การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
syj
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4254
ผู้ติดตาม: 1

การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ฮงเส็งทุ่มพันล.ตั้ง3รง.ใหม่ต่างแดน ลุยเวียดนามพม่ากัมพูชาหนีพิษแรงงานขาด-แพง
updated: 24 พ.ค. 2556 เวลา 00:57:41 น.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ฮงเส็งการทอหนีพิษค่าแรงแพง-แรงงานขาด หอบเงินเฉียด 1,000 ล้านบาท บุกตั้งโรงงานเครื่องนุ่งห่มใหม่ใน 3 ประเทศ เวียดนาม-พม่า-กัมพูชา พร้อมขยายโรงงานเฟสสองหลังประสบความสำเร็จจากโรงงานเฟสแรกในเวียดนาม เผยประเทศเพื่อนบ้านหาแรงงานง่าย ราคาถูกกว่า ชี้ค่าเงินบาทอ่อนลงไม่ช่วยอะไรมากนัก เหตุค่าเงินประเทศเพื่อนบ้านอ่อนลงตาม

นายสุกิจ คงปิยาจารย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮงเส็งการทอ จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มใหม่ 3 แห่ง ในประเทศเพื่อนบ้าน 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม พม่า และกัมพูชา โดยเตรียมเงินลงทุนไว้ทั้งหมดประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 870 ล้านบาท แต่ละประเทศคาดว่าจะใช้เงินลงทุนแห่งละประมาณ 8-10 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 เฟส เพื่อให้ได้กำลังการผลิตรวมแห่งละ 0.8 -1.0 ล้านตัวต่อเดือน

"ขณะนี้ในเวียดนามได้มีการลงทุนเฟสแรกแล้ว และได้รับผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานเฟสที่ 2 ในพื้นที่เดียวกันกับโรงงานเดิม ขณะที่ในอีก 2 ประเทศที่เหลือคือพม่า คาดว่าจะหาข้อสรุปเรื่องราคาที่ดินได้ภายใน 3-4 เดือนนี้ เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมต่อการดำเนินการเฟสแรกในปี 2557 ส่วนในกัมพูชาอยู่ระหว่างการมองหาที่ดินและระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าไปลงทุน แต่ถ้าเป็นไปได้คาดว่าจะสามารถดำเนินการเฟสแรกได้ภายในปี 2557 เช่นเดียวกับที่พม่า" นายสุกิจกล่าว


นายสุกิจกล่าวต่อไปว่า การที่ออกมาตั้งโรงงานในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นเนื่องจากแรงงานหาได้ง่ายมากกว่าในประเทศไทย ขณะที่โรงงานในไทยจะเป็นเรื่องของการขาย การทำตลาด การจัดซื้อจัดหา การเงิน ในส่วนโรงงานที่มีอยู่แล้วในจีนอาจไม่มีการขยายเพิ่ม เนื่องจากค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น

นายสุกิจกล่าวถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทในขณะนี้ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าค่าเงินบาทมีความผันผวนน้อยลง และนิ่งมากขึ้น โดยค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงในช่วงนี้ เชื่อว่าเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีตัวเลขที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้น มากกว่าที่จะเป็นผลมาจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวคิดจะนำ 4 มาตรการมาใช้ควบคุมเงินทุนไหลจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามา อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงตอนนี้ไม่ได้ส่งเสริมการส่งออกของผู้ประกอบการไทยเท่าไหร่ เนื่องจากการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นส่งผลให้เงินของประเทศอื่นในภูมิภาคนี้อ่อนค่าลงตามไปด้วย จึงยังไม่เห็นความแตกต่างจากเดิมมากนัก ซึ่งมาตรการที่ออกมามีผลให้ค่าเงินลดลง หรือหยุดเงินทุนไหลเข้าได้จริงหรือไม่ ก็ยังตอบไม่ได้จนกว่า ธปท.จะประกาศออกมา

ส่วนกรณีโรงงานสิ่งทอในประเทศบังกลาเทศเกิดไฟไหม้ และทำให้มีคนงานเสียชีวิตนั้น อาจทำให้ผู้นำเข้าในสหรัฐอเมริกาที่ให้ความสำคัญเรื่องแรงงานเกิดความกังวลถึงมาตรฐานความปลอดภัย และอาจมีการมองหาตลาดผลิตสินค้ารองจากบังกลาเทศนั้น นายสุกิจกล่าวว่า สินค้าสิ่งทอในไทยไม่ได้รับอานิสงส์จากเรื่องนี้ในทันทีทันใด เนื่องจากหากลูกค้าจะมองหาตลาดผลิตสินค้าแทนการผลิตในบังกลาเทศนั้น เป็นไปได้ที่จะเลือกตลาดเวียดนาม อินโดนีเซีย กัมพูชา แล้วจึงมาเลือกที่ไทยตามลำดับ

"เหตุผลที่ลูกค้าจะเลือกสินค้าจากประเทศอื่นก่อนเนื่องจากสินค้ามีราคาถูกกว่าในเมืองไทย และมีคุณภาพไม่แตกต่างมากเกินไป ยกเว้นกรณีที่ประเทศที่กล่าวมาข้างต้นนั้นมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ อานิสงส์จึงจะตกมาถึงไทย แม้ไทยจะมีจุดแข็งในด้านความปลอดภัย ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นอย่างในบังกลาเทศ และมีกฎหมายการดูแลแรงงานอย่างเหมาะสม แต่เมื่อมองถึงราคาแล้วจะทำให้ลูกค้ายังลังเลที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าสิ่งทอจากไทย" นายสุกิจกล่าว

http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1369331905
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เสนาฯแก้เกมแรงงานขาด
วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8199 ข่าวสดรายวัน
http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... RVMU5nPT0=

น.ส.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างมาก และกลายเป็นปัญหาใหญ่ ทำให้บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ ด้วยการเจรจากับผู้รับเหมาก่อสร้างในการรับงานแบบระยะยาว เพื่อวางแผนก่อสร้างได้ล่วงหน้า ส่งผลต่อการลดต้นทุนการดำเนินงาน สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ว่าการก่อสร้างจะเสร็จตามกำหนด หรือเร็วกว่าเดิม 3-4 เดือน โดยได้เริ่มกับบริษัท แสงฟ้าก่อสร้าง จำกัด รับงานก่อสร้าง 100,000 ตารางเมตร กับ 4 โครงการใหม่ ภายใต้แบรนด์ เดอะ นิช ไอดี คอนโดมิเนียม 8 ชั้น มูลค่า 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี

นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจาซื้อวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก เช่นปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น กระเบื้องปูพื้น และบุผนัง ซึ่งจะทำให้ทั้งสองบริษัทรู้ว่ารายใดสามารถซื้อสินค้าประเภทใดได้ต่ำกว่า เป็นผลดียิ่งขึ้น สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ ช่วงครึ่งปีแรกได้เปิดตัวโครงการใหม่ 4 แห่ง และในครึ่งปีหลังเตรียมเปิดอีก 7 แห่ง รวมมูลค่า 7,000 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งปีแรกมียอดขายประมาณ 1,000 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ทั้งปีไว้ที่ 2,500 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ 2,000 ล้านบาท

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ราคาบ้านเตรียมปรับขึ้น6%
13 พฤษภาคม 2556 เวลา 11:20 น.
http://www.posttoday.com/%E0%B8%9A%E0%B ... %E0%B8%996

บ้านแนวราบจ่อขึ้น 6% หลังแรงงานขาด ต้องจ่ายค่าขนส่งวัสดุก่อสร้างเพิ่ม

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า ปีนี้ราคาที่อยู่อาศัยแนวราบมีแนวโน้มปรับขึ้นอีก 6% เนื่องจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างสูงขึ้น หลังเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคขนส่ง ทำให้ไม่มีคนขับรถขนส่งสินค้า ส่งผลให้การส่งวัสดุก่อสร้างมาที่ไซต์งานล่าช้า จนต้องจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้การขนส่งตรงเวลา

นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มเสาเข็มก็ต้องจองล่วงหน้านานขึ้น เพราะคนตอกเสาเข็มมีจำกัด ไม่พอกับการขยายตลาดของโครงการต่างๆ รวมถึงการมุงหลังคา ที่หลายครั้งมีกระเบื้องแล้วแต่ช่างไม่เพียงพอ

สำหรับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ราคาบ้านแนวราบปีนี้คงต้องขยับขึ้น เพราะกลยุทธ์ลดไซส์บ้านที่เคยทำก่อนหน้านี้ เพื่อให้ราคาคงเดิม ปัจจุบันทำได้ยาก เนื่องจากขนาดบ้านเล็กลงมากแล้ว เช่น บ้านเดี่ยวเล็กสุดอยู่ที่ 116 ตร.ม. ถ้าลดลงกว่านี้จะเล็กเกินกว่าเป็นบ้านเดี่ยว

ทั้งนี้ แม้จะมีหลายปัจจัยลบกระทบ แต่เชื่อว่าตลาดบ้านแนวราบปีนี้จะฟื้นตัวจากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่ขยายเส้นทางไปยังชานเมือง ทำให้บ้านชานเมืองที่เดินทางมาต่อรถไฟฟ้าสะดวกจะคึกคักขึ้น

นายเพิ่มเกียรติ โพธิเพียรทอง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี-แลนด์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า หากครึ่งปีหลังนี้ราคาวัสดุก่อสร้างยังปรับสูงขึ้น ราคาบ้านก็จะปรับขึ้นอีก 10-20%

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แรงงานขาดระบาดทั่วโลก
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8115 ข่าวสดรายวัน
คอลัมน์ เศรษฐกิจติดดิน
แกรนท์ ธอร์นตัน
http://www.khaosod.co.th/view_news.php? ... RJMU5nPT0=

ธุรกิจทั่วโลกตอนนี้กำลังเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ

โดยผลการสำรวจล่าสุดจากรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติของแกรนท์ ธอร์นตัน (The Grant Thornton International Business Report: IBR) ซึ่งนำเสนอว่า 4 ใน 10 (39%) ของธุรกิจทั่วโลกต้องใช้ความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ

ทั้งนี้ การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะทางเทคนิคนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด (64%) และสร้างความวิตกกังวลว่าจะกระทบความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการ ซึ่งท้ายที่สุดจะ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเติบโตและความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

นายทอมโซเรนเซน พาร์ตเนอร์และหัวหน้าสายงานการ จัดจ้างบุคลากรระดับผู้บริหาร ของแกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย กล่าวว่า แท้จริงแล้ว กลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ยังมีอัตราการว่างงานในระดับสูง ดังนั้น ผลการสำรวจที่ว่า นักบริหารธุรกิจกำลังกังวลกับการขาดแคลนแรงงานมีทักษะนั้น จึงบังเอิญเป็นเหมือนการเสียดสีข้อเท็จจริง

ในระยะสั้น นักบริหารธุรกิจจำเป็นต้องถ่ายทอดทักษะให้กับแรงงานภายนอกองค์กรเพื่อเติมเต็มช่องว่างทางความรู้ความสามารถให้ได้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

แต่ในระยะยาว นักบริหารธุรกิจจำเป็นต้องลงทุนกับโครงการอบรมให้ความรู้ภายในองค์กรเพื่อหล่อหลอมบุคลากรและ จะเสริมสร้างให้พวกเขาสามารถทำงานเชิงยุทธศาสตร์ เกิดการพัฒนา และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไป

นายทอมกล่าวว่า แม้แต่สหประชาชาติ ยังรายงานไว้เมื่อ หลายปีก่อนว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงานจะมีจำนวนลดลงอย่างรุนแรง ทั่วโลก ซึ่งประเทศจีนและสิงคโปร์กำลังประสบกับภาวะ ขาดแรงงานทั้งในปัจจุบันและอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ส่วนประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะดังกล่าวในช่วง 2020-2025

การประกอบธุรกิจไม่อาจดำเนินไปได้โดยปราศจากบุคลากร การมอบหมายให้ทีมงานที่มีประสิทธิภาพทำงานที่ธรรมดาๆ มักจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าการให้ทีมงานที่ไร้ความสามารถดำเนินงาน ทั้งยังช่วยให้องค์กรประหยัดเวลาและ ค่าใช้จ่าย และส่งผลให้ธุรกิจเกิดการเติบโต

ดังนั้น ในระยะยาว ผู้บริหารธุรกิจต้องมั่นใจว่าโครงการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทของตนจะเอื้อต่อการผลิตบุคลากรที่มีความสามารถอย่างยั่งยืน

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อุตฯอาหารทะเลจ่อย้ายฐานผลิต "หนีค่าแรง-ขาดแรงงาน"เข้าประเทศเพื่อนบ้าน
updated: 01 เม.ย 2556 เวลา 10:46:35 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=1901

นับถอยหลังเปิดตลาดเออีซี อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปส่อเค้าขาดแรงงาน ย้ายฐานผลิตเข้าประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ส.ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปแนะรัฐทำ FTA อาเซียนกับประเทศคู่ค้า ด้านกรมประมงแนะผู้ประกอบการมองหาแหล่งวัตถุดิบและตลาดใหม่

นางอรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปมีตลาดในภูมิภาคอาเซียนค่อนข้างเล็ก คิดเป็น 2.21% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด

ดังนั้นการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงไม่ส่งผลกระทบด้านการตลาดเท่าใดนัก แต่จะมีผลกระทบด้านแรงงาน เนื่องจากการปรับค่าจ้างรายวันสูงขึ้น อาจมีผลให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่า

ส่วนผลกระทบด้านวัตถุดิบจะเป็นผลในทางบวก เนื่องจากประเทศไทยขาดแคลนวัตถุดิบ จึงมีการนำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และพม่าเป็นหลัก ซึ่งภาษีนำเข้าภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) จะเป็น 0% ทั้งหมด ผู้ประกอบการจะสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ สำหรับอุตสาหกรรมทูน่า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมอันดับ 1 ในกลุ่มอาหารทะเลแปรรูป ก็มีตลาดในอาเซียนเป็นตลาดขนาดเล็กเพียง 1% ของปริมาณการส่งออกรวม จึงไม่ได้รับผลกระทบด้านการตลาด แต่จะมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากอุตสาหกรรมทูน่ามีการจ้างแรงงานต่างด้าวมากกว่า 50% และเมื่อเปิดเออีซีอาจทำให้กลุ่มประเทศอาเซียนมีการจัดจ้างแรงงานมากขึ้น ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทยกลับไปทำงานในประเทศของตนเอง

นางอรรถพันธ์กล่าวอีกว่า สมาคมมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐว่า ภาครัฐควรให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านการติดตามกฎระเบียบต่าง ๆ การให้ข้อมูลการผลิตและการส่งออกของประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การลงทุนระหว่างประเทศ และทำให้เกิดการจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้นด้วย

นอกจากนั้น ภาครัฐควรมีการจัดทำเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก โดยอาศัยประโยชน์จากกฎแหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสม (Cumulative Rules of Origin : CRO) เพื่อส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในกลุ่มประเทศอาเซียนและเป็นการเพิ่มปริมาณการค้าในกลุ่มอาเซียน และควร

จัดตั้งคณะทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเจรจากับประเทศคู่ค้า ในส่วนของภาคเอกชนเองก็ควรมีการร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและเอกชนของประเทศสมาชิกอาเซียน ในการหารือแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า กำหนดท่าทีร่วมกันภายในอาเซียน เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน

ล่าสุดสมาพันธ์อาหารทะเลแห่งอาเซียน (ASEAN Seafood Federation : ASF) ซึ่งสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปเป็นสมาชิกอยู่ได้มีการประชุมและได้ข้อสรุปว่า กิจกรรมที่จะมีการหารือและดำเนินการต่อไปมี

4 ประเด็น ได้แก่ 1.การจัดทำมาตรฐานกุ้ง 2.ความร่วมมือด้านวัตถุดิบสัตว์น้ำ 3.การจัดงาน ASEAN Seafood Road Show 4.การจัดทำเว็บไซต์และวารสารของ ASF

ด้านนางสาวศิริลักษณ์ สุวรรณรังษี ผู้ตรวจราชการกรมประมง กล่าวว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นโอกาสของภาคประมงไทยคือ เป็นการขยายตลาด ขยายฐานวัตถุดิบ ขยายฐานการผลิต และขยายอำนาจต่อรองในเวทีเจรจาต่าง ๆ

ส่วนผลกระทบคือ การแข่งขันวัตถุดิบ เนื่องจากวัตถุดิบในประเทศขาดแคลน หลายประเทศในอาเซียนก็ต้องการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตและส่งออกไปยังประเทศที่ 3 เช่นกันกับไทย เมื่อวัตถุดิบขาดแคลน

จึงเกิดการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำ อีกทั้งเสียแรงงานฝีมือที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีแล้วออกไปนอกประเทศการจะต่อสู้รักษาการเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าประมงอันดับ1 ของโลก ต้องปรับศักยภาพการผลิตแปรรูปสัตว์น้ำ โดยลดต้นทุนการผลิต ทำให้วัตถุดิบที่นำมาใช้มีมูลค่าเหมาะสมที่จะนำมาแปรรูปเพื่อการส่งออก พัฒนามาตรฐาน คุณภาพ ความปลอดภัยให้ตรงกับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า พัฒนาการตลาดทั้งในและนอกประเทศ ต้องมีข้อมูลใหม่ ๆ และมองเป้าหมายตลาดใหม่ ๆ

สิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมประมงมาก คือต้องเริ่มมองหาวัตถุดิบใหม่ ๆ มาเป็นฐานวัตถุดิบของไทย ปัญหาของประเทศไทยขาดระบบบริหารจัดการวัตถุดิบ การนำผลผลิตจากเกษตรกรมาสู่ผู้ประกอบการแปรรูปยังเป็นจุดอ่อน อีกทั้งตลาดของไทยยังเป็นตลาดดั้งเดิม คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีปัญหาเศรษฐกิจทั้งสิ้น

ดังนั้นจึงควรมองหาตลาดใหม่เพิ่มเติมส่วนภาครัฐต้องมีมาตรการอุดหนุนว่าอุดหนุนอย่างไรให้ได้ประโยชน์และภาครัฐต้องเข้าไปผลักดันการใช้มาตรฐานให้มีการนำมาใช้จริง เนื่องจากขณะนี้ไทยมีมาตรฐานสูงกว่าเพื่อนบ้าน เมื่อเปิดตลาดแล้วหากมีสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาและมาตรฐานต่ำกว่าเข้ามา ไทยจะเสียเปรียบ นอกจากนั้นต้องผลักดันความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชนในการพัฒนาตลาดสินค้า รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในการเอื้ออำนวยขนส่งสินค้า

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว

โพสต์ที่ 6

โพสต์

บิ๊กสตาร์ลุยตั้งโรงงานชายแดนแก้แรงงานขาด
16 ตุลาคม 2555 เวลา 18:38 น.
http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B ... 2%E0%B8%94

บิ๊กสตาร์ เล็งตั้งโรงงานชายแดน – ประเทศเพื่อนบ้าน แก้วิกฤติแรงงานขาด พร้อมทุ่ม 40 ล้าน สร้างแบรนด์แกมโบล ดึง “เก้า – จิรายุ” พรีเซนเตอร์นายสุรชัย กิจกำจาย รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊กสตาร์ ผู้ผลิตรองเท้าลำลอง “แกมโบล” กล่าวว่า บริษัทมีแผนสร้างโรงงานผลิตรองเท้าเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อขยายกำลังการผลิตรองเท้าเพิ่มเติม จากปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง ที่ถนนพระราม 2 มีกำลังการผลิต 5 หมื่นคู่ต่อวัน หรือปีละกว่า 10 ล้านคู่ รวมรับจ้างผลิต ซึ่งยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดรองเท้าลำลองที่ขยายตัวสูง

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเคลื่อนย้ายการผลิตจากไทยสู่เพื่อนบ้าน ... (รวบรวมข่าว

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ทีดีอาร์ไอชี้แรงงานไทยังไร้สวัสดิการที่ดี
วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 11:06
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B5.html

ทีดีอาร์ไอเปิดงานวิจัยปัญหาแรงงานไทย พบยังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสวัสดิการ แม้รัฐบาลจะขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วไทย

นายยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เขียนบทความเผยแพร่ในเว็บไซต์ของทีดีอาร์ไอเกี่ยวกับประเด็นปัญหาแรงงานของไทย รวมทั้งการปรับตัวในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปีข้างหน้า

ภาพรวมแรงงานไทยในช่วงที่ผ่านมา เผชิญการเปลี่ยนผ่านหลายเรื่องที่ยังไม่มีการดูแลที่ดีพอ ตั้งแต่ช่วงผลกระทบน้ำท่วมใหญ่ และการปรับค่าจ้าง 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ พบว่าแรงงานที่ไหลกลับไปสู่ภาคเกษตร กลับเข้ามาสู่แรงงานในระบบน้อยเกินคาด กลายเป็นการไปเพิ่มจำนวนแรงงานที่ขาดความมั่นคงในภาคเกษตร เป็นทั้งนายจ้างและแรงงานนอกระบบ จึงเรียกร้องให้เพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมกลุ่มของคนทำงาน

ที่ผ่านมาในภาพรวมดูเหมือนแรงงานได้รับการดูแลมากขึ้น ในเรื่องค่าจ้างพื้นฐาน 300 บาท แต่ในด้านการคุ้มครองแรงงานยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าและมีความเหลื่อมล้ำลักลั่นกัน ตั้งแต่การเข้าสู่ระบบ การได้รับบริการจากระบบ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ ทั้งกองทุนประกันสังคมที่ดูแลเฉพาะแรงงานในระบบหลัก

ส่วนกองทุนเงินทดแทนซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเจ็บป่วย หรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงานของลูกจ้าง ที่ทำงานเต็มเวลา ขณะที่มีนายจ้างที่มีการจ้างแรงงานจำนวนมาก เป็นบางช่วงเวลาหรือช่วงฤดูกาล ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับการสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน ถึงเวลาที่เราควรสร้างระบบที่ครอบคลุมไม่เหลื่อมล้ำและเป็นธรรม

"ปัญหาตอนนี้ถ้าดูในรายละเอียด จะเห็นว่าในรูปแบบการคุ้มครองแรงงาน ระหว่างแรงงานในระบบกับแรงงานนอกระบบนั้น ยังมีความเหลื่อมล้ำหรือเขย่งกันอยู่ค่อนข้างชัดเจน แรงงานในระบบได้รับการดูแลค่อนข้างดีมาตลอด แต่ในส่วนของแรงงานนอกระบบ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ที่จริงจังนัก จะเห็นได้จากการให้ความคุ้มครองทั้งหลาย ซึ่งก็จะมีข้อยกเว้นอยู่หลายเรื่องและหากดูสิทธิประโยชน์ระยะยาว ที่จะได้รับจากประกันชราภาพและกองทุนเงินออมแห่งชาติ ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มอย่างจริงจัง เมื่อไร ข้อตกลงในการเก็บอัตราสมทบ ก็ยังไม่มีข้อยุติและดำเนินไปอย่างล่าช้า แม้แต่แรงงานในระบบเมื่อถึงวัยได้รับสิทธิประโยชน์ชราภาพ ถึงจะรวมกับเบี้ยยังชีพชราภาพแล้ว ก็จะมีรายได้เพื่อการยังชีพเพียง 3,000-4,000 บาทต่อเดือน ซึ่งนับว่าไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป"นายยงยุทธ ระบุ

คนกลุ่มนี้ ได้แก่ คนทำงานบ้าน แรงงานประมง แรงงานภาคเกษตร ที่ไม่ได้ทำงานต่อเนื่องตลอดปี หรือทำงานตามฤดูกาล รวมถึงแรงงานพาร์ทไทม์ คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนค่อนข้างสูง ล้วนแต่จะมีปัญหาความมั่นคงในระยะยาวตรงนี้เป็นจุดอ่อนซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารูปแบบที่เหมาะสม เพื่อการคุ้มครองแรงงานให้ครอบคลุม

โดยหลักการตามกฎหมายคนทำงานทุกคน มีสิทธิได้รับการคุ้มครองโดยกองทุนประกันสังคม ควรปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม สามารถนำสัดส่วนของผลประโยชน์มาสมทบ เพื่อทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น

ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน คือ มีการเปลี่ยนผ่านหลายอย่างที่ยังไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ ตั้งแต่น้ำท่วมเรื่อยมาจนถึงการขึ้นค่าจ้างรอบแรกและรอบที่สอง (300 บาททั่วไทย) ซึ่งมีผลกระทบค่อนข้างกว้างขวางต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การประเมินผลกระทบรอบแรกพบข้อมูลสำคัญ ภาคเกษตรที่ควรได้รับผลกระทบน้อย กลับกลายเป็นภาคที่ถูกผลกระทบมาก เพราะภาคเกษตรไทยซึ่งยังใช้เทคโนโลยี ที่ช่วยผ่อนแรงน้อยยังคงใช้แรงงานเป็นหลัก ค่าแรงจึงเป็นต้นทุนสำคัญ ที่เพิ่มภาระ ในขณะที่ผู้ประกอบการในภาคเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายเล็กรายย่อยไม่มีศักยภาพ ในการจ่ายค่าจ้างพื้นฐานที่ปรับขึ้นเป็น 300 บาทต่อวัน ประกอบกับสภาพการทำงานที่หนัก เหนื่อยไม่จูงใจ ไม่มีสวัสดิการในการทำงาน

ดังนั้นปัญหาของภาคเกษตรเผชิญปัญหาต้นทุนสูง พร้อมๆ กับการยังขาดแคลนแรงงาน และในด้านการคุ้มครอง แรงงานภาคเกษตรส่วนใหญ่คือแรงงานอายุมาก อมโรค ในระยะยาวจึงมีปัญหาความมั่นคงในชีวิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการดูแลสุขภาพ

มีเกษตรกรเพียงไม่ถึง 10%ที่จะมีเงินออมเพียงพอจะช่วยเหลือตัวเองได้เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จึงอยากให้ใส่ใจแรงงานหรือคนทำงานภาคเกษตรที่สิทธิสวัสดิการยังเหลื่อมล้ำกับแรงงานในระบบ และถูกละเลยมาตลอด

ส่วนประเด็นของแรงงานในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี นั้น นายยงยุทธ มองว่า สถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอความต้องการ และเรามีความต้องการแรงงานไทยเกิน 40 ล้านคน คือราว 42-43 ล้านคน โดยส่วนเกิน 2-3 ล้านคนนั้นคือแรงงานต่างด้าว

แรงงานไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยก็ยังคงต้องแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเชิงปริมาณ ซึ่งต้องมียุทธศาสตร์ทั้งการเพิ่มปริมาณและคุณภาพ

การแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำได้ 2 ทาง คือ
1.เมื่อธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลง และจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาแรงงานจึงต้องทำให้มีคนออกมาทำงานเร็วขึ้น โดยให้คนออกมาสู่ตลาดแรงงานเมื่อถึงวัยทำงานโดยได้รับค่าตอบแทนที่ดีและไม่ต้องเรียนมากปีเกินไป หรือ สามารถให้เขาออกมาประกอบอาชีพได้หลังจากจบมัธยมปลาย (สายอาชีพ/สายสามัญ) และนำหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ คือ ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย แต่ทางนี้ตรงข้ามกับค่านิยมของผู้ปกครองไทย

2.การนำเข้าวัยทำงานมาเติมในส่วนที่ขาด โดยต้องมีกระบวนการนำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้อง โดยมีกระบวนการในการล้างคนเก่าที่ผิดกฎหมายให้หมดไปแล้วนำคนที่ถูกต้องเข้าทำงานโดยมีจำนวนหรือโควตาที่ชัดเจน

สำหรับยุทธศาสตร์การเพิ่มคุณภาพแรงงาน มีความจำเป็นและต้องเร่งทำมากกว่าเดิม ต้องทำให้แรงงานมีทักษะทำงานได้มากกว่าเดิมและมีคุณภาพ ซึ่งผู้ประกอบการและภาครัฐต้องร่วมมือกัน หรือการจูงใจด้วยมาตรการทางภาษี เป็นต้น

ส่วนการเข้าสู่ตลาดแรงงานอาเซียน นั้น เห็นว่าจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ ในการสร้างมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องแรงงานให้ชัดเจน เพราะเราไม่มีโอกาสจะกันคน (แรงงาน) จากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยได้ จึงควรกำหนดมาตรฐานร่วมกันให้ชัดเจน และมีการดูแลกำกับให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยจำเป็นต้องมีองค์กรตัวแทนในการกำกับดูแล ระบบมาตรฐานสมรรถนะของประเทศ ที่ต่อไปก็จะเชื่อมโยงกับระบบการจ่ายหรือค่าจ้างด้วย ซึ่งเราสามารถใช้เป็นการกีดกันโดยธรรมชาติได้ และยังเป็นกลไกให้คนยกระดับตัวเองพัฒนาขึ้นมาให้เป็นแรงงานที่มีมาตรฐาน

นอกจากนี้ควรเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ให้สามารถมีข้อมูลยืนยันความต้องการแรงงานในแต่ละประเภทที่ชัดเจนได้ ดังนั้นยุทธศาสตร์บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวเพื่อให้ได้แรงงานต่างด้าวที่มีจำนวนและคุณภาพตามมาตรฐานแรงงานไทย ไม่เข้ามาแย่งแรงงานไทย โดยกำหนดให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม

การที่เราจะเป็น เออีซี นั้น สิ่งที่เป็นห่วงอยู่ตอนนี้ ก็คือ แรงงานในภาคบริการโดยเฉพาะ 32 อาชีพที่เกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท เนื่องจากมีอาชีพหลายอย่างที่มีข้อตกลงกันในกลุ่มอาเซียนที่ใช้คนมาตรฐานไม่สูงมาก ทำให้ธุรกิจที่มีการลงทุนในประเทศไทย สามารถนำแรงงานจากต่างประเทศเข้ามาได้ ซึ่งเป็นการเข้ามาแย่งงานคนไทยทางอ้อมและกันได้ยาก ภาคบริการเป็นตลาดแรงงานที่รองรับแรงงานคุณสมบัติหลากหลายทุกวุฒิการศึกษา หากมองให้เป็นโอกาส ควรให้ภาคบริการช่วยดูดซับแรงงานปริญญาตรี ที่มีการผลิตล้นเกินความต้องการอยู่มากและว่างงานสะสมทุกปีนั้นได้

-จบ-
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
โพสต์โพสต์