ในประเทศที่ล้มละลายเนี่ย สภาพของประเทศนั้นๆเป็นอย่างไรบ้างครับและตลาดหุ้นมีสภาพอย่างไรในช่วงล้มละลายและหลังจากล้มละลายไปแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างครับ พวกธุรกิจต่างๆเป็นอย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณนะครับ ^ ^
ประเทศที่ล้มละลาย มีสภาพอย่างไรบ้างครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 56
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเทศที่ล้มละลาย มีสภาพอย่างไรบ้างครับ
โพสต์ที่ 3
ก็อปมาจากในวิกี้พีเดียน่ะครับ เป็นตัวอย่างของ อเจนติน่า ที่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นปีละ 3000% ธุรกิจที่มีเงินกู้ต่างประเทศตายตามไปด้วย
แต่รายละเอียดผมก็หาไม่ได้อะครับ และอยากรู้ว่าธุรกิจที่อยู่รอดหรือได้ประโยชน์มีบ้างไหมและตลาดหุ้นหลังจากนั้นมาเป็นยังไงบ้าง?
วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา
วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา (Argentine economic crisis ) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจในอาร์เจนตินาล่มสลาย ประเทศอยู่ในภาวะล้มละลาย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (GNP) ลดต่ำลงจนติดลบติดต่อกันยาวนานถึง 4 ปีเต็ม คนตกงานกว่าครึ่งค่อนประเทศแม้กระทั่งหมอก็ยังตกงาน เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ถึง ปี ค.ศ. 2002
ปี 1983[แก้]
เมื่อรัฐบาลทหารได้คืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1983 นายราอูล อัลฟองซิน ก็ได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ช่วงที่อัลฟองซินดำรงตำแหน่งอยู่นี้ ภาวะเศรษฐกิจภายในอาร์เจนตินาย่ำแย่ลงอย่างหนัก รัฐบาลไม่มีปัญญาจ่ายหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% หรือ ปีละเกือบ 3000% รัฐบาลขาดเสถียรภาพอย่างหนัก นายอัลฟองซินได้ลาออกก่อนจะหมดวะระเพียง 6 เดือน
จุดเริ่มต้นใน ปี ค.ศ. 1989[แก้]
นายคาร์ลอส ซามูล เมเนม ได้รับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จากพรรคนิยมเปรอง แต่เมื่อได้ดำรงตำแหน่งกลับทำตรงกันข้ามกับแนวคิดเปรอง (ลัทธิเปรอง) เนเนมได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจตาม"ฉันทมติวอชิงตัน" ซึ่งนำความหายนะมาสู่อาร์เจนตินาซึ่งหลักๆได้แก่ การเปิดเสรีการค้าอย่างเต็มที่ ทั้งทางด้านการค้าและการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของต่างชาติ
ปี 1991[แก้]
รัฐบาลของเมเนมได้แปรรูปรัฐวิสหกิจอย่างจริงจังโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โดมิงโก คาวัลโย เป็นผู้ที่ได้ใช้นโยบาย "ฉันทมติ วอชิงต้น" มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นคงที่ ค่าเงินที่ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขายสัมปทานของรัฐออกไป 250 แห่ง ซึ่งรัฐบาลอาร์เจนตินาได้รับเงินถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้นำไปสู่การผูกขาด ซึ่งโดยรวมหลักของนโยบายเสรีนิยมใหม่ของเมเนมวางอยู่บนความพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการตัดลดงบประมาณให้สมดุล ลดภาษีนำเข้า เพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุนจากต่างชาติ มีการคอร์รับชั่นเกิดขึ้นอย่างมากมายในรัฐบาลของเมเนม
การแปรรูปสายการบินแห่งชาติ
การแปรรูปโทรศัพท์
การแปรรูปการไฟฟ้า
การแปรรูปทางด่วน
การแปรรูปน้ำประปา
การแปรรูปรถไฟ
ปี 1999[แก้]
ประธานาธิบดี เฟอร์นานโด เดลารัว ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาเพื่อสอบสวนกรณีคอร์รัปชั่นในยุคประธานาธิบดี เมเนม ในวันที่ 7 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2001 ได้มีคำพิพากษาสั่งจำคุกอดีตประธานาธิบดีเมเนมเป็นเวลา 6 เดือน มีข้อกล่าวหา การยักยอกเงิน 100 ล้านเหรียญจากการลอบขายอาวุธ และ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นาย โดมิงโก คาวาโย ก็โดนข้อหาเดียวกัน เมเนมได้หนี้ลี้ภัยไปอยู่ประเทศชิลี
วิกฤติเศรษฐกิจ[แก้]
รัฐบาลของเฟอร์นานโด เดลารัว เข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ.1999 ต้องรับภาระปัญหาต่างๆที่รัฐบาลเมเนมได้ก่อเอาไว้ หนี้ต่างประเทศก้อนโตจำนวนกว่า 132 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ อัตราค่าเงินเปโซที่กำหนดให้แข็งค่าเกินจริงแบบคงที่ ทำให้ภาคการส่งออกมีปัญหา ภาครัฐมีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้และดอกเบี้ย ประธานาธิบดีเดลารัวได้ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลตามคำแนะนำจากไอเอ็มเอฟ (IMF) เพื่อแลกกับเงินกู้จำนวน 8 พันล้านดอลลาร์ โดยมีการปลดข้าราชการ ตัดงบประมาณชุมชนและงบสวัสดิการสังคมต่างๆ สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายหนัก เมื่อมาตรการตัดลดรายจ่ายยิ่งทำให้เศรษฐกิจชลอตัวลง
ผลจากการขาดงบประมาณรายจ่ายเพราะเก็บภาษีได้ลดลงรวมกับการขาดดุลการชำระเงินเพราะการกำหนดค่าเงินคงที่ ทำให้รัฐบาลโดนบีบให้ลดค่าเงินเปโซ และยอดหนี้ต่างประเทศสูงขึ้นจากร้อยละ 50 ต่อGDPในปี ค.ศ. 2001 กลายมาเป็น ร้อยละ90 ต่อGDPในปี ค.ศ.2002 รัฐบาลต้องพิมพ์ธนบัตร์ออกมาทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เฟอร์นันโด เดรารัว จึงเชิญ โดมิงโก คาวัลโย อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจสมัยเมเนม มาแก้ปัญหาในปี ค.ศ. 2001 คาวัลโย ใช้มาตรการลดรายจ่ายโดยการตัดเงินเดือนข้าราชการร้อยละ 20 และตัดเงินบำนาญลงร้อยละ 13 ต้ดงบประมาณกระทรวงต่างๆ และห้ามถอนเงินจากธนาคารเกินอาทิตย์ละ 250 ดอลลาร์ แต่สถานการณ์กลับยิ่งเลวร้ายลง เมื่ออัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ประชากร 1ใน3ของประเทศมีชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน ไอเอ็มเอฟบีบให้ธนาคารทุกแห่งเปลี่ยนเงินฝากของประชาชนเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่อายุไถ่ถอน 10 ปี เพื่อรัฐบาลจะได้นำเงินไปจ่ายดอกเบี้ยของหนี้สินต่างประเทศ มีการประท้วงเกิดขึ้นจนเกิดการจลาจลไปทั่วประเทศ
ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2001 นายโดมิงโก คาวัลโย ลาออก ก่อน ประธานาธิบดี เดรารัว เพียงไม่กี่ชั่วโมง มีการประท้วงใหญ่หน้าทำเนียบประธานาธิบดี ประเทศเกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจมีการแต่งตั้งผู้รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดี อดอลโฟ โรดริเกซ ซา ขึ้นมาบริหารได้เพียงอาทิตย์เดียวก็ถูกกดดันให้ลาออก เมื่อประกาศว่าจะพักชำระหนี้ต่างประเทศจำนวน 141,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของอาร์เจนตินา นายเดดัวโด ดูฮาลเด้ ได้ขึ้นมาแทนและได้ประกาศลดค่าเงินเปโซร้อยละ 30 และให้แปลงเงินฝากสกุลดอลลาร์ให้เป็นเปโซทั้งหมดผลทำให้ธุรกิจที่มีหนี้สินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐล้มละลายเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลง 11%
แต่รายละเอียดผมก็หาไม่ได้อะครับ และอยากรู้ว่าธุรกิจที่อยู่รอดหรือได้ประโยชน์มีบ้างไหมและตลาดหุ้นหลังจากนั้นมาเป็นยังไงบ้าง?
วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา
วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา (Argentine economic crisis ) เป็นช่วงที่เศรษฐกิจในอาร์เจนตินาล่มสลาย ประเทศอยู่ในภาวะล้มละลาย ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบื้องต้น (GNP) ลดต่ำลงจนติดลบติดต่อกันยาวนานถึง 4 ปีเต็ม คนตกงานกว่าครึ่งค่อนประเทศแม้กระทั่งหมอก็ยังตกงาน เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ถึง ปี ค.ศ. 2002
ปี 1983[แก้]
เมื่อรัฐบาลทหารได้คืนอำนาจให้ประชาชนเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1983 นายราอูล อัลฟองซิน ก็ได้รับเสียงสนับสนุนให้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ช่วงที่อัลฟองซินดำรงตำแหน่งอยู่นี้ ภาวะเศรษฐกิจภายในอาร์เจนตินาย่ำแย่ลงอย่างหนัก รัฐบาลไม่มีปัญญาจ่ายหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% หรือ ปีละเกือบ 3000% รัฐบาลขาดเสถียรภาพอย่างหนัก นายอัลฟองซินได้ลาออกก่อนจะหมดวะระเพียง 6 เดือน
จุดเริ่มต้นใน ปี ค.ศ. 1989[แก้]
นายคาร์ลอส ซามูล เมเนม ได้รับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี จากพรรคนิยมเปรอง แต่เมื่อได้ดำรงตำแหน่งกลับทำตรงกันข้ามกับแนวคิดเปรอง (ลัทธิเปรอง) เนเนมได้ใช้นโยบายเศรษฐกิจตาม"ฉันทมติวอชิงตัน" ซึ่งนำความหายนะมาสู่อาร์เจนตินาซึ่งหลักๆได้แก่ การเปิดเสรีการค้าอย่างเต็มที่ ทั้งทางด้านการค้าและการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของต่างชาติ
ปี 1991[แก้]
รัฐบาลของเมเนมได้แปรรูปรัฐวิสหกิจอย่างจริงจังโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โดมิงโก คาวัลโย เป็นผู้ที่ได้ใช้นโยบาย "ฉันทมติ วอชิงต้น" มีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นคงที่ ค่าเงินที่ 1 เปโซ ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ได้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขายสัมปทานของรัฐออกไป 250 แห่ง ซึ่งรัฐบาลอาร์เจนตินาได้รับเงินถึง 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้นำไปสู่การผูกขาด ซึ่งโดยรวมหลักของนโยบายเสรีนิยมใหม่ของเมเนมวางอยู่บนความพึ่งพาเงินทุนจากต่างชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการตัดลดงบประมาณให้สมดุล ลดภาษีนำเข้า เพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุนจากต่างชาติ มีการคอร์รับชั่นเกิดขึ้นอย่างมากมายในรัฐบาลของเมเนม
การแปรรูปสายการบินแห่งชาติ
การแปรรูปโทรศัพท์
การแปรรูปการไฟฟ้า
การแปรรูปทางด่วน
การแปรรูปน้ำประปา
การแปรรูปรถไฟ
ปี 1999[แก้]
ประธานาธิบดี เฟอร์นานโด เดลารัว ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาเพื่อสอบสวนกรณีคอร์รัปชั่นในยุคประธานาธิบดี เมเนม ในวันที่ 7 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2001 ได้มีคำพิพากษาสั่งจำคุกอดีตประธานาธิบดีเมเนมเป็นเวลา 6 เดือน มีข้อกล่าวหา การยักยอกเงิน 100 ล้านเหรียญจากการลอบขายอาวุธ และ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นาย โดมิงโก คาวาโย ก็โดนข้อหาเดียวกัน เมเนมได้หนี้ลี้ภัยไปอยู่ประเทศชิลี
วิกฤติเศรษฐกิจ[แก้]
รัฐบาลของเฟอร์นานโด เดลารัว เข้ารับตำแหน่งในปี ค.ศ.1999 ต้องรับภาระปัญหาต่างๆที่รัฐบาลเมเนมได้ก่อเอาไว้ หนี้ต่างประเทศก้อนโตจำนวนกว่า 132 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ อัตราค่าเงินเปโซที่กำหนดให้แข็งค่าเกินจริงแบบคงที่ ทำให้ภาคการส่งออกมีปัญหา ภาครัฐมีรายได้น้อยกว่าค่าใช้จ่าย ทำให้ไม่มีเงินมาจ่ายหนี้และดอกเบี้ย ประธานาธิบดีเดลารัวได้ลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลตามคำแนะนำจากไอเอ็มเอฟ (IMF) เพื่อแลกกับเงินกู้จำนวน 8 พันล้านดอลลาร์ โดยมีการปลดข้าราชการ ตัดงบประมาณชุมชนและงบสวัสดิการสังคมต่างๆ สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายหนัก เมื่อมาตรการตัดลดรายจ่ายยิ่งทำให้เศรษฐกิจชลอตัวลง
ผลจากการขาดงบประมาณรายจ่ายเพราะเก็บภาษีได้ลดลงรวมกับการขาดดุลการชำระเงินเพราะการกำหนดค่าเงินคงที่ ทำให้รัฐบาลโดนบีบให้ลดค่าเงินเปโซ และยอดหนี้ต่างประเทศสูงขึ้นจากร้อยละ 50 ต่อGDPในปี ค.ศ. 2001 กลายมาเป็น ร้อยละ90 ต่อGDPในปี ค.ศ.2002 รัฐบาลต้องพิมพ์ธนบัตร์ออกมาทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น เฟอร์นันโด เดรารัว จึงเชิญ โดมิงโก คาวัลโย อดีตรัฐมนตรีเศรษฐกิจสมัยเมเนม มาแก้ปัญหาในปี ค.ศ. 2001 คาวัลโย ใช้มาตรการลดรายจ่ายโดยการตัดเงินเดือนข้าราชการร้อยละ 20 และตัดเงินบำนาญลงร้อยละ 13 ต้ดงบประมาณกระทรวงต่างๆ และห้ามถอนเงินจากธนาคารเกินอาทิตย์ละ 250 ดอลลาร์ แต่สถานการณ์กลับยิ่งเลวร้ายลง เมื่ออัตราการว่างงานได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 ประชากร 1ใน3ของประเทศมีชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน ไอเอ็มเอฟบีบให้ธนาคารทุกแห่งเปลี่ยนเงินฝากของประชาชนเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่อายุไถ่ถอน 10 ปี เพื่อรัฐบาลจะได้นำเงินไปจ่ายดอกเบี้ยของหนี้สินต่างประเทศ มีการประท้วงเกิดขึ้นจนเกิดการจลาจลไปทั่วประเทศ
ในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2001 นายโดมิงโก คาวัลโย ลาออก ก่อน ประธานาธิบดี เดรารัว เพียงไม่กี่ชั่วโมง มีการประท้วงใหญ่หน้าทำเนียบประธานาธิบดี ประเทศเกิดภาวะสุญญากาศทางอำนาจมีการแต่งตั้งผู้รักษาการตำแหน่งประธานาธิบดี อดอลโฟ โรดริเกซ ซา ขึ้นมาบริหารได้เพียงอาทิตย์เดียวก็ถูกกดดันให้ลาออก เมื่อประกาศว่าจะพักชำระหนี้ต่างประเทศจำนวน 141,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของอาร์เจนตินา นายเดดัวโด ดูฮาลเด้ ได้ขึ้นมาแทนและได้ประกาศลดค่าเงินเปโซร้อยละ 30 และให้แปลงเงินฝากสกุลดอลลาร์ให้เป็นเปโซทั้งหมดผลทำให้ธุรกิจที่มีหนี้สินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐล้มละลายเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ลดลง 11%