มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 1
เพื่อนๆลองพิจารณากันดูครับ ว่าเค้าซื้อที่ราคา 270 บาท/หุ้นนี่มันเหมาะสมไหม
ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ครับ
http://www.thaivalueinvestor.com/webboa ... php?t=5344
Ratios 2546 2545 2544
รายได้จากการขาย/ต้นทุนขาย 1.45 1.40 1.42
Margin การขาย 31.23% 28.44% 29.40%
กำไร/ค่าใช้จ่าย 0.15 0.10 0.12
SG&A/รายได้ 0.18 0.19 0.18
1Q47 4Q46 3Q46 2Q46 1Q46
รายได้จากการขาย/ต้นทุนขาย 1.44 1.49 1.49 1.41 1.43
Margin การขาย 30.74% 32.80% 33.09% 29.11% 29.85%
กำไร/ค่าใช้จ่าย 0.12 0.16 0.17 0.13 0.14
SG&A/รายได้ 0.20 0.19 0.19 0.18 0.18
(หน่วย : พันXXX) 1Q47 4Q46 3Q46 2Q46 1Q46 4Q45 3Q45 2Q45 1Q45
CFO 44,674 42,283 186,605 68,952 17,463 9,039 38,091 42,130 65,807
CFI (923) (28,296) (71,569) 48,080 (2,613) (14,870) 95,448 (107,049) (3,366)
CFF (1,806) (1,080) (1,085) (99,081) (1,028) (999) (972) (945) (1,060)
OP ปกติ (EBIT ปกติ) 46,597 58,704 63,343 47,981 50,232 51,415 43,325 30,704 13,386
NOPAT 39,553 48,417 54,326 41,887 45,268 48,526 38,870 30,704 13,386
NI ปกติ 38,954 47,240 55,136 42,028 45,026 47,860 37,505 30,346 12,915
EBITDA 70,233 83,309 87,914 72,424 74,803 75,505 67,568 56,020 36,763
Net Capex (923) (28,296) (11,623) (11,866) (2,613) (14,870) (4,552) (7,049) (3,366)
FCF 62,266 44,727 67,274 54,464 67,226 57,747 58,561 48,971 33,397
Valuation @Mkt.P. = 220
EPS ปกติ 24.448
PE ปกติ 8.999
WACC 10%
g 3%
FCF 228,730
EV/EBITDA 3.27
DCF, EV (No Growth) 2,287,304.48
Intrinsic Value 388.29
DCF, EV (Constant Growth) 3,365,605.17
Intrinsic Value 532.06
ปัจจุบันนี้ ASTL ไม่มีความจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตแต่อย่างใดเพราะยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลือไว้ (อีกเท่าไหร่จำไม่ได้)
เงินสดที่มากขึ้นถึง 46.47% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปัจจุบันยังปันผลน้อยอยู่เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดที่ทำได้ในแต่ละปี (ประมาณ 50% ของ FCF before Dividend Paid) บริษัทไม่มีหนี้
สรุปการที่กระแสเงินสดเป็นบวกอย่างต่อเนื่องค่อนข้างและค่อนข้างมีความปลอดภัยในแง่การใช้เงินลงทุน ซึ่งถ้าอยู่ในตลาดต่อไปจะเป็นหุ้นปันผลชั้นดี
ช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อบ้านขยายตัวมาก คนมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น สินค้าเครื่องสุขภัณท์ จะขายได้เรื่อยๆ และจะมี Growth ต่อไปเรื่อยๆในช่วงเวลาต่อไป
ต่อเนื่องจากกระทู้นี้ครับ
http://www.thaivalueinvestor.com/webboa ... php?t=5344
Ratios 2546 2545 2544
รายได้จากการขาย/ต้นทุนขาย 1.45 1.40 1.42
Margin การขาย 31.23% 28.44% 29.40%
กำไร/ค่าใช้จ่าย 0.15 0.10 0.12
SG&A/รายได้ 0.18 0.19 0.18
1Q47 4Q46 3Q46 2Q46 1Q46
รายได้จากการขาย/ต้นทุนขาย 1.44 1.49 1.49 1.41 1.43
Margin การขาย 30.74% 32.80% 33.09% 29.11% 29.85%
กำไร/ค่าใช้จ่าย 0.12 0.16 0.17 0.13 0.14
SG&A/รายได้ 0.20 0.19 0.19 0.18 0.18
(หน่วย : พันXXX) 1Q47 4Q46 3Q46 2Q46 1Q46 4Q45 3Q45 2Q45 1Q45
CFO 44,674 42,283 186,605 68,952 17,463 9,039 38,091 42,130 65,807
CFI (923) (28,296) (71,569) 48,080 (2,613) (14,870) 95,448 (107,049) (3,366)
CFF (1,806) (1,080) (1,085) (99,081) (1,028) (999) (972) (945) (1,060)
OP ปกติ (EBIT ปกติ) 46,597 58,704 63,343 47,981 50,232 51,415 43,325 30,704 13,386
NOPAT 39,553 48,417 54,326 41,887 45,268 48,526 38,870 30,704 13,386
NI ปกติ 38,954 47,240 55,136 42,028 45,026 47,860 37,505 30,346 12,915
EBITDA 70,233 83,309 87,914 72,424 74,803 75,505 67,568 56,020 36,763
Net Capex (923) (28,296) (11,623) (11,866) (2,613) (14,870) (4,552) (7,049) (3,366)
FCF 62,266 44,727 67,274 54,464 67,226 57,747 58,561 48,971 33,397
Valuation @Mkt.P. = 220
EPS ปกติ 24.448
PE ปกติ 8.999
WACC 10%
g 3%
FCF 228,730
EV/EBITDA 3.27
DCF, EV (No Growth) 2,287,304.48
Intrinsic Value 388.29
DCF, EV (Constant Growth) 3,365,605.17
Intrinsic Value 532.06
ปัจจุบันนี้ ASTL ไม่มีความจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตแต่อย่างใดเพราะยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลือไว้ (อีกเท่าไหร่จำไม่ได้)
เงินสดที่มากขึ้นถึง 46.47% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ปัจจุบันยังปันผลน้อยอยู่เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดที่ทำได้ในแต่ละปี (ประมาณ 50% ของ FCF before Dividend Paid) บริษัทไม่มีหนี้
สรุปการที่กระแสเงินสดเป็นบวกอย่างต่อเนื่องค่อนข้างและค่อนข้างมีความปลอดภัยในแง่การใช้เงินลงทุน ซึ่งถ้าอยู่ในตลาดต่อไปจะเป็นหุ้นปันผลชั้นดี
ช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อบ้านขยายตัวมาก คนมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น สินค้าเครื่องสุขภัณท์ จะขายได้เรื่อยๆ และจะมี Growth ต่อไปเรื่อยๆในช่วงเวลาต่อไป
-
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 2
ถ้าเขา delist สำเร็จก็ตามออกไปกะเขาเลยดีไหมครับ กำลังหาเพื่อนอยู่ 8)
-
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 3
โค้ด: เลือกทั้งหมด
ASTL เคยทำ tender offer ครั้งหนึ่งแล้วในปี 2541 ที่ราคา 210 บาท แต่เนื่องจากก่อนหน้านั้นราคาหุ้นได้ลดลงมาจาก 400-500 บาท จึงทำให้ผู้ถือหุ้นช่วงนั้นมีต้นทุนที่สูงกว่า tender offer ค่อนข้างมาก และประกอบกับมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่าง Templeton fund ( ที่ Mark Mobius บริหาร ) จึงทำให้ tender offer นั้นตกไป แต่อย่างไร ครั้งนั้นก็มีผู้ถือหุ้นรายย่อยขายออกมาจำนวนไม่น้อยจึงเป็นผลให้ บ. แม่สามารถเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 83% จาก 60 กว่า % ครับ
แต่ครั้งนี้ปัจจัยหลายอย่างก็ไม่เหมือนเดิมเท่าไหร่ครับ เพราะราคาที่ tender นั้นแม้ว่าจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แต่ก็สูงกว่าต้นทุนของนักลงทุนส่วนใหญ่ 1-2 ปีย้อนหลัง และไม่มีกองทุนใหญ่ถือหุ้นแล้ว รวมทั้งจำนวนที่ บ. แม่ถืออยู่ตอนนี้ก็เยอะกว่าเที่ยวก่อนมาก การ vote คัดค้านจึงทำได้ค่อนข้างยากกว่าเที่ยวก่อนมากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 5
โวยเรื่องอะไรครับ ผมไม่ค่อยเข้าใจ
เราในฐานะผู้ลงทุนไม่เคย contribute อะไรให้กับบริษัทเลย ไม่ว่าจะ
การเพิ่มทุนตอน IPO การเข้าไปมีส่วนช่วยในการบริหาร หรือการช่วย
ด้านการขายและบริการต่างๆ
อย่างมากก็แค่เข้าไปศึกษางบการเงินบริษัทนี้ แล้วบอกว่าบริษัทนี้ดี
แล้วก็เข้าไปซื้อตอนมีคนไม่อยากซื้อในราคาถูกๆ
พอเจ้าของ/คนบริหารบอกว่าอยากเอาไปทำเองแล้ว ไม่อยากแชร์ให้
คนอื่น ขอซื้อคืนในราคา 270 ซึ่งเรามองว่าราคาถูกมาก ถ้าเทียบกับ
อนาคตบริษัท
ก็ไปตั้งโต๊ะกวาดซื้อในตลาดเอาสิครับ 260-264 ได้แน่นอน เป็นแสนๆ
หุ้นก็ยังได้
แล้วตามเจ้าของออกนอกตลาดไป ขอสิทธิ์ในการเข้าร่วมบริหารด้วยก็ได้
ถ้ามีหุ้นในมือมากพอ แล้วรอปันผลจากกิจการ ซึ่งเราคาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
นี่คือทัศนคติของ VI ไม่ใช่หรือครับ?
เราในฐานะผู้ลงทุนไม่เคย contribute อะไรให้กับบริษัทเลย ไม่ว่าจะ
การเพิ่มทุนตอน IPO การเข้าไปมีส่วนช่วยในการบริหาร หรือการช่วย
ด้านการขายและบริการต่างๆ
อย่างมากก็แค่เข้าไปศึกษางบการเงินบริษัทนี้ แล้วบอกว่าบริษัทนี้ดี
แล้วก็เข้าไปซื้อตอนมีคนไม่อยากซื้อในราคาถูกๆ
พอเจ้าของ/คนบริหารบอกว่าอยากเอาไปทำเองแล้ว ไม่อยากแชร์ให้
คนอื่น ขอซื้อคืนในราคา 270 ซึ่งเรามองว่าราคาถูกมาก ถ้าเทียบกับ
อนาคตบริษัท
ก็ไปตั้งโต๊ะกวาดซื้อในตลาดเอาสิครับ 260-264 ได้แน่นอน เป็นแสนๆ
หุ้นก็ยังได้
แล้วตามเจ้าของออกนอกตลาดไป ขอสิทธิ์ในการเข้าร่วมบริหารด้วยก็ได้
ถ้ามีหุ้นในมือมากพอ แล้วรอปันผลจากกิจการ ซึ่งเราคาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
นี่คือทัศนคติของ VI ไม่ใช่หรือครับ?
-
- Verified User
- โพสต์: 403
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 6
ก็ถึงบอกไงครับ ออกตลาดไม่ว่า ให้ราคาดีหน่อย
จะออกตลาดแล้ว น่าทิ้งทวนไว้หน่อย (ราคาดีๆ)
โว้ยไปอย่างนั้น ผมเองก็ไม่ได้ถือ ASTL อยู่ เพียงแต่ติดตามมานานนนนๆๆ รอซื้อ มาเจอแบบนี้เสียความรู้สึก
เรื่องตามไปซื้อคงไม่ และคิดว่าคงไม่มีใครทำหรอกครับ ทั้งเรื่องงบการเงินจะดูยังไง นโยบายการลงทุน โอกาสมีสิทธิ์มีเสียง ไม่เหมือนอยู่ในตลาด ยากกว่าแต่ก่อน
จะออกตลาดแล้ว น่าทิ้งทวนไว้หน่อย (ราคาดีๆ)
โว้ยไปอย่างนั้น ผมเองก็ไม่ได้ถือ ASTL อยู่ เพียงแต่ติดตามมานานนนนๆๆ รอซื้อ มาเจอแบบนี้เสียความรู้สึก
เรื่องตามไปซื้อคงไม่ และคิดว่าคงไม่มีใครทำหรอกครับ ทั้งเรื่องงบการเงินจะดูยังไง นโยบายการลงทุน โอกาสมีสิทธิ์มีเสียง ไม่เหมือนอยู่ในตลาด ยากกว่าแต่ก่อน
ท้าชนความคิด vi ทุกสถาบัน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 7
ราคาคือความพอใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายครับ มูลค่าที่แท้จริงนั้นไม่มีมือใหม่ เขียน:ก็ถึงบอกไงครับ ออกตลาดไม่ว่า ให้ราคาดีหน่อย
หรือถ้าจะมีก็แค่ BV เท่านั้นเอง แต่ BV เป็นมูลค่าที่แท้จริงเฉพาะถ้าต้อง
การ exit จากธุรกิจ (ขายเลหลังสินทรัพย์ทุกอย่าง) ถ้าทำธุรกิจต่อ BV
ก็ไม่ได้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจอยู่ดี
-
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 8
เข้าใจที่คุณ CK บอกครับ แต่จริงๆก็ไม่มีใครทำได้หรอกครับ
"ความเสี่ยงเรื่องของการถือหุ้นออกนอกตลาดใครๆก็รู้"
การสื่อแบบคุณ CK มัน นามธรรม เกินไป
แม้ว่ารายย่อยจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีอิทธิพลในกิจการมากมาย แต่เค้าก็มีจิตใจมีความรู้สึกครับ
บริษัทที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ควรมีธรรมาภิบาลกับรายย่อยด้วยครับ
ไม่ใช่ทำอะไรก็ไม่เห็นหัวรายย่อย ถึงมันจะเป็นเรื่องของธุรกิจที่หวังผลกำไร
แต่ก็ควรคิดด้วยว่าการเปิดกิจการแล้วๆ เปิดโอกาสให้เค้ามอบความไว้วางใจาเข้ามาซื้อขายหุ้นเข้ามาลงทุนในกิจการตัวเองในตลาดทุนได้โดยเสรีแล้ว
ก็ควรปฎิบัติกับเค้าด้วย เมตตาธรรม และจรรยาบรรญทางธุรกิจด้วยครับ
จำไม่ได้เหมือนกันว่าบทความนี้เป็นของใคร และเอามาจากไหน แต่เห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ
Cooperate Governance " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"
ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทสถาบันจะพิจารณาในการตัดสินใจ เพื่อลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ คือ Good corporate governance หรือบรรษัทภิบาลที่ดีนั่นเอง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าบรรษัทภิบาลที่ดีคืออะไร ถ้าอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ การที่บริษัททำดี ไม่เอารัดเอาเปรียบ กับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย supplier ลูกค้า เจ้าหนี้ คนงาน ลูกจ้าง สิ่งแวดล้อมและสังคม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Stakeholders เป็นต้น
หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องบรรษัทภิบาลเป็นเรื่องไกลตัว และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน เพราะอาจจะคิดว่า หุ้นตัวไหนดี และน่าสนใจในการลงทุน น่าจะดูเพียงแค่ผลประกอบการ หรือดูความสามารถของผู้บริหารก็น่าจะเพียงพอแล้ว
การพิจารณาปัจจัยเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี จะเป็นการประเมินผู้บริหารนอกเหนือจากความสามารถในการบริหาร แต่เป็นการประเมินในแง่คุณธรรมและจริยธรรมด้วย หากผู้บริหารบริษัทใดมีความสามารถ แต่ขาดจริยธรรมแล้วนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจดี บริษัทมีกำไรที่ดี ราคาหุ้นอาจจะขึ้น แต่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอาจจะได้รับประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะอาจจะมีการถ่ายเทกำไรให้กับตนและพวกพ้อง แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำนั้น ผู้บริหารเหล่านี้มักจะทิ้งบริษัทเอาตัวรอด และปล่อยให้ผู้ถือหุ้นต้องรับความเสียหายกันไป
การพิจารณาว่าบริษัทที่เราสนใจเข้าลงทุนนั้นมีการปฏิบัติที่ดี และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพียงใดนั้นมีปัจจัยให้พิจารณามากมาย เช่น ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะต้องไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเบียดบังผลประโยชน์ของบริษัท เช่นไม่ควรจัดตั้งบริษัทส่วนตัวเพื่อรับงานจากบริษัท ขายสินค้าให้กับบริษัทในราคาแพงกว่าท้องตลาด หรือรับซื้อสินค้าจากบริษัทต่ำกว่าราคาท้องตลาด หรือให้บริษัทปล่อยกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทส่วนตัวของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ควรมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท เช่น ยอดขายหรือกำไร การประกาศจ่ายเงินปันผลที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ การออกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนท์ เพื่อใช้ในการซื้อขายทำกำไรหุ้นของบริษัท หรือที่เรียกว่า Inside trading
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยปลีกย่อยอีกจำนวนมากที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เช่นบริษัทควรจะให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลของบริษัทเท่าเทียมกันและในเวลาเดียวกัน บางครั้ง นักลงทุนอาจจะรู้สึกว่า บริษัทเต็มใจที่จะให้ข้อมูลกับนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่มากกว่านักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา อันนี้ก็ถือว่าขัดต่อหลักบรรษัทภิบาลที่ดีเช่นกันครับ ในปัจจุบัน หลายบริษัทได้หาทางออกด้วยการสร้าง website เพื่อให้ข้อมูลและข่าวสารแก่นักลงทุน หลาย website มีข้อมูลของบริษัทที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจค่อนข้างดีที่เดียว เช่นงบการเงินย้อนหลัง รายงานประจำปี ภาพรวมธุรกิจ หลายบริษัทมีการจัดตั้งฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ หรือ IR ( Investor relation ) เพื่อตอบคำถามแก่นักลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อที่จะให้ผู้บริหารไม่ต้องมานั่งตอบคำถามนักลงทุนซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีเวลาไปบริหารกิจการ
ในส่วนการปฏิบัติที่ดีต่อลูกค้า คู่ค้า และเจ้าหนี้นั้นอาจจะขอจัดให้อยู่ในจำพวกเดียวกัน หลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนเลย แต่ผมคิดว่ามีผลพอสมควรครับ หากบริษัทมีการเอาเปรียบลูกค้า เช่น อาจจะไม่ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพหรือลักษณะตามสัญญา ในระยะยาวแล้วก็จะไม่มีใครอยากจะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทในอนาคตจะลดลง กำไรของบริษัทก็จะลดลง
ตัวอย่างของการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคจะเห็นได้ชัดในธุรกิจบ้านจัดสรร บริษัทที่ไม่เคยผิดสัญญาในการส่งมอบบ้านให้กับลูกค้าในช่วงวิกฤติสามารถรักษาความนิยมในตัวบริษัท และเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว บริษัทเหล่านี้ก็สามารถเพิ่มยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดโดยจะกินส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทที่ผิดสัญญาลูกค้า ซึ่งได้ทยอยล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว สำหรับในแง่ของเจ้าหนี้และ supplier นั้น บริษัทที่เหนียวหนี้ หรือไม่ยอมชำระหนี้หรือประวิงเวลากับเจ้าหนี้หรือ supplier ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีใครอยากคบ ทำให้บริษัทระดมทุนได้ลำบากขึ้นซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้นนั่นเอง หรือถ้าคิดง่ายๆ ก็คือ ขนาดลูกค้า เจ้าหนี้และ supplier ยังถูกเอาเปรียบ แล้วประสาอะไรกับผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างพวกเราจะไม่ถูกเอาเปรียบล่ะ
การปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน สิ่งแวดล้อมและสังคม ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หลายบริษัทอาจจะมองข้ามความสำคัญในการปฏิบัติที่ดีต่อ 3 ปัจจัยเหล่านี้ และอาจจะคิดว่าการเอาเปรียบหรือถือประโยชน์จาก 3 ปัจจัยนี้ จะทำให้กำไรของบริษัทออกมาดีด้วยซ้ำไป เช่น บางบริษัทอาจจะกดค่าแรงงาน ให้สวัสดิการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อาจจะก่อสร้าง
อาคารหรือมีกระบวนการทำงานที่ไม่ถูกหลักความปลอดภัย มีการปล่อยน้ำเสียและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยไม่คิดที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัด เป็นต้น ท้ายที่สุดแล้วบริษัทที่มีพฤติกรรมดังกล่าวนั้นมักจะจบลงด้วยความเสียหายของผู้ถือหุ้นอย่างพวกเรา เช่น บริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน ก็จะทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานตกต่ำ และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต นานๆ เข้าก็จะมีการประท้วงของคนงาน อาจจะรุนแรงถึงขั้นปิดโรงงาน ทำให้บริษัทต้องหยุดการผลิตและไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ หรือบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม อาจจะมีกำไรที่ดีในช่วงแรกเพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการบำบัด ท้ายสุดแล้วก็จะมีปัญหากับชาวบ้านอาจถึงขั้นมีการประท้วง และอาจจะถูกสั่งปิดโรงงานได้ ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงจะไม่อยากจะถือหุ้นซึ่งหมายถึงการมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน สิ่งแวดล้อมหรือสังคม ใช่ไหมล่ะครับ หรือคิดง่ายๆ อีกเหมือนกันว่า ขนาดคนงานตัวเองยังไม่รัก แล้วจะรักผู้ถือหุ้นอย่างเราได้อย่างไร
อาจจะมีคำถามอยู่ว่า บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีจะนำมาสู่ผลประกอบการที่ดีและการให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนหรือไม่ คำตอบคือผมคิดว่าไม่ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ ที่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางบริษัทอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงตกต่ำ หรือเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และอาจจะทำให้ผลการดำเนินงานแย่ลงก็ได้ แต่ผมคิดว่า ในระยะยาว การลงทุนในหุ้นที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น จะช่วยลดความเสียหายหากเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ตกต่ำได้ในระดับหนึ่ง เพราะผมเชื่อว่า ในช่วงขาลง บริษัทจะยืนหยัดอยู่ได้จากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ supplier ลูกค้า และแรงงาน และในช่วงขาขึ้น บริษัทก็ไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ และทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์เต็มๆ
ในปัจจุบัน มีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในบริษัทที่มีปัญหาเรื่องบรรษัทภิบาลนั้น มักจะไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน และหลายบริษัทมีการซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ที่ควรจะเป็นมากๆ เพราะนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในตัวผู้บริหารนั่นเอง หลายบริษัทประสบกับผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน และมีจำนวนไม่น้อยที่ผู้บริหารและกรรมการถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เข้าข่ายคำโบราณที่ว่า " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน " นั่นเองครับ
บางครั้ง นักลงทุนอย่างพวกเราก็มีส่วนช่วยเสริมสร้างบรรษัทภิบาลให้กับบริษัทจดทะเบียนได้ไม่มากก็น้อยครับ เช่น การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอแนะ ซักถาม โดยเฉพาะในประเด็นที่เห็นว่าบริษัทกำลังเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือกำลังเอาเปรียบ stakeholders อื่นๆ หากบริษัทเห็นว่ามีนักลงทุนจำนวนมากคอยตรวจสอบดูแล ก็จะลดการกระทำที่ขัดต่อบรรษัทภิบาลที่ดีลงได้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รวมกันก็เป็นพลังต่อรองได้พอสมควรครับ ไปประชุมผู้ถือหุ้นกันเถิดครับ ถือ 100 หุ้นก็เข้าประชุมได้แล้วครับ !
"ความเสี่ยงเรื่องของการถือหุ้นออกนอกตลาดใครๆก็รู้"
การสื่อแบบคุณ CK มัน นามธรรม เกินไป
แม้ว่ารายย่อยจะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีอิทธิพลในกิจการมากมาย แต่เค้าก็มีจิตใจมีความรู้สึกครับ
บริษัทที่เข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ก็ควรมีธรรมาภิบาลกับรายย่อยด้วยครับ
ไม่ใช่ทำอะไรก็ไม่เห็นหัวรายย่อย ถึงมันจะเป็นเรื่องของธุรกิจที่หวังผลกำไร
แต่ก็ควรคิดด้วยว่าการเปิดกิจการแล้วๆ เปิดโอกาสให้เค้ามอบความไว้วางใจาเข้ามาซื้อขายหุ้นเข้ามาลงทุนในกิจการตัวเองในตลาดทุนได้โดยเสรีแล้ว
ก็ควรปฎิบัติกับเค้าด้วย เมตตาธรรม และจรรยาบรรญทางธุรกิจด้วยครับ
จำไม่ได้เหมือนกันว่าบทความนี้เป็นของใคร และเอามาจากไหน แต่เห็นว่าเป็นประโยชน์ครับ
Cooperate Governance " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน"
ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะนักลงทุนประเภทสถาบันจะพิจารณาในการตัดสินใจ เพื่อลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งๆ คือ Good corporate governance หรือบรรษัทภิบาลที่ดีนั่นเอง
หลายคนอาจจะสงสัยว่าบรรษัทภิบาลที่ดีคืออะไร ถ้าอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ การที่บริษัททำดี ไม่เอารัดเอาเปรียบ กับทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ได้แก่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย supplier ลูกค้า เจ้าหนี้ คนงาน ลูกจ้าง สิ่งแวดล้อมและสังคม หรือที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Stakeholders เป็นต้น
หลายคนอาจจะรู้สึกว่าเรื่องบรรษัทภิบาลเป็นเรื่องไกลตัว และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุน เพราะอาจจะคิดว่า หุ้นตัวไหนดี และน่าสนใจในการลงทุน น่าจะดูเพียงแค่ผลประกอบการ หรือดูความสามารถของผู้บริหารก็น่าจะเพียงพอแล้ว
การพิจารณาปัจจัยเรื่องธรรมาภิบาลที่ดี จะเป็นการประเมินผู้บริหารนอกเหนือจากความสามารถในการบริหาร แต่เป็นการประเมินในแง่คุณธรรมและจริยธรรมด้วย หากผู้บริหารบริษัทใดมีความสามารถ แต่ขาดจริยธรรมแล้วนั้น ในช่วงที่เศรษฐกิจดี บริษัทมีกำไรที่ดี ราคาหุ้นอาจจะขึ้น แต่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอาจจะได้รับประโยชน์ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะอาจจะมีการถ่ายเทกำไรให้กับตนและพวกพ้อง แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำนั้น ผู้บริหารเหล่านี้มักจะทิ้งบริษัทเอาตัวรอด และปล่อยให้ผู้ถือหุ้นต้องรับความเสียหายกันไป
การพิจารณาว่าบริษัทที่เราสนใจเข้าลงทุนนั้นมีการปฏิบัติที่ดี และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเพียงใดนั้นมีปัจจัยให้พิจารณามากมาย เช่น ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่จะต้องไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นการเบียดบังผลประโยชน์ของบริษัท เช่นไม่ควรจัดตั้งบริษัทส่วนตัวเพื่อรับงานจากบริษัท ขายสินค้าให้กับบริษัทในราคาแพงกว่าท้องตลาด หรือรับซื้อสินค้าจากบริษัทต่ำกว่าราคาท้องตลาด หรือให้บริษัทปล่อยกู้หรือค้ำประกันเงินกู้ให้กับบริษัทส่วนตัวของผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ควรมีการกระทำใดๆ ที่เป็นการใช้ข้อมูลภายในของบริษัท เช่น ยอดขายหรือกำไร การประกาศจ่ายเงินปันผลที่สูงหรือต่ำกว่าปกติ การออกหุ้นเพิ่มทุนหรือวอแรนท์ เพื่อใช้ในการซื้อขายทำกำไรหุ้นของบริษัท หรือที่เรียกว่า Inside trading
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยปลีกย่อยอีกจำนวนมากที่แสดงถึงการปฏิบัติที่เท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เช่นบริษัทควรจะให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลของบริษัทเท่าเทียมกันและในเวลาเดียวกัน บางครั้ง นักลงทุนอาจจะรู้สึกว่า บริษัทเต็มใจที่จะให้ข้อมูลกับนักลงทุนสถาบันหรือนักลงทุนรายใหญ่มากกว่านักลงทุนรายย่อยอย่างพวกเรา อันนี้ก็ถือว่าขัดต่อหลักบรรษัทภิบาลที่ดีเช่นกันครับ ในปัจจุบัน หลายบริษัทได้หาทางออกด้วยการสร้าง website เพื่อให้ข้อมูลและข่าวสารแก่นักลงทุน หลาย website มีข้อมูลของบริษัทที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจค่อนข้างดีที่เดียว เช่นงบการเงินย้อนหลัง รายงานประจำปี ภาพรวมธุรกิจ หลายบริษัทมีการจัดตั้งฝ่ายลงทุนสัมพันธ์ หรือ IR ( Investor relation ) เพื่อตอบคำถามแก่นักลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อที่จะให้ผู้บริหารไม่ต้องมานั่งตอบคำถามนักลงทุนซึ่งอาจจะทำให้ไม่มีเวลาไปบริหารกิจการ
ในส่วนการปฏิบัติที่ดีต่อลูกค้า คู่ค้า และเจ้าหนี้นั้นอาจจะขอจัดให้อยู่ในจำพวกเดียวกัน หลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจ และไม่น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจในการลงทุนเลย แต่ผมคิดว่ามีผลพอสมควรครับ หากบริษัทมีการเอาเปรียบลูกค้า เช่น อาจจะไม่ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพหรือลักษณะตามสัญญา ในระยะยาวแล้วก็จะไม่มีใครอยากจะซื้อสินค้าจากบริษัทซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทในอนาคตจะลดลง กำไรของบริษัทก็จะลดลง
ตัวอย่างของการรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคจะเห็นได้ชัดในธุรกิจบ้านจัดสรร บริษัทที่ไม่เคยผิดสัญญาในการส่งมอบบ้านให้กับลูกค้าในช่วงวิกฤติสามารถรักษาความนิยมในตัวบริษัท และเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว บริษัทเหล่านี้ก็สามารถเพิ่มยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดโดยจะกินส่วนแบ่งตลาดจากบริษัทที่ผิดสัญญาลูกค้า ซึ่งได้ทยอยล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว สำหรับในแง่ของเจ้าหนี้และ supplier นั้น บริษัทที่เหนียวหนี้ หรือไม่ยอมชำระหนี้หรือประวิงเวลากับเจ้าหนี้หรือ supplier ท้ายที่สุดแล้วก็จะไม่มีใครอยากคบ ทำให้บริษัทระดมทุนได้ลำบากขึ้นซึ่งหมายถึงต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้นนั่นเอง หรือถ้าคิดง่ายๆ ก็คือ ขนาดลูกค้า เจ้าหนี้และ supplier ยังถูกเอาเปรียบ แล้วประสาอะไรกับผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างพวกเราจะไม่ถูกเอาเปรียบล่ะ
การปฏิบัติที่ดีต่อแรงงาน สิ่งแวดล้อมและสังคม ก็น่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หลายบริษัทอาจจะมองข้ามความสำคัญในการปฏิบัติที่ดีต่อ 3 ปัจจัยเหล่านี้ และอาจจะคิดว่าการเอาเปรียบหรือถือประโยชน์จาก 3 ปัจจัยนี้ จะทำให้กำไรของบริษัทออกมาดีด้วยซ้ำไป เช่น บางบริษัทอาจจะกดค่าแรงงาน ให้สวัสดิการต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อาจจะก่อสร้าง
อาคารหรือมีกระบวนการทำงานที่ไม่ถูกหลักความปลอดภัย มีการปล่อยน้ำเสียและมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยไม่คิดที่จะเสียค่าใช้จ่ายในการบำบัด เป็นต้น ท้ายที่สุดแล้วบริษัทที่มีพฤติกรรมดังกล่าวนั้นมักจะจบลงด้วยความเสียหายของผู้ถือหุ้นอย่างพวกเรา เช่น บริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน ก็จะทำให้ขวัญและกำลังใจในการทำงานตกต่ำ และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิต นานๆ เข้าก็จะมีการประท้วงของคนงาน อาจจะรุนแรงถึงขั้นปิดโรงงาน ทำให้บริษัทต้องหยุดการผลิตและไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ หรือบริษัทที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม อาจจะมีกำไรที่ดีในช่วงแรกเพราะไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการบำบัด ท้ายสุดแล้วก็จะมีปัญหากับชาวบ้านอาจถึงขั้นมีการประท้วง และอาจจะถูกสั่งปิดโรงงานได้ ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่คงจะไม่อยากจะถือหุ้นซึ่งหมายถึงการมีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทที่เอาเปรียบแรงงาน สิ่งแวดล้อมหรือสังคม ใช่ไหมล่ะครับ หรือคิดง่ายๆ อีกเหมือนกันว่า ขนาดคนงานตัวเองยังไม่รัก แล้วจะรักผู้ถือหุ้นอย่างเราได้อย่างไร
อาจจะมีคำถามอยู่ว่า บริษัทที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีจะนำมาสู่ผลประกอบการที่ดีและการให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนหรือไม่ คำตอบคือผมคิดว่าไม่ทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้นครับ ที่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะบางบริษัทอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงตกต่ำ หรือเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง และอาจจะทำให้ผลการดำเนินงานแย่ลงก็ได้ แต่ผมคิดว่า ในระยะยาว การลงทุนในหุ้นที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น จะช่วยลดความเสียหายหากเศรษฐกิจและผลประกอบการที่ตกต่ำได้ในระดับหนึ่ง เพราะผมเชื่อว่า ในช่วงขาลง บริษัทจะยืนหยัดอยู่ได้จากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้ supplier ลูกค้า และแรงงาน และในช่วงขาขึ้น บริษัทก็ไม่มีการถ่ายเทผลประโยชน์ และทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์เต็มๆ
ในปัจจุบัน มีหุ้นจำนวนไม่น้อยที่มีบรรษัทภิบาลที่ดีนั้น ได้รับความนิยมจากนักลงทุนสถาบัน ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนในบริษัทที่มีปัญหาเรื่องบรรษัทภิบาลนั้น มักจะไม่ได้รับความนิยมจากนักลงทุน และหลายบริษัทมีการซื้อขายกันที่ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน ที่ควรจะเป็นมากๆ เพราะนักลงทุนไม่เชื่อมั่นในตัวผู้บริหารนั่นเอง หลายบริษัทประสบกับผลขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน และมีจำนวนไม่น้อยที่ผู้บริหารและกรรมการถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เข้าข่ายคำโบราณที่ว่า " ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน " นั่นเองครับ
บางครั้ง นักลงทุนอย่างพวกเราก็มีส่วนช่วยเสริมสร้างบรรษัทภิบาลให้กับบริษัทจดทะเบียนได้ไม่มากก็น้อยครับ เช่น การเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเสนอแนะ ซักถาม โดยเฉพาะในประเด็นที่เห็นว่าบริษัทกำลังเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือกำลังเอาเปรียบ stakeholders อื่นๆ หากบริษัทเห็นว่ามีนักลงทุนจำนวนมากคอยตรวจสอบดูแล ก็จะลดการกระทำที่ขัดต่อบรรษัทภิบาลที่ดีลงได้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ รวมกันก็เป็นพลังต่อรองได้พอสมควรครับ ไปประชุมผู้ถือหุ้นกันเถิดครับ ถือ 100 หุ้นก็เข้าประชุมได้แล้วครับ !
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 9
ถามว่าที่ราคา 270 บาทนี้ถูกหรือแพง?
ฝั่งคนขายก็ต้องว่าถูกไป คนซื้อก็ต้องว่าสมเหตุสมผล ใครกันแน่ที่ถูก???
รายย่อยหรือที่เป็นฝ่ายถูก เราแน่ใจได้ยังไงว่าที่เราคิดว่าราคา 270 มันต่ำ ในเมื่อไม่กี่วันก่อนประกาศราคาหุ้นยังอยู่ที่ 234 บาทเท่านั้น
ผมเข้าใจทุกท่านเพราะผมเองก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน และก็รู้สึกว่าทางบริษัทให้ราคาต่ำเกินไป
แต่ทาง ASTL ก็ไม่ได้ทำผิดอะไรที่เสนอราคาที่เท่านี้นะครับ (ยกเว้นมีการกดราคาหุ้นในช่วงก่อนๆ ซึ่งดูจาก volume ก็คงจะจับยาก)
อยากให้แฟร์นิดนึง เพราะผมไม่คิดว่าการกระทำของทางบริษัทผิดหลักธรรมาภิบาล (ยกเว้นการให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ TO แล้วมา TO แต่ก็แหม โลกธุรกิจมันเปลี่ยนเร็วเนาะ)
แต่เรื่องที่จะรวมพลังรายย่อยเพื่อคัดค้านอันนี้ผมเห็นด้วยครับ
ฝั่งคนขายก็ต้องว่าถูกไป คนซื้อก็ต้องว่าสมเหตุสมผล ใครกันแน่ที่ถูก???
รายย่อยหรือที่เป็นฝ่ายถูก เราแน่ใจได้ยังไงว่าที่เราคิดว่าราคา 270 มันต่ำ ในเมื่อไม่กี่วันก่อนประกาศราคาหุ้นยังอยู่ที่ 234 บาทเท่านั้น
ผมเข้าใจทุกท่านเพราะผมเองก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน และก็รู้สึกว่าทางบริษัทให้ราคาต่ำเกินไป
แต่ทาง ASTL ก็ไม่ได้ทำผิดอะไรที่เสนอราคาที่เท่านี้นะครับ (ยกเว้นมีการกดราคาหุ้นในช่วงก่อนๆ ซึ่งดูจาก volume ก็คงจะจับยาก)
อยากให้แฟร์นิดนึง เพราะผมไม่คิดว่าการกระทำของทางบริษัทผิดหลักธรรมาภิบาล (ยกเว้นการให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ TO แล้วมา TO แต่ก็แหม โลกธุรกิจมันเปลี่ยนเร็วเนาะ)
แต่เรื่องที่จะรวมพลังรายย่อยเพื่อคัดค้านอันนี้ผมเห็นด้วยครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 10
เห็นด้วยกับคุณ guest ครับ
แต่ ASTL ก็เห็นๆ กันอยู่ว่าพยายามเอาออกจากตลาดมาตั้งหลายรอบ
ในขณะที่ผู้บริหารก็ออกมาปฏิเสธเหย็งๆ อยู่บ่อยๆ แค่นี้ก็รู้แล้วว่าไม่มี
integrity เลย ผมได้ยินข่าวนี้ก็ขายหมดพอร์ตไปตั้งแต่ตอนโน้นแล้วครับ
ผมพูดตรงๆ ก็คือผมซื้อ ASTL บ้าง ตามกระแส T/O แต่ก็ขายไปแล้ว
ขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง แต่ ASTL ไม่ใช่บริษัทที่ผมอยากร่วมหัวจมท้าย
ด้วยนัก ต่อให้ราคา T/O ต่ำกว่าที่อยากได้ไปบ้าง ก็ต้องรอดูว่ามีวิธีไหน
ที่จะทำให้โก่งราคาขายขึ้นไปได้อีกหน่อย แต่สุดท้ายก็ต้องขายอยู่ดี
ในเมื่อบริษัทไม่มีอนาคตอยู่แล้ว (ตามออกนอกตลาดไม่ได้) สู้ขายคืน
ให้เขาแล้วเอาพลังงานไปหาธุรกิจอื่นทำ หรือศึกษาหุ้นที่ผู้บริหารมี
ความรับผิดชอบมากกว่านี้จะไม่ดีกว่าหรือครับ
แต่ ASTL ก็เห็นๆ กันอยู่ว่าพยายามเอาออกจากตลาดมาตั้งหลายรอบ
ในขณะที่ผู้บริหารก็ออกมาปฏิเสธเหย็งๆ อยู่บ่อยๆ แค่นี้ก็รู้แล้วว่าไม่มี
integrity เลย ผมได้ยินข่าวนี้ก็ขายหมดพอร์ตไปตั้งแต่ตอนโน้นแล้วครับ
ผมพูดตรงๆ ก็คือผมซื้อ ASTL บ้าง ตามกระแส T/O แต่ก็ขายไปแล้ว
ขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง แต่ ASTL ไม่ใช่บริษัทที่ผมอยากร่วมหัวจมท้าย
ด้วยนัก ต่อให้ราคา T/O ต่ำกว่าที่อยากได้ไปบ้าง ก็ต้องรอดูว่ามีวิธีไหน
ที่จะทำให้โก่งราคาขายขึ้นไปได้อีกหน่อย แต่สุดท้ายก็ต้องขายอยู่ดี
ในเมื่อบริษัทไม่มีอนาคตอยู่แล้ว (ตามออกนอกตลาดไม่ได้) สู้ขายคืน
ให้เขาแล้วเอาพลังงานไปหาธุรกิจอื่นทำ หรือศึกษาหุ้นที่ผู้บริหารมี
ความรับผิดชอบมากกว่านี้จะไม่ดีกว่าหรือครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 11
ท่าน Wvix ครับ ผมมองว่าทางบริษัทแม่ ก็คิดเหมือนกับคุณ ก็คือหุ้นนั้นถูกกว่าความเป็นจริง ก็เลยขอซื้อหมดแล้วออกจากตลาดไปเลยดีกว่า
ที่ท่าน CK กล่าวไว้ไม่ผิดนะครับ การลงทุนกับกิจการนอกตลาดไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อยู่ที่ตัวนักลงทุนเองจะรับมือกับการควบคุมดูแลกิจการได้หรือเปล่าเท่านั้นเองครับ ลำพังความสามารถผม คงไม่สามารถเข้าไปดูแลกิจการวัสดุก่อสร้างชื่อดังอย่าง ASTL ได้.... ผมก็ขอ Game Over ตรงนี้ครับ
ที่ท่าน CK กล่าวไว้ไม่ผิดนะครับ การลงทุนกับกิจการนอกตลาดไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อยู่ที่ตัวนักลงทุนเองจะรับมือกับการควบคุมดูแลกิจการได้หรือเปล่าเท่านั้นเองครับ ลำพังความสามารถผม คงไม่สามารถเข้าไปดูแลกิจการวัสดุก่อสร้างชื่อดังอย่าง ASTL ได้.... ผมก็ขอ Game Over ตรงนี้ครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
-
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 12
ความคิดเห็นส่วนตัว
ผมว่าราคานี้ก็ไม่น่าเกลียดนะครับ
(ที่ 270 PE ประมาณ 12-13 เท่า ขณะที่ PE ตลาดอยู่ที่ 10 เท่า)
ผมเองก็มีตัวนี้มานาน คิดว่าคงขายให้เค้าหละครับ
ผมคิดว่าเงินที่ได้จากการขายตัวนี้สามารถมองหาหุ้นตัวอื่นในตลาด
ที่ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ไม่ยากนะครับ
ส่วนการตามไปถือต่อหลัง delist ไม่ทำแน่ครับ
ขนาด SPP บริษัทลูกปูนใหญ่ ยังทำผมมาแล้วเลย (ยังไม่หายแค้น)
นี่บริษัทข้ามชาติ ไม่ต้องพูดถึง
ปล. ณ ปัจจุบันถ้าซื้อได้ที่ 262 แล้วขายตอน delist จะได้ผมตอบแทน
ประมาณ 2.5% ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน เทียบกับเงินฝากประจำ
หรือตราสารหนี้ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากครับ
แต่ก็มีความเสี่ยงคือบริษัทเกิดเปลี่ยนใจไม่ delist
ผมว่าราคานี้ก็ไม่น่าเกลียดนะครับ
(ที่ 270 PE ประมาณ 12-13 เท่า ขณะที่ PE ตลาดอยู่ที่ 10 เท่า)
ผมเองก็มีตัวนี้มานาน คิดว่าคงขายให้เค้าหละครับ
ผมคิดว่าเงินที่ได้จากการขายตัวนี้สามารถมองหาหุ้นตัวอื่นในตลาด
ที่ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้ไม่ยากนะครับ
ส่วนการตามไปถือต่อหลัง delist ไม่ทำแน่ครับ
ขนาด SPP บริษัทลูกปูนใหญ่ ยังทำผมมาแล้วเลย (ยังไม่หายแค้น)
นี่บริษัทข้ามชาติ ไม่ต้องพูดถึง
ปล. ณ ปัจจุบันถ้าซื้อได้ที่ 262 แล้วขายตอน delist จะได้ผมตอบแทน
ประมาณ 2.5% ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน เทียบกับเงินฝากประจำ
หรือตราสารหนี้ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากครับ
แต่ก็มีความเสี่ยงคือบริษัทเกิดเปลี่ยนใจไม่ delist
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 13
risk free ครับ ผู้ทำ T/O ต้องซื้อทุกหุ้นที่ยอมขายครับ ต่อให้เปลี่ยนใจgone เขียน:แต่ก็มีความเสี่ยงคือบริษัทเกิดเปลี่ยนใจไม่ delist
ไม่ delist แต่เมื่อออก T/O แล้ว ถ้ามีคนจะขาย (ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
จะต้องซื้อคืน
ความเสี่ยงของการไม่ delist คือราคาหุ้นอาจจะพุ่งขึ้นไปเกิน 270 ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 14
คุณ CK ครับ ขออธิบายเพิ่มเติมหน่อยนะครับ
พอดีเคยอ่านเจอในแบบคำเสนอซื้อของ UFC จำได้ว่า
เค้าจะมีกำหนดเอาไว้ว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขราคาหรือยกเลิก
ได้กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยจริง ๆ เช่นภาวะเศรษฐกิจหรืออะไรเนี่ยแหละ
เพราะฉะนั้นผมจึงยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ครับ แต่นับในระดับที่สูงกว่าเงิน
ฝากประจำแต่ต่ำกว่าตราสารหนี้
เคยอ่านเจอในตำราอะไรสักอย่างนึงเค้าบอกว่าไม่มีสินทรัพย์อะไรในโลก
นี้ที่เป็น risk free อย่างแท้จริงครับ แม้แต่ตั๋วเงินคลัง
แต่พออ่านคำอธิบายแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
พอดีเคยอ่านเจอในแบบคำเสนอซื้อของ UFC จำได้ว่า
เค้าจะมีกำหนดเอาไว้ว่าบริษัทสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขราคาหรือยกเลิก
ได้กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยจริง ๆ เช่นภาวะเศรษฐกิจหรืออะไรเนี่ยแหละ
เพราะฉะนั้นผมจึงยังถือว่ามีความเสี่ยงอยู่ครับ แต่นับในระดับที่สูงกว่าเงิน
ฝากประจำแต่ต่ำกว่าตราสารหนี้
เคยอ่านเจอในตำราอะไรสักอย่างนึงเค้าบอกว่าไม่มีสินทรัพย์อะไรในโลก
นี้ที่เป็น risk free อย่างแท้จริงครับ แม้แต่ตั๋วเงินคลัง
แต่พออ่านคำอธิบายแล้วไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 15
นึกว่ากระทู้นี้จะไม่มีใครสนใจซะแล้ว (ต่อ)
ผมเกรงว่าท่านพี่นักดูดาวเรียกผมว่าท่าน Wvix คงไม่เหมาะครับเนื่องด้วยทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ
ที่ถูกน่าจะเรียกผมว่าไอ้น้อง Wvix มากกว่า
ที่ผมอยากบอกคือผมอยากชวนให้พวกเรารอจนถึงฎีกากันก่อนเราค่อยตัดสินใจที่จะขายหรือถือเพื่อขาย
และผมก็อยากให้พวกเราไปดูหน้าพวกยกมือเห็นชอบราคาที่ทำ T/O ที่ 270 ว่าเป็นใครและเป็นพวกไหนบ้างในที่ประชุม
เผื่อว่าวันข้างหน้ามีโอกาสได้ทำธุรกิจกันจะได้จัดลำดับ Credit ได้ถูกตัว
และถึงแม้ในที่ประชุมโหวตโอกาสที่เราจะชนะจะมีน้อยแต่เราก็ยังมีหวัง
หรือปาฎิหารย์อยู่บ้างใครจะไปรู้คนที่เก็บหุ้นอยู่ตอนนี้อาจเป็นพวกเราก็ได้
ใครจะไปรู้เผื่อๆพวกเราอาจได้ปันผลระหว่างกาลก็ได้
ไม่เสียหายหรอกครับถ้าเราจะถือหุ้นไปจนถึงฎีกาเพราะยังไงเราก็จำกัดการขาดทุนได้อยู่แล้วที่ราคา 269.28
(ไม่รวม Opportunity cost ถ้าจะคิด) จริงไหม มันเป็นตรรกะง่ายๆครับ
และ ASTLจะได้รู้ด้วยว่าการที่ตัวเองเค็มแบบนี้มันจะกลายเป็นชื่อเสียมากกว่าชื่อเสียง
และกับกำไรในอนาคตที่คิดว่าจะได้มากก็อาจมากน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น
เพราะลูกค้าที่คิดจะซื้อผลิตภัณท์ของบริษัทนี้จะต้องเปลี่ยนใจครับ
สมมุติผมไม่ได้ถือหุ้น ASTL แต่เครื่องสุขภัณท์ที่บ้านก็ใช้ของ อเมริกันสแตนดาร์ด
ถ้าผมรู้ว่าบริษัทนี้กระทำการอันไม่ชอบกับผู้ถือหุ้นคนไทย
ผมก็คงรู้สึกไม่ดีกับบริษัทนี้และก็คงต้องคิดหนักถ้าคิดจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณท์ของบริษัทนี้อยู่แล้วครับ
ผมจะประจานความดีอันนี้สัก 9 ชั่วโครต (ถ้าอายุถึง) ให้แก่พ่อแม่พี่น้องญาติสนิทมิตรสหายทั้งใกล้ตัวและไกลตัว
และจะทำ Forword Email และโพสกระทู้ตามเว็ปบอร์ดประจานไปยังคนที่ผมไม่รู้จักอีกมากมายด้วยครับ
ผมเกรงว่าท่านพี่นักดูดาวเรียกผมว่าท่าน Wvix คงไม่เหมาะครับเนื่องด้วยทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ
ที่ถูกน่าจะเรียกผมว่าไอ้น้อง Wvix มากกว่า
ที่ผมอยากบอกคือผมอยากชวนให้พวกเรารอจนถึงฎีกากันก่อนเราค่อยตัดสินใจที่จะขายหรือถือเพื่อขาย
และผมก็อยากให้พวกเราไปดูหน้าพวกยกมือเห็นชอบราคาที่ทำ T/O ที่ 270 ว่าเป็นใครและเป็นพวกไหนบ้างในที่ประชุม
เผื่อว่าวันข้างหน้ามีโอกาสได้ทำธุรกิจกันจะได้จัดลำดับ Credit ได้ถูกตัว
และถึงแม้ในที่ประชุมโหวตโอกาสที่เราจะชนะจะมีน้อยแต่เราก็ยังมีหวัง
หรือปาฎิหารย์อยู่บ้างใครจะไปรู้คนที่เก็บหุ้นอยู่ตอนนี้อาจเป็นพวกเราก็ได้
ใครจะไปรู้เผื่อๆพวกเราอาจได้ปันผลระหว่างกาลก็ได้
ไม่เสียหายหรอกครับถ้าเราจะถือหุ้นไปจนถึงฎีกาเพราะยังไงเราก็จำกัดการขาดทุนได้อยู่แล้วที่ราคา 269.28
(ไม่รวม Opportunity cost ถ้าจะคิด) จริงไหม มันเป็นตรรกะง่ายๆครับ
และ ASTLจะได้รู้ด้วยว่าการที่ตัวเองเค็มแบบนี้มันจะกลายเป็นชื่อเสียมากกว่าชื่อเสียง
และกับกำไรในอนาคตที่คิดว่าจะได้มากก็อาจมากน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น
เพราะลูกค้าที่คิดจะซื้อผลิตภัณท์ของบริษัทนี้จะต้องเปลี่ยนใจครับ
สมมุติผมไม่ได้ถือหุ้น ASTL แต่เครื่องสุขภัณท์ที่บ้านก็ใช้ของ อเมริกันสแตนดาร์ด
ถ้าผมรู้ว่าบริษัทนี้กระทำการอันไม่ชอบกับผู้ถือหุ้นคนไทย
ผมก็คงรู้สึกไม่ดีกับบริษัทนี้และก็คงต้องคิดหนักถ้าคิดจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณท์ของบริษัทนี้อยู่แล้วครับ
ผมจะประจานความดีอันนี้สัก 9 ชั่วโครต (ถ้าอายุถึง) ให้แก่พ่อแม่พี่น้องญาติสนิทมิตรสหายทั้งใกล้ตัวและไกลตัว
และจะทำ Forword Email และโพสกระทู้ตามเว็ปบอร์ดประจานไปยังคนที่ผมไม่รู้จักอีกมากมายด้วยครับ
แก้ไขล่าสุดโดย Wvix เมื่อ พุธ ก.ค. 14, 2004 3:00 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 16
เอ้อ.... ครือว่า..... ผมไม่ค่อยโกรธเค้าหรอกครับ เพราะว่า xxx และ xxx บนสินค้าเค้าทุกวัน :lol:
ที่ผมไม่อยากจะต่อล้อต่อเถียง ก็เพราะเค้าเป็นพวกกระเบื้องอย่างหนา รับรองได้ว่าทนจริงๆ หักลบกลบกันแล้วผมยังมีความรู้สึกดีๆกับบริษัทและสินค้ามากครับ
ตอนนี้รอซื้อหุ้นตัวอื่นที่น่าจะได้ผลตอบแทนมากกว่าดีกว่าครับ
ที่ผมไม่อยากจะต่อล้อต่อเถียง ก็เพราะเค้าเป็นพวกกระเบื้องอย่างหนา รับรองได้ว่าทนจริงๆ หักลบกลบกันแล้วผมยังมีความรู้สึกดีๆกับบริษัทและสินค้ามากครับ
ตอนนี้รอซื้อหุ้นตัวอื่นที่น่าจะได้ผลตอบแทนมากกว่าดีกว่าครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 17
นักดูดาว wrote:
สุดยอดคำคมแห่งวันนี้เลยครับ ท่านนักดูดาวเอ้อ.... ครือว่า..... ผมไม่ค่อยโกรธเค้าหรอกครับ เพราะว่า xxx และ xxx บนสินค้าเค้าทุกวัน
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- Wvix
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 18
ดีครับเห็นท่านพี่กลับมาอารมณ์ดีขึ้น รู้สึกช่วงที่ผ่านมาอารมณ์บ่จอยเอ้อ.... ครือว่า..... ผมไม่ค่อยโกรธเค้าหรอกครับ เพราะว่า xxx และ xxx บนสินค้าเค้าทุกวัน
ที่ผมไม่อยากจะต่อล้อต่อเถียง ก็เพราะเค้าเป็นพวกกระเบื้องอย่างหนา รับรองได้ว่าทนจริงๆ หักลบกลบกันแล้วผมยังมีความรู้สึกดีๆกับบริษัทและสินค้ามากครับ
จริงๆ ไปโกรธเครื่องสุขภัณท์ก็ไม่ดีเหมือนกัน เดี๋ยวจะ XXX และ XXX ไม่ออกล่ะยุ่งเลย 55555
-
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 20
ถ้าเขาต้องซื้อที่ 270 ถึงแม้จะไม่ delist แล้ว ผมนึกไม่ออกว่าทำไมจึงมีคนขายหุ้นออกมาเรื่อยๆ ทั้งที่ถือรออีกหน่อยก็รับทรัพย์แน่ๆ งงครับCK เขียน: risk free ครับ ผู้ทำ T/O ต้องซื้อทุกหุ้นที่ยอมขายครับ ต่อให้เปลี่ยนใจ
ไม่ delist แต่เมื่อออก T/O แล้ว ถ้ามีคนจะขาย (ภายในระยะเวลาที่กำหนด)
จะต้องซื้อคืน
ความเสี่ยงของการไม่ delist คือราคาหุ้นอาจจะพุ่งขึ้นไปเกิน 270 ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
มาดูตัวเลขต่างๆ ในงบการเงินของ ASTL แล้วมาโวยกันต่อครับ
โพสต์ที่ 21
Opportunity cost ครับ บางคนคงคิดว่า แค่ 6-8 บาท ขายแล้วเอาเงินAnonymous เขียน:ถ้าเขาต้องซื้อที่ 270 ถึงแม้จะไม่ delist แล้ว ผมนึกไม่ออกว่าทำไมจึงมีคนขายหุ้นออกมาเรื่อยๆ ทั้งที่ถือรออีกหน่อยก็รับทรัพย์แน่ๆ งงครับ
ไปซื้อหุ้นตัวอื่นหรือทำอย่างอื่นน่าจะได้ return สูงกว่าก็ขายครับ