มองโอกาส ผ่าน 300
-
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
มองโอกาส ผ่าน 300
โพสต์ที่ 1
ไม่ใช่หนังเรื่อง 300 นะครับ ค่าแรง 300 ต่างหาก
อยากฟังความเห็นเพื่อนๆพี่ๆครับว่า เรื่องค่าแรง 300 เนี่ย โอกาสสำหรับเราๆที่เป็นนักลงทุน
จะมีอะไรบ้างที่น่าจะเกิดขึ้นเพื่อให้เราวิเคราะห์เพื่อลงทุนได้
ส่วนตัวผมมองว่าเรื่องค่าแรง 300 นี้เป็นจุดนึงที่ประเทศเรากำลังมีการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างเลย
จึงเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือเดิมทีเราทำเกษตรเป็นหลัก พอเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม แรงงานก็เริ่มย้ายจากภาคเกษตร
ไปเข้าโรงงานมากขึ้นๆ ประเทศอื่นก็มองว่าเราค่าแรงต่ำ ก็แห่กันมาเปิดโรงงานเรื่อยๆ น่าจะตั้งแต่ก่อนยุคน้าชาติ
โดยรวมก็คือ ครั้งหนึ่งเราผ่านจาก "แรงงานเกษตร" ไปสู่ "แรงงานราคาถูก" แต่ว่าตอนนี้เรากำลังเปลี่ยนอีกครั้งคือ
1. แรงงานเกษตร ที่เคยลดลงอย่างมาก แต่เมื่อราคาเกษตรดีขึ้นเรื่อยๆตามแนวโน้มใหญ่ ทำให้แรงงานราคาถูก
บางส่วนกลับไปเป็นแรงงานเกษตร แต่มีการพัฒนารูปแบบการทำเกษตรที่เปลี่ยนไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ
2. เมื่อประเทศเราอั้นค่าแรงมานาน ถึงตอนนี้ "แรงงานราคาถูก" กำลังจะไม่ถูกอีกต่อไป จากนโยบาย 300 บาท
จาก 2 ประเด็นนี้ ผมว่าเราก็จะเป็นคล้ายๆกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ที่เค้าจะต้องผ่านเหตุการณ์ลักษณะนี้
เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เราพยายามให้ GDP โตทุกปี ประเทศมันก็เจริญขึ้นเรื่อยๆแน่นอนสุดท้ายค่าแรงก็ต้องขึ้น
แต่เรื่องว่านโยบายจะประสพความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนนั้นคงอีกเรื่องนึง แต่ถ้ามองภาพใหญ่สุดท้ายค่าแรงก็ต้องขึ้น
ผมว่าโดยเฉลี่ยค่าแรงของคนทั้งโลกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะทุกประเทศต่างก็เร่งให้ GDP ขยายตัว เงินเฟ้อก็คู่กัน
โอกาสสำหรับนักลงทุนเท่าที่ผมพอคิดออกคือ ผมมองว่าเมื่อคนรากหญ้าซึ่งเป็นประชากรจำนวนมากของประเทศ
มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอย่างนี้ ทั้งจากราคาเกษตรที่แนวโน้มโดยรวมราคาเพิ่มเรื่อยๆ และจากค่าแรง 300
อะไรที่คนกลุ่มนี้เค้าต้องการเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเขามีเงิน อะไรทีเค้าอยากซื้อ อยากได้ และเค้าสามารถซื้อได้???
ในฐานะที่ผมใกล้ชิดและเคยเป็นคนกลุ่มนี้
1. เสื้อผ้า เมื่อผมได้ค่าจ้างมากขึ้น เมื่อมีเงินเหลือสิ่งที่อยากซื้อใหม่คือ เสื้อผ้า ซึ่งราคาก็ต้องไม่แพงมากนัก
แต่ก็จะอยากได้ที่มีแบรนด์เนมด้วย เพราะเบื่อเต็มทีกับเสื้อผ้าตลาดนัดกับของก็อป โดยเฉพาะผู้หญิง สาวโรงงาน
ถ้าเดิมเค้าได้เงิน 7000 บาท/ด เค้ามักจะเดินชมของในห้าง แต่มักจะซื้อเสื้อผ้าที่ตลาดนัด
แต่ถ้า เค้าได้เงิน 9000 บาท/ด ความอัดอั้นจากการเดินชม จะทำให้เริ่มอยากซื้อแบรนด์เนมในห้าง แต่ราคาต้องถูกนะ
2. ซ่อมแซม/ต่อเติมบ้าน ผมอยู่บ้านนอกครับ พบว่าเมื่อไรที่ของออก(หมายถึงสินค้าเกษตรเก็บเกี่ยวแล้ว) สินค้าวัสดุ
ก่อสร้างจะขายดีมาก โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น(เน้นถูก) กระเบื้องมุงหลังคา(ส่วนใหญ่ซื้อลอนคู่) ไปจนถึง ทีวี ตู้เย็น
เพราะบ้านเค้ามุงสังกะสีกันครับ ส่วนพื้นส่วนใหญ่เทปูนขัดหยาบไว้ บางคนทำบ้านทีละครึ่งหลัง เพราะ
หนึ่งปีได้เงินหนึ่งที ปีนี้มุงหลังคาเสร็จเงินหมดพอดี ปีหน้าค่อยมาปูกระเบื้องพื้นต่อ อย่างนี้ก็มี
3. ผ่อน เรื่องซื้อผ่อนนี่คู่บ้านคู่เมืองอยู่แล้ว แต่ว่าเดิมทีผ่อนได้น้อย จู่ๆเงินเพิ่มมาเดือนละ 3000 ฉันจะผ่อนอะไรอีกดี?
ผมว่าถ้ามองความต้องการพื้นฐาน ผ่อนมอเตอร์ไซค์ยอดนิยม เพราะผ่อนให้ลูกบ้าง ชับไปทำงาน ขับไปไร่นา
แต่ส่วนใหญ่คนไทยก็ผ่อนมอไซค์มากอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ผ่อนได้อยู่แล้ว
4. บ้าน เป็นความต้องการพื้นฐานที่คนกลุ่มนี้ต้องการ "ผ่อน" โดยเฉพาะแรงงานในโรงงาน ที่ต้องย้ายถิ่นมาเช่าบ้าน
เมื่อเดิมทีเงินเดือนพอแค่ผ่อนห้องเช่า แต่เมื่อเงินเพิ่มขึ้น เค้าจะสามารถผ่อนบ้านที่ราคาไม่แพง อาจจะผ่อนมากกว่า
ที่เช่าอยู่ในปัจจุบัน แต่พอเงินเดือนขึ้นทั้งสามีภรรยา เค้าจะสามารถผ่อนบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่ราคาไม่แพงได้
5. อาหาร หมูเห็ดเป็ดไก่ ข้าวยาปลาปิ้ง ราคาจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากค่าแรงที่เพิ่ม คนจะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
มีเงินมากขึ้น ก็กินมากขึ้น เป็นสังคมบริโภคนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ค่าแรงเพิ่ม ต้นทุนเพิ่มหรืออาจจะไม่เพิ่ม แต่ราคา
อาหารจะต้องมีการถือโอกาสเพิ่มแน่นอน ในระยะยาวรัฐคุมยังไงก็คุมยาก เพราะตัวเองเป็นคนขึ้นค่าแรงเอง
ตอนนี้คิดออกแค่นี้ เป็นแค่การมองกว้างๆถึงโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่าควรซื้อเลยในทุกราคา
เพื่อนๆพี่ๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ ช่วยแชร์ด้วยครับ ขอบคุณครับ
อยากฟังความเห็นเพื่อนๆพี่ๆครับว่า เรื่องค่าแรง 300 เนี่ย โอกาสสำหรับเราๆที่เป็นนักลงทุน
จะมีอะไรบ้างที่น่าจะเกิดขึ้นเพื่อให้เราวิเคราะห์เพื่อลงทุนได้
ส่วนตัวผมมองว่าเรื่องค่าแรง 300 นี้เป็นจุดนึงที่ประเทศเรากำลังมีการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างเลย
จึงเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือเดิมทีเราทำเกษตรเป็นหลัก พอเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม แรงงานก็เริ่มย้ายจากภาคเกษตร
ไปเข้าโรงงานมากขึ้นๆ ประเทศอื่นก็มองว่าเราค่าแรงต่ำ ก็แห่กันมาเปิดโรงงานเรื่อยๆ น่าจะตั้งแต่ก่อนยุคน้าชาติ
โดยรวมก็คือ ครั้งหนึ่งเราผ่านจาก "แรงงานเกษตร" ไปสู่ "แรงงานราคาถูก" แต่ว่าตอนนี้เรากำลังเปลี่ยนอีกครั้งคือ
1. แรงงานเกษตร ที่เคยลดลงอย่างมาก แต่เมื่อราคาเกษตรดีขึ้นเรื่อยๆตามแนวโน้มใหญ่ ทำให้แรงงานราคาถูก
บางส่วนกลับไปเป็นแรงงานเกษตร แต่มีการพัฒนารูปแบบการทำเกษตรที่เปลี่ยนไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ
2. เมื่อประเทศเราอั้นค่าแรงมานาน ถึงตอนนี้ "แรงงานราคาถูก" กำลังจะไม่ถูกอีกต่อไป จากนโยบาย 300 บาท
จาก 2 ประเด็นนี้ ผมว่าเราก็จะเป็นคล้ายๆกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ที่เค้าจะต้องผ่านเหตุการณ์ลักษณะนี้
เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เราพยายามให้ GDP โตทุกปี ประเทศมันก็เจริญขึ้นเรื่อยๆแน่นอนสุดท้ายค่าแรงก็ต้องขึ้น
แต่เรื่องว่านโยบายจะประสพความสำเร็จมากน้อยแค่ไหนนั้นคงอีกเรื่องนึง แต่ถ้ามองภาพใหญ่สุดท้ายค่าแรงก็ต้องขึ้น
ผมว่าโดยเฉลี่ยค่าแรงของคนทั้งโลกต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะทุกประเทศต่างก็เร่งให้ GDP ขยายตัว เงินเฟ้อก็คู่กัน
โอกาสสำหรับนักลงทุนเท่าที่ผมพอคิดออกคือ ผมมองว่าเมื่อคนรากหญ้าซึ่งเป็นประชากรจำนวนมากของประเทศ
มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอย่างนี้ ทั้งจากราคาเกษตรที่แนวโน้มโดยรวมราคาเพิ่มเรื่อยๆ และจากค่าแรง 300
อะไรที่คนกลุ่มนี้เค้าต้องการเป็นอันดับต้นๆ เมื่อเขามีเงิน อะไรทีเค้าอยากซื้อ อยากได้ และเค้าสามารถซื้อได้???
ในฐานะที่ผมใกล้ชิดและเคยเป็นคนกลุ่มนี้
1. เสื้อผ้า เมื่อผมได้ค่าจ้างมากขึ้น เมื่อมีเงินเหลือสิ่งที่อยากซื้อใหม่คือ เสื้อผ้า ซึ่งราคาก็ต้องไม่แพงมากนัก
แต่ก็จะอยากได้ที่มีแบรนด์เนมด้วย เพราะเบื่อเต็มทีกับเสื้อผ้าตลาดนัดกับของก็อป โดยเฉพาะผู้หญิง สาวโรงงาน
ถ้าเดิมเค้าได้เงิน 7000 บาท/ด เค้ามักจะเดินชมของในห้าง แต่มักจะซื้อเสื้อผ้าที่ตลาดนัด
แต่ถ้า เค้าได้เงิน 9000 บาท/ด ความอัดอั้นจากการเดินชม จะทำให้เริ่มอยากซื้อแบรนด์เนมในห้าง แต่ราคาต้องถูกนะ
2. ซ่อมแซม/ต่อเติมบ้าน ผมอยู่บ้านนอกครับ พบว่าเมื่อไรที่ของออก(หมายถึงสินค้าเกษตรเก็บเกี่ยวแล้ว) สินค้าวัสดุ
ก่อสร้างจะขายดีมาก โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น(เน้นถูก) กระเบื้องมุงหลังคา(ส่วนใหญ่ซื้อลอนคู่) ไปจนถึง ทีวี ตู้เย็น
เพราะบ้านเค้ามุงสังกะสีกันครับ ส่วนพื้นส่วนใหญ่เทปูนขัดหยาบไว้ บางคนทำบ้านทีละครึ่งหลัง เพราะ
หนึ่งปีได้เงินหนึ่งที ปีนี้มุงหลังคาเสร็จเงินหมดพอดี ปีหน้าค่อยมาปูกระเบื้องพื้นต่อ อย่างนี้ก็มี
3. ผ่อน เรื่องซื้อผ่อนนี่คู่บ้านคู่เมืองอยู่แล้ว แต่ว่าเดิมทีผ่อนได้น้อย จู่ๆเงินเพิ่มมาเดือนละ 3000 ฉันจะผ่อนอะไรอีกดี?
ผมว่าถ้ามองความต้องการพื้นฐาน ผ่อนมอเตอร์ไซค์ยอดนิยม เพราะผ่อนให้ลูกบ้าง ชับไปทำงาน ขับไปไร่นา
แต่ส่วนใหญ่คนไทยก็ผ่อนมอไซค์มากอยู่แล้ว และส่วนใหญ่ผ่อนได้อยู่แล้ว
4. บ้าน เป็นความต้องการพื้นฐานที่คนกลุ่มนี้ต้องการ "ผ่อน" โดยเฉพาะแรงงานในโรงงาน ที่ต้องย้ายถิ่นมาเช่าบ้าน
เมื่อเดิมทีเงินเดือนพอแค่ผ่อนห้องเช่า แต่เมื่อเงินเพิ่มขึ้น เค้าจะสามารถผ่อนบ้านที่ราคาไม่แพง อาจจะผ่อนมากกว่า
ที่เช่าอยู่ในปัจจุบัน แต่พอเงินเดือนขึ้นทั้งสามีภรรยา เค้าจะสามารถผ่อนบ้านทาวน์เฮ้าส์ที่ราคาไม่แพงได้
5. อาหาร หมูเห็ดเป็ดไก่ ข้าวยาปลาปิ้ง ราคาจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากค่าแรงที่เพิ่ม คนจะจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
มีเงินมากขึ้น ก็กินมากขึ้น เป็นสังคมบริโภคนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ค่าแรงเพิ่ม ต้นทุนเพิ่มหรืออาจจะไม่เพิ่ม แต่ราคา
อาหารจะต้องมีการถือโอกาสเพิ่มแน่นอน ในระยะยาวรัฐคุมยังไงก็คุมยาก เพราะตัวเองเป็นคนขึ้นค่าแรงเอง
ตอนนี้คิดออกแค่นี้ เป็นแค่การมองกว้างๆถึงโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึงว่าควรซื้อเลยในทุกราคา
เพื่อนๆพี่ๆ คิดเห็นอย่างไรบ้างครับ ช่วยแชร์ด้วยครับ ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองโอกาส ผ่าน 300
โพสต์ที่ 2
ในมุมของผม ขอเสริมในแง่ มุมมองต่อธุรกิจนะครับ
300บาท ทำให้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เล่นในกรอบกติกาเดียวกัน คือ 300 บาท
ทำให้โอกาศ การแข่งขันของรายเล็กและกลาง ลดลง เพราะแต่เดิม ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก
เน้นจ้างแรงงานถูกเพื่อผลิตสินค้าถูกแข่งรายใหญ่
แต่พอค่าแรงขึ้น โรงงานเหล่านี้ก้ต้องปิดตัวลงไป ทำให้ผู้เล่นในตลาด หายไป
บางรายที่เป็นขนาดกลางแม้จะอยู่ แต่ก้เสียเปรียบขนาดใหญ่ เพราะขนาดใหญ่่ได้ลดภาษี
นิติบุคคล ขณะที่รายกลางหรือเล็กส่วนมากจะเลี่ยงภาษี
ทีนี้พอรายเล็กและกลาง หายไปส่วนแบ่งตรงนี้ก้จะทำให้รายใหญ่ครอง MK share เพิ่ม
ขึ้น เหมือนสงคราม สุดท้ายบริษัทที่แข็งแกร่งจริงๆก้จะกินรวบครับ
ในมุมมองของผม value investor ทุกคนจะต้องค้นหา ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ครองที่ 1 หรือ 2
ในอุตสาหกรรมนั้น และศึกษาให้ถ่องแท้ ถึงอนาคตของบริษัทในอีก 5-10ปี
และเข้าซื้อ ในราคาที่ เหมาะสม(ถูก) ก้จะสามารถทำผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว ครับ
ใครนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงอาเจนติน่าห์ครับ ตอนที่ค้าปลีกอาเจนติน่าถูกกวาดลงเหว
ด้วยน้ำมือของ โมเดินเทรด ยักษ์ใหญ่ ถ้าเราถือหุ้นค้าปลีก local ในอาเจนติน่าก่อนที่
โมเดินเทรดจะเข้าไป กับหลังโมเดินเทรดเข้าไป คงจะหนังคนละม้วนครับ
300บาท ทำให้ ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เล่นในกรอบกติกาเดียวกัน คือ 300 บาท
ทำให้โอกาศ การแข่งขันของรายเล็กและกลาง ลดลง เพราะแต่เดิม ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก
เน้นจ้างแรงงานถูกเพื่อผลิตสินค้าถูกแข่งรายใหญ่
แต่พอค่าแรงขึ้น โรงงานเหล่านี้ก้ต้องปิดตัวลงไป ทำให้ผู้เล่นในตลาด หายไป
บางรายที่เป็นขนาดกลางแม้จะอยู่ แต่ก้เสียเปรียบขนาดใหญ่ เพราะขนาดใหญ่่ได้ลดภาษี
นิติบุคคล ขณะที่รายกลางหรือเล็กส่วนมากจะเลี่ยงภาษี
ทีนี้พอรายเล็กและกลาง หายไปส่วนแบ่งตรงนี้ก้จะทำให้รายใหญ่ครอง MK share เพิ่ม
ขึ้น เหมือนสงคราม สุดท้ายบริษัทที่แข็งแกร่งจริงๆก้จะกินรวบครับ
ในมุมมองของผม value investor ทุกคนจะต้องค้นหา ธุรกิจขนาดใหญ่ที่ครองที่ 1 หรือ 2
ในอุตสาหกรรมนั้น และศึกษาให้ถ่องแท้ ถึงอนาคตของบริษัทในอีก 5-10ปี
และเข้าซื้อ ในราคาที่ เหมาะสม(ถูก) ก้จะสามารถทำผลตอบแทนได้ดีในระยะยาว ครับ
ใครนึกภาพไม่ออกให้นึกถึงอาเจนติน่าห์ครับ ตอนที่ค้าปลีกอาเจนติน่าถูกกวาดลงเหว
ด้วยน้ำมือของ โมเดินเทรด ยักษ์ใหญ่ ถ้าเราถือหุ้นค้าปลีก local ในอาเจนติน่าก่อนที่
โมเดินเทรดจะเข้าไป กับหลังโมเดินเทรดเข้าไป คงจะหนังคนละม้วนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองโอกาส ผ่าน 300
โพสต์ที่ 3
The New Middle Class
กุมภาพันธ์ 9, 2013 Filed under บทความ Posted by ดร.นิเวศน์
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ “ยิ่งใหญ่” เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาพร้อม ๆ กันทั่วโลก นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่คนมีรายได้ “น้อย” คิดหรือทำตัวคล้าย ๆ กับ “ชนชั้นกลาง” โดยเฉพาะในการประท้วง เรียกร้องสิทธิทางการเมือง และต่อสู้เพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในอดีตหรือโดยปกติจะเป็นเรื่องของคนชั้นกลางที่มีรายได้ประมาณ 10,000 เหรียญหรือ 300,000 บาทต่อปีขึ้นไปที่มีความมั่นคงในชีวิตและไม่ต้องคำนึงถึงปากท้องประจำวันที่จะคิดและทำ ส่วนคนที่มีรายได้น้อยกว่านั้นในอดีตพวกเขามักจะขาดการศึกษา การเรียนรู้ และข้อมูล ที่มีราคาแพงและพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำพอ แต่ในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาและการกระจายตัวของอินเตอร์เน็ตที่มีราคาถูก รวมถึงทีวีผ่านดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ และข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซ้ต์ต่าง ๆ ที่คนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ได้ฟรี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้คนที่มีรายได้ “น้อย” สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตหรือคิดและทำแบบที่ชนชั้นกลางทำ และนี่ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการ “ปฏิวัติประชาธิปไตย” ที่เกิดขึ้นในประเทศย่านแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ที่เรียกกันว่า “อาหรับสปริง” การประท้วงต่อต้านคอร์รัปชั่นและการเรียกร้องสิทธิทางสังคมต่าง ๆ ในอินเดียและจีน และแน่นอน การประท้วงเรียกร้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้โดยเฉพาะของ “คนเสื้อแดง”
คำที่ใช้เรียกคนที่มีรายได้ “น้อย” ที่ทำตัวคล้ายคนชั้นกลางนั้น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Virtual middle class” หรือ “ชนชั้นกลางเสมือนจริง” ในเมืองไทยนั้น นักวิชาการบางคนเรียกว่า “คนชั้นกลางระดับล่าง” ชนชั้นกลางเสมือนจริงในประเทศอย่างอินเดียหรือจีนนั้น มองกันว่ามีจำนวนหลายร้อยล้านคนหรือพอ ๆ กับคนชั้นกลางในสองประเทศนั้น ในประเทศไทยเองนั้น คนชั้นกลางระดับล่างนั้นน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคนหรือน่าจะเท่า ๆ หรือมากกว่าคนชั้นกลางจริง ๆ ด้วยซ้ำ ดังนั้น อิทธิพลหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความคิดและการกระทำของพวกเขาจึงมีมหาศาลแทบจะ “เปลี่ยนโลก” หรือ “ปฏิวัติ” แนวทางในการดำเนินชีวิต สังคม และการเมืองของประเทศ
ในส่วนของประเด็นทางเศรษฐกิจที่เราสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากมันมีผลต่อการลงทุนของเรานั้น เรื่องแรกก็คือ คนชั้นกลางระดับล่างหรือผมอยากจะเรียกว่า “คนชั้นกลางรุ่นใหม่” นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่ทำงาน “นอกระบบ” นั่นคือ พวกเขาไม่ได้ทำงานในบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีระบบของการบริหารงานบุคคลเป็นมาตรฐาน มีสวัสดิการที่ดี ตรงกันข้าม คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้น มักเป็นพ่อค้าแม่ขายตามตลาด เป็นคนขับรถรับจ้าง เป็นพนักงานบริการ เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการที่เป็น SME ที่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย หรือเป็นเกษตรกร “มืออาชีพ” พูดถึงรายได้ พวกเขามักจะมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000-20,000 บาท หรือปีละไม่เกิน 180,000-240,000 บาท อย่างไรก็ตามรายได้ของพวกเขามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อานิสงค์จากการที่แรงงานขาดแคลนอย่างหนักและการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล
คนชั้นกลางรุ่นใหม่ของไทยนั้น กำลังบริโภคหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างที่คนชั้นกลางทำ ปรากฏการณ์ของ “รถยนต์คันแรก” ที่มียอดขายจำนวนมหาศาลนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากมันมีราคาเพียงไม่กี่แสนและสามารถผ่อนได้ด้วยเงินไม่กี่พันต่อเดือนซึ่งทำให้คนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถซื้อได้ เช่นเดียวกัน คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้นนิยมซื้อคอนโดที่มีราคาที่พวกเขาสามารถผ่อนได้จากเดิมที่บ้านนั้นเป็นความฝันเฉพาะของคนชั้นกลาง นี่ไม่ต้องพูดถึงการผ่อนมอเตอร์ไซต์หรือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีราคาไม่สูง แต่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกหรือเป็นสิ่งที่ให้ความบันเทิงสำหรับชีวิตแบบคนชั้นกลางทั่วไป
การซื้อสินค้าของคนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้น กำลังเหมือนกับคนชั้นกลางนั่นคือ พวกเขาเข้าห้างค้าปลีกสมัยใหม่ พวกเขาอยากได้สินค้าและบริการที่ดี “ในราคาที่ย่อมเยา” ค่าที่ว่าคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากและโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องคุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่จะขายให้กับพวกเขา เช่นเดียวกัน คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้น กินอาหารในภัตตาคารมากขึ้นมาก อาหารที่ขายในภัตตาคารตามห้างนั้น เนื่องจากปริมาณการขายสูงทำให้มีการ “ประหยัดจากขนาด” ส่งผลให้ราคาต่อมื้อไม่แพงและคนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถกินได้ อาจจะเดือนละหลายครั้ง หรืออย่างน้อยในวันเงินเดือนออก
คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้นมักเป็น “เสรีชน” แบบเดียวกับคนชั้นกลาง พวกเขาไม่ต้องการ “พึ่งพิง” ใครอย่างที่ “คนจน” ในอดีตของไทยต้องทำกับคนที่ร่ำรวยหรือมีสถานะในสังคมที่สูงกว่า เดี๋ยวนี้เราต้อง“ง้อ” ลูกจ้างที่มาทำงานกับเราในที่ทำงานหรือที่บ้าน ความ “เสมอภาค” ของคนในสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนได้จากละครทีวีหลังข่าวที่หนังแนว “แรงเงา” ที่ตัวเอกฝ่ายหญิงนั้นใช้วิธีต่อสู้แบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” กับคนที่ “สูงกว่าทางสังคม” ได้รับความนิยมล้นหลาม ในขณะที่หนังแบบ “บ้านทรายทอง” ที่นางเอกยอมเป็น “เบี้ยล่าง” คนที่ “สูงกว่าทางสังคม” เพื่อที่จะใช้ “ความดี” เอาชนะใจพวกเขานั้น ผมเชื่อว่าจะลดความนิยมลงไปเรื่อย ๆ และแม้ว่าจะยังมีคนชื่นชอบอยู่ บทละครก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมของ “คนรุ่นใหม่” ที่ดูแล้วอาจจะรู้สึกว่าความคิดและการกระทำของนางเอก “ไม่มีเหตุผล”
ลัทธิ “บริโภคนิยม” ที่เป็นเรื่องของคนชั้นกลางในอดีตนั้น แน่นอน ขณะนี้เป็นเรื่องที่คนชั้นกลางรุ่นใหม่รับเข้าไปอย่างเต็มที่ ราคาของสินค้าที่เคยแพงและคนชั้นกลางรุ่นใหม่ไม่สามารถซื้อหาหรือใช้ได้นั้น ปัจจุบันพวกเขาสามารถใช้มัน ผ่านระบบการ “ผ่อนส่ง” ที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้น พวกเขามีหนี้สินพอกพูนซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะ “ไม่แคร์” พวกเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ การอดออมเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นมีความจำเป็นน้อยลงไปมากหลังจากที่รัฐได้เข้ามาดูแลผ่านโครงการสวัสดิการสังคมที่เรียกว่า “ประชานิยม” หลายอย่างโดยเฉพาะรายการ “30 บาทรักษาทุกโรค”
ในฐานะของ VI นั้น ความเข้าใจในพฤติกรรมของคนชั้นกลางรุ่นใหม่ผมคิดว่ามีความสำคัญยิ่ง เหตุผลก็คือ พวกเขาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ใหญ่มาก บริษัทที่สามารถหรือมีโมเดลธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาจะสามารถสร้างรายได้และเติบโตไปได้มาก หัวใจก็คือการออกแบบสินค้าและบริการที่มีราคาถูกและ “คุ้มค่า” นอกจากนั้น มันต้องมีคุณภาพที่ดีและให้ความรู้สึกที่ทำให้ผู้ใช้มี “ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ” เมื่อได้ใช้หรือบริโภคมัน นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์จะต้องสอดคล้องกับ “ไล้ฟสไตล์” หรือแนวทางการใช้ชีวิตของพวกเขา นั่นก็คือ ต้องมีความสะดวกสบายและบริการที่ดี ทั้งหมดนี้จะทำได้ก็จะต้องมีปริมาณธุรกิจที่ใหญ่หรือมากพอที่จะทำให้เกิด Economies of Scale หรือใหญ่พอที่จะทำให้ต้นทุนลดลงมากจนคนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถบริโภคได้ “เป็นประจำ” และถ้าเราสามารถค้นพบบริษัทแบบนี้ การลงทุนก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้
จากบทความ ดร.นิเวศน์ ล่าสุดนี่ผมว่าดูท่านจะมองว่าเรื่องนี่กำลังเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคครั้งใหญ่อีกครั้ง เหมือนครั้งที่คนเปลี่ยนจากซื้อของจากโชห่วยมาซื้อในโมเดิร์นเทรด แล้วเทรนด์นี้ก็อยู่ไปอีกนานจนถึงปัจจุบัน ดูจากบทความแล้ว ผมว่าคุณสมบัติสำคัญของสินค้า/บริการ ที่จะได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ อยู่ในย่อหน้าสุดท้าย คือต้อง
"คุ้มค่า" ให้“ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ” เป็น“ไล้ฟสไตล์” ใช้“เป็นประจำ”
ซึ่งธุรกิจที่จะให้ทุกอย่างที่ว่ามานี้ได้ครบต้องได้เปรียบในการแข่งขันจากต้นทุนที่ต่ำกว่า เช่น สาขามาก , ผลิตมาก
ส่วนธุรกิจที่ดูท่านจะมองว่าได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ เท่าที่ผมแกะได้ คือ
1.รถยนต์ราคาถูก 2.คอนโดราคาถูก 3.ร้านอาหารในห้างที่ราคาไม่แพงแต่บริการดี มีหลายสาขา 4.ละครช่อง 3 (ผมก็ชอบแรงเงาเป็นการส่วนตัว แต่ไม่รู้เกี่ยวกะหุ้นรึเปล่า อิอิ) 5.ไฟแนนซ์
กุมภาพันธ์ 9, 2013 Filed under บทความ Posted by ดร.นิเวศน์
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ “ยิ่งใหญ่” เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนาพร้อม ๆ กันทั่วโลก นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่คนมีรายได้ “น้อย” คิดหรือทำตัวคล้าย ๆ กับ “ชนชั้นกลาง” โดยเฉพาะในการประท้วง เรียกร้องสิทธิทางการเมือง และต่อสู้เพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในอดีตหรือโดยปกติจะเป็นเรื่องของคนชั้นกลางที่มีรายได้ประมาณ 10,000 เหรียญหรือ 300,000 บาทต่อปีขึ้นไปที่มีความมั่นคงในชีวิตและไม่ต้องคำนึงถึงปากท้องประจำวันที่จะคิดและทำ ส่วนคนที่มีรายได้น้อยกว่านั้นในอดีตพวกเขามักจะขาดการศึกษา การเรียนรู้ และข้อมูล ที่มีราคาแพงและพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำพอ แต่ในปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาและการกระจายตัวของอินเตอร์เน็ตที่มีราคาถูก รวมถึงทีวีผ่านดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ และข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซ้ต์ต่าง ๆ ที่คนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ได้ฟรี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้คนที่มีรายได้ “น้อย” สามารถเรียนรู้และใช้ชีวิตหรือคิดและทำแบบที่ชนชั้นกลางทำ และนี่ทำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการ “ปฏิวัติประชาธิปไตย” ที่เกิดขึ้นในประเทศย่านแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ที่เรียกกันว่า “อาหรับสปริง” การประท้วงต่อต้านคอร์รัปชั่นและการเรียกร้องสิทธิทางสังคมต่าง ๆ ในอินเดียและจีน และแน่นอน การประท้วงเรียกร้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้โดยเฉพาะของ “คนเสื้อแดง”
คำที่ใช้เรียกคนที่มีรายได้ “น้อย” ที่ทำตัวคล้ายคนชั้นกลางนั้น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Virtual middle class” หรือ “ชนชั้นกลางเสมือนจริง” ในเมืองไทยนั้น นักวิชาการบางคนเรียกว่า “คนชั้นกลางระดับล่าง” ชนชั้นกลางเสมือนจริงในประเทศอย่างอินเดียหรือจีนนั้น มองกันว่ามีจำนวนหลายร้อยล้านคนหรือพอ ๆ กับคนชั้นกลางในสองประเทศนั้น ในประเทศไทยเองนั้น คนชั้นกลางระดับล่างนั้นน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคนหรือน่าจะเท่า ๆ หรือมากกว่าคนชั้นกลางจริง ๆ ด้วยซ้ำ ดังนั้น อิทธิพลหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากความคิดและการกระทำของพวกเขาจึงมีมหาศาลแทบจะ “เปลี่ยนโลก” หรือ “ปฏิวัติ” แนวทางในการดำเนินชีวิต สังคม และการเมืองของประเทศ
ในส่วนของประเด็นทางเศรษฐกิจที่เราสนใจเป็นพิเศษเนื่องจากมันมีผลต่อการลงทุนของเรานั้น เรื่องแรกก็คือ คนชั้นกลางระดับล่างหรือผมอยากจะเรียกว่า “คนชั้นกลางรุ่นใหม่” นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนที่ทำงาน “นอกระบบ” นั่นคือ พวกเขาไม่ได้ทำงานในบริษัทใหญ่ ๆ ที่มีระบบของการบริหารงานบุคคลเป็นมาตรฐาน มีสวัสดิการที่ดี ตรงกันข้าม คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้น มักเป็นพ่อค้าแม่ขายตามตลาด เป็นคนขับรถรับจ้าง เป็นพนักงานบริการ เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการที่เป็น SME ที่ไม่มีสวัสดิการอะไรเลย หรือเป็นเกษตรกร “มืออาชีพ” พูดถึงรายได้ พวกเขามักจะมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000-20,000 บาท หรือปีละไม่เกิน 180,000-240,000 บาท อย่างไรก็ตามรายได้ของพวกเขามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อานิสงค์จากการที่แรงงานขาดแคลนอย่างหนักและการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล
คนชั้นกลางรุ่นใหม่ของไทยนั้น กำลังบริโภคหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่างที่คนชั้นกลางทำ ปรากฏการณ์ของ “รถยนต์คันแรก” ที่มียอดขายจำนวนมหาศาลนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากมันมีราคาเพียงไม่กี่แสนและสามารถผ่อนได้ด้วยเงินไม่กี่พันต่อเดือนซึ่งทำให้คนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถซื้อได้ เช่นเดียวกัน คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้นนิยมซื้อคอนโดที่มีราคาที่พวกเขาสามารถผ่อนได้จากเดิมที่บ้านนั้นเป็นความฝันเฉพาะของคนชั้นกลาง นี่ไม่ต้องพูดถึงการผ่อนมอเตอร์ไซต์หรือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีราคาไม่สูง แต่เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกหรือเป็นสิ่งที่ให้ความบันเทิงสำหรับชีวิตแบบคนชั้นกลางทั่วไป
การซื้อสินค้าของคนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้น กำลังเหมือนกับคนชั้นกลางนั่นคือ พวกเขาเข้าห้างค้าปลีกสมัยใหม่ พวกเขาอยากได้สินค้าและบริการที่ดี “ในราคาที่ย่อมเยา” ค่าที่ว่าคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากและโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องคุ้มค่าสำหรับธุรกิจที่จะขายให้กับพวกเขา เช่นเดียวกัน คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้น กินอาหารในภัตตาคารมากขึ้นมาก อาหารที่ขายในภัตตาคารตามห้างนั้น เนื่องจากปริมาณการขายสูงทำให้มีการ “ประหยัดจากขนาด” ส่งผลให้ราคาต่อมื้อไม่แพงและคนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถกินได้ อาจจะเดือนละหลายครั้ง หรืออย่างน้อยในวันเงินเดือนออก
คนชั้นกลางรุ่นใหม่นั้นมักเป็น “เสรีชน” แบบเดียวกับคนชั้นกลาง พวกเขาไม่ต้องการ “พึ่งพิง” ใครอย่างที่ “คนจน” ในอดีตของไทยต้องทำกับคนที่ร่ำรวยหรือมีสถานะในสังคมที่สูงกว่า เดี๋ยวนี้เราต้อง“ง้อ” ลูกจ้างที่มาทำงานกับเราในที่ทำงานหรือที่บ้าน ความ “เสมอภาค” ของคนในสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สะท้อนได้จากละครทีวีหลังข่าวที่หนังแนว “แรงเงา” ที่ตัวเอกฝ่ายหญิงนั้นใช้วิธีต่อสู้แบบ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” กับคนที่ “สูงกว่าทางสังคม” ได้รับความนิยมล้นหลาม ในขณะที่หนังแบบ “บ้านทรายทอง” ที่นางเอกยอมเป็น “เบี้ยล่าง” คนที่ “สูงกว่าทางสังคม” เพื่อที่จะใช้ “ความดี” เอาชนะใจพวกเขานั้น ผมเชื่อว่าจะลดความนิยมลงไปเรื่อย ๆ และแม้ว่าจะยังมีคนชื่นชอบอยู่ บทละครก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับค่านิยมของ “คนรุ่นใหม่” ที่ดูแล้วอาจจะรู้สึกว่าความคิดและการกระทำของนางเอก “ไม่มีเหตุผล”
ลัทธิ “บริโภคนิยม” ที่เป็นเรื่องของคนชั้นกลางในอดีตนั้น แน่นอน ขณะนี้เป็นเรื่องที่คนชั้นกลางรุ่นใหม่รับเข้าไปอย่างเต็มที่ ราคาของสินค้าที่เคยแพงและคนชั้นกลางรุ่นใหม่ไม่สามารถซื้อหาหรือใช้ได้นั้น ปัจจุบันพวกเขาสามารถใช้มัน ผ่านระบบการ “ผ่อนส่ง” ที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้น พวกเขามีหนี้สินพอกพูนซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะ “ไม่แคร์” พวกเขาคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ การอดออมเพื่อเก็บเงินไว้ใช้ยามฉุกเฉินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นมีความจำเป็นน้อยลงไปมากหลังจากที่รัฐได้เข้ามาดูแลผ่านโครงการสวัสดิการสังคมที่เรียกว่า “ประชานิยม” หลายอย่างโดยเฉพาะรายการ “30 บาทรักษาทุกโรค”
ในฐานะของ VI นั้น ความเข้าใจในพฤติกรรมของคนชั้นกลางรุ่นใหม่ผมคิดว่ามีความสำคัญยิ่ง เหตุผลก็คือ พวกเขาเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ใหญ่มาก บริษัทที่สามารถหรือมีโมเดลธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาจะสามารถสร้างรายได้และเติบโตไปได้มาก หัวใจก็คือการออกแบบสินค้าและบริการที่มีราคาถูกและ “คุ้มค่า” นอกจากนั้น มันต้องมีคุณภาพที่ดีและให้ความรู้สึกที่ทำให้ผู้ใช้มี “ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ” เมื่อได้ใช้หรือบริโภคมัน นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์จะต้องสอดคล้องกับ “ไล้ฟสไตล์” หรือแนวทางการใช้ชีวิตของพวกเขา นั่นก็คือ ต้องมีความสะดวกสบายและบริการที่ดี ทั้งหมดนี้จะทำได้ก็จะต้องมีปริมาณธุรกิจที่ใหญ่หรือมากพอที่จะทำให้เกิด Economies of Scale หรือใหญ่พอที่จะทำให้ต้นทุนลดลงมากจนคนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถบริโภคได้ “เป็นประจำ” และถ้าเราสามารถค้นพบบริษัทแบบนี้ การลงทุนก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้
จากบทความ ดร.นิเวศน์ ล่าสุดนี่ผมว่าดูท่านจะมองว่าเรื่องนี่กำลังเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคครั้งใหญ่อีกครั้ง เหมือนครั้งที่คนเปลี่ยนจากซื้อของจากโชห่วยมาซื้อในโมเดิร์นเทรด แล้วเทรนด์นี้ก็อยู่ไปอีกนานจนถึงปัจจุบัน ดูจากบทความแล้ว ผมว่าคุณสมบัติสำคัญของสินค้า/บริการ ที่จะได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ อยู่ในย่อหน้าสุดท้าย คือต้อง
"คุ้มค่า" ให้“ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ” เป็น“ไล้ฟสไตล์” ใช้“เป็นประจำ”
ซึ่งธุรกิจที่จะให้ทุกอย่างที่ว่ามานี้ได้ครบต้องได้เปรียบในการแข่งขันจากต้นทุนที่ต่ำกว่า เช่น สาขามาก , ผลิตมาก
ส่วนธุรกิจที่ดูท่านจะมองว่าได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ เท่าที่ผมแกะได้ คือ
1.รถยนต์ราคาถูก 2.คอนโดราคาถูก 3.ร้านอาหารในห้างที่ราคาไม่แพงแต่บริการดี มีหลายสาขา 4.ละครช่อง 3 (ผมก็ชอบแรงเงาเป็นการส่วนตัว แต่ไม่รู้เกี่ยวกะหุ้นรึเปล่า อิอิ) 5.ไฟแนนซ์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1523
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มองโอกาส ผ่าน 300
โพสต์ที่ 4
หัวใจก็คือการออกแบบสินค้าและบริการที่มีราคาถูกและ “คุ้มค่า” นอกจากนั้น มันต้องมีคุณภาพที่ดีและให้ความรู้สึกที่ทำให้ผู้ใช้มี “ศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจ” เมื่อได้ใช้หรือบริโภคมัน นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์จะต้องสอดคล้องกับ “ไล้ฟสไตล์” หรือแนวทางการใช้ชีวิตของพวกเขา นั่นก็คือ ต้องมีความสะดวกสบายและบริการที่ดี ทั้งหมดนี้จะทำได้ก็จะต้องมีปริมาณธุรกิจที่ใหญ่หรือมากพอที่จะทำให้เกิด Economies of Scale หรือใหญ่พอที่จะทำให้ต้นทุนลดลงมากจนคนชั้นกลางรุ่นใหม่สามารถบริโภคได้ “เป็นประจำ” และถ้าเราสามารถค้นพบบริษัทแบบนี้ การลงทุนก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวได้
รถยนต์ และบ้านและคอนโด นานๆซื้อครับ ซื้อทีใช้ได้ยาว
ผมมองว่า ผ้าออ้มเด็ก เสื้อผ้า อาหารที่เป็นอาหารชั้นนำในห้าง
ห้างสรรพสินค้า เสื้อชั้นใน
รถยนต์ และบ้านและคอนโด นานๆซื้อครับ ซื้อทีใช้ได้ยาว
ผมมองว่า ผ้าออ้มเด็ก เสื้อผ้า อาหารที่เป็นอาหารชั้นนำในห้าง
ห้างสรรพสินค้า เสื้อชั้นใน