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก AEC บริษัททั้ง 3 แห่งมองบวกเกี่ยวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพราะจะเปิดโอกาสทางธุรกิจนอกประเทสไทย TRT มั่นใจว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง ในฐานะผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระดับโลกดีที่สุดในอาเซียน TRT จะได้รับประโยชน์จากความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนมีมากขึ้นและอุปสรรคที่เกิดจาการจัดเก็บภาษีนำเข้าหม้อแปลงในอัตรา 20% หมดไป ส่วน UAC คาดว่า AEC จะส่งผลทำให้รัฐบาลลดการอุดหนุนราคาพลังงาน โดยเฉพาะ LPG และ NGV ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจ CBG ของบริษัทและโครงการใหม่ในการแปลง ASSOCIATED GAS เป็น ONG LPG และ NGL--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์ทันหุ้น
โพสต์โพสต์